Robot Matters

Robot Matters

ชวนคุยเรื่องหุ่นยนต์และปัญญาประดิ?

How to Dual Boot Windows 10 and Ubuntu – Linux Dual Booting Tutorial 26/08/2022

How to Dual Boot Windows 10 and Ubuntu – Linux Dual Booting Tutorial You don’t have to have two different computers to use Linux and Windows 10. It's possible to have a Linux distro installed on a computer with Windows 10 preinstalled. In this article, I will show you how to dual boot Windows 10 and the popular Ubuntu Linux distro. But before

16/04/2022

The effects of robotics and artificial intelligence (AI) on the job market are matters of great social concern
- Economists and technology experts are debating at what rate, and to what extent, technology could be used to replace humans in occupations, and what actions could mitigate the unemployment that would result.
- To this end, it is important to predict which jobs could be automated in the future and what workers could do to move to occupations at lower risk of automation.
- Here, we calculate the automation risk of almost 1000 existing occupations by quantita-tively assessing the extent robotics and AI abilities can replace human abilities required for those jobs and introduce a method to find, for any occupation, alternatives that maximize the reduction in automation risk while minimizing the retraining effort.
The results of this method can contribute to assessing the un-by robots, taking into account how advanced they are in terms of likely a job can be automated, but it did so based on the subjective number of abilities that robots can have. The results also indicate that it is possible for workers to move to a job
https://www.science.org/doi/epdf/10.1126/scirobotics.abg5561

The magnetic slime robot that could retrieve accidentally swallowed objects 07/04/2022

Robot made of magnetic slime could grab objects inside your body
A custard-like robot formed of magnetic slime can navigate tiny corridors, grip items, and repair faulty circuits. It might be used to accomplish duties inside the body, such as retrieving things swallowed by accident.
https://www.youtube.com/watch?v=gUfsFVPVa08

The magnetic slime robot that could retrieve accidentally swallowed objects A robot made of magnetic slime with a custard-like consistency can navigate narrow passages, grasp objects and fix broken circuits. It could be deployed insi...

OpenMower Is an Autonomous Lawn Mower You Can Build Yourself 06/04/2022

Open Source เครื่องตัดหญ้าอัตโนมัติ โดยใช้ระบบ RTK GPS เพื่อเพิ่มความแม่นยำในการเครื่องที่
รายละเอียดเพิ่มเติมสำหรับ source ต่างๆ ที่ github
https://github.com/ClemensElflein/OpenMower
อย่าลืมกดติดตามเพจ Robot Matters
เพื่อ update ความรู้ด้านหุ่นยนต์ไปด้วยกันนะครับ
Ref
https://www.hackster.io/news/openmower-is-an-autonomous-lawn-mower-you-can-build-yourself-91ec934b93bf?fbclid=IwAR3QzTSLhtZilx9bL0XoIfL7S74fSJqI6B4gzY-KLkJ7OsbagreKav-H7Cw

OpenMower Is an Autonomous Lawn Mower You Can Build Yourself Elflein's OpenMower is an open-source autonomous robotic lawnmower that takes advantage of RTK GPS data.

Meta-RL for Flight 04/04/2022

:
Model-Based Meta-Reinforcement Learning for Flight with Suspended Payloads
Because the payload might create considerable and unforeseen changes in the robot's dynamics, transporting hanging payloads is difficult for autonomous aerial vehicles. These modifications can result in subpar flight performance or even catastrophic failure. Although adaptive control and learning-based approaches can adjust to changes in these hybrid robot-payload systems in principle, quick mid-flight adaptation to payloads with unknown physical attributes is still a work in progress. Within seconds of post-connection flight data, we offer a meta-learning strategy that "learns how to learn" models of changing dynamics. In a variety of tough suspended payload transportation challenges, our online adaptation strategy beats non-adaptive alternatives, according to our testing. Our website, https://sites.google.com/view/meta-rl-for-flight, has videos and other extra content.

