ทนายความอำเภอสัตหีบ Lawyer at Sattahip District

ทนายใกล้คุณ ให้คำปรึกษาและบริการ ป? เครือข่ายทนายความ ทนายใกล้คุณ อำเภอสัตหีบ จังหวัดชลบุรี
พร้อมให้คำปรึกษาและบริการ โทร 089-226-8899

04/01/2024

ปรึกษาทนายสู้คดี 099 464 4445 ค้นหาทนายได้ที่เวปไซต์นี้ www.สู้คดี.com

ทนายเล่าเรื่อง อายุความ เกี่ยวกับการติดตามเอาทรัพย์คืน

จำเลยที่ 1 เป็นลูกจ้างโจทก์ทำหน้าที่เป็นตัวแทนรับเงินค่าเช่าซื้อรถจากลูกหนี้ของโจทก์ จำเลยที่ 1 รับเงินตาม หน้าที่แล้วไม่ส่งมอบให้แก่โจทก์ ย่อมเป็นทั้งละเมิดและปฏิบัติผิดหน้าที่ตัวแทนตาม สัญญาจ้าง โจทก์ย่อมมีสิทธิที่จะเรียกค่าเสียหายในการละเมิดหรือติดตาม เอาทรัพย์ของโจทก์ที่จำเลยเอาไปได้ การฟ้องเรียกให้จำเลยคืนเงิน จึงเป็นการใช้ สิทธิติดตาม เอาทรัพย์ของโจทก์คืนจากจำเลยที่ 1 ผู้ไม่มีสิทธิยึดถือทรัพย์ของโจทก์ไว้ ตาม ป.พ.พ.มาตรา 1336 ซึ่ง ไม่มีกำหนดเวลาให้เจ้าของทรัพย์ใช้ สิทธิเช่นนี้เว้นแต่จะถูก จำกัดด้วย อายุความได้ สิทธิ ดังนั้นโจทก์ย่อมมีสิทธิฟ้องเรียกทรัพย์คืนจากจำเลยที่ 1 ได้ แม้จะเกิน 1 ปี จำเลยที่ 2ค้ำประกันจำเลยที่ 1 มูลหนี้ของจำเลยที่ 2 ก็เกิดจากสัญญา หาได้เกิดจากมูลละเมิดอันจะมีอายุความ 1 ปีไม่ คดีโจทก์จึงไม่ขาดอายุความ.

01/01/2024

สวัสดีปี 2567

25/12/2023

Merry Christmas & Happy New Year 2024

12/12/2023

ปรึกษาหรือหาทนายความที่คอลเซ็นเตอร์ 02 114 7521 หรือจะปรึกษาด้วยการทักมาทางไลน์นี้

02/12/2023

มาเป็นเพื่อนทนายเถอะ มีปัญหาจะได้ปรึกษาได้ทันทีที่ไลน์นี้หรือ inbox มาปรึกษาก็ได้

24/11/2023

10. ปืนผิดมือ
นอกจากการที่มีอาวุธไว้ในครอบครองโดยไม่ได้รับอนุญาตจากนายทะเบียนท้องที่จะผิดกฎหมายแล้ว การที่มีอาวุธปืนที่ได้รับใบอนุญาตแต่เป็นของผู้อื่นไว้ในครอบครอง หรือที่เรียกว่า ‘ปืนผิดมือ’ ถือเป็นความผิดเช่นกัน ซึ่งต้องระวางโทษจำคุก 6 เดือน – 5 ปี และปรับตั้งแต่ 1,000 – 10,000 บาท ซึ่งเป็นไปตามมาตรา 7 ประกอบมาตรา 72 วรรคสาม แห่งพระราชบัญญัติอาวุธปืน เครื่องกระสุนปืน วัตถุระเบิด ดอกไม้เพลิง และสิ่งเทียมอาวุธปืน พ.ศ. 2490
นอกจากนี้ การมีเครื่องกระสุนไว้ในครอบครองโดยไม่ได้รับอนุญาต (กระสุนไม่ถูกขนาดกับปืนที่ได้รับอนุญาต) ต้องระวางโทษจำคุกไม่เกิน 10 ปี หรือปรับไม่เกิน 20,000 บาท หรือทั้งจำทั้งปรับ ตามมาตรา 8ประกอบมาตรา 72 ทวิวรรคหนึ่ง แห่งพระราชบัญญัติอาวุธปืนฯ

มีคดีที่ศาลใหน ปรึกษาทนายใกล้ศาลนั้น 099 464 4445 ค้นหาทนายใกล้ศาลได้ที่เวปไซต์นี้ www.ทนายใกล้http://xn--23cf4a.com/

**************************

21/11/2023

8. ยิงปืนขึ้นฟ้า
เชื่อว่าหลายๆ ท่าน คงจะเห็นภาพจนชินตากับการยิงปืนขึ้นฟ้าในช่วงเทศกาลต่างๆ แต่รู้หรือไม่ว่า ประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 376 ระบุว่า ผู้ใดยิงปืนซึ่งใช้ดินระเบิดโดยใช่เหตุในเมืองหมู่บ้าน หรือที่ชุมนุมชน ต้องระวางโทษจำคุกไม่เกิน 10 วัน หรือปรับไม่เกิน 5,000 บาท หรือทั้งจำทั้งปรับ
นอกจากนี้ ศาลฎีกายังเคยตัดสินในคำพิพากษาฎีกา ที่ 3452/2546 ว่าจำเลยยิงปืนขึ้นฟ้าหนึ่งนัด แม้จะเป็นเพียงการทดสอบว่าอาวุธปืนของกลางนั้นจะยังใช้ได้อยู่หรือไม่ก็ตาม การกระทำของจำเลยเป็นความผิดฐานยิงปืนซึ่งใช้ดินระเบิดโดยใช่เหตุในหมู่บ้านตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 376 แล้ว

อยู่กรุงเทพ ปรึกษาทนายกรุงเทพ 099 464 4445 ค้นหาทนายความได้ที่เวปไซต์นี้: www.ทนายกรุhttp://xn--72c6av8k.com/

*****************************

13/11/2023

5. เสือปืนไว
สุภาษิตโบราณกล่าวไว้ว่า “เสือสองตัวอยู่ถ้ำเดียวกันไม่ได้” น่าจะใช้ได้ดีกับพฤติกรรมของวัยรุ่นบางกลุ่มในสมัยนี้ที่มีการจับกลุ่มทะเลาะวิวาทตามที่เห็นจากสื่อต่างๆ โดยเฉพาะพวกเสือปืนไวหรือชอบชักปืน โชว์อาวุธในการต่อสู้ เพราะตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 379 กล่าวไว้ว่า “ผู้ใดชักหรือแสดงอาวุธในการวิวาทต่อสู้ ต้องระวางโทษจำคุกไม่เกิน 10 วัน หรือปรับไม่เกิน 5,000 บาท หรือทั้งจำทั้งปรับ” ซึ่งอาวุธในที่นี้หมายถึง อาวุธทุกชนิด ทั้งสิ่งที่ไม่เป็นอาวุธโดยสภาพ เช่น คัทเตอร์ มีดพับ และรวมไปถึงอาวุธโดยสภาพ เช่น ดาบ หอก ปืน และจะผิดตามมาตรา 379 ได้ต้องมีองค์ประกอบ 2 ส่วน ดังนี้ 1) ชักหรือโชว์อาวุธ 2) เป็นสถานการณ์ สมัครใจทะเลาะวิวาทกันทั้ง 2 ฝ่าย

