Sarawut - Pathology to the Point
เพจเผยแพร่และให้ความรู้ทางพยาธิวิทยา
👓 ประชาสัมพันธ์ Instagram สำหรับพยาธิแพทย์ จักษุแพทย์และผู้สนใจครับชื่อ EyePathClassroom
เป็น IG สะสมรูป eye histopathology กับเกร็ดความรู้สั้นๆ โดยนพ.เชาว์ เจริญกิจขจร จักษุแพทย์ผู้เชี่ยวชาญ eye pathology ปัจจุบันคุณหมอทำงานอยู่ที่ University of Arkansas for Medical Sciences สหรัฐอเมริกา
🍎 และดาวน์โหลดฟรี Review สรุป high-yield eye histopathology ซึ่งคุณหมอสรุปไว้ สำหรับแพทย์ใช้ทุนแพทย์ประจำบ้านจักษุวิทยาไว้ทบทวน keyword สำหรับสอบบอร์ดครับ
ประชาสัมพันธ์ครับ
😢ขอแสดงความเสียใจด้วยครับ น้องไม่ต้องทรมานอีกแล้ว ได้แต่หวังว่าจะมีหน่วยงานรัฐไปช่วยเหลือคุณยายอายุ 88 ปีบ้างนะครับ . . . . . . . .
ตอนน้องอายุ 5 เดือน เกิดอุบัติเหตุทางรถยนต์ คุณแม่ของน้องเสียชีวิต
อายุ 2 ขวบ คุณพ่อ (นายแพทย์กฤษฎา วงษ์ดีเลิศ) ทำการกู้ชีพ (CPR) ผู้ป่วย แต่ผู้ป่วยอาเจียนใส่โดยคุณหมอไม่ใส่แมสก์ป้องกันตัวเอง ต่อมาคุณหมอติดเชื้อในกระแสเลือด เสียชีวิตไปด้วยวัย 30 ปี น้องต้องอยู่กับคุณย่าตามลำพังด้วยฐานะยากจน น้องตั้งใจเรียนและช่วยเหลืองานคุณย่าทุกอย่าง
ปี 2555 น้องชนะเลิศเรียงความวันแม่ ชื่อเรื่อง “ชีวิตของลูกกำพร้า”
ปี 2559 พล.อ.ต.นพ.อิทธพร คณะเจริญ โพสต์ในเฟซบุ๊กส่วนตัวเกี่ยวกับเรื่องราวของน้อง ซึ่งจบชั้นม.3 แล้ว แต่ไม่ได้เรียนต่อ เพราะขาดทุนทรัพย์ และยังป่วยด้วยโรคลมชักอีกด้วย
ปี 2567 น้องขี่มอเตอร์ไซค์ออกจากบ้าน ต่อมาพบจอดอยู่ที่ริมคลอง และพบศพน้องในน้ำ ที่รถแขวนถุงยารักษาโรคซึมเศร้า น้องจากไปด้วยวัยเพียง 23 ปี ส่วนคุณย่าก็จะอยู่เพียงลำพัง😢
เรียงความ 'ชีวิตลูกหมอกำพร้า' พ่อหนูจากไปเพราะห่วงคนไข้ | Hfocus.org เฟซบุ๊ก นพ.อิทธพร เผยหนังสือ นพ.สสจ.ปราจีนบุรี ทำหนังสือเวียนถึง นพ.สสจ.ทุกจังหวัดในเขต 6 ขอความช่วยเหลือครอ.....
ชี้เป้า 4 พิกัดไหว้พระขอพรในรพ.สวนดอกของเรา สำหรับน้องๆที่กำลังเตรียมตัวสอบ ถ้าอ่านหนังสือกันจบแล้ว อยากเสริมความมั่นใจ ก็ไปไหว้พระกันได้นะจ๊ะ ^______^
AJCC สำหรับการรายงานระยะของมะเร็ง (Cancer Staging) เวอร์ชั่น 9
อัพเดทล่าสุดของปี 2024 ครับ ได้แก่ มะเร็งของ V***a, มะเร็งชนิด NET ของ Appendix, Colon and Re**um, Duodenum and Ampulla of Vater, Jejunum and Ileum, Pancreas และ Stomach
ของปี 2023 มะเร็งของ Appendix, A**s, Brain and Spinal Cord
ของปี 2021 มะเร็งของ Uterine cervix
อันตรายที่มากับนกพิราบ! โรคเชื้อรามูลนก
นกพิราบที่มักมีคนเอาอาหารไปโปรยให้นั้น นับเป็นพาหะนำโรคร้ายมาสู่มนุษย์ เนื่องจากในอุจจาระหรือมูลของนกพิราบ มีเชื้อราคริปโตคอคคัส นีโอฟอร์แมนส์ (Cryptococcus neoformans) ปนเปื้อนอยู่ เชื้อราชนิดนี้ไม่เป็นอันตรายกับนกพิราบ เพราะอุณหภูมิกายของนกสูงกว่ามนุษย์ ทำให้เชื้อรานี้ไม่สามารถแบ่งตัวได้ เพียงแค่อาศัยในลำไส้ของนกเท่านั้น
ถ้ามนุษย์หายใจเอาดินหรือสัมผัสกับมูลนกที่มีเชื้อรานี้ปนเปื้อน อาจส่งผลให้มีการติดเชื้อที่ผิวหนังหรือปอด เกิดเป็นโรคคริปโตคอคโคสิส (Cryptococcosis) มีอาการผื่นแดง ไข้ ไอเป็นเลือด เจ็บหน้าอก เกิดรอยโรคคล้ายฝีและมีเนื้อยุ่ยตายที่ปอด (ดังภาพประกอบ เป็นรอยโรคขนาด 8.3 เซนติเมตร) เชื้ออาจลุกลามเข้ากระแสเลือด และแพร่กระจายไปยังสมอง ทำให้เป็นอันตรายถึงขั้นเสียชีวิตได้
Sarawut - Pathology to the Point เพจเผยแพร่และให้ความรู้ทางพยาธิวิทยา
✿ Did you know?