Meta-RL for Flight Suneel Belkhale, Rachel Li, Gregory Kahn, Rowan McAllister, Roberto Calandra, Sergey Levine Berkeley AI Research (BAIR), Facebook AI Research (FAIR) [Code]

Git for Professionals Tutorial - Tools & Concepts for Mastering Version Control with Git 02/04/2022

Git for Professionals Tutorial - Tools & Concepts for Mastering Version Control with Git
https://youtu.be/Uszj_k0DGsg

Git for Professionals Tutorial - Tools & Concepts for Mastering Version Control with Git Git has the power to make you a better software developer. But you'll have to go beyond the basic "commit, push, pull" to use it effectively! In this course,...

Control for wheelchair robots to mitigate risk of collision in crowds 02/04/2022

Control for wheelchair robots to mitigate risk of collision in crowds
Robotic wheelchairs may soon be able to move through crowds smoothly and safely. As part of CrowdBot, an EU-funded project, EPFL researchers are exploring the technical, ethical and safety issues related to this kind of technology. The aim of the project is to eventually help the disabled get around more easily.
https://actu.epfl.ch/news/control-for-wheelchair-robots-to-mitigate-risk-of-/

Control for wheelchair robots to mitigate risk of collision in crowds Robotic wheelchairs may soon be able to move through crowds smoothly and safely. As part of CrowdBot, an EU-funded project, EPFL researchers are exploring the technical, ethical and safety issues related to this kind of technology. The aim of the project is to eventually help the disabled get around...

Photos from Robot Matters's post 21/04/2021

Orobot หุ่นยนต์ที่คืนชีพสัตว์ศูนย์พันธุ์ 300 ล้านปี
Orobot ถูกพัฒนาขึ้นมาจาก fossil ของสิ่งมีชีวิตที่คาดว่าศูนย์พันธุ์ไปกว่า 300 ล้านปีแล้ว โดยเน้นศึกษาการเคลื่อนที่ของสัตว์ดึกดําบรรพ์ เพื่อทำความเข้าใจวิวัฒนาการในการเคลื่อนที่ โดยเฉพาะการเดิน ของสัตว์ครึ่งบกครึ่งน้ำเหล่านี้
ปัจจุบันสัตว์ที่มีการเคลื่อนที่ลักษณะนี้ (sprawling postures) ได้แก่ ซาลาแมนเดอร์ จระเข้
นักวิจัยได้ทดลองให้หุ่นยนต์เดินด้วยรูปแบบการเดินต่างๆ (gait) เพื่อหาความเป็นไปได้ของรูปแบบการเดินของสัตว์ชนิดนี้ในอดีต โดยนำข้อมูลการเดินของสัตว์ที่มีอยู่ในปัจจุบัน เช่น ซาลาแมนเดอร์ อิกัวน่าและจิ้งเหลน มาประกอบ แล้วให้คะแนนการเดิน
การให้คะแนะสำหรับแต่ล่ะท่าเดินที่เป็นไปได้ ประกอบด้วย พลังงานที่ใช้ ความเสถียรของลำตัว แรงที่เกิดขึ้นที่ขาเมื่อเทียบกับสัตว์ในปัจจุบัน และตำแหน่งการวางเท้าเทียบกับ fossilized footprint
ผลคะแนนการเดินที่ได้คะแนนสูง พบว่าท่าเดินจะคล้ายกับจระเจ้ caiman ซึ่งเวลาเดินมีการยกลำตัวสูง แตกต่างจากซาลาแมนเดอร์ที่เวลาเดินลำตัวแทบจะติดกับพื้นตลอด
เชิญรับชมคลิปสาธิตหุ่นยนต์ และข้อมูลเพิ่มเติมด้านล่างเลยครับ
https://youtu.be/xztrtNxyZqQ
ที่มา
https://www.epfl.ch/labs/biorob/research/amphibious/orobot/

19/04/2021

[Breaking News] Ingenuity สดสอบการบินสำเร็จ
NASA ยืนยัน Ingenuity อากาศยาน helicopter ลำแรกบนดาวอังคารที่ถูกส่งไปพร้อม Perseverance ได้ทำการบินขึ้นไปที่ความสูง 3 เมตร และลงจอดได้สำเร็จเป็นที่เรียบร้อยแล้ว ด้วยความเร็วของใบพัด 2500 rpm
ที่มา
NASA

