บุ่งหวายก้าวหน้า - Bungwai Move Forward
Contact information, map and directions, contact form, opening hours, services, ratings, photos, videos and announcements from บุ่งหวายก้าวหน้า - Bungwai Move Forward, Nonprofit Organization, .
📣 ก้าวไกลขอเชิญทุกคนร่วมทำภารกิจด่วน! ⚠️
"พฤหัสสีส้ม" เชิญชวนทุกคนร่วมใส่เสื้อผ้าสีส้ม ติดสัญลักษณ์ ร่วมสื่อสารทั้งในโลกออนไลน์และออฟไลน์ เพื่อสนับสนุนให้รัฐสภาลงมติโหวต พิธา ลิ้มเจริญรัตน์ เป็นนายกรัฐมนตรีคนที่ 30 ของประเทศไทย ให้สำเร็จ
[ อุบลราชธานี ]
17.00 น. ร่วมติดตามการประชุมรัฐสภาโหวตนายกร่วมกันที่ร้าน Songsarn (ใกล้ตลาดใหญ่) อ.เมือง จ.อุบลราชธานี
19.00 น. ร่วมกันจุดเทียนแห่งความหวัง ณ ศาลหลักเมืองอุบลราชธานี
โดยทุกคนสามารถออกมาร่วมติดตามผลการโหวตของรัฐสภาได้ที่แต่ละจุดใกล้บ้านท่านทั่วประเทศ แต่หากใครอยู่กรุงเทพ เราชวนทุกท่านมาร่วมติดตามกันที่รัฐสภา แยกเกียกกาย ในวันที่ 13 กรกฎาคม 2566 โดยพร้อมเพรียงกัน 🍊🍊🍊
#ก้าวไกล #ประชุมสภา #พฤหัสสีส้ม
คนบุ่งหวายเลือกพรรคไหน?
เรื่องของตะวันและแบม คือเรื่องของทุกคน
การเรียกร้องสิทธิให้ผู้ต้องหา 112 คือการยืนยันสิทธิของคนไทยทุกคน
ผมเฝ้าติดตามข่าวการถอนประกันตัวเองที่ศาลอาญา ต่อด้วยการประท้วงอดอาหารและน้ำของตะวันและแบม ด้วยหัวใจที่หนักอึ้ง ผมเป็นห่วงสุขภาพของทั้งคู่ แต่ก็ตระหนักดีว่านี่คือการตัดสินใจอันเด็ดเดี่ยวของพวกเขา ที่จะต่อสู้เรียกร้องในสิ่งที่พวกเขาเชื่อ
ข้อเรียกร้องที่ทั้งสองคนใช้ร่างกายและชีวิตเป็นเดิมพัน คือ
1. ต้องมีการปฏิรูปกระบวนการยุติธรรม ศาลต้องคำนึงถึงหลักสิทธิมนุษยชน และเสรีภาพในการแสดงออก ต้องเป็นอิสระ ปราศจากอำนาจนำ และผู้บริหารศาลต้องไม่แทรกแซงกระบวนการพิจารณาคดี
2. ยุติการดำเนินคดีกับประชาชนที่ใช้สิทธิเสรีภาพในการแสดงความคิดเห็น การชุมนุม และการแสดงออกทางการเมือง
3. พรรคการเมืองทุกๆ พรรคต้องเสนอนโยบายเพื่อประกันสิทธิเสรีภาพ และการมีส่วนร่วมทางการเมือง โดยการยกเลิก ม.112 และ ม.116
ผมสนับสนุนข้อเสนอทั้งสามข้อ มันเป็นเรื่องน่าเศร้าอย่างยิ่งที่ในประเทศไทย ตะวัน และแบม ต้องใช้ร่างกายของตัวเองเป็นเครื่องมือต่อสู้เรียกร้องเพื่อให้ได้สิทธิพื้นฐานเหล่านี้
ที่น่าเศร้ายิ่งกว่า คือคนจำนวนมากคิดว่านี่เป็นเรื่องของคนไม่กี่คน เป็นเรื่องของคนที่ “หาเรื่องใส่ตัว” ถ้าอยู่เฉยๆ ก็คงไม่เดือดร้อน ไม่ต้องติดคุกติดตะราง เสียอนาคต
ผมขอยืนยันว่า การเรียกร้องกระบวนการยุติธรรมที่เป็นอิสระและคุ้มครองสิทธิเสรีภาพขั้นพื้นฐานของประชาชนเสมอภาคกัน ไม่ใช่เรื่องของคนไม่กี่คน แต่เป็นเรื่องพื้นฐานที่คนไทยทุกคนต้องได้รับ สิทธิในการประกันตัว และได้รับการพิจารณาคดีอย่างเป็นธรรม เป็นสิ่งที่ไม่ว่าใครหน้าไหนต้องได้รับ โดยไม่จำเป็นต้องเรียกร้องต่อสู้ เช่นเดียวกับสิทธิในการมีน้ำประปาสะอาดใช้ หรือได้นั่งรถเมล์ที่ปลอดภัยและราคาถูก
วันนี้ ผมขอยืนหยัดเคียงข้างตะวันและแบม นี่ไม่ใช่การยืนหยัดเพื่อตะวันและแบม หรือผู้ต้องหาคดีการเมืองเท่านั้น แต่คือการยืนหยัดเพื่อสิทธิเสรีภาพขั้นพื้นฐานของคนไทยทุกคน