สารพิษก่อมะเร็ง Aflatoxin มักออกเสียงผิดเป็น "อัลฟ่า ท็อกซิน"
• สารอะฟลาท็อกซิน (Aflatoxin) เป็นสารก่อมะเร็งที่รุนแรงที่สุดชนิดหนึ่งเท่าที่มนุษย์รู้จัก เป็นสารพิษที่สร้างโดยเชื้อรา (mycotoxin) โดยเฉพาะเชื้อรากลุ่มแอสเปอร์จิลลัส (Aspergillus) โดยราจะสร้างสารพิษนี้ในภาวะที่อาหารมีความชื้นสูง
สารอะฟลาท็อกซินถูกทำลายได้ยาก ทนความร้อนได้สูงถึง 260 องศาเซลเซียส นั่นคือความร้อนจากการแปรรูปอาหารทั่วไปๆ ไม่สามารถทำลายอะฟลาท็อกซินได้ วิธีการทำลายสารพิษนี้จะเป็นวิธีทางเคมี เช่น การใช้กรดแก่หรือด่างแก่ แต่ไม่มีวิธีการใดเลยที่สามารถทำลายอะฟลาท็อกซินได้หมด
การหลีกเลี่ยงอะฟลาท็อกซิน ได้แก่ เลือกซื้ออาหารหรือวัตถุดิบที่แห้ง อยู่ในสภาพใหม่ ไม่มีเชื้อราปนเปื้อน ไม่มีกลิ่นอับ ไม่มีกลิ่นเหม็น ไม่ได้ถูกเก็บเป็นเวลานาน (เช่น เป็น 10 ปี 🙈)
• สารอัลฟ่าท็อกซิน (Alpha toxin) หมายถึงสารพิษที่สร้างจากเชื้อแบคทีเรีย (bacterial toxin) เช่น Staphylococcus aureus, Clostridium perfringens และ Pseudomonas aeruginosa โดย alpha toxin ที่สร้างจากแบคทีเรียต่างชนิดกัน จะมีฤทธิ์และทำให้เกิดความผิดปกติแตกต่างกัน
☣️ ข้าวเก่า 10 ปี ใครอยากกินก็กินไปครับ แต่ผมจะไม่กิน ☣️
[ระดับของความรู้] Basic Infectious Pathology
ขอให้สนุกกับการเรียนพาโถ
Sarawut - Pathology to the Point เพจเผยแพร่และให้ความรู้ทางพยาธิวิทยา
อะฟลาท็อกซิน (Aflatoxin) เป็นสารก่อมะเร็งที่ร้ายแรง
ปริมาณเพียง 1 ไมโครกรัมของอะฟลาท็อกซินสามารถทำให้เกิดมะเร็งในสัตว์ทดลองได้ หากได้รับอย่างต่อเนื่อง
เมื่อเราได้รับสารอะฟลาท็อกซิน ระยะแรกอาจไม่มีความผิดปกติใดๆ อาการจะปรากฎเมื่อตับมีความเสียหาย หรือเกิดพยาธิสภาพแบบเรื้อรังแล้ว เช่น ตับอักเสบแบบเรื้อรัง (chronic hepatitis), ตับแข็ง (cirrhosis), มะเร็งตับชนิด hepatocellular carcinoma (เฮปปาโตเซลลูล่าร์ คาร์ซิโนม่า, HCC)
☣️ ข้าวเก่า 10 ปี ใครอยากกินก็กินไปครับ แต่ผมจะไม่กิน ☣️
เพจ Sarawut - Pathology to the Point
ขอแสดงความเสียใจอย่างสุดซึ้ง
จากเหตุรถพยาบาลโรงพยาบาลพร้าว ประสบอุบัติเหตุ
ขอเป็นกำลังใจให้ผ่านพ้นช่วงเวลาอันยากลำบากนี้
10 พ.ค. 2567
หลังจากอดหลับอดนอน เรียนตอน 1 ทุ่มถึงตี 3 เวลาไทย ในที่สุดก็เรียนคอร์สพยาธิวิทยาของ Harvard Medical School ปี 2024 หัวข้อ Gastrointestinal, Liver, and Pancreatic Pathology จบแล้ว ความรู้ที่ได้รับนี้แลกมาด้วยอาการปวดหลังปวดบ่าครับผม
ผมได้รับเชิญเป็นวิทยากรบรรยายหัวข้อ Biomarkers and Liquid Biopsy for Lung Cancer in 2024 ในการประชุม 25th Short Course Meeting of STST “Multidisciplinary Team Management in Cardiothoracic Surgery: Time to Explore a New Paradigm” จัดโดยสมาคมศัลยแพทย์ทรวงอกแห่งประเทศไทย เมื่อวันที่ 3-5 พ.ค. 2567 ที่ผ่านมาครับ ณ อาคารเฉลิมพระบารมี 50 ปี ซ.ศูนย์วิจัย ถ.เพชรบุรี กรุงเทพมหานคร
งานประชุมใหญ่ระดับโลกของพยาธิแพทย์ หรือ USCAP Annual Meeting 2024 มี Online Content ให้เรียนและอัพเดทความรู้ย้อนหลังในรูปแบบ VDO เยอะมากครับ ผมเพิ่งเรียนจบทั้งหมดไป 170 เครดิต CME
✪ What are Angel and Devil in Pathology?
[คำถามทางวิชาการ] อะไรคือเทวาและปิศาจในทางพยาธิวิทยา?
[เฉลย] Coming soon
ขอให้สนุกกับการเรียนพาโถ
★ Leslie's Six Patterns of Pulmonary Pathology
[คำชี้แจง] แนะนำ website ที่ใช้ Leslie's Six Patterns of Pulmonary Pathology เป็นพื้นฐานของอัลกอริทึม สำหรับประกอบการวินิจฉัยชิ้นเนื้อปอด คิดค้นโดย Dr. Leslie สำหรับแพทย์, พยาธิแพทย์, ศัลยแพทย์ทรวงอก, อายุรแพทย์ระบบทางเดินหายใจ, นักศึกษาแพทย์, บุคลากรทางการแพทย์, และผู้สนใจใช้เป็นแหล่งอ้างอิง
[ระดับของความรู้] Advanced Surgical Pathology
Website อ้างอิง: https://www.6patterns.org/
ขอให้สนุกกับการเรียนพาโถ
🍀 Leslie's Six Histological Patterns of Lung Pathology
[คำชี้แจง] ตารางแสดงวินิจฉัยแยกโรคโดยพิจารณาตามลักษณะทางจุลพยาธิวิทยา 6 แบบของชิ้นเนื้อปอดคิดค้นโดย Dr. Leslie สำหรับแพทย์, พยาธิแพทย์, ศัลยแพทย์ทรวงอก, อายุรแพทย์ระบบทางเดินหายใจ, นักศึกษาแพทย์, บุคลากรทางการแพทย์, และผู้สนใจใช้เป็นข้อมูลอ้างอิงทางทฤษฎี
[ระดับของความรู้] Advanced Surgical Pathology
การวินิจฉัยทางพยาธิวิทยาของชิ้นเนื้อปอดที่สงสัยโรคอื่นซึ่งไม่ใช่เนื้องอก (medical lung conditions) โดยเฉพาะกลุ่มโรคปอดอินเตอร์สติเชียล (interstitial lung diseases, ILD) จัดเป็นหนึ่งในสาขาที่ค่อนข้างยาก เนื่องจากมีโรคและสาเหตุมากมาย จำเป็นต้องใช้ข้อมูลทางคลินิกและรังสีวิทยามาประกอบในการพิจารณา Dr. Leslie จึงคิดค้นวิธี approach สิ่งส่งตรวจชนิดนี้ โดยสรุปวินิจฉัยแยกโรคเป็น 6 กลุ่มตามลักษณะทางจุลพยาธิวิทยา (6 histopathological patterns) ซึ่งใช้กับโรคกลุ่ม ILD ได้เป็นอย่างดี ต่อมาจึงประยุกต์ใช้กับโรคปอดกลุ่มอื่นๆ ด้วย
• Pattern 1 (Acute lung injury)
