Laos About - เรื่องลาว
All ABOUT LAOS information updates. Stay tuned with us
แผนโครงการก่อสร้างสะพานมิตรภาพหนองคาย - เวียงจันทน์ เพิ่ม โดยจะสร้างสะพานสำหรับรถข้ามเพิ่ม 1 สะพาน และสำหรับรถไฟต่างหากอีก 1 สะพาน เพื่อรองรับการขยายตัวของการเดินทาง และขนส่งระหว่างประเทศในอนาคต
บริษัทร่วมทุน กัลฟ์ เอ็นเนอร์จี (GULF) และรัฐวิสาหกิจจีน เซ็นสัญญาอย่างเป็นทางการ ขายไฟฟ้าให้ กฟผ. นาน 29 ปี โดยจ่ายไฟจากโครงการโรงไฟฟ้าพลังน้ำ Pak Beng ใน สปป.ลาว คาดเปิดดำเนินการเชิงพาณิชย์ปี 76
เพื่อพัฒนาโครงการโรงไฟฟ้าพลังน้ำ Pak Beng (โครงการ Pak Beng) ขนาดกำลังการผลิตติดตั้ง 912 เมกะวัตต์ ตั้งอยู่บนแม่น้ำโขง เมืองปากแบ่ง แขวงอุดมไซ สาธารณรัฐประชาธิปไตยประชาชนลาว (สปป.ลาว) และจะทำการผลิตและจำหน่ายกระแสไฟฟ้าที่ผลิตได้ทั้งหมดให้แก่ กฟผ. นั้น
https://www.pptvhd36.com/news/หุ้น-การลงทุน/206312
7-Eleven สาขาแรกใน สปป ลาว ได้เปิดให้บริการอย่างเป็นทางการในวันที่ 7 กันยายน 2566 ที่ผ่านมา และแผนที่จะขยายสาขาเพิ่มเป็น 3 สาขาภายในปีนี้
7Eleven สาขาแรกใน สปป ลาว🇱🇦 พร้อมเปิดให้บริการวันที่ 7 กันยายน 2023 นี้แล้ว 💕
ปริญญาตรีอยู่ลาวได้ไม่ถึง 3,000 ทำงานเมืองไทยเลี้ยงได้ทั้งครอบครัว ค่าเงินกีบที่ตกต่ำ รายได้ที่น้อยนิดจนไม่พอเลี้ยงตัวเอง เทียบกับรายได้ที่ทำในไทย เท่ากับเลี้ยงได้ทั้งคร...
มาดูประวัติการออกหุ้นกู้ของ EDL-Gen การไฟฟ้าฝ่ายผลิตของสปป ลาว ในประเทศไทยกัน
จำนวนผู้ใช้ Facebook ในลาวทั้งหมด 4,339,200 คน หรือ 57.5% ของจำนวนประชากรทั้งประเทศ
จำนวนประชากรลาว👫🏻🇱🇦ปี 2022 มีจำนวน 7,442,800 คน
เงินเฟ้อลาวสูงติดอันดับ 1 ใน 10 ของโลกด้วยอัตรา 38.8%
จากข้อมูลอัตราแลกเปลี่ยนเพื่อเทียบเงินเฟ้อจากธนาคารการค้าต่างประเทศลาว (BCEL) อัตราเงินเฟ้อเมื่อเทียบกับอัตราต้นปี 2565 (2022)คือ
USD 🇺🇸
Jan 2022 vs Jan 2023 = +54%
Jan 2022 vs Jul 2023 = +71%
THB 🇹🇭
Jan 2022 vs Jan 2023 = +44%
Jan 2022 vs Jul 2023 = +64%
ประเทศไทยมีอัตราเงินเฟ้อต่ำที่สุดในโลก ติด 1 ใน 10 จาก 134 ประเทศทั่วโลก และต่ำที่สุดของอาเซียน
สปป ลาว ยืนหนึ่งสูงสุด ติด 1 ใน 10 อัตราเงินเฟ้อสูงของโลก ส่วน "เวเนซุเอลา" ครองแชมป์ เงินเฟ้อสูงสุดที่ 429%
จับตามอง เศรษฐกิจลาวฟื้นตัว ส่งสัญญาณให้นักลงทุน
MOFL x ลงทุนแมน
พูดถึงเพื่อนบ้านเรือนเคียงอย่าง “สปป.ลาว”
ด้วยความที่มีพรมแดนติดกัน และประชากรที่มีความคล้ายคลึงกับคนไทย
จึงไม่น่าแปลกใจ ที่ไทยจะมีความสัมพันธ์ทางประวัติศาสตร์กับเพื่อนบ้านรายนี้ มาอย่างยาวนาน
หลายคนน่าจะอยากรู้ว่า ตอนนี้ เพื่อนบ้านเรารายนี้กำลังทำอะไรอยู่ ?
มีพัฒนาการของประเทศไปในทิศทางไหน ?
