หมอคลั่ง - Insane VET

หมอคลั่ง - Insane VET

เรื่องของสัตว์ กับหมอสัตว์

Photos from บรรดาสัตว์'s post 23/04/2024

ฝากเพจดีๆอีกเพจของน้องหมอเพลงสุดหล่อทางใต้น้าาาา

20/04/2024

โรคการติดเชื้อปรสิตในสัตว์เลี้ยงชนิดพิเศษ สามารถพบได้ทั้งการติดปรสิตภายนอกและภายในร่างกาย ที่สามารถทำให้เกิดอาการทางจักษุคลินิกหรือรอยโรคบริเวณรอบดวงตา ตั้งแต่เบื้องต้นไปจนถึงอาการรุนแรง ถึงขั้นทำให้ตาบอดได้ สัตว์ที่ได้รับผลกระทบจากปัญหาดวงตาจะส่งผลต่อคุณภาพชีวิตของสัตว์ รวมไปถึงการติดเชื้อลามไปในระบบร่างกายอื่น ๆ เสียหายตามมา อันถึงแก่ชีวิตของสัตว์ได้
เชื้อโปรโตซัว (Protozoa)
1. Trichomonas gallinae
โรคติดเชื้อโปรโตซัวที่รู้จักกันในชื่อภาษาไทยว่า โรคคอดอก (canker, frounce, trichomoniasis) เป็นเชื้อที่มักพบได้บ่อยในนกพิราบ นกเขา กลุ่มนกล่าเหยื่อ รวมไปถึงนกแก้วสวยงาม เช่น ค็อกคาเทล กระตั้ว มาคอว์ เป็นต้น
อาการทางคลินิก: นกจะเริ่มแสดงอาการเกาตา ใต้ตาบวม จมูกเปียก มีน้ำมูก อุดตันโพรงไซนัส ขนร่วงบริเวณรอบดวงตา หากการติดเชื้อรุนแรงขึ้นสามารถทำให้เกิดใต้ตาบวมขนาดใหญ่ จนตาปิด ส่งผลต่อการกินอาหารของนกได้
การติดต่อ: การติดต่อของเชื้อนี้สามารถติดต่อได้ทั้งทางตรงและทางอ้อม โดยแม่นกที่มีเชื้อก็จะส่งต่อเชื้อให้ลูกผ่านทางน้ำลาย และนกที่มีเชื้อก็จะเป็นพาหะส่งต่อเชื้อลงไปในน้ำดื่มที่ใช้เลี้ยงรวมกันทำให้นกตัวอื่นได้รับเชื้อเข้าไปได้ เชื้อโปรโตซัวจะเข้าไปในโพรงไซนัสบริเวณศีรษะ โดยเฉพาะตำแหน่งโพรงไซนัสรอบดวงตา (infraorbital sinus) และนอกจากนี้ยังสามารถพบเชื้อได้บริเวณช่องปาก หลอดอาหาร กระเพาะพัก และหลอดลมได้อีกด้วย
การวินิจฉัย: สามารถทำได้โดยการใช้ไม้พันสำลีเก็บตัวอย่าง (cotton swab) เกลี่ยเชื้อจากช่องปาก เพดานปาก (choana) ลำคอ กระเพาะพัก หรือตัวอย่างน้ำอักเสบบริเวณดวงตา นำมาป้ายลงบนสไลด์เพื่อส่องดูเชื้อโปรโตซัวภายใต้กล้องจุลทรรศน์ได้โดยตรง
การรักษา: สามารถใช้ยาในกลุ่มยา nitroimidazole เช่น metronidazole หรือ ronidazole เป็นต้น
2. Encephalitozoon cuniculi
เป็นโปรโตซัวในกลุ่มไมโครสปอริเดียม (microsporidian parasite) อาศัยอยู่ในเซลล์แบบถาวร สามารถพบการติดเชื้อได้บ่อยในกระต่าย และสัตว์เลี้ยงลูกด้วยนมชนิดอื่น ๆ เช่น หนูตะเภา รวมถึงมีการตรวจพบในมนุษย์ที่มีระบบภูมิคุ้มกันบกพร่อง เชื้อนี้มีความทนทานต่อสภาพแวดล้อมได้ดี การติดต่อสามารถติดเชื้อนี้จากการได้รับสปอร์ที่ปนเปื้อนกับสิ่งแวดล้อมจากอุจจาระและปัสสาวะของกระต่ายที่ติดเชื้อ
อาการทางคลินิก: ทำให้เกิดการอักเสบของดวงตา เกิดรอยโรคจำเพาะที่เรียกว่า Phacoclastic uveitis เป็นลักษณะของภาวะม่านตาอักเสบ เกิดเป็นก้อนสีขาวของเซลล์อักเสบภายในตา ร่วมกับเกิดการพัฒนาเป็นต้อกระจกขึ้น อาจเป็นข้างเดียว หรือสองข้างพร้อมกันได้ นอกจากนี้ยังทำให้เกิดอาการทางระบบประสาท เช่น ชัก (seizure) อัมพฤกษ์ (paresis) คอเอียง (head tilt) ภาวะเสียการทรงตัว (ataxia) หมุนเป็นวงกลม (circling) หรืออาการที่เกี่ยวข้องกับการทำงานของไตล้มเหลว (renal failure) เช่น ดื่มน้ำมาก (polydipsia) ภาวะปัสสาวะมาก (polyuria) และปัสสาวะบ่อย (pollakiuria) เป็นต้น
อย่างไรก็ตามการติดเชื้อส่วนใหญ่ มักไม่แสดงอาการทางคลินิก ดังนั้นจึงต้องใช้วิธีการตรวจทางห้องปฏิบัติการเพื่อยืนยันการติดเชื้อหรือตรวจหาระดับภูมิคุ้มกันต่อโรค เช่น การตรวจ enzyme-linked immunosorbent assay (ELISA)
การรักษา: ทำได้โดยการให้ยาในกลุ่ม benzimidazole เช่น fenbendazole หรือ albendazole ร่วมกับการใช้ยาหยอดตาลดอักเสบ เช่น diclofenac dexamethazole หรือ prednisolone acetate เป็นต้น