หมายถึงพยาธิวิทยาของปอดประกอบด้วยการบวมของอินเตอร์สติเชียล (interstitial edema), พบสารไฟบรินอยู่ในถุงลม (intraalveolar fibrin) และเซลล์ชนิดที่ 2 แสดงลักษณะตื่นตัว (reactive type 2 cells) pattern นี้มักสัมพันธ์กับโรคทางคลินิกแบบเฉีบพลัน (acute clinical lung disease) โดยผู้ป่วยอาจมีอาการเริ่มต้นภายในช่วงเวลานับเป็นชั่วโมง, วัน, หรือ 1-2 สัปดาห์ก่อนการตัดชิ้นเนื้อ (biopsy)
Acute lung injury นี้พยาธิแพทย์สามารถตีกรอบวินิจฉัยแยกโรคให้แคบลง หรือแม้แต่ให้การวินิจฉัยโรค (pathological diagnosis) ได้ โดยการตรวจหาลักษณะทางพยาธิวิทยาแยกย่อยเพิ่มเติม (key modifiers) เช่น หากพบเยื่อบุ hyaline membrane ร่วมกับ pattern นี้ สามารถวินิจฉัยว่า “diffuse alveolar damage (DAD)” ได้, หากพบการตายของเนื้อเยื่อ (necrosis) ต้องส่งย้อมพิเศษ (special stains) เพิ่มเติมสำหรับโรคติดเชื้อเสมอ กรณีผลย้อมพิเศษให้ผลลบ (negative) ก็จำเป็นต้องระบุว่าโรคติดเชื้อยังคงเป็นวินิจฉัยแยกโรคที่สำคัญ [ผลย้อมพิเศษที่เป็นลบ ไม่สามารถตัดโรคติดเชื้อออกจาก list ของ differential diagnosis ได้]
• Pattern 2 (Fibrosis)
Fibrosis แปลเป็นไทยว่าพังผืด หมายถึงการสะสมคอลลาเจนในเนื้อปอดอย่างผิดปกติ ซึ่งมักพบการเปลี่ยนแปลงโครงสร้างของเนื้อปอดร่วมด้วย (some degree of structural remodeling) ขึ้นกับความรุนแรงของพังผืด pattern นี้เป็นพยาธิสภาพพื้นฐานของโรคปอด ILD โดยสามารถแบ่งเป็นกลุ่มย่อยตามลักษณะของพังผืด เช่นพังผืดแบบ temporal heterogeneity (เช่น usual interstitial pneumonia, UIP), พังผืดที่ผนังถุงลมแบบ uniform (เช่น non-specific interstitial pneumonia, NSIP) ฯลฯ ลักษณะของพังผืดที่แตกต่างกันในแต่ละรูปแบบย่อย จะช่วยในการวินิจฉัยแยกโรคต่างๆ ในกลุ่มที่มีภาวะพังผืดในปอดได้
• Pattern 3 (Cellular infiltrates)
หรือ chronic inflammatory infiltrates คือการแทรกซึม (infiltrate) ของเซลล์อักเสบเรื้อรังในผนังถุงลมปอด ซึ่งสามารถแบ่งเป็นกลุ่มย่อยตามองค์ประกอบที่พบ เช่น pure cellular interstitial pneumonia (พบเฉพาะ lymphocytes และ plasma cell), พบ poorly formed granulomas ร่วมด้วย (เช่นโรค hypersensitivity pneumonitis), พบ well-formed granulomas ร่วม (เช่น โรค hot tub lung)
• Pattern 4 (Alveolar filling)
หมายถึงการพบสิ่งผิดปกติในช่องของถุงลมปอด อาจเป็นเซลล์หรือสิ่งอื่นๆ (cells or non-cellular material) โดยชนิดหรือลักษณะของสิ่งที่อยู่ในถุงลมดังกล่าวจะช่วยบ่งชี้ถึงสาเหตุและกลุ่มโรคที่เป็นไปได้ เช่น alveolar filling ด้วย immature fibroblasts (เช่นในภาวะ organizing pneumonia, OP), macrophages (พบใน desquamative interstitial pneumonia (DIP)-like reaction), eosinophilic material (โรค pulmonary alveolar proteinosis, PAP), เลือดและ siderophages (กลุ่มโรค alveolar hemorrhage syndromes), เม็ดเลือดขาวชนิด neutrophils (โรคปอดอักเสบจากการติดเชื้อแบบเฉียบพลัน, acute infectious bronchopneumonia)
• Pattern 5 (Nodules)
คือการพบรอยโรคลักษณะเป็นก้อน (nodule) ในเนื้อปอด อาจมีลักษณะเป็นก้อนเดี่ยวหรือหลายก้อน (single or numerous), ขนาดเล็กหรือใหญ่ (small or large), อาจเป็นก้อนที่มีขอบเขตชัดเจนหรือไม่ชัดเจน (well or poorly formed) ก็ได้ แบ่งเป็นกลุ่มย่อยตามลักษณะและองค์ประกอบของ nodule ได้แก่ nodules ที่มี granulomatous inflammation (เช่นในโรค sarcoidosis), nodules ที่มี macrophages และ dust particles (เช่นโรคปอดจากฝุ่นซิลิกา, silicosis), และ nodules ที่มี Langerhans cells และ stellate scars (โรค Langerhans cell histiocytosis ของปอด)
• Pattern 6 (Minimal changes)
เป็นรูปแบบที่ดูเหมือนจะไม่พบหรือพบความผิดปกติเพียงเล็กน้อยเมื่อดูด้วยกล้องจุลทรรศน์กำลังขยายต่ำ (scanning magnification) แต่เมื่อพิจารณาในรายละเอียด โดยเฉพาะเมื่อมีข้อมูลทางคลินิกหรือรังสีวิทยาประกอบ อาจพบความผิดปกติที่สำคัญได้ วินิจฉัยแยกโรคในกลุ่มนี้มีหลายสาเหตุ เช่น constrictive bronchiolitis, วาสคูโลพาธี (vasculopathy) หรือความผิดปกติของระบบน้ำเหลือง (lymphatic disorders), และโรคที่มีลักษณะเป็นถุงในเนื้อปอด (cystic lung diseases)
เมื่อตรวจพบ minimal changes ในชิ้นเนื้อปอด พยาธิแพทย์จำเป็นต้องตรวจดูพยาธิสภาพในบริเวณต่างๆ อย่างละเอียด โดยเฉพาะบริเวณ terminal bronchioles, pulmonary arteries, เยื่อบุผิวและผนังของถุงลมปอด เพื่อให้ได้การวินิจฉัยที่ถูกต้อง
ขอให้สนุกกับการเรียนพาโถ
✩ Fusion Gene
[คำชี้แจง] โพสต์นี้เป็นความรู้พื้นฐานทางอณูพยาธิวิทยาเกี่ยวกับยีนลูกผสม (fusion gene, ฟิวชั่นยีน) ในบริบทของโรคมะเร็ง โดยภาพประกอบในบทความนี้จะไม่แสดงส่วน intron (อินทรอน) ของ DNA เพื่อให้เนื้อหากระชับ
[ระดับของความรู้] Basic Molecular Pathology
▪ Fusion Gene
คือยีนลูกผสม (hybrid, ไฮบริด) เกิดจากยีนตั้งแต่ 2 ยีนขึ้นไปที่ไม่เกี่ยวข้องกัน (independent genes) มารวมกัน การค้นพบ fusion gene มีความสำคัญในโรคมะเร็งอย่างมาก เนื่องจาก fusion gene จัดเป็นตัวบ่งชี้ชีวภาพ (biomarker) ในมะเร็งหลายๆ ชนิด อาจช่วยในการวินิจฉัย (diagnostic), การพยากรณ์โรค (prognostic) หรือช่วยทำนายโอกาสตอบสนองต่อการรักษา (predictive) เป็นต้น กลไกการเกิด fusion gene มีหลายประการซึ่งจะอธิบายในบทความอื่น
