ประกันสุขภาพต่างชาติพัทยา

ประกันสุขภาพต่างชาติพัทยา

เพจให้ความรู้เกี่ยวกับประกันสุขภา?

Photos from ประกันสุขภาพต่างชาติพัทยา's post 03/08/2023

😊Beneficial information
Health insurance is available to foreigners residing in Thailand. with the following prerequisites:

📌Have a residency visa in Thailand

📌In case of working for a company in Thailand , work permit is required

📌In case of retirement and moving in Thailand, passport with stamp temporary stay O/O-A or O-X is required

📌In case of marrying a Thai national or having a child with a Thai national, a marriage certificate or child birth certificate is required

🥰If you are interested, please contact:
Mathawat Asawamonwit (Tar)
☎️Mobile 097-195-1642
Line ID : smarttang
📧Email : [email protected]
Inbox: m.me/InsuranceOPD
insurance for outpatient OPD
Thai health insurance, life insurance
of Muang Thai Life Assurance
to get health insurance

EP 45 | สิ่งที่เราสูญเสียมากกว่าเงินทอง เมื่อใช้ชีวิตติดหรู 28/11/2022

สิ่งที่เราสูญเสียมากกว่าเงินทอง เมื่อใช้ชีวิตติดหรู

CR: กวี ชูกิจเกษม

EP 45 | สิ่งที่เราสูญเสียมากกว่าเงินทอง เมื่อใช้ชีวิตติดหรู มีสาเหตุมากมายที่ทำให้เราไม่มีอิสรภาพทางการเงินหรือไม่หลุดพ้นจากการใช้ชีวิตเดือนชนเดือน แม้รู้ว่าคือ.....

24/11/2022

วันก่อนมีเพื่อนๆ Inbox มาถามเรื่องอัตราส่วนทางการเงิน
วันนี้แอดเลยสรุปอัตราส่วนทางการเงินสำหรับมือใหม่มาให้นะฮะ
แบ่งเป็น 4 เรื่องฮะ

1. ว่าด้วยเรื่องกำไร
2. ว่าด้วยเรื่องความมั่นคงของหุ้น
3. ว่าด้วยเรื่องความถูกแพง
4. ว่าด้วยเรื่องปันผล

ดู 4 เรื่องนี้น่าจะทำให้ได้หุ้นคุณภาพดี ราคาถูก แถมมั่นคงด้วย
แอดสรุปวิธีการใช้ไว้ให้ด้วยนะครับ อันไหนสูงดี อันไหนตำ่ดี เอาไปใช้กับเว็บ SET หรือดูงบการเงินได้เลยฮะ

Photos from ประกันสุขภาพต่างชาติพัทยา's post 11/11/2022

#ประกันสุขภาพผู้ป่วยนอกOPD
- เคยกังวลไหม? กับค่ารักษาพยาบาลที่เกิดขึ้นกะทันหัน
- ถ้าเงินไม่พอจะทำอย่างไรนะ?
- ถ้ามีคนช่วยจ่ายก็คงดี
- เพราะเราไม่รู้ว่าเมื่อไรจะป่วย เราจึงไม่ได้เตรียมเงินฉุกเฉิน
- ทางเลือกใหม่ ที่ป้องกันปํญหา
ด้วยบริการ OPD Cashless
- สะดวก ไม่ต้องสำรองจ่าย เมื่อเข้ารับการรักษาในฐานะผู้ป่วยนอก (OPD)
- เพียงยื่นบัตรประจำตัวประชาชนและบัตรประกันสุขภาพเพื่อรับสิทธิ์ความ
คุ้มครองตามเงื่อนไขที่กรมธรรม์กำหนด
- สัญญาและผลประโยชน์ที่สามารถใช้บริการ OPD Cashless ได้
- สัญญาเพิ่มเติม การรักษาพยาบาลผู้ป่วยนอก (OPD)
- เงื่อนไขความคุ้มครองเป็นไปตามที่ระบุไว้ในกรมธรรม์
สนใจสอบถามข้อมูลได้ที่ :
เมธวัจน์ อัศวกมลวิทย์ (ต้าร์)
มือถือ 097-195-1642
Line ID : smarttar
Email : [email protected]
Inbox : m.me/InsuranceOPD
#ประกันสุขภาพผู้ป่วยนอกOPD
#ประกันสุขภาพเมืองไทยประกันชีวิต
#ตัวแทนเมืองไทยประกันชีวิต
#อยากทำประกันสุขภาพ

02/10/2022

📌ต่อมหมวกไต สำคัญไฉน ดูแลอย่างไรดี ?

ต่อมหมวกไตเป็นอวัยวะสำคัญอย่างหนึ่ง ทำหน้าที่หลั่งฮอร์โมนหลายชนิด ทั้งฮอร์โมนที่เกี่ยวข้องกับการควบคุมความดันโลหิตและระดับโซเดียมในเลือด รวมถึงฮอร์โมนเพศด้วย หากต่อมหมวกไตไม่แข็งแรงจะส่งผลอย่างไรต่อร่างกาย และจะทำอย่างไรเพื่อรักษาสุขภาพของต่อมหมวกไตให้แข็งแรงดี ศึกษาได้จากข้อมูลต่อไปนี้

📌ทำความรู้จักกับต่อมหมวกไต

ต่อมหมวกไตเป็นต่อมขนาดเล็กที่มีลักษณะคล้ายหมวกทรงสามเหลี่ยม ตั้งอยู่ที่ด้านบนของไตทั้ง 2 ข้าง ซึ่งต่อมหมวกไตแต่ละข้างแบ่งออกเป็น 2 ส่วน และแต่ละส่วนทำหน้าที่ผลิตฮอร์โมนแตกต่างกันไป ดังนี้

📌ต่อมหมวกไตส่วนนอก ทำหน้าที่ผลิตฮอร์โมนคอร์ติซอล (Cortisol) ที่ตอบสนองเมื่อร่างกายเข้าสู่ภาวะเครียดหรือภาวะฉุกเฉิน โดยช่วยควบคุมการทำงานของระบบเผาผลาญในร่างกาย ระดับน้ำตาลในเลือด รวมถึงระดับความดันโลหิต และผลิตฮอร์โมนอัลดอสเตอโรน (Aldosterone) ที่ช่วยควบคุมระดับความดันโลหิตด้วยการสร้างสมดุลของโพแทสเซียมและโซเดียมในร่างกาย

📌ต่อมหมวกไตส่วนใน ทำหน้าที่ผลิตฮอร์โมนอะดรีนาลีน (Adrenaline) ที่ช่วยกระตุ้นให้หัวใจทำงานหนักขึ้น ทำให้เลือดไหลเวียนได้ดีขึ้น ช่วยให้ร่างกายตื่นตัวตลอดเวลาเพื่อให้พร้อมรับมือสถานการณ์ฉุกเฉิน และเป็นสารสื่อประสาทด้วยเช่นกัน และยังผลิตฮอร์โมนนอร์อะดรีนาลีน (Noradrenaline) ที่มีหน้าที่คล้ายอะดรีนาลีน แต่นอร์อะดรีนาลีนสามารถทำให้หลอดเลือดหดตัวซึ่งส่งผลให้ความดันโลหิตสูงขึ้นได้

📌ปัญหาสุขภาพเกี่ยวกับต่อมหมวกไต

การทำงานของต่อมหมวกไตนั้นถูกควบคุมโดยต่อมใต้สมองและบางส่วนของต่อมไร้ท่อ หากต่อมใต้สมองไม่สามารถควบคุมการผลิตฮอร์โมนของต่อมหมวกไตได้ หรือมีเนื้องอกทั้งที่เป็นมะเร็งและไม่เป็นมะเร็งเกิดขึ้นที่ต่อมหมวกไต รวมทั้งเกิดการติดเชื้อที่ต่อมหมวกไต อาจส่งผลให้เกิดปัญหาสุขภาพที่เกี่ยวข้องกับต่อมหมวกไตได้ เช่น
- เนื้องอก ทั้งเนื้องอกแบบธรรมดา เนื้องอกที่เป็นเนื้อร้าย และเนื้องอกชนิดฟีโอโครโมไซโตมาที่จะส่งผลให้ร่างกายผลิตฮอร์โมนออกมามากเกินไป ซึ่งอาจทำให้ระดับความดันโลหิตเพิ่มสูงขึ้นได้
- ปัญหาของต่อมไร้ท่อ อาจเกิดขึ้นที่ต่อมหมวกไต หรือบริเวณอวัยวะอื่น ๆ อย่างต่อมไร้ท่อ ซึ่งอาจทำให้ต่อมหมวกไตทำงานมากหรือน้อยเกินไป จนส่งผลให้การผลิตฮอร์โมนในร่างกายขาดสมดุลและทำให้เกิดการเจ็บป่วยต่าง ๆ ตามมา
- ปัญหาในการผลิตฮอร์โมน อาจเป็นโรคแอดิสันที่เกิดขึ้นเมื่อต่อมหมวกไตไม่สามารถผลิตฮอร์โมนคอร์ติซอลหรืออัลดอสเตอโรนได้เพียงพอ ร่างกายจึงมีการทำลายเนื้อเยื่อต่อมหมวกไต ซึ่งเป็นโรคที่เกี่ยวกับระบบภูมิคุ้มกันที่พบได้ยาก หรืออาจเผชิญกลุ่มอาการคุชชิงที่เกิดขึ้นเมื่อต่อมหมวกไตผลิตฮอร์โมนคอร์ติซอลออกมามากเกินความจำเป็น นอกจากนี้ อาจเกิดจากโรคทางพันธุกรรมที่ชื่อว่า Congenital Adrenal Hyperplasia หรือ CAH ที่ส่งผลให้ต่อมหมวกไตผลิตฮอร์โมนผิดปกติ และอาจส่งผลต่อพัฒนาการของอวัยวะเพศชาย

