Bitcoin Addict Academy

Bitcoin Addict Academy aims to provide valuable education to help enhance our community's knowledge on blockchain technologies and digital assets.

We also offer public speaking services, private courses and workshops operating under Cryptomind Group.

03/08/2022

เหรียญ OKB คืออะไร? ใช้ประโยชน์อะไรได้บ้าง? ไปอ่านกันได้เลยย😍

“OKB” โทเค็นประจำเว็บเทรด OKX มีข้อมูลอะไรที่ควรรู้บ้าง?
ประวัติเว็บเทรด OKX
OKX (ซึ่งชื่อเดิมก่อนจะถูกรีแบรนด์ชื่อว่า OKex) คือแพลตฟอร์มเทรดคริปโตเคอร์เรนซี่ที่ก่อตั้งขึ้นในปี 2017 ประกอบไปด้วยบริการการเทรดมากมาย ไม่ว่าจะเป็น Spot Trading, Perprtual, Future Trading, Margin, Options รวมไปถึงฟีเจอร์ต่างๆมากมั้ย ทั้งการสร้างรายได้, การกู้ยืม, DeFi, บริการ Crypto Mining และการระดมทุน Launchpad ICO “Jumpstart” ที่มีโปรเจคต่างๆได้เข้ามาร่วมระดมทุนไปแล้วกว่า 12 โปรเจคนับตั้งแต่ต้นปีที่ผ่านมา โดย Vision หลักของ OKX คือการนำ Blockchain มาประยุกต์ใช้กับภาคธุรกิจ เพื่อสร้างระบบนิเวศใหม่ทางการเงิน ทลายอุปสรรคของการเงินยุคเก่า และส่งเสริมการพัฒนาเศรษฐกิจโลกให้มีความยั่งยืนกว่าเดิม
และเมื่อเดือนมกราคมที่ผ่านมา ทาง OKex ก็ได้มีการรีแบรนด์เปลี่ยนชื่อบริษัทใหม่เป็น OKX เพื่อเป็นการพัฒนาฟีเจอร์ต่างๆของทางแพลตฟอร์มให้มีความทันสมัยและตอบโจทย์ผู้ใช้งานยุค Web 3.0 ให้มากขึ้นกว่าเดิม ซึ่งไฮไลท์เด็ดๆก็คงหนีไม่พ้น “MetaX” ซึ่งเป็น Wallet Web 3.0 ที่ทาง OKX พัฒนาขึ้นเพื่อให้ผู้ใช้งานสามารถเชื่อมต่อโลก Decentralized ได้อย่างง่ายดาย รวมไปถึงทาง OKX ก็มีการพัฒนาฟีเจอร์ DeFi Portal และ NFT Marketplace อีกด้วย เรียกได้ว่าเป็น Hub ที่มีความพร้อมเกือบจะทุกอย่างเลย
NFT Marketplace ที่ทาง OKX นำมาให้ผู้ใช้งานได้ลองใช้กันนั้น แทบจะมีทุก Collection เหมือนอย่างใน Opensea ซึ่งเป็นตลาดซื้อขาย NFT ที่ใหญ่ที่สุดในโลกเลยก็ว่าได้ ทั้ง BAYC, MAYC, Cryptopunks, Azuki, Doodles, CloneX และอื่นๆอีกมากมาย โดยสำหรับใครที่อยากทดลองใช้ เพียงแค่เราดาวน์โหลด “MetaX” ที่เป็น Extension และกด Create New Wallet เพียงเท่านี้เราก็สามารถเพลิดเพลินไปกับ Decentralized Hub ใน Ecosystem ของ OKX ได้แล้ว
นอกจากนี้แล้ว ทาง OKX ยังได้สร้าง Blockchain ของตัวเองที่มีชื่อว่า OKC กับคอนเซป “Reborn for Metaverse” อีกด้วย ซึ่งข้อมูลธุรกรรมของ OKC เรียกได้ว่าไม่ธรรมดา เพราะตั้งแต่มีการเปิดตัวมานั้น OKC มีจำนวนธุรกรรมทั้งหมดกว่า 108 ล้านธุรกรรม, จำนวน Wallet กว่า 2.24 ล้านบัญชี, ยอดเงินฝากที่ล็อคไว้กับบล็อกเชน (TVL) สูงถึง 84 ล้านดอลลาร์สหรัฐฯเลยทีเดียว อีกทั้งตัว Ecosystem ของ OKC ยังรองรับ DApps แทบจะทุกอย่าง ทั้ง DeFi, NFT, GameFi, Metaverse และยังรองรับ EVM Compatible และ IBC Interoperable จาก Cosmos Ecosystem อีกด้วย ถือว่าครบครันมากๆ
รวมไปถึงทาง OKX ยังมีการเปิดตัวกองทุน Blockdream Ventures ซึ่งเป็น Ventures Capital ที่คอยเฟ้นหาโปรเจค Web 3.0 ที่มีศักยภาพจากทั่วโลกเพื่อไปลงทุน โดยที่ผ่านมาจะมีการเน้นลงทุนไปที่ Sector Polkadot, Layer 2, DeFi, Filecoin Ecosystem ด้วยเงินทุนเริ่มต้น 100 ล้านดอลลาร์สหรัฐฯนั่นเอง
อีกหนึ่งความน่าสนใจของเว็บเทรด OKX คือ เมื่อเดือนมกราคมที่ผ่านมาก่อนจะถูกรีแบรนด์นั้น ทาง OKX มีวอลุ่ม Spot Trading สูงเป็นอันดับสองรองจาก Binance และ Derivatives Trading สูงเป็นอันดับสามรองจาก Kraken และ Binance เพียงเท่านั้น มียอดผู้ใช้งานรวมทั้งหมดกว่า 20 ล้านบัญชีจากกว่า 100 ประเทศทั่วโลก
OKB Token คืออะไร?
OKB คือโทเค็น Utility ประจำเว็บเทรด OKX ที่ถูกออกโดย OK Blockchain Foundation ซึ่งจำนวนโทเค็นเริ่มต้นนั้นถูกเซ็ตไว้ทั้งหมดที่ 300,000,000 OKB และจะมีการ Bay Back & Burn ทุกๆไตรมาส (คล้ายๆกับ BNB ของ Binance เลย ซึ่งล่าสุด OKB ก็ได้มีการ Bay Back & Burn เป็นครั้งที่ 13 แล้ว) โดยจำนวนรายได้ 30% จากค่าธรรมเนียมของ Spot Trading นำมา Burn และเราสามารถเข้าไปดูประวิติวันที่ Burn และจำนวนในการ Burn ได้ที่ https://www.okx.com/th/okb
ซึ่ง OKB Token จะมอบสิทธิประโยชน์มากมายให้แก่ผู้ถือ OKB ทั้งจากพาร์ทเนอร์อย่าง Ledger Vault, Coinomi และ Cryptohopper และจากทาง OKX เอง ไม่ว่าจะเป็นส่วนลดค่าธรรมเนียม, สิทธิพิเศษในฟีเจอร์ OKX Earn, สิทธิ์ในการระดมทุนใน Jumpstart และสิทธิประโยชน์ต่างๆใน Ecosystem ของ OKC เรามาเจาะดูแต่ละเรื่องดีกว่าว่ามีข้อมูลอะไรที่น่าสนใจบ้าง
1) ส่วนลดค่าธรรมเนียมในการเทรด
Lv.1 : ถือทั้งหมด 1-499 OKB : Maker Fees 0.08% : Taker Fees 0.1%
Lv.2 : ถือทั้งหมด 500-999 OKB : Maker Fees 0.075% : Taker Fees 0.095%
Lv.3 : ถือทั้งหมด 1,000-1,499 OKB : Maker Fees 0.07% : Taker Fees 0.09%
Lv.4 : ถือทั้งหมด 1,500-1,999 OKB : Maker Fees 0.065% : Taker Fees 0.085%
Lv.5 : ถือทั้งหมด 2,000 OKB ขึ้นไป : Maker Fees 0.06% : Taker Fees 0.08%
2) สิทธิพิเศษในฟีเจอร์ OKX Earn
เราสามารถนำ OKB ไปฝากไว้ในเว็บเทรด OKX เพื่อรับ Rewards ได้ เช่นเดียวกันกับเหรียญ Exchage อื่นๆเลย โดย OKB สามารถนำไปฝากแบบ Fixed Income เพื่อรับผลตอบแทนประมาณ 4% ต่อปีได้ หรือจะเป็นการฝากแบบ Saving (Flexible) เพื่อรับผลตอบแทนประมาณ 1% ได้อีกเช่นกัน หลายๆคนอาจจะฟังดูแล้วรู้สึกว่าผลตอบแทนมันน้อย ซึ่งผลตอบแทนจะมีการเปลี่ยนแปลงตลอดตามจำนวนโทเค็น OKB ที่เข้ามาฝาก แต่ไฮไลท์ของ OKB ไม่ได้อยู่ที่การฝาก แต่อยู่ในข้อถัดไปครับ
3) “OKX Jumpstart” Launchpad
อย่างที่บอกไปด้านบนคือ Jumpstart จะเป็นฟีเจอร์สำหรับการระดมทุนให้กับโปรเจคใหม่ๆที่ใช้ช่องทาง OKX ในการระดมทุน ซึ่งการที่เราจะได้รับโทเค็นของโปรเจคนั้นๆ สำหรับ Jumpstart จะมีอยู่ 2 วิธี ได้แก่ Mining และ On Sales
Mining : จะอารมณ์คล้ายๆ Launchpool ของ Binance โดยผู้ใช้งานจะต้องนำเหรียญ OKB ไป Staking ไว้ในพูลของโปรเจคนั้นๆเพื่อรับโทเค็นของโปรเจคนั้นๆ ซึ่งแต่ละโปรเจคจะมีข้อจำกัดที่ไม่เหมือนกัน เช่น บางโปรเจคจำกัดจำนวนที่จะนำ OKB มา Staking, บางโปรเจคมีการล็อค OKB ที่เรานำมา Staking เป็นต้น
On Sales : ฟีเจอร์นี้จะเป็นเหมือนแพลตฟอร์ม Decentralized Launchpad ทั่วๆไป โดยเราจะต้องนำ OKB มา Staking เพื่อให้ได้รับสิทธิ์ในการซื้อโทเค็นของโปรเจคนั้นๆตาม Tier ต่างๆที่ OKX กำหนดนั่นเอง
4) สิทธิประโยชน์ต่างๆใน Ecosystem ของ OKC
เราสามารถใช้ OKB ใน Ecosystem ต่างๆของทาง OKC Chain ได้ ไม่ว่าจะเป็น Cherry Swap ซึ่งเป็น Decentralized Exchange ตัวแรกของ OKC เราก็สามารถนำ OKB มาฟาร์มเพิ่มสภาพคล่องได้ หรือจะเป็น GameFi อย่าง Celestial, Shambala, Plato Farm เราก็สามารถนำ OKB มาใช้เป็นสกุลเงินหรือสิ่งของแลกเปลี่ยนใน DApps เหล่านี้ก็ได้เช่นกัน
มูลค่าตลาดปัจจุบันของ OKB อยู่ที่ $1,092,484,512 หรือประมาณ 39,329,442,432 บาท อยู่อันดับที่ 48 อ้างอิงจากเว็บไซต์ Coinmarketcap มี Circulating Supply อยู่ที่ 60,000,000 OKB จากทั้งหมด 300,000,000 OKB มีราคาสูงสุดยอดหลัง 24 ชั่วโมงอยู่ที่ $18.32 และราคาต่ำสุด 24 ชั่วโมงอยู่ที่ $17.48 มีราคาสูงสุดตลอดกาลอยู่ที่ $45 และราคาต่ำสุดตลอดกาลอยู่ที่ $0.6 สามารถเทรด OKB ได้ที่เว็บเทรดชื่อดัง ไม่ว่าจะเป็น OKX, FTX, Gate.io, LBank เป็นต้น
ขอบคุณเพจ BitToon สำหรับกราฟิก และเพจ Jolden Crypto สำหรับเนื้อหาด้วยนะครับ😍

