RRLP - Refugee Rights Litigation Project

RRLP - Refugee Rights Litigation Project

We are a legal project based in Bangkok. We provide legal advice and legal representation to refugee

Thailand Multi-country Office: Operational Factsheet 02/11/2023

เอกสารสรุปสถานการณ์ผู้ลี้ภัยในประเทศไทยโดย UNHCR เมื่อวันที่ 30 กันยายน 2566 ซึ่งครอบคลุมข้อมูลของทั้งกลุ่มผู้ลี้ภัยในค่าย ผู้ลี้ภัยในเขตเมือง และคนไร้รัฐไร้สัญชาติ

Thailand Multi-country Office: Operational Factsheet

27/10/2023

26 ต.ค. 2566 - คณะกรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติชี้ กรณีสำนักงานตรวจคนเข้าเมืองควบคุมตัวผู้ต้องกักชาวอุยกูร์ไว้เป็นเวลานานโดยไม่มีกำหนดปล่อยตัว จนเจ็บป่วยและเสียชีวิต เป็นการละเมิดสิทธิฯ แนะให้หน่วยงานที่เกี่ยวข้องเร่งแก้ไข โดยเห็นควรมีข้อเสนอแนะให้สภาความมั่นคงแห่งชาติเป็นหน่วยงานหลักในการหารือร่วมกับหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง โดยให้ดำเนินการภายใน 60 วัน นับแต่วันที่ได้รับแจ้งรายงานผลการตรวจสอบ

สามารถดูเนื้อหาได้ที่เพจของ กสม.
https://www.facebook.com/photo/?fbid=648695554117510&set=a.238819018438501&locale=th_TH

กสม. ชี้ กรณี สตม. ควบคุมตัวผู้ต้องกักชาวอุยกูร์ไว้เป็นเวลานานโดยไม่มีกำหนดปล่อยตัว กระทั่งเจ็บป่วยและเสียชีวิต เป็นการละเมิดสิทธิฯ แนะหน่วยงานที่เกี่ยวข้องเร่งแก้ไข