📌การดูแลสุขภาพของต่อมหมวกไต

📌บริโภคอาหารที่ดี

สำหรับผู้ที่ต้องการเสริมสร้างสุขภาพของต่อมหมวกไต แพทย์จะแนะนำให้รับประทานอาหารที่มีสารอาหารครบถ้วน ให้ได้ปริมาณสารอาหารตามที่ร่างกายต้องการ ซึ่งมีโปรตีนในปริมาณที่พอเหมาะ มีไขมันชนิดที่ดี มีคาร์โบไฮเดรต และอาหารจำพวกผลไม้ เพื่อให้ร่างกายได้รับวิตามินและเกลือแร่ที่จำเป็น เช่น วิตามินซี วิตามินบี โดยเฉพาะวิตามินบี 5 และวิตามินบี 6 รวมถึงแมงกานีสที่จะช่วยส่งเสริมการทำงานของต่อมหมวกไต เป็นต้น

📌หลีกเลี่ยงอาหารที่เสี่ยง

ควรหลีกเลี่ยงการรับประทานอาหารและเครื่องดื่มที่มีส่วนผสมของน้ำตาลทรายขาว น้ำตาลเทียม เครื่องดื่มที่มีแอลกอฮอล์ โซดา หรือคาเฟอีน อาหารที่มีส่วนประกอบของไขมันชนิดที่ไม่ดี อาหารทอด อาหารแปรรูป และอาหารจานด่วน โดยทำควบคู่ไปกับการควบคุมระดับน้ำตาลในเลือด

📌ไปพบแพทย์เมื่อพบสัญญาณอันตราย

ควรไปพบแพทย์หากพบอาการที่บ่งบอกว่าต่อมหมวกไตมีปัญหาอย่างต่อเนื่อง เช่น วิงเวียนศีรษะเหนื่อยล้าอย่างมาก เหงื่อออกมากผิดปกติ คลื่นไส้ อาเจียน อยากรับประทานอาหารที่มีรสเค็ม ระดับน้ำตาลในเลือดต่ำ ความดันโลหิตต่ำ ประจำเดือนมาไม่ปกติ มีปื้นสีดำขึ้นตามผิวหนัง ปวดกล้ามเนื้อหรือปวดกระดูก น้ำหนักเพิ่มขึ้นหรือลดลง เป็นต้น
📌ข้อมูลจาก
POPPAD
📌สนใจสอบถามข้อมูลได้ที่ :
เมธวัจน์ อัศวกมลวิทย์ (ต้าร์)
มือถือ 097-195-1642
Line ID : smarttar
Email : [email protected]
Inbox : m.me/InsuranceOPD
#ประกันสุขภาพผู้ป่วยนอกOPD
#ประกันสุขภาพเมืองไทยประกันชีวิต
#ตัวแทนเมืองไทยประกันชีวิต
#อยากทำประกันสุขภาพ

24/09/2022

🩺โรคเบาหวาน (Diabetes Mellitus: DM)

โรคเบาหวาน (Diabetes Mellitus: DM) เป็นภาวะที่ร่างกายมีน้ำตาลในเลือดสูงกว่าปกติ เนื่องจากการขาดฮอร์โมนอินซูลิน (Insulin) หรือการดื้อต่อฮอร์โมนอินซูลิน ส่งผลให้กระบวนการดูดซึมน้ำตาลในเลือดให้เป็นพลังงานของเซลล์ในร่างกายมีความผิดปกติหรือทำงานได้ไม่เต็มประสิทธิภาพ จนเกิดน้ำตาลสะสมในเลือดปริมาณมาก หากปล่อยให้ร่างกายอยู่ในสภาวะนี้เป็นเวลานานจะทำให้อวัยวะต่าง ๆ เสื่อม เกิดโรคและอาการแทรกซ้อนขึ้น

จากข้อมูลของสหพันธ์เบาหวานนานาชาติ (International Diabetes Federation: IDF) พบผู้ป่วยโรคเบาหวานทั่วโลกราว 425 ล้านคนในปี 2560 และคาดการณ์ว่าจะมีจำนวนผู้ป่วยด้วยโรคนี้มากถึง 629 ล้านคนในปี 2588 สำหรับสถานการณ์โรคเบาหวานในประเทศไทยพบว่า คนไทยช่วงอายุ 20-79 ปี เป็นโรคเบาหวานร้อยละ 8.3 หรือหมายความว่าใน 100 คน จะพบคนที่ป่วยเป็นโรคเบาหวานประมาณ 8 คน และจำนวนมากกว่าครึ่งไม่ทราบว่าตนเองเป็นโรคเบาหวาน สถิติการพบผู้ป่วยด้วยโรคนี้ยังมีจำนวนมากขึ้นเรื่อย ๆ จนทำให้ต้องมีการรณรงค์อย่างต่อเนื่องถึงภัยร้ายของโรค เพราะเป็นโรคเรื้อรังที่รักษาไม่หายขาด มีโอกาสเสี่ยงต่อโรคแทรกซ้อนลุกลามใหญ่โตจนต้องสูญเสียอวัยวะที่สำคัญของร่างกาย ทางสหพันธ์เบาหวานนานาชาติ และองค์การอนามัยโลก (WHO) จึงได้กำหนดให้วันที่ 14 พฤศจิกายนของทุกปีเป็นวันเบาหวานโลก เพื่อให้ตระหนักถึงความสำคัญของโรคนี้

ในปัจจุบัน ประเทศไทยยึดหลักเกณฑ์ตามสมาคมเบาหวานแห่งประเทศสหรัฐอเมริกาในการจำแนกผู้ป่วยโรคเบาหวานด้วยการตรวจปริมาณน้ำตาลในเลือด หากผลการตรวจหลังงดอาหารและเครื่องดื่มมีน้ำตาลอยู่กระแสเลือดไม่เกิน 100 มิลลิกรัมต่อเดซิลิตร แสดงว่าระดับน้ำตาลในเลือดปกติ ทั้งนี้ระดับน้ำตาลในเลือดยังบ่งบอกถึงภาวะเสี่ยงต่อการเป็นเบาหวานได้ด้วย (Prediabetes) ซึ่งผู้ที่อยู่ในกลุ่มเสี่ยงต่อภาวะเป็นเบาหวานสามารถพัฒนาการเกิดโรคเบาหวานประเภทที่ 2 (เบาหวานที่เกิดจากการที่ตับอ่อนผลิตฮอร์โมนอินซูลินได้ไม่เพียงพอต่อการใช้) โรคหัวใจ และโรคหลอดเลือดในสมองในอนาคตได้ง่ายขึ้น

🩺อาการของโรคเบาหวาน

โรคเบาหวานในระยะแรกจะไม่แสดงอาการผิดปกติ บางรายอาจตรวจพบโรคเบาหวานเมื่อพบภาวะแทรกซ้อนขึ้นแล้ว อาการของโรคเบาหวานแต่ละชนิดอาจมีความคล้ายกัน ซึ่งอาการที่พบส่วนใหญ่ คือ กระหายน้ำมาก ปากแห้ง ปัสสาวะบ่อย หิวบ่อย น้ำหนักลดหรือเพิ่มผิดปกติ สายตาพร่ามัว เห็นภาพไม่ชัด รู้สึกเหนื่อยง่าย มีอาการชาโดยเฉพาะมือและขา บาดแผลหายยาก เป็นต้น ทั้งนี้ อาการของโรคเบาหวานประเภทที่ 1 จะเกิดขึ้นอย่างรวดเร็ว ในขณะที่โรคเบาหวานประเภทที่ 2 จะแสดงอาการแบบค่อยเป็นค่อยไป ส่วนโรคเบาหวานขณะตั้งครรภ์มักเกิดขึ้นในช่วงอายุครรภ์ประมาณ 24-28 สัปดาห์

🩺สาเหตุของโรคเบาหวาน

โรคเบาหวานมีหลายประเภท สามารถแบ่งออกได้เป็น 3 ประเภท คือ เบาหวานประเภทที่ 1 (Type 1 Diabetes) เกิดจากตับอ่อนไม่สามารถผลิตฮอร์โมนอินซูลินได้ เบาหวานประเภทที่ 2 (Type 2 Diabetes) เกิดจากการที่ตับอ่อนผลิตฮอร์โมนอินซูลินได้ไม่เพียงพอต่อการใช้ หรือเกิดภาวะการดื้ออินซูลิน (Insulin Resistance) และเบาหวานขณะตั้งครรภ์ (Gestational Diabetes) ซึ่งเป็นโรคเบาหวานที่พัฒนาขึ้นระหว่างการตั้งครรภ์จากการเปลี่ยนแปลงฮอร์โมน โดยที่ผู้ป่วยไม่เคยเป็นโรคเบาหวานมาก่อน