มีปัญหาปรึกษาทนายใกล้คุณ 099 464 4445 ค้นหาทนายใกล้คุณได้ที่เวปไซต์นี้ www.ทนายใกล้คุhttp://xn--k3c.com/

******************************

12/11/2023

4. ปืนมีไว้เพื่อป้องกันตัว
สังคมปัจจุบันที่เราไว้วางใจ คนแปลกหน้าไม่ได้ ไม่รู้ว่าเป็นผู้ร้าย หรือผู้ดี ทำให้บางครั้งเราก็อยากจะมี อาวุธไว้ป้องกันตัวเอง คนในครอบครัว และทรัพย์สินของเรา ให้ปลอดจาก ผู้ที่มามุ่งร้าย โดยเฉพาะอาวุธปืน อย่างไรก็ตาม อาวุธปืนเป็นสิ่งที่ สามารถทำอันตรายผู้อื่นให้บาดเจ็บ สาหัสหรือถึงแก่ชีวิตได้ ดังนั้น เพื่อความปลอดภัยและสุขสงบ ของสังคม จึงต้องมีกฎหมาย มาควบคุมการซื้อขาย ครอบครอง และการใช้อาวุธปืนอย่างเข้มงวด
ปืนถือเป็นอาวุธที่อาจเป็นอันตรายได้ จึงต้องมีกฎหมายมาเกี่ยวข้อง เพื่อสร้างความปลอดภัยให้กับคน ในสังคม ดังนั้นหากต้องการมีอาวุธปืน ไว้ป้องกันตัว ต้องแจ้งจดทะเบียนต่อ เจ้าหน้าที่พนักงานตามพระราชบัญญัติ อาวุธปืน เครื่องกระสุนปืน วัตถุระเบิด ดอกไม้เพลิง และสิ่งเทียมอาวุธปืน พ.ศ. 2490 มาตรา 7 ทั้งนี้ หากฝ่าฝืน ไม่แจ้งเจ้าหน้าที่พนักงาน ต้องระวางโทษ
จำคุก 1-10 ปี และปรับตั้งแต่ 2,000- 20,000 บาท ตามมาตรา 72 วรรคแรก

ขอบคุณข้อมูลจากเพจรู้หมดกฎหมาย มีปัญหาปรึกษาทนายใกล้คุณ 099 464 4445 ค้นหาข้อมูลสู้คดีได้ที่เวปไซต์นี้ www.ใกล้คุhttp://xn--k3c.com/

*****************************

12/11/2023

3. ปืนหาย ต้องไปแจ้งความ
เมื่อเรามีอาวุธปืนไว้ในครอบครองแล้ว นอกจากจะต้องใช้อย่างรับผิดชอบแล้ว ก็จะต้องเก็บรักษาอาวุธปืนไว้ในที่ปลอดภัยและแน่นหนา นอกจากนี้ผู้ที่มีอาวุธปืน ไว้ในครอบครองก็จำเป็นที่จะต้องศึกษาพระราชบัญญัติอาวุธปืน เครื่องกระสุนปืน วัตถุระเบิด ดอกไม้เพลิง และสิ่งเทียมอาวุธปืน พ.ศ. 2490 ให้เข้าใจถึงหน้าที่ และข้อผูกพันตามกฎหมายให้ดี เพราะกฎหมายจะกำหนดว่าต้องทำอย่างไรบ้าง เมื่อสถานการณ์หนึ่งๆ เกิดขึ้น
หากว่านาย ก.ครอบครองอาวุธปืนอย่างถูกกฎหมาย แต่อยู่มาวันหนึ่งก็ได้พบว่า อาวุธปืนนั้นหายไป หาเท่าไรก็ไม่พบ สิ่งที่จะต้องทำนอกเหนือจากไปแจ้งความ เจ้าหน้าที่ตำรวจว่าทรัพย์สินซึ่งคืออาวุธปืนสูญหายแล้ว ก็ยังต้องไปแจ้งเหตุ และส่งมอบใบอนุญาตครอบครองอาวุธปืนนั้นต่อนายทะเบียนในท้องที่ ซึ่งตนอยู่อาศัย หรือท้องที่ที่ปืนนั้นสูญหาย ทั้งนี้ นาย ก.จะต้องดำเนินการภายใน 15 วัน นับตั้งแต่ทราบเรื่อง ถ้าหาก ไม่ปฏิบัติตาม จะมีความผิดตาม มาตรา 21 และรับโทษตามมาตรา 83 ต้องระวางโทษปรับไม่เกิน 1,000 บาท

อยู่กรุงเทพ ปรึกษาทนายกรุงเทพ 099 464 4445 ค้นหาทนายความได้ที่เวปไซต์นี้: www.ทนายกรุhttp://xn--72c6av8k.com/

*****************************

10/11/2023

2. พกปืนต้องมีมบอนุญาตพกปืนนะครับ
แม้ว่าคนที่มีครอบครองปืน จะได้รับใบอนุญาตให้มีและใช้ได้ตาม กฎหมายแล้ว แต่กฎหมายก็ไม่อนุญาต ให้พกปืนออกไปนอกสถานที่ได้ อย่างเสรี เพราะว่าอาจก่ออันตราย ต่อบุคคลอื่นขึ้นได้ การจะนำปืนติดตัวไปนั้นจำเป็น จะต้องมีใบพกพาใบพกพาทั่วราชอาณาจักร หรือในเขตจังหวัด (ป.12) ซึ่งผู้ใด ประสงค์มีใบพกพาต้องยื่นคำร้อง ต่อเจ้าพนักงานผู้ออกใบอนุญาต และผู้ได้รับใบพกปืนจำเป็นต้องมี คุณสมบัติตามระเบียบที่กระทรวง มหาดไทยกำหนด ตัวอย่างเช่น เป็นเจ้าพนักงานซึ่งปฏิบัติหน้าที่ ควบคุมทรัพย์สินของรัฐบาล ข้าราชการ ตั้งแต่หัวหน้าแผนกหรือเทียบเท่าขึ้นไป ผู้มีหน้าที่ในการปราบปรามหรือ การปฏิบัติงานในการฝ่าอันตราย อย่างไรก็ ตามสำหรั บผู้ครอบครองปืน ที่มิใช่เจ้าหน้าที่ที่มีใบอนุญาตพกปืน แต่มีเหตุเร่งด่วนตามสมควรแก่เหตุ เช่น คุณสมศักดิ์เพิ่งขายสินค้าได้เงิน มาหลายแสนบาทและจำเป็นต้อง นำไปฝากธนาคารซึ่งอยู่ห่างไกล อันเป็นเส้นทางที่มีโจรผู้ร้ายชุกชุม จึงพกปืนที่ชอบด้วยกฎหมายไปด้วย โดยไม่มีใบอนุญาตพกพา การกระทำดังกล่าวอาจอ้างได้ว่าเพราะเป็น ความจำเป็นและเร่งด่วน
แต่หากใครฝ่าฝืนหรือพกปืน โดยไม่เข้าข้อยกเว้นดังกล่าว ถือว่ามี ความผิดตามพระราชบัญญัติอาวุธปืน เครื่องกระสุนปืน วัตถุระเบิดดอกไม้เพลิง และสิ่งเทียมอาวุธปืน พ.ศ. 2490 มาตรา 72 ทวิ วรรค 2 จำคุกไม่เกิน 5 ปี หรือปรับไม่เกิน 10,000 บาท

