Jacky Money

Jacky Money

ที่ปรึกษาด้านการเงิน นำพาทุกคนไปสู

20/10/2021

สรุปรายการลดหย่อนภาษีปี 2564
ใกล้สิ้นปีแล้วอย่าลืมวางแผนภาษีกันนะครับ

ปี 2564 ไม่มีอะไรเปลี่ยนไปจากปี 2563
สรุปง่าย ๆ คือ ช้อปดีมีคืนหายไป (ยังไม่กลับมา)
และก็ไม่รู้ว่าจะมีให้ใช้ไหมในสิ้นปีนี้

กับอีกตัวหนึ่งที่เปลี่ยนแปลงลดลง
นั่นคือ ประกันสังคมเหลือสูงสุด 5,100 บาท
_________________________________

มาเปลี่ยนเงินจ่ายภาษีเป็นเงินออมกันนะครับ



#วางแผนทางการเงิน
#วางแผนภาษี

16/10/2021

"ซื้อสลากกินแบ่ง 1 ใบ"...มีโอกาสถูกกี่เปอร์เซ็นต์ ?

หวยหรือสลากกินแบ่งรัฐบาลเป็นอีก 1 สิ่งที่คนไทยหลายคนนั้นยอมเสี่ยงเสียเงินเพื่อซื้อ ซึ่งหารู้ไหมว่าโอกาสที่จะถูกรางวัลของสลากกินแบ่งรัฐบาลนั้น มีโอกาสมากเท่าไหร่ ต่อการซื้อ 1 ครั้ง ?

โดยมีผลการวิเคราะห์โอกาสถูกทุกรางวัลทุกประเภทรวมกัน ทั้งรางวัลที่ 1 รางวัลที่ 2 หรือการซื้อเลขท้าย จะมีโอกาสถูกเพียง 1.4% เท่านั้น !

และมาดูโอกาสที่จะได้รางวัลใหญ่กัน

- ถูกสลากกินแบ่งรางวัลที่ 1 ความน่าจะเป็นที่จะถูกอยู่ที่ 0.0001%

- ถูกสลากกินแบ่งรางวัลที่ 2 ความน่าจะเป็นที่จะถูกอยู่ที่ 0.0005%

- ถูกสลากกินแบ่งรางวัลที่ 3 ความน่าจะเป็นที่จะถูกอยู่ที่ 0.001%

- ถูกสลากกินแบ่งรางวัลที่ 4 ความน่าจะเป็นที่จะถูกอยู่ที่ 0.005%

- ถูกสลากกินแบ่งรางวัลที่ 5 ความน่าจะเป็นที่จะถูกอยู่ที่ 0.01%

เมื่อเห็นแบบนี้แล้ว แอดจึงอยากให้เพื่อนๆค่อยลด การซื้อสลากกินแบ่งลง แล้วนำเงินมาลงทุนในสินทรัพย์อื่นแทน เพราะนับว่าซื้อสลากกินแบ่งรัฐบาลเป็นการลงทุนอย่างหนึ่ง คงเป็นการลงทุนที่มีความเสี่ยงที่สูงที่สุดแล้ว

Cr. เพจ Lumpsum

12/10/2021

#เราควรวางแผนการเงินอย่างไร ?
ในวันที่เศรษฐกิจไทยไม่เติบโต
ก่อนอื่นเริ่มจาก #ปรับตัว
ปรับตัวเองให้พร้อมรับกับความไม่แน่นอนก่อน
1. #ทำรายรับรายจ่ายล่วงหน้า

มองอนาคตว่าเรามีรายจ่ายที่ต้องจ่ายหนักๆ ตอนไหน? หรือ ช่วงไหนที่จะไม่มีรายได้เข้ามาบ้าง รัดเข็มขัด หารายได้เพิ่มขึ้น มองหารายได้เสริม และจ่ายให้น้อยลง
2. #ควบคุมรายจ่าย

แยกประเภทรายจ่ายที่สำคัญ และรายต่ายที่จริงๆเราอาจจะใช้อารมณ์ในการตัดสินใจซื้อไป เช่น โปรโมชั่น 7.7 8.8 9.9 (มันมีออกมาทุกเดือนเลย) แบบนี้เราก็ควรต้องระมัดระวัง!
3. #เตรียมเงินสำรองฉุกเฉิน