19/04/2021

Pleurobot หุ่นยนต์ Salamander ที่เหมือนจริงมากที่สุดแล้ว
Pleurobot เป็นหุ่นยนต์ที่ได้รับแรงบันดาลใจจาก Salamander ตัวล่าสุดจาก EPFL เพื่อศึกษาการเคลื่อนที่ของ Salamander ทั้งบนพื้นดินและในน้ำ
การออกแบบหุ่นยนต์ตัวนี้มาจาก...การนำ Salamander ตัวจริงมาเดินและว่ายน้ำแล้วทำการจับการเคลื่อนไหวด้วยกล้อง ซึ่งนำข้อมูลที่ได้ไปทำการ optimize ว่า..ขาและลำตัวของหุ่นยนต์ควรจะมีข้อต่อ (degree of freedom) หรือควรมี motor กี่ตัว เพื่อจะสามารถเรียนแบบการเคลื่อนที่ของสัตว์ตัวนี้ได้
Genetic algorithm (GA) จึงเข้ามาช่วยทำการ optimize จำนวนข้อต่อของขาและลำตัว ผลที่ได้ก็คือ..หุ่นยนต์มีหน้าตาเป็นดังรูปเลยครับ
หุ่นยนต์ตัวนี้สามารถเรียนแบบการเดินของ Salamander ได้สมจริงมากๆ และมันยังสามารถว่ายน้ำได้อีกด้วย (หุ่นยนต์ต้องใส่ชุดว่ายน้ำก่อน)
สำหรับการวัดผลว่าหุ่นยนต์เคลื่อนที่เหมือนจริงไหม นอกจากจะดูจากท่าทางการเดินแล้ว ยังได้มีการวัดค่าแรงที่เกิดบนเท้าของหุ่นยนต์ (Ground Reaction Forces: GRF) เทียบกับสัตว์ตัวจริงอีกด้วย ซึ่งผลของการวัด GRF ที่ได้นั้นมีหน้าตาคล้ายคลีงกันมาก
Pleurobot ตัวนี้จึงถือได้ว่าเป็น Bio-inspired robot ที่เข้าใกล้ Salamander จริงมากที่สุดแล้ว เท่าที่เคยมีมา
เชิญรับชมคลิปสาธิตหุ่นยนต์ด้านล่างได้เลยครับ :-)
https://youtu.be/lfBWs8lWmv0
ที่มา
https://www.epfl.ch/labs/biorob/research/amphibious/pleurobot/

Baubot 18/04/2021

หุ่นยนต์ก่อสร้าง จาก Baubot
ปัจจุบันปัญญาประดิษฐ์และหุ่นยนต์เข้ามามีบทบาทในชีวิตประจำวันของเราอย่างมากมาย ทั้งอำนวนความสะดวกในร้านอาหารหรือช่วยงานในโรงงาน แต่หุ่นยนต์สำหรับงานก่อสร้างยังไม่ได้ถูกพัฒนามากนัก ส่วนใหญ่เราจะเห็นเฉพาะ 3D ปริ้นที่สามารถปริ้นบ้านเป็นหลังได้เลย ด้วยปูนซีเมนต์
Baubot จึงได้มีการพัฒนาหุ่นยนต์ที่จะเข้ามาช่วยให้คนทำงานก่อสร้างหน้างาน สามารถทำงานได้แม่นยำและปลอดภัยขึ้น โดยงานที่มีความเสี่ยงสูงก็จะให้หุ่นยนต์ทำแทน
บริษัทได้พัฒนาหุ่นยนต์ต้นแบบ 2 ขนาดด้วยกันคือ ตัวหุ่นยนต์พร้อมแขนกล 40 นิ้ว และ 82 นิ้ว
ทั้งสองต้นแบบสามารถขนของหนักมากกว่า 1 ตันได้ และสามารถทำงานเฉพาะด้านต่างๆตามลักษณะงานได้ เช่น ตัด เจาะ วางอิฐได้อย่างแม่นยำ
คลิปสาธิตหุ่นยนต์ https://youtu.be/Zjt4uZp8q8w
ที่มา
https://techxplore.com/news/2021-04-baubot-robots-aid.html

Baubot Baubot is fully mobile robotic system to perform various tasks on construction sites and manufacturing facilities. The base platform provides rough-terrain m...

