My note

My note

My note

11/02/2024
11/02/2024

ย้อนกลับไปเมื่อเดือนสิงหาคม ปี 2565 เราเคยใช้ชีวิตเรียบง่ายอยู่ที่เกาหลี แต่เหตุการณ์สำคัญก็ทำให้เราสองคนได้ตัดสินใจกลับมาไทยด้วยเงินติดตัวไม่ถึง 5 หมื่นบาทเหตุการณ์ที่เปลี่ยนชีวิตครอบครัวเราไปตลอดกาลคือเหตุการณ์ที่พ่อสมชายโดนโกงเงินด้วยแก๊งคอลเซนเตอร์ไปร่วม 2ล้าน7แสนบาท ตอนนั้นครอบครัวสมชายไม่เหลือเงินติดบัญชีแม้แต่นิดเดียว เราตัดสินใจกลับไปอยู่ที่ไทยเพื่อตั้งใจหาเงินมาใช้คืนธนาคาร เราใช้เวลาเกือบ2ปีจนกระทั่งวันนี้ที่เราหาเงินมาให้พ่อสมชายได้สำเร็จ ทำทุกอย่างที่ทำได้ ค่อยๆเก็บหอมรอมริบ ใช้เงินแต่ที่จำเป็น หาความสุขให้ตัวเองครั้งคราว จนมาวันนี้ทำสำเร็จแล้ว ขอบคุณทุกสิ่งทุกอย่างที่ทำให้เรามาถึงจุดนี้ ขอบคุณแฟนๆของพวกเราทุกคนที่สนับสนุนพวกเรามาตลอดไม่ว่าเราจะทำอะไร วันนี้รอรับชมคลิปวิดีโอเซอร์ไพร์สพ่อสมชายช่วงเย็นๆนะคะ 🥰 #สมชายบ้านไร่ #แฟนเกาหลี

08/02/2024

7 กุมภาพันธ์ ต่างชาติกำลังจะเอาจริง

[TF: Day] : เห็นต่างชาติซื้อ 3,613.18 ล้านบาท จึงต้องมารีบ update เส้นสายเม็ดเงินให้พ่อแม่พี่น้องชาวเพจกาแฟหุ้น ได้นำไปพิจารณา เพราะหากเส้นสายเม็ดเงินตัดเส้นค่าเฉลี่ย 20 วันสีแดงขึ้นมาได้ นั้นคือสัญญาณแรกที่ต่างชาติส่ง sing ให้พวกเรา ว่า ข้าซื้อจริง ไม่ใช่ซื้อเล่นๆๆๆ นะจ๊ะ [เส้นสีเขียวคือยอดสะสมสุทธิของการซื้อๆขายๆหุ้นในแต่ละวันของต่างชาติ โดยเรานำมา plot เป็นเส้นสาย]

โชคดีในการลงทุนทุกท่าน

กาแฟหุ้น

24/12/2023

ทางเข้ากลุ่มเพื่อทำการบ้านและไม่พลาดข่าวสาร
https://www.facebook.com/groups/3221820881254530

1.หุ้นพื้นฐานดีคืออะไร https://www.facebook.com/Winnerstock99/posts/229875565540620
2.เลือกหุ้นcommodityยังไงให้ได้10เด้ง
https://www.facebook.com/Winnerstock99/posts/231423068719203
3.วิธีดูหุ้นโรงงาน
https://www.facebook.com/Winnerstock99/posts/234892091705634
4.วัดมูลค่าหุ้นด้วยdividend approach
https://www.facebook.com/Winnerstock99/posts/238715307989979
5.อ่านงบยังไง - ต้องอ่านอะไรในงบ
https://www.facebook.com/Winnerstock99/posts/244649447396565
6.SETบวกแต่หุ้นเราไม่บวกต้องทำยังไง
https://www.facebook.com/Winnerstock99/posts/258614522666724
7.วิธีบันทึกการเทรดเชิงพื้นฐาน
https://www.facebook.com/Winnerstock99/posts/267749035086606
8.ทำไมหุ้นรับเหมาถึงมีPEมากกว่าหุ้นอสังหา
https://www.facebook.com/Winnerstock99/posts/288689079659268
9.สิ่งที่เราควรรู้และควรทำก่อนงบออก
https://www.facebook.com/Winnerstock99/posts/298272572034252
10.การเก็บตกการบ้านด้วยcompare AVG Vol5
https://www.facebook.com/Winnerstock99/posts/469650538229787
11.Mindset
https://www.facebook.com/Winnerstock99/posts/502464604948380
12.Business model
https://www.facebook.com/Winnerstock99/posts/503158878212286
13.งบการเงินและการเลือกwinner stock
https://www.facebook.com/Winnerstock99/posts/503775664817274
14.การเลือกหุ้นuptrend
https://www.facebook.com/Winnerstock99/posts/507195971141910
15.Overhead supply
https://www.facebook.com/Winnerstock99/posts/507791187749055
16.อ่านข่าวแทบตายทำไมวิเคราะห์หุ้นไม่ได้
https://bit.ly/3yFeyfT

17.9สัญญาณบอกว่างบโตแต่ดีไม่พอให้หุ้นขึ้น
https://bit.ly/3KapWVl

18.วิธีการmarket direction ด้วย distribution dayและ follow through day
https://bit.ly/3AmOHt6