นายวสันต์ ภัยหลีกลี้ กรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติ เปิดเผยว่า คณะกรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติ (กสม.) ได้รับเรื่องร้องเรียนจากผู้ร้องรายหนึ่งเมื่อเดือนพฤษภาคม 2566 ระบุว่า นายอาซิซ อับดุลลาห์ (Mr. Aziz Abdullah) ผู้ลี้ภัยชาวอุยกูร์ อายุ 49 ปี เสียชีวิตในห้องกักของสำนักงานตรวจคนเข้าเมือง (สตม.) (ผู้ถูกร้อง) เมื่อเดือนกุมภาพันธ์ 2566 โดยก่อนจะเสียชีวิต นายอาซิซได้แจ้งให้เจ้าหน้าที่ของผู้ถูกร้องทราบว่ามีอาการแน่นหน้าอกและเหนื่อยหอบ จึงขอให้ส่งตัวไปรักษาที่โรงพยาบาล แต่ได้รับการปฏิเสธ นอกจากนี้ เมื่อเดือนเมษายน 2566 ยังปรากฏกรณีนายมูฮัมหมัด คุรบาน (Mr. Muhammed Kurban) อายุ 40 ปี เสียชีวิตในห้องกักของผู้ถูกร้องเช่นเดียวกัน ซึ่งก่อนที่จะเสียชีวิต นายมูฮัมหมัดมีอาการปวดท้องอย่างรุนแรงและอาเจียนในช่วงหลายสัปดาห์ก่อนถูกนำส่งโรงพยาบาลและเสียชีวิตในเวลาต่อมา ผู้ร้องเห็นว่า สาเหตุส่วนหนึ่งน่าจะเกิดจากการกักขังเป็นเวลานาน ไม่มีกำหนดระยะเวลา สภาพความเป็นอยู่แออัด ไม่ถูกสุขลักษณะ อาหารไม่เพียงพอ ต้องอยู่ในห้องกักตลอด 24 ชั่วโมง และไม่ได้รับการรักษาพยาบาลที่เหมาะสมเพียงพอ จึงขอให้ตรวจสอบ
กสม. ได้พิจารณาข้อเท็จจริงจากทุกฝ่าย หลักกฎหมาย และหลักสิทธิมนุษยชนที่เกี่ยวข้องแล้ว เห็นว่า สิทธิการมีสุขภาพกายและสุขภาพจิตที่ดีเป็นสิทธิของบุคคลที่ได้รับการรับรองไว้ตามกติการะหว่างประเทศว่าด้วยสิทธิทางเศรษฐกิจ สังคม และวัฒนธรรม (ICESCR) ประกอบกับกติการะหว่างประเทศว่าด้วยสิทธิพลเมืองและสิทธิทางการเมือง (ICCPR) ได้รับรองความเสมอภาคของบุคคลไว้ โดยรัฐมีหน้าที่ให้ความคุ้มครองบุคคลทุกคนภายในประเทศให้เป็นไปตามกฎหมายที่เกี่ยวข้อง โดยไม่เลือกปฏิบัติด้วยเหตุผลใด ๆ
.
จากการตรวจสอบข้อเท็จจริงประเด็นการเสียชีวิตของผู้ต้องกักทั้งสอง ปรากฏว่า กรณีนายอาซิซ แพทย์ระบุสาเหตุการเสียชีวิตเนื่องจากปอดอักเสบติดเชื้อ ส่วนกรณีนายมูฮัมหมัด แพทย์ระบุสาเหตุการเสียชีวิตเนื่องจากระบบไหลเวียนโลหิตและการหายใจล้มเหลว สอดคล้องกับข้อมูลของแพทย์จากโรงพยาบาลตำรวจ โดยกรณีนายอาซิซ แม้จะตรวจพบบาดแผลภายนอกร่างกาย แต่คาดว่าเกิดจากการใช้เครื่องช่วยหายใจ ซึ่งเป็นกระบวนการปกติที่พบได้ ส่วนที่พบว่ามีกระดูกซี่โครงหักหลายตำแหน่ง น่าจะเกิดจากการช่วยชีวิต ในชั้นนี้ จึงยังไม่ปรากฏพยานหลักฐานที่จะรับฟังได้ว่า การเสียชีวิตของผู้ต้องกักทั้งสองเกิดจากการกระทำอันเป็นการละเมิดสิทธิมนุษยชนของผู้ถูกร้อง
อย่างไรก็ตาม มีข้อสังเกตว่าผู้ต้องกักทั้งสองรายเสียชีวิตในวันเดียวกันกับที่แสดงอาการเจ็บป่วย โดยสาเหตุการเสียชีวิตอาจแสดงให้เห็นว่ามีข้อจำกัดในการดูแลสุขภาพให้แก่ผู้ต้องกักหลายประการและมีผลต่อความปลอดภัยในชีวิตและร่างกาย เช่น ผู้ต้องกักไม่ได้ให้ข้อมูลเกี่ยวกับอาการเจ็บป่วยที่ครบถ้วนเพียงพอแก่เจ้าหน้าที่ก่อนถูกควบคุมตัว เจ้าหน้าที่กับผู้ต้องกักสื่อสารกันได้ไม่ดีพอ การขาดเวชภัณฑ์ที่เหมาะสมสำหรับให้การรักษาเบื้องต้น เกิดภาวะการระบาดของโรคที่เจ้าหน้าที่ไม่ทราบเหตุ เป็นต้น
สำหรับประเด็นห้องกักมีสภาพค่อนข้างทรุดโทรม เกิดจากการใช้งานมาตั้งแต่ปี 2517 ซึ่งปัจจุบัน สตม. ได้เสนอของบประมาณเพื่อก่อสร้างสถานกักตัวแห่งใหม่ให้มีพื้นที่เพิ่มขึ้นและรองรับผู้ต้องกักที่มีแนวโน้มเพิ่มขึ้น แต่ยังไม่มีความชัดเจนว่าจะได้รับการจัดสรรงบประมาณหรือไม่ เมื่อใด ส่วนประเด็นการให้บริการทางการแพทย์และการสาธารณสุข สตม. ได้ให้บริการตามหน้าที่และอำนาจภายใต้ทรัพยากรบุคคลและงบประมาณที่มีอยู่ ตลอดจนมีระบบส่งต่อผู้ต้องกักที่มีอาการเจ็บป่วยรุนแรงไปรับการรักษาที่โรงพยาบาลตำรวจ และมีการคัดกรองสุขภาพก่อนเข้ากักตัวแล้ว แต่ยังพบข้อจำกัดอีกหลายประการ เช่น ขาดแคลนงบประมาณค่ารักษาพยาบาลในกรณีที่ผู้ต้องกักเข้ารับการรักษาที่โรงพยาบาลแล้วไม่มีญาติหรือสถานทูตให้การสนับสนุนค่าใช้จ่าย แพทย์ที่ได้รับการประสานจากหน่วยงานภายนอกจะเข้ามาให้บริการเพียงสัปดาห์ละ 1 วัน ผู้ต้องกักมีแนวโน้มป่วยด้วยโรคทางจิตเวชสูงขึ้นแต่ยังไม่มีจิตแพทย์เข้าไปให้คำปรึกษาอย่างสม่ำเสมอ เป็นต้น
กสม. เห็นว่า ผู้ต้องกักชาวอุยกูร์ถูกจำแนกให้อยู่ในกลุ่มบุคคลที่เกี่ยวข้องกับความสัมพันธ์ระหว่างประเทศ ส่งผลให้การดำเนินการใด ๆ ของหน่วยงานของรัฐจะต้องเป็นไปด้วยความระมัดระวังและเต็มไปด้วยข้อจำกัด อันก่อให้เกิดการเลือกปฏิบัติโดยไม่เป็นธรรมด้วยเหตุความแตกต่างเรื่องถิ่นกำเนิดและเชื้อชาติ โดยเฉพาะเรื่องการติดต่อกับญาติ บุคคลภายนอก หรือหน่วยงานต่าง ๆ จะต้องได้รับอนุญาตจากสำนักงานสภาความมั่นคงแห่งชาติก่อน ซึ่งแตกต่างจากผู้ต้องกักทั่วไป รวมทั้งไม่มีแนวโน้มที่จะถูกส่งตัวออกนอกราชอาณาจักรไปยังประเทศที่ปลอดภัยต่อการดำรงชีวิต เนื่องจากนโยบายด้านความมั่นคงและความสัมพันธ์ระหว่างประเทศที่ยังไม่ชัดเจนและไม่มีกำหนดเวลาดำเนินการที่จริงจัง ในชั้นนี้ การควบคุมตัวผู้ต้องกักชาวอุยกูร์ไว้ที่ สตม. เป็นเวลานาน ไม่มีกำหนดที่จะปล่อยตัวหรือส่งตัวออกนอกราชอาณาจักรตามกฎหมายว่าด้วยคนเข้าเมือง จึงเป็นการกระทำหรือละเลยการกระทำอันเป็นการละเมิดสิทธิมนุษยชน
ด้วยเหตุผลดังกล่าว กสม. ในคราวประชุมด้านการคุ้มครองและส่งเสริมสิทธิมนุษยชน เมื่อวันที่ 24 ตุลาคม 2566 จึงเห็นควรมีข้อเสนอแนะให้สภาความมั่นคงแห่งชาติเป็นหน่วยงานหลักในการหารือร่วมกับหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง เช่น สำนักงานตำรวจแห่งชาติ กระทรวงการต่างประเทศ กระทรวงมหาดไทย หน่วยงานของสหประชาชาติ เร่งหามาตรการหรือแนวทางที่เป็นรูปธรรม รวมถึงระยะเวลาที่ชัดเจนในการส่งตัวผู้ต้องกักชาวอุยกูร์ที่อยู่ในความดูแลของ สตม. ออกนอกราชอาณาจักรไปยังประเทศที่สามที่มีความปลอดภัยต่อชีวิต แล้วเสนอผลสรุปจากการหารือต่อนายกรัฐมนตรีเพื่อพิจารณาโดยเร่งด่วน ทั้งนี้ ให้ดำเนินการภายใน 60 วัน นับแต่วันที่ได้รับแจ้งรายงานผลการตรวจสอบฉบับนี้
นอกจากนี้ ยังมีข้อเสนอแนะ ให้สำนักงานตำรวจแห่งชาติเร่งแก้ไขปัญหาห้องกักของ สตม. ที่มีความแออัดและสภาพทรุดโทรม โดยระยะสั้น ให้ปรับปรุง ทำความสะอาด และจัดระเบียบของห้องกักให้มีสภาพที่ดีขึ้น ระยะยาว ให้เร่งรัดการพิจารณาจัดสรรงบประมาณสำหรับการก่อสร้างสถานกักตัวคนต่างด้าวแห่งใหม่ และให้สนับสนุนสิ่งจำเป็นต่อการให้บริการทางการแพทย์และการสาธารณสุข โดยเฉพาะการเพิ่มจำนวนบุคลากรทางการแพทย์ที่มีความเชี่ยวชาญและงบประมาณให้เพียงพอต่อภารกิจ รวมถึงหามาตรการรองรับแนวโน้มจำนวนผู้ต้องกักที่ป่วยด้วยโรคทางจิตเวชด้วยการจัดให้มีจิตแพทย์เข้าไปให้คำปรึกษาแนะนำอย่างสม่ำเสมอด้วย

26/10/2023

วันนี้มีการชี้แจงจากหน่วยงานของรัฐต่อคณะกรรมาธิการความมั่นคงแห่งรัฐ กิจการชายแดนไทย ยุทธศาสตร์ชาติและการปฏิรูปประเทศ สภาผู้แทนราษฎร ในประเด็นผู้ลี้ภัยในประเทศไทย โดยเฉพาะกลุ่มผู้ลี้ภัยในพื้นที่ตามแนวชายแดนไทย-เมียนมา ซึ่งหน่วยงานของรัฐเรียกว่า ผู้หนีภัยการสู้รบจากเมียนมา (ผภร.) และ ผู้หนีภัยความไม่สงบชาวเมียนมา (ผภสม.)

ขออนุญาตแชร์ลิ้งค์การถ่ายทอดสดจาก The Reporters
https://www.facebook.com/TheReportersTH/videos/7038615096159116/?mibextid=YxdKMJ

ဥပဒေပိုင်းဆိုင်ရာအကူအညီလိုအပ်မှုများအပေါ် လေ့လာစစ်တမ်းကောက်သည့်ပုံစံ 18/07/2023

ဥပဒေပိုင်းဆိုင်ရာအကူအညီလိုအပ်မှုများအပေါ် လေ့လာစစ်တမ်းကောက်သည့်ပုံစံ

https://docs.google.com/forms/d/1WKdHSQwuJQVaM-I0Yg2iLl0BjScVWbgT9GXUPpXRz7w/viewform?fbclid=IwAR0A6Vod23ONiRXPl6vC1Vl6b0DZ5UiKNC1tiMVQ-PRyDGeUSJX0IkYwe5c_aem_Ab71X-_yQusq60YVr09UP3pQRUnQP8htC-7LmAKUYMQz2J5n36NAtQY2OOo1pIOdnjU&edit_requested=true

ဥပဒေပိုင်းဆိုင်ရာအကူအညီလိုအပ်မှုများအပေါ် လေ့လာစစ်တမ်းကောက်သည့်ပုံစံ Refugee Rights Litigation Project (RRLP) စီမံကိန်းသည် ထိုင်းနိုင်ငံဥပဒေ (ထိုင်းနိုင်ငံပြည်တွင်ဥပဒေ) နှင့်ပတ်သက်သောအကူအညီများကို Peace Way ...

