กาลราตรี Kaalratri

กาลราตรี Kaalratri

กาลราตรี นามของเทวีผู้เป็นบุลาธิษฐานแห่งเวลา 1 ใน 9 ภาคของเทวีทุรคา ซึ้งได้รับการบูชาในเทศกาลนวราตรี

Photos from กาลราตรี Kaalratri's post 08/12/2022

พระแม่ทุรคา หรือ พระแม่ทุรกา
เป็นอีกพระนามหนึ่งของ พระแม่อุมาเทวี ที่อวตารมาปราบอสูรชื่อ มหิษาสูร นับว่าเป็นปางที่สำคัญและยิ่งใหญ่ไม่น้อยไปกว่าปาง พระแม่กาลี มีความเหี้ยมหาญ แข็งแกร่ง มีพละกำลังมาก แต่ไม่ดุร้ายน่ากลัวเท่ากับปางพระแม่กาลี เมื่อบูชาพระแม่ทุรคาอย่างสม่ำเสมอ พระองค์จะประทานพรด้านความกล้าหาญ ชนะศัตรูรอบทิศ การมีบริวาร มีความยุติธรรม ตลอดจนการมีสุขภาพร่างกายที่แข็งแรง
การปฏิบัติ "จักรัน"
พิธีกรรมสำคัญเพื่อบูชาพระแม่ทุรคานั้น เรียกว่าพิธี "จักรัน" คือการบูชาพระแม่ทุรคาด้วยการ สวดภาวนาตลอดคืน นิยมปฏิบัติกันมากในอินเดียเหนือ เช่น เมืองปัญจาบ ฮัรยาน เดลฮี ฯลฯ การปฏิบัตินั้นมีข้อปลีกย่อยแตกต่างกันออกไปตามแต่ละท้องถิ่น สำหรับวิธีปฏิบัติจักรันเบื้องต้น คือ
1. เริ่มจากสวดบูชาพระพิฆเนศ
2. ยืน หรือ นั่ง ต่อหน้าองค์เทวรูปหรือรูปภาพพระแม่ทุรคา แล้วสวดบูชาด้วยมนต์พระแม่ทุรคาบทใดบทหนึ่ง
3. สวดบูชาด้วยมนต์ โอม อีง ฮรีง กลีง จามุนดาเย วิชเช โอม หรือมนต์อื่นๆของพระทุรกาต่อเนื่องจนถึงเช้า
การปฏิบัติเช่นนี้ ก็เพื่อเป็นการภาวนาถึงพระแม่ทุรคาและขอพรจากพระองค์ สามารถเลือกทำได้ในวันที่ว่าง ถือเป็นการบำเพ็ญตบะอย่างหนึ่ง เพื่อฝึกความอดทน ทรมานกายด้วยการอดนอนให้ได้ข้ามคืน
ผู้ศรัทธายังสามารถเพิ่มกิจกรรมระหว่างการสวดบูชาจักรันได้ เช่น
- เดินวนรอบเทวรูปพระแม่ทุรคา 1 รอบต่อการสวด 1 จบ
- เดินหมุนรอบตัวเอง 1 รอบต่อการสวด 1 จบ
- นับลูกประคำ 1 เม็ดต่อการสวด 1 จบ
- นับก้านธูป 1 ดอกต่อการสวด 1 จบ
- นับกำยาน 1 อันต่อการสวด 1 จบ
- นับดอกไม้ 1 ดอกต่อการสวด 1 จบ
- เด็ดกลับดอกกุหลาบหรือดอกอื่นๆ 1 กลีบต่อการสวด 1 จบ
- ก้มกราบ 1 ครั้งต่อการสวด 1 จบ ฯลฯ
นักบวชและโยคีที่ประกอบพิธีนี้ จะเริ่มภาวนาต่อพระแม่ทุรคาตั้งแต่พระอาทิตย์ตกดิน ไปจนถึงพระอาทิตย์ขึ้นในรุ่งเช้าของอีกวัน
ข้อแนะนำเกี่ยวกับการประกอบพิธีจักรัน
การสวดภาวนาเพื่อประกอบพิธีจักรัน และได้ทำกิจกรรมระหว่างการสวดด้วย เช่น การก้มกราบทุกๆ ครั้งที่สวดมนต์ได้ 1 จบ หรือการเดินหมุนรอบตัวเอง ฯลฯ หากกระทำต่อเนื่องเป็นเวลาหลายชั่วโมง อาจทำให้หน้ามืด เป็นลม ส่งผลเสียต่อสภาพร่างกายได้ ควรเริ่มจากการปฏิบัติแต่น้อย อาจจะเป็นเพียงคืนละ 1 ชั่วโมง หรือครั้งละ 108 จบ...500 จบ...1,000 จบ ค่อยๆเพิ่มระยะเวลาให้นานขึ้น จนสามารถภาวนาได้ถึงเช้าวันใหม่ การสวดนั้นควรสวดภาวนาให้ช้าๆ สงบ นิ่ง และเนิ่นนาน... สามารถจุดเทียน ธูป กำยาน เพื่อให้แสงไฟและกลิ่นหอมโน้มนำจิตใจให้เข้าสู่สมาธิได้ดียิ่งขึ้น
ในช่วงแรกควรมีน้ำดื่มไว้ข้างกายเพื่อจิบแก้กระหาย หากปวดเมื่อยก็ควรเปลี่ยนอิริยาบทท่าทางตามสบาย เพื่อป้องกันความเครียดที่จะเกิดขึ้น และในระหว่างการสวดภาวนา
***ข้อพึงระวังเมื่อปฏิบัติจักรัน***
หากมองเห็นภาพหรือนิมิตที่แปลกประหลาดเกิดขึ้นในจิตหรือในภวังค์ ก็ขอให้ตั้งสติให้ดี ไม่ว่าจะน่ากลัวเพียงใด จงอย่าหุนหันลุกขึ้นวิ่งหนี มิฉะนั้น กายทิพย์จะแตก ส่งผลร้ายต่อสติ ให้ทำใจแข็งค่อยๆลืมตาขึ้น แล้วสวดภาวนาว่า "โอม ศานติ ศานติ ศานติ" เพื่อแผ่เมตตาและปรับจิตใจให้คืนสู่สภาพปกติ หากนิมิตแปลกประหลาดนั้นยังคงเกิดขึ้นอยู่และรบกวนจิตใจอย่างต่อเนื่อง ควรหยุดการทำพิธี และให้ทำสมาธิภาวนาว่า โอม ศานติ ศานติ ศานติ เป็นประจำทุกคืน แล้วสภาพจิตใจจะค่อยๆกลับมาเป็นปกติ
https://www.siamganesh.com/durga.html