มีปัญหาปรึกษาทนายใกล้คุณ 099 464 4445 ค้นหาทนายใกล้คุณได้ที่เวปไซต์นี้ www.ทนายใกล้คุhttp://xn--k3c.com/

******************************

12/10/2023

8. เป็นเจ้าของทรัพย์สินทางปัญญา อนุญาตให้บุคคลอื่นใช้ได้หรือไม่
เจ้าของลิขสิทธิ์ย่อมมีสิทธิ์นำผลงานของตนเองไปหาประโยชน์เพื่อตนเองได้ตามพระราชบัญญัติลิขสิทธิ์ พุทธศักราช 2537 มาตรา 15 โดยการอนุญาตให้ใช้สิทธิในลิขสิทธิ์ ซึ่งแบ่งออกได้ 3 ประเภท คือ 1. สัญญาอนุญาตให้ใช้สิทธิไม่เด็ดขาด หมายถึง เจ้าของลิขสิทธิ์ มีสิทธิ์ที่จะนำลิขสิทธิ์ของตนให้ผู้อื่นใช้งานโดยไม่จำกัดจำนวนครั้งและจำนวนบุคคล 2. สัญญาอนุญาตให้ใช้ลิขสิทธิ์แต่เพียงผู้เดียว หมายถึง สัญญาที่เจ้าของลิขสิทธิ์อนุญาตให้บุคคลหนึ่งบุคคลใดใช้งานในลิขสิทธิ์แต่เพียงผู้เดียว และเจ้าของลิขสิทธิ์ไม่มีสิทธินำงานนั้นไปให้ผู้อื่นใช้งานในลิขสิทธิ์ได้อีก แต่เจ้าของลิขสิทธิ์ยังคงมีสิทธิในงานนั้นอยู่เช่นเดิม และ 3. สัญญาอนุญาตให้ใช้ลิขสิทธิ์อย่างเด็ดขาด หมายถึง สัญญาที่กำหนดให้ผู้ได้รับอนุญาตแต่ผู้เดียวมีสิทธินำงานนั้นไปทำซ้ำดัดแปลง เผยแพร่ต่อสาธารณชนหรือกรณีอื่นๆ ที่กำหนดไว้ โดยที่เจ้าของลิขสิทธิ์ไม่มีสิทธิที่จะใช้งานของตน แต่ก็ไม่ได้หมายความว่าผู้ที่รับอนุญาตอย่างเด็ดขาดนี้จะกลายเป็นเจ้าของลิขสิทธิ์อย่างแท้จริง

มีปัญหาปรึกษาทนายใกล้คุณ 099 464 4445 ค้นหาทนายใกล้คุณได้ที่เวปไซต์นี้ www.ทนายใกล้คุhttp://xn--k3c.com/

***************************************

10/10/2023

6. เครื่องหมายการค้า จำเป็นต้องจดทะเบียนหรือไม่
เครื่องหมายการค้า มีทั้งกรณีที่จดทะเบียนหรือไม่จดทะเบียนก็ได้ แต่เมื่อมีกรณีบุคคลอื่น นำเครื่องหมายการค้าของตนไปใช้หรือกระทำละเมิด เจ้าของเครื่องหมายการค้าที่จดทะเบียนไว้เท่านั้น ที่จะมีสิทธิเรียกร้องความเสียหายค่าสินไหมทดแทนได้ ซึ่งเป็นไปตามพระราชบัญญัติเครื่องหมายการค้าพุทธศักราช 2534 มาตรา 46 วรรคหนึ่ง แต่ในกรณีที่เจ้าของเครื่องหมายการค้าที่ไม่ได้จดทะเบียน อาจใช้สิทธิฟ้องร้องบุคคลที่นำเครื่องหมายการค้าของตนไปหลอกขายผู้บริโภคโดยอ้างว่าเป็นเจ้าของสินค้า ซึ่งเป็นการหลอกลวงแหล่งที่มาของสินค้าและความเป็นเจ้าของสินค้าได้ ตามมาตรา 46 วรรคสอง

มีคดีที่ศาลใหน ปรึกษาทนายใกล้ศาลนั้น 099 464 4445 ค้นหาทนายใกล้ศาลได้ที่เวปไซต์นี้ www.ทนายใกล้http://xn--23cf4a.com/

***************************************

05/10/2023

3. เสนอผลงานประเภทใดไม่เป็นละเมิดลิขสิทธ์ผลงานบางประเภทก็ถือไม่ละเมิดสิทธิ์
ประชาชนทั่วไปนำไปใช้อ้างอิงได้ เนื่องจากเป็นเรื่องของประโยชน์สาธารณะได้แก่ ข่าวประจำวัน และข้อเท็จจริง ต่างๆ ที่มีลักษณะเป็นเพียงข่าวสาร มิใช่งานในแผนกวรรณคดี แผนกวิทยาศาสตร์ หรือแผนกศิลปะ
นอกจากนี้เรื่องของรัฐธรรมนูญ กฎหมายระเบียบ ข้อบังคับ ประกาศ คำสั่ง คำชี้แจง และหนังสือโต้ตอบของกระทรวง ทบวง กรม หรือหน่วยงานอื่นใดของรัฐ หรือของท้องถิ่น คำพิพากษา คำสั่ง คำวินิจฉัย และรายงานของทางราชการก็ใช้ได้ ตามพระราชบัญญัติลิขสิทธิ์ พ.ศ. 2537 มาตรา 7