เพราะสำรอง 3 เดือนอาจจะน้อยไป โควิดทำให้เรารู้ว่าเงินสำรอง 1 ปี จำเป็นมากๆ สำหรับใครบางคน ลองสำรวจอาชีพตัวเอง ว่ายังได้รายได้สม่ำเสมอไหม ถ้าไม่! ต้องปรับเงินสำรองฉุกเฉินเพิ่ม
4. #ทำประกันสุขภาพ

ค่าใช้จ่ายที่อาจทำให้เงินเก็บหานไปชั่วพริบตา คือค่าใช้จ่ายด้านสุขภาพ โดยเฉพาะโรคร้ายแรง หรือแม้กระทั่งโควิด-19 ถ้าไหว! ซื้อประก้นเหมาจ่ายไว้สักหน่อย แต่ถ้าไม่ไหวจริงๆ ซื้อประกันโควิด ติดตัวไว้บ้างก็ยังดี
5. #ลงทุนสม่ำเสมอ

ถึงแม้วิกฤติ แต่การลงทุนยังสำคัญ แต่ถ้าไม่ไหว ลดจำนวนเงินลงทุนลงมา มีเงินเพียง 1 บาทก็สามารถลงทุนได้ในกองทุนรวม และควรกระจายการลงทุน ถ้าเศรษฐกิจไทยมันแย่ ก็กระจายการลงทุนในต่างประเทศ หรือสินทรัพย์อื่นๆด้วย (แต่อย่าพึ่งหมดหวังกับไทยเรานะ ลงทุนได้แต่อาจจะปรับสัดส่วนใหม่)
Cr. aomMONEY , Namfinance
___________________________

ปล.อยากเห็นคนรอบตัวมีสุขภาพการเงินที่ดี และมีความสุข



#วางแผนทางการเงิน

08/10/2021

ชีวิตมั่นคงได้ด้วย 3 เหลี่ยมการเงิน

หลายคนจัดสรรเงินไม่ถูก ไม่รู้ว่าควรนำเงินไปใช้จ่ายในด้านไหนก่อน นำไปลงทุนก่อนหรือนำไปเก็บไว้ก่อนดี วันนี้แอดจึงขอนำ 3 เหลี่ยมการเงิน ที่จะช่วยให้ทุกคนสามารถจัดสรรเงินได้อย่างถูกต้องและมั่นคง

1. ฐานชั้นแรก-เงินสำรองฉุกเฉินและการจัดการความเสี่ยง
ฐานชั้นแรกเป็นฐานที่สำคัญที่สุดจึงต้องให้ความสำคัญเป็นอันดับแรก และเงินก้อนแรกเลยที่ควรมีคือเงินสำรองฉุกเฉิน ที่สามารถดำรงชีวิตได้อย่างน้อย 3 - 6 เดือน เผื่อไว้สำหรับวันที่ขาดรายได้หรือรายได้ลดลง การมีเงินไว้ใช้ในยามขาดรายได้จึงเป็นสิ่งที่สำคัญอย่างมาก
และการจัดการความเสี่ยง คือการทำประกันต่างๆ เพื่อลดความเสี่ยง เช่น ประกันชีวิต ประกันอุบัติเหตุ ประกันรถ เพราะเมื่อใดหากเราเกิดเจ็บป่วยหรือประสบอุบัติเหตุหนักขึ้นมา แล้วต้องใช้เงินก้อนใหญ่ เราจะได้มีประกันมาช่วยในเรื่องนี้ เพื่อลดความเสี่ยงที่จะเสียเงินก้อนใหญ่ที่เราเก็บมาทั้งชีวิต