07/12/2022

ลัทธิไวษณพ หรือ ไวษณพนิกาย
เป็นนิกายในศาสนาฮินดูที่นับถือพระวิษณุเป็นพระเป็นเจ้า ผู้ยิ่งใหญ่กว่าเทพใด ๆ รวมทั้งในกลุ่มตรีมูรติ พระองค์ยังมีพระนามอื่น ๆ อีก เช่น พระราม พระกฤษณะ พระนารายณ์ พระวาสุเทพ พระหริ เป็นต้น
นิกายนี้มีต้นกำเนิดมาจากลัทธิภควัต (หรือลัทธิบูชาพระกฤษณะ) ในสหัสวรรษที่ 1 ก่อนคริสต์ศักราช ต่อมารามานันทะได้พัฒนาลัทธิบูชาพระรามขึ้นจนปัจจุบันกลายเป็นคณะนักพรตที่ใหญ่ที่สุดในทวีปเอเชีย ลัทธิไวษณพแบ่งเป็นหลายสำนัก เช่น ไทฺวตะ เวทานตะของมัธวาจารย์ วิศิษฏาไทฺวตะ เวทานตะของรามานุชะ สมาคมกฤษณภาวนามฤตนานาชาติของภักติเวทานตสวามี คีตาอาศรมของสวามี หริหระ มหาราช เป็นต้น

https://th.wikipedia.org/wiki/%E0%B8%A5%E0%B8%B1%E0%B8%97%E0%B8%98%E0%B8%B4%E0%B9%84%E0%B8%A7%E0%B8%A9%E0%B8%93%E0%B8%9E