3. Toxoplasma gondii
เป็นเชื้อโปรโตซัว (intracellular protozoa) ในวงศ์ Sarcocystidae อันดับ Eucoccidiorida ไฟลัม Apicomplexa ซึ่งมีแมวเป็นโฮสต์จำเพาะ (definitive host) มีโฮสต์กึ่งกลาง (intermediate host) ได้หลากหลายชนิด เช่น นก ไก่ เฟอเรท เฟนเน็คฟ็อกซ์ รวมทั้งมนุษย์สามารถติดเชื้อนี้ได้เช่นกัน เป็นหนึ่งในโรคสัตว์สู่คนที่มีความรุนแรงของโรคสูง
อาการทางคลินิก: ทำให้เกิดอาการตามัว ม่านตาอักเสบ (uveitis) จอตาอักเสบ (choroiditis) สูญเสียการมองเห็น (blindness) เสียการทรงตัว (ataxia) เนื่องจากเกิดปัญหาของระบบประสาทส่วนกลาง (central nervous disease)
การติดต่อ: เชื้อ Toxoplasma มีการขยายพันธุ์ 2 แบบ คือ แบบไม่อาศัยเพศ และแบบอาศัยเพศ ซึ่งแบบอาศัยเพศจะเกิดขึ้นกับแมวซึ่งเป็นโฮสต์จำเพาะเท่านั้น แมวจะได้รับเชื้อจากการกินสัตว์ที่มีแบรดิซอยต์ (bradyzoites) อยู่ในร่างกาย หรือติดจากโอโอซีสต์ (oocyst) ที่อยู่ในสิ่งแวดล้อม เมื่อโฮสต์จำเพาะ ได้รับเชื้อแล้ว เชื้อจะเจริญและขยายพันธุ์ในลำไส้ของโฮสต์โดยเชื้อจะเพิ่มจำนวนและสืบพันธุ์แบบมีเพศ และปล่อยเชื้อออกมากับอุจจาระ เมื่อโฮสต์กึ่งกลางได้รับโอโอซีสต์ทางการกิน โอโอซีสต์ก็จะแตกออกพัฒนากลายเป็นทาคิซอยต์ (tachyzoites) สำหรับระยะแบรดิซอยต์ จะมีลักษณะรวมเป็นซิสต์ (cyst) อยู่ตามเนื้อเยื่อต่าง ๆ
การรักษา: สามารถเลือกใช้ยา clindamycin toltrazuril ponazuril และ diclazuril เป็นต้น
4. Cryptosporidium baileyi
เป็นเชื้อโปรโตซัวที่อยู่ในอันดับย่อย Eimeriorina อันดับ Eucoccidiorida ไฟลัม Apicomplexa การติดเชื้อโปรโตซัวนี้สามารถก่อให้เกิดโรคที่ตาได้ในสัตว์หลากหลายชนิด เช่น ไก่ฟ้า ไก่ป่า เป็ด นกกระทา นกยูง นกล่าเหยื่อ โดยโปรโตซัวชนิดนี้สามารถเพิ่มจำนวนที่เยื่อบุตาขาวได้
อาการทางคลินิก: สัตว์มีอาการเปลือกตาอักเสบ (blepharitis) เยื่อบุตาขาวอักเสบ (conjunctivitis) เยื่อบุตาขาวปูดบวม (chemosis) กระจกตาขาวขุ่นทั้งสองข้าง ไซนัสอักเสบ (infraorbital sinusitis) มีน้ำตาและน้ำมูก ร่วมกับอาการติดเชื้อทางเดินหายใจ (respiratory infections) ส่งผลให้นกได้รับผลกระทบจนไม่สามารถบินได้