23/02/2022

The Reporters สัมภาษณ์รองศาสตราจารย์ ดร.
พันธุ์ทิพย์ กาญจนะจิตรา สายสุนทร กรณีผู้ลี้ภัยชาวคูเวตที่ได้รับการรับรองสถานะผู้ลี้ภัยจาก สำนักงานข้าหลวงใหญ่ผู้ลี้ภัยแห่งสหประชาชาติ (UNHCR) ถูกจับกุมเมื่อวานนี้เนื่องจากไม่ได้รับอนุญาตให้อยู่ในราชอาณาจักร ตาม พรบ.คนเข้าเมือง พ.ศ. 2522

26/11/2021

[ประเด็นน่าสนใจ] – UNHCR แถลงเสียใจกรณีทางการไทยบังคับส่งผู้ลี้ภัย 3 คนกลับกัมพูชาทั้ง ๆ ที่มีความเสี่ยงต่อความปลอดภัยต่อชีวิต/เสรีภาพ: ถึงเวลาที่ต้องทำความเข้าใจหลัก non-refoulement (อีกครั้ง)

เมื่อวันที่ 22 พฤศจิกายน 2021 ที่ผ่านมา สำนักงานข้าหลวงใหญ่ผู้ลี้ภัยแห่งสหประชาชาติ (UNHCR) ได้ออกแถลงการณ์รู้สึกเสียใจในกรณีที่ทางการไทยส่งตัวผู้ลี้ภัยชาวกัมพูชา 3 คน กลับประเทศ ประเด็นดังกล่าวมีประเด็นด้านกฎหมายระหว่างประเทศที่น่าสนใจ แอดมินจึงอยากขออนุญาตมาเล่าให้ฟังกันครับ

----------------------------------------
1️⃣ ข้อเท็จจริงที่เกิดขึ้น
----------------------------------------

(จริง ๆ แล้ว มีเหตุการณ์ 2 เหตุการณ์เกิดขึ้นไล่เลี่ยกัน ดังนั้น แอดมินจึงขออนุญาตกล่าวรวมในคราวเดียว)

เมื่อวันที่ 8 พฤศจิกายน 2021 มีผู้ลี้ภัยชาวกัมพูชา 2 คนถูกจับกุม และถูกนำตัวไปยังศูนย์กักตัวคนเข้าเมืองในกรุงเทพ และถูกส่งตัวออกไปยังกัมพูชา เมื่อวันที่ 9 พฤศจิกายน 2021 ซึ่งเป็นสถานที่ที่มีความเสี่ยงต่อการถูกลงโทษ ทั้งนี้ ก่อนหน้านั้น UNHCR ได้แถลงว่า UNHCR ได้พยายามแจ้งรัฐบาลไทยเกี่ยวกับสถานภาพของผู้ลี้ภัยและความหวาดกลัวที่จะถูกลงโทษหากส่งตัวกลับไปยังกัมพูชาแล้ว แต่รัฐบาลไทยก็ยังยืนยันที่จะส่งตัวผู้ลี้ภัยทั้ง 2 คนกลับกัมพูชา

คุณ Indrika Ratwatte ผู้อำนวยการประจำภูมิภาคเอเชียและแปซิฟิกของ UNHCR ได้กล่าว่า เราหวังเป็นอย่างยิ่งว่า รัฐบาลไทยจะดำเนินการให้เป็นไปตามมาตรฐานทางกฎหมายระหว่างประเทศ และหวังว่า พวกเขาจะได้รับความคุ้มครองในประเทศไทย ทั้งนี้ UNHCR ได้พยายามจะหาคำตอบเกี่ยวกับสิ่งที่เกิดขึ้น และรู้สึกไม่สบายใจอย่างยิ่งต่อเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นนี้ และอยากเรียกร้องให้ทางการไทยสอบสวนในเรื่องนี้ ขอเรียกร้องให้ประเทศไทยเคารพพันธกรณีระหว่างประเทศซึ่งเป็นประเด็นขั้นพื้นฐาน โดยเฉพาะอย่างยิ่ง หลักการไม่ส่งกลับ (non-refoulement) และให้งดเว้นจากการส่งตัวบุคคลกลับอีกในอนาคต ทั้งนี้ UNHCR มีความกังวลอย่างมากเกี่ยวกับความปลอดภัยของผู้ถูกส่งตัวกลับ และเรียกร้องให้ทางการกัมพูชาเคารพสิทธิมนุษยชนของพวกเขาด้วยเช่นกัน และขออนุญาตให้องค์การสิทธิมนุษยชนต่าง ๆ เข้าตรวจสอบสถานการณ์ในกัมพูชาด้วย

อย่างไรก็ดี ในวันที่ 19 พฤศจิกายน 2021 ที่ผ่านมา มีผู้ลี้ภัยชาวกัมพูชาถูกจับอีก 1 คน และ UNHCR ได้ทำการแจ้งเจ้าหน้าที่ของรัฐไทยโดยทันทีเกี่ยวกับสถานะของผู้ลี้ภัยและเรียกร้องให้รัฐบาลไม่ส่งบุคคลดังกล่าวกลับไปยังกัมพูชาเนื่องจากความกังวลอย่างร้ายแรงต่อความปลอดภัยของผู้ลี้ภัย แต่อย่างไรก็ดี ผู้ลี้ภัยถูกควบคุมตัวในสถานกักตัวเพียง 1 คืน ที่อรัญประเทศ และถูกส่งตัวกลับกัมพูชาในวันรุ่งขึ้น (20 พฤศจิกายน 2021) โดยทันที

UNHCR ได้ออกแถลงการณ์แสดงความตกใจอย่างยิ่งเกี่ยวกับแนวโน้มการบังคับส่งผู้ลี้ภัยกลับกัมพูชาซึ่งพวกเขาจะต้องเผชิญความเสี่ยงร้ายแรงที่จะถูกกดขี่ ซึ่งจากความคืบหน้าล่าสุดแล้ว UNHCR กังวลอย่างมากเกี่ยวกับความปลอดภัยของ UNHCR ที่จะรับรองผู้ลี้ภัยกัมพูชาในประเทศไทย ดังนั้น UNHCR จึงขอเรียกร้องอีกครั้งหนึ่งให้รัฐบาลไทยงดเว้นการส่งตัวผู้ลี้ภัยกลับและปฏิบัติตามพันธกรณีระหว่างประเทศ โดยเฉพาะอย่างยิ่งหลักการไม่ส่งตัวกลับ ทั้งนี้ UNHCR ยินดีสนับสนุนเต็มที่กับรัฐบาลในการคุ้มครองผู้ลี้ภัยในประเทศไทย

ทั้งนี้ UNHCR รู้สึกไม่สบายใจต่อเหตุการณ์การส่งตัวผู้ลี้ภัยกัมพูชากลับประเทศอย่างต่อเนื่อง ซึ่งการกระทำนี้ขัดต่อหลักการไม่ส่งตัวกลับซึ่งกำหนดให้รัฐต่าง ๆ รวมทั้งประเทศไทยต้องไม่ขับไล่หรือส่งกลับผู้ลี้ภัยไปยังประเทศที่ชีวิตหรือเสรีภาพของพวกเขาจะถูกกระทบ