07/12/2022

ลัทธิไศวะ หรือ ไศวนิกาย (อังกฤษ: Shaivism)
เป็นลัทธินิกายที่นับถือพระศิวะเป็นพระเป็นเจ้าหรือพรหมัน ศาสนิกชนในลัทธินี้เรียกว่าชาวไศวะ ซึ่งมีรูปแบบความเชื่อและการปฏิบัติแตกต่างกันไปเป็นหลายกลุ่ม เช่น ศิวสิทธานตะที่มีแนวคิดว่าบุคคลจะหลุดพ้นได้โดยการภักดีต่อพระศิวะ แต่ลัทธิโยคะถือว่าทุกสิ่งเป็นส่วนหนึ่งของพรหมันอยู่แล้วลัทธินี้ถือพระเวทและอาคมเป็นคัมภีร์สำคัญ
ลัทธิไศวะมีที่มาจากการนับถือพระรุทรในสมัยพระเวท (ราวสองพันปีก่อนคริสต์ศักราช) คัมภีร์เศวตาศวตโรปนิษัทซึ่งแต่งขึ้นราวหนึ่งพันปีก่อนคริสต์ศักราชปรากฏคำว่า รุทร ศิวะ มเหศวร แต่การตีความคำเหล่านี้ยังเป็นที่ถกเถียงอยู่ จนถึงคริสต์สหัสวรรษที่ 1 ลัทธิไศวะทั้งสายภักตินิยมและสายโยคะก็เริ่มแพร่หลายในหลายอาณาจักร รวมทั้งในภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ที่พบโบสถ์พราหมณ์ลัทธิไศวะหลายพันแห่งในประเทศอินโดนีเซีย กัมพูชา และเวียดนาม
ความเชื่อของลัทธิไศวะมีหลายรูปแบบ บางกลุ่มถือว่าพระศิวะคือมหาเทพพระผู้สร้าง รักษา และทำลายล้างโลก บางกลุ่มมองว่าพระศิวะหมายถึงอาตมันอันเป็นภาวะแก่นสารของสรรพสิ่ง ในด้านการปฏิบัติ มีการบูชาพระศิวะรวมถึงพระปารวตีผู้เป็นศักติ (ซึ่งแบบขนบของลัทธิศักติ) ตามโบสถ์พราหมณ์ต่าง ๆ บางกลุ่มเน้นการถือพรตฝึกโยคะเพื่อให้เข้าถึงพระศิวะที่เป็นอาตมันภายในตนเอง
https://th.wikipedia.org/wiki/%E0%B8%A5%E0%B8%B1%E0%B8%97%E0%B8%98%E0%B8%B4%E0%B9%84%E0%B8%A8%E0%B8%A7%E0%B8%B0