อยู่ต่างจังหวัด ปรึกษาทนายความในจังหวัดของคุณ 099 464 4445 ค้นหาทนายความในจังหวัดของคุณได้ที่เวปไซต์นี้: www.ทนายใกล้คุhttp://xn--k3c.com/
***************************************

30/09/2023

กฎหมายทรัพย์สินทางปัญญา

1. เปิดเพลงในร้านอาหาร ผิดกฎหมายลิขสิทธิ์หรือไม่
2. เพื่อการกุศล ผิดกฎหมายทรัพย์สินทางปัญญาหรือไม่
3. เสนอผลงานประเภทใดไม่เป็นละเมิดลิขสิทธ์
4. เพลงดัง หนังดี ก็อปปี้ไม่ได้
5. ไม่ว่าอาชีพใหน ต้องใส่ใจเรื่องลิขสิทธิ์
6. เครื่องหมายการค้า จำเป็นต้องจดทะเบียนหรือไม่
7. สิทธิการเป็นเจ้าของเครื่องหมายการค้า
8. เป็นเจ้าของทรัพย์สินทางปัญญา อนุญาตให้บุคคลอื่นใช้ได้หรือไม่

ขอบคุณข้อมูลจากเพจรู้หมดกฎหมาย มีปัญหาปรึกษาทนายใกล้คุณ 099 464 4445 ค้นหาข้อมูลสู้คดีได้ที่เวปไซต์นี้ www.ใกล้คุhttp://xn--k3c.com/
***************************************

ขอบคุณข้อมูลจากเพจรู้หมดกฎหมาย มีปัญหาปรึกษาทนายใกล้คุณ 099 464 4445 ค้นหาข้อมูลสู้คดีได้ที่เวปไซต์นี้ www.ใกล้คุhttp://xn--k3c.com/
***************************************

1. เปิดเพลงในร้านอาหาร ผิดกฎหมายลิขสิทธิหรือไม่
ร้านอาหารโดยส่วนใหญ่ นิยมเปิดเพลงเพื่อสร้างบรรยากาศในการรับประทานอาหารให้แก่ลูกค้า ซึ่งปัจจุบันมีข้อถกเถียงกันว่าการเปิดเพลงในร้านอาหารถือเป็นการละเมิดลิขสิทธิ์หรือไม่
ทั้งนี้ พระราชบัญญัติลิขสิทธิ์ พ.ศ. 2537 มาตรา 31 ระบุว่า ผู้ใดรู้อยู่แล้วหรือมีเหตุอันควรรู้ว่า งานใด ได้ทำขึ้นโดยละเมิดลิขสิทธิ์ของผู้อื่น กระทำอย่างใดอย่างหนึ่งแก่งานนั้นเพื่อหากำไร ให้ถือว่าผู้นั้นกระทำการละเมิดลิขสิทธิ์ ถ้าได้กระทำดังต่อไปนี้ ๑) ขาย มีไว้เพื่อขาย เสนอขาย ให้เช่า เสนอให้เช่า ให้เช่าซื้อ หรือเสนอให้เช่าซื้อ ๒) เผยแพร่ต่อสาธารณชน ๓) แจกจ่ายในลักษณะที่อาจก่อให้เกิดความเสียหายแก่เจ้าของลิขสิทธิ์ และ ๔) นำหรือสั่งเข้ามาในราชอาณาจักร และหากใครฝ่าฝืนจะมีโทษปรับตั้งแต่ 10,000 บาทถึง 100,000 บาท และหากเป็นการกระทำเพื่อการค้าผู้กระทำต้องระวางโทษจำคุกตั้งแต่ 3 เดือนถึง 2 ปี หรือปรับตั้งแต่ 50,000 บาท ถึง 400,000 บาท หรือทั้งจำทั้งปรับ ตามมาตรา 70
จากข้อกฎหมายดังกล่าว การเปิดเพลงในร้านอาหารกินข้าวธรรมดาไม่ถือเป็นการละเมิดลิขสิทธิ์ เพราะถือว่าไม่ได้เป็นการแสวงหากำไร แต่ถ้าเมื่อไหร่การเปิดเพลงนั้นเป็นไปเพื่อแสวงหากำไร “โดยตรง” หากฝ่าฝืนอาจถูกจำคุกหรือปรับได้

ปรึกษาทนายสู้คดี 099 464 4445 ค้นหาทนายได้ที่เวปไซต์นี้ www.สู้คดี.com
*************************************

05/09/2023

17. การเป็นบุตรบุญธรรมที่ถูกต้องตามกฎหมาย (17 of 22)
การที่จะเป็นบุตรบุญธรรมโดยถูกต้องและสมบูรณ์ตามกฎหมายนั้น จะต้องนำไปจดทะเบียนและต้องปฏิบัติให้ครบถ้วนตามเงื่อนไขที่กำหนดไว้ด้วย เป็นไปตามบทบัญญัติประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1598/21 สำหรับกรณีของผู้เยาว์ที่เป็นบุตรบุญธรรมของบุตรคนอื่นอยู่ จะไปขอเป็นบุตรบุญธรรมของบุคคลอื่นอีกไม่ได้ ยกเว้นจะเป็นบุตรบุญธรรมของคู่สมรสของผู้รับบุตรบุญธรรมของตนซึ่งเป็นไปตามบทบัญญัติประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1598/26 (โปรดติดตามโพสต์ต่อไป)

ปรึกษาทนาย 099 464 4445 ค้นหาข้อมูลสู้คดี https://www.xn--42c6azd2br0h.com/

03/09/2023

16. สิทธิขอบบุตรบุญธรรม (16 of 22)
ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1598/28 ได้กำหนดให้สิทธิผู้ที่เป็นบุตรบุญธรรม ไว้ว่า บุตรบุญธรรมจะมีฐานะเช่นเดียวกับบุตรชอบด้วยกฎหมายของผู้รับบุตรบุญธรรมกล่าวคือ มีสิทธิเช่นเดียวกับบุตรชอบด้วยกฎหมาย มีสิทธิได้รับการอุปการะเลี้ยงดูและมีสิทธิได้รับมรดกตกทอดเสมือนทายาทชั้นบุตรของผู้รับบุตรบุญธรรมทุกประการแต่ก็ไม่เสียสิทธิและหน้าที่ในครอบครัวที่ได้กำเนิดมาแต่เดิม เช่น มีสิทธิในการรับมรดกตกทอดจากบิดามารดาทายาทเดิม เพียงแต่อำนาจในการปกครองตกอยู่ในอำนาจของผู้รับบุตรบุญธรรม บิดามารดาหมดอำนาจปกครองนับแต่เด็กตกเป็นบุตรบุญธรรมของผู้รับบุตรบุญธรรม (โปรดติดตามโพสต์ต่อไป)