ข้อมูลเพิ่มเติม: ชาวกัมพูชาทั้ง 3 คนที่ถูกจับและส่งตัวกลับเป็นนักเคลื่อนไหวฝ่ายค้านชาวกัมพูชาซึ่งได้รับรองสถานะผู้ลี้ภัยแล้ว โดยเป็นสมาชิกพรรคกู้ชาติกัมพูชา (Cambodia National Rescue Party หรือ CNRP) ซึ่งเป็นพรรคฝ่ายค้านหลักที่ถูกยุบไปเมื่อปี 2017

----------------------------------------
2️⃣ หลักกฎหมายระหว่างประเทศและหลักสากลที่เกี่ยวข้องกับผู้ลี้ภัยและผู้อพยพ
----------------------------------------

โดยทั่วไปแล้ว มีกฎหมายระหว่างประเทศหลายฉบับมากที่กล่าวถึงผู้ลี้ภัยและผู้อพยพ แต่ในที่นี้ จะขอกล่าวถึงกฎหมายระหว่างประเทศหลัก ๆ สองฉบับ พออธิบายได้ดังนี้

(1) อนุสัญญาว่าด้วยสถานภาพผู้ลี้ภัย ค.ศ. 1951

อนุสัญญาว่าด้วยสถานภาพผู้ลี้ภัย ค.ศ. 1951 (1951 Convention relating to the Status of Refugees) ได้วางหลักการที่สำคัญเกี่ยวกับผู้ลี้ภัยไว้หลายประเด็น ซึ่งพออธิบายบางเรื่องได้ดังนี้

ผู้ลี้ภัย หมายถึง ผู้ที่ได้รับการพิจารณาว่าเป็นผู้ลี้ภัยตามกฎหมาย หรือธรรมนูญขององค์การผู้ลี้ภัยระหว่างประเทศ หรือผู้ที่อยู่นอกประเทศของคนและมีเหตุจะอ้างได้ว่า จะได้รับการประหัตประหารด้วยสาเหตุทางเชื้อชาติ ศาสนา สัญชาติ สมาชิกภาพในกลุ่มใดกลุ่มหนึ่ง ไม่ว่าทางสังคมหรือทางความคิดด้านการเมืองก็ตาม และในขณะเดียวกัน บุคคลผู้นี้ไม่สามารถหรือไม่สมัครใจที่จะได้รับความคุ้มครองจากรัฐของตนเนื่องจากความหวาดกลัวดังกล่าว หรือเป็นบุคคลไร้สัญชาตินอกเขตรัฐที่เดิม แต่ไม่สามารถหรือไม่สมัครสมัครใจที่จะกลับไปเพื่ออยู่ในรัฐดังกล่าวเนื่องจากเหตุความหวาดกลัวข้างต้น (ข้อ 1 (A) ของอนุสัญญาฯ)

สมมติหากข้อเท็จจริงฟังได้ชัดเจนว่า ชาวกัมพูชาได้หลบหนีเข้ามายังไทย เนื่องจากหวาดกลัวการกระทำอะไรบางอย่างจากรัฐบาลของกัมพูชา จึงอาจกล่าวได้ว่า ชาวกัมพูชาที่หนีเข้ามาเป็นบุคคลที่หนีออกมาจากประเทศกัมพูชา และไม่สมัครใจที่จะได้รับความคุ้มครองจากกัมพูชาเนื่องจากความกลัว ดังนั้น ชาวกัมพูชาจึงมีสถานะเป็นผู้ลี้ภัยซึ่งจะได้รับการคุ้มครองภายใต้อนุสัญญาว่าด้วยสภานภาพผู้ลี้ภัยแล้ว และเมื่อผู้ลี้ภัยหลบหนีเข้ามาอยู่ในดินแดนของรัฐใดรัฐหนึ่งแล้ว ผู้ลี้ภัยเหล่านั้นย่อมมีหน้าที่ต่อรัฐในการปฏิบัติตามกฎหมาย ข้อบังคับ และมาตรการในการรักษาความสงบเรียบร้อยของประชาชน (ข้อ 2 ของอนุสัญญาฯ) และมีสิทธิต่าง ๆ ตามที่อนุสัญญาฯ กำหนด เช่น สิทธิในการเข้าร่วมสมาคม (ข้อ 15 ของอนุสัญญาฯ) เสรีภาพในการนำคดีขึ้นสู่ศาล (ข้อ 16 ของอนุสัญญาฯ) การประกอบอาชีพเพื่อหารายได้ (ข้อ 17 ของอนุสัญญาฯ) และอื่น ๆ ซึ่งในประเด็นนี้ข้อเท็จจริงฟังได้ชัดเลยว่า UNHCR ได้แจ้งต่อรัฐบาลไทยว่า บุคคลทั้ง 3 คนมีสถานะเป็นผู้ลี้ภัยเรียบร้อยแล้ว

ทั้งนี้ รัฐภาคีภายใต้อนุสัญญาก็จะมีหน้าที่ปฏิบัติต่อผู้ลี้ภัยโดยปราศจากการเลือกปฏิบัติด้วยเหตุแห่งเชื้อชาติ ศาสนา หรือประเทศที่อยู่เดิม (ข้อ 3 ของอนุสัญญาฯ) นอกจากนั้น รัฐยังมีหน้าที่ต้องปฏิบัติเยี่ยงคนชาติต่อผู้ลี้ภัย ในเรื่องเกี่ยวกับกฎหมายแรงงานและการประกันสังคม (ข้อ 24 ของอนุสัญญาฯ) ความช่วยเหลือจากด้านบริหาร (ข้อ 25 ของอนุสัญญาฯ) อิสรภาพในการเคลื่อนย้ายภายในประเทศตามระเบียบ (ข้อ 26 ของอนุสัญญาฯ)

นอกจากนั้น ยังมีประเด็นที่น่าสนใจในเรื่องผู้ลี้ภัยที่ไม่ชอบด้วยกฎหมาย โดยรัฐจะต้องไม่ลงโทษทางอาญาต่อผู้ลี้ภัยซึ่งได้เข้าเมืองโดยผิดกฎหมาย (ข้อ 31 ของอนุสัญญาฯ) ไม่ขับไล่ผู้ลี้ภัยซึ่งชอบด้วยกฎหมายจากดินแดนของตน เว้นแต่เป็นการกระทำตามคำตัดสินซึ่งได้ดำเนินการตามกระบวนการยุติธรรมเท่านั้น หรือเป็นไปตามเหตุผลเพื่อความมั่นคงของชาติ และยิ่งไปกว่านั้น หากจะต้องขับไล่ จะต้องให้เวลาพอสมควรแก่ผู้ลี้ภัยเพื่อแสวงหาการรับเข้าเมืองตามกฎหมายภายในของประเทศอื่นอีกด้วย (ข้อ 32 ของอนุสัญญาฯ)

📌 ***ปัญหาที่สำคัญที่สุด ซึ่งเป็นประเด็นที่กำลังเป็นที่ถกเถียงขณะนี้ คือ ปัญหาเรื่องการส่งกลับ (refoulement) หลักการนี้ข้อนี้สำคัญมาก เนื่องจากรัฐผู้ลงนามในอนุสัญญาฉบับนี้ จะต้องไม่ผลักดันผู้ลี้ภัยด้วยลักษณะใด ๆ ไปยังดินแดนที่อิสรภาพของผู้ลี้ภัยนั้นอาจได้รับการคุกคามด้วยสาเหตุทางเชื้อชาติ ศาสนา สัญชาติ สมาชิกภาพในกลุ่มใดกลุ่มหนึ่ง ไม่ว่าทางสังคมหรือทางความคิดด้านการเมือง ยกเว้นแต่เป็นกรณีที่ผู้ลี้ภัยเป็นภัยต่อความมั่นคงของประเทศหรือถูกคำพิพากษาถึงที่สุดว่า ทำความผิดอาญาอย่างร้ายแรงอันเป็นภัยต่อประเทศนั้น (ข้อ 33 ของอนุสัญญาฯ)