นอกจากโรคเบาหวานทั้ง 3 ประเภทแล้วยังมีโรคเบาหวานที่พบได้ไม่บ่อยอย่างโรคเบาหวานที่เกิดจากกรรมพันธุ์หรือแบบโมโนเจนิก (Monogenic Diabetes) อีกทั้งยังมีโรคเบาหวานจากสาเหตุอื่น ๆ เช่น การใช้ยา หรือเกิดจากโรคชนิดอื่นอย่างโรคซิสติก ไฟโบรซิส (Cystic Fibrosis) ด้วย

🩺การวินิจฉัยโรคเบาหวาน

แพทย์จะสอบถามอาการผู้ป่วย ประวัติการเจ็บป่วยของผู้ป่วยและของบุคคลในครอบครัว และการตรวจร่างกาย และที่สำคัญต้องอาศัยการตรวจเลือด เพื่อดูระดับน้ำตาลในเลือดเป็นหลัก โดยมีวิธีการวิเคราะห์ระดับน้ำตาลในเลือดหลายวิธี ได้แก่

- การตรวจระดับน้ำตาลในเลือดเวลาใดก็ได้ (Random/Casual Plasma Glucose Test)

- การตรวจระดับน้ำตาลในเลือดหลังอดอาหารอย่างน้อย 8 ชั่วโมง (Fasting Plasma Glucose: FPG)

- การตรวจน้ำตาลเฉลี่ยสะสม หรือฮีโมโกลบิน เอ วัน ซี (Hemoglobin A1c: HbA1c)

- การทดสอบการตอบสนองของฮอร์โมนอินซูลินต่อระดับน้ำตาลในเลือด (Oral Glucose Tolerance Test: OGTT)

หากผู้ป่วยไม่มีอาการของโรคเบาหวานชัดเจน คือ หิวน้ำมาก ปัสสาวะบ่อยและมาก น้ำหนักตัวลดลง โดยที่ไม่มีสาเหตุ การตรวจด้วยวิธีทั้งหมดข้างต้นจำเป็นต้องมีการตรวจซ้ำอย่างน้อย 1 ครั้งด้วยวิธีใดวิธีหนึ่งอีกครั้งหนึ่งเพื่อยืนยันผลการวินิจฉัย

🩺การรักษาโรคเบาหวาน

การรักษาผู้ป่วยเบาหวานในประเภทที่ 1 จำเป็นต้องได้รับฮอร์โมนอินซูลินเข้าไปทดแทนในร่างกายด้วยการฉีดยาเป็นหลัก ควบคู่ไปกับการคุมอาหารและออกกำลังกายที่เหมาะสม ในขณะที่โรคเบาหวานประเภทที่ 2 หากเป็นในระยะแรก ๆ สามารถรักษาได้ด้วยการรับประทานอาหารที่เหมาะสม การออกกำลัง และควบคุมน้ำหนัก หากอาการไม่ดีขึ้น แพทย์อาจให้ยาควบคู่ไปด้วยหรือฉีดอินซูลินเข้าไปทดแทนเช่นเดียวกับโรคเบาหวานชนิดที่ 1

สำหรับผู้เป็นโรคเบาหวานขณะตั้งครรภ์ ควรเข้าฝากครรภ์กับแพทย์ตั้งแต่ในระยะแรก พร้อมทั้งควบคุมอาหารที่รับประทานและออกกำลังกายตามคำแนะนำของแพทย์

นอกจากนี้ ในกรณีที่ผู้ป่วยเกิดแผลเบาหวานขึ้นที่เท้า แพทย์อาจให้ผู้ป่วยใส่อุปกรณ์ป้องกันแผล เช่น รองเท้าสำหรับผู้ป่วยเบาหวาน เฝือก หรือผ้าพันแผล เป็นต้น หากแผลเริ่มมีลักษณะรุนแรงขึ้น แพทย์อาจวางแผนการรักษาตามเหมาะสมขึ้นอยู่กับระดับความรุนแรงของแผลเบาหวานที่เป็น ทั้งนี้ หากรักษาแล้วอาการไม่ดีขึ้นแพทย์อาจต้องตัดอวัยวะทิ้งเพื่อป้องกันอาการลุกลาม

🩺ภาวะแทรกซ้อนของโรคเบาหวาน

โรคเบาหวานเป็นโรคที่ส่งผลให้ผู้ป่วยมีระดับน้ำตาลในเลือดสูงมากกว่าปกติ หากไม่มีการควบคุมในเรื่องของการรับประทานอาหารและดูแลรักษาสุขภาพอย่างถูกวิธี ปล่อยให้ระดับน้ำตาลในเลือดสูงขึ้นเป็นเวลานาน จะส่งผลต่อเส้นเลือดที่นำสารอาหารไปเลี้ยงอวัยวะในร่างกายจนนำไปสู่ภาวะแทรกซ้อนต่าง ๆ ทั้งโรคแทรกซ้อนชนิดที่เกิดกับเส้นเลือดขนาดเล็ก เช่น เบาหวานขึ้นตา โรคไต เป็นต้น หรือโรคแทรกซ้อนชนิดที่เกิดกับเส้นเลือดขนาดใหญ่ เช่น โรคหัวใจ โรคหลอดเลือดสมอง โรคเส้นเลือดแดงส่วนปลายอุดตัน เป็นต้น รวมไปถึงโรคแทรกซ้อนที่ระบบประสาทและที่สามารถทำให้ผู้ป่วยต้องสูญเสียอวัยะบางส่วน นอกจากนี้สตรีมีครรภ์ที่เป็นโรคเบาหวานจะเพิ่มความเสี่ยงต่อภาวะครรภ์เป็นพิษ การแท้งบุตรได้

🩺การป้องกันโรคเบาหวาน

สิ่งสำคัญของการป้องกันโรคเบาหวานทุกชนิด คือ ต้องคอยหมั่นระวังระดับน้ำตาลในเลือดและคอเลสเตอรอลให้อยู่เกณฑ์ปกติ เน้นการรับประทานอาหารที่มีประโยชน์และสารอาหารครบถ้วน มีกากใยสูง หลีกเลี่ยงการดื่มแอลกอฮอล์ และการสูบบุหรี่ รวมถึงการออกกำลังกายอย่างสม่ำเสมอ หากเป็นสตรีมีครรภ์ควรเข้ารับการฝากครรภ์ตั้งแต่เนิ่น ๆ พบแพทย์ตามนัดอย่างสม่ำเสมอ และได้รับการตรวจคัดกรองเบาหวานหากมีความเสี่ยง เพื่อสามารถตรวจพบโรคเบาหวานได้ในระหว่างการตั้งครรภ์

📌ข้อมูลจาก
POPPAD
📌สนใจสอบถามข้อมูลได้ที่ :
เมธวัจน์ อัศวกมลวิทย์ (ต้าร์)
มือถือ 097-195-1642
Line ID : smarttar
Email : [email protected]
Inbox : m.me/InsuranceOPD
#ประกันสุขภาพผู้ป่วยนอกOPD
#ประกันสุขภาพเมืองไทยประกันชีวิต
#ตัวแทนเมืองไทยประกันชีวิต
#อยากทำประกันสุขภาพ

Photos from ประกันสุขภาพต่างชาติพัทยา's post 18/09/2022

💪อยากกล้ามใหญ่ ไม่กินเวย์โปรตีน แล้วต้องกินอะไร?

เมื่อพูดถึงคนออกกำลังกายในปัจจุบัน ดูเหมือนว่าจะมีเป้าหมายอยู่ 2 ประเภทใหญ่ ๆ กลุ่มแรกออกกำลังกายเพื่อลดน้ำหนัก ส่วนอีกกลุ่มหนึ่งนั้น คือคนที่ออกกำลังกายเพื่อสร้างกล้ามเนื้อ โดยในคนที่ต้องการสร้างกล้ามเนื้อมักจะพิถีพิถันในการกินอาหารเป็นพิเศษเพื่อให้มีซิกแพค โดยเน้นกินอาหารประเภทโปรตีนไขมันต่ำ และที่ได้รับความนิยมสูงก็คือ เวย์โปรตีนสำเร็จรูป แต่นอกจากเวย์โปรตีนแล้วก็ยังมีอาหารทางเลือกอื่น ๆ อย่างเช่น ไข่ขาวและอกไก่ ที่ให้โปรตีนไม่แพ้กัน และยังเหมาะสำหรับผู้ที่ต้องการสร้างกล้ามเนื้ออีกด้วย

💪คนทั่วไปกับคนออกกำลังกายเพื่อสร้างกล้ามเนื้อต้องการโปรตีนต่างกัน
คนที่ต้องการสร้างกล้ามเนื้อ จะต้องไม่มีไขมัน และการออกกำลังกายจะต้องไม่ทำทุกวัน เพราะการออกกำลังกายทุกวันจะทำให้กล้ามเนื้อบาดเจ็บ ดังนั้นต้องพักเพื่อให้กล้ามเนื้อมีการซ่อมแซมเกิดขึ้นและมีขนาดโตขึ้น นอกจากนี้ยังต้องกินอาหารประเภทโปรตีนเพื่อเสริมสร้างกล้ามเนื้อร่วมด้วย