17/04/2021

หุ่นยนต์ Dill ไม่ได้มาแทนคน มาช่วยคนทำงาน
Pickle Robot เป็น startup จาก MIT ได้เปิดตัวหุ่นยนต์แขนกลชื่อ Dill ที่ออกแบบมาช่วยคนทำงานในโกดัง แทนที่จะมาแทนคน เพื่อให้สามารถทำงานได้เร็วขึ้น
เจ้าหุ่นยนต์ Dill นั้นสามารถที่จะหยิบกล่องออกจากหลังรถบรรทุกเพื่อนำไปวางบนสายพานลำเลียงของได้ การหยิบกล่องจากรถบรรทุกนั้นเป็นปัญหาที่ยาก เนื่องจากกล่องจะกองกันอย่างไม่เป็นระเบียบ ระบบโกดังส่วนใหญ่ในปัจจุบันจึงจำเป็นต้องใช้คนยกกล่องลงจากรถบรรทุก ซึ่งเป็นงานที่หนักและส่งผลเสียต่อสุขภาพของคนงาน หุ่นยนต์ตัวนี้จึงเข้ามาแก้ปัญหาดังกล่าวและช่วยให้คนทำงานได้อย่างมีประสิทธิภาพมากชึ้น
ความสามารถในการหยิบกล่องได้ 1600 กล่องต่อชั่วโมง โดยที่กล่องไม่ต้องถูกเรียงให้เป็นระเบียบ จึงเป็นความได้เปรียบของเจ้า Dill ซึ่งจะเป็นประโยชน์อย่างมากต่อระบบขนส่งในอนาคต
คลิปสาธิตการทำงาน https://youtu.be/E-IwGbEIU08
ที่มา
https://www.hackster.io/
https://www.picklerobot.com/

16/04/2021

หุ่นยนต์งู นักสำรวจใต้บาดาล
นักวิจัยจาก Carnegie Mellon's Bio Robotic Lab ได้พัฒนาหุ่นยนต์งู ชื่อ HUMRS (Hardened Underwater Modular Robotic Snake) พร้อมทั้งทดสอบการดำน้ำที่สระว่ายน้ำของมหาวิทยาลัย ซึ่งหุ่นยนต์ได้แสดงความสามารถในการดำน้ำ และใช้ระบบนำทางได้อย่างแม่นยำเคลื่อนที่ผ่านห่วงใต้น้ำ
การพัฒนา HUMRS ครั้งล่าสุดนี้ หุ่นยนต์ถูกติดตั้งกังหันและตัวขับแรงดัน เพื่อให้สามารถดำน้ำและใช้ระบบนำทางในระดับน้ำลึกต่างๆ ทำให้หุ่นยนต์สามารถดำน้ำไปยังจุดที่เข้าถึงยาก ได้อย่างแม่นยำ ซึ่งเป็นประโยชน์สำหรับการสำรวจใต้น้ำ เช่น การสำรวจซากเรือที่จมน้ำ หรือการตรวจสอบท่อใต้ท้องทะเล
คลิปการทดสอบหุ่นยนต์
https://youtu.be/tGJvrKFQcpM
ที่มา
https://www.hackster.io/news/carnegie-mellon-s-modular-humrs-robot-can-now-navigate-underwater-6e81e390fcef