2. ฐานชั้นกลาง-เก็บสะสม
ฐานที่ต้องมีต่อมาคือการเก็บสะสมเงินเพื่อเป้าหมายที่จำเป็นในชีวิต เช่น การเก็บเงินเพื่อใช้ในยามเกษียณ เก็บเงินซื้อบ้านหรือคอนโด หรือเก็บเงินสำหรับเลี้ยงดูลูก
จะเป็นการเก็บสะสมระยะยาวที่จำเป็นต่อการดำรงชีวิตจริงๆ โดยแอดอยากจะเน้นย้ำในเรื่องการเก็บเงินเพื่อการเกษียณเป็นอย่างแรกๆ เพราะเป็นสิ่งที่คนมักจะประสบปัญหาไม่มีเงินใช้หลังเกษียณเป็นจำนวนมาก

3. ฐานชั้นบนสุด-ลงทุน
เมื่อมีทั้งเงินสำรองฉุกเฉินและมีการเก็บสะสมเงินเพื่อการเกษียณแล้ว สิ่งที่ควรทำต่อมาคือการลงทุนเพื่อเป้าหมายตามใจเรา
โดยถ้าเป้าหมายของเราเป็นเป้าหมายระยะยาวก็สามารถลงทุนเสี่ยงได้มาก เพราะมีเวลาในการลงทุนเยอะ แต่ถ้าหากเป็นเป้าหมายในอีก 1-2 ปี ควรเป็นการลงทุนที่ความเสี่ยงน้อย เพราะมีเวลาในการลงทุนน้อยนั่นเอง

สิ่งสำคัญคือต้องมีฐานชั้นแรกที่มั่นคงก่อน จึงค่อยๆเริ่มสร้างฐานชั้นต่อๆไป เพื่อที่จะได้ไม่เกิดปัญหาตามมาทีหลังนะครับ

08/10/2021

แท้จริงแล้ว ตัวเราเองข้ออ้างเยอะเกินไปรึเปล่า ?

05/10/2021

ประชุมตั้งเป้าหมายไตรมาสสุดท้ายของปี
สร้างสุขภาพการเงินที่ดีให้กับผู้คน
_______________________________
ปล. อยากเห็นคนรอบตัวมีสุขภาพการที่ดี และมีความสุข



#วางแผนทางการเงิน

05/10/2021

หาเงินเก่งแล้ว
อย่าลืมวางแผนทางการเงิน
เพื่ออิสระภาพทางการเงินนะครับ
________________________

ปล.อยากเห็นคนรอบตัวมีสุขภาพการเงินที่ดี และมีความสุข



#วางแผนทางการเงิน

30/09/2021

มาเริ่มต้นกันครับ . .
_______________

ปล.อยากเห็นคนรอบตัวมีสุขภาพการเงินที่ดี และมีความสุข



#วางแผนทางการเงิน

Photos from Jacky Money's post 30/09/2021

" ปัญหาทางด้านการเงินของ Gen Y "

ปัจจุบันเรากำลังก้าวเข้าสู่สังคมของคน “Gen Y” อย่างเต็มรูปแบบ โดยผู้บริโภคกลุ่มนี้จะเกิดระหว่างปีค.ศ. 1981 ถึง 2000 มีสัดส่วนคิดเป็น 32% หรือประมาณ 1 ใน 3 ของประชากรโลก ซึ่งถือเป็นกลุ่มใหญ่ที่สุด

คนกลุ่ม Gen Y นี้เติบโตขึ้นมาท่ามกลางความเจริญของเทคโนโลยี จึงมีความคล่องตัวด้านเทคโนโลยี มีความมั่นใจในตัวเองและมีอิสระทางความคิดสูง อีกทั้งยังเป็นยุคที่เศรษฐกิจเติบโตเป็นอย่างมาก ทำให้คนวัยทำงานในกลุ่ม Gen Y มีรายได้ค่อนข้างสูง แม้จะยังอยู่ในวัยหนุ่มสาว

ในขณะเดียวกัน คนกลุ่มนี้ยังเป็นกลุ่มที่มีอัตราการใช้จ่ายสูง เมื่อเทียบกับรายได้ หรืออีกนัยหนึ่งก็คือเป็นกลุ่มที่มักจะใช้จ่ายเกินตัว นั่นเป็นเพราะคนกลุ่มนี้ค่อนข้างมีความรู้ทางการเงิน จึงไม่มีความกลัวที่จะก่อหนี้ ซึ่งสวนทางกับแนวคิดของคนกลุ่มนี้ที่ต้องการความมั่งคั่งและการมีอิสรภาพทางการเงิน