อย่ารอจนกว่าจะถึงวันที่ลูกหลานของเราต้องรณรงค์ประท้วงด้วยชีวิตของพวกเขา จึงค่อยตระหนักว่ากระบวนการยุติธรรมที่เที่ยงธรรม สำคัญต่อเราแค่ไหน
ธนาธร จึงรุ่งเรืองกิจ
20 มกราคม 2566
______________________
สื่อชิ้นนี้ผลิตโดย ธนาธร จึงรุ่งเรืองกิจ เลขที่ 167 ชั้น 5 ซอยรามคำแหง 42 แขวงหัวหมาก เขตบางกะปิ กรุงเทพมหานคร 10240 จำนวนที่ผลิต 1 โพสต์ วันและเวลาที่ผลิตตามที่ปรากฏ
วุ่นอีกแล้ว!! เงินหายเพิ่มอีก 19 ล้าน!! รวม 58 ล้าน
เทศบาลนครอุบลราชธานี
ผอ.คลังให้การเพิ่มเติมกับตำรวจไซเบอร์ว่า
พบเงินหายในเดือนตุลาคม อีก 19 ล้านบาท
จึงทำให้ยอดเงินที่หายไป เดือน ตุลาคม 19 ล้านบาท
เดือน พฤศจิกายน 39 ล้านบาทตามข้อมูลที่แจ้งไปแล้วในโพสก่อนหน้านี้
ยอดรวมแล้วกว่า 58 ล้านบาท
จึงขอตั้งข้อสังเกตว่า…ทำไม
กว่าสองเดือน..!! ไม่ตรวจบัญชีตามหน้าที่
ซึ่งมีหนังสือคำสั่งชัดเจนว่าให้ตรวจยอดทุกวัน
นี่คือการแสดงถึงความละเลยละเลยทั้งเจ้าหน้าที่และฝ่ายการเมือง ที่ปล่อยให้มีการกระทำแบบนี้ขึ้นหรือไม่
จนเป็นเหตุให้เกิดความเสียหายร้ายแรง ประมาทเลินเล่อร้ายแรง
ขอเป็นกำลังใจให้กับเจ้าหน้าที่ที่กระทำผิด
และแสดงความห่วงใยไปกับหน่วยงานทุกสังกัดในการป้องกันอาชญากรรมทุกรูปแบบ โดยเฉพาะทางเทคโนโลยี
=========++++++++++==========
ผลิตสื่อโดย
วิศรุต สวัสดิ์วร
2 ซอย สุขสงเคราะห์ 1.1 ถนนสุขาสงเคราะห์
ตำบลในเมือง อ.เมือง จ.อุบลราชธานี
จำนวน 1 ชุด ตามวันเวลาที่ปรากฎ
#เงินหายอุบล
[ "วิกฤตลุ่มน้ำมูน" น้ำท่วมใหญ่ที่สุดในรอบ 44 ปี และข้อเสนอเร่งด่วนของพรรคก้าวไกล ]
เดชรัต สุขกำเนิด และวิศรุต สวัสดิ์วร (ว่าที่ผู้สมัคร ส.ส. อุบลราชธานี เขต 1 พรรคก้าวไกล)
จากสถานการณ์น้ำท่วมจังหวัดอุบลราชธานี ขณะนี้ระดับน้ำในแม่น้ำมูนยังคงเพิ่มสูงขึ้นอย่างต่อเนื่อง จนเมื่อ 17.00 น. ระดับน้ำในแม่น้ำมูนที่สะพานเสรีประชาธิปไตย (หรือจุด M.7) ได้สูงถึงระดับ 11.02 เมตร หรือสูงกว่าระดับน้ำท่วมสูงสุดในปี พ.ศ. 2565 ไปเรียบร้อยแล้ว เรียกได้ว่าน้ำท่วมครั้งนี้เป็นน้ำท่วมครั้งที่มีระดับสูงที่สุดในรอบ 44 ปี (ระดับสูงสุดคือ ปี พ.ศ. 2521)
ภายใต้สถานการณ์วิกฤต พี่น้องชาวอุบลราชธานีประสบปัญหาในการดำเนินชีวิตหลายประการมาก พรรคก้าวไกล จังหวัดอุบลราชธานี และ Think Forward Center ได้สรุปสถานการณ์ปัญหาที่สำคัญไว้ 4 ประการ พร้อมข้อเสนอแนะ ดังนี้
[ ปัญหาเส้นทางการสัญจรถูกน้ำท่วม ]
วิกฤตการณ์ล่าสุดที่พบในพื้นที่ตัวเมืองอุบลราชธานี-วารินชำราบ คือ เส้นทางสัญจรที่เคยใช้ข้ามระหว่างสองฝั่งของลำน้ำมูนถูกน้ำท่วมไปเรื่อยๆ รถเล็กแทบผ่านไม่ได้ จนเหลือเส้นทางที่ใช้งานได้เพียงเส้นทางเดียว คือเส้นรอบเมืองช่วงกุดลาด-บัวเทิง ทำให้เกิดปัญหาการจราจรที่ติดขัด และประชาชนที่จำเป็นต้องสัญจรข้ามฝั่งแม่น้ำสองฝั่งก็ต้องเฝ้ารอเป็นเวลานาน เพราะรถที่มาให้บริการยังมีจำนวนจำกัด
พรรคก้าวไกล จังหวัดอุบลราชธานี และ Think Forward Center เห็นว่า จังหวัดอุบลราชธานีควรประกาศให้หยุดราชการ หรือทำงานแบบ work from home ในช่วงนี้ จนกว่าจะผ่านช่วงน้ำท่วมสูงสุดไปก่อน และควรเร่งเพิ่มจำนวนเที่ยวรถบริการสัญจรข้ามฝั่งแม่น้ำสำหรับผู้ที่จำเป็นต้องสัญจร โดยด่วนที่สุด