ดังนั้น ย้อนกลับไปพิจารณาข้อเท็จจริง ในส่วนของชาวกัมพูชา 3 คนที่หลบหนีเข้ามายังประเทศไทยซึ่งได้รับสถานะเป็นผู้ลี้ภัยแล้ว หากประเทศไทยเป็นภาคีในอนุสัญญาฉบับนี้ ประเทศไทยก็จะต้องปฏิบัติตามพันธกรณีดังกล่าวข้างต้น ซึ่งรวมถึงการห้ามส่งตัวกลับ แต่ปัญหาที่สำคัญกว่านั้น คือ ประเทศไทยไม่ได้เป็นภาคี ไม่ได้ลงนามในอนุสัญญาฉบับนี้ จึงส่งผลให้ประเทศไทยไม่ต้องปฏิบัติตามอนุสัญญาฉบับดังกล่าวในฐานะประเทศสมาชิกนั่นเอง (ทั้งนี้ ไทยจะยังคงมีความผิดหรือไม่ จะวิเคราะห์ในส่วนข้อที่ 3 ครับ)

(2) พิธีสารว่าด้วยสถานภาพผู้ลี้ภัย ค.ศ. 1967

กฎหมายระหว่างประเทศอีกฉบับหนึ่งที่ออกมาใช้บังคับกับกรณีผู้ลี้ภัย คือ พิธีสารว่าด้วยสภานภาพผู้ลี้ภัย ค.ศ. 1967 (1967 Protocol relating to the Status of Refugees) ซึ่งเป็นกฎหมายระหว่างประเทศที่กำหนดรายละเอียดเพิ่มเติมเกี่ยวกับการคุ้มครองกลุ่มผู้ลี้ภัยเพิ่มเติม รวมถึงรับรองสถานการณ์ใหม่ ๆ ภายหลังที่มีการรับรองอนุสัญญาว่าด้วยสถานภาพผู้ลี้ภัย ค.ศ. 1951 ครับ

โดยรายละเอียดที่กำหนดเพิ่มเติม จะเป็นเรื่องเกี่ยวกับการให้ความร่วมมือของเจ้าหน้าที่รัฐต่อองค์การสหประชาชาติ การระงับข้อพิพาทเกี่ยวกับพิธีสารในเรื่องการตีความหรือการปรับใช้ซึ่งสามารถส่งเรื่องไปยังศาลยุติธรรมระหว่างประเทศ และอีกหลายประเด็นครับ

ทั้งนี้ ประเทศไทยก็ไม่ได้ลงนาม หรือเข้าเป็นภาคีของพิธีสารฉบับนี้ด้วยเช่นเดียวกันครับ

----------------------------------------
3️⃣ ถ้ามีการผลักดันกลับจริง (ซึ่งปัจจุบันไทยได้ส่งตัวกลับแล้ว) ไทยจะทำผิดกฎหมายระหว่างประเทศฉบับใดหรือไม่
----------------------------------------

อ่านมาตรงนี้ หลายท่านอาจจะมองว่า เมื่อประเทศไทยไม่ได้เป็นรัฐภาคีในความตกลงระหว่างประเทศ ทั้ง 2 ฉบับ หมายความว่า ประเทศไทยไม่ต้องปฏิบัติตามสนธิสัญญาทั้ง 2 ฉบับใช่หรือไม่ คำตอบคือ ใช่และไม่ใช่

ใช่ หมายถึง ประเทศไทยไม่ต้องปฏิบัติตามอนุสัญญาว่าด้วยสถานภาพผู้ลี้ภัย ค.ศ. 1951 และพิธีสารว่าด้วยสถานภาพผู้ลี้ภัย ค.ศ. 1967 ในฐานะรัฐภาคีสนธิสัญญา เนื่องจากประเทศไทยไม่ได้ลงนามและผูกพันตามสนธิสัญญาดังกล่าว แต่ที่ไม่ใช่ หมายถึง ประเทศยังคงต้องปฏิบัติตามหลักห้ามผลักดันกลับ (non-refoulement) เนื่องจากหลักดังกล่าวมีสถานะเป็นจารีตประเพณีระหว่างประเทศ (customary international law) แล้ว (แม้ว่า ในปัจจุบันจะมีการเถียงอยู่บ้างว่าหลักดังกล่าวยังไม่มีสถานะเป็นจารีตฯ)

กล่าวโดยสรุป จารีตประเพณีระหว่างประเทศ เป็นหนึ่งในบ่อเกิดสำคัญของกฎหมายตามที่ได้กำหนดเอาไว้ในข้อ 38 ของธรรมนูญศาลยุติธรรมระหว่างประเทศ ซึ่งถือเป็นกฎเกณฑ์ที่เป็นหลักหรือกติกาสากลที่ทุกรัฐยอมรับและปฏิบัติตามจารีตฯ ดังกล่าว โดยการที่จะเป็นจารีตฯ ได้นั้น จะต้องเข้าเงื่อนไขทั้ง 2 องค์ประกอบ ได้แก่ มีทางปฏิบัติของรัฐทำกันโดยทั่วไปอย่างกว้างขวาง (state practice) และรัฐต่าง ๆ ยอมรับว่าเป็นสิ่งที่ถูกต้องและเชื่อว่าต้องปฏิบัติตามเสมือนว่าเป็นกฎหมาย (opinio juris)

กลับมาพิจารณาที่หลักการห้ามผลักดันกลับนั้น ตามมติของสมัชชาใหญ่องค์การสหประชาชาติและข้อมติของสำนักงานข้าหลวงใหญ่ผู้ลี้ภัยแห่งสหประชาชาติ (Advisory Opinion on the Extraterritorial Application of Non Refoulement Obligations under 1951 Convention relating to the Status of Refugees and its 1967 Protocol (2007)) นั้น รวมถึงอีกหลายแห่ง ได้มีความเห็นว่า หลักการห้ามผลักดันกลับมีลักษณะเป็นกฎหมายบังคับเด็ดขาด (jus cogens) แต่อย่างไรก็ดี มีอีกหลายแห่งยังมองว่า หลักดังกล่าวขาดองค์ประกอบในเรื่องทางปฏิบัติทั่วไปของรัฐ ซึ่งมองว่า ยังไม่มีทางปฏิบัติที่เป็นการทั่วไปโดยทุกรัฐ ซึ่งฝั่งที่เห็นแย้ง มีการอ้างถึงเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นในอดีตก่อนปี 2000 เช่น เหตุการณ์ Croatia – Bosnia-Hercegovina ในช่วงปี 1992 หรือ Macedonia – Kosovo ในช่วงปี 1999

ดังนั้น ในปัจจุบัน จึงอาจสามารถถือได้ว่า หลักการห้ามผลักดันกลับจึงน่าจะมีสถานะเป็นจารีตประเพณีระหว่างประเทศได้แล้ว ซึ่งหมายความว่า ประเทศไทย หรือประเทศใด ๆ ที่แม้ไม่ได้ลงนามเข้าผูกพันตนเป็นภาคีตามอนุสัญญาว่าด้วยสถานภาพผู้ลี้ภัย ค.ศ. 1951 ก็ยังคงมีหน้าที่ต้องปฏิบัติตามหลักการห้ามผลักดันกลับในฐานะที่หลักดังกล่าวมีสถานะเป็นกฎหมายจารีตประเพณีระหว่างประเทศแล้ว

อ้างอิง:

1951 Convention relating to the Status of Refugees

1967 Protocol relating to the Status of Refugees

Advisory Opinion on the Extraterritorial Application of Non Refoulement Obligations under 1951 Convention relating to the Status of Refugees and its 1967 Protocol (2007)

UNHCR, ‘UNHCR condemns deportation of Cambodian refugees by Thai authorities’ (Press release, 12 November 2021) accessed 25 November 2021.