28/07/2022

QTUM คืออะไร? ลองไปอ่านกันได้เล้ยยย

ข้อมูลเหรียญ Qtum Coin (QTUM)
Qtum ให้อ่านว่า ควอนตัม เป็นแพลตฟอร์มบล็อคเชน Smart Contract แบบโอเพ่นซอร์สที่ใช้ภาษาสิงคโปร์โดยมีการทำงานแบบ Proof-of-Stake (PoS) ซึ่งใช้โปรโตคอลในการถ่ายโอนมูลค่า มีจุดมุ่งหมายเพื่อรวมข้อเด่นของBitcoin และ Ethereum ไว้ในบล็อคเชนเดียวกันและเพื่อเพิ่มประสิทธิภาพการทำงานร่วมกันของ Smart Contract ด้วย Qtum กำเนิดขึ้นจากโมเดลการทำธุรกรรมแบบ UTXO ของ Bitcoin ผนวกเข้ากับ Smart Contracts ของ Ethereum พร้อมส่วนเสริมของ Smart Contract Ex*****on และ DApps ต่างๆ เมื่อเดือนมีนาคมปี 2021 ได้เพิ่มการรองรับแอพพลิเคชั่น DeFi ที่มีการสร้างโทเค็นขึ้นรวมกว่า 20 รายการบนบล็อคเชนนี้เลยทีเดียว
Qtum มีระบบการกำกับดูแลแบบ On-chain แต่ก็ยังมีกระบวนการ Off-chain สำหรับการอนุมัติและจัดการกับการเปลี่ยนแปลงโปรโตคอลที่สำคัญมากขึ้นโดยมีวัตถุประสงค์หลักเพื่อแก้ไขปัญหา 4 อย่างหลักๆ ที่ผู้ก่อตั้งพบว่าเป็นปัญหาที่ใหญ่มากในแพลตฟอร์มบล็อคเชนของทั้ง BTC และ ETH ได้แก่ การทำงานร่วมกัน การกำกับดูแล ความแข็งแกร่งและต้นทุนของกลไกแบบ Proof-of-work และความเป็นไปได้ในการเชื่อมต่อ Smart Contracts กับแอพพลิเคชันในชีวิตจริง Qtum จึงคิดค้นเทคโนโลยีพิเศษขึ้นมา 2 อย่าง เพื่อการแก้ปัญหานี้โดยเฉพาะ นั่นก็คือ Account Abstraction Layer (AAL) และ Decentralized Governance Protocol (DGP)
Account Abstraction Layer รวมบัญชี UTXO (Unspent Transaction Output) จาก Bitcoin กับ Smart Contract ซึ่งได้รับแรงบันดาลใจจาก Ethereum ที่อนุญาตให้ผู้ใช้สร้างแอปพลิเคชันและโฮสต์บนเครื่องเสมือนจริง รวมถึง Ethereum Virtual Machine (EVM) ซึ่งเป็นสิ่งที่ทำให้สามารถสร้างสัญญาอัจฉริยะได้ และเครื่องเสมือน x86 นอกจากนี้ยังรองรับชุดคำสั่ง i686 และภาษาสำหรับการเขียนโปรแกรมหลายภาษานอกเหนือจาก Solidity เช่น C, C++, Rust และ Python ซึ่งทำให้ง่ายต่อการปรับใช้แอพพลิเคชั่นที่มีอยู่และคอมไพล์เข้าด้วยกัน Qtum ไม่เพียงแต่ต้องการทำ Smart Contract ให้สมบูรณ์เท่านั้น ยังมีแผนที่จะรวมไลบรารีโปรแกรมทั่วไปในรูปแบบของ Smart Contract อีกด้วย
Decentralized Governance Protocol ช่วยให้ Smart Contract จัดการเรื่องพารามิเตอร์หลักของเครือข่ายได้ เช่น การปรับเปลี่ยนขนาดของบล็อคและค่าธรรมเนียม gas ต่างๆ โดยไม่จำเป็นต้องทำการ Hard Fork ซึ่งช่วยลดปัญหาในขณะที่เครือข่ายกำลังพัฒนาได้ นอกจากนั้น นักขุด นักพัฒนา และผู้ถือ QTUM ภายในระบบนิเวศน์ทั้งหมดมีส่วนเกี่ยวข้องกับการกำกับดูแลบล็อคเชนผ่านการโหวต และบล็อคเชนสามารถทำการอัพเกรดซ้ำได้ด้วยตัวมันเอง
นอกจากการผนวกรวม Bitcoin และ Ethereum เป็นการรวมที่ดีที่สุดแล้ว Qtum ยังรองรับการรวมข้อมูลภายนอกเข้าด้วยกันและสิ่งที่ทีมเรียกว่า Oracle เหล่านี้เป็นองค์ประกอบหลักของ APIs ที่อนุญาตให้อุปกรณ์ภายนอกจัดหาและรับข้อมูลจาก Smart Contract ที่ทำงานบนแพลตฟอร์ม Qtum Oracles เป็นบุคคลที่เชื่อถือได้ในเครือข่ายที่สามารถจัดหาข้อมูลดำเนินการคำนวณนอกเครือข่ายและช่วยในการคำนวณ ข้อแตกต่างทางเทคนิคของ Qtum ที่ต่างจาก Bitcoin และ Ethereum ที่ใช้อยู่ในปัจจุบันอย่างเห็นได้ชัดคือการที่ Qtum เลือกกลไกฉันทามติแบบ MPoS (Mutualized Proof-of-Stake) เป็นเวอร์ชั่นดัดแปลงของ Proof-of-Stake 3.0 เพื่อเพิ่มความปลอดภัยของเครือข่ายนั่นเอง
โครงการนี้ประกาศออกมาในเดือนมีนาคมปี 2016 และ ICO ในเดือนมีนาคมปี 2017 ทำเงินได้ถึง 15 ล้านเหรียญดอลล่าร์ แต่บล็อคเชนหลักของ Qtum ได้เปิดตัวเมื่อวันที่ 13 กันยายนปี 2017 เมื่อเริ่มแรก และโทเค็น QTUM เปิดตัวตัวขึ้นใน ETH-20 แต่หลังจากนั้นไม่นาน Mainnet ก็ถูกแปลงเป็นบล็อคเชนแบบดั้งเดิม
Qtum กำลังจะได้ร่วมมือกับ Amazon Web Service (AWS) ประเทศจีน โดยจะร่วมกันพัฒนา Blockchain As a Service (BaaS) เพื่อให้ง่ายต่อการพัฒนาสำหรับองค์กรและนักพัฒนา
อ้างอิงจาก PR ของ Qtum ระบุว่าโดยการร่วมมือกันนี้จะอนุญาตให้ผู้ใช้งานของ AWS สามารถเข้าร่วมพัฒนาและใช้งาน Smart Contract ที่รวดเร็วและมีประสิทธิภาพมากขึ้นผ่านช่องทาง Amazon Machine Image (AMI) ซึ่ง Simon Wang หัวหน้าฝ่ายพัฒนาธุรกิจภูมิภาคของ AWS China ได้ยืนยันการร่วมมือโดยผ่าน Email ที่ส่งให้กับทาง CoinDesk ว่า “Qtum ได้ร่วมมือกับ AWS”
Patrick Dai คือผู้ก่อตั้งและยังเป็นประธานมูลนิธิของ Qtum เขาศึกษาด้านวิทยาการคอมพิวเตอร์ที่ Draper University และลาออกตอนศึกษาปริญญาเอกที่ Chinese Academy of Sciences เขาเริ่มต้นอาชีพในฐานะผู้จัดการฝ่ายการผลิตภัณฑ์ที่บริษัทอาลีบาบา จากนั้นเริ่มทำงานเกี่ยวกับบล็อคเชนหลายโครงการ เช่น Factom, Vechain, Bitse Group และ Meilink เมื่อปี 2016 ก็มาเริ่มทำงานที่ Qtum ก่อนหน้านี้เขาเป็นที่รู้จักภายใต้ชื่อ Steven Dai เมื่อตอนที่เขาเป็น CTO ของโครงการ BitBay ซึ่งถูกกล่าวหาว่าเป็นโครงการที่หลอกลวง นอกจากนี้ยังมีผู้ร่วมก่อตั้งอีก 2 คน ได้แก่ Neil Mahi ดำรงตำแหน่ง CTO และเป็นสถาปนิกของบล็อคเชนนี้ และ Jordan Earls ดำรงตำแหน่งหัวหน้าฝ่ายนักพัฒนา
Stephen (Xiaolong) เป็นหัวหน้านักพัฒนาซอฟต์แวร์ของ Qtum ตั้งแต่ปี 2017 เขาสำเร็จการศึกษาระดับปริญญาด้าน Computer Vision จาก University of Chinese Academy of Sciences ซึ่งก่อนหน้านี้เขาเคยร่วมงานกับบริษัทชั้นนำอย่าง Tencent และ Microsoft ในตำแหน่งนักพัฒนาซอฟต์แวร์
ส่วนการพัฒนาของ Qtum ส่วนใหญ่อยู่ในเอเชีย มีความพยายามด้านการตลาดและการขยายงานของพวกเขาได้ดึงดูดตลาดเอเชียโดยเฉพาะตลาดในจีน มีเว็บไซต์มากกว่าหนึ่งแห่งจนถูกขนานนามว่า Ethereum ของประเทศจีน ทีม Qtum เป็นกลุ่มคนรุ่นใหม่ที่ตั้งใจพัฒนาเทคโนโลยีเพื่อรองรับความท้าทายที่รออยู่ข้างหน้า Anthony Di Iorio หนึ่งในผู้ก่อตั้ง Ethereum และนักลงทุน Qtum กล่าวว่า ผมเชื่อว่าพวกเขาเป็นทีมที่ดีที่สุดในจีนและเอเชีย ซึ่งสิ่งนี้ทำให้พวกเขาเห็นว่าจำเป็นต้องมีการปรับปรุงในแพลตฟอร์ม Smart Contract และเรียนรู้จากความผิดพลาดของ Ethereum มุ่งเน้นที่ภูมิภาคที่พวกเขารู้จักดีที่สุด นอกเหนือจาก Di Iorio แล้ว Qtum ได้ระดมทุน 1 ล้านเหรียญในช่วงต้นของโครงการจากนักลงทุน 11 รายที่ช่วยสร้าง Testnet และเริ่มดำเนินการตามแนวคิดดังกล่าว ต่อมาในเดือนมีนาคมปี 2017 Qtum สามารถระดมทุนได้จำนวนหลายล้านในเวลาเพียง 5 วัน Qtum ตั้งอยู่ในสิงคโปร์ มีสำนักงานในไมอามี่และสต็อกโฮล์ม
มูลค่าตลาด ณ ปัจจุบันของ QTUM อยู่ที่ $263,256,262 หรือประมาณ 8,687,456,646 ล้านบาท อยู่อันดับที่ 122 ของเว็บ Coingecko และมี Supply หมุนเวียนอยู่ที่ 104,243,975 QTUM จากทั้งหมด 107,822,406 QTUM ราคาสูงสุดอยู่ที่ 2.74 ดอลลาร์ และ ราคาต่ำสุดอยู่ที่ 2.52 ดอลลาร์ (อ้างอิงจาก 24 ชม.ล่าสุด) ส่วนราคาสูงสุดที่เคยปรากฎอยู่ที่ 100.22 ดอลลาร์และต่ำสุดที่เคยปรากฏอยู่ที่ 0.783 ดอลลาร์
ขอบคุณเพจ BitToon สำหรับกราฟิก และเพจ Lady Crypto สำหรับเนื้อหาด้วยนะครับ😍

22/07/2022

Apecoin คืออะไร? ลองไปอ่านกัน!!!!