จากสถิติของสถาบันวิจัยประชากรและสังคม มหาวิทยาลัยมหิดล ที่ทำการสำรวจความสุขของคนทำงานในปี 2558 พบว่า 50% ของคนทำงานกลุ่ม Gen Y ไม่มีเงินออม 48% ผ่อนชำระหนี้สินไม่ตรงเวลา 45% มีรายจ่ายมากกว่ารายรับ และ 45.6% มีความรู้สึกว่าการผ่อนชำระหนี้สินเป็นเรื่องที่สร้างภาระหนักมากให้แก่ตนเอง

มีอีกสถิติหนึ่งที่น่าสนใจ คือ ข้อมูลของทางธนาคารแห่งประเทศไทย พบว่า คนไทยก่อหนี้ในระดับสูงตั้งแต่อายุยังน้อย แถมยังเป็นหนี้เสียจำนวนไม่น้อย และหนี้ดังกล่าวไม่ได้ลดลงเมื่อใกล้วัยเกษียณ โดยหนี้ส่วนใหญ่ของคนที่ช่วงอายุน้อยส่วนมากเป็นหนี้บัตรเครดิต และสินเชื่อส่วนบุคคล ซึ่งความเสี่ยงที่ผิดนัดชำระส่วนมากจะอยู่ที่สินเชื่อส่วนบุคคลนั่นเอง

ดังนั้น หากต้องการจะใช้ชีวิตอย่างมีความสุขทั้งในปัจจุบันและอนาคต เริ่มฝึกวินัยในการจัดการเงินตั้งแต่วันนี้ ไม่ก่อหนี้ที่ไม่จำเป็น หรือหากมีหนี้เกิดขึ้นแล้ว ควรรีบเคลียร์หนี้ก่อนเป็นอันดับแรกตั้งแต่วันเงินเดือนออก ควบคุมการใช้จ่ายของตัวเอง วางแผนการเงินทั้งระยะสั้น และระยะยาว และเริ่มศึกษาการออมด้วยการลงทุนที่มีมากกว่าการฝากประจำกับธนาคาร ขอเพียงแค่ทำให้ได้อย่างสม่ำเสมอเป็นประจำทุกๆ เดือน เพียงเท่านี้ อิสรภาพทางการเงินก็อยู่ไม่ไกลเกินเอื้อม
_________________________________________

อ้างอิง : www.scb.co.th

ปล.อยากเห็นคนรอบตัวมีสุขภาพการเงินที่ดี และมีความสุข



#วางแผนทางการเงิน

Photos from Jacky Money's post 28/09/2021

The Financial Planner next Gen .
มีความสุขกับการได้ทำงาน ได้ช่วยเหลือคน
อยากเห็นคนรอบตัวมีสุขภาพการเงินที่ดี และมีความสุข



#วางแผนทางการเงิน

27/09/2021

"ให้ยืมเงิน" คือการซื้อศัตรู

อย่าจ่ายเงินซื้อศัตรู
เริ่มต้นเพราะอยากช่วย สุดท้ายความซวยจะมาเยือน

หลายคนอาจจะอ่าน quote นี้ด้วยความรู้สึกแตกต่างกัน บ้างมองเป็นเรื่องเห็นแก่ตัว บ้างมองเป็นคนไร้น้ำใจ เป็นคนไม่คิดถึงคนอื่น แต่ผมจะบอกจากความจริงในมุมคนธรรมดาคนหนึ่งว่า ถ้าเป็นมุมผม...