การติดต่อ: วงจรชีวิตของโปรโตซัวชนิดนี้ โดยสัตว์จะได้รับโอโอซิสต์ที่ปนเปื้อนจากอุจจาระในสิ่งแวดล้อม ภายในโอโอซิสต์ประกอบด้วย 4 สปอร์โรซอยต์ (sporozoites) อาศัยอยู่ที่เซลล์เยื่อบุ เชื้อระยะนี้จะแบ่งตัวและเจริญเติบโตเป็นโทรโพซอยต์ (trophozoites) หลังจากนั้นเจริญเติบโตต่อไปเป็น ระยะไม่อาศัยเพศ (schizonts) และระยะอาศัยเพศ (gametocytes) สำหรับระยะอาศัยเพศจะสร้างโอโอซิสต์ปะปนออกมากับอุจจระ และฟักออกมาเป็นสปอร์โรซ้อยต์ เพื่อติดเชื้อกลับไปที่ผนังเยื่อบุอีกครั้ง โอโอซิสต์จะมีความคงทนต่อสภาพแวดล้อมอย่างมาก สามารถมีชีวิตอยู่ได้นานหลายเดือนภายใต้สภาวะแวดล้อมที่เหมาะสม
การตรวจพยาธิสภาพภายใต้กล้องจุลทรรศน์ (microscopic lesions) พบการสะสมของเซลล์เม็ดเลือดขาวเฮทเทอโรฟิล (heterophils) ร่วมกับลิมโฟไซต์ (lymphocytes) สะสมอยู่ใต้เยื่อบุตาขาว (subconjunctiva) และสามารถพบโปรโตซัวได้ที่บริเวณผนังเยื่อบุตาขาว มีลักษณะเป็นเซลล์ขนาดเล็ก ย้อมติดสี acid-fast ได้ดี (basophilic staining) รูปร่างทรงกลม (spherical bodies) ขนาด 3-5 ไมโครเมตร
การรักษา: ได้แก่ ยาsulfamethoxazole ร่วมกับ trimethoprim หรือใช้คู่กับยา azithromycin paromomycin หรือ spiramycin เป็นต้น
นี่เป็นเพียงส่วนหนึ่งของบทความเท่านั้น อ่านบทความฉบับเต็มพร้อมหัวข้อเรื่องหนอนพยาธิ (Helminths) ที่ก่อให้เกิดโรคตาในสัตว์เลี้ยงพิเศษต่อได้ที่ : https://readvpn.com/article/detail/2191
บทความโดย : สพ.ญ.กนกพิชญ์ อิ่มจรูญ
สำหรับคุณหมอสัตวแพทย์ที่ยังไม่ได้เป็นสมาชิก
ตอนนี้ทาง VPN มีโปรโมชั่นน่าสนใจอยู่นะ
💙 อ่านออนไลน์ จ่ายถูกกว่า -
สำหรับสัตวแพทย์ท่านที่สมัครสมาชิกแบบอ่านออนไลน์ (ไม่รับหนังสือ) จ่ายเพียง 1,500 บาท/ปี เท่านั้น และยังสามารถทำ CE online ในเว็ปไซต์ได้ตามปกติ
💙 อ่านจากเล่ม เน้นสะสม -
สำหรับท่านที่สมัคร/ต่ออายุสมาชิกแบบรับหนังสือ (สามารถใช้งานเว็ปไซต์และทำ CE online ได้ด้วย)
📍 ได้ทำ CE online มากกว่า 40 คะแนน/ปี
📍 ดาวโหลด E-book ไปอ่านได้
📍 ใช้งานเว็ปไซต์ได้เต็มรูปแบบ
📍 E-learning online course
ดูรายละเอียดแพคเกจ
และสมัครออนไลน์ด้วยตัวเองได้ที่ https://www.readvpn.com/VPN/Subscription
หรือสอบถามเพิ่มเติม
add Line :