ApeCoin เหรียญตระกูล Metaverse ที่มาแรงที่สุดในปีนี้
ApeCoin คือ ERC-20 Token ที่ถูกสร้างขึ้นโดย ApeCoin DAO ซึ่งเป็นบริษัทกำกับดูแล ApeCoin โดยเฉพาะที่ถูกแยกออกมาจาก Yuga Labs ซึ่งเป็นสตูดิโอที่ผลิต Collection NFT ระดับโลกอย่าง Bored Ape Yatch Club (BAYC), Mutant Ape Yatch Club (MAYC) เพื่อที่จะนำ ApeCoin เข้ามาใช้เป็นสกุลเงิน (Currency) ภายใน Ecosystem ของ Yuga Labs โดยหลังจากเปิดตัว ApeCoin ในวันแรก ตัวเหรียญก็ได้ถูกเข้าไปลิสต์ให้ซื้อขายได้ในกระดานเทรดชื่อดังอย่าง Binance, Coinbase, FTX และมีราคาเปิดตัวสูงถึง $30/APE ภายในไม่กี่นาทีหลังจากเปิดให้เทรด ดันให้ ApeCoin กลายเป็นหนึ่งในเหรียญตระกูล Metaverse ที่มีมูลค่าตลาดสูงที่สุด แซงหน้าเหรียญ SAND, MANA, AXS ไปเลย
ซึ่งหลังจากที่ประกาศเปิดตัว ApeCoin ทาง Yuga Labs ก็ได้มีการ Airdrop เหรียญ APE ไปให้กับผู้ถือ Bored Ape Yatch Club จำนวน 10,000 APE ต่อการถือหนึ่งตัว Mutant Ape Yatch Club จำนวน 2,000 APE ต่อการถือหนึ่งตัว เท่ากับว่า หากผู้ถือ BAYC ทำการขายเหรียญ APE ที่ได้จากการ Airdrop ในตอนราคาสูงสุด เขาจะได้รับเงินฟรีไปประมาณ 10 ล้านบาทเลยทีเดียว (อิงตามราคา APE/USDT ที่ All Time High $30)
เมื่อต้นเดือนเมษายนที่ผ่านมา ทาง Yuga Labs ได้รับเงินระดมทุนไปกว่า 450 ล้านดอลลาร์สหรัฐฯ และได้มีการร่วมมือกับ Animoca Brands, Andreessen Horowitz, Coinbase, Moonpay ในการสร้าง “Otherside” ซึ่งเป็นโปรเจค Play to Earn Metaverse แนว MetaRPG ของทาง Yuga Labs โดยจะมีการรวบรวม Collection ต่างๆจากทาง Yuga Labs และ Colletion เสริมอื่นๆให้มาอยู่ในเกม และมีการใช้ ApeCoin มาเป็นสกุลเงินหลักของ Otherside อีกด้วย
โดยก่อนที่จะมีการประกาศเปิดตัวโปรเจค Otherside ทาง Yuga Labs ก็ได้มีการเข้าไปซื้อโปรเจค Cryptopunks และ Meebits จากทาง Larva Labs ซึ่งเป็นผู้ผลิตเดิมเพื่อที่จะนำเจ้าสอง Collection ดังนี้เข้ามายัง Metaverse ของ Otherside โดยแต่ก่อนนั้น เจ้าของผลงาน Cryptopunks และ Meebits ไม่สามารถนำ NFT ของตนเองไปทำอะไรต่อได้เลย ไม่ว่าจะเป็นการนำไปใช้ในทางการค้า หรือการโปรโมทใดๆ เนื่องจากข้อจำกัดของทรัพย์สินทางปัญญาที่บริษัทเดิมกำหนด แต่หลังจากที่ทาง Yuga Labs เข้ามาซื้อสอง Collection นี้ไปแล้ว เจ้าของที่ครอบครองผลงานก็สามารถนำ NFT ของตนไปใช้ได้อย่างเต็มที่นั่นเอง
สำหรับใครที่ได้ดูวีดีโอ Trailer เปิดตัวของ Otherside https://www.youtube.com/watch?v=qt1equGhkQE ในช่วงนาทีที่ 1.06 - 1.18 ก็จะได้พบเห็น Collection อื่นๆที่ไม่ได้เป็นของ Yuga Labs ก็ได้เข้ามาร่วมจอยอยู่ใน Otherside ด้วย ไม่ว่าจะเป็น Cool Cats, World of Women, CrypToadz, Nouns รวมไปถึง Cryptopunks และ Meebits ที่ทาง Yuga Labs เพิ่งซื้อมาหมาดๆก็ได้เข้าร่วมอยู่ในนี้ด้วยเช่นกัน ซึ่งหลังจากการเปิดตัว Trailer Otherside เมื่อวันที่ 17 มีนาคมที่ผ่านมา ก็ส่งผลให้ Collection ต่างๆที่ปรากฎอยู่ใน Trailer พากันยกปริมาณยอดเทรดใน Opensea ขึ้นกันไม่น้อยกว่า 30% เลยทีเดียว
นอกจากนี้ ทาง Yuga Labs ยังประกาศขาย Land ของ Otherside ในโปรเจคที่มีชื่อว่า Otherdeed for Otherside จำนวนทั้งหมด 200,000 ผืน โดยรอบแรกได้มีการขายจำนวน 100,000 ผืนเมื่อวันที่ 30 เมษายนที่ผ่านมา และอีก 100,000 ผืนจะมีการประกาศแผนการขายในอนาคต ซึ่ง 100,000 ผืนแรกนั้น จะมี 30,000 ที่ถูก Airdrop ไปให้กับผู้ถือ BAYC และ MAYC และอีก 70,000 จะถูกขายในรอบ Public Sale จำนวนผืนละ 305 APE หรือราคาประมาณ 250,000 บาทในตอนนั้น
ด้วยความฮอตของ Otherside Land ถึงแม้จะจำนวน Wallet ที่ KYC เพียงแค่ 55,000 Wallet แต่จากข้อกำหนดที่ Mint ได้ Wallet ละ 2 ผืน ก็ทำให้คนแย่งกันอัดแก๊สจนทำให้ Etherscan พัง และดัน Gwei ขึ้นไปสูงกว่า 10,000 Gwei เลยทีเดียว ซึ่งหลังจากการ Mint เสร็จก็ได้มีข้อมูลระบุว่า จำนวนค่าแก๊สทั้งหมดที่คนเสียให้กับการ Mint Otherside Land นั้นมีจำนวนราวๆ 64,700 ETH หรือประมาณ 5,823 ล้านบาทเลยทีเดียว แต่สุดท้ายทาง Yuga Labs ก็ได้มีการประกาศคืนค่าแก๊สให้กับคนที่ทำธุรกรรมล้มเหลวทั้งหมดเรียบร้อยแล้ว และดันราคา Floor ของ Otherside สูงกว่า 10 ETH ในตอนเปิดตัว และ Otherdeed Land #59906 ที่ขายได้แพงที่สุด ก็ถูกขายไปในราคา 625 ETH หรือราวๆ 56 ล้านบาทเลยทีเดียว
นอกจากนี้ Opensea ก็เปิดรองรับสกุลเงิน APE ในการซื้อขายอีกด้วย แต่เหรียญก็มีสองด้านเสมอ บางคนไม่รู้ก็เผลอไปตั้งราคาจากเหรียญ ETH เป็นเหรียญ APE บ้าง บางคนเห็นมีคนมา Offer ราคา แต่ราคาที่มา Offer นั้นดันเป็นเหรียญ APE ไม่ได้สังเกตุจึงกดตกลงรับไปบ้าง แทนที่จะขายได้ 1,000,000 บาท กลับขายได้เพียง 10,000 บาทโดยทันทีนั่นเอง
และเมื่อวันที่ 18 กรกฎาคม ทาง Yuga Labs ก็ได้มีการเปิดทดสอบระบบ Metaverse ของ Otherside เพื่อทดสอบความเสถียรและความสามารถในการรองรับผู้เล่นจากทั่วโลก ซึ่งในขณะที่เปิดทดสอบระบบก็สามารถรองรับผู้เล่นได้มากถึง 4,300 คนเลยทีเดียวโดยแทบไม่มีความผิดพลาดเกิดขึ้นเลย นับเป็นการพัฒนาก้าวสำคัญของวงการ Metavese ของ Web 3.0 ให้ยกระดับขึ้นไปอีกขั้น สามารถรับชมวิดีโอทดสอบระบบได้ที่ : https://www.youtube.com/watch?v=rNgPsTOQMB4
Use Case ของ ApeCoin
Governance : ใช้ ApeCoin เป็นสิทธิ์ในการโหวตทิศทางและ Proposal ของ Ecosystem ของ Otherside ในอนาคตได้
Unification of Spend : ใช้ ApeCoin เป็นสกุลเงินหลัง (Currency) ในการซื้อขายแลกเปลี่ยนภายใน Ecosystem ของ Otherside
Access : ใช้ ApeCoin เป็นเหมือนบัตรผ่านในการเข้าไปเล่นกิจกรรมต่างๆที่ทาง Ecosystem ของ Otherside จัดขึ้น ไม่ว่าจะเป็น Exclusive Game, Merch, Events รวมไปถึง Service ต่างๆอีกด้วย
Incentivization : นำ ApeCoin ไปเป็น Incentive สำหรับนักพัฒนาหรือบุคคลต่างๆที่เข้ามาช่วยเหลือและพัฒนา Otherside ให้มีประสิทธิภาพมากยิ่งขึ้น
Allocation ของ Apecoin
62% Ecosystem Fund : 150,000,000 APE จะถูกแจกจ่ายให้กับผู้ถือ BAYC/MAYC และอีก 470,000,000 APE จะถูกเก็บไว้ใน DAO Treasury และเก็บเป็นเงินทุนสำรองกรณีฉุกเฉิน ประกอบด้วย 117,500,000 APE ถูกปลดล็อคเลย และอีก 7,343,750 APE จะถูกปลดล็อคทุกๆเดือนเป็นเวลา 2 ปี
16% Yuga Labs & Charity : 150,000,000 APE ถูกแจกจ่ายให้กับทีมงานทั้งหมดของ Yuga Labs และอีก 10,000,000 APE จะถูกบริจาคให้กับ Jane Goodall Legacy Foundation ซึ่งเป็นมูลนิธิที่ให้ความช่วยเหลือด้านสิ่งแวดล้อมและลิงโดยเฉพาะ
14% Launch Contributors : ให้กับคนที่ช่วยเหลือ Yuga Labs และ Otherside
8% BAYC Founder : ให้กับ Founder ทั้งสี่คนของ Bored Ape Yatch Club
มูลค่าตลาดปัจจุบันของ ApeCoin อยู่ที่ $2,087,142,840 หรือประมาณ 77,224,285,080 บาท อยู่ลำดับที่ 31 (อ้างอิงจากเว็บไซต์ Coinmarketcap) มี Circulating Supply อยู่ที่ 306,875,000 APE จากทั้งหมด 1,000,000,000 APE มีราคาสูงสุดตลอดกาลอยู่ที่ $30/APE และราคาต่ำสุดตลอดกาลอยู่ที่ $3.12/APE มีราคาสูงสุด 24 ชั่วโมงที่ผ่านมาอยู่ที่ $6.87 และราคาต่ำสุด 24 ชั่วโมงที่ผ่านมาอยู่ที่ $5.67 สามารถเทรดเหรียญ APE ได้ที่กระดานเทรดหลายแห่ง ไม่ว่าจะเป็น Binance, FTX, Coinbase, KuCoin, Huobi เป็นต้น