07/12/2022

ลัทธิศักติ หรือ ศากติ (สันสกฤต: शाक्त ศากฺต)
เป็นนิกายในศาสนาฮินดูที่บูชาอาทิปราศักติเป็นพระเป็นเจ้า ศักติในทางอภิปรัชญาคือความเป็นจริงและหมายถึงสตรีในรูปอุปมาซึ่งประกอบด้วยเทวีหลายองค์ ทุกพระองค์ล้วนถือว่าเป็นเทวีสูงสุดองค์เดียวกัน ลัทธิศักติยังประกอบลัทธิย่อย ๆ อีกมากมาย ตั้งแต่บูชาพระปารวตีผู้เลอโฉม ไปจนถึงพระแม่กาลีผู้ดุดัน
คัมภีร์ศรุติและสมฤติเป็นเอกสารสำคัญของโครงสร้างความเชื่อในลัทธิศักติ นอกจากนี้ยังมี เทวีมาหาตมยะ เทวีภาควตปุราณะและ ศากตอุปนิษัท เช่น เทวีอุปนิษัท ในความเชื่อของลัทธิศักติยกย่องเทวีมาหาตมยะเป็นพิเศษ และถือว่าสำคัญเทียบเท่ากับภควัทคีตา
เทวีต่าง ๆ เป็นที่นิยมมากขึ้นภายหลังการเสื่อมของศาสนาพุทธในอินเดีย เทวีต่าง ๆ ของฮินดูและพุทธได้ถูกรวมเข้ากันเป็นมหาวิทยา หรือเทวีสิบองค์ เทวีที่เป็นที่บูชาทั่วไปในลัทธิศักติและพบได้บ่อย เช่น พระแม่ทุรคา, พระแม่กาลี, พระแม่สุรัสวดี, พระแม่ลักษมี, พระแม่ปารวตี และ พระแม่ตรีปุระสุนทรี ลัทธิบูชาเทวีนี้เป็นที่นิยมมากเป็นพิเศษในแถบตะวันออกเฉียงเหนือของอินเดีย โดยเฉพาะในรัฐเบงกอลตะวันตกและรัฐอัสสัม ที่ซึ่งเทศกาลอย่างทุรคาบูชา เป็นที่นิยมสูงเป็นพิเศษ แนวคิดของลัทธิศักติมีอิทธิพลต่อลัทธิไวษณพ (ลัทธิที่บูชาพระวิษณุเป็นหลัก) และ ลัทธิไศวะ (ลัทธิที่บูชาพระศิวะเป็นหลัก) โดยมีองค์เทวีต่าง ๆ เป็น ศักติ/พลัง ของพระวิษณุและพระศิวะตามลำดับ
https://th.wikipedia.org/wiki/%E0%B8%A5%E0%B8%B1%E0%B8%97%E0%B8%98%E0%B8%B4%E0%B8%A8%E0%B8%B1%E0%B8%81%E0%B8%95%E0%B8%B4