18/04/2024
17/04/2024

วันนี้มาดูเรื่องโรคติดเชื้อในนกแก้วกันนะ 😊

🚨 โดยปกติโรคติดเชื้อจะแบ่งเป็น 7 กลุ่มใหญ่ คือ 🚨

1. ไวรัส
2. แบคทีเรีย
3. รา-ยีสต์
4. โปรตัวซัว
5. ปรสิตภายนอก
6. ปรสิตภายใน
7. ไพรออน
*บางตำรารวม 5-6 อยู่ในกลุ่มเดียวกัน

🐤 🐣🐥 วันนี้จะเขียนคร่าวๆ แค่ 6 กลุ่มเท่านั้นค่ะ
เพราะ ไพรออน ยังไม่มีรายงานการพบในนกนะคะ
ลองอ่านในภาพได้เลยนะคะ 🫶🏻🫶🏻🫶🏻

สนใจเชื้อตัวไหน แล้วยังไม่มีการสรุป
หรือต้องการอัพเดท ลูกเพจสามารถทิ้งข้อความไว้เลยนะคะ

😍😍 #อย่าลืมกดติดตามน้า 😍😍
เชื่อว่าโพสต์ของแอดมินจะไม่ไปรบกวนทุกท่านแน่นอน
เพราะไม่ค่อยจะว่างงงง แงๆๆ 🥹🥹

#หมอคลั่ง

14/04/2024

นกกินอันนี้ได้ไหมคะหมอ ..?? ถูกถามเข้ามาบ่อยมาก
สำหรับมือใหม่หัดเลี้ยง วันนี้พยายามทำรูปสรุปมาให้ดู

หลักการให้อาหาร ควรฝึกให้นกกินอาหารที่หลายหลาย ไม่ซ้ำจำเจ เพื่อให้ได้รับสารอาหารครบถ้วนตามที่ร่างกายควรได้รับ