Fusion gene ที่เกี่ยวข้องกับโรคกลุ่มเนื้องอก (neoplasia) แบ่งออกเป็น 2 ชนิดหลักๆ (2 classes) ได้แก่:
▪ Chimeric Transcript Fusion (ไคเมอริก ทรานสคริป ฟิวชั่น)
Chimera (มักออกเสียงว่าคิเมร่าหรือไคเมียร่าในนิยายหรือการ์ตูน) หมายถึงสัตว์ประหลาดชนิดหนึ่งที่ร่างกายแต่ละส่วนประกอบมาจากอวัยวะของสัตว์ต่างๆ กัน หลายชนิด; ทำนองเดียวกัน คำว่า chimeric transcript fusion หมายถึง ส่วนของสารพันธุกรรมที่จะผ่านกระบวนการถอดรหัส (transcription) ของยีนตั้งแต่ 2 ยีนขึ้นไป เกิดการรวมตัวกันได้เป็นยีนลูกผสม (เช่น chimeric gene1::gene2 เป็นยีนลูกผสมหรือยีนผลลัพธ์ เกิดจากยีน 1 และยีน 2 มาฟิวชั่นกัน) โดยยีนลูกผสมดังกล่าว เมื่อผ่านกระบวนการแปลรหัส (translation) แล้วจะได้โปรตีนใหม่ (novel protein) ที่มีฤทธิ์ในการสนับสนุนการเกิดมะเร็ง (oncogenic function) โปรตีนใหม่ซึ่งเป็นผลิตผลของ chimeric gene นี้ มีชื่อเรียกแตกต่างกันไปในแต่ละบทความ เช่น chimeric oncoprotein หรือ fusion protein
จากรูป chimeric transcript fusion โปรดสังเกตว่า breakpoint (เบรกพอยต์, จุดแตกหรือจุดแยก) ซึ่งเป็นจุดเริ่มต้นทำให้เกิดการ fusion ระหว่างยีน จะอยู่บริเวณที่อยู่ห่างจาก promoter ของแต่ละยีน
ตัวอย่างที่รู้จักกันดีของ class นี้คือ fusion ระหว่างยีน BCR และยีน ABL1 (BCR::ABL1) หรือยีน ABL1 บนโครโมโซม 9 ย้ายตำแหน่งไปอยู่ติดกันกับ (juxtapose) ยีน BCR บนโครโมโซม 22 เรียกว่า reciprocal translocation t(9;22)(q34;q11) เรียกโครโมโซม 22 ที่ผิดปกตินี้ว่า Philadelphia chromosome (ฟิลาเดลเฟีย โครโมโซม, Ph) โดยยีนลูกผสมเมื่อแปลรหัสจะได้โปรตีนผิดปกติ คือ tyrosine kinase signaling protein ที่ทำงานตลอดเวลา (always on) เสมือนรถที่วิ่งโดยเหยียบคันเร่งค้าง เซลล์ที่มีฟิลาเดลเฟียโครโมโซมจึงแบ่งตัวได้เองอย่างไร้การควบคุม เป็นพยาธิกำเนิดของโรคมะเร็งเม็ดเลือดขาวเรื้อรังชนิดไมอิลอยด์ chronic myeloid leukemia (CML, ซีเอ็มแอล)
🌟 Promoter ในบทความนี้หมายถึง promoter ของยีน ซึ่งหมายถึงลำดับของสารพันธุกรรมที่โปรตีนจะเข้าจับ เพื่อเริ่มต้นกระบวนการ transcription จึงเป็นคนละสิ่งกับ promoter หรือตัวส่งเสริมการเกิดมะเร็งในบทความ chemical carcinogenesis ที่ยกตัวอย่างเรื่อง PM2.5 🌟
▪ Regulatory Fusion (เรกูลาเทอรี่ ฟิวชั่น)
จากรูป regulatory fusion กลไกคือ breakpoint บริเวณรอยต่อระหว่าง promoter ของยีนหนึ่ง ทำให้ได้ส่วนควบคุมการถอดรหัส (regulatory element) ของยีนนั้นมา ในบริบทนี้คือส่วน promoter ของยีน เมื่อมาฟิวชั่นกับส่วน coding sequence (CDS) หรือบริเวณที่จะถูกแปลรหัสไปเป็นโปรตีนของอีกยีน (partner หรือ second gene) ผลลัพธ์ที่ได้คือ การแปลรหัสของ CDS นั้นมากผิดปกติ หรือก็คือเพิ่มการแสดงออก (expression) ของโปรตีนรวมไปถึงผลิตภัณฑ์อันเกิดจาก CDS ของ partner gene
ตัวอย่างของ class นี้คือ TMPRSS2::ERG fusion ซึ่งเป็น fusion ที่พบได้บ่อยที่สุดของมะเร็งต่อมลูกหมาก (prostatic adenocarcinoma) ทำให้เกิดการแสดงออกอย่างมากผิดปกติ (overexpression) ของ transcription factor ERG และส่งเสริมให้เกิดการแพร่กระจายของมะเร็งต่อมลูกหมากไปยังกระดูก (bone metastasis)
ขอให้สนุกกับการเรียนพาโถ
✨ Invasive Mucinous Adenocarcinoma vs Colloid Adenocarcinoma of the Lung
[คำชี้แจง] ตารางเปรียบเทียบลักษณะทางพยาธิวิทยาของมะเร็งชนิดอินเวสิฟมิวสินัสแอดิโนคาร์ซิโนม่า (invasive mucinous adenocarcinoma) กับคอลลอยด์แอดิโนคาร์ซิโนม่า (colloid adenocarcinoma) ของปอด สำหรับแพทย์, พยาธิแพทย์, แพทย์อนุสาขามะเร็งวิทยา, ศัลยแพทย์ทรวงอก, อายุรแพทย์ระบบทางเดินหายใจ, บุคลากรทางการแพทย์, และผู้สนใจใช้เป็นข้อมูลอ้างอิงทางทฤษฎี
[ระดับของความรู้] Advanced
มะเร็งชนิดแอดิโนคาร์ซิโนม่า (adenocarcinoma) ของปอดที่มีการสร้างสารเมือกนั้น (mucin-producing) มี 2 ชนิดสำคัญคือ
• Invasive Mucinous Adenocarcinoma (IMA, ไอเอ็มเอ)
ชื่อในอดีตของมะเร็งชนิดนี้คือ mucinous bronchioloalveolar carcinoma (mucinous BAC) ประกอบด้วยเซลล์มะเร็งรูปร่างเป็นแท่งหรือสี่เหลี่ยมผืนผ้าที่มีเมือกในไซโตพลาสมปริมาณมาก (columnar morphology with abundant intracytoplasmic mucin) หรือมีรูปร่างเป็นถ้วย (goblet cell) นิวเคลียสอยู่ทางด้านฐานของเซลล์ (basal nuclei) รูปแบบการเรียงตัวหลักคือเลผิดิก (lepidic) ร่วมกับรูปแบบลุกลามอื่นๆ (invasive pattern) เช่น แอซิน่าร์ (acinar) หรือ แป๊ปพิลารี่ (papillary) เป็นต้น เซลล์มะเร็งใน IMA มักมีลักษณะทางเซลล์วิทยาผิดปกติเพียงเล็กน้อย (minimal to mild cytological atypia) อาจพบสารเมือกอยู่ภายนอกเซลล์ (extracellular mucin) หรือไหลเข้าไปในถุงลมรอบๆ ได้