07/12/2022

ศาสนาฮินดู
หรือในเอกสารภาษาไทยนิยมใช้คำว่า ศาสนาพราหมณ์-ฮินดู เป็นศาสนาหนึ่งในกลุ่มศาสนาอินเดีย และเป็นธรรมะหรือแนวทางการใช้ชีวิตของผู้คน ที่เป็นที่นับถืออย่างแพร่หลายในอนุทวีปอินเดียและบางส่วนในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ โดยเฉพาะบนเกาะบาหลี เป็นที่ยอมรับกันทั่วไปว่าเป็นศาสนาที่เก่าแก่ที่สุดในโลก
ศาสนิกชนและนักวิชาการบางกลุ่มเรียกศาสนาฮินดูว่าเป็น "สนาตนธรรม" หรือหนทางนิรันดร์ชั่วประวัติศาสตร์ของมนุษยชาติ นักวิชาการมักมองศาสนาฮินดูว่าเป็นการผสมผสานหรือสังเคราะห์มาจากวัฒนธรรม จารีต และประเพณีอันหลากหลายในอนุทวีปอินเดีย ที่มีรากฐานหลากหลาย และไม่มีศาสดาหรือผู้ริเริ่มตั้งศาสนา แต่ผู้เผยแผ่คำภีร์พระเวท ยุคแรกเริ่มคือ ฤๅษีวยาส ท่านเปรียบเสมือนเป็นศาสดาคนหนึ่ง
"การสังเคราะห์ศาสนาฮินดู" (Hindu synthesis) นี้เริ่มมีขึ้นระหว่างราว 500 ปีก่อนคริสตกาล ถึงคริสต์ศักราช 300 ภายหลังการสิ้นสุดลงของยุคพระเวท (1500 ถึง 500 ก่อนคริสตกาล), และเจริญรุ่งเรืองในอินเดียสมัยกลางไปพร้อมกับการเสื่อมของศาสนาพุทธในอนุทวีปอินเดีย
ถึงแม้ว่าศาสนาฮินดูจะเต็มไปด้วยปรัชญาหลายแขนง แต่ก็สามารถเชื่อมโยงถึงกันผ่านแนวคิดที่มีร่วมกัน, พิธีกรรมที่คล้ายคลึงกัน, จักรวาลวิทยาฮินดู, คัมภีร์ฮินดู และ สถานที่แสวงบุญ ส่วนคัมภีร์ของศาสนาฮินดูนั้นจำแนกออกเป็น ศรุติ (จากการฟัง) และ สมรติ (จากการจำ) คัมภีร์เหล่านี้มีทั้งปรัชญาฮินดู, ประมวลเรื่องปรัมปราฮินดู, พระเวท, โยคะ, พิธีกรรม, อาคม และการสร้างโบสถ์พราหมณ์ เป็นต้น คัมภีร์เล่มสำคัญได้แก่ พระเวท, อุปนิษัท, ภควัทคีตา, รามายณะ และ อาคม ที่มา ผู้ประพันธ์ และความจริงนิรันดร์ในคัมภีร์เหล่านี้ล้วนมีบทบาทสำคัญ แต่ศาสนาฮินดูก็มีแนวคิดหลักสำคัญที่สนับสนุนการตั้งคำถามต่อที่มาและเนื้อความของคัมภีร์เพื่อให้เข้าใจสัจธรรมต่าง ๆ ได้อย่างลึกซึ้ง และสร้างประเพณีหรือแนวคิดต่อยอดในอนาคต
สาระสำคัญในศาสนาฮินดูคือ "ปุรุษารถะ" ทั้งสี่ อันเป็นจุดมุ่งหมายอันสมควรในชีวิตของมุนษย์ ได้แก่ ธรรมะ (หน้าที่/จริยธรรม), อรรถะ (การเจริญเติบโต/หน้าที่การงาน), กามะ (ประสงค์/แรงจูงใจ) และ โมกษะ (การหลุดพ้น/การเป็นอิสระจากการเวียนว่ายตายเกิด) นอกจากนี้ แนวคิดสำคัญอื่น ๆ ที่พบในศาสนาฮินดูยังรวมถึง กรรม (การกระทำ/ผลของการกระทำ), สังสารวัฏ (วงจรเวียนว่ายตายเกิด) และ การปฏิบัติโยคะ (หนทางสู่โมกษะ) ที่มีอยู่หลากหลายปรัชญา
การปฏิบัติในศาสนาฮินดู มีทั้ง ปูชา (การบูชา), การสวดมนต์และร้องเพลงสวด, ชปะ, การปฏิบัติสมาธิ, สังสการ (พิธีกรรมเปลี่ยนผ่าน), เทศกาลประจำปีและการออกเดินทางแสวงบุญตามโอกาส ศาสนิกชนบางส่วนละทิ้งชีวิตทางโลกและการยึดติดกับวัตถุ เพื่ออกสู่สันยาสะ (ถือพรต/ออกบวช) เพื่อเข้าสู่โมกษะ
ศาสนาฮินดูยังเน้นย้ำถึงหน้าที่ตลอดกาล เช่น ความกตัญญู ซื่อสัตย์, ไม่ทำร้ายสัตว์และผู้คน (อหิงสา), การใจเย็น, ความอดทนอดกลั้น, การข่มใจตนเอง และความเมตตานิกายในศาสนาฮินดูหลักมี 4 นิกาย คือ ลัทธิไวษณพ, ลัทธิไศวะ, ลัทธิศักติ และลัทธิสมารตะ
ศาสนาฮินดูถือเป็นศาสนาที่มีผู้นับถือมากที่สุดในโลกเป็นอันดับที่ 3 มีศาสนิกชนซึ่งเรียกว่า ชาวฮินดู อยู่ราว 1.15 พันล้านคน หรือ 15-16% ของประชากรโลก ศาสนาฮินดูมีผู้นับถือมากที่สุดในอินเดีย, เนปาล และ มอริเชียส นอกจากนี้ยังเป็นศาสนาหลักในจังหวัดบาหลี อินโดนีเซียเช่นกัน ชุมชนฮินดูขนาดใหญ่ยังพบได้ในแคริบเบียน, เอเชียตะวันออกเฉียงใต้, อเมริกาเหนือ, ยุโรป, แอฟริกา และประเทศอื่น ๆ

https://th.wikipedia.org/wiki/%E0%B8%A8%E0%B8%B2%E0%B8%AA%E0%B8%99%E0%B8%B2%E0%B8%AE%E0%B8%B4%E0%B8%99%E0%B8%94%E0%B8%B9