ปรึกษาทนาย 099 464 4445 ค้นหาข้อมูลสู้คดี https://www.xn--42c6azd2br0h.com/

02/09/2023

15. สิทธิของผู้รับบุตรบุญธรรม (15 of 22)
กรณีรับบุตรบุญธรรมนั้น ทำให้ผู้ที่รับบุตรบุญธรรมมีสิทธิเป็นผู้ปกครองแทนบิดามารดาหรือผู้ปกครองเดิมนับแต่รับบุตรบุญธรรม โดยทำหน้าที่อบรมสั่งสอน อุปการะเลี้ยงดู ให้การศึกษา ตลอดจนช่วยเหลือเกื้อกูลบุตรบุญธรรมเสมือนบุตรที่แท้จริงของตน ตามหน้าที่ เช่นบิดา มารดาทั่วไปพึงกระทำ แต่การเป็นผู้รับบุตรบุญธรรมไม่ทำให้เกิดสิทธิในการรับมรดกของบุตรบุญธรรมในฐานะทายาทโดยธรรมแต่อย่างใด ซึ่งเป็นไปตามบทบัญญัติประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1598/29 (โปรดติดตามโพสต์ต่อไป)

ปรึกษาทนาย 099 464 4445 ค้นหาข้อมูลสู้คดี https://www.xn--42c6azd2br0h.com/

01/09/2023

กฎหมายเรื่องที่ดิน

- [ ] 1. มีที่ดิน ไม่ดูแล เจ้าของแท้ก็หมดสิทธิ
- [ ] 2. วิธีแก้ปัญหา ซื้อที่ดินตาบอด
- [ ] 3. กรรมสิทธิ์คืออะไร
- [ ] 4. การครอบครอบปรปักษ์ที่ดิน
- [ ] 5. ที่ดินตาบอด
- [ ] 6. สิทธิของการซื้อทรัพย์โดนสุจริตในท้องตลาด
- [ ] 7. การสร้างที่อยู่อาศัยที่ที่ดินของคนอื่นโดยไม่สุจริต
- [ ] 8. บ้านหรือสิ่งปลูกสร้างที่อยู่บนที่ดิน
- [ ] 9. ความหมายของคำว่า ทรัพย์หรือทรัพย์สิน
ขอบคุณข้อมูลจากเพจรู้หมดกฎหมาย มีปัญหาปรึกษาทนายใกล้คุณ 099 464 4445 ค้นหาข้อมูลสู้คดีได้ที่เวปไซต์นี้ www.ใกล้คุณ

***************************

1. มีที่ดิน ไม่ดูแล เจ้าของแท้ก็หมดสิทธิ
เจ้าของที่ดินจำนวนมากอาจไม่รู้ว่ามีที่ดินอยู่ตรงไหนบ้าง หรือไม่ดูแล และปล่อยทิ้งร้างมานาน หากภายหลังปรากฏว่ามีคนเข้ามาครอบครอง อย่างสงบ เปิดเผย และเจตนาเป็นเจ้าของ ติดต่อกันนานถึง 10 ปี โดยที่เจ้าของที่ดินเดิม ไม่เคยเข้ามาป้องกันหรือขัดขวาง ที่ดินดังกล่าวก็จะตกเป็นของบุคคลอื่นที่เข้ามา ครอบครอง หรือตามที่รู้จักกันว่าการครอบครองแบบปรปักษ์ เป็นไปตามประมวล กฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1382
เพราะฉะนั้นมีที่ดินต้องดูแล ไม่เช่นนั้นถึงเป็นเจ้าของที่ดินแท้ๆ ก็หมดสิทธิ โดยไม่รู้ตัวได้

ขอบคุณข้อมูลจากเพจรู้หมดกฎหมาย มีปัญหาปรึกษาทนายใกล้คุณ 099 464 4445 ค้นหาข้อมูลสู้คดีได้ที่เวปไซต์นี้ www.ใกล้คุhttp://xn--k3c.com/

31/08/2023

14. การรับบุตรบุญธรรม (14 of 22)
ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1598/19 และมาตรา 1598/20 ได้วางกฎเกณฑ์ตามกฎหมายการรับบุตรบุญธรรมไว้ว่า บุคคลที่ต้องการรับบุคคลอื่นเป็นบุตรบุญธรรมนั้น ต้องมีอายุไม่ต่ำกว่ายี่สิบห้าปี และต้องมีอายุแก่กว่าผู้ที่จะเป็นบุตรบุญธรรมอย่างน้อยสิบห้าปี และหากบุตรบุญธรรมอายุไม่ต่ำกว่าสิบห้าปี ผู้นั้นต้องให้ความยินยอมด้วย นอกจากนี้ หากผู้ที่จะเป็นบุตรบุญธรรมเป็นผู้เยาว์และมีพ่อแม่ผู้ปกครองอยู่ ต้องได้รับการยินยอมจากบุคคลเหล่านั้นด้วย เป็นไปตามบทบัญญัติ มาตรา 1598/21 อย่างไรก็ตาม ในกรณีที่ผู้รับบุตรบุญธรรมมีคู่สมรส ต้องให้คู่สมรสยินยอมในการรับบุตรบุญธรรมด้วย ตามบทบัญญัติ มาตรา 1598/25 แห่งประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ (โปรดติดตามโพสต์ต่อไป)

ปรึกษาทนาย 099 464 4445 ค้นหาข้อมูลสู้คดี https://www.xn--42c6azd2br0h.com/

30/08/2023

13. การมีบุตรที่พ่อแม่ไม่ได้จดทะเบียนสมรส (13 of 22)
การที่ชายและหญิงอยู่กินฉันท์สามีกรรยา แต่ไม่ได้จดทะเบียนสมรสและมีบุตรเกิดขึ้นมา บุตรนั้นตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1546 บัญญัติหลักกฎหมายไว้ว่า เด็กที่เกิดจากหญิงที่มิได้สมรสกับชาย ให้ถือว่าเป็นบุตรโดยชอบของหญิงนั้น เว้นแต่จะมีกฎหมายบัญญัติไว้เป็นอย่างอื่น ดังนั้นการที่หญิงและชายอยู่กินฉันท์สามีภรรยา เมื่อมีบุตรขึ้นมากฎหมายให้ถือว่าเป็นบุตรโดยชอบด้วยกฎหมายของหญิงนั้น แต่อย่างไรก็ดี เด็กที่เกิดขึ้นมานั้นจะเป็นบุตรโดยชอบของชายได้ก็ต่อเมื่อ ชายและหญิงนั้นสมรสกันในภายหลัง หรือบิดาจดทะเบียนว่าเป็นบุตรหรือศาลพิพากษาว่าเป็นบุตร และในกรณีหลังนี้กฎหมายให้มีผลแก่บุตรย้อนไปถึงวันที่บุตรเกิด โดยถือว่าชายนั้นเป็นบิดาโดยชอบด้วยกฎหมายของบุตรนับแต่วันที่เด็กเกิด ซึ่งเป็นไปตามบทบัญญัติประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1547 และมาตรา 1557 (โปรดติดตามโพสต์ต่อไป)