ปัจจุบันมีคนถามเข้ามามาก
Q: จะทำยังไงให้นกได้สารอาหารครบ??
A: เราก็จะบอกเลยว่า อาหารเม็ดคุณภาพดีค่ะ ตอบคำถามนี้ได้ดีที่สุด
นกไม่ชอบ นกไม่กินเลยทำไงดี วิธีการฝึกคือ เอาอาหารทุกอย่างออก ใส่แค่เม็ดๆอย่างเดียว สุดท้ายแล้วเค้าจะมากินอาหารนั้นเองค่ะ

Q: สำหรับคำถามของเจ้าของที่อยากให้อาหารสดกับน้อง ควรเลือกยังไง อัตราส่วนเท่าไหร่ ถึงเหมาะสม??
A: คำตอบของเรายังให้เม็ดๆมาที่ 1 อยู่
อาหารเม็ดยัง จัดสัดส่วน 60-70% ของอาหารทั้งวัน
ผักสด พืชใบเขียว หรือหญ้า รองลงมา 20-30%
ลำดับถัดไปเป็นผลไม้ 10-20%
ถั่วเปลือกแข็ง และธัญพืช 5-10%
และสารอาหารเสริม

12/04/2024

คุณหมอทุกท่านน่าจะมีความคุ้นเคยกับการวางโปรแกรมการถ่ายพยาธิให้กับสุนัขและแมวที่เข้ามาในโรงพยาบาลเป็นอย่างดี เนื่องจากในปัจจุบันเรายังไม่สามารถกำจัดปรสิตเหล่านี้ไปได้อย่างสิ้นซากและปรสิตเหล่านี้มักจะวนเวียนอยู่ในสิ่งแวดล้อมและสัตว์พาหะต่าง ๆ ดังนั้นสิ่งที่เราทำได้คือการป้องกันเพื่อลดปัญหาและความรุนแรงในการก่อโรคที่จะเกิดขึ้น
ซึ่งในบทความฉบับนี้จะพาคุณหมอมารู้จักกับพยาธิที่ติดต่อจากแม่สุนัขไปสู่ลูกสุนัข พร้อมทั้งวิธีการป้องกันทั้งในแม่และในลูกกันค่ะ
พยาธิภายในที่พบในสุนัขมีหลายชนิด สามารถพบได้ในหลายอวัยวะ แต่ตัวที่มีการติดต่อได้จากแม่สู่ลูกสุนัขโดยตรงคือกลุ่มพยาธิในทางเดินอาหาร ซึ่งพยาธิที่มีความสำคัญมีทั้งหมด 3 ตัวหลัก ๆ คือ Toxocara canis, Ancylostoma caninum และ Strongyloides stercoralis รวมถึงยังมีกลุ่มพยาธิในปอดที่มีการติดต่อจากแม่สู่ลูกได้ง่ายด้วย
Toxocara spp.
Toxocara spp. เป็นพยาธิไส้เดือนในลำไส้ ซึ่งสปีชีส์ที่สำคัญที่พบได้บ่อยในสุนัข คือ Toxocara canis พยาธิตัวโตเต็มวัยจะอยู่ในลำไส้เล็กและจะวางไข่ออกมาปนเปื้อนไปกับอุจจาระและออกไปสู่สิ่งแวดล้อม ซึ่งไข่พยาธิชนิดนี้มีความทนทานในสิ่งแวดล้อมได้เป็นระยะเวลาหลายปีเลยทีเดียว
สุนัขสามารถติดพยาธินี้ได้โดยการบังเอิญกินไข่พยาธิที่ปนเปื้อนอยู่ในสิ่งแวดล้อมโดยตรงหรือกิน paratenic host เช่น หนู หรือเนื้อที่ไม่สุกที่มีไข่พยาธิระยะติดต่อเข้าไป หลังจากนั้นตัวอ่อนของพยาธิที่อยู่ในไข่จะเกิดการฟักตัวในลำไส้ และตัวอ่อนจะไชไปยังอวัยวะต่าง ๆ ในร่างกายโดยผ่านทางตับและหลอดลม เมื่อถึงหลอดลมแล้วสุนัขจะมีการกลืนตัวอ่อนพยาธิลงไปในลำไส้เล็กเพื่อพัฒนากลายเป็นตัวเต็มวัย