07/12/2022

กาลี (/ˈkɑːliː/; สันสกฤต: काली) หรือ กาลิกา
เป็นเทวีในศาสนาฮินดู ผู้นำของมหาวิทยา กลุ่มตันตรเทวีสิบองค์ซึ่งเป็นปางต่าง ๆ ของพระแม่ปารวตี
ปางดั้งเดิมของพระแม่กาลีคือเป็นผู้ทำลายล้างพลังชั่วร้าย และถือกันว่าพระนางเป็นศักติองค์ที่มีพลังอำนาจมากที่สุด นอกจากนี้ยังเป็นหนึ่งในสี่กาวลมรรค ตามธรรมเนียมตันตระของลัทธิไศวะ ความเชื่อพื้นฐานคือพระนางเป็นผู้ทำลายความชั่วร้ายและปกป้องผู้บริสุทธิ์ ในยุคถัด ๆ มา มีการเคารพบูชาพระแม่กาลีในสถานะต่าง ๆ ทั้งในฐานะเทวีสูงสุด, พระมารดาแห่งเอกภพ, อาทิศักติ หรือ อาทิปรศักติ ธรรมเนียมศักตะและตันตระบางธรรมเนียมบูชาพระนางเป็นความจริงสูงสุด ("พรหม")
นอกจากนี้ยังถือว่าพระนางเป็นเทวีผู้พิทักษ์บุคคลผู้ที่เข้าสู่โมกษะ (การหลุดพ้น) รูปเคารพทั่วไปของพระแม่กาลีมักแสดงพระนางกำลังยืนหรือร่ายรำอยู่บนร่างกายของพระศิวะ คู่ครองของพระนาง ซึ่งนอนอย่างสงบเสงี่ยมอยู่เบื้องใต้ มีการบูชาพระนางในบรรดาศาสนิกชนของศาสนาฮินดูทั้งในอินเดีย, เนปาล และหลายแห่งทั่วโลก
กาลี (Kālī) เป็นรูปสตรีของคำว่า กาล (Kāla) ซึ่งแปลว่า "เวลา" หรือ "ความเติมเต็มของเวลา") และอาจตีความได้ว่าเวลาในบริบทนี้หมายถึง "การเปลี่ยนแปลงนิรันดร์ของธรรมชาติ ซึ่งท้ายที่สุดจะนำพาทุกสิ่งไปสู่ความตาย" นามรองอื่น ๆ ที่ปรากฏ เช่น กาลราตริ (Kālarātri; "ค่ำคืนมืดมิด") และ กาลิกา (Kālikā; "ผู้มีกายดำ")
คำพ้องรูปพ้องเสียง กาละ (kāla; เวลา) นั้นต่างกับ กาละ (สีดำ) โดยสิ้นเชิง แต่ต่อมาได้ถูกนำมาเกี่ยวกันผ่านศัพทมูลสมัยนิยม การนำมาเกี่ยวกันนี้พบปรากฏในความตอนหนึ่งในมหาภารตะ ซึ่งแทนภาพของตัวละครสตรีซึ่งทำหน้าที่ขนย้ายวิญญาณของนักรบที่ถูกสังหารและสัตว์ ด้วยชื่อ กาลีมาตา ("มารดาสีดำ") และ กาลี ซึ่งนักวิชาการ คอเบิร์น ระบุว่าสามารถอ่านคำนี้ได้ทั้งในรูปของวิสามานยนาม หรือในแง่ว่าเป็นคำอธิบายของ "ผู้ซึ่งมีสีน้ำเงินเข้ม"นอกจากนี้ กาละ ยังเป็นนามรองหนึ่งของพระศิวะ คู่ครองของพระแม่กาลีเช่นกัน
https://th.wikipedia.org/wiki/%E0%B8%81%E0%B8%B2%E0%B8%A5%E0%B8%B5

บทสวดมนตราพระแม่อุมาเทวี ฟังทุกวันเกิดอัศจรรย์ทันตา 06/12/2022

มนตราพระแม่อุมาเทวี ฟังทุกวันอัศจรรย์ทันตา #กาลราตรี #พระแม่อุมาเทวี #บทสวดพระแม่ #พระแม่กาลี

บทสวดมนตราพระแม่อุมาเทวี ฟังทุกวันเกิดอัศจรรย์ทันตา #พระแม่อุมาเทวี #บทสรรเสริญพระแม่อุมาเทวี