[ การคาดการณ์ระดับน้ำท่วม ]
นับตั้งแต่วันที่ 28 กันยายน 2565 ที่เริ่มมีน้ำท่วมเมืองอุบลราชธานี-วารินชำราบเป็นต้นมา ระดับน้ำท่วมได้เพิ่มสูงขึ้นเร็วมาก กล่าวคือ เพิ่มจากระดับ 8.73 เมตร ในวันที่ 28 กันยายน มาเป็น 11.02 เมตร.ในวันที่ 4 ตุลาคม หรือเท่ากับเพิ่มขึ้น 2.29 เมตร ภายในเวลาเพียง 6 วัน และยังมีแนวโน้มเพิ่มสูงขึ้น ทำให้การเตรียมความพร้อมของพี่น้องประชาชนอยู่ในภาวะสับสน และฉุกละหุกอย่างมาก พรรคก้าวไกล จังหวัดอุบลราชธานี ได้เห็นถึงปัญหาพื้นที่ศูนย์พักพิง/ศูนย์อพยพที่ถูกน้ำท่วมซ้ำ และต้องย้ายไปหาพื้นที่ตั้งแห่งใหม่ รวมถึงปัญหาพี่น้องชาวอุบลราชธานี ต้องพายเรือกลับเข้าไปขนข้าวให้พ้นจากระดับน้ำที่เพิ่มสูงขึ้นเฉลี่ยวันละ 38 เซนติเมตร
นอกจากนี้ พี่น้องชาวอุบลราชธานียังไม่สามารถทราบการคาดการณ์ระดับน้ำท่วมและพื้นที่ปลอดภัยได้ เพราะตลอดหนึ่งสัปดาห์ที่ผ่านมา พี่น้องประชาชนมักจะเทียบเคียงกับระดับน้ำท่วมในปี 2562 (ซึ่งเป็นครั้งที่สูงที่สุด ก่อนที่จะถูกทำลายสถิติในปีนี้) แต่ในเมื่อการคาดการณ์ของสำนักงานคณะกรรมการทรัพยากรน้ำแห่งชาติที่คาดว่า ระดับน้ำในแม่น้ำมูนจะยังเพิ่มขึ้นอีกประมาณ 45 เซนติเมตร หรือเกือบครึ่งเมตร (คาดการณ์ว่าจะท่วมสูงสุดในระหว่างวันที่ 10-12 ตุลาคม 2565) พี่น้องชาวอุบลราชธานีและชาววารินชำราบจึงตกอยู่ในภาวะกังวลใจและสับสนว่า น้ำจะท่วมถึงระดับใด
พรรคก้าวไกล จังหวัดอุบลราชธานี และ Think Forward Center จึงเรียกร้องให้ รัฐบาล จังหวัดอุบลราชธานี และสำนักงานคณะกรรมการทรัพยากรน้ำแห่งชาติ จัดทำแผนที่คาดการณ์ระดับน้ำท่วมสูงสุดมาเผยแพร่โดยด่วนที่สุด เพื่อให้พี่น้องชาวอุบลราชธานีเตรียมความพร้อมในการอพยพหรือย้ายข้าวของไปอยู่ในพื้นที่ปลอดภัย
การดูแลพื้นที่ประสบภัยและศูนย์อพยพ
ปัจจุบัน พบว่า พื้นที่รองรับผู้ประสบภัยยังมีจำนวนจำกัดไม่เพียงพอกับจำนวนของผู้อพยพ ทั้งยังมีปัญหาในเรื่องสิ่งอำนวยความสะดวกในการดำรงชีวิต ทั้งเต็นท์ที่พักซึ่งไม่เพียงพอ สุขาและน้ำใช้ที่ไม่เพียงพอเป็นส่วนใหญ่ และไฟฟ้าที่มีปัญหาในบางพื้นที่ นอกจากนี้ยังมีปัญหาที่ต้องย้ายศูนย์อพยพที่เคยย้ายมาแล้วอีกด้วย
ขณะเดียวกัน พี่น้องชาวอุบลราชธานี-วารินชำราบ ก็ประสบปัญหาอย่างมากในการประสานงานและขอข้อมูลในการช่วยเหลือ สอบถามเส้นทาง และศูนย์อพยพ เพราะเมื่อติดต่อสอบถามกับหน่วยงานที่รับผิดชอบด้านการป้องกันและบรรเทาสาธารณภัยก็กลับโยนให้ไปสอบถามหน่วยงานระดับท้องถิ่น แต่หน่วยงานในระดับท้องถิ่นที่อยู่ในพื้นที่ประสบอุทกภัยในครั้งนี้มีมากกว่า 10 แห่ง ทำให้การประสานงานเป็นไปอย่างสับสนวุ่นวาย สร้างความขุ่นเคืองใจกับพี่น้องประชาชนที่ประสานขอความช่วยเหลือเป็นอย่างมาก
พรรคก้าวไกล จังหวัดอุบลราชธานี และ Think Forward Center จึงเรียกร้องให้รัฐบาล และจังหวัดอุบลราชธานีดูแลพื้นที่/ผู้ประสบภัยให้ทั่วถึงและดีที่สุด โดยควรมีศูนย์บัญชาการเหตุการณ์ (หรือ war room) ในการประสานความช่วยเหลือจากหน่วยงานต่างๆ และจัดสรรและกระจายไปยัง อปท. หน่วยอาสาสมัคร และศูนย์อพยพ/ศูนย์พักพิงในพื้นที่ต่างๆ อย่างมีประสิทธิภาพ ทั่วถึง และทันการณ์ที่สุด