หากสุนัขที่ตั้งท้องบังเอิญได้รับไข่พยาธิที่มีตัวอ่อนระยะติดต่อเข้าไป ตัวอ่อนของพยาธิจะสามารถผ่านเข้าไปยังลูกสุนัขในท้องโดยผ่านทางรก (transplacental transmission) ได้ตั้งแต่วันที่ 42 ของการตั้งท้อง ลูกสุนัขจะมีการติดพยาธินี้เข้าไปตั้งแต่ตอนอยู่ในท้องทันที หรือหากแม่สุนัขได้รับพยาธิเข้าไปในร่างกายในช่วงที่มีการให้นม ตัวอ่อนพยาธิยังสามารถชอนไชไปอยู่ที่ต่อมน้ำนมของแม่สุนัข เมื่อลูกสุนัขดูดนมแม่ก็จะทำให้ลูกสุนัขสามารถติดพยาธินี้ได้ เราเรียกการติดต่อทางช่องทางนี้ว่า transmammary transmission ดังนั้นพยาธิชนิดนี้จึงเป็นพยาธิที่มีความสำคัญเพราะสามารถติดได้ตั้งแต่อยู่ในท้องจนถึงช่วงที่ยังไม่หย่านม
พยาธิชนิดนี้เป็นพยาธิที่มีขนาดใหญ่ โดยตัวโตเต็มวัยมีความยาวได้ถึง 15 เซนติเมตร ซึ่งเมื่อเทียบกับขนาดลำไส้ของลูกสุนัขแล้วถือว่าใหญ่มาก และถ้ามีจำนวนมากสามารถทำให้เกิดภาวะลำไส้อุดตัน ไปจนถึงสามารถทำให้ลำไส้แตกจนส่งผลให้เกิดภาวะช่องท้องอักเสบได้ บางรายงานมีการพบไข่พยาธิในช่องท้องของลูกสุนัขได้จากการที่เกิดลำไส้แตก
โดยอาการทางคลินิกที่สามารถพบได้ในลูกสุนัข คือ ซึม เบื่ออาหาร ท้องเสีย อ่อนแรง ผอม ท้องมาน มีน้ำในช่องท้อง และพบเม็ดเลือดขาวชนิดอีโอซิโนฟิลสูง (eosinophilia) รวมถึงหากตัวอ่อนของพยาธิมีการไชผ่านอวัยวะต่าง ๆ ก็จะทำให้เกิดผลกระทบที่อวัยวะนั้น ๆ ได้ เช่น มีการพบภาวะปอดอักเสบจากพยาธิ (verminous pneumonia & eosinophilic pneumonia) ร่วมกับอาการไอได้เนื่องจากตัวอ่อนพยาธิมีการไชผ่านปอด หรือมีการพบค่าเอนไซม์ตับเพิ่มสูงขึ้นได้เนื่องจากตัวอ่อนพยาธิมีการไชผ่านตับ
พยาธิชนิดนี้มีความสำคัญทางระบาดวิทยาเพราะเป็นพยาธิที่สามารถติดสู่คนได้ด้วย โดยการติดสู่คนมักจะเกิดจากการบังเอิญได้รับไข่พยาธิปนเปื้อนเข้าไปโดยการกินและจากนั้นเกิดการเคลื่อนที่ของพยาธิไปยังที่ต่าง ๆ หรือเกิด visceral larva migration
สำหรับการวินิจฉัย สัตวแพทย์สามารถตรวจอุจจาระเพื่อหาไข่พยาธิได้ด้วยการใช้วิธี simple floatation ไข่พยาธิที่พบจะมีลักษณะ เปลือกหนาหลายชั้น สีออกน้ำตาล ภายในมีตัวอ่อนที่ยังไม่เจริญแบ่งตัวอยู่ภายใน (unsegmented embryonic cell)