ปรึกษาทนาย 099 464 4445 ค้นหาข้อมูลสู้คดี https://www.xn--42c6azd2br0h.com/

23/08/2023

12. หนี้ต้องรับ ทรัพย์ต้องแบ่ง (12 of 22)
เมื่อคู่สมรสที่เคยรักกันต้องสิ้นสุดความสัมพันธ์กันแล้ว นอกจากสินสมรสที่ต้องแบ่งให้เท่าๆ กันแล้ว ในส่วนของหนี้สินที่เกิดมาร่วมกันระหว่างสมรสก็ต้องร่วมกันรับผิดชอบไปในส่วนเท่าๆ กันด้วย ตัวอย่างเช่น นายสมโชคได้จดทะเบียนหย่าร้างกับนางสมพร โดยทั้งคู่มีเงินสดอยู่ 500,000 บาทที่เป็นสินสมรส ขณะเดียวกันนายสมโชคก็มีหนี้อยู่ 100,000 บาทที่เกิดจากไปกู้ยืมเงิน ซึ่งเป็นค่าใช่จ่ายในการเรียนของลูก ต่อมาเมื่อทั้งคู่หย่าร้างกันจะต้องแบ่งสินสมรสกันคนละ 250,000 บาท ขณะเดียวกันนางสมพรจะต้องช่วยรับผิดชอบหนี้จำนวนดังกล่าวที่นายสมโชคก่อขึ้นระหว่างสมรสจำนวนครึ่งหนึ่ง หรือ 50,000 บาท ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1533 มาตรา 1535 (โปรดติดตามโพสต์ต่อไป)

ปรึกษาทนาย 099 464 4445 ค้นหาข้อมูลสู้คดี https://www.xn--42c6azd2br0h.com/

15/08/2023

9. สินสมรสคืออะไร (9 of 22)
คำว่าสินสมรส ก็คือทรัพย์สินที่สามีภรรยามีส่วนร่วมกันในทรัพย์สินนั้น การจัดการทรัพย์สินก็ต้องจัดการร่วมกัน ซึ่งเป็นไปตามบทบัญญัติประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1474 บัญญัติไว้ว่า สินสมรสได้แก่ทรัพย์สิน 1. ทรัพย์สินที่คู่สมรสได้มาระหว่างสมรส 2. ฝ่ายใดฝ่ายหนึ่งได้มาระหว่างสมรส โดยพินัยกรรมหรือโดยการให้เป็นหนังสือที่ระบุว่าเป็นสินสมรส 3. ทรัพย์สินที่เป็นดอกผลของสินส่วนตัว และมาตรา 1474 วรรคสอง ยังบัญญัติต่อไปอีกว่า กรณีที่สงสัยว่าทรัพย์สินเป็นสินสมรสหรือไม่ ให้สันนิษฐานไว้ก่อนว่าเป็นสินสมรส ดังนั้น ทรัพย์สินที่จะเป็นสินสมรส ต้องไม่ใช่ทรัพย์สินที่มีมาก่อนสมรสนั้นเอง คือได้มาระหว่างสมรสอีกประการหนึ่ง กรณีหากฝ่ายหนึ่งมีทรัพย์สินส่วนตัว ต่อมามีดอกผลที่เกิดจากการใช้ทรัพย์เหล่านั้น เช่น ฝ่ายหญิงเลี้ยงสุนัขก่อนสมรส ต่อมาฝ่ายหญิงได้ทำการสมรสและสุนัขที่ได้เลี้ยงไว้นั้น ได้ให้กำเนิดลูกสุนัข ส่งผลให้ลูกสุนัขที่เกิดมาเป็นดอกผลที่เกิดขึ้นจากสินส่วนตัว แต่เนื่องจากเกิดขึ้นภายหลังการสมรส ดังนั้น ลูกสุนัขจึงกลายเป็นสินสมรสด้วย อีกกรณีหนึ่งที่เป็นสินสมรสก็คือคู่สมรสฝ่ายใดฝ่ายหนึ่งได้ทรัพย์สินมาโดยพินัยกรรมหรือการให้เป็นหนังสือที่ระบุไว้ให้เป็นสินสมรส กรณีทั้งสามประการจึงเป็นสินสมรส ซึ่งสามีและภรรยาจะต้องจัดการดูแลร่วมกันหรือต้องได้รับยินยอมจากอีกฝ่ายหนึ่งจึงจะจัดการโดยลำพังได้ เป็นไปตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1476 วรรคแรก (โปรดติดตามโพสต์ต่อไป)

ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1474 ได้แบ่งประเภทของสินสมรสไว้ 3 ประเภท ดังนี้ (1) ทรัพย์สินที่คู่สมรสได้มาระหว่างสมรส (2) ทรัพย์สินที่ฝ่ายใดฝ่ายหนึ่งได้มาระหว่างสมรสโดยพินัยกรรมหรือโดยการให้เป็นหนังสือเมื่อพินัยกรรมหรือหนังสือยกให้ระบุว่าเป็นสินสมรส และ (3) ทรัพย์สินที่เป็นดอกผลของสินส่วนตัว

ชีวิตคู่เป็นเรื่องของบุคคล 2 คน ที่ต้องแบ่งปันและใช้ชีวิตร่วมกัน แต่หากวันใดไม่สามารถใช้ชีวิตอยู่ร่วมกันได้อีกต่อไปก็สามารถตกลงแยกทางกันได้ และสามารถแบ่งหรือโอนทรัพย์สินระหว่างคู่สมรสให้แก่กันได้ รวมทั้งหากมีหนี้สินร่วมกันก็ให้ชำระหนี้นั้นด้วยสินสมรสและสินส่วนตัวของทั้งสองฝ่าย ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1489 (โปรดติดตามโพสต์ต่อไป)

ปรึกษาทนาย 099 464 4445 ค้นหาข้อมูลสู้คดี https://www.xn--42c6azd2br0h.com/
****************************

14/08/2023

8. ทรัพย์สินระหว่างสามีภรรยา (8 of 22)
ตามบทบัญญัติประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1470 ได้บัญญัติไว้ว่า ทรัพย์สินระหว่างสามีภรรยา นอกจากที่ได้แยกไว้เป็นสินส่วนตัวย่อมเป็นสินสมรส ดังนั้น เมื่อชายและหญิงสมรสกัน ซึ่งถือเสมือนว่าเป็นบุคคลคนเดียวกันในการดำรงชีวิต แต่อย่างไรก็ดี ทั้งสองฝ่ายอาจมีทรัพย์สินที่เป็นกรรมสิทธิ์ของตนมาก่อนที่จะสมรสกัน กฎหมายจึงได้แบ่งแยกทรัพย์สินของสามีภรรยาออกเป็นสองประการ คือ สินส่วนตัวและสินสมรส โดยที่สินส่วนตัวนั้นเป็นสิทธิ์ของแต่ละฝ่ายที่จะดูแลจัดการด้วยตนเอง ส่วนสินสมรสนั้นทั้งสองฝ่ายต้องดูแลและจัดการร่วมกัน