02/12/2022

พระแม่กาลราตรี หรือ พระแม่กาลี

ครั้งหนึ่งมีอสูรสองพี่น้องคือศุมภและนิศุมภะต้องการต่อกลอนกับพระแม่ทุรคา
ในรูปของพระแม่เกาศิกีหรือพระแม่อัมพิกาจึงได้ส่งอสูรชื่อจันและมุนเป็นแม่ทัพไปล้อมจับพระแม่อัมพิกา
พระแม่อัมพิกาทรงพิโรธมากจึงมีเทวีองค์สีดำผุดออกมาจากพระนลาฏของพระองค์
เทวีองค์นั้นคือพระแม่กาลีหรือกาลราตรีได้ฆ่าอสูรทั้งสองพระแม่กาลีจึงได้อีกชื่อว่าพระแม่จามุนฑา
เนื่องจากได้ฆ่าอสูรจันและมุนได้นั่นเองดังนั้นเหล่าคณะเทวีจึงได้ทำลายกองทัพอสูรสุมภและนิสุมภ
โดยมีอสูรที่มีชื่อว่ารักตภีชเมื่อพระแม่จามุนดาได้ตัดหัวของรักตภีชเลือดของรัตภีตก็จะหยดลงสู่แผ่นดิน
แล้วผุดออกมาเป็นร่างโคลนอีกนับร้อยนับพันเมื่อกำจัดไม่ได้พระแม่กาลีจึได้ดูดเลือดของรัตภีตตาม
พื้นจนไม่ผุดขึ้นมาอีกดังนั้นพระแม่กาลีจึงโสมนัสมากบางตำราก็บอกว่าพระองค์เมาเลือดอสูร
เมื่อพระองค์โสมนัสมากพระองค์ก็กระโดดโลดเต้นไปมาจนแผ่นดินสั่นสะเทือน
จนทำให้พระศิวะเกรงว่าโลกจะถูกทำลายเมื่อพระกาลีเหยียบลงบนผิวโลกจึงใช้ตัวของพระองค์ไปรองรับ
จากนั้นพระแม่กาลีก็เหยียบลงบนกลางพระอุระของพระศิวะเมื่อพระแม่กาลีเห็นพระสวามีของพระองค์เองถูกเหยียบก็สำนึกได้จึงแลบพระชิวหา(ลิ้น)ออกมาเพื่อแสดงความเขินอาย
จากนั้นพระแม่ก็แปลงกายเป็นพระนางปารวตีดังเดิม
.
วันที่บูชาพระองค์ : วันที่๗หรือคืนที่๗ของเทศกาลนวราตรี

ดาวเคราะห์ที่ควบคุม : ดาวเสาร์

มนตร์ประจำพระองค์ : โอมเทวีกาลราตรไยนะมะห์ॐदेवीकालरात्र्यैनम

รูปลักษณ์ของพระองค์ :
พระแม่กาลราตรีทรงประทับบนลาพระฉวีวรรณสีดำพระเกศายาวสยายกระเซิงไม่เป็นระเบียบ
สังวาลย์เป็นหัวกะโหลกหรือแขนอสูรมีพระกร4พระกรพระหัตถ์ขวาล่างทำมือวรทามุทรา
พระหัตถ์ขวาบนทำมืออภัยมุทราพระหัตถ์ซ้ายบนทรงถือดาบพระหัตถ์ซ้ายล่างทรงถือวัชระ
นุ่งผ้าหนังสัตว์ยืนบนซากศพหรือพระศิวะบางแห่งนิยมบูชาพระแม่กาลราตรีในรูปของพระแม่กาลี
คือมีพรระกร4พระกรทรงถือดาบหัวของอสูรรัตภีตทำมืออภัยมุทราและวรทามุทรา
ใส่สังวาลย์เป็นหัวกะโหลกหรือแขนของอสูรหรือสังวาลย์ดอกชบาแดง
ทรงฉลองพระองค์ด้วยพระภูษาสีแดงเลือดหรือไม่ทรงฉลองพระองค์เปลือยเปล่ากายสีดำเหยีบพระศิวะแลบพระชิวหา(ลิ้น)ยาวถึงทรวงอกมีเขี้ยวงอกตามพระโอษฐ์

Website