นอกจากนี้ รัฐบาลควรสนับสนุนงบประมาณให้ อปท. เข้ามามีบทบาทในการดูแลพี่น้องประชาชนอย่างเต็มที่ เป็นกรณีพิเศษ เพื่อป้องกันไม่ให้ผู้ประสบอุทัยภัยต้องประสบภัยซ้ำซ้อนจากความไม่มีประสิทธิภาพของหน่วยราชการ
[ การเยียวยาเร่งด่วน ]
เนื่องจากสถานการณ์น้ำท่วมอุบลราชธานีในปีนี้รุนแรงกว่าทุกปี และพี่น้องประชาชนจำนวนมาก เพิ่งได้รับผลกระทบจากภัยพิบัติน้ำท่วมในปี 2562 และจากสถานการณ์โควิด-19 ในปี 2563-2564 หรือกล่าวได้ว่า เผชิญวิกฤตการณ์ต่อเนื่องมาตลอดทั้ง 4 ปี เพราะฉะนั้นการเผชิญอุทกภัยครั้งนี้ จึงส่งผลกระทบต่อเศรษฐกิจครัวเรือนอย่างสาหัสด้วย โดยเฉพาะการที่ต้องเผชิญกับค่าใช้จ่ายที่เพิ่มมากขึ้น
พรรคก้าวไกล จังหวัดอุบลราชธานี และ Think Forward Center จึงเสนอให้รัฐบาลปรับแนวทางการช่วยเหลือเยียวยาผู้ประสบภัย จากการเยียวยาหลังน้ำลด มาเป็นการเยียวยาเร่งด่วนทันที ในช่วงที่กำลังประสบภัยอุทกภัย สำหรับผู้ที่มีมาอยู่ในศูนย์อพยพ/ศูนย์พักพิง ในอัตรา 3,000 บาท/คน/เดือน (คำนวณมาจาก 100 บาท/คน/วัน)
ขณะเดียวกัน การจ่ายเงินเยียวยาบ้านเรือน และพื้นที่การเกษตร ภายหลังน้ำลด รัฐบาลจะต้องประกาศแนวทางให้ชัดเจนตั้งแต่ขณะนี้ โดยแนวทางและหลักเกณฑ์การเยียวยาจะต้องเป็นแนวทางหรือหลักเกณฑ์ที่สะดวก เป็นธรรม สอดคล้องกับสภาพความเสียหายจริง รวดเร็ว และทั่วถึงกว่าปีที่ผ่านมา เช่น การใช้ข้อมูลภาพถ่ายดาวเทียมจาก GISTDA หรือการใช้ Big data ผ่านสื่อสังคมออนไลน์ในการบ่งชี้พื้นที่น้ำท่วม หรือการเยียวยาพื้นที่นาควรได้รับครอบคลุมต้นทุนที่ชาวนาได้ลงทุนไปในการทำการเกษตร เช่น อย่างน้อย 3,000 บาท/ไร่ เป็นต้น
-------------
สื่อชิ้นนี้ผลิตโดย พรรคก้าวไกล เลขที่ 167 ชั้น 4 ซอยรามคำแหง 42 แขวงหัวหมาก เขตบางกะปิ กรุงเทพมหานคร 10240 จำนวนที่ผลิต 1 โพสต์ วันที่ผลิตตามวันเดือนปีที่ปรากฏ
ทำได้แล้วครับ เป็นทีมไทยทีมแรกที่ฝากชื่อไว้ในโอลิมปิกของวงการเทรล PTL-UTMB 2022 ใช้เวลารวม 152 ชั่วโมง 30 นาที กับเส้นทาง 302.9 กิโลเมตร
ซ้อมมาทั้งปีเพื่อมาถึงชัยชนะในวันนี้ และผมไม่มีวันทำได้สำเร็จถ้าไม่มีเพื่อนร่วมทีมที่ดี กับกำลังใจที่ทุกๆคนมอบให้
ขอบคุณจากใจครับ 🙂
ภาระกิจจิตอาสากับทีมงานโต้งสถาพร ศรีแย้ม,หน่อยเสรีชน มีไม่มากแต่อยากแบ่งปัน
ภาระกิจจิตอาสากับทีมงานโต้งสถาพร ศรีแย้ม,หน่อยเสรีชน มีไม่มากแต่อยากแบ่งปัน
เลื่อนแล้ว เลื่อนอีก..!!! ผู้รับเหมาขอ 317 วัน
2 อุโมงค์ลอดแยกเมืองอุบลฯ
วอนขอความเห็นใจเลื่อนเวลาส่ง
- ไม่มีแม้คำขอโทษ
- ไม่มีใครอ้างรับผิดชอบในความล่าช้า
- การทำงานติดตามคุมงานอย่างไร?
- ความเสียหายทางด้านเศรษฐกิจ สิ่งแวดล้อม
ข้ออ้างสารพัด… สุดท้ายใครรับผิดชอบ
แต่แน่ๆ ประชาชน รับกรรม
นี่คือ ความล่าช้าที่ประชาชนต้องจ่ายอยู่ฝ่ายเดียว
ปัญหารถติด เปลืองน้ำมัน เสียเวลา สิ่งแวดล้อมแย่
กรมทางหลวง อนุมัติ ขยายเวลาสร้าง 2 อุโมงค์
เมืองอุบลฯ ออกไปอีก 317 วัน !!