วันนี้ลงทุนแมนจะเล่าให้ฟัง
หลายคนอาจมีภาพจำว่า ลาวมีการขาดดุลการค้ามาโดยตลอด
แต่จริง ๆ แล้ว นับจากไตรมาส 3 ของปี 2563 ลาวเปลี่ยนสถานะจากการขาดดุลบัญชีการค้า (Trade Deficit) มาเป็นการเกินดุลบัญชีการค้า (Trade Surplus) แล้ว
พูดง่าย ๆ ว่า ลาวมีมูลค่าการส่งออกสินค้า มากกว่า มูลค่าการนำเข้า นั่นเอง
หากสังเกต มูลค่าการส่งออกของลาว ที่ผ่านมา
- ปี 2564 มูลค่าการส่งออก 7,695 ล้านดอลลาร์สหรัฐ
- ปี 2565 มูลค่าการส่งออก 8,198 ล้านดอลลาร์สหรัฐ
จะเห็นได้ว่า มูลค่าการส่งออกของลาวมีการเติบโตขึ้นจากปีที่ผ่านมา
ซึ่งปัจจัยสำคัญ ที่ทำให้การส่งออกเพิ่มมากขึ้น
ส่วนใหญ่ก็มาจากการส่งออกไฟฟ้า, แร่ธาตุ, ผลิตผลจากไม้, เยื่อไม้และกระดาษ, สินค้าเกษตร
ไปยังประเทศปลายทางต่าง ๆ เช่น ไทย, จีน, เวียดนาม, ออสเตรเลีย, สิงคโปร์
นอกจากนี้ ลาวยังได้รับอานิสงส์จากโครงสร้างพื้นฐาน และโครงการสาธารณูปโภคขนาดใหญ่ที่กำลังทยอยก่อสร้างเสร็จ เช่น โครงการไฟฟ้าพลังงานน้ำ, โครงการรถไฟฟ้าลาว-จีน, โครงการก่อสร้างเขตเศรษฐกิจพิเศษใหม่ ศูนย์โลจิสติกส์เวียงจันทน์ (Vientiane Logistics Park)
โดยเฉพาะ 2 โครงการหลัง ที่เอื้อประโยชน์อย่างมากต่อการส่งออกของลาว ช่วยลดต้นทุนและประหยัดเวลาในการขนส่งสินค้า และสะดวกสบายมากขึ้น
แล้วรู้หรือไม่ว่า อะไรคือจุดเด่นที่สุดของลาว..
คำตอบก็คือ ข้อได้เปรียบด้านภูมิประเทศ ซึ่งส่งผลดีต่อเศรษฐกิจลาวในหลาย ๆ ด้าน
ข้อแรกคือ การเป็นผู้พัฒนาโรงไฟฟ้าพลังงานน้ำรายใหญ่ของอาเซียน
จนได้รับการขนานนามว่า “แบตเตอรี่แห่งอาเซียน”
สังเกตได้จากสินค้าส่งออกสำคัญอันดับ 1 ของลาวนั้นก็คือ ไฟฟ้า
ซึ่งข้อได้เปรียบด้านภูมิประเทศ ที่ลาวมีพื้นที่รองรับน้ำได้มากถึง 202,000 ตารางกิโลเมตร คิดเป็น 85% ของพื้นที่ทั้งหมด ทำให้ลาวสามารถนำพลังงานน้ำ มาเป็นการผลิตไฟฟ้า คิดเป็น 80% ของกำลังการผลิตไฟฟ้าทั้งหมด
โดยตามเป้าหมายของลาว ภายในปี 2573 ลาวจะมีกำลังการผลิตไฟฟ้า 20,000 เมกะวัตต์
หรือเพิ่มขึ้นถึง 80% จากปัจจุบันที่มีกำลังการผลิต 11,000 เมกะวัตต์ เลยทีเดียว
ยิ่งไปกว่านั้น ทางลาวยังมีแผนจะปรับปรุงประสิทธิภาพและขยายสายส่งไฟฟ้า ทั้งในประเทศและไปยังประเทศเพื่อนบ้าน ทำให้มีเสถียรภาพในการจ่ายไฟให้ดียิ่งขึ้น และครอบคลุมไปทั่วพื้นที่
ซึ่งนอกจากจะช่วยรองรับการใช้ไฟฟ้าภายในประเทศได้อย่างสมบูรณ์แล้ว
ยังสามารถเพิ่มโอกาสในการส่งออกไปยังประเทศต่าง ๆ ในอาเซียน กลายเป็นเม็ดเงินรายได้เข้าประเทศลาว อีกด้วย
ข้อต่อมาคือ การเป็นประตูเชื่อมระหว่างจีน และอาเซียน
ลาว พยายามมุ่งสู่การเป็นศูนย์กลางด้านโลจิสติกส์ และจุดเชื่อมโยงที่สำคัญของภูมิภาคอาเซียน ผ่านการลงทุนในโครงสร้างพื้นฐานด้านคมนาคม อย่างเต็มรูปแบบ
เช่น โครงการรถไฟฟ้าลาว-จีน, ทางด่วน เวียงจันทน์-บ่อเต็น และโครงการท่าบกท่านาแล้ง ศูนย์โลจิสติกส์เวียงจันทน์ ที่เปิดดำเนินการไปแล้ว
ซึ่งจะส่งผลให้ ผู้ประกอบการสามารถลดต้นทุนและระยะเวลาในการขนส่ง
ช่วยเพิ่มโอกาสให้สินค้าส่งออกของอาเซียน มีการขนส่งผ่านทางประเทศลาวมากขึ้น
รวมไปถึงอาจช่วยดึงดูดการลงทุนจากต่างชาติ มาตั้งฐานการผลิตในประเทศลาว อีกด้วย
ถึงตรงนี้ เราคงเห็นศักยภาพการเติบโตของประเทศลาวกันไปแล้ว
คำถามต่อมาคือ แล้วลาวมี ความเสี่ยง อะไรบ้าง ?