📌ในคนทั่วไปต้องการโปรตีน 0.8-1 กรัม/น้ำหนักตัว 1 กิโลกรัม/วัน

📌ในคนที่ต้องการสร้างกล้ามเนื้อต้องการโปรตีน 2-3 กรัม/น้ำหนักตัว 1 กิโลกรัม/วัน (มากกว่าคนทั่วไป 2-3 เท่า)

ยกตัวอย่างการรับประทานอาหารในคนที่มีน้ำหนักตัว 70 กิโลกรัม หากเป็นคนทั่วไปจะต้องได้รับโปรตีน 70 กรัม/วัน แต่ถ้าเป็นคนที่ต้องการสร้างกล้ามเนื้อจะต้องได้รับโปรตีน 140-200 กรัม/วัน ส่วนใหญ่คนกลุ่มนี้จะกินอาหารประเภทโปรตีนอยู่ที่ 150-200 กรัม/วัน รวมทั้งมักจะเลือกอาหารที่มีไขมันต่ำและ เกลือหรือโซเดียมต่ำด้วย เพราะเกลือจะทำให้บวมและมองไม่เห็นซิกแพค ดังนั้นอาหารประเภทโปรตีนที่เลือกจะต้องเป็นโปรตีนไขมันต่ำ และเมื่อปรุงรสจะต้องไม่ปรุงเกลือ หรือใส่ในปริมาณน้อย

💪อาหารโปรตีนไขมันต่ำ ทางเลือกของคนอยากกล้ามใหญ่

💪เนื้ออกไก่สด

📌เนื้ออกไก่สดหนัก 40 กรัม ให้โปรตีน 7 กรัม (เมื่อต้มหรือนึ่งเหลือน้ำหนัก 30 กรัม)

ดังนั้น สำหรับคนที่มีน้ำหนักตัว 70 กิโลกรัม จะต้องรับประทานเนื้ออกไก่สดประมาณ 400 กรัม/วัน (เมื่อต้มหรือนึ่งเหลือน้ำหนัก 300 กรัม) จึงจะได้รับโปรตีน 70 กรัม/วัน ตามที่ร่างกายต้องการ

และเพิ่มปริมาณ 2-3 เท่าในคนที่ต้องการสร้างกล้ามเนื้อ ทำให้คนที่ต้องการสร้างกล้ามเนื้อต้องกินเนื้ออกไก่สดในปริมาณมากประมาณ 1 กิโลกรัม/วัน จึงจะครบตามที่ร่างกายต้องการ ทำให้คนกลุ่มที่ออกกำลังกายเพื่อสร้างกล้ามเนื้อ นิยมนำเนื้อไก่ต้มหรือนึ่งไปปั่นเพื่อดื่ม แต่ด้วยรสชาติที่ค่อนข้างจืด ทำให้ดื่มยากและต้องปรุงรสเล็กน้อยด้วยเกลือ เพื่อให้รับประทานได้ง่ายขึ้น

💪 ไข่ขาว

📌ไข่ไก่ 1 ฟอง ให้โปรตีน 7 กรัม เทียบเท่ากับเนื้ออกไก่สด 40 กรัม ถ้าใช้เฉพาะไข่ขาว 1 ฟองจะได้โปรตีน 4 กรัม

ดังนั้น สำหรับคนที่มีน้ำหนักตัว 70 กิโลกรัม จึงต้องรับประทานไข่ทั้งฟอง วันละ 10 ฟอง (หรือไข่ขาว 18 ฟอง) จึงจะได้รับโปรตีน 70 กรัมตามที่ร่างกายต้องการ

แต่ในคนที่ต้องการสร้างกล้ามเนื้อ ควรรับประทานเฉพาะไข่ขาว เพราะร่างกายต้องการโปรตีนไขมันต่ำ (ถ้ากินไข่แดงเยอะขนาดนี้จะได้รับไขมันและคอเลสเตอรอลสูงด้วย) จึงต้องเพิ่มปริมาณการรับประทานไข่ขาวเกือบ 20 ฟอง จึงจะได้รับโปรตีนเทียบเท่ากับการรับประทานเนื้ออกไก่สด 400 กรัม

💪 นมไขมันต่ำ

📌นม 1 แก้ว (240 มล) จะให้โปรตีน 8 กรัม ควรเลือกนมไขมันต่ำหรือไขมัน 0% ต้องใช้นมประมาณ 2 ลิตรถึงจะได้โปรตีน 70 กรัม ซึ่งจะได้พลังงานค่อนข้างมาก (800 แคลอรี) ทำให้น้ำหนักเพิ่มขึ้นหรืออ้วนขึ้น เนื่องจากนมไขมันต่ำหรือไขมัน 0% ยังมีน้ำตาลเป็นส่วนผสม ทำให้คนจำนวนหนึ่งไม่นิยมที่จะดื่มนมเพื่อสร้างกล้ามเนื้อ หรือถ้าหากมีการนำมาใช้เพื่อสร้างกล้ามเนื้อ มักนำมาผสมกับโปรตีนผง ซึ่งมี 2 แบบ แบ่งเป็นโปรตีนจากพืช (พืชตระกูลถั่วเช่นถั่วเหลือง) และโปรตีนจากนม (มีเคซีนกับเวย์) หากนำนมมาสกัดเป็นโปรตีนจะได้ เคซีนร้อยละ 80 และเวย์ร้อยละ 20

💪 เวย์โปรตีน

เวย์โปรตีนที่นิยมรับประทานกันในหมู่ผู้ชื่นชอบการออกำลังกาย มีหลายประเภท ได้แก่

📌เวย์คอนเซนเทรด (เวย์เข้มข้น) ยังคงมีน้ำตาลและไขมันอยู่เล็กน้อย

📌เวย์ไอโซเลท มีน้ำตาลและไขมันน้อยมาก

📌เวย์ไฮโดรไลเซท เป็นเวย์ที่นำไปย่อยแล้ว

นักกีฬาที่จะเล่นกล้ามมักเลือกกินเวย์ไอโซเลท และในคนที่แพ้น้ำตาลในน้ำนมสามารถเลือกกินเวย์ไอโซเลทได้ สำหรับผู้ที่ต้องการรับประทานอาหารโปรตีนไขมันต่ำ สามารถรับประทานไข่ขาวและเนื้ออกไก่ในปริมาณที่กล่าวไว้ในข้างต้นได้เพื่อสร้างกล้ามเนื้อ แต่ถ้าหากยังต้องการรับประทานเวย์โปรตีนอยู่ ก็จะต้องรับปริมาณให้เหมาะสมกับการสร้างกล้ามเนื้อด้วย

💪 📌ปริมาณการกินเวย์โปรตีนสำหรับสร้างกล้ามเนื้อ

ยกตัวอย่างหากเป็นเวย์ไอโซเลทเขียนกำกับว่าร้อยละ 80 แปลว่าตวงมา 100 กรัม จะมีโปรตีนอยู่ 80 กรัม ควรรับประทานในปริมาณ 2-3 กรัม/น้ำหนักตัว 1 กิโลกรัม/วัน

💪📌ข้อควรระวัง

เมื่อกินเวย์หรืออาหารโปรตีนไขมันต่ำแล้ว ต้องมีการออกกำลังกายควบคู่ด้วย หากกินอาหารสร้างกล้ามเนื้อแต่ไม่มีการออกกำลังกาย ร่างกายจะนำโปรตีนไปทิ้ง บางส่วนถูกเปลี่ยนเป็นพลังงานทำให้น้ำหนักตัวเพิ่มขึ้น ทั้งยังทำลายไต เพราะส่วนที่นำไปทิ้งจะถูกทิ้งทางไต


📌ข้อมูลจาก
ผศ. พญ.ดรุณีวัลย์ วโรดมวิจิตร
สาขาวิชาโภชนวิทยาและชีวเคมีทางการแพทย์ ภาควิชาอายุรศาสตร์
คณะแพทยศาสตร์โรงพยาบาลรามาธิบดี
มหาวิทยาลัยมหิดล
📌สนใจสอบถามข้อมูลได้ที่ :
เมธวัจน์ อัศวกมลวิทย์ (ต้าร์)
มือถือ 097-195-1642
Line ID : smarttar
Email : [email protected]
Inbox : m.me/InsuranceOPD
#ประกันสุขภาพผู้ป่วยนอกOPD
#ประกันสุขภาพเมืองไทยประกันชีวิต
#ตัวแทนเมืองไทยประกันชีวิต
#อยากทำประกันสุขภาพ

ป้องกันมะเร็งได้ ด้วยอาหารและการออกกำลังกาย Dr.Brian Kunakom x Dr.V 17/09/2022

ป้องกันมะเร็งได้ ด้วยอาหารและการออกกำลังกาย Dr.Brian Kunakom x Dr.V ป้องกันมะเร็งได้ ด้วยอาหารและการออกกำลังกาย Dr.Brian Kunakom x Dr.V

16/09/2022

📌โรคนอนไม่หลับ

โรคนอนไม่หลับ คือ อาการนอนไม่หลับ หลับลำบาก หรือหลับไม่สนิท

📌โรคนอนไม่หลับมีกี่ชนิด

โรคนอนไม่หลับเกิดขึ้นได้ในประชากรทุกช่วงอายุ คนส่วนมากจะมีอาการนอนไม่หลับ 1-2 คืน แต่บางครั้งอาจเกิดขึ้นนานเป็นสัปดาห์ เดือนหรือปี โรคนอนไม่หลับมักพบในผู้หญิงและผู้สูงอายุ