เมื่อวันที่ 17 มิ.ย.65 ที่ผ่านมา ผอ.แขวงการทางอุบลฯ จับมือ นายช่างใหญ่คุมงานโครงการก่อสร้าง
อุโมงค์ทางลอดแยกดงอู่ผึ้ง และ แยกวนารมย์
เข้าร่วมประชุมโต๊ะเล็กชี้แจงต่อ ผอ.ปปช อุบลฯ
เกี่ยวกับความคืบหน้าของโครงการก่อสร้าง 2 อุโมงค์บนทางหลวงหมายเลข 231 วงแหวนรอบเมืองอุบลฯ
โดยความคืบหน้าในปัจจุบันที่ 76.87% ล่าช้ากว่าแผนเดิม นับจากวันที่ลงนามในสัญญารับจ้างไปเมื่อวันที่ 30 เม.ย. 2562 และสิ้นสุดเวลาตามสัญญาไปแล้วเมื่อวันที่ 13 เม.ย. 2565 ที่ผ่านมา (ระยะเวลาก่อสร้างตามสัญญา 1,080 วัน หรือ 3 ปี)
แต่เนื่องจากปัญหามากมายรุมเร้า
ทั้ง Covid-19 ที่ส่งผลกระทบต่อผู้รับเหมา
รวมทั้งปัญหาใหญ่ที่เป็นจุดพีคที่สำคัญคือ
"ปัญหาการย้ายสาธารณูปโภค ไฟฟ้า ประปา และสายสื่อสารหลากองค์กร"
จนส่งผลให้งานก่อสร้างสะดุด
และล่าช้ากว่าแผนไปเกือบปี
ดังนั้นเพื่อให้งานก่อสร้างสามารถดำเนินการต่อไปได้โดยที่ไม่สะดุดและคำนึงถึงผลประโยชน์ของพี่น้องประชาชนมากที่สุด
ทางผู้รับเหมาโดย บริษัท ส.เขมราฐ อินดรัสตี้ จำกัด และกลุ่มผู้รับงานรายย่อย จึงยื่นเรื่อง
“ขอความเห็นใจ” และอนุเคราะห์
กับ กรมทางหลวง กระทรวงคมนาคม เพื่ออนุมัติขยายสัญญางานก่อสร้างออกไปอีก 317 วัน
มีผลถึงวันที่ 24 ก.พ. 2566
กำหนดแล้วเสร็จ/เปิดให้บริการ : ต้นปี 2566 (เลื่อนรอบที่ 4 ตามการอนุมัติและประกาศของกรมทางหลวง)
Cr. ข้อมูลบางส่วนจาก UBON NOW ภาพ ณ 30 พ.ค.65
มีไม่มากแต่อยากแบ่งปัน โต้งสถาพร ศรีแย้ม หน่อยเสรีชน และทีมงาน
วันอาทิตย์นี้ 22 พ.ค.65
ในระหว่างที่คนกรุงเทพฯ กำลังเลือกตั้งผู้ว่าราชการจังหวัด เราคนต่างจังหวัด
คณะก้าวหน้าอุบลราชธานี
ขอเชิญชวนพี่น้องมาร่วมแลกเปลี่ยน
พูดคุยกับอาจารย์ปิยบุตร แสงกนกกุล
ในประเด็น #ปลดล็อกท้องถิ่น
คนต่างจังหวัดอยากเลือกตั้งผู้ว่าฯได้ไหม?
ปลดล็อกท้องถิ่นเป็นอย่างไร?
เจอกันที่ร้านส่งสาร ตั้งแต่เวลา 12.00 น.เป็นต้นไป
[ มาร่วมออกแบบ #งบประมาณฉบับก้าวไกล ในกิจกรรม “Hackathon งบ 66 : งบแบบไหนที่เราอยากเห็น” ]
“ถ้าอยากรู้ว่ารัฐบาลไหนรับใช้ใคร ให้ไปดูที่การจัดสรรงบประมาณ”
ตรงนี้เป็นส่วนหนึ่งของคำพูดที่ถูกกล่าวไว้โดย พริษฐ์ วัชรสินธุ - ไอติม - Parit Wacharasindhu Policy Campaign Manager พรรคก้าวไกล ในงานประชุมใหญ่สามัญประจำปีของพรรคก้าวไกล เกี่ยวกับภารกิจของพรรคในการเปลี่ยนโครงสร้างประเทศ
การจัดสรรงบประมาณแผ่นดิน นับเป็นตัวชี้วัดที่สำคัญในการบ่งบอกถึงความสามารถและความจริงใจของรัฐบาล ในการแก้ไขปัญหาของพี่น้องประชาชน
ในเดือนมิถุนายนที่กำลังจะมาถึง รัฐสภาจะมีการพิจารณาร่างพระราชบัญญัติงบประมาณรายจ่ายประจำปี 2566 ที่จะกำหนดว่าเงินภาษีทุกบาททุกสตางค์ที่ทุกคนจ่ายเข้าไป จะถูกนำไปใช้อย่างไรบ้าง
เพื่อเตรียมพิทักษ์เงินภาษีของพวกเราทุกคน ทางเราจึงอยากเชิญชวนทุกคนมาร่วมกันออกแบบ งบประมาณ ปี 66 ที่ประชาชนจะได้ประโยชน์สูงสุด ผ่านกิจกรรม “Hackathon งบ 66 : งบแบบไหนที่เราอยากเห็น”
กิจกรรมจะแบ่งกลุ่มตามหัวข้อที่ผู้เข้าร่วมสนใจ (เช่น เศรษฐกิจ, เกษตร, การศึกษา, สาธารณสุข, สวัสดิการ, ความมั่นคง/ความปลอดภัย, คมนาคม/โครงสร้างพื้นฐาน, สิ่งแวดล้อม, เทคโนโลยี/นวัตกรรม) เพื่อมาร่วมกันออกแบบงบที่อยากเห็นในแต่ละหมวดหมู่ มาร่วมกันตรวจสอบว่างบประมาณไหนที่ควรตัด และมาร่วมกันระดมความคิดว่าอยากใช้งบอย่างไรที่ตรงกับความต้องการของประชาชน
ชวน Hack งบ 66 และออกแบบ #งบประมาณฉบับก้าวไกล ร่วมกันกับ ทีม ส.ส. และ ทีมนโยบายจากพรรคก้าวไกล ในวันเสาร์ 28 - วันอาทิตย์ 29 พ.ค. 10.00 น. ที่อาคารอนาคตใหม่
ลงทะเบียนล่วงหน้าได้ที่: shorturl.at/yBHOZ