19.VolumeและFloat
https://bit.ly/3ecxFGm

20.วิธีเลือกหุ้นผู้นำในตลาดหมี
https://bit.ly/3BlcqKx

21.ผีในตลาดหุ้น
https://bit.ly/3kDFHvk

22.วิธีเอาตัวรอดตอนตลาดแย่
https://bit.ly/43nhNok

21/11/2023

FV = PV x (1+r)^t ถ้าเราเข้าใจ เราสามารถนำมาปรับในการวางแผนการเงิน การลงทุนได้ สมการนี้คืออะไร??
มูลค่าของเงินตามเวลา (Time Value of Money) คือ มูลค่าเงินจะเปลี่ยนแปลงไปตามระยะเวลา ซึ่งช่วยให้เราสามารถเปรียบเทียบมูลค่าของเงินในเวลาที่แตกต่างกันได้อย่างเหมาะสม
ซึ่งจะขึ้นกับ 3 ปัจจัย ซึ่งปัจจัยเหล่านี้มาจากสูตรของการคำนวณเงินในอนาคต
FV = PV x(1+r)^t

ตรง ^t หมายถึง ยกกำลัง t นะ
1. เงินต้นที่เรานำไปลงทุน (PV= present value) ซึ่งอาจมาจากเงินที่เราทำงานหาได้มา เงินเก็บ หรือใครมีมรดกตกทอดมาก็จะได้เปรียบตรงเงินต้นที่นำมาลงทุนได้ แต่ยังไงก็ตาม การจะทำให้เงินงอกเงยขึ้นมาได้นั้น ไม่ได้มีเพียงแค่เรื่องของเงินต้นที่ใส่เข้าไปเท่านั้น ยังขึ้นกับอีก 2 ปัจจัยด้วย
2. อัตราผลตอบแทนที่ทำได้ (r= return) เป็นปัจจัยที่สำคัญอีกปัจจัยหนึ่ง เพราะเป็นตัวคูณของเงินต้น ดังนั้นจะเห็นว่า ถ้าจะทำให้เงินงอกเงยได้ ต้องได้อัตราผลตอบแทนที่เป็นบวก และถ้ามากก็จะทำให้เงินงอกเงยได้มากกว่าตัวคูณน้อย
แต่ถ้าผลตอบแทนที่ทำได้เป็นลบ ยิ่งมาก ก็จะยิ่งทำให้เสียหายมากได้ ดังนั้นปัจจัยนี้ก็เป็นปัจจัยที่สำคัญที่จะทำให้เงินงอกเงยได้

ข้อสังเกต ตรงผลตอบแทนที่ทำได้ให้ใส่เป็นลักษณะนี้นะ 5% ต่อปี ก็ใส่เป็น 0.05 ตรงตัว r นะ ถ้าเป็นบวก เมื่อบวกกับตัวเลข 1 ก็จะเป็น 1.05 แต่ถ้าเป็น -2% ก็จะกลายเป็น 0.98 ในวงเล็บนะ
3. จำนวนปี หรือระยะเวลาที่ลงทุน ตัวนี้ถือเป็นสิ่งสำคัญ เพราะจะเห็นว่า เวลานั้นเป็นตัวเลขยกกำลัง เพื่อก่อให้เกิดพลังของดอกเบี้ยทบต้นได้นั่นเอง
จากตัวอย่างแรก ถ้าทำผลตอบแทน ได้เป็นบวก 5% ต่อปี เงินปัจจุบัน 100 บ. จะกลายเป็น 115.76 บ. เมื่อสิ้นปีที่ 3 = 100 x (1+0.05)^3
แต่ถ้าผลตอบแทนติดลบ จากตัวอย่าง กรณีเงินเฟ้อ 2% ต่อปี เมื่อผ่านไป 3 ปี เงินของเราจะมีมูลค่าในอนาคต เท่ากับ 100 x(1-0.02)^3 = 94.11 บ.
เงินที่งอกเงยจากการลงทุนจากการลงทุน ขึ้นกับ เงินต้น ผลตอบแทน และระยะเวลาที่ลงทุน เราสามารถปรับปัจจัยเหล่านี้ให้เหมาะกับแผนการเงิน การยอมรับความผันผวนของเราได้
การคิดมูค่าของเงินตามเวลานั้น ถ้าเราต้องการปรับเงินในอนาคตกลับมาปัจจุบัน ก็สามารถทำได้โดย PV = FV/ [(1+r)^t]
สามารถนำมาประเมินมูลค่าหุ้นจากเงินปันผลได้ โดยคิดเงินปันผลที่ได้รับแต่ละก้อน ปรับมูลค่าของเงินตามเวลา แล้วมาบวกรวมกัน ออกมาเป็นมูลค่าปัจจุบัน
ถ้าในการประเมินมูลค่าหุ้นโดยใช้เงินปันผล แบบที่คิดว่า ไม่มีการเติบโต สามารถประเมิน ได้แบบนี้
ราคาหุ้นที่เหมาะสม = เงินปันผลที่จ่ายต่อปี/ ผลตอบแทนที่เราคาดหวัง
เช่น หุ้นบริษัทมานะจำกัดมหาชน ปันผลที่จ่ายต่อปี 5 บ./หุ้น และเราต้องการผลตอบแทนจากเงินปันผลจากลงทุนในหุ้นนี้ 5% ต่อปี (ซึ่ง 5% ตรงนี้ = 0.05 นั่นเองนะ)
ราคาหุ้นที่เหมาะสม = 5/ 0.05 = 100 บ.ต่อหุ้น
มูลค่าของเงินตามเวลา จึงสามารถนำมาปับใช้ในมีการตัดสินใจการวางแผนการเงิน การลงทุน ดังนั้นเราควรเรียนรู้การเงิน การลงทุน และเริ่มลงทุนตั้งแต่อายุน้อย เพื่อทำให้เงินของเรางอกเงยขึ้นตามเวลา
มาเรียนรู้การเลือกหุ้นด้วยตัวเอง เข้าใจง่าย ใช้ได้จริง
คอร์สที่จัดทำพิเศษสำหรับมือใหม่ลงทุนหุ้น
เรียนจบ สามารถนำไปปรับใช้เลือกหุ้นลงทุนได้ด้วยตนเอง
ลงทะเบียนเรียนกันได้เลย
https://www.skilllane.com/courses/i-investor