15/04/2021

ทดลองกันครับผม 😃

📣 Arduino IDE 2.0.0-beta.5 is out! Download it now! https://bit.ly/3dmHJtP

15/04/2021

Ingenuity อากาศยานลำแรกบนดาวอังคาร บินได้อย่างไร?
Ingenuity เป็น Helicopter ลำแรกที่ถูกส่งไปทดสอบการบินที่ดาวอังคาร และจำเป็นต้องบินแบบอัตโนมัติด้วยตัวมันเอง เนื่องจากนักวิจัยไม่สามารถควบคุมการบินจากห้องควบคุมการบินบนโลกได้ เพราะการส่งข้อมูลไปมาระหว่างโลกกับดาวอังคารต้องใช้เวลาหลายนาที สิ่งที่นักวิจัยบนโลกทำได้อย่างมากก็คือการทดสอบในระบบ simulation ให้แน่ใจ แล้วหวังว่าเจ้า Ingenuity จะสามารถบินได้เองบนดาวอังคาร
การทดสอบหุ่นยนต์ด้วย simulation ถือว่าเป็นสิ่งที่สำคัญและเป็นเครื่องมือที่ทรงพลังมากในการพัฒนาหุ่นยนต์ เนื่องจากไม่ต้องสร้างหุ่นยนต์จริงตอนเริ่มต้น และสามารถจำลองให้หุ่นยนต์ทำงานพร้อมกันได้หลายๆตัวในเวลาเดียวกัน และยังสามารถเร่งเวลาการประมวลผลให้เร็วกว่าเวลาปกติได้อีกด้วย...
หลังจากได้ผลเป็นที่น่าพอใจจากการทดสอบใน simulation แล้ว ก็จะนำผลที่ได้มาใช้กับหุ่นยนต์จริงว่ามันใช้ได้ผลเหรือไม่ ซึ่งปกติแล้วจะสามารถทดสอบกับหุ่นยนต์จริงได้เลยบนโลก
การทดสอบการบินของ Ingenuity ด้วยสภาพแวดล้อมเหมือนกับดาวอังคารแบบเปะๆ จึงไม่สามารถเกิดขึ้นได้เลยบนโลก ดังนั้นการทบสอบการบินเกือบทั้งหมดต้องอาศัย simulation เป็นหลัก...
อย่างไรก็ตาม...นอกจากการทดสอบใน simulation แล้ว นักวิจัย (Jet Propulsion Laboratory: JPL) ได้ทำการโมเดลชั้นบรรยากาศและแรงโน้มถ่วงของดาวอังคารและได้ทดสอบการบินของ Ingenuity จริง ภายในแลปด้วย...ตามคลิปด้านล่าง แต่ก็ไม่มีทางรู้ว่าโมเดลที่จำลองจะแม่นยำขนาดไหนจนว่าจะได้บินบนดาวอังคารจริงๆ
https://youtu.be/nuh_DZwQrmY
Ingenuity จะทดสอบการบินบนดาวอังคารเที่ยวแรกด้วยความเร็ว 1m/s ขึ้นไปแนวตั้งสูง 3m แล้วก็จะค่อยๆ บินลงจอด ถ้าการบินเที่ยวแรกเป็นไปได้อย่างราบรื่นก็จะมีเที่ยวบินถัดๆไปตามมา ด้วยลักษณะการบินที่แตกต่างออกไป
การทดสอบการบินครั้งนี้จึงถือได้ว่าเป็นงานที่มีความท้าทายสูง มีปัจจัยหลากหลายไม่สามารถควบคุมได้ แต่จะเป็นความก้าวหน้าอย่างก้าวกระโดดสำหรับการบินและเป็นประโยชน์ต่อการสำรวจอวกาศ โดยเฉพาะดาวอังคารเอง
ที่มา
https://spectrum.ieee.org/robotics