มาร่วมทิ้งทวนงบประมาณปีสุดท้ายของรัฐบาลประยุทธ์
มาร่วมออกแบบงบประมาณที่ประชาชนอยากเห็น
#งบประมาณฉบับก้าวไกล #งบ66
มีไม่มากแต่อยากแบ่งปัน
[ ปลดล็อกท้องถิ่นจะปลดปล่อยพลังของประเทศ ทำลายโซ่ตรวนที่พันธนาการความก้าวหน้าของประเทศได้ ]
ธนาธร จึงรุ่งเรืองกิจ ประธานคณะก้าวหน้า ได้อธิบายถึงหลักการสำคัญของร่างแก้ไขรัฐธรรมนูญหมวด 14 การปกครองส่วนท้องถิ่น ของแคมเปญ ขอคนละชื่อ ปลดล็อกท้องถิ่น โดยได้กล่าวถึงปัญหาความเหลื่อมล้ำ ว่าคนไทยทุกวันนี้มีเพียง 1% เท่านั้นที่มีรายได้เฉลี่ยต่อเดือนอยู่ที่ 30,000 บาทต่อเดือน ที่จนที่สุด 1% มีรายได้เฉลี่ย 2,500 บาทต่อเดือน ส่วนคนที่อยู่ตรงกลางมีรายได้เฉลี่ยเพียง 7,500 บาทต่อเดือน เป็นเรื่องที่น่าเศร้าที่คนไทยคนไหนก็ตามที่มีรายได้มากกว่า 8,000 บาทต่อเดือน เท่ากับรวยกว่าคนครึ่งหนึ่งของประเทศนี้แล้ว นี่ไม่ใช่เรื่องบุญกรรม แต่เป็นคำถามที่ว่าใครได้เป็นผู้ถือและใช้ทรัพยากรของทุกคนอยู่
นี่จึงเป็นที่มาของการรณรงค์ปลดล็อกท้องถิ่นโดยคณะก้าวหน้าในครั้งนี้ ผ่านการแก้ไขรัฐธรรมนูญหมวด 14 ซึ่งมีหลักใหญ่ใจความสองเรื่อง ประการแรก คือเรื่องของอำนาจ ให้ในท้องถิ่นทุกที่ของประเทศไทย มีอำนาจบริหารเพียงหนึ่งเดียว คืออำนาจที่มาจากการเลือกตั้งของประชาชน หรือองค์กรปกครองท้องถิ่นเท่านั้น เหมือนทุกประเทศที่พัฒนาแล้ว ที่ไม่มีประเทศไหนมีกลไกผู้ว่าราชการจังหวัดที่ถูกแต่งตั้งมาจากส่วนกลางมาเป็นผู้ปกครอง อำนาจเป็นของคนในพื้นที่ ที่เลือกผู้นำของตนเองมาปกครอง มีอำนาจในการจัดการเป็นของท้องถิ่น
ประการที่สอง เรื่องงบประมาณ ที่ผ่านมาระบบงบประมาณท้องถิ่นเป็นระบบที่ตลกร้าย คือเอางบไปกองที่ส่วนกลางแต่ให้งานท้องถิ่นทำเต็มไปหมด และถ้าอยากได้งบประมาณก็ต้องเขียนขอไป ทำให้เกิดตัวกลางในการผ่านงบประมาณลงมาถึงพื้นที่ กว่าจะลงมาถึงก็แทบจะไม่เหลือ และยังทำให้เกิดระบบอุปถัมภ์ อีกทั้งขั้นตอนอนุมัติอาจกินเวลานานสุดถึงสิบปีกว่างบประมาณจะได้รับอนุมัติลงมา ถ้าผู้บริหารท้องถิ่นวิ่งเต้นไม่เก่ง นี่คือระบบที่ไม่ทำให้เกิดการพัฒนาหรือการพัฒนาเป็นไปอย่างล่าช้า และงบประมาณอยู่ไกลจากประชาชน ถูกใข้โดยไม่สอดคล้องกับความต้องการและความจำเป็นของประชาชน
การปลดล็อกท้องถิ่นจะให้อำนาจการใช้งบประมาณแก่ท้องถิ่น สามารถทำได้ทุกอย่างตั้งแต่การบริการสาธารณะไปจนถึงการพัฒนา ยกเว้นเรื่องระดับประเทศ เช่น นโยบายต่างประเทศ อุตสาหกรรมขนาดใหญ่ การขนส่งระดับประเทศ ระบบภาษีศุลกากร การทหาร เงินตราและการคลัง ที่เป็นอำนาจส่วนกลางดูแล นอกจากนี้ การแบ่งอำนาจปัจจุบันเป็นระบบที่ให้อำนาจแบบท้องถิ่น “ทำอะไรได้บ้าง” แต่ในร่างแก้ไขรัฐธรรมนูญของคณะก้าวหน้า จะเปลี่ยนสลับกัน คือ “ห้ามทำอะไรบ้าง” นอกนั้นที่ไม่ได้ห้ามคือท้องถิ่นต้องทำได้ทั้งหมด ส่วนกลางจะเข้ามาเมื่อท้องถิ่นร้องขอเท่านั้น
ทุกวันนี้รายได้ที่รัฐส่วนกลางแบ่งให้ท้องถิ่นมีเพียง 30% ส่วนกลางและส่วนภูมิภาคได้ไป 70% ทั้งที่ภาษีเกิดขึ้นที่ท้องถิ่น
แต่ถ้าเปลี่ยนเป็น 50-50 แบบที่คณะก้าวหน้าเสนอ ท้องถิ่นจะมีรายได้เฉลี่ยเพิ่มขึ้นถึงที่ละ 60 ล้านบาท เฉพาะในระดับเทศบาลและ อบต. อาจจะแตกต่างกันไปบ้างตามปัจจัยขนาดพื้นที่ จำนวนประชากร และความยากจน
“ที่ท่านจนไม่ใช่เพราะบุญทำกรรมแต่ง แต่เป็นเรื่องอำนาจและการจัดสรรทรัพยากรที่ไม่เป็นธรรม ร่างแก้ไขรัฐธรรมนูญนี้ไม่ได้เรียกร้องอะไรไกลเกินจริงเลย แต่คือสิ่งที่ควรจะเกิดขึ้น ไม่มีบ้านเมืองไหนที่เจริญแล้วไม่ทำแบบนี้ เราไม่ต้องการผู้ใหญ่ลีตีกลองประชุมในศตวรรษที่ 21 มาบอกชาวบ้านว่าส่วนกลางต้องการให้พัฒนาอะไรที่นี่” ธนาธรกล่าว
.