#หมอยุ่งอยากมีเวลา #การลงทุน #เงินงอกเงย #ผลตอบแทน #ดอกเบี้ยทบต้น #ความมั่งตั่ง #เริ่มลงทุนตั้งแต่อายุน้อย #มูลค่าของเงินตามเวลา
#เงินเพิ่มตามเวลา #ประเมินมูลค่าหุ้น

21/11/2023

หม้อทอดไร้น้ำมัน, เครื่องอบผ้า, coway มีแต่ของใช้ในบ้าน 😂

https://pantip.com/topic/42350994

21/11/2023

Financial fun: สวัสดีครับ วันนี้เป็นตอนสุดท้ายแล้ว ของ Series "งบกระแสเงินสด" ที่ผมจะมาเล่าเกี่ยวกับการประเมินมูลค่ากิจการด้วยวิธี DCF โดย Series นี้จะแบ่งเป็น 6 ตอน ในเรื่องที่คิดว่าน่าจะเป็นประโยชน์ต่อนักลงทุน ได้แก่
1. ภาพรวมงบกระแสเงินสด กับการเปลี่ยนแปลงของงบดุลและกำไร-ขาดทุน
2. การวิเคราะห์กระแสเงินสดจากการดำเนินงานกับการตกแต่งบัญชี
3. การวิเคราะห์งบลงทุนและจัดประเภท CAPEX
4. การวิเคราะห์กระแสเงินสดอิสระและการจัดหาเงิน
5. พฤติกรรมกระแสเงินสดในแต่ละวงจรธุรกิจ
6. การประเมินมูลค่าด้วย Discounted Cashflow Model
ถ้าท่านใดอยากกลับไปอ่าน 5 ตอนก่อนหน้า สามารถเข้าไปตาม Link ใต้บทความได้เลยครับ
หลังจากที่เราเข้าใจการวิเคราะห์งบกระแสเงินสดทั้งหมดแล้ว วันนี้จะมาเล่าถึงการนำกระแสเงินสดมาประเมินมูลค่า ด้วยการใช้ Discounted Cashflow Model ที่เชื่อว่าหลายคนอาจจะรู้จักอยู่แล้ว โดยเฉพาะนักศึกษาการเงินหรือคนที่ทำงานในแวดวงการเงินน่าจะรู้จักเป็นอย่างดี วันนี้จะลองมาเล่าในมุมมองของผมดูนะครับ จะเป็นอย่างไรลองมาดูกันเลย
เริ่มจากปรับพื้นความรู้กันก่อน...
การคิดลดกระแสเงินสด คืออะไร?
(ถ้าใครเข้าใจอยู่แล้ว สามารถข้ามไปอ่านตรง "เข้าประเด็น" เลยก็ได้ครับ)
"การคิดลดกระแสเงินสด" (Discounted Cashflow) หรือที่เรียกย่อๆว่า DCF เป็นโมเดลทางการเงินที่ใช้ในการประเมินมูลค่ากิจการ ที่ได้รับความนิยมและเป็นที่ยอมรับทางวิชาการมากที่สุด โดย วิธีการทำ DCF นั้นก็เป็นไปตามชื่อ คือ การนำกระแสเงินสดที่กิจการทำได้แต่ละปีมาคิดลดกลับมาเป็นค่าปัจจุบัน
Cashflow ในที่นี้อาจจะแบ่งย่อย Model ได้หลายประเภท เช่น Free Cashflow for Firm, Free Cashflow for Equity หรือ Dividend รวมถึงมีสมมติฐานการเติบโตหลายแบบ ได้แก่ ไม่เติบโต, เติบโตคงที่, เติบโตไม่คงที่(2 Stage) ในบทความนี้จะยึด Free Cashflow for Firm แบบ 2 Stage เป็นหลัก ซึ่งอยู่บนแนวคิดของการมองหน้าที่หลักของกิจการ คือ การทำธุรกิจเพื่อสร้างเงินสดกลับมา ดังนั้น มูลค่ากิจการก็ คือ "ผลรวมของกระแสเงินอิสระในอนาคต"
อย่างไรก็ตามธุรกิจยังมีต้นทุนของเงินทุนที่ต้องจัดหาเงินทั้งผ่านหนี้และทุน ดังนั้น การจะรู้ได้ว่ากระแสเงินสดที่ได้แต่ละปีนั้นมีความคุ้มค่าหรือไม่ จึงควรต้องคิดลดกลับมาเป็นค่าปัจจุบันด้วย "ต้นทุนเงินทุนถัวเฉลี่ย" (Weighted average cost of capital: WACC)
มูลค่ากิจการ = ผลรวมของกระแสเงินสดอิสระ / (1+WACC)^ปี
ซึ่งแนวคิดการทำ DCF แบบ Classic นั้น จะเปรียบเสมือนนักลงทุนซื้อหุ้นเพื่อเป็นเจ้าของกิจการและจะไม่ขายหุ้นออกมาจนถึงระยะอนันต์ อย่างไรก็ตามสามารถแบ่ง Stage ของธุรกิจ โดย พิจารณา Cashflow เป็น 2 ช่วง คือ ช่วงการเติบโตที่สูงและการเติบโตคงที่ในระยะยาว เพื่อหามูลค่าสุดท้ายหลังการเติบโตผ่านไปแล้ว (Terminal Value) ดังนั้น เราสามารถแยกสูตร ได้เป็น