ในปีที่ผ่านมา อย่างที่เรารู้กันว่าลาวเจอวิกฤติเงินกีบอ่อนค่า
ทำให้ลาวต้องนำเข้าน้ำมันเพื่อมาใช้ในประเทศ ในราคาแพงขึ้น ส่งผลให้ลาวยังต้องเผชิญกับปัญหาอัตราเงินเฟ้อสูง
ซึ่งทางลาวเองนั้น ก็มีมาตรการต่าง ๆ ออกมาแก้ปัญหา ไม่ว่าจะเป็น
- ปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ยนโยบาย
- ปรับขึ้นอัตราส่วนสำรองเงินกีบกับเงินตราต่างประเทศ
- ออกพันธบัตรระยะสั้นของธนาคารแห่งชาติลาว ในสกุลเงินกีบ เพื่อดึงเงินกีบเข้าระบบ
- ปิดร้านรับแลกเงินทั่วประเทศ โดยการแลกเงินให้ทำกับธนาคารเท่านั้น ซึ่งช่วยให้ค่าเงินไม่ผันผวนและทำให้บริหารจัดการได้ง่ายขึ้น
โดยมาตรการต่าง ๆ ที่ออกมา เริ่มส่งผลให้อัตราเงินเฟ้อค่อย ๆ ลดลงในปีนี้
และในไตรมาส 4 ปี 2566 ถึงต้นปี 2567 คาดว่าจะมีสัญญาณปรับตัวในทางที่ดีของค่าเงินกีบ
ทีนี้ ลองมาดู จำนวนหนี้สินต่างประเทศของลาวกัน
- ปี 2563 หนี้สินต่างประเทศ 10,684 ล้านดอลลาร์สหรัฐ
- ปี 2564 หนี้สินต่างประเทศ 10,426 ล้านดอลลาร์สหรัฐ
- ปี 2565 หนี้สินต่างประเทศ 10,495 ล้านดอลลาร์สหรัฐ
จะเห็นได้ว่า ตัวเลขหนี้ต่างประเทศนั้น ไม่ได้เพิ่มขึ้นแต่อย่างใด
หมายความว่า ลาวแทบไม่ได้ก่อหนี้ต่างประเทศเพิ่มขึ้น
ทั้งนี้ ยังอาจมีแนวโน้มลดลงต่อจากนี้อีกด้วย
โดยลาวจะมีรายได้เพิ่มขึ้นจากโครงการขนาดใหญ่ เช่น โครงการโรงไฟฟ้าและโครงสร้างพื้นฐานคมนาคม ซึ่งหลาย ๆ โครงการได้เริ่มเข้าสู่ช่วงเก็บเกี่ยวรายได้แล้ว
และหลังจากนี้ ลาวยังไม่มีความจำเป็นต้องใช้เงินลงทุนในโครงการขนาดใหญ่ เนื่องจากลงทุนเรียบร้อยไปแล้วก่อนหน้านี้
รวมไปถึง ลาวเองได้บริหารจัดการควบคุมการขาดดุลงบประมาณได้เป็นอย่างดี
ส่งผลให้ ตั้งแต่ปี 2564 เป็นต้นมา มีการขาดดุลงบประมาณที่ลดลงอย่างมีนัยสำคัญอีกด้วย
ปัจจุบัน หนี้ต่างประเทศของลาวมีสัดส่วน 40% เป็นเงินกู้เงื่อนไขทั่วไป (Market Term Debts) และ 60% เป็นเงินกู้ที่มีเงื่อนไขผ่อนปรน (Concessional Loans)
จะเห็นว่า Concessional Loans มีสัดส่วนที่สูงเกินครึ่ง
ซึ่งข้อดีของหนี้ประเภทนี้ก็คือ มีต้นทุนทางการเงินที่ต่ำ และมีความยืดหยุ่นมากกว่า
โดยปี 2566-2570 หนี้ต่างประเทศของลาว จะครบกำหนดชำระในแต่ละปี อยู่ที่ราว 1,200-1,500 ล้านดอลลาร์สหรัฐ (เป็นเงินต้น 900-1,200 ล้านดอลลาร์สหรัฐ)
ซึ่งลาวเอง ก็มีการเตรียมแผนการหาแหล่งรายได้และเงินทุนที่เป็นสกุลเงินต่างประเทศ เพื่อมารองรับหนี้ต่างประเทศไว้แล้ว ผ่าน 5 แหล่งหลัก ๆ ด้วยกัน
1. ภาษี ค่าสิทธิ และค่าสัมปทาน ที่รับเป็นสกุลเงินต่างประเทศจาก โครงการโรงไฟฟ้า โครงการเหมืองแร่ ค่าบินผ่านน่านฟ้าและค่าลงจอดของเครื่องบิน เป็นต้น
2. เงินที่ได้รับจากการชำระหนี้คืน จากการที่ให้รัฐวิสาหกิจกู้ยืม
3. การออกตราสารหนี้ในประเทศ
4. Refinance เงินกู้ยืม และตราสารหนี้
(ถือเป็นเรื่องปกติสำหรับประเทศกำลังพัฒนา ที่มีการลงทุนโครงสร้างพื้นฐาน และรอเก็บเกี่ยวรายได้)
5. แหล่งเงินอื่น เช่น ค่าธรรมเนียมสัมปทานจากโครงการต่าง ๆ, เงินที่ได้รับจากการแปรรูปรัฐวิสาหกิจ
สรุปง่าย ๆ ว่า ลาวออกมาตรการมาแก้ไขปัญหาเงินเฟ้อ และก็มีการบริหารจัดการหนี้ รวมไปถึงการจัดเตรียมแหล่งรายได้และเงินทุน มารองรับหนี้ต่างประเทศอย่างเพียงพอต่อการชำระหนี้รายปี
ด้วยศักยภาพการเติบโตของลาว และแนวโน้มทางเศรษฐกิจที่ดูดีขึ้นเรื่อย ๆ
ก็ไม่แน่ว่า ลาว อาจกลายเป็นอีกหนึ่งประเทศที่นักลงทุนจับตามองมากขึ้นก็เป็นได้
และทั้งหมดนี้ ก็คือเรื่องราวของ สปป.ลาว ที่พยายามเร่งเครื่อง มุ่งพัฒนาและเปลี่ยนแปลงประเทศ ยกระดับเศรษฐกิจให้ไปไกลกว่าเดิม
ซึ่งในฐานะที่บ้านใกล้เรือนเคียง คงต้องกล่าวคำยินดี
เพราะสุดท้ายแล้ว ถ้าเพื่อนบ้านรายนี้ของเราเติบโตมากขึ้น เศรษฐกิจไทยเองก็คงได้รับอานิสงส์ตรงนี้ไปด้วย..