1. โรคนอนไม่หลับจากปัญหาการปรับตัว (Adjustment Insomnia)

ปัญหาหลับได้ยากหรือหลับไม่สนิท เป็นเวลาไม่กี่คืน และน้อยกว่า 3 เดือน มักเกิดจากความ ตื่นเต้นหรือความเครียด ยกตัวอย่างในเด็กอาจนอนพลิกตัวในคืนก่อนที่โรงเรียนเปิดเทอม หรือในคืน ก่อนการสอบสำคัญ หรือก่อนการแข่งขันกีฬา ในผู้ใหญ่มักเกิดขึ้นได้ก่อนการพบปะทางธุรกิจนัดสำคัญ หรือการทะเลาะกันของสมาชิกในครอบครัวหรือเพื่อนสนิท คนส่วนมากมักมีปัญหานอนไม่หลับ เมื่อต้องห่างจากบ้าน การเดินทางไปในสถานที่เวลาต่างจากเดิม การออกกำลังกายก่อนเวลาเข้านอน (ภายใน 4 ชั่วโมง) หรือเวลาเจ็บป่วยก็เป็นอีกหนึ่งสาเหตุของโรคนอนไม่หลับชนิดนี้ เมื่อสถานการณ์ ความตึงเครียดผ่อนคลาย การนอนหลับก็จะกลับมาเป็นปกติ

2. โรคนอนไม่หลับเรื้อรัง (Chronic insomnia)

หมายถึง การนอนไม่หลับนานมากกว่า 1 เดือน คนที่นอนไม่หลับส่วนมากมักจะกังวลกับ การนอนหลับของตนเอง หรืออาจเพราะการทำงานของกล้ามเนื้อที่ผิดปกติในระหว่างนอนหลับ

สาเหตุของโรคนอนไม่หลับอาจเป็นอาการของปัญหาอื่น เช่น การมีไข้ หรือ ปวดท้อง หรืออาจเกิดจากหลายปัจจัยร่วมกัน

📌ปัจจัยทางด้านจิตใจ

- แนวโน้มที่จะนอนไม่หลับ คนส่วนใหญ่จะนอนไม่หลับในเวลาที่มีความเครียด บางคนมีการตอบสนองต่อความเครียด เช่น มีอาการปวดศีรษะหรือปวดท้อง

- ความเครียดเรื้อรัง ปัญหาเรื่องความสัมพันธ์ เด็กที่มีความเจ็บป่วยรุนแรง หรืองานที่ได้ผลกำไรน้อย ล้วนก่อให้เกิดปัญหาการนอนหลับ การเรียนรู้ที่จะจัดการกับความเครียดจะช่วยรักษาโรคนอนไม่หลับได้

- โรคนอนไม่หลับปฐมภูมิ (Primary insomnia หรือ Psychophysiological insomnia) ถ้าคุณนอนหลับได้ไม่ดีในช่วงที่คุณมีความเครียด คุณอาจเป็นกังวลว่าจะไม่สามารถทำงาน ในช่วงกลางวันได้ คุณจึงคิดว่าต้องพยายามอย่างมากให้ตัวเองนอนหลับในเวลากลางคืน ซึ่งมันจะยิ่งทำให้นอนหลับได้ยากขึ้น หลังจากนั้นไม่กี่คืน เมื่อใกล้เวลาเข้านอนคุณจะยิ่งกังวล เกี่ยวกับการนอนมากขึ้น การรักษาจะต้องมีทั้งไม่เรียนรู้ที่จะครุ่นคิดถึงการนอนหลับที่ไม่ดี และเรียนรู้พร้อมปรับลักษณะนิสัยการนอนหลับใหม่

📌การใช้ชีวิตประจำวัน

- สารกระตุ้น เช่น คาเฟอีนจากเครื่องดื่มชา กาแฟ สารนิโคตินจากบุหรี่ ยาหลายชนิดที่มีสารกระตุ้น รวมถึงยาลดน้ำหนัก ยาแก้แพ้ และยาแก้หอบหืด ยาลดน้ำมูกบางชนิด

- แอลกอฮอลล์

- ชั่วโมงทำงาน ถ้าคุณทำงานเป็นกะ มักจะมีปัญหาเรื่องการนอนหลับ
การออกกำลังกายน้อยกว่า 4 ชั่วโมงก่อนเข้านอน

- ยานอนหลับควรใช้ตามคำสั่งแพทย์ ยานอนหลับบางชนิดจะหมดฤทธิ์ยาหลังจากไม่กี่สัปดาห์ ในกรณีที่ผู้ป่วยรับประทานยาทุกคืน หากหยุดยาทันที อาการการนอนหลับจะแย่ลงชั่วคราว

📌ปัจจัยจากสิ่งแวดล้อม (Environment Factors)

- เสียงรบกวน ทำห้องนอนให้เงียบที่สุดเพื่อไม่ให้รบกวนการนอน

- แสงสว่าง ใช้ผ้าม่านบังแสงหรือสีเข้มเพื่อทำให้ห้องนอนของคุณไม่สว่างจนเกินไป

📌ความเจ็บป่วยทางร่างกายหรือจิตใจ (Physical/Psychiatric Illness)

- ปัญหาทางด้านจิตใจ (Psychiatric problems) โรคนอนไม่หลับชนิดหนึ่ง การตื่นนอนเร็วกว่าปกติ (Early morning awakening) เป็นอาการหนึ่งที่พบได้บ่อยในผู้ป่วยโรคซึมเศร้า

- โรคการหายใจที่ผิดปกติขณะหลับ (Sleep Related Breathing Disorders) เช่น ผู้ป่วยภาวะหยุดหายใจขณะหลับจากการอุดกั้นจะตื่นขึ้นมาหลายครั้งหรืออาจเป็นหลายร้อยครั้ง ในหนึ่งคืน

- ความผิดปกติของขากระตุกเป็นช่วงๆขณะหลับ (Periodic Limb Movements)

- โรคกรดไหลย้อน (Gastroesophageal Reflux)

การรักษาโรคนอนไม่หลับต้องอาศัยความร่วมมือกันระหว่างตัวผู้ป่วยเองและแพทย์ เพื่อหาสาเหตุ ผลกระทบและการรักษา ผู้ป่วยบางรายอาจมีโรคทางกายหรือโรคทางจิตใจที่เป็นสาเหตุของ โรคไม่นอนหลับ และผู้ป่วยหลายรายที่เป็นโรคนอนไม่หลับโดยมีสาเหตุหลักที่เกิดจากหลายปัจจัยร่วมกัน

📌เมื่อไรที่ควรขอความช่วยเหลือ ?

หากการนอนหลับของคุณถูกรบกวนมานานกว่า 1 เดือน ส่งผลกระทบต่ออารมณ์และการทำงาน ในเวลากลางวัน ควรรีบพบแพทย์ผู้เชี่ยวชาญเพือหาสาเหตุของโรคนอนไม่หลับได้

📌ข้อมูลจาก
ศูนย์นิทราเวช อาคารผู้ป่วยในพิเศษ 14 ชั้น ชั้น 5
โรงพยาบาลจุฬาลงกรณ์ สภากาชาดไทย

📌สนใจสอบถามข้อมูลได้ที่ :
เมธวัจน์ อัศวกมลวิทย์ (ต้าร์)
มือถือ 097-195-1642
Line ID : smarttar
Email : [email protected]
Inbox : m.me/InsuranceOPD
#ประกันสุขภาพผู้ป่วยนอกOPD
#ประกันสุขภาพเมืองไทยประกันชีวิต
#ตัวแทนเมืองไทยประกันชีวิต
#อยากทำประกันสุขภาพ

Photos from ประกันสุขภาพต่างชาติพัทยา's post 12/09/2022

📌กระดูกทับเส้น (Herniated Disc)

กระดูกทับเส้น (Herniated Disc) คือปัญหาเกี่ยวกับหมอนรองกระดูกอย่างหนึ่ง เกิดจากหมอนรองกระดูกที่อยู่บริเวณกระดูกสันหลังถูกทำลายจนเสียหาย ส่งผลให้ไปกดทับเส้นประสาท แนวกระดูกสันหลังประกอบด้วยกระดูกสันหลังจำนวน 30 ชิ้น เริ่มตั้งแต่กระดูกสันหลังส่วนคอ 7 ชิ้น กระดูกสันหลังส่วนกลาง 12 ชิ้น และกระดูกสันหลังส่วนล่างหรือเอวอีก 5 ชิ้น แต่ละส่วนของกระดูกสันหลังบริเวณคอ อก และเอวทั้ง 24 ชิ้นนี้ เชื่อมกันด้วยเนื้อเยื่อซึ่งเป็นแผ่นกลมเรียกว่าหมอนรองกระดูก ด้านในหมอนรองกระดูกมีลักษณะนุ่มเหนียว ส่วนด้านนอกแข็ง หมอนรองกระดูกช่วยให้หลังมีความยืดหยุ่นขณะเคลื่อนไหวและปกป้องกระดูกจากกิจกรรมที่ทำให้เกิดแรงกระแทกอย่างการเดิน ยกของ หรือบิดตัว ส่วนกระดูกสันหลังชิ้นที่ 25-30 เชื่อมต่อยาวมาถึงบริเวณก้นกบเป็นเส้นเดียวกัน ไม่มีหมอนรองกระดูกรองรับเหมือนกระดูกสันหลัง 24 ชิ้นแรก