ทรัพย์สินระหว่างสามีภริยา
ความขัดแย้งเรื่องทรัพย์สินที่เกิดขึ้นระหว่างสามีภรรยา ไม่ว่าเกิดจากฝ่ายสามีกระทำกับภรรยา หรือเกิดจากฝ่ายภรรยากระทำกับสามี เช่น การขโมยเงิน และของมีค่า หรือฉ้อโกงหลอกลวงเงิน แม้กฎหมายถือว่าเป็นความผิด แต่ไม่ต้องรับโทษ เพราะกฎหมายมองว่าเป็นเหตุส่วนตัวที่สามารถยกโทษให้กันได้ ตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 71 ตัวอย่างเช่น สามีขโมยสร้อยคอทองคำซึ่งเป็นสินส่วนตัวของภรรยาไปขาย แม้สามีจะมีความผิดฐานลักทรัพย์ แต่กฎหมายก็มีเหตุยกเว้นโทษ เนื่องจากเป็นเหตุ ส่วนตัวที่สามารถยกโทษให้กันได้ เนื่องจากต้องการคุ้มครองความผาสุกของสามีภรรยาในระบบครอบครัวอันเป็นสถาบันพื้นฐานของสังคม แม้กฎหมายจะไม่เอาผิด แต่เรื่องในลักษณะนี้ถ้าไม่เกิดขึ้นย่อมจะเป็นผลดีกับทุกฝ่ายมากกว่า

ปรึกษาทนาย 099 464 4445 ค้นหาข้อมูลสู้คดีที่ www.สู้คดี.com
……………………………………….

12/08/2023

7. การจดทะเบียนสมรสซ้อน (7 of 22)
การสมรสซ้อนเป็นกรณีที่คู่สมรสฝ่ายใดฝ่ายหนึ่งซึ่งมีคู่สมรสอยู่แล้ว แต่ไปจดทะเบียนสมรสกับบุคคลอีกคนหนึ่งทั้งที่ตนเองมีคู่สมรสอยู่แล้ว ถือว่าการสมรสครั้งหลังนี้ตกเป็นโมฆะ ซึ่งตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1452 บัญญัติไว้ว่า ชายหรือหญิงจะทำการสมรสในขณะที่ตนมีคู่สมรสอยู่ไม่ได้ และมาตรา 1495 บัญญัติว่า การสมรสที่ฝ่าฝืนมาตรา 1452 ตกเป็นโมฆะ อย่างไรก็ดี การที่จะกระทำให้การสมรสครั้งหลังเป็นโมฆะโดยสมบูรณ์เพราะเหตุจดทะเบียนซ้อนนี้กฎหมายระบุให้ผู้ที่ได้รับความเสียหายหรือมีส่วนได้เสีย เช่น สามีหรือภรรยาของผู้ที่คู่สมรสของตนไปจดทะเบียนสมรสกับบุคคลอื่น ซึ่งได้รับความเสียหายโดยตรงกล่าวขึ้นอ้างต่อศาลและร้องต่อศาลว่าการสมรสเป็นโมฆะ ตามบทบัญญัติของประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1497 (โปรดติดตามโพสต์ต่อไป)

ปรึกษาทนาย 099 464 4445 ค้นหาข้อมูลสู้คดี https://www.xn--42c6azd2br0h.com/
****************************

11/08/2023

6. การสมรสที่ถูกต้องตามกฎหมายทำอย่างไร (6 of 22)
การสมรสที่ถูกต้องตามกฎหมายก็คือ การที่ทั้งชายและหญิงต้องไปจดทะเบียนสมรสกันกับนายทะเบียนและต้องไปเปิดเผยต่อนายทะเบียนด้วยว่าตนยินยอมที่จะเป็นสามีภรรยากัน โดยที่นายทะเบียนต้องบันทึกการยินยอมไว้ด้วยหรือเรียกภาษาชาวบ้านว่า จดทะเบียนสมรส เมื่อกระทำครบถ้วนข้างต้นจึงจะถือว่า การจดทะเบียนสมรสกันถูกต้องตามกฎหมาย ถ้าหากมีการจัดงานแต่งงานเลี้ยงแขกอย่างยิ่งใหญ่แต่ไม่ไปจดทะเบียนสมรสกัน ก็ไม่ถือว่าเป็นสามีภรรยาตามกฎหมายและไม่เกิดสิทธิใดๆ ต่อกัน ซึ่งเป็นไปตามบทบัญญัติประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1457 และมาตรา 1458 (โปรดติดตามโพสต์ต่อไป ผลของการจดทะเบียนซ้อน)

ปรึกษาทนาย 099 464 4445 ค้นหาข้อมูลสู้คดี https://www.xn--42c6azd2br0h.com/
****************************

09/08/2023

5. เงื่อนไขการสมรส (5 of 22)
การสมรส กฎหมายกำหนดเงื่อนไขไว้หลายประการ เช่น ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1448 บัญญัติไว้ว่า การสมรสจะทำได้เมื่อชายและหญิงนั้นมีอายุสิบเจ็ดปีบริบูรณ์แล้ว แต่ในกรณีที่มีเหตุอันสมควร ศาลอาจอนุญาตให้ทำการสมรสได้ ดังนั้น การสมรสจะกระทำได้เมื่อชายและหญิงมีอายุสิบเจ็ดปีทั้งสองฝ่าย แต่อย่างไรก็ดี หากมีเหตุที่จำเป็นอันสมควร ดังเช่น ชายและหญิงมีความสัมพันธ์กันก่อนมีอายุสิบเจ็ดปี หากหญิงเกิดตั้งครรภ์ขึ้นมา กรณีนี้อาจร้องต่อศาลขอทำการสมรสได้ ถือว่ามีเหตุอันสมควรตามกฎหมาย (โปรดติดตามโพสต์ต่อไป การสมรสที่ชอบด้วยกฎหมายต้องทำอย่างไร)

ปรึกษาทนาย 099 464 4445 ค้นหาข้อมูลสู้คดี https://www.xn--42c6azd2br0h.com/
****************************