UNHCR, ‘UNHCR dismayed by deportation of a third Cambodian refugee by Thai Authorities this month’ (Press release, 22 November 2021) accessed 25 November 2021.

‘UNHCR ประณามไทย เนรเทศ 3 นักเคลื่อนไหวฝ่ายค้านกัมพูชากลับประเทศ ระบุแจ้งทางการไทยแล้วว่าทั้งสามมีสถานะผู้ลี้ภัย’ (The Standard, 25 พฤศจิกายน 2021) เข้าถึงเมื่อ 25 พฤศจิกายน 2021.

#หลักการห้ามส่งตัวกลับ #กัมพูชา #ไทย #ชายแดน #อนุสัญญาว่าด้วยสถานภาพผู้ลี้ภัย #พิธีสารว่าด้วยสถานภาพผู้ลี้ภัย

**********
อ่านรูปแบบเว็ปไซต์ได้ที่: https://thanapatofficial.wordpress.com/2021/11/25/thailand-deports-3-cambodian-refugees-non-refoulement/

04/10/2021

บทความที่น่าสนใจเกี่ยวกับหลักการห้ามผลักดันกลับจาก Asylum Access Thailand ค่ะ แม้ประเทศไทยจะไม่ได้เป็นภาคีในอนุสัญญาว่าด้วยสถานภาพผู้ลี้ภัย พ.ศ. 2494 แต่ประเทศไทยก็ผูกพันตามหลักนี้ที่้จะต้องไม่ส่งผู้ลี้ภัยกลับประเทศต้นทางที่มีภัยอันตรายอยู่

หลักการห้ามผลักดันกลับ หรือ Non-Refoulement ผูกพันประเทศไทยอย่างไร
ที่ผ่านมามีข่าวเกี่ยวกับการไม่ปฏิบัติตามหลักการห้ามผลักดันกลับ ไม่ว่าจะข่าวการผลักดันผู้ลี้ภัยเมียนมาข้ามแม่น้ำสาละวินกลับประเทศ ข่าวผู้ลี้ภัยในเขตเมืองซึ่งเป็นนักกิจกรรมจากประเทศกัมพูชาถูกจับและส่งกลับประเทศเนื่องจากการร้องขอจากประเทศต้นทางในปี 2561 ล่าสุดในเดือนกันยายน 2564 ความเสี่ยงในการส่งกลับกรณีคุณ Nur sajat ชาวมาเลเซีย และยังมีอีกหลายกรณีที่ไม่ได้เป็นข่าว
แม้ประเทศไทยจะไม่ได้เป็นภาคีอนุสัญญาว่าด้วยสถานภาพของผู้ลี้ภัย ค.ศ. 1951 และพิธีสารเกี่ยวกับสถานภาพผู้ลี้ภัย ค.ศ.1967 แต่หลักการห้ามผลักดันกลับ หรือ Non-Refoulement ผูกพันประเทศไทย เนื่องจากมีสถานะเป็นกฎหมายจารีตประเพณีระหว่างประเทศ (customary international law ) ตามที่ Executive Committee on the International Protection of Refugees หรือ ExCom ได้รับข้อสรุป No. 6 (XXVIII) NON-REFOULEMENT (1977) ได้เรียกคืนหลักการห้ามผลักดันกลับซึ่งใช้ในทางสากล และเป็นที่ยอมรับทั่วไปของรัฐต่างๆ หลักการผลักดันกลับได้ถูกถือปฏิบัติเป็นที่แพร่หลาย ซึ่งเป็นองค์ประกอบที่สำคัญของกฎหมายจารีตประเพณีระหว่างประเทศ กล่าวคือ
1. ถือปฏิบัติเป็นการทั่วไป (general practice)
2. ยอมรับว่าเป็นกฎหมาย ( Opinio juris sive necessitatis)
นอกจากนี้ยังยืนยันในข้อ (c) ว่า หลักการห้ามผลักดันกลับ ใช้ที่ชายแดน หรือในดินแดนของรัฐ กับคนที่หากถูกส่งกลับไปยังประเทศต้นทางอาจจะถูกประหัตประหาร โดยไม่คำนึงว่าคนนั้นจะได้รับสถานะผู้ลี้ภัยอย่างเป็นทางการหรือไม่”
อีกทั้งหลักการห้ามผลักดันกลับ ยังถือว่าเป็น กฎหมายบังคับเด็ดขาด (Jus cogens) หรือ Peremptory norms of general international law ซึ่งรัฐจะต้องปฏิบัติตามโดยไม่มีข้อยกเว้น
เมื่อพิจารณาจากกฎหมายระหว่างประเทศด้านสิทธิมนุษยชนที่ประเทศไทยเป็นภาคี ซึ่งประเทศไทยในฐานะรัฐภาคีมีหน้าที่ต้องดำเนินการในการคุ้มครอง เคารพ และเติมเต็มสิทธิ (protect, respect, fulfil) จะเห็นได้ว่ามีกฎหมายระหว่างประเทศด้านสิทธิมนุษยชนเกี่ยวข้องถึงสองฉบับ คือ
1.กติการะหว่างประเทศว่าด้วยสิทธิพลเมืองและสิทธิทางการเมือง (International Covenant on Civil and Political Rights: ICCPR) ค.ศ. 1966
ซึ่งข้อ 7 ได้บัญญัติว่า “บุคคลจะถูกทรมาน หรือได้รับการปฏิบัติหรือการลงโทษที่โหดร้ายไร้มนุษยธรรมหรือต่ำช้ามิได้ โดยเฉพาะอย่างยิ่ง บุคคลจะถูกใช้ในการทดลองทางการแพทย์หรือทางวิทยาศาสตร์โดยปราศจากความยินยอมอย่างเสรีของบุคคลนั้นมิได้”
คณะกรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งสหประชาชาติได้มีความเห็นทั่วไปที่ 20: ข้อ 7 (เรื่องการป้องกันการทรมาน หรือการปฏิบัติหรือการลงโทษที่โหดร้าย ไร้มนุษยธรรม หรือต่ำช้า) ว่าจุดประสงค์ของบทบัญญัติในข้อ 7 ของกติการะหว่างประเทศว่าด้วยสิทธิพลเมืองและสิทธิทางการเมือง เพื่อที่จะปกป้องทั้งศักดิ์ศรี และความแข็งแรงทางร่างกายและทางจิตใจของปัจเจคชน
ในย่อหน้าที่ 9 คณะกรรมการได้อธิบายการปฏิบัติของรัฐภาคีซึ่งต้องไม่กระทำการใดๆขัดต่อข้อ 7 แห่งกติกานี้ โดยได้ระบุถึงรูปแบบการส่งคนไปประเทศหนึ่งโดยวิธีการส่งผู้ร้ายข้ามแดน การขับไล่ หรือ การส่งกลับ ว่า “รัฐภาคต้องไม่ทำให้ปัจเจคชนมีความเสี่ยงต่อการทรมาน หรือการปฏิบัติหรือการลงโทษที่โหดร้าย ไร้มนุษยธรรม หรือต่ำช้า อันเนื่องมาจากการกลับไปสู่อีกประเทศ โดยวิธีการส่งผู้ร้ายข้ามแดน การขับไล่ หรือ การส่งกลับ”
2. อนุสัญญาต่อต้านการทรมาน การปฏิบัติ หรือการลงโทษอื่นที่โหดร้าย ไร้มนุษยธรรม หรือย่ำยีศักดิ์ศรี (Convention against Torture and Other Cruel, Inhuman or Degrading Treatment or Punishment: CAT) ค.ศ.1984
ข้อ 3 บัญญัติว่า “รัฐภาคีต้องไม่ขับไล่ ส่งกลับ (ผลักดันกลับออก)หรือส่งบุคคลเป็นผู้ร้ายข้ามแดนไปยังอีกรัฐหนึ่ง เมื่อมีเหตุอันควรเชื่อได้ว่าบุคคลนั้นจะตกอยู่ภายใต้อันตรายที่จะถูกทรมาน” ซึ่งเมื่ออ่านร่วมกับคำนิยามตามข้อ 1 การทรมานนั้นรวมทั้งการทรมานทางร่างกายและจิตใจ
ดังนั้นหากรัฐไทยส่งกลับบุคคลที่อยู่นอกอาณาเขตรัฐแห่งสัญชาติตน มีความหวาดกลัวซึ่งมีมูลอันจะกล่าวอ้างได้ว่าจะได้รับการประหัตประหาร ด้วยสาเหตุทางเชื้อชาติ ศาสนา สัญชาติ สมาชิกสภาพในกลุ่มใดกลุ่มหนึ่ง หรือด้วยสาเหตุของความเห็นทางการเมือง และบุคคลนั้นไม่สมัครใจที่จะรับการคุ้มครองจากรัฐของตนอันเนื่องมาจากความหวาดกลัวดังกล่าว ไม่ว่าบุคคลนั้นจะได้รับสถานะผู้ลี้ภัยอย่างเป็นทางการแล้วหรือไม่ก็ตาม ก็จะเป็นการกระทำที่ขัดต่อกฎหมายจารีตประเพณีระหว่างประเทศ ในเรื่องหลักการการห้ามผลักดันกลับ (Non-Refoulement) และหากเป็นกรณีที่รัฐไทยส่งบุคคลซึ่งมีความเสี่ยงว่าจะถูกทรมาน ไม่ว่าจะเป็นการทรมานทางร่างกาย หรือจิตใจ ไปยังอีกประเทศหนึ่ง ก็จะเป็นการกระทำขัดต่อบทบัญญัติของกฎหมายระหว่างประเทศซึ่งประเทศไทยเป็นภาคี คือข้อ 7 แห่งกติการะหว่างประเทศว่าด้วยสิทธิพลเมืองและสิทธิทางการเมือง และข้อ 3 แห่ง อนุสัญญาต่อต้านการทรมาน การปฏิบัติ หรือการลงโทษอื่นที่โหดร้าย ไร้มนุษยธรรม หรือย่ำยีศักดิ์ศรี
กฎหมายไทยที่เกี่ยวข้องกับหลักการไม่ส่งกลับ
แม้ว่าระเบียบสำนักนายกรัฐมนตรีว่าด้วยการคัดกรองคนต่างด้าวที่เข้ามาในราชอาณาจักรและไม่สามารถเดินทางกลับประเทศอันเป็นภูมิลำเนาได้ พ.ศ. 2562 จะมีผลใช้บังคับเมื่อวันที่ 22 มิถุนายน 2563 แต่ความล่าช้าต่อการเริ่มปฏิบัติตามระเบียบคัดกรองฯ ทำให้ยังไม่มีผู้ใดสามารถไปยื่นคัดกรองขอเป็น “ผู้ได้รับการคุ้มครอง”ได้ หากไม่ล่าช้าในการปฏิบัติตามกฎหมาย คงมีบุคคลผู้ทรงสิทธิตามระเบียบคัดกรองฯนี้มายื่นคัดกรอง หากเขาได้ยื่นคำร้องก็จะได้รับการคุ้มครองที่จะไม่ถูกส่งออกไปนอกราชอาณาจักร ตามข้อ 15 แห่งระเบียบคัดกรองฯ และหากผ่านการคัดกรองและได้รับสถานะเป็น “ผู้ได้รับการคุ้มครอง”แล้วก็จะได้รับความคุ้มครองที่จะไม่ส่งตัวกลับไปยังประเทศต้นทาง ตามข้อ25(1) และจะมีสิทธิอาศัยในราชอาณาจักรตามข้อ 25(3) คือจะมีสิทธิอยู่ในราชอาณาจักรได้เป็นกรณีพิเศษ หรืออนุญาตให้อยู่ในราชอาณาจักรเป็นการชั่วคราว
จะเห็นได้ว่าความล่าช้าในการปฏิบัติการตามระเบียบคัดกรองฯ ทำให้บุคคลไม่สามารถได้รับความคุ้มครองตามกฎหมายภายใน เรื่องการไม่ส่งกลับ และในทางปฏิบัติหลายกรณีก็อาจนำไปสู่ปัญหาที่ว่า รัฐไทยปฏิบัติตามกฎหมายระหว่างประเทศหรือไม่
Author: Kornkanok Wathanabhoom, Policy Advocacy and Communications Coordinator