หากได้รับบาดเจ็บหรือกระดูกเสื่อม มักส่งผลให้หมอนรองกระดูกแตก และกระดูกอ่อนส่วนที่อยู่ภายในหมอนรองกระดูกโผล่ออกมา เมื่อหมอนรองกระดูกเคลื่อนหรือกระดูกทับเส้นทำให้ผู้ป่วยเจ็บปวดและไม่สบายตัว หากกระดูกที่เคลื่อนออกมานั้นกดทับเส้นประสาท ผู้ป่วยอาจรู้สึกชา อ่อนแรง หรือเจ็บบริเวณแนวเส้นประสาทที่ถูกกดทับ ในกรณีที่ผู้ป่วยมีอาการรุนแรง อาจต้องได้รับการผ่าตัดเพื่อรักษาหรือนำกระดูกที่ทับเส้นออกไป โดยส่วนใหญ่ อาการกระดูกทับเส้นมักเกิดขึ้นบริเวณกระดูกสันหลังส่วนเอว ซึ่งอยู่ระหว่างกระดูกสันหลังส่วนอกและกระดูกใต้กระเบนเหน็บ

📌อาการกระดูกทับเส้น
กระดูกทับเส้นเกิดขึ้นได้ทุกส่วนตามแนวกระดูกสันหลังซึ่งเริ่มตั้งแต่คอไปจนถึงหลังส่วนล่าง ซึ่งกระดูกสันหลังส่วนล่างเป็นบริเวณที่เกิดกระดูกทับเส้นได้บ่อย ทั้งนี้ กระดูกสันหลังประกอบด้วยเส้นประสาทและเส้นเลือดที่มีโครงสร้างซับซ้อน เมื่อหมอนรองกระดูกเคลื่อนจึงทำให้เกิดการกดทับเส้นประสาทและกล้ามเนื้อที่อยู่ล้อมรอบแนวกระดูกสันหลังได้ ผู้ป่วยกระดูกทับเส้นมักมีอาการ ดังนี้

 📍เจ็บปวดบริเวณที่ถูกกดทับ อาการเจ็บปวดนี้มักกำเริบเมื่อเกิดการกดทับบริเวณเส้นประสาท โดยจะมีอาการเมื่อไอ จาม หากหมอนรองกระดูกทับเส้นที่คอ ผู้ป่วยจะรู้สึกเจ็บมากบริเวณไหล่และแขน หากกระดูกทับเส้นเกิดขึ้นบริเวณเส้นประสาทไซอาติก (Sciatic Nerve) ซึ่งเป็นเส้นประสาทที่ยาวที่สุดในร่างกายเริ่มตั้งแต่ด้านหลังบริเวณเชิงกราน ก้น ร้าวลงไปถึงขาและเท้าทั้งสองข้าง ผู้ป่วยจะรู้สึกเจ็บตั้งแต่ก้นลามไปถึงต้นขาหลัง สะโพก น่อง และเท้า โดยมีอาการเจ็บเล็กน้อยจนรุนแรงขึ้นเรื่อย ๆ
นอกจากนี้ ผู้ป่วยอาจมีอาการปวดร้าวลงขาเมื่อต้องเดินในระยะทางสั้น ๆ และอาการแย่ลงเมื่อยืนขึ้น นั่งลง เคลื่อนไหวบางท่า หรือตอนกลางคืน

 📍รู้สึกชาหรือเสียวปลาบ กระดูกทับเส้นอาจทำให้ผู้ป่วยรู้สึกชาหรือเสียวปลาบที่ส่วนใดส่วนหนึ่งของร่างกาย เนื่องจากเส้นประสาทของร่างกายส่วนนั้นถูกกดทับ รวมทั้งเสียวปลาบ ปวด หรือรู้สึกแสบร้อนบริเวณที่เส้นประสาทถูกกดทับ

 📍กล้ามเนื้ออ่อนแรง กล้ามเนื้อบริเวณที่เส้นประสาทถูกกดทับนั้นมีแนวโน้มอ่อนแรง หากกล้ามเนื้ออ่อนแรง ผู้ป่วยมักสะดุดหรือล้มบ่อย หยิบหรือถือของไม่ถนัด หากมีอาการรุนแรงอาจไม่สามารถยกหรือถือของได้

📌สาเหตุของกระดูกทับเส้น
กระดูกทับเส้นมักเกิดขึ้นเมื่อส่วนนอกของหมอนรองกระดูกแตก ทำให้กระดูกอ่อนที่อยู่ข้างในโผล่ออกมา และกดทับเส้นประสาท สาเหตุที่ทำให้หมอนรองกระดูกแตกนั้นเกิดจากภาวะหมอนรองกระดูกเสื่อม เมื่ออายุมากขึ้น หมอนรองกระดูกมักสูญเสียมวลน้ำ ส่งผลให้ขาดความยืดหยุ่นและแตกได้ง่าย แต่โดยทั่วไป ไม่สามารถระบุสาเหตุของการเกิดกระดูกทับเส้นได้อย่างชัดเจน แต่มีปัจจัยเสี่ยงหลายประการที่นำไปสู่กระดูกทับเส้น ดังนี้

 📍น้ำหนักตัวมากเกินไป ผู้ที่มีน้ำหนักตัวมากเกินไปจะทำให้กระดูกสันหลังบริเวณหลังส่วนล่างต้องแบกรับน้ำหนักอยู่ตลอดเวลา

 📍แบกของหนัก ผู้ใช้แรงงานที่ต้องแบกหามสิ่งของหนักมีโอกาสเสี่ยงที่จะเกิดกระดูกทับเส้นได้ เนื่องจากการแบกของขนาดใหญ่หรือมีน้ำหนักมาก ต้องใช้กล้ามเนื้อหลังแทนกล้ามเนื้อขาและต้นขา ทำให้กระดูกบิดและเคลื่อนได้

 📍พันธุกรรม ผู้ป่วยกระดูกทับเส้นบางรายป่วยเป็นโรคนี้จากการถ่ายทอดทางพันธุกรรม

 📍ประสบอุบัติเหตุ การได้รับบาดเจ็บจากอุบัติเหตุอย่างตกจากที่สูง หรือได้รับการกระทบกระเทือนจากการถูกทำร้ายร่างกายบริเวณหลัง สามารถป่วยเป็นกระดูกทับเส้น แต่พบไม่บ่อยนัก

 📍สูบบุหรี่ การสูบบุหรี่เป็นอีกปัจจัยหนึ่งที่เกี่ยวข้องกับกระดูกทับเส้น เนื่องจากส่งผลให้หมอนรองกระดูกสูญเสียความยืดหยุ่น

📌การวินิจฉัยกระดูกทับเส้น
การวินิจฉัยกระดูกทับเส้น เริ่มด้วยการตรวจเบื้องต้น ดังนี้

 📍การตรวจร่างกาย แพทย์จะตรวจร่างกายผู้ป่วยเป็นอันดับแรก เพื่อดูท่าทาง กำลังและการตอบสนองของกล้ามเนื้อ ความแข็งแรงของกล้ามเนื้อ ประสิทธิภาพการเดิน และประสาทสัมผัสของแขนและขา

 📍การตรวจเส้นประสาท แพทย์จะตรวจการทำงานของเส้นประสาทเพื่อดูว่าเส้นประสาทบริเวณคอถูกกดทับหรือไม่ โดยจะให้ผู้ป่วยก้มหัวไปข้างหน้าและเอียงข้างแล้วแพทย์จะกดศีรษะของผู้ป่วยหากผู้ป่วยรู้สึกเจ็บหรือชามากขึ้น มีแนวโน้มว่ากระดูกกำลังกดทับเส้นประสาทที่คอ นอกจากนี้ แพทย์จะให้ผู้ป่วยนอนราบ ยกขาผู้ป่วยขึ้นแล้วให้ผู้ป่วยลองขยับขาตามขั้นตอนการตรวจ เพื่อหาสาเหตุของอาการเจ็บ ทั้งนี้ การตรวจด้วยวิธีนี้จะช่วยยืดเส้นประสาทของกระดูกสันหลัง หากหมอนรองกระดูกกดทับเส้นประสาท ผู้ป่วยจะรู้สึกเจ็บ ชา หรือเสียวปลาบเมื่อถูกยกขา

โดยปกติ แพทย์จะไม่ตรวจเพิ่มเติม นอกจากการซักประวัติ อาการ การตรวจร่างกายทั่วไป และการตรวจดูกำลังกล้ามเนื้อและเส้นประสาทเบื้องต้น ซึ่งเพียงพอในการวินิจฉัย อาการกระดูกทับเส้นจะทุเลาและดีขึ้นภายใน 1-3 เดือน แต่หากเจ็บปวดมากขึ้นหรือไม่ดีขึ้นหลังจาก 3 เดือน หรือผู้ป่วยสงสัยว่าเส้นประสาทที่ผิดปกตินั้นเกิดจากสาเหตุอื่น ควรพบแพทย์เพื่อตรวจเพิ่มเติมและหาความผิดปกติให้ชัดเจนมากขึ้น แพทย์จะตรวจวินิจฉัยประสิทธิภาพการทำงานของเส้นประสาทว่าเป็นอย่างไร ประกอบการตัดสินใจเพื่อผ่าตัด วิธีการตรวจอื่นๆ ได้แก่