References
-https://tradingeconomics.com/laos/indicators
-https://edlgen.com.la/
-กระทรวงการเงินแห่งสาธารณรัฐประชาธิปไตยประชาชนลาว (Ministry of Finance of the
Lao People’s Democratic Republic: MOFL)
ข้อมูลรถไฟลาวจีน 🚃🚆
ธนาคารแห่ง สปป ลาว ได้จัดตั้งกรมควบคุมเงินตราต่างประเทศ ซึ่งเป็นกรมใหม่ที่ควบคุมเงินตราต่างประเทศที่เข้าออกลาว และการซื้อขายในประเทศที่เป็นสกุลต่างประเทศ
ตลาดได้ขานรับการจัดตั้งโดยอัตราแลกเปลี่ยนวันที่ 1 พค ที่ธนาคารทำ New Low อยู่ที่ 534.32 กีบต่อ 1 บาท
แบงก์ชาติลาวตั้งกรมคุมเงินตราต่างประเทศ “เงินกีบ” ทรุดทำสถิติต่ำสุดใหม่ แบงก์ชาติลาวทำพิธีจัดตั้งหน่วยงานใหม่“กรมควบคุมเงินตราต่างประเทศ”ขึ้นอย่างเป็นทางการ เงินกีบขานรับทั.....
เริ่มตั้งแต่เดือนมกราคม ถึง เมษายน 2566 - สปป ลาว 🇱🇦 ได้ต้อนรับนักท่องเที่ยวกว่า 1,114,950 คน โดยนักท่องเที่ยวที่มาเยอะที่สุด 5 ประเทศแรกมาจาก
1) ไทย 430,979 คน 🇹🇭
2) เวียดนาม 244,461 คน 🇻🇳
3) จีน 223,350 คน 🇨🇳
4) เกาหลีใต้ 57,189 คน 🇰🇷
5) สหรัฐอเมริกา 22.713 คน 🇺🇸
ปัจจุบันมีนักลงทุนจากประเทศจีนมาลงทุนในอุตสาหกรรมเหมืองแร่รวม 108 บริษัท (150 กิจกรรม) ซึ่งในช่วงสํารวจและสํารวจมีทั้งหมด 54 บริษัท 59 กิจกรรม ในการพัฒนาปฏิวัติเศรษฐกิจและเทคนิคการทําเหมืองแร่ 54 บริษัท 91 กิจกรรม ได้รับอนุญาต เหมืองประกอบด้วย ทอง เหล็ก สังกะสี สังกะสี หินอ่อน ไฮบริด
ในปี 2011-2020 มูลค่าการผลิตสูงถึง $15,263 ดอลลาร์สหรัฐฯ เนื่องจากการพัฒนาแร่ธาตุที่มีส่วนในการพัฒนาเศรษฐกิจสังคมของประเทศ
Big C ที่แรกใน สปป ลาว มีแผนเปิดในพื้นที่เดียวกับห้างไอเต็ค (ITECC) นครหลวงเวียงจันทน์ โดยกำหนดการก่อสร้างแล้วเสร็จในเดือนมกราคม 2567 นี้
#บิ๊กซี #ลาว #สปปลาว
🔥 ຖ້າທ່ານເດີນທາງຜ່ານ ໄອເຕັກ ທ່ານອາດສັງເກດເຫັນ ກໍາລັງມີການກໍ່ສ້າງໃຫຍ່ ແມ່ນແລ້ວ ເຂດນັ້ນ ກໍາລັງກໍ່ສ້າງ Big C Super Center ສາຂາໃຫຍ່ ໂດຍກໍາໜົດ ສ້າງແລ້ວ ໃນເດືອນ ມັງກອນ 2024.