IMA ต้องวินิจฉัยแยกโรคกับรอยโรคอื่นๆ ของปอด ได้แก่ adenocarcinoma in situ (AIS, เอไอเอส) และ minimally invasive adenocarcinoma (MIA, เอ็มไอเอ) โดย AIS กับ MIA นั้นเซลล์เนื้องอกจะมีลักษณะเป็น pneumocyte type II หรือ club cell ทั้งนี้ IMA สามารถพบเซลล์มะเร็งที่ไม่มี intracytoplasmic mucin ปะปนด้วยได้บ่อย กรณี non-mucinous cancer cells นั้นมีปริมาณไม่น้อยกว่า 10% ของเนื้อเยื่อมะเร็งทั้งหมด จะเรียกเป็น mixed invasive mucinous/nonmucinous adenocarcinoma
• Colloid adenocarcinoma
หมายถึงมะเร็งชนิดลุกลามที่มีการหลั่งสารเมือกสะสมอยู่นอกเซลล์ปริมาณมาก (extensive deposits of extracellular mucin) จนเหมือนทะเลสาบหรือสระน้ำของสารเมือก (mucin pools) โดยสารเมือกนี้ต้องถ่างและทำลายถุงลมปอด (distend and destroy alveolar spaces) และทำให้เนื้อปอดปกติที่บริเวณดังกล่าวลบเลือนหรือหายไป (complete effacement of underlying lung parenchyma) โดยองค์ประกอบของก้อนเนื้องอกอย่างน้อย 50% ต้องมีลักษณะดังกล่าว จึงจะวินิจฉัยเป็นมะเร็งชนิดนี้
เซลล์มะเร็งของ colloid adenocarcinoma มีรูปร่างตั้งแต่ลูกบาศก์ (cuboid) หรือ columnar อาจมีลักษณะเป็น goblet cell หรือ signet ring cell โดยเซลล์มะเร็งอาจล่องลอยอยู่ใน mucin pool หรืออาจบุอยู่บนถุงลม ทั้งนี้เซลล์มะเร็งของโรคนี้มัก mitosis ได้น้อย และไม่พบการตายของเซลล์ (no necrosis)
▪ ลักษณะของก้อนมะเร็งเมื่อดูด้วยตาเปล่า (macroscopic appearance) ของทั้ง IMA และ colloid adenocarcinoma จะคล้ายกันตรงที่เป็นก้อนเมือกหรือคล้ายเจลาติน (gelatinous mass) จุดที่ต่างกันคือ colloid adenocarcinoma มักเป็นก้อนเดี่ยว ขอบเขตชัดเจน (well-defined mass) บางครั้งมีแคปซูล (fibrous capsule) ล้อมรอบตัวก้อน ในขณะที่ IMA มักเป็นก้อนขอบเขตไม่ชัดเจน (poorly defined) มีหลายก้อนเนื้อย่อยๆ ได้ (multifocal) เนื่องจากเซลล์มะเร็งอาจโตหลายๆ ตำแหน่งไม่ต่อเนื่องกัน (skip lesion) หลายครั้งอาจดูไม่เป็นก้อนแต่ดูคล้ายเนื้อปอดทึบๆ ตันๆ แบบเดียวกับปอดอักเสบ (pneumonic-like)
▪ วินิจฉัยแยกโรค (differential diagnosis) ของทั้ง IMA และ colloid adenocarcinoma ที่สำคัญคือมะเร็งชนิด adenocarcinoma (ทั้งชนิด mucinous และ non-mucinous) จากอวัยวะอื่นที่แพร่กระจายมายังปอด ซึ่งพบได้บ่อยกว่าตัว mucin-producing adenocarcinoma ของปอดเอง เช่น จากลำไส้ใหญ่ (colon) กับลำไส้ตรง (re**um), มะเร็งจากทางเดินอาหารส่วนต้น (upper gastrointestinal tract), ตับอ่อน (pancreas), และเต้านม (breast) ซึ่งข้อมูลทางคลินิกรวมถึงภาพถ่ายทางรังสีวิทยา จะช่วยในการวินิจฉัยมากกว่าการย้อมทางอิมมูโนวิทยา (immunostains) เนื่องจากทั้ง IMA และ colloid adenocarcinoma มักจะย้อมให้ผลลบ (negative) หรือติดจางๆ ต่อทั้ง TTF-1 และ Napsin A ซึ่งโดยปกติเป็น marker ที่ช่วยยืนยันความเป็นมะเร็งปอด ยิ่งไปกว่านั้น ทั้ง IMA และ colloid adenocarcinoma กลับย้อมติด (positive) ทั้งใน CK20 และ CDX2 ซึ่งเป็น marker ที่ปกติจะให้ผลลบใน non-mucinous adenocarcinoma ของปอด จึงอาจทำให้แปลผลคลาดเคลื่อนว่าเป็น metastatic adenocarcinoma มาจาก colon หรือ re**um ได้ การวินิจฉัยโรคในกลุ่มนี้จึงต้องใช้ข้อมูลทางคลินิกมาพิจารณาร่วมด้วยเสมอ (clinical correlation)
ขอให้สนุกกับการเรียนพาโถ
🔰 Papillary vs. Micropapillary vs. Pseudopapillary
[คำชี้แจง] ความหมายของคำศัพท์ และเปรียบเทียบลักษณะการจัดเรียงตัว (architectural หรือ growth pattern) ของเซลล์เนื้องอกหรือมะเร็ง 3 ชนิด สำหรับนักศึกษาแพทย์ แพทย์ พยาธิแพทย์ ศัลยแพทย์ แพทย์อนุสาขามะเร็งวิทยา บุคลากรทางการแพทย์และผู้สนใจ ใช้เป็นข้อมูลอ้างอิงทางทฤษฎี
[ระดับของความรู้] Basic Surgical Pathology
▪ Papillary (แป๊ปพิลารี่)
คือรูปแบบการเรียงตัวของเซลล์เนื้องอกลักษณะคล้ายนิ้วมือ (finger-like projection) ยื่นขึ้นจากพื้นผิว (exophytic) หรือยื่นเข้าไปในช่องว่าง (intracystic or intraluminal) โดยตรงกลางของแต่ละ projection จะมีแกนกลางที่เรียกว่า fibrovascular core ประกอบด้วยเนื้อเยื่อเกี่ยวพันและหลอดเลือด (stroma with blood vessels) และผิวนอกของแต่ละ projection มีเซลล์เนื้องอกเรียงตัวด้านนอก
Papillary growth พบได้ทั้งในเนื้องอกชนิดไม่ร้าย (benign neoplasm) เช่น intraductal papilloma (papilloma = papillary + oma) ของเต้านม, intraductal papillary mucinous neoplasm (IPMN) ของตับอ่อน และพบในเนื้องอกชนิดร้ายหรือมะเร็ง (cancer) เช่น papillary carcinoma ของต่อมธัยรอยด์ ทั้งนี้ มะเร็งที่มีลักษณะทางจุลพยาธิวิทยาแบบ papillary มักมีความดุร้ายน้อยกว่า architectural pattern แบบอื่นเมื่อเทียบกับมะเร็งของอวัยวะเดียวกัน เช่น สำหรับมะเร็งปอด (non-small cell lung cancer, NSCLC) papillary growth จัดเป็นลักษณะของมะเร็งระดับต่ำ (low-grade pattern), หรือ papillary adenocarcinoma ของกระเพาะอาหาร มักมีระดับ (grade) เป็นแบบ well-differentiated
▪ Micropapillary (ไมโครแป๊ปพิลารี่)