มูลค่ากิจการ = [FCF1/(1 + WAAC)] + [FCF2/(1 +WAAC)^2] + [FCF3/(1 + WAAC)^3] ... + [FCFn*(1+g)/(WACC-g) / (1+WCCC)^n)]
เมื่อได้มูลค่ากิจการแล้ว ก็นำไปลบส่วนหนี้สินเพื่อหามูลค่าของส่วนของผู้ถือหุ้น
มูลค่าส่วนผู้ถือหุ้น = มูลค่ากิจการ - มูลค่าหนี้สิน
ดูสูตรแล้วอาจจะงงๆ เพื่อให้เห็นภาพมากขึ้น ลองมาดูตัวอย่างการคำนวณดีกว่าครับ
ข้อมูลของบริษัท A มี ดังนี้
- คาดการณ์ FCF ในปีหน้า = 100 ล้านบาท
- คาดการณ์ FCF จะเติบโต 10% ต่อเนื่องทุกปีไปอีก 4 ปี
- หลังจากนั้นจะเติบโตคงที่ในอัตรา 3% ต่อปี
- มีต้นทุนเงินทุนถัวเฉลี่ย 8% ต่อปี
- หนี้สิน 1,000 ล้านบาท
- จำนวนหุ้น 200 ล้านหุ้น
คาดการณ์ FCF ในอนาคต 5 ปี ของบริษัท A ดังนี้
FCF ปีที่ 1 = 100 ล้านบาท
FCF ปีที่ 2 = 110 ล้านบาท
FCF ปีที่ 3 = 121 ล้านบาท
FCF ปีที่ 4 = 133 ล้านบาท
FCF ปีที่ 5 = 146 ล้านบาท
คำนวณ DCF ได้เป็น
มูลค่ากิจการ A =
(100/1.08)
+ (110/1.08^2)
+ (121/1.08^3)
+ (133/1.08^4)
+ (146/1.08^5)
+ (146*1.03/(0.08-0.03)/1.08^5) -> Terminal Value
มูลค่ากิจการ A = 93 + 94 + 96 + 98 + 100 + 2,053 = 2,534 ล้านบาท
มูลค่าส่วนผู้ถือหุ้น A = 2,534-1,000 = 1,534 ล้านบาท
ราคาหุ้น A = 1,534 / 200 = 7.67 บาท/หุ้น
ด้วยการพิจารณากระแสเงินสดของบริษัทแบบนี้ ทำให้ DCF นั้นมีข้อดี คือ สามารถประเมินมูลค่าธุรกิจออกมาได้อย่างสัมบูรณ์ หรือพูดง่ายๆว่าคำนวณมูลค่ากิจการได้ด้วยตัวเองโดยไม่ต้องอาศัยเปรียบเทียบกับกิจการอื่นๆ อย่างวิธี P/E หรือ P/BV
"เข้าประเด็น"
จะเห็นได้ว่าการประเมินมูลค่าด้วย DCF นั้นมีข้อดีในหลายแง่มุมทั้งแนวคิดที่ตรงไปตรงมาของการมีอยู่ของกิจการ การใช้กระแสเงินสดซึ่งเป็นเม็ดเงินจริงๆ การเป็นที่ยอมรับทางวิชาการและแวดวงการเงิน การคำนวณได้โดยสมบูรณ์ไม่ต้องเปรียบเทียบ อย่างไรก็ตามการทำ DCF นั้นต้องอาศัยการตั้งสมมติฐานในหลายจุด ทำให้ยังมีปัญหาและข้อจำกัดที่น่าสนใจหลายๆแง่มุมที่ควรพิจารณา เช่น
1. การคำนวณ WACC ที่เหมาะสมควรจะเป็นอย่างไร?
WACC เป็น 1 ในตัวแปรสำคัญที่ส่งผลต่อมูลค่าที่ประเมินได้ ซึ่งเทคนิคการคำนวณของแต่ละคนก็ต่างกัน ได้แก่
- ต้นทุนของหนี้ >> ควรใช้ Rate ปัจจุบัน, Rate อดีต หรือ Rate เป้าหมายของกิจการในอนาคต
- ต้นทุนของส่วนทุน >> ใช้ CAPM, Bond yield+Premium หรือกำหนดตามความต้องการไปเลย หากใช้ CAPM ก็มีปัญหาย่อยๆ เช่น Rf ควรยึด Rate อะไร? Beta ใช้จากสำนักไหน? Rm ใช้ค่าเฉลี่ยตลาดไหนย้อนหลังกี่ปี?
- สัดส่วนหนี้ต่อทุน >> ใช้อัตราคงที่จากปัจจุบัน, อัตราเป้าหมาย หรือ เปลี่ยนไปตามโครงสร้างเงินทุนแต่ละปี
จากตัวอย่างบริษัท A หากคำนวณ WACC ได้เพียง 6% โดย สมมติฐานอื่นๆยังเหมือนเดิม จะคำนวณ DCF ได้ราคาหุ้น A = 16.32 บาท/หุ้น
ดังนั้น WACC ในสมมติฐานของผู้ประเมินแต่ละคนไม่เหมือนกัน ซึ่งแม้จะมีที่มาที่ไป แต่ก็ทำให้ Valuation ออกมาต่างกันได้มาก
2. จำนวนปีในการมองไปข้างหน้าควรจะไกลแค่ไหน?
เรื่องที่สองที่ควรคิด คือ ระยะเวลาในการมองช่วงเติบโตของธุรกิจควรยาวแค่ไหน โดย จำนวนปีในช่วง Stage1 ที่ต่างกันนั้นย่อมส่งผลต่อมูลค่ากิจการที่ต่างกัน
ซึ่งหาก Growth สูงกว่า WACC ยิ่งมีจำนวนปีมากขึ้นบริษัทก็จะยิ่งสร้างมูลค่าได้มากขึ้น ซึ่งคำตอบนี้อาจจะอยู่ที่คุณมองภาพกิจการได้ยาวนานแค่ไหน