14/04/2021

หุ่นยนต์ Exoskeletons ในอนาคต
นักวิจัยจากทั่วโลกได้มีการพัฒนาหุ่นยต์ Exoskeletons สำหรับช่วยผู้พิการทางเคลื่อนไหว โดยเฉพาะทางขา ด้วยการออกแบบให้สามารถสวมเข้ากับขาเพื่อช่วยในการเดิน
หนึ่งในปัญหาของหุ่นยนต์ประเภทนี้ก็คือ การเปลี่ยนโหมดการเคลื่อนที่ เช่น จากนั่งไปยืน จากยืนไปเดิน หรือจากเดินพื้นเรียบไปขึ้นลงบันได เป็นต้น...
โดยการเปลื่ยนโหมดไปมา...ผู้ใช้จะต้องทำการกดปุ่มเปลี่ยนเองด้วยมือ ผ่าน joysticks หรือแอปพิเคชั่นบนโทรศัพท์มือถือ
นักวิจัยบางส่วนพยายามแก้ปัญหาการเปลี่ยนโหมดการเคลื่อนที่ให้เป็นแบบอัตโนมัติ โดยการใช้เซนเซอร์จับสัญญาณไฟฟ้าที่ส่งมาจากสมองไปยังกล้ามเนื้อขาส่วนที่ใช้ในการก้าว แต่ก็ยังพบปัญหาหลายอย่าง เช่น ความเหนี่ยวนำของผิวที่เปลี่ยนไปเมื่อผิวหนังเปียกหรือแห้ง ซึ่งมีผลต่อการอ่านค่าสัญญาณของเซนเซอร์
ปัจจุบันนักวิจัยจากหลายที่..กำลังทำการวิจัยวิธีการเปลี่ยนโหมดแบบใหม่ ด้วยการสวม exoskeleton พร้อมกับกล้อง เพื่อใช้ข้อมูลการมองเห็นของกล้องในการเรียนรู้ที่จะปรับโหมดการเดินอย่างอัตโนมัติ
Artificial intelligence (AI) จึงเข้ามาทำหน้าที่ในการประมวณผลภาพเพื่อแยกแยะ ว่ากำลังเดินอยู่ในสภาพแวดล้อมแบบไหน เช่น บันใด ประตู แล้วปรับโหมดการเดินให้เหมาะสมกับสภาพแวดล้อมนั้นๆ
หุ่นยนต์ Exoskeletons ตัวนี้..ทำการเรียนรู้ข้อมูลภาพจำนวนมาก จาก ExoNet โปรเจ็ค ซึ่งเป็น open-source ที่มีข้อมูลภาพสำหรับใช้ในเรียนรู้กว่า 5.6 ล้านภาพ จนสามารถที่จะแยกแยะสภาพแวดล้อมได้อย่างแม่นยำถึง 73% พร้อมทั้งปรับการเดินให้เหมาะสมกับสภาพแวดล้อมนั้นๆได้
เชิญรับชมการทดสอบหุ่นยนต์ Exoskeleton ในคลิปด้านล่างเลยครับ
https://youtu.be/uqNXHu7Bgj0
ที่มา
https://spectrum.ieee.org/robotics

13/04/2021

Stretch หุ่นยนต์ตัวใหม่..จาก Boston Dynamics
ในช่วงปีที่ผ่านมาทาง Boston Dynamics เริ่มให้ความสนใจและพัฒนาหุ่นยนต์ที่จะนำมาใช้ในระบบ logistices มากขึ้น ซึ่งล่าสุดก็ได้เปิดตัวหุ่นยนต์ชื่อ Stretch ออกมาเพื่อทำภารกิจเคลื่อนย้ายกล่องในโกดัง
โดยหน้าตาของเจ้า Stretch ก็จะแตกต่างจากหุ่นยนต์รุ่นก่อนๆ ที่เรารู้จักกันอย่าง Atlas ที่มีรูปร่างคล้ายคน หรือว่า Spot ที่มีรูปร่างคล้ายหมา...
แต่สำหรับเจ้า Stretch เป็นหุ่นยนต์เคลื่อนที่ด้วยล้อ ฐานทรงสี่เหลี่ยม ต่อด้วยแขนกลขนาดใหญ่จำนวน 7 แกน (7 degree of freedom) พร้อมตัวดูดที่ติดอยู่ส่วนปลายของแขนกลเพื่อที่จะใช้ในการดูดกล่องและเคลื่อนย้ายกล่อง น้ำหนักสูงสุดถึง 23 กิโลกรัม
ความว๊าว...ของหุ่นยนต์ตัวนี้มันคือเทคโนโลยี่ที่ถูกซ่อนอยู่ในฐานกล่องสี่เหลี่ยมนั่นเองครับ อย่างไรก็ตามมันยังเป็นความลับอยู่จนถึงตอนนี้
ภายในฐานกล่องสี่เหลี่ยมจะมีกลไกลที่จะคอยถ่วงน้ำหนักเมื่อหุ่นยนต์ยกกล่องขึ้นมา ให้สมดุลอยู่ตลอดเวลาและที่สำคัญคือตอบสนองได้อย่างรวดเร็ว (realtime) ซึ่งเจ้าเทคโนโลยีนี้ถูกต่อยอดมาจากหุ่นยนต์ Atlas ตอนที่มันรักษาสมดุลเวลา วิ่ง กระโดด ม้วนหลัง และทำท่ายากต่างๆ
ช่วงปี 2019 ทาง Boston Dynamics เองก็ได้เคยเปิดตัวหุ่ยยนต์เคลื่อนย้ายของในโกดังมาก่อนหน้านี้แล้วชื่อ Handle โดยที่มันจะรักษาสมดุลด้วยลูกตุ้มคล้ายๆหาง ตามคลิปด้านล่างครับ แต่จะเห็นว่ามันจะใช้พื้นที่ในการทำงานที่มากกว่า
คลิปหุ่นยนต์ Handle --> https://youtu.be/5iV_hB08Uns
จนล่าสุดพัฒนามาเป็นหุ่นยนต์ Stretch ที่สามารถเคลื่อนย้ายกล่องได้ 800 กล่องต่อชั่วโมง และทำงานได้ 8 ชั่วโมงต่อการชาร์จแบตหนึ่งครั้ง พร้อมทั้งมีความยืดหยุ่นในการทำงานสูง และยังสามารถทำงานในโกดังที่มีพื้นที่แคบๆได้อีกด้วย
ในอนาคตเราอาจจะได้เห็นหุ่นยนต์ที่มีความสามารถหลากหลายแบบนี้วิ่งอยู่ในโกดังแทนระบบสายพานและแขนกลที่ตั้งอยู่กับที่ ก็เป็นไปได้...น่าสนใจมากๆครับ
เชิญชมคลิปการทำงานของเจ้าหุ่นยนต์ Stretch ด้านล่างได้เลย :-)
https://youtu.be/yYUuWWnfRsk