คือรูปแบบการเรียงตัวของเซลล์เนื้องอกลักษณะคล้ายนิ้วมือ (finger-like projection) คล้ายกับ papillary แต่นิยามต่างกันที่แกนกลางของ micropapillary นั้นไม่มี fibrovascular core ทำให้ micropapillary ขนาดเล็กๆ มองดูคล้ายกลุ่มของเซลล์ (cluster of cells) มากระจุกหรือกองๆ กัน (cellular tufts) ซึ่งลักษณะ cluster นี้ทำให้ micropapillary ยังมีหน้าตาแยกย่อยได้อีกหลายแบบ
Micropapillary growth พบได้ทั้งใน benign neoplasm โดยเฉพาะรอยโรคก่อนเป็นมะเร็ง (preinvasive lesion) เช่น biliary intraepithelial neoplasia (BilIN, บิลลิน) ของทางเดินน้ำดี และในมะเร็งเช่น serous adenocarcinoma ของอวัยวะสืบพันธุ์สตรี สำหรับมะเร็งแล้ว micropapillary จัดเป็นลักษณะขั้นสูง (high-grade pattern) เซลล์มะเร็งมีคุณสมบัติลุกลามสูง เช่น micropapillary growth pattern ใน NSCLC หรือ micropapillary urothelial carcinoma ของทางเดินปัสสาวะ และ invasive micropapillary carcinoma ของเต้านม ที่มีพฤติกรรมก้าวร้าว (aggressive) กว่า pattern อื่นของมะเร็งชนิดเดียวกัน
▪ Pseudopapillary (สูโดแป๊ปพิลารี่)
คำว่า pseudo แปลว่า เทียม ดังนั้น pseudopapillary ก็คือรูปแบบที่คล้าย papillary แต่จริงๆ แล้วไม่ใช่ มักใช้บรรยายในเนื้องอกที่มีแรงยึดเหนี่ยวระหว่างเซลล์น้อยหรือต่ำ (discohesive) ซึ่งบริเวณที่เซลล์เนื้องอกอยู่กันอย่างหนาแน่น (hypercellular) ก็จะดูมีเนื้อตันหรือเห็นแต่เซลล์เนื้องอกเต็มไปหมด (solid growth pattern) แต่บริเวณที่เซลล์หลุดจากกันหรือเกิดการเสื่อมสลายของเซลล์ (degeneration) จะกลายเป็นช่องว่าง (space) การเปลี่ยนแปลงดังกล่าวจึงกลายเป็นว่า หลอดเลือดแต่ละหลอดในก้อนเนื้องอกจะมีเซลล์เหลือรอด เรียงตัวอยู่รอบๆ (เพราะอยู่ใกล้กับบริเวณที่มีระดับของ oxygen สูง) และล้อมรอบด้วย space อีกที ดูคล้ายกับ papillary pattern นั่นเอง
Pseudopapillary นี้เป็น pattern ที่พบได้ไม่บ่อย และใช้ในเนื้องอกที่จำเพาะเจาะจง (certain) คือมีทั้ง solid กับ pseudopapillary growth ดังที่บรรยายไว้ข้างต้น เช่น solid-pseudopapillary neoplasm (SPN, เอสเพ็น) ของตับอ่อน
ขอให้สนุกกับการเรียนพาโถ
⍟ Evolving Classification of Breast Cancer According to HER2 Status
[คำชี้แจง] โพสต์นี้สรุปการแบ่งประเภทของมะเร็งเต้านม (breast cancer) ตามการแสดงออกของยีนเฮอร์ทู (HER2) จากการตรวจทางพยาธิวิทยา เปรียบเทียบระหว่างวิธีจัดหมวดหมู่ปัจจุบัน (current classification) กับวิธีจัดหมวดหมู่ซึ่งคาดว่าจะปรับใช้ในอนาคตอันใกล้ (evolving classification) สำหรับแพทย์ พยาธิแพทย์ ศัลยแพทย์ แพทย์อนุสาขามะเร็งวิทยา บุคลากรทางการแพทย์และผู้สนใจ ได้ใช้เป็นข้อมูลอ้างอิงทางทฤษฎี
[ระดับของความรู้] Advanced
มะเร็งเต้านมชนิดมีตัวรับเฮอร์ทู (HER2-positive breast cancer) เป็นมะเร็งเต้านมที่มีพฤติกรรมก้าวร้าว และมีความรุนแรงทางคลินิกมากกว่าชนิดไม่มีตัวรับ มีแนวโน้มของการแพร่กระจายอย่างรวดเร็ว สาเหตุจากการกลายพันธุ์แบบเพิ่มปริมาณของยีนก่อมะเร็งเฮอร์ทู (HER2 amplification) อย่างไรก็ตาม การที่มะเร็งเต้านมมีตัวรับเฮอร์ทู ซึ่งเปรียบเสมือน “เป้า” ทางการแพทย์จึงมียารักษาตรงเป้า (targeted therapy) สำหรับมะเร็งชนิดนี้
พยาธิแพทย์เป็นผู้มีบทบาทสำคัญอย่างยิ่ง ในการระบุชนิดของมะเร็งเต้านม ด้วยเทคนิคการย้อมทางอิมมูโนพยาธิวิทยา (immunohistochemistry, IHC) ซึ่งจะแปลผลย้อมนี้ได้รูปแบบใดรูปแบบหนึ่งจากทั้งหมด 4 แบบ:
• IHC คะแนน 0 หรือ ผลเป็นลบ (Negative, เนกาถีฟ) หมายถึงการย้อมเซลล์มะเร็งแล้วไม่พบการติดสีในเซลล์มะเร็งเลย (negative stain) หรือมีการติดสีแบบจางๆ บางบริเวณของ cell membrane ของเซลล์มะเร็งแต่ละเซลล์ (incomplete faint membrane staining) แต่ติดสีในเซลล์มะเร็งไม่เกิน 10% ของเซลล์มะเร็งทั้งหมด
• IHC คะแนน 1+ หรือผลเป็นลบ (Negative) หมายถึงการติดสีแบบจางๆ บางบริเวณของ cell membrane ของเซลล์มะเร็งแต่ละเซลล์ และติดสีลักษณะดังกล่าวในเซลล์มะเร็งมากกว่า 10% ของเซลล์มะเร็งทั้งหมด
• IHC คะแนน 2+ หรือผลไม่แน่ชัด (Equivocal) หมายถึงการติดสีที่ cell membrane ในระดับจาง (weak) จนถึงปานกลาง (moderate) และติดโดยรอบของเซลล์มะเร็งนั้น (complete circumferential stain) และพบการติดสีลักษณะดังกล่าวในเซลล์มะเร็งมากกว่า 10% ของเซลล์มะเร็งทั้งหมด เมื่อผลย้อม IHC ได้คะแนน 2+ เราจำเป็นต้องตรวจยืนยันด้วยวิธี in situ hybridization (ISH) ซึ่งจะแปลผลได้ว่าเป็น ISH Negative หรือ ISH Positive
• IHC คะแนน 3+ หรือผลเป็นบวก (Positive, โพสิถีฟ) หมายถึงการติดสีที่ cell membrane แบบสัญญาณเข้ม (intense) ติดโดยรอบของเซลล์มะเร็งนั้น (complete circumferential stain) และพบการติดสีลักษณะนี้ในเซลล์มะเร็งมากกว่า 10% ของเซลล์มะเร็งทั้งหมด
เมื่อได้ผล IHC รวมถึง ISH แล้ว เราสามารถจำแนกผู้ป่วยมะเร็งเต้านมเป็นสองกลุ่มหลักๆ คือ
▪ HER2-positive พบประมาณ 15-20% ของผู้ป่วยมะเร็งเต้านม ได้แก่ผู้ป่วยที่ตรวจวิธี IHC ได้ผลบวก (positive) หรือตรวจทาง IHC ได้ผลไม่แน่ชัดแต่ตรวจวิธี ISH ได้ผลบวก (IHC 2+/ ISH+)
▪ HER2-negative พบประมาณ 80-85% ของผู้ป่วยมะเร็งเต้านม ได้แก่ผู้ป่วยที่ตรวจวิธี IHC ได้ผลลบ (negative) หรือตรวจทาง IHC ได้ผลไม่แน่ชัดและตรวจวิธี ISH ได้ผลลบ (IHC 2+/ ISH-)