จากตัวอย่างบริษัท A หากลองมองกระแสเงินสดใน Stage 1 ยาวออกไปจาก 5->20 ปี โดย FCF ยังเติบโตต่อเนื่อง 10% ต่อปี โดย สมมติฐานอื่นๆยังเหมือนเดิม จะคำนวณ DCF ได้ราคาหุ้น A = 32.86 บาท/หุ้น
ดังนั้น จำนวนปีในสมมติฐานของผู้ประเมินแต่ละคนไม่เหมือนกัน ซึ่งแม้จะมีที่มาที่ไป แต่ก็ทำให้ Valuation ออกมาต่างกันได้มาก
3. การเติบโตในระยะอนันต์ควรเป็นเท่าไร?
จากตัวอย่างบริษัท A จะเห็นได้ว่ามูลค่ากิจการส่วนมากจะไปตกอยู่ที่ Terminal Value ซึ่งมูลค่าตรงนี้เป็นมูลค่าระยะยาวที่กิจการจะดำรงไว้ซึ่งการเติบโตของกระแสเงินสดในอัตราคงที่ ซึ่ง Growth ใน Terminal Value นั้นมักนิยมใช้การเติบโตของ GDP ซึ่งอยู่ที่ 2-5% เนื่องจากหากใช้มากกว่ากิจการจะมี FCF ใหญ่กว่า GDP โลก ซึ่งเป็นไปบ่ได้เด้อ
คำถามที่น่าสนใจ คือ แล้วอัตราการเติบโตของ GDP ควรใช้เท่าไร 2%? 3%? 5%? หรือหากสังเกตตามความเป็นจริงแล้ว ในหลายประเทศที่เข้าสู่สังคมผู้สูงอายุและประชากรลดลงเช่น ญี่ปุ่น GDP อาจจะไม่เติบโต แบบนี้การประเมินหุ้นญี่ปุ่นควรใช้ Growth เป็นบวกหรือลบกันแน่ เป็นปัญหาที่น่าคิด...
ซึ่งหาก WACC ต่ำด้วยแล้วการให้ % การเติบโตต่างกันไม่มากอาจจะทำให้มูลค่าเปลี่ยนแปลงไปมากก็ได้
จากตัวอย่างบริษัท A หากคำนวณ WACC ได้เพียง 6% และให้ Growth ระยะยาวเพิ่มจาก 3% -> 5% โดย สมมติฐานอื่นๆยังเหมือนเดิม จะคำนวณ DCF ได้ราคาหุ้น A = 54.98 บาท/หุ้น (ว้าว!)
ดังนั้น การเติบโตระยะอนันต์ในสมมติฐานของผู้ประเมินแต่ละคนไม่เหมือนกัน ซึ่งแม้จะมีที่มาที่ไป แต่ก็ทำให้ Valuation ออกมาต่างกันได้มาก
4. Terminal Value มีจริงหรือไม่?
จาก วิธีการทำ DCF แบบ Classic ที่มองการถือหุ้นระยะอนันต์ โดย ไม่ขายออกมา ทำให้มูลค่าหุ้นส่วนหนึ่งจะไปตกอยู่ที่ Terminal Value โดย กิจการจะสามารถดำรงกระแสเงินสดให้เติบโตตาม GDP ได้ตลอดไปจริงๆหรือ?
ในความจริงแล้วพฤติกรรม Cashflow จะเปลี่ยนไปตาม Business Life Cycle ซึ่งเป็นธรรมชาติของธุรกิจที่จะต้องมีจุดดับไป (อ่านรายละเอียดได้ในตอนที่ 5) ดังนั้น Terminal Value ที่แท้จริงอาจจะ = "0" หรือไม่ก็อาจจะเป็นมูลค่าคงเหลือจากการขายสินทรัพย์หลังเลิกกิจการ และอาจจะต้องประเมินช่วงที่ FCF ลดลงหรือติบลบด้วย
หากยังยึดมั่นว่าจะถือหุ้นจนถึงจุดดับไปของกิจการ ก็คงต้อง Assumption ตามนี้ ... ซึ่งมันอาจจะซับซ้อนเกินไป นักลงทุนหลายๆคนที่เจอปัญหานี้ จึงกลับมาทบทวนว่าจริงๆแล้วเราอาจจะไม่อยากถือหุ้นตลอดไป แต่อาจจะอยากถือหุ้นเฉพาะช่วงที่ FCF ยังเติบโตเท่านั้น โดย แก้ไขปัญหาด้วยคิด Terminal Value เป็นราคาขายหุ้นออกไป โดย อาจจะใช้ Price/FCF เป็นต้น
จากตัวอย่างบริษัท A หากคำนวณ Terminal Value โดย ใช้ P/FCF ที่ 20 เท่า โดย สมมติฐานอื่นๆยังเหมือนเดิม จะคำนวณ DCF ได้ราคาหุ้น A = 6.63 บาท/หุ้น
ดังนั้น วิธีการคำนวณ Terminal Value ในสมมติฐานของผู้ประเมินแต่ละคนไม่เหมือนกัน ซึ่งแม้จะมีที่มาที่ไป แต่ก็ทำให้ Valuation ออกมาต่างกันได้มาก
5. การประเมิน FCF ในอนาคตออกมาต่างกัน ทำให้มูลค่าหุ้นต่างกันมาก
สุดท้าย น่าจะเป็นปัจจัยที่สำคัญที่สุด คือ หากประเมิน FCF ในอนาคตไม่ถูกต้อง ก็จะทำให้มูลค่าที่แท้จริงของกิจการออกมาต่างกันมาก ซึ่งการจะประเมินได้ถูกต้องหรือไม่นั้น ขึ้นอยู่กับความเข้าใจธุรกิจที่จะช่วยให้การเดาอนาคตของกิจการได้ดีมากขึ้น