1) เราไม่มีทางรู้ว่าคนมายืม เดือดร้อนจริง หรือหาวิธีการที่ง่ายที่สุดในการหาเงิน ซึ่งมันทำให้เขาขวนขวายน้อยมาก มันก็คือการบ่มเพาะให้คนคนหนึ่งไม่พยายามช่วยเหลือตัวเองด้วยการแก้ปัญหาวิธีอื่นดีพอ เช่น ประมาณการใช้จ่าย การหารายได้เพิ่ม การประหยัดเงินและอดออม

2) บางคนมีปัญหาที่ฉุกเฉินจริงๆ แบบด่วนมาก โดยที่ไม่มีเงินสำรอง หาทางออกไม่ได้ จึงตัดสินใจ ให้การยืมเป็นทางออกสุดท้าย ไม่ได้อยากยืม อันนี้เข้าใจได้ แต่ต้องมั่นใจจริงๆว่าพยายามคิดทุกทางแล้วก่อนจะบากหน้าไปยืมคนอื่น

3) จริงๆ การยืมเงินคนอื่น เป็นเรื่องน่าอายนะ มันสะท้อนปัญหาทางการเงิน หรือความไม่พอใช้ ซึ่งเราจะกล้ายืมก็เฉพาะกับคนที่เรามั่นใจว่าเราสามารถสื่อสารได้ให้เขาไว้ใจว่าเราจะคืน ดังนั้น การยืมคนอื่นบ่อยๆ มันสะท้อนว่าเราไม่มีความอายเลยในการได้เงินคนอื่นมา

4) ตอนยืมแทบกราบเขา ตอนมี ต้องรีบคืนนึกถึงใจเขาใจเรา อย่าเห็นแก่ตัว อย่าชิ่ง และไม่หนี ควรคืนทุกบาทให้เร็วที่สุด ในวันที่มีเงิน ไม่ใช่เฉิดฉาย สุขสบาย แต่ไม่คืนเงินเขาซะที อันนี้หน้าแข็งแรง ควรละอาย

5) การยืมเงิน แล้วคนไหนไม่ให้ อย่าไปโกรธ เพราะมันเป็นสิทธิ์ของเขา บางคนเขาไม่มีพอจะให้ใคร กูจะตายอยู่แล้ว บางคนเขาไม่มั่นใจ ไม่ไว้ใจให้ใครยืม เขาก็ไม่ให้ อย่าไปทวงบุญคุณใครด้วยการขอความช่วยเหลือแบบยืมเงิน แล้วโมโหที่เขาไม่ให้ ถ้าเขาให้ยืม ต้องเต็มใจเท่านั้น ไม่ใช่ให้เขาลำบากใจ

6) เงินทองหายาก และต้องใช้จ่ายประหยัด การยืมคนอื่น มันสะท้อนว่าเราไม่บริหารจัดการตัวเองดีพอ ไม่มีเงินสำรองเลย ทำให้ภาพลักษณ์เราดูไม่ดีเอง และเราก็ไม่น่าคบหา เพราะคนจะกลัวถูกยืมเงิน มันกระทบกับสังคม

7) เราเสียเพื่อน เสียความสัมพันธ์ เพราะเรื่องการยืมเงินมามากมาย #ยืมแล้วไม่คืน พังพินาศมาให้เห็นเยอะมาก ทางที่ดี ยิ่งเป็นเพื่อน ถ้าจำเป็นต้องยืม ต้องเกรงใจ ต้องรีบคืน ไม่ใช่เห็นเป็นเพื่อน เลยทำไม่ดีกับเพื่อน ไม่แคร์เพื่อน เพราะเงินเป็นเรื่องจำเป็นสำหรับทุกคน
ถ้าเราอยากมีเงินเพิ่ม เราต้องหาเงินเพิ่ม การยืมตลอดไป สะท้อนว่าเราเป็นคนมักง่าย อยากได้อะไรก็ใช้วิธียืมเอา สุดท้ายแล้ว ในสายตาของคนอื่น เราน่ารังเกียจ เพราะเราไม่พัฒนาฐานะตัวเอง ด้วยการลงมือทำอะไรเลย เราจะถูกตราหน้าจากสังคม เพราะเราไม่เคยหามันมาด้วยตัวเอง จนมันกลายเป็นนิสัย เป็นคนไม่ขยัน ไม่พยายามมากพอ...แม้เขาไม่ตำหนิตรงๆ แต่เอาไปนินทา เราเสียหายจากการที่เราทำตัวเองทั้งนั้น