18/07/2022

dYdX คืออะไร? ทำไมครั้งนึงมันถึงเคยมี Trading Volumn มากกว่า Coinbase ซะอีก? ลองไปอ่านกันได้เลยครับ😁

แพลตฟอร์ม dYdX คืออะไร? ทำไมมีช่วงนึง Trading Volumn ถึงมากกว่า Coinbase ซะอีก?
แพลตฟอร์ม dYdX คืออะไร?
dYdX เป็น Decentralized Exchange ที่มีการเปิดตัวเมื่อปี 2017 และเป็น DApps ที่มีฟีเจอร์สำหรับการเทรดต่างๆที่แทบจะเทียบเคียงกับ Centralized Exchange ทั่วไปมากๆ โดยแต่เดิมนั้น dYdX ถูกสร้างอยู่บนเครือข่าย Ethereum และมีการรองรับ Spot Trading และ Margin Trading รวมไปถึงสามารถเทรดแบบ Order Book หรือมีการตั้งราคาซื้อหรือขายได้อีกด้วย แต่ในปัจจุบันทั้งสองฟีเจอร์นี้ได้ถูกยกเลิกไปตั้งแต่วันที่ 1 พฤศจิกายน 2021 เนื่องจาก Trading Volumn กว่า 99% นั้นถูกกองไปอยู่ที่ Perpetual Protocol หรือ การเทรด Future ซะส่วนใหญ่นั่นเอง
ทาง dYdX จึงถือวิสาสะทำการ Rebranding แพลตฟอร์มใหม่ไปกลายๆ เนื่องจาก Vision ของเขาคือการทำยังไงก็ได้ให้ผู้ที่เข้ามาใช้งาน dYdX นั้นเสมือนได้ทำการเทรดใน Centralized Exchange โดยตรง ทางแพลตฟอร์มจึงได้จับมือกับ StarkWare ซึ่งเป็นบริษัทผู้พัฒนา Layer 2 ของ Ethereum ในการใช้งานชุด Smart Contract ที่มีชื่อว่า “StarkEx” ในการมุ่งพัฒนาฟีเจอร์ Perpetual Protocol ของแพลตฟอร์มให้มีประสิทธิภาพมากยิ่งขึ้น โดยการที่ StarkEx นั้นใช้เทคโนโลยี zk-Rollups ในการยืนยันธุรกรรมภายในแพลตฟอร์ม จึงทำให้การเทรดใน dYdX นั้นมีการทำธุรกรรมที่รวดเร็ว แถมค่าธรรมเนียมการทำธุรกรรมยังต่ำเทียบเท่ากับศูนย์อีกด้วย
ทำให้ปัจจุบันนี้ dYdX รองรับการใช้งานเทรดเฉพาะ Perpetual Contract เท่านั้น, มีคู่เทรดทั้งหมด 37 คู่เทรด, มีกราฟราคาแบบเรียลไทม์, สามารถเล่น Leverage ได้สูงสุดถึง 20 เท่า, มี Trading Volumn 24 ชั่วโมงย้อนหลังอยู่ที่ $879,151,703 และมียอด Open Interest 24 ชั่วโมงย้อนหลังสูงถึง $346,632428 เลยทีเดียว
และอีกหนึ่งจุดเด่นของ dYdX เลยก็คือ ตัวแพลตฟอร์มนั้นมี Investor ระดับแนวหน้าของวงการคริปโตเข้ามาร่วมระดมทุนกันมากมาย ไม่ว่าจะเป็น Andreessen Horowitz, a16zCrypto, Paradigm, Polychain, DeFiance, Hashed, Brian Armstring (CEO Coinbase) และบุคคลอื่นๆอีกมากมายกว่า 30 เจ้าเลยนั่นเอง
ทำไมคนถึงรู้จักแพลตฟอร์ม dYdX กันมากขึ้น?
เมื่อวันที่ 4 สิงหาคม 2021 ที่ผ่านมา ทาง dYdX Foundation ซึ่งเป็นบริษัทผู้พัฒนา dYdX ก็ได้ประกาศแจก Airdrop เหรียญ DYDX ซึ่งเป็น Governance Token ประจำแพลตฟอร์ม dYdX ให้กับผู้ที่เคยเข้ามาทดลองเทรดภายในแพลตฟอร์ม และแจกเป็นสัดส่วนต่างๆตาม Trading Volumn ของแต่ละคน แถมไม่ได้รับแค่คนที่เคยเทรดธรรมดานะ คนที่เคยแม้แต่ฝากเงินเข้าไปในแพลตฟอร์มอย่างน้อย 1 ครั้ง ก็จะได้รับ Airdrop เหรียญ DYDX ไปด้วยเช่นกัน
โดย Airdrop ที่ทาง dYdX แจกให้กับผู้ใช้งานนั้นก็เป็นที่พูดถึงกันอย่างมาก เพราะแต่ละคนที่ได้รับไปนั้น สำหรับคนที่เพียงแค่ฝากเงินเข้ามาในแพลตฟอร์มครั้งนึง ก็ได้รับเงินฟรีไปแล้ว 310 DYDX และหากคนๆนั้นนำไปขายที่ราคา All Time High ก็จะได้รับเงินฟรีไปราวๆหลายแสนบาทเลยทีเดียว
ซึ่งในขณะนั้นเอง คนไทยส่วนมากยังรู้จัก dYdX น้อยมากๆ เนื่องจากยุค DeFi Summer เหล่าบรรดาแพลตฟอร์ม DeFi ที่จะเป็นที่รู้จักกันก็คงหนีไม่พ้น Uniswap, Sushiswap, Aave, Compound เนื่องจากแพลตฟอร์มเหล่านี้ก็ต่างมีจุดเด่นของตนเอง และมีผู้ใช้งานเป็นจำนวนมากเช่นกัน และมีผู้ใช้งานมากกว่าแพลตฟอร์ม dYdX ที่มีการเปิดตัวพร้อมๆกับแพลตฟอร์มเหล่านี้เลย
แต่ในช่วงการประกาศ Airdrop ของ dYdX นั้น เป็นช่วงเวลาไล่เลี่ยกับการประกาศแบนธุรกรรมการเทรดคริปโตจากประเทศจีน ทำให้หลายๆ Centrazlied Exchange นั้นต่างต้องงดรับผู้ใช้งานใหม่ที่เป็นชาวจีนทั้งหมด ซึ่งสำหรับใครที่ไม่ทราบก็อยากจะบอกไว้ว่า ชาวจีนเป็นชนชาติที่เทรดคริปโตมากที่สุดติดอันดับโลกเลย เพราะฉะนั้น ถ้าพวกเขาโดน Centralized Exchange แบนแล้ว เขาจะไปที่ไหนได้? พวกเขาก็ต้องหนีไป Decentralized Exchange นั่นเองครับ แล้วเขาจะหนีไป DEX ไหนหละ? ก็ต้องเป็น DEX ที่มีฟีเจอร์ที่คล้ายกับ CEX ทั้งในเรื่องความใช้งานง่าย, ความสะดวกสบายในการเปิดบัญชี, ความรวดเร็วของธุรกรรม, และค่าธรรมเนียมที่ต่ำ ซึ่งทั้งหมดที่กล่าวมานี้ แพลตฟอร์ม dYdX ตรงจุดประสงค์ทุกอย่างเลย ทำให้คนจำนวนมากหันมาใช้งาน dYdX กันมากยิ่งขึ้นนั่นเอง