จากตัวอย่างบริษัท A หากในปีที่ 5 ต้องมีการลงทุนหนักทำให้กระแสเงินสด -200 ล้านบาท โดย สมมติฐานอื่นๆยังเหมือนเดิม จะคำนวณ DCF ได้ราคาหุ้น A = -17.80 บาท/หุ้น (ติดลบกันไปเลย!)
ดังนั้น หากการประเมิน FCF แต่ละปี ในสมมติฐานของผู้ประเมินแต่ละคนไม่เหมือนกัน ซึ่งแม้จะมีที่มาที่ไป แต่ก็ทำให้ Valuation ออกมาต่างกันได้มาก
นี่เป็นตัวอย่างปัญหาเพียงส่วนหนึ่งเท่านั้น จะเห็นได้ว่าการประเมิน DCF นั้น ต้องอาศัยการตั้งสมมติฐานในหลายส่วนจึงทำให้เกิดปัญหาที่ต้องตัดสินใจเยอะมาก และหากสมมติฐานเปลี่ยนไป Valuation ที่ได้ก็ออกมาแตกต่างกันมากๆอีกด้วย ยิ่งคุณมี Bias กับหุ้นตัวนั้น มันจะเป็นเรื่องง่ายมากที่จะปรับมูลค่าให้เป็นไปตามใจนึก ซึ่งเป็นกับดักสำคัญในการ Valuation
ดังนั้น การทำ DCF แม้ว่าจะเป็นวิธีที่มีข้อดีหลายอย่าง แต่ก็มีข้อควรระวังหลายอย่างเช่นกัน จึงค่อนข้างยากในการนำมาใช้ในการลงทุนจริงๆ การแก้ไขปัญหานี้ โดย นักลงทุนอาจจะทำ DCF ควบคู่ไปกับวิธีการประเมินมูลค่าแบบอื่นๆไปพร้อมๆกันเพื่อเปรียบเทียบความแตกต่าง ที่สำคัญกว่า คือ การศึกษาธุรกิจให้เข้าใจก่อนประเมินมูลค่าเพื่อให้พอคาดเดาอนาคตของกิจการได้
จบแล้วครับกับ เล่าเรื่อง งบกระแสเงินสด ตอนที่ 6 หวังว่าทุกท่านน่าจะได้มุมมองไปใช้ในการพัฒนาการลงทุนนะครับ
ตอนนี้เป็นตอนสุดท้ายแล้วสำหรับ Series เล่าเรื่องงบกระแสเงินสดและทำให้ Series เล่าเรื่องงบการเงินครบทุกบรรทัดที่ผมเขียนมาหลายปี จบควรสมบูรณ์แล้วครับ (เดี๋ยวจะทำรวม Pack ให้นะครับ) ขอบคุณผู้อ่านที่รักทุกคนมากๆนะครับ ที่ติดตามกันมาตลอด และขออภัยที่ไม่ได้เขียนต่อเนื่องเท่าไร บางครั้งก็ดองไว้นาน 555
อย่างที่เคยเล่าว่าความรู้ทางการเงิน เป็นเรื่องที่ค่อนข้าง Evergreen ไม่ได้เปลี่ยนแปลงบ่อยและใช้ได้ตลอด ดังนั้น ต่อๆไปคงมีเรื่องงบการเงินให้เขียนน้อยลงครับ เพราะ เขียนไปหมดแล้ว รู้สึกใจหายเลย ... แต่ผมก็ยังมี Project งานเขียนใหม่ๆของเพจรออยู่ ยังไงฝากติดตามนะครับ ขอบคุณทุกคนที่อ่านมาถึงบรรทัดนี้ ขอให้ทุกคนสนุกกับการลงทุนนะครับ
ทั้งหมดเป็นแค่มุมมองของผมเพียงคนเดียว อาจจะถูกบ้างผิดบ้างนะครับ ใครมีความคิดเห็นอย่างไรสามารถ comment มาคุยกันได้เลยนะครับ : )
Writer: Pocket investor
เล่าเรื่อง “งบกระแสเงินสด” ตอนที่ 1 กระแสเงินสดกับความสัมพันธ์ของงบการเงินทั้ง 3
https://www.facebook.com/pocketinvestor/posts/782437303561326
เล่าเรื่อง “งบกระแสเงินสด” ตอนที่ 2 Operating Cashflow กับการตรวจสอบความผิดปกติของกำไร
https://www.facebook.com/pocketinvestor/posts/789655799506143
เล่าเรื่อง “งบกระแสเงินสด” ตอนที่ 3 Investing Cashflow กับการวิเคราะห์การลงทุนเพื่อสร้างอนาคต?
https://www.facebook.com/pocketinvestor/posts/797052955433094
เล่าเรื่อง “งบกระแสเงินสด” ตอนที่ 4 Financing Cashflow กับการพิจารณาการจัดสรรเงินทุน
https://www.facebook.com/pocketinvestor/posts/811559547315768
เล่าเรื่อง “งบกระแสเงินสด” ตอนที่ 5 Cashflow กับ Business Life Cycle
https://www.facebook.com/pocketinvestor/posts/828891468915909