 📍การเอกซ์เรย์ การเอกซ์เรย์ไม่ใช่เพื่อวินิจฉัยกระดูกทับเส้นโดยตรง แต่ช่วยให้แพทย์วินิจฉัยแยกความผิดปกติที่เกิดขึ้นออกจากสาเหตุอื่น ๆ ที่ทำให้ผู้ป่วยมีอาการเจ็บปวด เช่น การติดเชื้อ เนื้องอก กระดูกหัก และดูการเรียงตัวของกระดูกสันหลังได้

 📍ซีทีสแกน แพทย์จะทำซีทีสแกนเพื่อตรวจดูโครงสร้างของแนวกระดูกสันหลังและโครงสร้างกระดูกอื่น ๆ

 📍เอ็มอาร์ไอ แพทย์จะสแกนโครงสร้างภายในร่างกายผู้ป่วยโดยใช้คลื่นวิทยุและสนามแม่เหล็กไฟฟ้าเพื่อประมวลภาพออกมา ซึ่งวิธีนี้จะช่วยให้แพทย์ระบุบริเวณที่เกิดกระดูกทับเส้นได้ชัดเจนขึ้น

 📍การฉีดสีเพื่อตรวจระบบไขสันหลัง (Myelogram) แพทย์จะฉีดสารทึบรังสีเข้าไปในน้ำไขสันหลัง เพื่อให้ได้ภาพสแกนของอวัยวะภายใน โดยวิธีนี้จะแสดงให้เห็นว่าไขสันหลังหรือเส้นประสาทอื่น ๆ ของผู้ป่วยถูกกดทับอันเนื่องมาจากกระดูกทับเส้นหรือสาเหตุอื่น

 📍การตรวจคลื่นไฟฟ้ากล้ามเนื้อ วิธีนี้จะช่วยประเมินการนำและส่งผ่านกระแสประสาทของเส้นประสาทที่คาดว่าผิดปกติ โดยแพทย์จะวางขั้วไฟฟ้าไว้บนผิวผู้ป่วย และปล่อยคลื่นไฟฟ้าไปกระตุ้นเส้นประสาท ทำให้แพทย์วัดความเร็วและความแข็งแรงของสัญญาณประสาทได้

📌การรักษากระดูกทับเส้น
ส่วนใหญ่แล้ว อาการกระดูกทับเส้นจะค่อย ๆ ดีขึ้นหากผู้ป่วยได้พักผ่อน ออกกำลังกาย และรับประทานยาบรรเทาอาการของโรค ซึ่งจะใช้เวลาฟื้นตัวประมาณ 1-3 เดือน อย่างไรก็ตาม วิธีรักษากระดูกทับเส้นมีหลายวิธีขึ้นอยู่กับระดับความรุนแรงของอาการและตำแหน่งที่หมอนรองกระดูกเคลื่อน ซึ่งแบ่งประเภทได้ ดังนี้

💊การรักษาด้วยยา ยาที่ช่วยรักษาอาการกระดูกทับเส้นประกอบด้วย

 ยาแก้ปวด ผู้ป่วยกระดูกทับเส้นที่มีอาการปวดหลังเพียงเล็กน้อยถึงปานกลางสามารถซื้อยาแก้ปวดที่หาซื้อรับประทานได้เอง เช่น ยาไอบูโพรเฟน หรือยานาพรอกเซน

 ยาแก้ปวดชนิดเสพติด (Narcotics) หากผู้ป่วยรับประทานยาแก้ปวดทั่วไปแล้วอาการไม่ทุเลาลง แพทย์อาจสั่งจ่ายยาแก้ปวดชนิดเสพติดให้รับประทาน เช่น โคเดอีน หรือยาพาราเซตามอลที่ผสมสารสังเคราะห์ออกซิโคโดน โดยแพทย์จะจ่ายยานี้ให้ผู้ป่วยรับประทานเป็นระยะเวลาสั้น ๆ เท่านั้น อย่างไรก็ตาม ผู้ป่วยอาจได้รับผลข้างเคียงของยา โดยจะมีอาการง่วง คลื่นไส้ สับสนมึนงง และท้องผูก

 ยาระงับอาการปวดที่เส้นประสาท หากผู้ป่วยมีอาการปวดร้าวลงขา คือรู้สึกปวดที่ขา สะโพก หรือก้น ซึ่งเป็นอวัยวะที่อยู่ตามแนวเส้นประสาทไซอาติก แพทย์จะสั่งจ่ายยาแก้ปวดที่มีฤทธิ์แรงขึ้น ได้แก่ ยาบางตัวในกลุ่มยารักษาอาการซึมเศร้า และยากันชัก โดยยาในกลุ่มรักษาอาการซึมเศร้าจะช่วยบรรเทาอาการปวดเส้นประสาทให้ทุเลาลงได้ ส่วนยากันชักช่วยรักษาอาการปวดเส้นประสาทที่เกี่ยวกับกระดูกทับเส้น อย่างไรก็ตาม ยาทั้งสองตัวนี้ไม่สามารถใช้รักษาผู้ป่วยกระดูกทับเส้นได้ทุกราย โดยเฉพาะในกรณีที่ใช้รักษาระยะยาว ผู้ป่วยควรปรึกษาแพทย์เพื่อขอคำแนะนำในการรักษาด้วยวิธีอื่น แต่ยาบางตัวอาจก่อให้เกิดผลข้างเคียงกับผู้ป่วยบางราย

 ยาคลายกล้ามเนื้อ แพทย์จะสั่งจ่ายยาคลายกล้ามเนื้อให้ในกรณีที่ผู้ป่วยมีอาการกล้ามเนื้อหดเกร็ง โดยรับประทานยานี้ประมาณ 2-3 วันเพื่อรักษาอาการดังกล่าว

 สเตียรอยด์รักษาอาการปวดจากเส้นประสาท ผู้ป่วยที่ปวดเส้นประสาทไซอาติก จะได้รับการฉีดสเตียรอยด์ โดยแพทย์จะฉีดสารคอร์ติโคสเตียรอยด์เข้าไปบริเวณหลังส่วนล่างหรือบริเวณเส้นประสาทไขสันหลัง ทั้งนี้ อาจมีการสแกนภาพไขสันหลังเพื่อช่วยให้ฉีดยาได้อย่างปลอดภัย การฉีดคอร์ติโคสเตียรอยด์จะช่วยลดอาการอักเสบและอาการปวดเส้นประสาท ซึ่งอาการปวดจะทุเลาลงช่วงหนึ่ง อย่างไรก็ตาม ฤทธิ์ยาอาจใช้เวลาสลายตัวนานกว่านั้นและอาจไม่ช่วยให้ผู้ป่วยฟื้นตัวจากกระดูกทับเส้นได้เต็มที่นัก

 🖇กายภาพบำบัด จะช่วยให้ผู้ป่วยเคลื่อนไหวร่างกายได้ดีขึ้น รวมทั้งป้องกันการได้รับบาดเจ็บด้วย ผู้ป่วยกระดูกทับเส้นที่อาการไม่ดีขึ้น แพทย์มักแนะนำให้ทำกายภาพบำบัด โดยนักกายภาพบำบัดจะใช้เทคนิคที่ช่วยฟื้นฟูการทำงานและการเคลื่อนไหวร่างกายอย่างการนวดหรือดัดข้อต่อ รวมทั้งแนะนำแผนการออกกำลังกายที่เหมาะสมแก่ผู้ป่วย เพื่อให้ผู้ป่วยเคลื่อนไหวได้มากขึ้น อาการปวดทุเลาลง และป้องกันการได้รับบาดเจ็บที่หลัง

 📍การผ่าตัดหมอนรองกระดูก แพทย์จะแนะนำให้ผู้ป่วยผ่าตัดหากการรักษาด้วยวิธีอื่นไม่ได้ผลและผู้ป่วยยังมีอาการชา กล้ามเนื้ออ่อนแรง เดินหรือยืนลำบากนานมากกว่า 6 เดือน หรือไม่สามารถควบคุมการขับถ่ายอุจจาระและปัสสาวะได้ โดยแพทย์จะผ่าตัดเพื่อนำหมอนรองกระดูกที่เคลื่อนและกดทับเส้นประสาทออกไปซึ่งเรียกว่า การผ่าตัดหมอนรองกระดูก (Discectomy) ซึ่งมีหลายวิธี ขึ้นอยู่กับความเหมาะสมในแต่ละราย โดยส่วนใหญ่ การผ่าตัดหลังจะช่วยลดอาการเจ็บปวดที่ขา แต่อาจไม่ช่วยลดอาการเจ็บหลังเท่าไรนัก ผู้ป่วยสามารถกลับไปทำงานได้ตามปกติหลังจากพักฟื้นประมาณ 2-8 สัปดาห์ ซึ่งขึ้นอยู่กับกระบวนการผ่าตัดและประเภททของงานที่ทำ อย่างไรก็ตาม การผ่าตัดอาจก่อให้เกิดผลข้างเคียงได้ โดยผู้ป่วยอาจติดเชื้อ เส้นประสาทถูกทำลาย เป็นอัมพาต เลือดออกมาก ควบคุมการทำงานของระบบขับถ่ายหนักเบาไม่ได้ รวมทั้งระบบประสาทสัมผัสรับความรู้สึกทำงานผิดปกติชั่วขณะ ผู้ป่วยควรปรึกษาศัลยแพทย์เกี่ยวกับประสบการณ์การผ่าตัด อัตราความสำเร็จ และโอกาสเกิดภาวะแทรกซ้อนดังกล่าวก่อนรับการผ่าตัด ศัลยแพทย์จะช่วยประเมินความเสี่ยงที่อาจเกิดขึ้นและระบุระยะเวลาพักฟื้นที่เหมาะสมให้แก่ผู้ป่วย