Published on September 29, 2021
Check out the full version👉
https://asylumaccess.org/aat-policy-advocacy-blog3/
other blogs
👉 https://asylumaccess.org/where-we-work/thailand/policy-advocacy/blog/

Photos from RRLP - Refugee Rights Litigation Project's post 01/10/2021

!!!! ประกาศรับสมัครเพื่อนร่วมงาน !!!!

RRLP เปิดรับสมัคร "เจ้าหน้าที่โครงการพัฒนาสิทธิในสถานะบุคคลของเด็กผู้ลี้ภัย (สัญญา 1 ปี)" เพื่อช่วยเด็กผู้ลี้ภัยที่อาศัยในเขตเมืองให้ได้รับบัตรประจำตัวบุคคลตามกฎหมายการทะเบียนราษฎร (เปิดรับใบสมัครถึงวันที่ 14 ตุลาคม 2564)

พื้นที่ปฏิบัติงาน: กรุงเทพมหานครและปริมณฑล
ระยะเวลาทำงาน: ธันวาคม 2564 - พฤศจิกายน 2565

ผู้ที่สนใจ ให้ส่งประวัติส่วนตัวมาที่ [email protected] พร้อมทั้ง
1. อธิบายว่าทำไมจึงสนใจงานนี้ ประสบการณ์การทำงานที่เกี่ยวข้องว่าความรู้และประสบการณ์ของตนในเรื่องการขอเอกสารประจำตัวบุคคลเหมาะสมที่จะได้รับการคัดเลือกมาทำงานในโครงการพัฒนาสิทธิในสถานะบุคคลของเด็กผู้ลี้ภัยรวมทั้งหากได้รับการคัดเลือก จะมีแนวทางในการสร้างเครือข่ายและพัฒนาความสัมพันธ์กับหน่วยงานหรือเครือข่ายอื่นๆ อย่างไรบ้าง (ไม่เกิน 2 หน้ากระดาษ)
2. ตัวอย่างเคสเกี่ยวกับการขอเอกสารประจำตัวบุคคลจากประสบการณ์ที่แสดงให้เห็นถึงอุปสรรคหรือความท้าทายในการทำงานและวิธีการรับมือกับอุปสรรคหรือความท้าทายดังกล่าว (ไม่เกิน 1 หน้ากระดาษ)
3. เงินเดือนที่คาดหวัง

รายละเอียดเพิ่มเติมในโพสหรือที่ https://www.thaingo.org/jobs/detail/11915

Photos from RRLP - Refugee Rights Litigation Project's post 27/05/2021

Here is the Burmese version of the FAQ on Thai immigration law for those fleeing from Myanmar to Thailand. You can download the PDF file from this link: https://drive.google.com/file/d/1sCgfaFAvWKI2KMceMbH01TAnnMMpuDf0/view?usp=sharing

Photos from RRLP - Refugee Rights Litigation Project's post 27/05/2021

FAQ on Thai immigration law for those fleeing from Myanmar to Thailand

Here is the link for PDF file: https://drive.google.com/file/d/1BUp-8o16veFin-62jEvJLILF36k886bm/view?usp=sharing

********************************

Have you or someone you know fled to Thailand from Myanmar due to the deteriorating human rights situation? This guide may be of use.