Photos from สาระสนเทรด's post 16/11/2023
09/11/2023

📌จุดสังเกตเล็กๆของDemand-Supply ว่าStrongหรือWeak
ที่มาX
#สาระสนเทรด

09/11/2023

📌จากคำถามในไลฟ์ Price Actionแบบไหน มีโอกาสสูงในการกลับเทรนมากที่สุด...แต่เพื่อนๆเอาไว้ดูเป็นไกด์ไลน์ล่ะกัน อย่าไปอินมาก
สำหรับผมถ้าจะแข็งแรงจริงๆ ให้มองพวกรูปแบบของแท่งเทียนEngulfing พวกนี้จะชัดครับ
#สาระสนเทรด

05/11/2023

📌แจกไฟล์หนังสือ 'กว่าจะเป็น VI' : รวมบทความการลงทุนจากวีไอชั้นนำของไทย🆓.......................................................................

ภายในเล่มประกอบด้วยบทความอันมีคุณค่าข้ามผ่านกาลเวลา ซึ่งตกผลึก กลั่นกรองด้วยประสบการณ์ทั้งด้านการลงทุนและการใช้ชีวิต จากนักลงทุนไทยที่ประสบความสำเร็จในวิถีทางของตนเอง.......................
🚶ไพบูลย์ เสรีวิวัฒนา
🚶พงศ์ศักดิ์ ธรรมธัชอารี
🚶พรชัย รัตนนนทชัยสุข
🚶อนุรักษ์ บุญแสวง
🚶วิบูลย์ พึงประเสริฐ
🚶วราพรรณ วงศ์สารคาม.......................

ขอขอบคุณผู้มีส่วนเกี่ยวข้องทุกท่านสำหรับองค์ความรู้และการแบ่งปันที่ช่วยพัฒนาสังคมนักลงทุนไทยเสมอ..
ขอให้มีความสุขกับการลงทุนในทุกๆวันนะครับ 🙂.......................

🔗https://drive.google.com/file/d/1fvAfNJnytUuqjasmeyEbne8bBflndOlH/view?fbclid=IwAR2cBvNiC89qGbH3sgWmqokduoCjYcKBXw3v0JsxIObtj4ibLkHK4Zene1w

05/11/2023

ความสำเร็จเกิดขึ้นจากความพยายามเล็กน้อยซ้ำแล้วซ้ำเล่าในทุกวัน : Robert Collier
สั่งซื้อหนังสือการเงิน การลงทุน ของลงทุนศาสตร์ได้ที่
แบบรูปเล่ม: https://bit.ly/BOOK_Investerest
แบบอีบุ๊ก: https://bit.ly/EBOOK_Investerest