ในแง่ของการรักษา, ผู้ป่วยมะเร็งเต้านมชนิด HER2-positive หรือมีตัวรับเฮอร์ทู จะเข้าเกณฑ์การรักษาด้วยยาพุ่งเป้าเฮอร์ทู คือ trastuzumab (ทราส ทู ซู แม็บ) ถ้าเป็นผู้ป่วย HER2-negative ก็จะไม่ได้รับพิจารณารักษาด้วย trastuzumab อย่างไรก็ตาม ทางการแพทย์ได้ค้นพบว่าผู้ป่วยจำนวนหนึ่งจากกลุ่ม HER2-negative นั้น ยังตอบสนองต่อการรักษาด้วยยาพุ่งเป้าได้ จึงมีงานวิจัยที่ศึกษากับกลุ่มนี้โดยเฉพาะตีพิมพ์มากขึ้นเรื่อยๆ เรียกผู้ป่วยกลุ่มนี้ว่า HER2-low หรือผู้ป่วยที่เซลล์มะเร็งมีการแสดงออกของโปรตีน HER2 ในระดับต่ำ (IHC 1+ หรือ IHC 2+/ISH -) ทำให้มีการคาดคะเนว่า แม้แต่ผู้ป่วยที่มีการแสดงออกของโปรตีน HER2 ในระดับที่ต่ำมาก คือย้อมสีติดไม่ถึง 10% ของเซลล์มะเร็งก็อาจมีโอกาสตอบสนองต่อการรักษาที่จำเพาะเช่นกัน ผู้ป่วยกลุ่มนี้เรียกว่า HER2 ultra-low
วิธีจำแนกผู้ป่วยแบบใหม่ (evolving หรือ future classification) ที่คาดว่าจะรับรองให้ใช้ในเวชปฏิบัตินั้นในอนาคตนั้น จะแบ่งผู้ป่วยเป็น 4 กลุ่มคือ:
▪ HER2-positive กลุ่มนี้ยังใช้เกณฑ์ตาม classification เดิม ได้แก่ผู้ป่วยที่ตรวจวิธี IHC ได้ผลบวก (positive) หรือตรวจทาง IHC ได้ผลไม่แน่ชัดแต่ตรวจวิธี ISH ยืนยันได้ผลบวก (IHC 2+/ ISH +)
▪ HER2-low ได้แก่ผู้ป่วยที่ตรวจวิธี IHC ได้คะแนน 1+ หรือ ได้คะแนน IHC 2+ ร่วมกับผล ISH เป็นลบ (IHC 2+/ ISH-)
▪ HER2 ultra-low หมายถึงผู้ป่วยที่เซลล์มะเร็งไม่เกิน 10% มีการติดสีแบบจางๆ บางบริเวณของ cell membrane (incomplete) และติดแบบจางๆ (faint)
▪ HER2-null คือผู้ป่วยที่ไม่มีเซลล์มะเร็งติดสีด้วยวิธี IHC เลย (completely negative stain)
จะสังเกตได้ว่ากลุ่ม HER2 ultra-low กับ HER2-null นั้นจำแนกย่อยออกมาจากกลุ่มที่ย้อมอิมมูโนได้คะแนนเป็น 0 หรือ Negative นั่นเอง
ขอให้ทุกคนสนุกกับการเรียนพาโถ
★ Algorithm of the Paris System for Reporting Urinary Cytology
[คำชี้แจง] อัลกอริทึมในการวินิจฉัยสิ่งส่งตรวจทางเซลล์วิทยาจากระบบทางเดินปัสสาวะตามระบบของปารีส (The Paris system for reporting urinary cytology) สำหรับพยาธิแพทย์ ศัลยแพทย์ระบบทางเดินปัสสาวะ นักศึกษาแพทย์ บุคลากรทางการแพทย์และผู้สนใจ สำหรับใช้เป็นข้อมูลอ้างอิง
[ระดับของความรู้] Basic Cytopathology
ขอให้สนุกกับการเรียนพาโถ
ประชาชนชาวเชียงใหม่ ต้องหลีกเลี่ยงกิจกรรมกลางแจ้ง หากจำเป็นต้องออกจากบ้าน ให้ใส่หน้ากาก N95 ขึ้นไปนะครับ เพื่อป้องกันฝุ่น PM2.5
✿ To Become a Better Instructor and Minimize Zoom Fatigue
[คำชี้แจง] โพสต์นี้เป็นการสรุปข้อเสนอแนะเพื่อลดภาวะเหนื่อยล้าจากการใช้ Zoom (Zoom fatigue) ระหว่างการเรียนแบบออนไลน์ (online lecture) จากการศึกษาชื่อ Medical Students’ Zoom Fatigue in a Thai Medical School During the COVID-19 Pandemic ซึ่งเป็นการประเมิน Zoom fatigue และการรับรู้ (perceptions) ของนักศึกษาแพทย์ระดับปริญญาตรีเกี่ยวกับ online lecture เนื้อหาในโพสต์นี้เจนโดย Claude AI และปรับปรุงโดยแอดมิน
ทดลองใช้ AI ตัวนี้ได้ที่: https://claude.ai
งานวิจัยต้นฉบับ: https://doi.org/10.21315/eimj2024.16.1.4
ขอให้สนุกกับการเรียนพาโถ
✩ Chemical Carcinogenesis: PM2.5 and Lung Cancer
[คำชี้แจง] โพสต์นี้เป็นความรู้พื้นฐานทางพยาธิกำเนิดของมะเร็งโดยสารเคมีก่อมะเร็ง (chemical carcinogenesis) โดยยกตัวอย่างกรณีฝุ่น PM2.5 กับมะเร็งปอด
[ระดับของความรู้] Basic Neoplastic Pathology
▪ Chemical carcinogenesis (กลไกการเกิดมะเร็งจากสารเคมี)
สารเคมีก่อมะเร็ง มักออกฤทธิ์โดยจับกับสารพันธุกรรมหรือ DNA ในนิวเคลียสของเซลล์ แบ่งออกเป็น 2 ชนิดหลัก (รูป A.)
• สารเริ่มก่อมะเร็ง (initiator)
มักเป็นสารอันตรายที่สามารถทำลาย DNA และทำให้เกิดการกลายพันธุ์ (mutation) ในที่สุด หากเปรียบขั้นตอนในการก่อตัวของมะเร็งเป็นโดมิโนหลายๆ ตัว initiator เปรียบเสมือนโดมิโนตัวแรกที่ล้ม ซึ่งจะทำให้โดมิโนทั้งหมดล้มตามกันเป็นลูกโซ่ จึงถือได้ว่าเป็นตัวเปิดทางเริ่มต้นเพื่อทำให้เกิดการกลายพันธุ์ที่อาจนำไปสู่การพัฒนาของมะเร็งในตอนท้าย อย่างไรก็ตาม ไม่ใช่ทุกเซลล์ที่มี DNA เสียหายหรือแม้แต่เซลล์ที่มีการกลายพันธุ์แล้วจะกลายเป็นเซลล์มะเร็งเสมอไป เนื่องจากมักต้องอาศัย promoter ด้วย
• สารเร่งการเกิดมะเร็ง (promoter)
เป็นสารเคมีที่ส่งเสริมการทำงานของ initiator เปรียบเสมือนตัวละครที่มีหน้าที่สนับสนุนให้โดมิโนล้มทุกตัว promoter อาจไม่ได้ทำให้เกิดความเสียหายของ DNA โดยตรง แต่มีคุณสมบัติหลายอย่าง เช่น เป็นสารเร่งการแบ่งตัวของเซลล์ที่มีการกลายพันธุ์ดังกล่าวเพิ่มขึ้น, สร้างสภาพแวดล้อมที่ส่งเสริมการเจริญเติบโตและการแบ่งตัวของเซลล์, กระตุ้นหรือก่อให้เกิดการอักเสบ, หรือป้องกันไม่ให้เซลล์ที่มี DNA เสียหายถูกกำจัดโดยกลไกป้องกันตามธรรมชาติของร่างกาย ฯลฯ กล่าวโดยสรุป การทำงานร่วมกันของ initiator และ promoter คือเพิ่มความเป็นไปได้ของการพัฒนาเป็นมะเร็ง