Due to the current situation in Myanmar, RRLP has developed a FAQ document about Thai immigration law for those fleeing from Myanmar to Thailand.

Please note that this guide only provides general information and that you may need more detailed legal advice. For more information, please contact our office directly.

22/02/2021

FAQ: Requesting bail at the Immigration Detention Center (IDC) at Suan Plu (Part 4/4)

*******************

What if the guarantor can’t present themselves at the IDC?

The guarantor is occasionally allowed to sign a Power of Attorney to appoint someone else to go to the IDC and make the report for them.

----------------------------------------------

What information should the refugee consider before submitting the bail application?

- Who is the guarantor?
- Who pays the bail money?
- Where will the refugee will stay upon release?
- Is the refugee able to stay outside of the IDC without support?
- Will the refugee be able to travel to the IDC twice a month for the report?
- IDC’s conditions according to the bail paper e.g. stay at the place where informed the IDC, work is not permitted.
- Commitment to keep the guarantor and the IDC up to date on the address and contact information.
- Commitment to return to the IDC after the bail is over and to contact the IDC before leaving the country.

----------------------------------------------

Will the guarantor get their money back?

When the bail is over under the IDC’s condition, the guarantor whose name is on the bail deposit receipt can request the full amount of the bail money back from the IDC. It could take from 2 weeks to several months to get the money back.

After the bail is over (e.g. in the situation that the bailee is leaving Thailand), the guarantor should take the bailee back to the IDC and request the bail money back. However, in the situation where the guarantor can’t take the refugee to report to the IDC (e.g. the refugee leaves Thailand without notifying the IDC), the guarantor is not entitled to receive the money back.

19/02/2021

FAQ: Requesting bail at the Immigration Detention Center (IDC) at Suan Plu (Part 3/4)

*******************

How often does the guarantor have to contact the IDC?

1st - Bring UNHCR card to IDC stating intention to bail a detainee (IDC sometimes refuses to take the application unless they have verified the refugee status with UNHCR).

2nd - Follow up with the IDC about preliminary screening by officials in Sub-division 3, Investigation Interrogate Unit who are in charge of bail (as necessary)

3rd - Submit bail application and pay bail money

4th - Follow up with the IDC for the result (as necessary)

5th - Pick up the detainee from the IDC

6th and once every month - Present at the IDC with the detainee for a report and bail extension

--------------------------------------

What does the guarantor have to do after submitting the bail application?

It could take from 2 to several weeks for the IDC to contact the guarantor with the result of the bail application. If the IDC approves the bail application, the guarantor will have to pick the detainee up on the same day they receive the call. So, please try to keep a flexible schedule after the submission, as the guarantor may receive the call at any time. If that day is not convenient, then the guarantor will have to arrange a time that is more suitable.

--------------------------------------

What will happen upon the release?

Upon release, the guarantor has to go to the IDC where detainee is detained (either Suan Plu or Bang Khen). The guarantor is required to sign a form and will need to help the detainee to take two one-inch pictures to give to the IDC for bail document.

The journey home. For some cases, detainee may contact their friend to pick them up and take them home. However, if only the guarantor comes to the IDC, the guarantor will assist the detainee to go home safely.

--------------------------------------

What is the bail document?

All bailees receive a bail document upon their release; they have to bring this document to the IDC every time they report. The document contains information about the bailee and bail conditions on the front and the report dates on the back. The detainee is to hold on to this bail document in case they are arrested, they can present that to the officers to show that they are on temporary release granted by the Immigration Bureau.

--------------------------------------

What are the report dates?

There are 2 types of report dates. The first one is the date that both guarantor and bailee are required to present at the IDC. It will appear on the left column on the back of the bail document. The second type of report date is the date that the bailee alone has to present themselves at the IDC. It will appear on the right column on the back of the bail document.

--------------------------------------

When is the first report and what will happen on that day?

The first report date will be around 15 days after release. The date will be shown on the bail document that the IDC gives to the bailee upon release. Both guarantor and the bailee have to present themselves at the IDC. The guarantor will have to submit 2 forms to extend the bail and the police will take a picture of the guarantor with the bailee. The guarantor and bailee may check for the next report dates from the stamp on the bail document after each report.

ต้องการให้ธุรกิจของคุณ ธุรกิจ ขึ้นเป็นอันดับหนึ่ง การปฏิบัติตามกฎหมาย ใน Bangkok?
คลิกที่นี่เพื่อเป็นสมาชิก?

ประเภท

เบอร์โทรศัพท์

เว็บไซต์

ที่อยู่

Bangkok

เวลาทำการ

จันทร์ 09:00 - 17:00
อังคาร 09:00 - 17:00
พุธ 09:00 - 17:00
พฤหัสบดี 09:00 - 17:00
ศุกร์ 09:00 - 17:00

กฎหมาย อื่นๆใน Bangkok (แสดงผลทั้งหมด)
Ex Ex
Bangkok

CJ Matter Co.,Ltd CJ Matter Co.,Ltd
Bangkok, 10230

ให้คำปรึกษาด้านกฎหมายและอสังหาริม?

The Legal Officer The Legal Officer
เวนิส ดิ ไอริส ชอย 2/7, ท่าแร้ง, บางเขน, กรุงเทพมหานคร
Bangkok, 10220

ให้ความรู้ทางกฎหมาย และให้บริการให้คำปรึกษาทางกฎหมาย โดยทนายที่ท่านเลือกเองได้

Sarom សារម្យ Sarom សារម្យ
94 Phahonyothin Road, Prachathipat, Thanyaburi District, Pathum Thani
Bangkok, 12130

Video

คุณทนาย คุณทนาย
ลาดพร้าว
Bangkok, 10240

ให้ความรู้ ให้คำปรึกษากฎหมาย รับว่าความทั่วราชอาณาจักร

Nanthaporn legal counsel -ทนายจูน Nanthaporn legal counsel -ทนายจูน
Bangkok, 10250

รับปรึกษาปัญหากฎหมายต่างๆ และรับว่าความทั่วราชอาณาจักร คดีแพ่ง คดีอาญา คดีปกครอง ฯ

บริษัท สำนักกฎหมายนาราและที่ปรึกษา จำกัด "Nara and Consultant Law Office" บริษัท สำนักกฎหมายนาราและที่ปรึกษา จำกัด "Nara and Consultant Law Office"
Bangkok, 10210

ที่ปรึกษากฎหมาย รับว่าความทั่วราชอาณาจักร งานนิติกรรมและสัญญา งานจดทะเบียนต่างๆ

Myanmar work permit Myanmar work permit
Saphanmai
Bangkok

ทนายวิชัย The Lawyer ทนายวิชัย The Lawyer
Bangkok, 10310

มีประสบการณ์ในการทำงานทนาย 30ปี

ทนายวินัย รับทำคดีปกครองและวินัยข้าราชการ ทนายวินัย รับทำคดีปกครองและวินัยข้าราชการ
Bangkok

รับปรึกษาคดีวินัยที่ไม่เป็นธรรมขอ?

9&9 consulting, Accounting and Taxation 9&9 consulting, Accounting and Taxation
93/292 IDO Sukhumvit 93
Bangkok, 10260

รับเป็นที่ปรึกษา วางแผนด้านภาษีอากร งานบัญชี และงานตรวจสอบภายใน การรับมือกับสรรพากร