05/11/2023

แนวคิดที่ว่า “ผิดทางก็แค่คัทลอส” ชีวิตจริงอาจไม่ง่ายแบบนั้น 🥲
การคัทลอสเป็นกลยุทธ์ที่จำเป็นสำหรับการอยู่รอดของเทรดเดอร์ที่วาง Position Size หนักเกินกว่าจะสามารถลงทุนระยะยาวได้ (บางกลยุทธ์ที่มีการวาง Money Management และ Risk Management อย่างดีแล้วการคัทลอสก็ไม่จำเป็น)
การขาดทุนมหาศาลนั้น เริ่มจากการขาดทุนน้อยๆ เสมอ
การขาดทุน 50% เริ่มด้วยการขาดทุน 2-3% ไป 5% ไป 10%
ถ้าวางแผนการคัทลอส (การตัดขาดทุน) แล้วทำตามแผนได้ตลอดเช่น ตัดขาดทุนที่ -5%
ชีวิตนี้จะไม่มีทางเจอการขาดทุน 50% แน่นอน
อันนี้คือเบสิคแนวคิดเรื่องการขาดทุนที่เทรดเดอร์ทั่วๆ ไปเข้าใจ
แต่ถ้าจะพัฒนาระบบการเทรดของเราให้มีประสิทธิภาพกว่านี้ จะต้องวางระบบให้ลึกกว่านี้
โดยเริ่มจากการตั้งคำถามว่า ต้นทุนการคัทลอสที่ต้องจ่ายนั้น จะหามาจากไหน
ถ้าไม่มีการวางแผนตรงส่วนนี้ ทุกครั้งของการคัทลอสจะทำให้ส่วนของเงินต้นนั้นลดลงเรื่อยๆ แล้วไปวัดดวงที่ Winning Rate ในระยะยาวจะสร้าง Expectancy Rate ให้เป็นบวกได้
ซึ่งการวางกลยุทธ์การเทรดที่มีประสิทธิภาพนั้นคนที่ดวงซวยที่สุดในโลก ก็ควรจะต้องทำกำไรได้
การจะหากระแสเงินสดที่แน่นอน มาช่วย Subsidize ต้นทุนการคัทลอสนี้ เป็นสิ่งที่ต้องคิดถึงและวางแผนก่อนที่จะดำเนินการทำระบบการเทรด ที่ใช้การคัทลอสในการควบคุมความเสี่ยง (ไม่ว่าจะสไตล์ Trend Follow หรือ Swing Trade) และช่วยต่อยอดในการคำนวน Position Size และขีดจำกัดของ Losing Streak ที่ยอมให้เกิดขึ้น ณ ช่วงเวลาหนึ่งได้
การสร้างกระแสเงินสดที่แน่นอน จากสิ่งที่ต้องเกิดขึ้นแน่นอน จากกิจกรรมหลัก (Beta) นำไปเป็นต้นทุนในการคัทลอสของระบบเทรดที่จะช่วยเพิ่มผลตอบแทน (Alpha) คือหัวใจหลักของการทำระบบพอร์ตการลงทุนที่สามารถสร้างกำไรอย่างยั่งยืน
พอกันทีกับการเทรดถูกทางได้เงินเทรดผิดทางเสียเงิน
เริ่มต้นแนวคิด การเทรดถูกทางได้เงิน ถ้าเทรดผิดทางต้องรอ
🏦สร้าง Cashflow จากการเทรดที่เป็นระบบ เพื่อสร้างกระแสเงินสดได้ไม่ต่างจากการทำธุรกิจจริง
🏦สร้าง Cashflow จากสิ่งที่จะต้องเกิดขึ้นแน่ ๆ ในตลาด ไม่ใช่สิ่งที่คาดว่าจะเกิดขึ้น
🏦สร้าง Cashflow เพื่อที่จะหา Free Alpha ในอนาคต
มาสร้างพอร์ตอมตะ ที่สร้างกระแสเงินสดได้ทุกสภาพตลาดกันเถอะ 🌟

ต้องการให้ธุรกิจของคุณ บุคคลสาธารณะ ขึ้นเป็นอันดับหนึ่ง บุคคลสาธารณะ ใน Ubon Ratchathani?
คลิกที่นี่เพื่อเป็นสมาชิก?

ประเภท

เว็บไซต์

ที่อยู่

Ubon Ratchathani
34000

นักเขียน อื่นๆใน Ubon Ratchathani (แสดงผลทั้งหมด)
Trick_Relationship Trick_Relationship
Ubon Ratchathani, 34000

Up ตัวเองให้มีเสนห์ มีความมั่นใจ เป็?

NAHEE NAHEE
ท้ายอนามัย
Ubon Ratchathani, 34340

ล่อสี้ ล่อสี้
Ubon Ratchathani

แคปชั่นคำคม

โสดสตอรี่ โสดสตอรี่
Ubon Ratchathani

รวบรวมเรื่องราวคนโสด และแคปชั่นอารมณ์ดี

B.Y.S B.Y.S
Ubon Ratchathani, 34000

จำหน่ายสินค้าเพื่อสุขภาพและความงา?

ก.ไผ่ Bamboo Design ก.ไผ่ Bamboo Design
อุบล-ศรีสะเกษ
Ubon Ratchathani, 34310

ก.ไผ่ BAMBOO DESIGN รับงานออกแบบและเขียนแบบงานภายในและภายนอกงานออกแบบงานไม้ไผ่และจำหน่าย

เว้าสู่ฟัง เว้าสู่ฟัง
สุขาสงเคราะห์ 6
Ubon Ratchathani, 34000

ดูหนังอย่าให้หนังดูเรา

BeeQueer BeeQueer
Ubon Ratchathani

เรื่องสั้นและบทความเขียนโดยBeeQueer

อ.ธีร์888 เพจใหม่ อ.ธีร์888 เพจใหม่
Ubon Ratchathani, 34190

✅รู้จักแล้วจะรักเอง ✅

Saya_San Saya_San
Ubon Ratchathani, 34130

Webtoon :: รักสุดปลายฟ้า / คำมั่นสัญญากลางฤดูร้อน

D.flawless D.flawless
Ubon Ratchathani