9) การให้ใครยืมเงิน (เหมือนให้เปล่า) คือเราเผื่อใจไว้เลยว่าจะไม่ได้คืน คิดไปเลยว่าทำบุญ ช่วยคน ถ้าเราสบายใจ คือให้ มันต้องเป็นแบบนั้น ถ้าเลือกที่จะให้ยืมแล้ว โอกาสเสียทรัพย์ไปมีสูงมาก ดังนั้น การให้ยืมเงินที่เป็นทุกข์ คือการให้ไปแล้วไม่ปล่อยวาง มันทำใจได้ยาก เงินเราปลิวไปจากการให้เขายืม ถ้าให้ยืมแล้ว...ต้องรับความเสี่ยงที่ตามมาให้ได้

10) คนที่เดือดร้อนจริง มีอยู่จริง เขาอาจจะเข้าตาจน การหยิบยื่นโอกาส และความเมตตาให้คนอื่นได้คือเรื่องดีงาม นั่นหมายความว่า เรามีมากพอจะให้ เป็นการให้ที่เราต้องไม่ลำบาก และเรามีใจที่อยากช่วยเหลือคนอื่น ความสบายใจนั้นอยู่ที่ใจเราเอง ที่อยากช่วยผู้อื่น (แม้อาจไม่ได้เงินคืนก็ตาม) การให้โอกาสคนไม่ใช่เรื่องเลวร้าย ถ้าเรามีความพร้อม แต่ไม่ใช่ตลอดไป เสมอไป ทุกโอกาส เราต้องพิจารณาความเดือดร้อน และโอกาสนั้นๆด้วยใจเราเอง ว่าเคสนี้เราพร้อมให้ยืม หรือไม่ให้ จงคิดให้ดี

#นิสัยยืมตลอดไปคือคนไม่มีสำนึกในความพยายามขวนขวาย

อย่าคิดว่าตัวเองลำบากคนเดียวในเศรษฐกิจแบบนี้ คนอื่นก็ลำบาก ก่อนยืมต้องคิดถึงใจคนอื่น "ใครจะอยากให้ยืมเงิน ?" และก่อนให้ยืมก็ต้องคิด "กูจะได้คืนไหมวะ ?"