“Founder” หนึ่งในความได้เปรียบของ dYdX
ความมากประสบการณ์ ผู้ที่อยู่ในวงการมาก่อน ย่อมเป็นผลดีสำหรับนักลงทุนที่ตัดสินใจจะลงทุน หรือเป็นผลดีกับผู้ใช้งานที่จะเข้ามาใช้งานแพลตฟอร์มของเขา ผู้ก่อตั้ง dYdX ก็คือ คุณ Antonio Juliano เขาจบการศึกษาจากมหาวิทยาลัย Princeton สาขา Computer Science และเขามีความเชี่ยวชาญด้านบล็อคเชนเป็นอย่างมาก ในปี 2015 ได้ทำงานในฐานะ Software Engineer ที่ Coinbase เว็บเทรดอันดับหนึ่งของสหรัฐฯ ก่อนจะลาออกในปี 2017 เพื่อมาสร้างแพลตฟอร์ม dYdX นั่นเอง
นอกจากนี้ยังได้คุณ Zhouxun Yin ซึ่งปัจจุบันทำหน้าที่เป็น Head of Operations ของ dYdX Foundation ซึ่งประวัติคนนี้ก็ไม่ธรรมดาอีกเช่นกัน เขาเคยทำงานที่ Nimble ซึ่งเป็นองค์กรให้บริการด้านการขายและการตลาดชื่อดังจากรัฐ California และ Bain & Company บริษัทให้บริการคำปรึกษาทางธุรกิจจากรัฐ Massachusetts อีกด้วย
ฟีเจอร์อื่นๆนอกเหนือจากการ Perpetual Trading
นอกจากการให้บริการเทรดนั้น ทางแพลตฟอร์ม dYdX ยังมีการแจก Rewards เหรียญ DYDX ให้กับคนที่เข้ามาเทรดกับแพลตฟอร์ม เคยใช้งานหรือเข้ามาช่วยเหลือแพลตฟอร์มทางใดทางหนึ่งด้วยเช่นกัน โดยการแจก Rewards จะแบ่งออกเป็น 3 ประเภท ได้แก่
Retroactive Mining Rewards : จะเป็นพาร์ทสำหรับการแจก Airdrop เหรียญ DYDX ให้กับผู้ที่เคยเข้ามาใช้งานแพลตฟอร์มก่อนวันที่ 27 กรกฎาคม 2021 ไม่ว่าจะเป็น การฝากเงินเข้ามา, การเทรด Spot, Margin, Future ทั้งใน Layer 1 และ Layer 2 โดยเหรียญ DYDX ที่ได้มีการแจกใน Retroactive Mining Rewards นั้นคิดเป็น 7.5% ของอุปทานทั้งหมด หรือประมาณ 75,000,000 DYDX นั่นเอง
Trading Rewards : จะเป็นการแจกเหรียญ DYDX ให้กับผู้ที่เข้ามาเทรดภายในแพลตฟอร์ม โดยจะนับรวมจากค่าธรรมเนียมการเทรดที่เราเสียไป รวมกับ Open Interest ทั้งหมด และจะมีการแจกตามสัดส่วนต่างๆตามจำนวนเหรียญ DYDX ที่เราถือไว้ใน Wallet นั่นเอง ซึ่งการแจก Trading Rewards นี้จะแจกทุกๆ 28 วันเป็นเวลาทั้งหมด 5 ปีหลังจากนี้ เพราะฉะนั้นใครที่เข้ามาเทรดกับแพลตฟอร์มเรื่อยๆ ก็จะได้รับเหรียญ DYDX เป็นเหมือน Cash Back กลับเข้ากระเป๋าเราไปเลย ซึ่งจำนวนเหรียญ DYDX ที่มีการแจกใน Trading Rewards คิดเป็นสัดส่วนทั้งหมด 25% ของอุปทานทั้งหมด หรือประมาณ 250,000,000 DYDX ตลอดระยะเวลา 5 ปีนั่นเอง
Liquidity Provider Rewards : จะเป็น Rewards สำหรับผู้ที่เข้ามาเพิ่มสภาพคล่องภายในแพลตฟอร์ม dYdX นั่นเอง โดยผู้ที่จะได้รับ Rewards เหรียญ DYDX นั้น จะต้องมียอดเงินที่ฝากเพิ่มสภาพคล่องให้เกิน 0.25% ของ Maker Fee ที่ทางแพลตฟอร์มคิดได้ โดยสัดส่วนเหรียญ DYDX สำหรับการแจกใน Liquidity Provider Rewards คิดเป็น 7.5% ของอุปทานทั้งหมด หรือประมาณ 75,000,000 DYDX นั่นเอง
และล่าสุด ทาง dYdX Foundation ก็ได้ประกาศว่า dYdX กำลังจะสร้างเชนของตัวเองผ่าน Cosmos SDK ซึ่งเป็น Tools ของ Cosmos ที่จะเปิดให้ใครก็ได้สามารถที่จะเข้ามาสร้างบล็อคเชนลงบน Cosmos Ecosystem ได้นั่นเอง ซึ่ง Move นี้ก็ถือว่าเป็นเรื่องที่น่าสนใจเป็นอย่างมากเลยทีเดียว
มูลค่าตลาดปัจจุบันของ DYDX อยู่ที่ $140,851,039 หรือประมาณ 5,070,637,404 บาท อยู่อันดับที่ 156 (อ้างอิงจากเว็บไซต์ Coinmarketcap) มี Circulating Supply อยู่ที่ 65,569,295 DYDX จากทั้งหมด 1,000,000,000 DYDX มีราคาสูงสุดตลอดกาลอยู่ที่ $27.95 และมีราคาต่ำสุดตลอดกาลอยู่ที่ $1.033 สามารถเทรดเหรียญ DYDX ได้ที่เว็บเทรดต่างๆ ไม่ว่าจะเป็น Binance, FTX, KuCoin, Huobi, Gate.io เป็นต้น
ขอบคุณเพจ BitToon สำหรับกราฟิก และเพจ Jolden Crypto สำหรับเนื้อหาด้วยนะครับ :D