08/08/2023

4. สินสอด (4 of 22)
สินสอด หมายถึง ทรัพย์สินที่ฝ่ายชายให้แก่พ่อ แม่ หรือผู้รับบุตรบุญธรรมหรือผู้ปกครองฝ่ายหญิง เพื่อตอบแทนการที่หญิงยอมสมรส เป็นไปตามบทบัญญัติประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1437 ดังนั้น สินสอดเป็นทรัพย์สิน เช่น เงิน ทองคำ หรืออาจเป็นทรัพย์สินอย่างอื่นที่ฝ่ายชายให้แก่พ่อ แม่ หรือผู้ปกครองหรืออาจเป็นผู้รับบุตรบุญธรรมของฝ่ายหญิง เป็นการตอบแทนที่ให้หญิงนั้นยอมสมรสกับตนเอง แต่เมื่อทำการหมั้นแล้ว หากฝ่ายหญิงไม่ทำการสมรสกับฝ่ายชายโดยผิดสัญญาหรือมีเหตุการณ์หรือพฤติการณ์บางอย่างที่ฝ่ายหญิงต้องรับผิด ทำให้ฝ่ายชายไม่ควรสมรสกับฝ่ายหญิง ฝ่ายชายสามารถเรียกสินสอดคืนได้ ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1437 วรรคสอง และวรรคสามบัญญัติเอาไว้ (โปรดติดตามโพสต์ต่อไปเรื่องเงื่อนไขการสมรส)

ปรึกษาทนาย 099 464 4445 ค้นหาข้อมูลสู้คดี https://www.xn--42c6azd2br0h.com/
****************************

ต้องการให้ธุรกิจของคุณ ธุรกิจ ขึ้นเป็นอันดับหนึ่ง ตัวแทน / บริการด้านอสังหาริมทรัพย์ ใน Bangkok?
คลิกที่นี่เพื่อเป็นสมาชิก?

วิดีโอทั้งหมด (แสดงผลทั้งหมด)

ปรึกษาหรือหาทนายความที่คอลเซ็นเตอร์ 02 114 7521 หรือจะปรึกษาด้วยการทักมาทางไลน์นี้ @lawyerintown

เบอร์โทรศัพท์

เว็บไซต์

ที่อยู่

22 อาคาร เค ซอยสุขุมวิท 35 (สำนักงานใหญ่)
Bangkok
10110

กฎหมายลักษณะทรัพย์ อื่นๆใน Bangkok (แสดงผลทั้งหมด)
ทนายความอำเภอหนองบัวแดง Lawyer at Nong Bua Daeng District ทนายความอำเภอหนองบัวแดง Lawyer at Nong Bua Daeng District
22 K-Building, Sukhumvit 35 (Headquarters)
Bangkok, 10110

เครือข่ายทนายความ ทนายใกล้บ้าน โทร. 089-226-8899

ทนายความอำเภอวังยาง Lawyer at Wang Yang District ทนายความอำเภอวังยาง Lawyer at Wang Yang District
Bangkok, 10110

เครือข่ายทนายความ ทนายใกล้บ้าน โทร. 089-226-8899

ทนายความอำเภอบางสะพาน Lawyer at Bang Saphan District ทนายความอำเภอบางสะพาน Lawyer at Bang Saphan District
Bangkok, 10110

ปรึกษาทนายด่วน กดปุ่มโทรด้านล่าง ปรึกษาแบบชิลๆ ฝากข้อความไว้ ทนายจะมาตอบให้ เครือข่ายทนายความ ทนายใกล้บ้าน โทร. 089-226-8899 ไลน์ ไอดี. @helpmelawyer

ทนายความอำเภอบางแพ Lawyer at Bang Phae District ทนายความอำเภอบางแพ Lawyer at Bang Phae District
Bangkok, 10110

ปรึกษาทนายด่วน กดปุ่มโทรด้านล่าง ปรึกษาแบบชิลๆ ฝากข้อความไว้ ทนายความจะมาตอบให้ เครือข่ายทนายความ ทนายใกล้บ้าน โทร. 089-226-8899 ไลน์ ไอดี. @helpmelawyer

ทนายความอำเภออินทร์บุรี Lawyer at In Buri District ทนายความอำเภออินทร์บุรี Lawyer at In Buri District
22 K-Building, Sukhumvit 35 (Headquarters)
Bangkok, 10110

ปรึกษาทนายด่วน กดปุ่มโทรด้านล่าง ปรึกษาแบบชิลๆ ฝากข้อความไว้ ทนายความจะมาตอบให้ เครือข่ายทนายความ ทนายใกล้บ้าน โทร. 089-226-8899 ไลน์ ไอดี. @lawyerintown

ทนายความไทย - Thailand Law ทนายความไทย - Thailand Law
Interchange 21 Building. , 23rd Floor. , 399 Sukhumvit Road, North Klongtoey, Wattana
Bangkok, 10110

ทนายความอำเภอค่ายบางระจัน Lawyer at Khai Bang Rachan District ทนายความอำเภอค่ายบางระจัน Lawyer at Khai Bang Rachan District
Bangkok, 10110

ปรึกษาทนายด่วน กดปุ่มโทรด้านล่าง ปรึกษาแบบชิลๆ ฝากข้อความไว้ ทนายความจะมาตอบให้ เครือข่ายทนายความ ทนายใกล้บ้าน โทร. 089-226-8899 ไลน์ ไอดี. @lawyerintown

ทนายความอำเภอยางตลาด Lawyers at Yang Talat District ทนายความอำเภอยางตลาด Lawyers at Yang Talat District
Bangkok, 10110

เครือข่ายทนายความ ทนายใกล้บ้าน โทร.

ทนายความอำเภอบ้านแท่น Lawyer at Ban Thaen District ทนายความอำเภอบ้านแท่น Lawyer at Ban Thaen District
Bangkok, 10110

เครือข่ายทนายความ ทนายใกล้บ้าน โทร. 089-226-8899 ไลน์ ไอดี. @homelawyer

ทนายความอำเภอชุมพวง Lawyer at Chum Phuang District ทนายความอำเภอชุมพวง Lawyer at Chum Phuang District
Bangkok, 10110

ทนายใกล้คุณ ให้คำปรึกษาและบริการ ป?

ทนายความอำเภอบ้านฉาง Lawyer at Ban Chang District ทนายความอำเภอบ้านฉาง Lawyer at Ban Chang District
Bangkok, 10110

ปรึกษาทนายด่วน กดปุ่มโทรด้านล่าง ปรึกษาแบบชิลๆ ฝากข้อความไว้ ทนายความจะมาตอบให้ เครือข่ายทนายความ ทนายใกล้บ้าน โทร. 089-226-8899 ไลน์ ไอดี. @helpmelawyer

ทนายความอำเภอหางดง Lawyer at Hang D**g District ทนายความอำเภอหางดง Lawyer at Hang D**g District
22 อาคารเค (สำนักงานใหญ่) ซอยสุขุมวิท 35 ถนนสุขุมวิท แขวงคลองตันเหนือ เขตวัฒนา กรุงเทพมหานคร
Bangkok, 10110

ทนายใกล้คุณ ให้คำปรึกษาและบริการ ป?