* ฝากไว้ให้คิดก่อนยืม และ ให้ยืม
___________________________________________

#วางแผนการเงิน

27/09/2021

เงินเฟ้อคืออะไร ?
หากพิจารณาถึงนิยามของคำว่า "เงินเฟ้อ" ย่อมมีความหมายถึง ภาวะที่ระดับราคาของสินค้า หรือบริการโดยเฉลี่ยในท้องตลาดเพิ่มสูงขึ้นเรื่อยๆ อย่างต่อเนื่อง
สาเหตุหลักที่ส่งผลให้เกิดภาวะเงินเฟ้อมีด้วยกัน 2 ประการ ดังนี้
1. ภาวะที่อุปสงค์ส่วนเกินดึงให้ราคาสินค้า หรือบริการสูงขึ้น (Demand Pull Inflation) ซึ่งมักเกิดขึ้นในช่วงที่สภาวะเศรษฐกิจมีการเติบโตสูง ปริมาณเงินหมุนเวียนในระบบมีมาก จนส่งผลให้เกิดความต้องการสินค้า หรือบริการที่มากกว่าปริมาณสินค้าหรือบริการที่มีขายอยู่ในตลาดขณะนั้น และดึงให้ราคาสินค้าหรือบริการปรับตัวสูงขึ้น หรือกล่าวอีกนัยหนึ่งก็คือ เกิดจากภาวะที่ อุปสงค์ มากกว่า อุปทาน นั่นเอง
2. ภาวะที่ต้นทุนการผลิตเพิ่มสูงขึ้นอย่างต่อเนื่องจนทำให้ผู้ประกอบการต้องปรับราคาเพิ่มขึ้นตาม (Cost Push Inflation) ทั้งนี้ ผู้ประกอบการทุกคนย่อมคาดหวังที่จะได้รับผลตอบแทนจากการประกอบธุรกิจที่คุ้มค่ากับหยาดเหงื่อแรงกายแรงใจที่ตนเองได้ทุ่มเทลงทุนไป
ทั้งนี้เมื่อเกิด ภาวะเงินเฟ้อ ขึ้น ค่าครองชีพก็ย่อมเพิ่มสูงขึ้น อำนาจในการซื้อสินค้า หรือบริการ (Purchasing Power) ของเราก็จะลดลง เนื่องจากราคาของสินค้าหรือบริการที่แพงขึ้นจากเดิม หรือพูดอีกนัยหนึ่งได้ว่า มีเงินเท่าเดิม แต่กลับซื้อสินค้า หรือบริการได้น้อยลง
ตัวอย่าง : เมื่อ 10 ปีที่แล้ว ธนบัตรใบละ 100 บาท สามารถใช้ซื้อข้าวราดแกงจานละ 20 บาทได้มากถึง 5 จาน แต่ปัจจุบันราคาข้าวราดแกงได้ปรับตัวสูงขึ้นเป็น 40 บาท ทำให้ธนบัตรใบละ 100 บาท ไม่สามารถใช้ซื้อในจำนวนเท่าเดิมได้อีก หากจะซื้อข้าวราดแกงในจำนวนเท่าเดิม ก็ต้องใช้เงินในจำนวนที่มากขึ้นครับ
จึงกล่าวได้ว่า เงินเฟ้อเป็นปัจจัยที่กัดกร่อนให้ มูลค่าของเงิน ที่เรามีอยู่ ด้อยค่าลง นั่นเอง แน่นอนว่า หากเราถือเงินเก็บไว้กับตัวเฉยๆ โดยไม่นำไปออม หรือนำไปลงทุน หรือนำไปใช้ทำประโยชน์ใดๆ เมื่อเวลาผ่านไป มูลค่าของเงินจำนวนนั้นก็จะลดลงไปเรื่อยๆ ครับ
นอกจากนี้ เงินเฟ้อ "ยังทำให้อัตราผลตอบแทนที่เราได้รับจริงจากการออม และการลงทุนลดลงอีกด้วย"
แน่นอนว่า ภาวะเงินเฟ้อ เป็นสิ่งที่เราไม่สามารถหลีกเลี่ยงได้ โดยศาสตราจารย์ Milton Friedman ได้กล่าวไว้ว่า เงินเฟ้อเป็นปรากฏการณ์ทางการเงินที่เกิดขึ้นทุกที่ (Inflation is Everywhere Monetary Phenomenon)
ดังนั้น ในการวางแผนการเงินการลงทุนใดๆ จึงไม่ควรที่จะมองข้ามสิ่งที่เรียกว่า เงินเฟ้อ ครับ . .
_____________________________________
ปล.อยากให้ทุกคนที่เข้ามาอ่านมีสุขภาพการเงินที่ดี และมีความสุข
อ้างอิง : www.thai.ac
#วางแผนการเงิน