Big C Super Center ຕັ້ງຢູ່ ປາກທາງເຂົ້າ ໄອເຕັກ ກົງກັນຂ້າມ ກັບຕະຫຼາດຫຼັກຊັບລາວ, ນະຄອນຫຼວງວຽງຈັນ. ອີກໜຶ່ງສະຖານທີ່ ທີ່ຈະຮວບຮວມສິນຄ້າ ອຸປະໂພກ ບໍລິໂພກ ເພື່ອສ້າງ ຄວາມສະດວກສະບາຍ ໃຫ້ກັບຄົນລາວ ແລະ ຄົນຕ່າງປະເທດ ທີ່ອາໄສ ຢູ່ ນະຄອນຫຼວງວຽງຈັນ.
แต่ละประเทศในอาเซียน ติดหนี้จีน🇨🇳 กันเท่าไหร่บ้าง
#สปปลาว #ลาว
7Eleven เตรียมพร้อมเปิดสาขาแรกใน สปป ลาว ที่นครหลวงเวียงจันทน์ วันที่ 1 กันยายน 2566 นี้
#สปปลาว #ลาว
11 เขตเศรษฐกิจพิเศษ (Special Economic Zone) ใน สปป ลาว
เปิดแนวคิดเจ้าของโรงแรมใหญ่ในลาว ทำไมต้องใช้ “มืออาชีพ” บริหาร
ONYX Hospitality Group X ลงทุนแมน
ถ้าวันนี้ เราเป็นเจ้าของโรงแรม เราจะเลือกบริหารเอง หรือใช้เชนโรงแรมเข้ามาบริหาร ?
เพราะถ้าพูดถึงข้อดีหลัก ๆ ในการมีเชนโรงแรมเข้ามาบริหาร ที่คนส่วนใหญ่นึกถึง คือ
ช่วยปลดล็อกความกังวลในเรื่องของการปั้นแบรนด์
เนื่องจาก สามารถอาศัย “ชื่อเสียง” และ “ฐานลูกค้า” ของเชนโรงแรมที่มีอยู่แล้วมาทำการตลาดต่อได้เลย
รวมถึงมาตรฐานการบริหารจัดการ ที่เป็นระดับสากลยังสร้างความเชื่อมั่นให้ลูกค้าได้มากกว่า มาเป็นแต้มต่อ
แต่สิ่งที่ต้องแลก คือ ค่าใช้จ่ายในการรับบริหารของเชนโรงแรม และการบริหารงาน
ที่จะต้องเป็นไปตามวิถีหรือมาตรฐานของเชนโรงแรมนั้น ๆ
คำตอบของคำถามนี้ จึงขึ้นอยู่กับเจ้าของโรงแรมว่าจะมองจากมุมไหน
แต่สำหรับคุณเด่นชัย แสงอรุณ ผู้อำนวยการ กลุ่มบริษัท ตั้งเจริญ (ทีซีอาร์) จำกัด
มั่นใจและไว้ใจให้ “ออนิกซ์ ฮอสพิทาลิตี้ กรุ๊ป” เข้ามาช่วยบริหารโรงแรมหลายแห่งใน สปป.ลาว ได้แก่
- จำปาสัก แกรนด์ โฮเทล มีห้องพัก 215 ห้อง (ออนิกซ์ ฮอสพิทาลิตี้ฯ บริหารตั้งแต่ พ.ศ. 2560 – 2565)
- อมารี วังเวียง มีห้องพัก 160 ห้อง (ออนิกซ์ ฮอสพิทาลิตี้ฯ บริหารตั้งแต่ พ.ศ. 2561 - ปัจจุบัน)
- อมารี เวียงจันทน์ มีห้องพัก 250 ห้อง (ออนิกซ์ ฮอสพิทาลิตี้ฯ ได้รับว่าจ้างให้บริหาร - ปัจจุบันอยู่ระหว่างก่อสร้าง)
น่าสนใจว่า ทั้งที่กลุ่มบริษัท ตั้งเจริญ (ทีซีอาร์) จำกัด ทำธุรกิจโรงแรมอยู่แล้ว
แต่ทำไมยังเลือกให้ออนิกซ์ ฮอสพิทาลิตี้ฯ เข้ามาช่วยบริหาร ?