16/07/2022

1inch Network คืออะไร? ลองไปอ่านกันได้เล้ยยย🥰

ข้อมูลเหรียญ 1inch Network
1inch สร้างชื่อเสียงมากจากการเป็น Dex Aggregator หรือเรียกง่าย ๆ ที่เราคุ้นกันคือ Best Rate Swap โดยจะทำการค้นหาอัตราและเปลี่ยนและค่า Fee ที่ดีที่สุดให้กับผู้ใช้งานโดยผู้ใช้งานไม่ต้องดำเนินการเปรียบเทียบเอง โดยตอนนี้ 1inch Network เป็น Dex Aggregator ครอบคลุมอยู่หลาย Chain ได้แก่ Ethereum, Binance Smart Chain, Polygon, Optimism, Arbitrum, Genosis, Fantom, Avalanche และยังมีในส่วนของ Limit Order Mode ที่เราสามารถเลือกอัตราแลกเปลี่ยนที่ต้องการได้ โดยจะเป็นการส่งคำสั่งค้างไว้ และมีระบุเวลาที่คำสั่งจะ Expire โดยจะตั้งรอจนกว่าราคาจะถึงที่เรากำหนดถึงจะดำเนินการแลกเปลี่ยน
นอกจาก Dex Aggregator ที่วิ่งหา Best Rate Swap จาก AMM อื่นๆ แล้วทาง 1inch Network ยังมี AMM ของตัวเอง โดยเปิดให้คนที่สนใจมาทำ provide liquidity ใน Pool ต่าง ๆ ของ 1inch เองโดยจะได้รับผลตอบแทนเป็น 1inch Token อีกด้วย ตาม %APY ของแต่ละ Pool
และผลิตภัณฑ์ตัวล่าสุดคือ 1inch Wallet ซึ่งเป็น Defi Wallet ที่มีให้ Download ทั้ง iOS และ Andriod ซึ่งเป็นจิ๊กซอว์ตัวสุดท้ายที่ต่อภาพสุดท้ายของ Ecosystem 1inch network ให้สมบูรณ์ขึ้นเนื่องจาก 1inch network เชื่อว่าในปัจจุบันคนใช้งาน Defi ผ่านมือถือมีปริมาณเยอะขึ้นอย่างมีนัยยะสำคัญในส่วนของ Mobile Wallet ยังมีช่องว่างอีกมากให้ทาง 1inch network สามารถเข้ามาได้ และเมื่อเหล่าผู้ใช้งานใหม่ ๆ ใช้งานผ่าน 1inch Defi Wallet ก็จะทำให้การ Swap เหรียญต่างๆ ก็ต้องวิ่งผ่านมาทาง 1inch Network เป็นช่องทางหลัก ทำให้เป็นการสร้างฐานผู้ใช้งานลูกค้าให้แข็งแกร่งมากขึ้นไปอีกด้วย เมื่อมีปริมาณลูกค้าใช้งานมาก ๆ ค่า Fee ก็เก็บได้มากขึ้นและ ยังมีหน้าจอ Stake ดึงดูดให้ลูกค้าอย่างน้อยซื้อสัก 100 1inch Token เป็นอย่างต่ำ ก็จะได้รับการลดค่า GAS ในการใช้งาน 1inch Dex Aggregator แล้ว ก็จะยิ่งทำให้มีความต้องการใช้ 1inch Token มากขึ้นตามไปด้วยนั่นเอง
จะเห็นได้ว่า 1inch ที่เริ่มจาก Dex Aggregator ได้พัฒนาและขยายขีดความสามารถของตัวเองเพิ่มไปเรื่อย ๆ จนเป็น One-stop access to decentralized finance ให้สมกับ Slogan ใหม่ของ 1inch ที่มุ่งหวังให้ทุกคนที่เข้ามาใช้ Defi ต้องอยู่กับ Ecosystem ของ 1inch ซึ่งตอนนี้ถ้านับจากปริมาณการใช้งานต่อวันและ TVL สำหรับ Dex Aggregator แล้ว นับได้ว่า 1inch Network เป็น Platform อันดับต้น ๆ ที่มีคนเข้ามาใช้งานทั้ง Swap Token และ Provide Liquidity ซึ่งตามข้อมูลของ 1inch Network แจ้งว่ามี Total Vol ถึง $223B+ และมี wallet ที่ใช้งานถึงประมาณ 3 ล้าน Wallet จะเห็นได้ว่า Ecosystem ของ 1inch ค่อนข้างแข็งแรงเป็นอย่างมากเลยทีเดียว และทำให้ค่า Fee ที่อยู่ใน Treasury ยิ่งเพิ่มขึ้นเรื่อยๆ และส่วนหนึ่งได้ถูกนำไปซื้อเป็น 1inch Token ทำให้ปริมาณความต้องการของ 1inch Token ยิ่งเพิ่มขึ้นเรื่อย ๆ ในแต่ละวัน
1inch Token จะเป็นทั้ง Utility Token และ Governance tokens หลักของ 1inch Network โดยสำหรับผู้ถือ 1inch Token สามารถนำมา Stake เพื่อรับสิทธิ์ประโยชน์ได้หลายอย่างเช่น สิทธิ์ในการคืนค่า Gas ที่ใช้งานผ่าน 1inch โดยตอนนี้มีการแบ่งเป็น 4 ระดับขั้นคือ
1. Stake 100 1inch Token จะได้รับค่า Gas คืน 25%
2. Stake 1,000 1inch Token จะได้รับค่า Gas คืน 50%
3. Stake 10,000 1inch Token จะได้รับค่า Gas คืน 75%
4. Stake 100,000 1inch Token จะได้รับค่า Gas คืน 100%
ส่วนสิทธิ์ด้าน Governance อีก 2 ส่วนคือ Instant Governance กับ Dao Governance โดย Instant Governance คือ การปรับค่าการทำงานต่าง ๆ ของ ๆ Aggregation Protocol และ Liquidity Protocol โดยจะมีผลทันทีเมื่อทำการโหวต เช่น ค่า Fee ต่าง ๆ ที่มอบให้ referral reward distribution , ค่า Swap Fee , ค่า Price Impact Fee, Treasury ต่าง ๆ เป็นต้น ส่วน Dao Governance คือการปรับปรุง Ecosystem ทั้งหมดของ 1inch Network ที่สามารถ vote ได้ผ่าน gov.1inch.io
นอกจากนี้การใช้งานต่าง ๆ บนระบบ 1inch Network ยังใช้ 1inch Token เป็นหลักอีกด้วย เช่น การจ่าย referral reward distribution จะถูกคำนวนและดำเนินการแลกเป็น 1inch Token เพื่อส่งมอบให้กับ referrer ค่า Fee ต่าง ที่อยู่ใน Treasury ที่เก็บได้ในแต่วัน ก็จะถูกนำไปซื้อ 1inch Token ทำให้มีการซื้อ 1inch Token อยู่ตลอดเวลา น่าจะเป็นปัจจัยให้ความต้องการใช้งาน 1inch Token เพิ่มขึ้น