21/09/2021

“ถ้ารู้จักวางแผนการเงิน เรื่องฉุกเฉินก็จะไม่ฉุกเฉิน”
4 แนวคิดสู่ความมั่งคั่ง
คำว่า “มั่งคั่งร่ำรวย” ของแต่ละคนไม่เท่ากัน แต่อย่างน้อยก็ควรจะ “มีกิน-มีใช้-มีเหลือเก็บ” นี่คือแนวคิดของโค้ชหนุ่ม-จักรพงษ์ เมษพันธุ์ วิทยากรด้านการเงิน และเจ้าของเพจชื่อดังอย่าง Money Coach ซึ่งวันนี้เขาจะมาแนะนำวิธีวางแผนการเงินให้ประสบความสำเร็จ และสร้างความมั่งคั่ง ด้วย 4 ข้อต่อไปนี้
1.อย่าเอาหนี้มาเป็นแรงขับเคลื่อน
ถ้าพูดถึงแผนการเงินที่ดี อันดับแรกคือต้องบริหารค่าใช้จ่ายให้เพียงพอต่อการใช้ชีวิต 1 เดือน โดยไม่ต้องหยิบยืมใคร พอสิ้นเดือนแล้วมีเงินคงเหลือ เพราะการรักษาสภาพคล่องคือหัวใจสำคัญของการวางแผนการเงิน ทั้งนี้อย่าก่อหนี้ฟุ่มเฟือย ซึ่งโค้ชหนุ่มมองว่าการเอาหนี้มาเป็นแรงขับเคลื่อนในชีวิตนั้น เป็นแนวคิดที่ไม่ถูกต้อง เพราะเป็นการเพิ่มภาระให้ตัวเอง หากจะก่อหนี้ก็ควรเกิดจากความจำเป็น หรือเพื่อสร้างตัว
2.บริหารเงินเพื่อความต้องการในชีวิต
เมื่อเราสามารถจัดการค่าใช้จ่ายใน 1 เดือนได้แล้ว ก็มาสู่การบริหารเงินเพื่อตอบสนองความต้องการในชีวิต ไม่ว่าจะเป็นการซื้อบ้าน ซื้อรถ ตัดสินใจเรียนต่อ ท่องเที่ยวต่างประเทศ ฯลฯ ซึ่งบางคนยังไม่สามารถทำตามข้อที่ 1.ให้สำเร็จ แต่ข้ามขั้นมาที่ข้อนี้เลย จึงเกิดปัญหา “หนี้สิน” จากการใช้จ่ายแบบไม่ยั้งคิด ทำให้แผนการเงินอาจพังทลายได้
3.ถ้ารู้จักวางแผนการเงิน เรื่องฉุกเฉินก็จะไม่ฉุกเฉิน
ชีวิตคนเรามีเรื่องไม่คาดฝันเกิดขึ้นได้ตลอด แต่บางเรื่องเราสามารถวางแผนรับมือได้ล่วงหน้า เช่น ให้คิดเอาไว้เลยว่าวันหนึ่งเราจะเจ็บป่วย หรือถ้าตอนนี้เรากำลังจะมีลูก ก็เท่ากับรู้แล้วว่าในอีก 3-4 ปีข้างหน้า จะต้องมีค่าใช้จ่ายเมื่อลูกเข้าโรงเรียน ซึ่งหากเรารู้จักคาดการณ์และเตรียมความพร้อม “เรื่องฉุกเฉิน” ก็จะกลายเป็น “เรื่องไม่ฉุกเฉิน” ช่วยลดปัญหาการกู้หนี้ยืมสินได้ครับ
4.สร้างความมั่งคั่งด้วยตัวเอง อย่าหวังพึ่งลูกหลาน
ข้อมูลจากสภาพัฒน์ระบุว่า คนไทยในเขตเมืองต้องมีเงินออม 4 ล้านบาท และคนไทยในชนบทต้องมีเงินออม 2.8 ล้านบาท จึงจะสามารถใช้ชีวิตต่อไปได้หลังเกษียณ แต่ในความเป็นจริงแล้วตัวเลขนี้อาจไม่เพียงพอด้วยซ้ำ เพราะเท่ากับว่าเราจะมีเงินใช้เฉลี่ยเดือนละ 11,000 บาทเท่านั้น ยังไม่นับรวมว่าหากเราเจ็บป่วยก็จะมีค่าใช้จ่ายมากขึ้นอีก
ดังนั้นจึงอยากให้คนไทยรู้จักวางแผนการเงินตั้งแต่เนิ่นๆ สร้างความมั่งคั่งให้ดูแลตัวเองได้ในวันเกษียณ โดยไม่ต้องพึ่งพาลูกหลาน เพราะอย่าลืมว่าพวกเขาก็มีชีวิต มีครอบครัวของตัวเองที่ต้องดูแลเช่นกัน
ส่วนหนทางสู่ความมั่งคั่งนั้น ก็มาจากการวางแผนตั้งแต่ข้อที่ 1-3 ซึ่งจะทำให้เรามีกิน-มีใช้-มีเหลือเก็บ จนสร้างความมั่งคั่งได้ในที่สุด

ปล.อยากให้ทุกคนที่เข้ามาอ่านมีสุขภาพการเงินที่ดี และมีความสุข



#วางแผนทางการเงิน

20/09/2021

เพียงหนึ่งชีวิตวางแผนการเงิน
อีกหลายชีวิตจะเปลี่ยนแปลง . .

#วางแผนการเงิน

Website