ธนาธร ยังระบุอีกว่า ประชาธิปไตย การกระจายอำนาจ สิทธิเสรีภาพ ความเป็นอยู่ปากท้องของประชาชน ล้วนแต่เป็นเรื่องเดียวกัน การปลดล็อกท้องถิ่นจะปลดปล่อยพลังของประเทศ ทำลายโซ่ตรวนที่พันธนาการความก้าวหน้าของประเทศอยู่ โครงสร้างรัฐราชการทำให้คนอีสานยากจน แต่คณะก้าวหน้าเชื่ออย่างสุดหัวจิตหัวใจว่าอนาคตของประเทศอยู่ที่ท้องถิ่น
ลงชื่อได้ที่จุดลงชื่อทั่วประเทศ หรือทางออนไลน์ที่ https://progressivemovement.in.th/campaign-decentralization
#คณะก้าวหน้า #ปลดล็อกท้องถิ่น
[ เปิดตัวหลักสูตรนักการเมืองท้องถิ่นก้าวหน้า 7 มีนาคมนี้ ติดปีกท้องถิ่นด้วยการสร้างผู้นำที่มีความรู้และวิสัยทัศน์ ]
2 ปีที่คณะก้าวหน้าทำงานการเมืองท้องถิ่น ทำงานร่วมกับนายกฯ องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นที่เราให้การสนับสนุนเกือบ 60 แห่ง และมีความร่วมมือกับองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นอื่นๆ อีกเป็นจำนวนมากทั่วทั้งประเทศ กลายเป็นเครือข่ายนักบริหารท้องถิ่นขนาดใหญ่ที่แบ่งปันแลกเปลี่ยนแนวทางการพัฒนาพื้นที่ร่วมกัน
2 ปีที่ผ่านมา สิ่งที่คณะก้าวหน้าได้รวบรวมไว้อย่างเป็นระบบ คือคลังข้อมูลงบประมาณ ชุดนโยบายสาธารณะสำหรับพัฒนาเมืองและคุณภาพชีวิตของประชาชนครบทุกด้าน แนวทางแก้ปัญหาการบริหารงานท้องถิ่นอันเกิดจากอุปสรรคทางกฎหมายและงบประมาณ รวมถึงแนวทางการสื่อสารรณรงค์ทางการเมืองสำหรับท้องถิ่น ซึ่งแตกต่างอย่างมากจากการเลือกตั้งระดับชาติ
2 ปีที่ผ่านมา เราได้ตระหนักว่า ปัจจัยสำคัญที่สุดที่จะผลักดันท้องถิ่นไปข้างหน้า ไม่ว่าท้องถิ่นนั้นจะมีงบประมาณจำกัดแค่ไหน ก็คือผู้นำที่มีวิสัยทัศน์
เช่นเดียวกับที่เราเชื่อว่า ประเทศไทยดีกว่านี้ได้ หากมีนายกรัฐมนตรีที่มีวิสัยทัศน์ มีทักษะความเป็นผู้นำ
ท้องถิ่นไทยก็ดีกว่านี้ได้ คุณภาพชีวิต ปากท้องประชาชนเต็มอิ่มกว่านี้ได้ หากมีนายกท้องถิ่นที่มีความรู้ ความคิด ทักษะการบริหาร และมุ่งมั่นตั้งใจทำงานเพื่อประชาชน
ด้วยเหตุนี้ ธนาธร จึงรุ่งเรืองกิจ ประธานคณะก้าวหน้า และปิยบุตร แสงกนกกุล เลขาธิการคณะก้าวหน้า จึงตั้งใจว่าจะนำองค์ความรู้ ข้อมูล และเครือข่ายที่เรามีอยู่ มาขยายต่อให้เกิดประโยชน์สูงสุดกับประชาชน สร้างนักบริหารท้องถิ่นที่มีความรู้ครบรอบด้าน ตั้งแต่ประวัติศาสตร์การเมืองไทย การก่อกำเนิดรัฐไทย ไปจนถึงทักษะการเป็นผู้นำ กฎหมายการปกครองท้องถิ่น การจัดทำนโยบาย กาบริหารงบประมาณ และการสื่อสารทางการเมือง
นี่คือที่มาของหลักสูตร “นักการเมืองท้องถิ่นก้าวหน้า” ที่เรารวบรวมทั้งนักวิชาการที่มีความเชี่ยวชาญ และบุคลากรของคณะก้าวหน้า รวมถึงนายกฯ ที่เราให้การสนับสนุน มาร่วมถ่ายทอดความรู้ ประสบการณ์ ให้กับผู้ที่สนใจ ไม่ว่าจะเป็นนักบริหารท้องถิ่น ผู้สนใจทำงานการเมืองท้องถิ่น รวมถึงบุคคลทั่วไปที่สนใจด้านการพัฒนาเมือง
วันที่ 7 มีนาคมนี้ เวลา 10.30 น. คณะก้าวหน้า ร่วมกับมูลนิธิคณะก้าวหน้า จะเปิดตัวหลักสูตร”นักการเมืองท้องถิ่นก้าวหน้า” โดยมี ปิยบุตร แสงกนกกุล เป็นผู้แถลงถึงที่มาที่ไปและรายละเอียดของหลักสูตร ขอเชิญทุกท่านร่วมรับฟังทาง Facebook Live ในแฟนเพจ คณะก้าวหน้า