มูลค่าตลาด ณ ปัจจุบันของ 1inch อยู่ที่ $402,326,076 หรือประมาณ 1.42 หมื่นล้านบาท อยู่อันดับที่ 79 ของเวป CoinMarketCap และมี Supply หมุนเวียนอยู่ที่ 546,514,723 Token โดยกำหนด Max Supply ของเหรียญ 1inch ไว้ที่ 1,500,000,000 Token ซึ่งจะ Fully Supply ในปี 2024 มีราคาปัจจุบันอยู่ที่ประมาณ 0.73 ดอลล์ โดยเคยขึ้นไปสูงสุดที่ 5.67 ดอลล์ และเคยทำราคาต่ำสุดที่ 0.55 ดอลล์ในรอบ 1 ปีที่ผ่านมา
1inch Token สามารถซื้อได้ที่ Exchange ชั้นนำต่าง ๆ เช่น Binance , Gate.io, Kucoin, FTX, Houbi
1inch Empire : Power of Ecosystems
จากที่เราได้เห็นอาณาจักร Ecosystems ทั้งหมดของ 1inch Network จะพบว่าเป็นอีกหนึ่ง Project ที่มีความน่าสนใจมาก มีการพัฒนาอย่างต่อเนื่องจากที่เริ่มต้นมาจาก Dex Aggregator เพียงอย่างเดียว ก็ค่อยๆ สร้าง Ecosystems ของตัวเองให้เติบโตขึ้นเรื่อย ๆ และถ้าต่อไปในอนาคตมีคนมาใช้งาน decentralized finance เพิ่มขึ้นเรื่อย ๆ ก็คาดว่าจะมีคนมาใช้งาน 1inch เพิ่มขึ้นเรื่อย ๆ นั่นเอง จะทำให้รายได้ของ 1inch Network เติบโตแข็งแกร่งอย่างมีนัยยะสำคัญ และจะยิ่งทำให้ 1inch Token จะยิ่งมีปริมาณความต้องการเพิ่มมากขึ้นทั้งจากรายได้ไปซื้อเป็น reward ส่งให้ กับการซื้อเก็บไว้ของ Treasury
แต่หากเราจะพิจารณาด้านความเสี่ยงของ 1inch Network ก็สามารถพิจารณาได้เป็นข้อ ๆ ดังนี้
หากปริมาณการใช้งานของ decentralized finance คงที่ หรือน้อยลง ก็จะมีผลกระทบกับ 1inch Token ในช่วงสั้น ๆ เนื่องจากในปี 2020-2024 นี่จะมีเหรียญของ 1inch Token ทยอยปลด lock ออกมาก หากรายได้ที่ได้น้อยกว่าปริมาณเหรียญที่ปลด lock ออกมากก็จะทำให้กดดันราคา เพราะยังเหลือเหรียญที่รอปลด lock ถึง 1000 ล้านเหรียญใน 2 ปีต่อจากนี้คือ 2023 และ 2024
เรื่องความปลอดภัยและการโจมตีทาง Cyber ต่าง ๆ เนื่องจากช่วงนี้เราจะได้ข่าวว่ามีการใช้ช่องโหว่ของระบบดำเนินการโจมตีเครือข่ายอยู่บ่อย ๆ 1inch Network ก็อาจจะมีสิทธิ์ตกเป็นเป้าหมายในการโจมตีได้ และยิ่งมีการพัฒนาระบบตลอดเวลา ก็ต้องยิ่งเพิ่มความระวัดระวังในส่วนของ Security เพิ่มเติมขึ้นเป็นอย่างมาก ๆ เพราะหากมีเพียงช่องโหว่เดียวแบบ flash loan หรือ Swap แล้วได้เงินออกไปเยอะ ๆ เนื่องจาก Pool ไม่ Update ข้อมูล Realtime (เนื่องจาก algo ล่าสุดของ Pool Moon ของ 1inch ใช้ delay 5 นาทีเพื่อไม่ให้เกิดส่วนต่างของการ Swap) หากดูเวลาจัดการไม่ดีอาจจะพลาดได้
คู่แข่ง Dex Aggregator ถึง 1inch Network จะเป็นแนวหน้าในส่วนของ Dex Aggregator แต่ก็มีคู่แข่งที่กำลังเร่งพัฒนาตัวเองอยู่ไม่น้อย ดังนั้นทำให้ตอนนี้ตลาดมีการแข่งขันค่อนข้างสูงมาก ทำให้ 1inch Network ต้องปรับตัวและลงทุนวิจัยพัฒนาปรับปรุงระบบตลอดเวลา เพื่อหนีคู่แข่ง แต่การมีคู่แข่งก็ทำให้มีส่วนแบ่งรายได้ที่ลดลงไป
เทคโนโลยีอื่น ๆ ที่มาทดแทน ซึ่งอาจจะไม่ใช่ Dex Aggregator แต่จาก AMM ที่พัฒนาตัวเองให้ดีขึ้น เรทถูกขึ้น ค่าแก๊สดีขึ้น เช่น Uniswap v3 ซึ่งหากเราเข้า 1inch แล้วก็พบกว่า Uniswap เป็นทางที่ถูกกว่าเสมอ สุดท้ายการไปใช้ Uniswap โดยตรงก็อาจจะถูกกว่าเลยกก็ได้ แม้ Uniswap ไม่ได้แข่งด้าน Dex Aggregator แต่เค้าก็มุ่งมั่นเป็น Best AMM ซึ่งก็จะส่งผลกระทบทางอ้อมมายัง 1inch Network เช่นกัน
ในส่วนของ Wallet แม้มีผู้ใช้งานเยอะ ประมาณ 3 ล้านบัญชี แต่ก็ยังไม่ครบวงจร และยังไม่แน่ใจว่ามี Active จริง ๆ กี่บัญชี เนื่องจากมีเพียง Application บน Mobile เท่านั้นและไม่ได้มี Extension บน Browser เพื่อใช้งานบน PC และเจ้าตลาดอย่าง Metamask ก็มี Function SWAP Token ผ่านทาง dApp ของตัวเองซึ่งในอนาคตหากมีการพัฒนาเพิ่มเติมก็อาจจะเป็นคู่แข่งที่สำคัญอีกหนึ่งเจ้า
ถ้าวิเคราะห์ทั้งข้อดีของ Ecosystem ทั้งหมดของ 1inch Network และข้อพึงระวังแล้ว ในส่วนของการลงทุนกับทาง 1inch Network ก็ยังมีความน่าสนใจอยู่มาก เพียงแต่นักลงทุนต้องพิจารณาการเข้าลงทุน ดูจังหวะ และโอกาส บวกกับสภาวะตลาดก่อนการตัดสินใจลงทุน
ขอบคุณเพจ BitToon สำหรับกราฟิก และเพจ Lady Crypto สำหรับเนื้อหาด้วยนะครับ😍