ดังนั้น หากเราพิจารณาบทบาทของทั้ง initiator และ promoter ในกลไกการเกิดมะเร็งแล้ว initiator อาจเรียกได้ว่าเป็น “สาเหตุ” หรือ “สาเหตุหลัก” ของมะเร็งชนิดนั้น เนื่องจากมีบทบาทหลักในการเกิดการกลายพันธุ์ (แต่อาจยังไม่ใช่โรคมะเร็ง) ส่วน promoter อาจเรียกเป็น “ปัจจัยกระตุ้น” หรือ “ตัวกระตุ้น” ทำให้การกลายพันธุ์ของเซลล์พัฒนาไปเป็นโรคมะเร็ง
🌟[ผู้เชี่ยวชาญหลายท่านอาจเรียก PM2.5 ว่าเป็น "สาเหตุ" ของมะเร็งปอด ซึ่งเหตุผลหนึ่งคือเพื่อให้ตระหนักถึงภยันตรายของ PM2.5 อันจะนำไปสู่การป้องกัน อย่างไรก็ตาม บทความนี้ต้องการแสดงให้เห็นว่าบทบาทของ initiator และ promoter นั้นต่างกันอย่างไร และ PM2.5 อยู่ในฐานะใดของกลไกการเกิดมะเร็ง] 🌟
ในบุหรี่มวนนั้นประกอบด้วยสารเคมี 7 พันกว่าชนิด ที่ระบุได้แน่ชัดว่าเป็น carcinogen มีอย่างน้อย 69 ชนิด การสูบบุหรี่มวนจึงทำให้ผู้สูบได้รับทั้ง initiator และ promoter อย่างมากมายมหาศาล บุหรี่จึงนับเป็นสาเหตุของโรคมะเร็งปอดโดยเฉพาะกลุ่มที่ไม่ใช่แอดิโนคาร์ซิโนม่า
แต่ปัจจุบันเราทราบกันดีว่ามะเร็งปอดชนิดแอดิโนคาร์ซิโนม่า (adenocarcinoma) มีปริมาณผู้ป่วยเพิ่มมากขึ้นเรื่อยๆ ผู้ป่วยกลุ่มนี้มักเป็นหญิงชาวเอเชีย ไม่มีประวัติการสูบบุหรี่มาก่อน และตรวจพบการกลายพันธุ์ของยีน EGFR ได้มากถึง 50% ของผู้ป่วยทั้งหมด โดย variant ที่พบมากที่สุดคือ EGFR exon 19 deletion และ EGFR exon 21 L858R ทั้งนี้ แม้ว่าเราสามารถตรวจพบการกลายพันธุ์ดังกล่าว แต่การสืบค้นหาสาเหตุที่ทำให้เกิดการกลายพันธุ์ (หรือขั้นตอน initiation) นั้นทำได้ยากมาก อาจเกิดจากความผิดปกติทางพันธุกรรมที่ถ่ายทอดกันมา, การสัมผัสสารก่อมะเร็งอื่นๆ (เช่น สารเคมีในสิ่งแวดล้อม), เชื้อชาติ ฯลฯ
• ฝุ่น PM2.5 กับโรคมะเร็งปอด
(รูป B.) จากงานวิจัย พบว่ามะเร็งปอดจะเกิดในหนูทดลองได้ ต่อเมื่อเซลล์ของหนูมีการกลายพันธุ์ของยีน EGFR หรือยีน KRAS อยู่ก่อน (ขั้นตอน initiation) แล้วถูกกระตุ้นเมื่อสัมผัสกับ PM2.5 (ขั้นตอน promotion) ดังนั้น PM2.5 จึงมีบทบาทเป็น promoter การทดลองยังแสดงให้เห็นว่า PM2.5 กระตุ้นให้เกิดการอักเสบของเนื้อเยื่อปอด และทำให้เซลล์ที่มียีนกลายพันธุ์ดังกล่าวแบ่งตัวเพิ่มจำนวนขึ้นทั้งในปอดที่ดูปกติ (histologically normal lung tissue) และในรอยโรคก่อนเป็นมะเร็ง (precancerous lesion)
การศึกษา https://is.gd/RFQWDt ยังระบุว่าเมื่อตรวจเนื้อเยื่อปอดที่ดูปกติจากผู้ป่วยที่เป็นมะเร็งปอด พบว่า 18% (54 จาก 295 ราย) ของเนื้อเยื่อปอดปกตินี้มี EGFR mutation อยู่แล้ว และ 53% (43 จาก 81 ราย) มี KRAS mutation ซึ่งสนับสนุนว่าเนื้อปอดส่วนที่มีการกลายพันธุ์นี้ได้สัมผัสกับ initiator แล้ว แต่เนื่องจากยังไม่ได้สัมผัสกับ promoter (เช่น PM2.5) เนื้อปอดส่วนนี้จึงยังไม่พัฒนาเป็นโรคมะเร็ง
ในอนาคต เมื่อเรามีข้อมูลหรือหลักฐานสนับสนุนมากขึ้น ฝุ่น PM2.5 อาจถูกจัดเป็น initiator หรือสาเหตุหลักของมะเร็งปอดก็เป็นได้ แต่สิ่งที่สำคัญกว่าการระบุว่า PM2.5 เป็น initiator หรือ promoter ก็คือ ...
🌟การเกิดมะเร็งปอด จำเป็นต้องอาศัย "ตัวกระตุ้น" ซึ่งหลักฐานชี้ชัดว่าฝุ่น PM2.5 เป็นหนึ่งใน promoter ที่สำคัญโดยเฉพาะในผู้ที่มีเซลล์กลายพันธุ์ของยีน EGFR อยู่แล้ว ซึ่งการกลายพันธุ์นี้สามารถเกิดขึ้นได้ตามธรรมชาติและเพิ่มขึ้นตามอายุ) 🌟
🌟หากไม่อยากเป็นมะเร็งปอดแต่ยังจำเป็นต้องอยู่ในบริเวณที่มีมลภาวะทางอากาศ เราต้องป้องกันตัวจากฝุ่นมรณะนี้อย่างเต็มความสามารถ ใส่หน้ากากระดับ N95 ขึ้นไป, งดกิจกรรมกลางแจ้ง, เปิดเครื่องฟอกอากาศ หรือติดตั้งระบบ positive pressure ให้กับบ้าน เป็นต้น🌟
ขอให้สนุกกับการเรียนพาโถ
คลิกที่นี่เพื่อเป็นสมาชิก?
วิดีโอทั้งหมด (แสดงผลทั้งหมด)
ประเภท
ติดต่อ ธุรกิจของเรา
เบอร์โทรศัพท์
ที่อยู่
Chiang Mai
50200
110 ถนนอินทวโรรส ตำบนศรีภูมิ อำเภอเมืองเชียงใหม่
Chiang Mai, 50200
ศูนย์การเรียนรู้ตลอดชีวิต (ศูนย์ความเป็นเลิศทางการแพทย์ คณะแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่)
239 Huay Kaew Road, Suthep, Muang District, Thailand
Chiang Mai, 50200
Archive of Lan Na Inscriptions, Center for the Promotion of Art Culture and Creative Lanna, CMU
Department Of Chemistry, Faculty Of Science, 239 Huaykaew Road, Tumbol Suthep, Amphur Muang
Chiang Mai
Official page of the Department of Chemistry at Chiang Mai University.
Chiang Mai
เรียนรู้ภาษาอังกฤษสำหรับนักกฎหมายอย่างเข้าใจ และนำไปใช้ได้จริง
Chiang Mai University 239 Huaykaew Road Suthep Muang
Chiang Mai, 50200
บัณฑิตศึกษา คณะวิศวกรรมศาสตร์ มหาว?
ถนน เชียงใหม่แลนด์, ช้างคลาน, เชียงใหม่
Chiang Mai, 50100
I’m Pathra, a Native Thai teacher, studied in Australia. Working with many foreign companies, a happy teacher. Focus students to make sure their understanding. Teach Thai for CEOs ...
Faculty Of Pharmacy, Chiang Mai University
Chiang Mai, 50200
เภสัชศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาเภสัชกรรมคลินิก (Master of Pharmacy Program in Clinical Pharmacy) มหาวิทยาลัยเชียงใหม่