12/04/2021

Eyecam เป็นกล้อง we**am ที่มีหน้าตาคล้ายๆกับลูกตาของคน มันสามารถกระพิบตา กวาดสายตามองรอบด้าน และมองจ้องมาที่ตัวคุณได้
เห็นแล้วก็รู้สึกขนลุกเลยใช่ไหมครับ :-)
ชมคลิป --> https://youtu.be/JMxr8Nq-w_w
คุณรู้หรือไม่ครับว่า... ทุกวันนี้เราถูกมอง ถูกฟัง และรายล้อมด้วยอุปกรณ์ตรวจจับ อย่างกล้องวงจรปิดบนท้องถนน we**amในคอมพิวเตอร์ ลำโพงจาก Google/Alexa จนกระทั้งโทรศัพท์มือถือและนาฬิกาข้อมืออยู่ตลอดเวลา สิ่งเหล่านี้กลายเป็นสิ่งที่มองไม่เห็นผสมผสานเข้ากับชีวิตประจำวันของเรา จนถึงจุดที่เราไม่รู้ถึงการมีอยู่ของพวกมันและหยุดตั้งคำถามว่าพวกมันมีลักษณะอย่างไร? รู้สึกและแสดงออกอย่างไร?
Eyecam จึงพยายามแสดงให้เห็นถึงหน้าตา ลักษณะท่าทาง ของสิ่งเหล่านั้นที่มองเราอยู่ว่าเป็นอย่างไร เพื่อให้เราได้ฉุดคิดว่ามันมีลูกตาแบบนี้แหละครับ..ที่....กำลังมองคุณอยู่..ทุกที่...
การออกแบบกล้องเป็นลูกตา ที่น่าขนลุกแบบนี้ เห็นแล้วรู้สึกกลัวเหมือนกันนะครับ ซึ่งมันน่าจะช่วยกระตุ้นให้เราได้คำนึงถึงเรื่องข้อมูลส่วนตัวของเรามากขึ้น และไม่ลืมที่จะตั้งคำถามกับมันอยู่ตลอด...
ที่มา
https://marcteyssier.com/projects/eyecam/