ลงทุนแมนจะเล่าให้ฟัง
คุณเด่นชัย บอกว่า โรงแรมแห่งแรกของกลุ่มบริษัท ตั้งเจริญ (ทีซีอาร์) จำกัด คือ
“จำปาสัก แกรนด์ โฮเทล”
ซึ่งก่อตั้งขึ้นเมื่อปี พ.ศ. 2552 วัตถุประสงค์เพื่อรองรับการแข่งขันซีเกมส์ ครั้งที่ 25 หรือ เวียงจันทน์ 2009
ในช่วง 6 ปีแรก การบริหารโรงแรม จะทำกันเองภายในครอบครัว
เน้นรับแขกจากรัฐบาล รวมถึงแขกคนไทยจากภาคอีสานที่เดินทางมาประชุมและสัมมนาเท่านั้น
ต่อมา ครอบครัวเห็นโอกาสทางธุรกิจ จึงไปลงทุนสร้างโรงแรมอีกแห่งที่วังเวียง
ตั้งแต่ยังไม่ได้มีสาธารณูปโภคขั้นพื้นฐาน อย่างทางด่วนและรถไฟเลยด้วยซ้ำ
“ตอนแรกคิดว่าจะลงทุนสร้างเป็นโรงแรมรับนักท่องเที่ยวเล็ก ๆ
จนพอศึกษาลึกขึ้น ก็พบว่าที่นี่ยังมีโอกาสเติบโตอีกมาก
แต่ด้วยประสบการณ์การทำโรงแรมและบุคลากรที่มีในขณะนั้นอาจยังไม่เพียงพอ
จึงต้องมองหาเชนมาทำงานร่วมกัน และช่วยสร้างโอกาสให้พนักงาน
ได้เรียนรู้การทำงานมาตรฐานสากลจากเชนใหญ่ ๆ ด้วย
ซึ่งที่ผ่านมา พอมีโอกาสได้รู้จักกับแบรนด์อมารี จากที่เคยใช้บริการ เวลาท่องเที่ยวส่วนตัว
เลยตัดสินใจว่าโรงแรมที่กำลังจะเปิดเพิ่ม อยากทำให้มีแบรนด์ มีมาตรฐานแบบอมารี”
คุณเด่นชัย บอกว่า ตอนนั้นก็มีคุยกับเชนโรงแรมหลายแห่ง
เพราะ มีหลายปัจจัย ที่ต้องคำนึงถึงในการเลือก
ทั้งประสบการณ์ ชื่อเสียง มาตรฐาน วิธีการทำงานร่วมกัน
ที่สำคัญ ต้องเป็นเชนที่เข้าใจในตลาด และวิถีวัฒนธรรมแบบเอเชีย
ซึ่งเวลานั้น ออนิกซ์ ฮอสพิทาลิตี้ฯ ถือเป็นหนึ่งในตัวเลือกที่น่าสนใจ เพราะมีปัจจัยครบตามที่มองหา
ถึงแม้จะเป็นบริษัทสัญชาติไทยก็จริง แต่มาตรฐานการบริการและคุณภาพ
รวมถึงแบรนด์ในเครือ อาทิ อมารี ก็มีมาตรฐานไม่ต่างจากเชนโรงแรมใหญ่ ๆ
ที่เป็นเแบรนด์ระดับอินเตอร์เนชันแนลเลย
ที่สำคัญยังรู้จักตลาดในเมืองไทยและในภูมิภาคนี้เป็นอย่างดี
หากเทียบกับเชนใหญ่จากฝั่งยุโรป รวมถึงมีกระบวนการทำงาน และทีมงานมีความยืดหยุ่นค่อนข้างสูง
ด้วยเหตุนี้ เลยทำให้คุณเด่นชัย เลือกออนิกซ์ ฮอสพิทาลิตี้ฯ ให้เข้ามาช่วยบริหารโรงแรม
โดยให้เข้ามาบริหารโรงแรมของกลุ่มบริษัท ตั้งเจริญ (ทีซีอาร์) พร้อมกันเลยทีเดียวถึง 3 แห่ง
ตั้งแต่การทำสัญญาครั้งแรก แทนที่จะทดลองใช้แต่ละเชนเข้าบริหารในแต่ละแห่ง เพื่อความหลากหลาย
คุณเด่นชัย อธิบายว่า การใช้หลายเชน ในภาพใหญ่จะควบคุมการทำงานลำบาก
ทั้งแง่ค่าใช้จ่าย การบริหาร ระบบการทำงาน รวมถึงบุคลากร
เพราะแต่ละเชนก็มีมาตรฐานแตกต่างกันออกไป
โดยเหตุผลที่ตัดสินใจเลือกออนิกซ์ ฮอสพิทาลิตี้ฯ นอกจากจุดแข็งของอมารีที่กล่าวมาแล้ว
ยังมองไปถึงการแชร์ฐานลูกค้าแต่ละโรงแรมในอนาคต
“ถ้าลูกค้ามาใช้บริการที่โรงแรมในเครือแล้วประทับใจ เขาก็จะกลับมาใช้บริการโรงแรมในเครืออีก
ดังนั้น การที่เราเลือกใช้เชนเดียวกันในการบริหาร ย่อมส่งผลดีต่อธุรกิจในภาพรวม
จึงตัดสินใจทำสัญญากับออนิกซ์ ฮอสพิทาลิตี้ฯ ทั้ง 2 รูปแบบ คือ บริหารภายใต้ชื่อ “อมารี” และ บริหารภายใต้ชื่อเดิม
อย่าง อมารี วังเวียง ซึ่งเป็น Tourist Destination และโรงแรมแห่งใหม่ที่กำลังจะสร้างที่เวียงจันทน์
เราตั้งใจให้เป็น Business Hotel ระดับ 5 ดาว
จึงเลือกใช้แบรนด์ “อมารี” เพราะเป็นที่รู้จักอย่างดีในตลาดระดับบน”
คุณเด่นชัย ยังเสริมด้วยว่า ด้วยจุดแข็งของอมารี ที่มีความเป็นวิถีเอเชีย แตกต่างจากเชนยุโรป
จึงตอบโจทย์กลุ่มลูกค้าหลักของโรงแรม ที่เป็นกลุ่มคนเอเชีย และยุโรป