 📍การรักษาด้วยวิธีอื่น นอกจากวิธีที่กล่าวมาแล้ว อาการกระดูกทับเส้นสามารถบรรเทาได้ด้วยวิธีอื่น ดังนี้

 ไคโรแพรกทิค (Chiropractic) วิธีนี้ถือเป็นศาสตร์ใหม่ โดยเป็นศาสตร์จัดกระดูกสันหลังที่ช่วยรักษาอาการปวดบริเวณหลังส่วนล่าง

 การฝังเข็ม ช่วยลดอาการปวดหลังและปวดคอเรื้อรัง

 การนวด ผู้ป่วยที่มีอาการปวดหลังเรื้อรังอาจทุเลาลงเมื่อได้รับการนวด แต่วิธีนี้จะช่วยบำบัดอาการดังกล่าวได้ในระยะเวลาสั้น ๆ เท่านั้น

 โยคะ วิธีนี้เป็นวิธีบำบัดที่รวมกิจกรรมการเคลื่อนไหวร่างกาย การกำหนดลมหายใจ และการทำสมาธิเข้าไว้ด้วยกัน การรักษาด้วยโยคะจะช่วยให้ระบบการทำงานของร่างกายดีขึ้น ผู้ป่วยบางรายที่ได้รับการรักษาด้วยวิธีนี้มักปวดหลังน้อยลง

📌ภาวะแทรกซ้อนจากกระดูกทับเส้น
ผู้ป่วยที่มีอาการกระดูกทับเส้นรุนแรงและไม่ได้รับการรักษาอาจทำให้เส้นประสาทถูกทำลายถาวรได้ มีผู้ป่วยน้อยรายที่หมอนรองกระดูกจะเคลื่อนไปกดทับเส้นประสาทของรากประสาทหางม้า โดยทั่วไปแล้ว ไขสันหลังไม่ได้มีเพียงเส้นเดียวตลอดแนวโพรงกระดูกสันหลัง นับตั้งแต่บั้นเอวลงไปจะมีไขสันหลังที่แตกออกเป็นหหลายเส้นคล้ายหางม้า จึงเรียกว่า รากประสาทเอวและกระเบนเหน็บ หรือรากประสาทหางม้า (Cauda Equina) หากรากประสาทหางม้าถูกกระดูกกดทับ ควรได้รับการผ่าตัดฉุกเฉินเพื่อป้องกันการเกิดกล้ามเนื้ออ่อนแรงหรือเป็นอัมพาตถาวร ผู้ป่วยควรไปพบแพทย์ทันทีหากมีอาการต่อไปนี้

 อาการป่วยแย่ลง หากผู้ป่วยรู้สึกเจ็บปวด ชา หรือกล้ามเนื้ออ่อนแรงจนไม่สามารถใช้ชีวิตได้ตามปกติควรไปพบแพทย์เพื่อรับการรักษาทันที

 ระบบขับถ่ายทำงานผิดปกติ ผู้ป่วยที่รากประสาทหางม้าถูกกดทับจะกลั้นปัสสาวะไม่อยู่ หรือปัสสาวะลำบากทั้งที่รู้สึกปวดปัสสาวะมาก

 รู้สึกชาบริเวณรอบทวารหนัก รากประสาทหางม้าที่ถูกกดทับจะทำให้ผู้ป่วยสูญเสียการรับรู้ทางสัมผัส โดยภาวะนี้จะส่งผลต่ออวัยวะที่สัมผัสกับทวารหนัก ได้แก่ ต้นขาด้านใน ด้านหลังของขา และบริเวณรอบ ๆ ลำไส้ตรง

📌การป้องกันกระดูกทับเส้น
กระดูกทับเส้นสามารถป้องกันได้ โดยหลีกเลี่ยงพฤติกรรมที่ทำให้ปวดหลังและเสี่ยงทำให้หมอนรองกระดูกเคลื่อนจนกดทับเส้นประสาท ทั้งนี้ ผู้ที่มีอาการกระดูกทับเส้นสามารถดูแลตัวเองเพื่อบรรเทาอาการให้ทุเลาและไม่แย่ลงเกินไปนัก โดยแนวทางการดูแลและป้องกันกระดูกทับเส้นมีดังนี้

 วิธีดูแลรักษาอาการกระดูกทับเส้น ผู้ป่วยกระดูกทับเส้นดูแลตนให้ดีขึ้นได้โดย

 รับประทานยาระงับปวด รับประทานยาแก้ปวดที่หาซื้อได้ตามร้านขายยาทั่วไป เช่น ยาไอบูโพรเฟน หรือยาพรอกนาเซน ยาเหล่านี้จะช่วยบรรเทาอาการปวดอันเนื่องมาจากกระดูกทับเส้นให้ทุเลาลงได้

 ประคบร้อนหรือประคบเย็น วิธีประคบนี้ช่วยบรรเทาอาการปวดและอักเสบได้ โดยประคบเย็นก่อน หลังจากนั้นประมาณ 2-3 วัน จึงเปลี่ยนไปประคบร้อนเพื่อให้อาการทุเลาลงและรู้สึกสบายตัวมากขึ้น

 เลี่ยงการนอนติดเตียง ผู้ป่วยกระดูกทับเส้นไม่ควรนอนอยู่บนเตียงนานเกินไป เนื่องจากจะทำให้เกิดอาการข้อติดแข็งและกล้ามเนื้ออ่อนแรง ผู้ป่วยควรเปลี่ยนอิริยาบถ พักในท่าสบาย ๆ ประมาณ 30 นาที ออกไปเดินเล่นหรือทำกิจกรรมเล็ก ๆ น้อย ๆ บ้างตามสมควร ทั้งนี้ ผู้ป่วยควรเลือกที่นอนซึ่งช่วยรองรับแนวกระดูกสันหลังของตัวเองเพื่อเลี่ยงอาการปวดหลัง และใช้หมอนหนุนคอเพื่อลดความเสี่ยงของอาการปวดต้นคอ

 วิธีป้องกันกระดูกทับเส้น กระดูกทับเส้นป้องกันได้โดยปฏิบัติดังนี้

 ออกกำลังกาย การออกกำลังกายเป็นประจำจะช่วยชะลอความเสื่อมของหมอนรองกระดูกบริเวณหลัง อีกทั้งยังช่วยให้กล้ามเนื้อหลังแข็งแรงและยืดหยุ่น นอกจากนี้ ควรอบอุ่นร่างกายก่อนออกกำลังกาย และค่อย ๆ ผ่อนแรงหลังออกกำลังกายเสร็จ ไม่ควรเริ่มหรือหยุดออกกำลังกายกะทันหัน ผู้ป่วยกระดูกทับเส้นที่กำลังพักฟื้นร่างกาย ควรหลีกเลี่ยงกิจกรรมที่ต้องลงน้ำหนักหรือรับแรงกระแทกมาก

 จัดท่าทางของร่างกายให้เหมาะ การจัดระเบียบท่าทางร่างกายให้ดีจะช่วยลดแรงกดทับที่กระดูกสันหลังและหมอนรองกระดูก ควรยืดหลังให้ตรงและอยู่ในแนวขนาน โดยเฉพาะเมื่อต้องนั่งนาน ๆ หากต้องยกของหนัก ควรค่อย ๆ ย่อตัวลง โดยให้น้ำหนักลงที่ขาไม่ใช่ที่หลัง

 ควบคุมน้ำหนัก ผู้ที่มีน้ำหนักตัวมากจะทำให้เกิดแรงกดทับที่กระดูกสันหลังและหมอนรองกระดูก เสี่ยงเป็นกระดูกทับเส้น หากคุมน้ำหนักให้อยู่ในเกณฑ์มาตรฐานจะช่วยลดแรงกดทับของกระดูกได้

 งดการสูบบุหรี่ เพราะการสูบบุหรี่ทำให้หมอนรองกระดูกสูญเสียความยืดหยุ่นและเสื่อมเร็วกว่าปกติ

📱ข้อมูลจาก
POBPAD
สนใจสอบถามข้อมูลได้ที่ :
เมธวัจน์ อัศวกมลวิทย์ (ต้าร์)
📲มือถือ 097-195-1642
Line ID : smarttar
Email : [email protected]
Inbox : m.me/InsuranceOPD
#ประกันสุขภาพผู้ป่วยนอกOPD
#ประกันสุขภาพเมืองไทยประกันชีวิต
#ตัวแทนเมืองไทยประกันชีวิต
#อยากทำประกันสุขภาพ

Videos (show all)

ค่ารักษาพยาบาลไม่ใช่เรื่องเล่นๆ

Website