11/04/2021

แค่คิด ก็ควบคุมสิ่งของได้ คงไม่ใช่เวทมนตร์อีกต่อไป
ล่าสุดทาง Neuralink ก็ได้ปล่อยคลิปวีดีโอ เจ้าเพจเจอร์ ลิง macaque อายุ 9 ปี ที่ถูกฝังชิปไว้ในสมองเมื่อ 6 สัปดาห์ที่แล้ว โดยเจ้าลิงโชว์การเล่นเกมคอมพิวเตอร์เพื่อที่จะได้รับสมูทตี้กล้วยเป็นรางวัลผ่านทางหลอดดูด
นักวิจัยได้โชว์การเชื่อมต่อกับชิปที่มีข้อมูลอิเล็กโทรดมากกว่า 2000 ชิ้นที่ฝังอยู่บริเวณเยื่อหุ้มสมองส่วนหน้าซึ่งเป็นเซลล์ประสาทสำหรับการเคลื่อนไหวของมือและแขนได้อย่างง่ายดาย ด้วย bluetooth ผ่าน iphone พร้อมทั้งโชว์คลื่นสมองแบบเรียลไทม์... ลืมการเชื่อมต่อสายระโยงระยางแบบเก่าๆ ไปได้เลยครับ
จากนั้นนักวิจัยให้เจ้าลิงเล่นเกมเพื่อเลื่อน cursor (วงกลมสีขาว) ไปยังจุดหมาย (แผ่นสี่เหลี่ยมสีส้ม) ด้วยการบังคับ joystick ...
เข้าใจว่าถ้าเจ้าลิงเคลื่อน cursor ไปได้ยังจุดหมายได้ก็จะได้รับรางวัลเป็นสมูทตี้กล้วยที่จะถูกปล่อยออกมาทางหลอด ...
ถึงตรงนี้นักวิจัยก็มีทั้งสัญญาณสมองและการเคลื่อนที่ของมือและแขนที่เกิดขึ้นพร้อมกันแบบเรียลไทม์ ดังนั้นทำให้สามารถใช้โมเดลทางคณิตศาสตร์เข้าระหัสคลื่นสมองแล้วถอดระหัสออกมาเพื่อคาดเดาการเคลื่อนที่มือและแขนของลิงได้นั่นเองครับ
ซึ่งจะเห็นว่าแม้จะถอดสาย joystick ออกแล้ว ก็สามารถใช้คลื่นสมองควบคุมเกมแทนได้ ยิ่งตอนท้ายที่เจ้าลิงเล่นเกม pong ที่มีความเร็วสูง ยิ่งน่าทึ่งเข้าไปอีกใช่ไหมครับ ใครจะไปคิดว่าลิงเล่นเกมเก่งขนาดนี้ :-)
แค่คิด ก็ควบคุมสิ่งของได้ คงไม่ใช่เวทมนตร์อีกต่อไปแล้ว
เทคโนโลยี Neuralink ถือว่าพัฒนาอย่างก้าวกระโดดมากๆ และจะเป็นประโยชน์อย่างย่ิง สำหรับผู้พิการที่ไม่สามารถเคลื่อนไหวได้ (เช่น เป็นอัมพาต) ให้สามารถควบคุมสิ่งของในชีวิตประจำวันได้ ด้วยคลื่นสมอง ในอนาคตอันใกล้นี้
แล้วคุณมีความเห็นยังไงบ้างครับ เล่าให้เราฟังหน่อย ว่ามันน่าจะมีประโยชน์อะไรอีกบ้างในอนาคตครับ เชิญคอมเมนต์และรับชมคลิปวีดีโอด้านล่างเลยครับ
https://www.youtube.com/watch?v=rsCul1sp4hQ

[Robot Matters] ลืมหุ่นยนต์ของ Boston Dynamic ไปได้เลย เมื่อหุ่นยนต์ตัวนี้สามารถหัดเดินได้ด้วยตัวเอง 10/04/2021

ลืมหุ่นยนต์ของ Boston Dynamic ไปได้เลย เมื่อหุ่นยนต์ตัวนี้สามารถหัดเดินได้ด้วยตัวเอง

[Robot Matters] ลืมหุ่นยนต์ของ Boston Dynamic ไปได้เลย เมื่อหุ่นยนต์ตัวนี้สามารถหัดเดินได้ด้วยตัวเอง

[Robot Matters] ASCENTO หุ่นยนต์สองล้อ กระโดด 10/04/2021

ASCENTO หุ่นยนต์สองล้อ กระโดด

[Robot Matters] ASCENTO หุ่นยนต์สองล้อ กระโดด

[Robot Matters] OmBURo หุ่นยนต์ล้อเดียว ขับเคลื่อนดัวย Active Omnidirectional Wheel 10/04/2021

OmBURo หุ่นยนต์ล้อเดียว ขับเคลื่อนดัวย Active Omnidirectional Wheel

[Robot Matters] OmBURo หุ่นยนต์ล้อเดียว ขับเคลื่อนดัวย Active Omnidirectional Wheel

Website