ที่เชื่อว่าเวลามาเที่ยวในแถบภูมิภาคนี้ ก็อยากสัมผัสประสบการณ์แบบเอเชียจริง ๆ
ในแบบที่แตกต่างจากการเข้าพักในโรงแรมเชนจากยุโรป
ซึ่งแบรนด์ อมารี มีตรงจุดนี้ โดยเฉพาะกลิ่นอายความเป็นไทยที่มีบริการมาตรฐานสากล
นอกจากการให้เชนโรงแรมเข้ามาบริหาร จะตอบโจทย์ลูกค้าแล้ว
ในฝั่งเจ้าของเอง คุณเด่นชัยก็ยอมรับว่า ได้ประโยชน์ไม่น้อย
“ตอนที่เข้ามาบริหารโรงแรม เมื่อ 6 ปีที่แล้ว ผมมองเรื่องมาตรฐานและการบริการ
ผมอยากให้พนักงานของเราที่ทำเรื่องบริการได้เรียนรู้มาตรฐานจากต่างประเทศ
และมีทีมผู้บริหารที่สามารถช่วยบริหารจัดการเรื่องต้นทุนและการเงิน
ผมเลยเลือกที่จะให้เชนโรงแรมที่มีความเป็นมืออาชีพเข้ามาบริหาร
ซึ่งผลลัพธ์ก็ไม่ผิดหวัง หลังจากมีเชนโรงแรมเข้ามา เรื่องการเงิน การบริหารต้นทุนก็ดีขึ้น
Working Flow ก็ดีขึ้น”
คุณเด่นชัย ยังเสริมด้วยว่า ถ้าให้ ออนิกซ์ ฮอสพิทาลิตี้ฯ เข้ามาบริหารตั้งแต่เราเริ่มก่อสร้าง จะช่วยลดปัญหาเรื่อง Workflow
เพราะออนิกซ์ ฮอสพิทาลิตี้ฯ จะช่วยแนะนำว่า ห้องครัว, ห้องซักรีดควรอยู่ตรงไหน
ป้องกันปัญหาที่จะเกิดในอนาคต หรือ ถ้าเจอปัญหา ก็สามารถแก้ไขได้เลยตั้งแต่ตอนที่ก่อสร้าง
ในส่วนของพนักงานก็เช่นกัน จะได้รับการฝึกอบรมให้มีความพร้อม
ตั้งแต่ก่อนโรงแรมเปิด ประมาณ 6 เดือน
พอช่วง Soft Opening ทางออนิกซ์ ฮอสพิทาลิตี้ฯ ก็จะส่ง GM มาดูเรื่องของการสั่งและสต็อกของ
ช่วงปลายปี GM ก็จะช่วยวางแผนงบประมาณ คาดการณ์ว่าปีหน้าจะลงทุนเท่าไร
จะมีรายรับเท่าไร เสร็จแล้วจะให้ทางทีมออนิกซ์ ฮอสพิทาลิตี้ฯ ช่วยดู แล้วมาให้เจ้าของตัดสินใจอีกที
มาถึงวันนี้ คุณเด่นชัย ยอมรับว่า การที่ได้พาร์ตเนอร์ที่มีความยืดหยุ่น
เข้าใจมุมมองของเจ้าของ และเข้าใจตลาด และทำงานด้วยมาตรฐานในทุกขั้นตอน
ทำให้มั่นใจว่าการลงทุนในระยะยาวจะมั่นคง
สำหรับอนาคต คุณเด่นชัย ตั้งเป้าว่า ภายใน 5 ปี ในส่วนของ Hospitality จะมีการขยายเพิ่มเติมที่เวียงจันทน์ และหลวงพระบาง ด้วย
“การบริหารธุรกิจ Hospitality ไม่ว่าจะเป็นโรงแรม หรือ เซอร์วิส อพาร์ตเมนต์
ผมมองว่า ระบบเป็นเรื่องที่สำคัญ
ผมอยากให้ทุก Property มีระบบ และ Workflow ที่สามารถตรวจสอบได้ตลอดเวลา”
มาถึงตรงนี้ คงหายข้องใจแล้วว่า ทำไมคุณเด่นชัย
ที่แม้ครอบครัวจะมีประสบการณ์ในการทำธุรกิจโรงแรม
ถึงเลือกที่จะมองหาพาร์ตเนอร์ที่มีความเข้าใจมาเป็นคู่คิด
เพราะสุดท้ายแล้ว การทำธุรกิจแบบตัวคนเดียว อาจจะทำให้เราไปข้างหน้าได้ก็จริง
แต่การมีพาร์ตเนอร์ที่ใช่ จะทำให้เราพาธุรกิจไปได้ไกลกว่าเดิม นั่นเอง..
Reference
-สัมภาษณ์โดยตรงกับคุณเด่นชัย แสงอรุณ ผู้อำนวยการ กลุ่มบริษัท ตั้งเจริญ (ทีซีอาร์) จำกัด
Starbucks ☕️จะเปิดให้บริการสาขาที่ 2 ใน สปป ลาว ที่ห้าง View Mall ตั้งแต่วันที่ 24 มีนาคม 2566
กระทรวงการคลังลาว เตรียมออกพันธบัตรรัฐบาลลาว ชุดที่ 4 เป็น
1) สกุลเงินกีบ 2.5 ล้านล้านกีบ (ประมาณ 5,000 ล้านบาท) และ
2) สกุลเงิน USD 50 ล้านUSD (ประมาณ 1,715 ล้านบาท)
ลาวนำเข้า / ส่งออกอะไรเยอะสุดในเดือนกุมภา 2023
นำเข้า
1) น้ำมันดีเซล
2) อุปกรณ์กลจักร
3) รถยนต์
ส่งออก
1) มันสำปะหลัง
2) ทองคำผสม, ทองคำแท่ง
3) แร่ทองคำ
อยู่ลาวก็ใช้ ChatGPT ได้แล้ว https://chat.haltech.la/
📣 ຢູ່ລາວກໍ່ສາມາດໃຊ້ chatGPT ໄດ້ແລ້ວ ໂດຍບໍ່ຈໍາເປັນຕ້ອງລົງທະບຽນໃດໆ.