ต้องการให้ธุรกิจของคุณ ธุรกิจ ขึ้นเป็นอันดับหนึ่ง โรงเรียน ใน Bangkok?
คลิกที่นี่เพื่อเป็นสมาชิก?

ประเภท

เว็บไซต์

ที่อยู่

Mitrtown Office Tower, 16th Floor At Samyarn Mitrtown, 944 Rama IV Road, Wang Mai, Pathum Wan District
Bangkok
10330

Educational Research อื่นๆใน Bangkok (แสดงผลทั้งหมด)
BGL สร้างแนวคิดการเรียนรู้ผ่านเกมธุรกิจ BGL สร้างแนวคิดการเรียนรู้ผ่านเกมธุรกิจ
Bangkok, 10530

การสร้างแนวคิดการเรียนรู้ทางธุรกิ?

Kmutnb Railway Research Network Kmutnb Railway Research Network
King Mongkut's University Of Technology North Bangkok
Bangkok, 10800

KMUTNB Center of Design and Engineering for Railway and Modern Transport System

APSS 2023 APSS 2023
Department Of Chemical Engineering, KMUTT, 126 Pracha Uthit Road , Bang Mod
Bangkok, 10140

APSS 2023 provides an opportunity for researchers and engineers

ภาควิชาเทคโนโลยีวิศวกรรมเครื่องกล ภาควิชาเทคโนโลยีวิศวกรรมเครื่องกล
Bangkok, 10800

Department of Mechanical Engineering Technology College of Industrial Technology KING MONGKUT'S UNIVERSITY OF TECHNOLOGY NORTH BANGKOK

C TRUDC C TRUDC
สถาบันป้องกันควบคุมโรคเขตเมือง
Bangkok, 10220

ศูนย์การอบรมและวิจัยการป้องกันควบคุมโรคเขตเมือง

UP - National Center of Innovation, Skill and Research UP - National Center of Innovation, Skill and Research
6/999 Soi. Phahonyothin 52, Khlongthanon, Saimai
Bangkok, 10220

UP - National Center of Innovation, Skill and Research is an educational research center founded by IT Faculty @North Bangkok University aims for provide following services: 1) IT...

IPDent DTMU IPDent DTMU
Bangkok, 10400

วิจัยและนวัตกรรมจากบุคคลคณะทันตแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล

IResearcher IResearcher
Kanjanapisek
Bangkok, 10160

รับทำวิจัย แก้งาน สอน ปรึกษางาน ทุกร

Latte Art Rally Thailand 2021 Latte Art Rally Thailand 2021
Latte Art Grading System Certification Point
Bangkok, 10250

เวทีการแข่งขันสุดยอดนักเทลายบนถ้ว?

Sensor Technology  Lab at KMUTT Sensor Technology Lab at KMUTT
49 ซอยเทียนทะเล 25 ถนนบางขุนเทียน-ชายทะเล แขวงท่าข้าม เขตบางขุนเทียน กรุงเทพฯ
Bangkok, 10150

Development and research in electrochemical sensors Biosensors Diagnostic and Nanotechnology

NX lab NX lab
NX Lab, KMUTT, 126 Pracha Uthit Road, Bang Mot, Thung Khru
Bangkok, 10140

KMUTT

ASEAN Circular Economy Stakeholder Platform ASEAN Circular Economy Stakeholder Platform
69 Thanon Vibhavadi Rangit, Samsen Nai Subdistrict, Phaya Thai District
Bangkok, 10400

ASEAN Circular Economy (CE) Platform is an information and knowledge-sharing portal.