ติดอาวุธความคิด ทักษะการบริหาร และความเป็นผู้นำให้นักการเมืองท้องถิ่น
ผู้บริหารที่มีวิสัยทัศน์ และรักประชาธิปไตย จะพาสังคมไทยก้าวหน้าอย่างมีอนาคต
📌 ผู้เสียภาษีเงินได้ ยื่น ภ.ง.ด.90/91 อย่าลืมกรอกรหัส 164 ใส่จำนวนเงิน 500 บาท อุดหนุนภาษีให้พรรคก้าวไกลกันนะคะ
ไม่เสียเงินเพิ่ม❗️
ไม่ทำให้ได้เงินภาษีคืนน้อยลง❗️
เพราะเป็นเงินที่ทุกท่านต้องจ่ายให้กรมสรรพากรปกติอยู่แล้วค่ะ ไม่ได้จ่ายเพิ่ม
#ก้าวไกล #อุบลราชธานี
เป็นกำลังใจให้ อบต.บุ่งหวาย
คณะก้าวหน้า อยู่ข้างชาวบุ่งหวายเสมอ
ภูมิใจอีกครั้ง น้ำประปาอาจสามารถได้รับเกียรติบัตรรับรองน้ำประปาดื่มได้ พร้อมลุยน้ำประปาอัจฉริยะเร็วๆ นี้
"เป็นความภาคภูมิใจของชาวอาจสามารถ และต้องขอขอบคุณเจ้าหน้าที่ที่ดูแลระบบน้ำประปาและผู้เกี่ยวข้องทุกคนที่ทำงานอย่างหนัก ผมขอมอบความภูมิใจนี้ให้กับพี่น้องอาจสามารถทุกคน"
นี่คือถ้อยคำของ เทพพร จำปานวน นายกเทศมนตรี เทศบาลตำบลอาจสามารถ กล่าวแสดงความดีใจต่อกรณีที่ได้รับการรับรองและผ่านมาตรฐานน้ำประปาดื่มได้จากสำนักงานสาธารณสุขจังหวัดร้อยเอ็ด ซึ่งน้ำประปาดื่มได้ของเทศบาลตำบลอาจสามารถเกิดขึ้นได้ภายใน 99 วัน นับตั้งแต่เขาเข้ารับตำแหน่งนายกเทศมนตรีและทำงานร่วมกันกับคณะก้าวหน้า เดินหน้าพัฒนานโยบายที่ได้สัญญาไว้กับประชาชน พร้อมกับแลกเปลี่ยนองค์ความรู้และพัฒนาบุคคลกรมาโดยตลอด
และความสำเร็จของชาวอาจสามารถในครั้งนี้ จะเกิดขึ้นไม่ได้เลย หากปราศจากผู้เกี่ยวคนผู้อยู่เบื้องหลังที่ทำงานอย่างหนักเพื่อยกระดับคุณภาพน้ำประปาของอาจสามารถให้ดียิ่งขึ้น ไม่ว่าจะเป็นวิศวกรน้ำจากคณะก้าวหน้า เจ้าหน้าที่โรงประปาของเทศบาล เจ้าหน้าที่เทศบาลที่มีส่วนเกี่ยวข้อง
สามารถอ่านเรื่องราวของ "ลุงสนั่น" ผู้มืออีกหนึ่งคู่ที่คอยผลักดันและเป็นผู้อยู่เบื้องหลังความสำเร็จใน 99 วัน น้ำประปาดื่มได้ของอาจสามารถ อ่านเพิ่มเติมได้ที่ https://www.facebook.com/108916497411288/posts/486591476310453/?d=n
และนอกจากความยินดีที่โครงการได้รับการรับรอง เทพพรยังได้แสดงวิสัยทัศน์เกี่ยวกับอนาคตของน้ำประปาอาจสามารถว่า "อนาคต ผมกำลังเตรียมทำน้ำประปาดื่มได้อัจฉริยะ ระบบวัดค่าคลอรีน ความใส ฯลฯ และติดตั้งระบบเซนเซอร์ที่สามารถตรวจจับได้ว่า ค่าปัจจุบันเป็นอย่างไร พร้อมนำข้อมูลขึ้นเว็บไซต์เรียลไทม์ พร้อมส่งสัญญาณมายังเทศบาลของเราให้เข้าแก้ไขและแก้ปัญหา หากพบค่าตัวเลขที่ทำให้น้ำไม่สะอาด" เทพพร จำปานวน ทิ้งท้าย
ซึ่งโครงการน้ำประปาอัจฉริยะ หรือ สมาร์ทมิตเตอร์ เทศบาลตำบลอาจสามารถได้รับงบประมาณในการดำเนินโครงการจากกองทุนพัฒนาดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคม เพื่อพัฒนาและปรับปรุงด้านเทคโนโลยีให้มีประสิทธิภาพและสามารถใช้งานได้จริง
#คณะก้าวหน้า #เทศบาลก้าวหน้า #อาจสามารถ #น้ำประปาดื่มได้
ก้าวไกลอุบลราชธานี มี Openchat แล้ว !
เข้าร่วมกลุ่ม Line Openchat เพื่อพูดคุยแลกเปลี่ยน ร้องเรียนปัญหาต่างๆ และติดตามข้อมูลข่าวสารจากเรา
ได้ที่
https://line.me/ti/g2/BcYHUfbi1wVp2suvgCataNEV6dTd1KvUWfVS5g?utm_source=invitation&utm_medium=link_copy&utm_campaign=default
#ก้าวไกลอุบลราชธานี