ທີມງານຮຸ່ງອາລຸນ ເທັກໂນໂລຢີ ໄດ້ເຊື່ອມຕໍ່ API ກັບ chatGPT ໂດຍກົງ ພຽງແຕ່ເຂົ້າໄປທີ່
👉 https://chat.haltech.la/ 👈 ກໍ່ສາມາດສົນທະນາກັບ chatGPT ໄດ້ເລີຍໂດຍບໍ່ໄດ້ເສຍຄ່າໃດໆ.
📢 ຮັບນັກພັດທະນາຫຼາຍຕໍາແຫນ່ງ ສົນໃຈຮ່ວມງານກັບທີມງານຮຸ່ງອາລຸນເທັກໂນໂລຢີ
📥 ສົ່ງ cv ມາທີ່ [email protected]
ลาวคาด 'โรงไฟฟ้า' กลางแม่น้ำโขง สร้างเสร็จปี 2030
โครงการก่อสร้างโรงไฟฟ้าพลังน้ำ ขนาด 1,460 เมกะวัตต์ กลางแม่น้ำโขง ช่วงไหลผ่านแขวงหลวงพระบางทางตอนเหนือของลาว ซึ่งเริ่มต้นก่อสร้างปี 2020 มีแนวโน้มแล้วเสร็จและสามารถผลิตไฟฟ้าได้ในปี 2030
เมื่อวันพุธ (22 ก.พ.) สถานีโทรทัศน์แห่งชาติลาว รายงานว่าโรงไฟฟ้าพลังน้ำแห่งนี้มีเขื่อนคอนกรีตที่ทำงานแบบระบบน้ำไหลผ่าน (Run-of-River) โดยตัวกำแพงเขื่อนมีความสูง 79 เมตร และกระแสน้ำจะไหลลดหลั่นด้วยระยะ 29.6 เมตร
โรงไฟฟ้าพลังน้ำแห่งนี้ประกอบด้วยหน่วยกังหันน้ำแบบคาปลาน (Kaplan) แนวตั้ง 7 หน่วย ซึ่งมีกำลังการผลิตติดตั้งรวม 1,400 เมกะวัตต์ พร้อมด้วยหน่วยเสริมอีก 3 หน่วย ซึ่งมีกำลังการผลิตเพิ่มเติม 60 เมกะวัตต์ ทำให้พลังงานทั้งหมดที่ผลิตแต่ละปีจะอยู่ที่ราว 6,854 กิกะวัตต์ชั่วโมง
อุตสาหกรรมการผลิตไฟฟ้าและเหมืองแร่ในลาวเติบโตอย่างรวดเร็วและช่วยส่งเสริมการพัฒนาเศรษฐกิจของประเทศ โดยมีการสร้างโรงไฟฟ้าพลังน้ำหลายแห่งในลาว ซึ่งเป็นส่วนหนึ่งในยุทธศาสตร์ของรัฐบาลลาวที่ตั้งเป้าหมายเปลี่ยนประเทศเป็น "แบตเตอรี่แห่งเอเชียตะวันออกเฉียงใต้"
ปัจจุบันลาวมีโรงไฟฟ้า 94 แห่ง ซึ่งมีกำลังการผลิตติดตั้งรวม 11,661 เมกะวัตต์ และสามารถผลิตไฟฟ้าได้ 58,813 กิกะวัตต์ชั่วโมงต่อปี โดยราวร้อยละ 95 ของครัวเรือนทั้งหมดทั่วประเทศสามารถเข้าถึงการใช้ไฟฟ้า
นอกจากนั้นอุตสาหกรรมพลังงานและเหมืองแร่ยังมีบทบาทสำคัญต่อการขับเคลื่อนเศรษฐกิจ เนื่องจากทั้งสองภาคส่วนสร้างประโยชน์มหาศาลทั้งในแง่การจ้างงานและการก่อสร้างถนน โรงเรียน โรงพยาบาล ตลาด ตลอดจนแหล่งน้ำสะอาด
ทั้งนี้ การจำหน่ายไฟฟ้าแก่กลุ่มประเทศเพื่อนบ้าน และผลกำไรที่ได้จากการสกัดแร่ธาตุ ช่วยสร้างรายได้ที่เป็นสกุลเงินต่างประเทศจำนวนมหาศาลให้ลาวเพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่อง
(แฟ้มภาพซินหัว : โรงไฟฟ้าพลังน้ำน้ำอู 1 ในแขวงหลวงพระบางทางตอนเหนือของลาว วันที่ 13 ก.ค. 2022)
อ่านข่าวอื่นๆ : www.xinhuathai.com
Click here to claim your Sponsored Listing.
Category
Contact the business
Telephone
Website
Address
Toàn Quốc Lào
Vientiane
Gồm các số điện thoại theo năm sinh các nhà mạng Unitel, Mphone, ETL.Dịch vụ tìm sim theo yêu cầu
ໂພນສະອາດ (MB Bank)
Vientiane, 1010
ແມັກກີ່ ຝ່າຍ ສິນເຊື່ອ MB Bank
Xaythany , Ban Phakhao KM7
Vientiane