Ancylostoma spp.
Ancylostoma spp. เป็นพยาธิปากขอ อยู่ใน order Strongylida สปีชีส์ที่สามารถมีการติดต่อจากแม่สุนัขไปลูกสุนัขได้คือ Ancylostoma caninum พยาธิชนิดนี้มักพบในสุนัขที่มีการเลี้ยงจำนวนมาก เช่น ในกลุ่มสุนัขฟาร์ม หรือ kennel dog ซึ่งสุนัขสามารถได้รับพยาธิได้จากหลายช่องทาง คือ 1. จากการกินตัวอ่อนระยะติดต่อ (L3) เข้าไปโดยตรง 2. จากการไชผ่านผิวหนังโดยตรง (direct skin pe*******on) ซึ่งคนสามารถติดพยาธินี้ได้ด้วยการที่ตัวอ่อนระยะติดต่อมีการไชผ่านผิวหนังเช่นเดียวกัน
Ancylostoma caninum ตัวโตเต็มวัยจะอยู่ในลำไส้ของสุนัข จากนั้นจะปล่อยไข่ออกมากับอุจจาระและเกิดการปนเปื้อนในสิ่งแวดล้อม หลังจากนั้นไข่จะมีการพัฒนาเป็นตัวอ่อนระยะติดต่อ (L3) ในสิ่งแวดล้อม และตัวอ่อนในสิ่งแวดล้อมนั้นจะมีการติดต่อไปยังสัตว์หรือคนโดยการไชผ่านผิวหนัง หรือบังเอิญกินเข้าไป และตัวอ่อนระยะติดต่อนี้จะพัฒนากลายเป็นพยาธิตัวโตเต็มวัยได้ภายใน 2-3 สัปดาห์ ส่วนสำหรับการติดต่อจากแม่สู่ลูกสุนัขจะเป็นการติดผ่านทางการดูดนมแม่ (transmammary transmission) ระหว่างให้นมเช่นเดียวกันกับ Toxocara cati ในแมว
ลักษณะเฉพาะของพยาธิชนิดนี้คือจะเป็นพยาธิที่ตัวเล็กแต่มีช่องปากที่ใหญ่เอาไว้ยึดจับผนังลำไส้และดูดเลือด ดังนั้นสุนัขที่มีพยาธิชนิดนี้ในลำไส้จะพบความเสียหายที่ผนังลำไส้ พบจุดเลือดออก โดยอาการทางคลินิกที่ปรากฏในสุนัขที่มีการติดพยาธิชนิดนี้มักจะพบโลหิตจาง น้ำหนักลด และท้องเสีย นอกจากนี้ยังสามารถพบร่องรอยการไชผ่านผิวหนังได้ตามฝ่าเท้าโดยเฉพาะในคน หรือผิวหนังที่มีการไชของตัวอ่อนของพยาธิ เพราะพยาธิสามารถไชผ่านผิวหนังเพื่อเจริญเติบโตเป็นตัวเต็มวัยที่ลำไส้ได้
สำหรับลูกสุนัขที่มีการติดพยาธิปริมาณมากสามารถเสียชีวิตได้เนื่องจากภาวะโลหิตจางจากการที่พยาธิดูดเลือดและเกิดลำไส้อักเสบแบบมีเลือดออก (hemorrhagic enteritis) หรือหากติดปริมาณน้อยสามารถทำให้เกิดภาวะท้องเสียเรื้อรัง นอกจากนี้สามารถพบการไอได้จากพยาธิที่มีการไชผ่านปอดคล้ายคลึงกับ T. canis
สำหรับการวินิจฉัย สัตวแพทย์สามารถตรวจอุจจาระเพื่อหาไข่พยาธิได้ด้วยการใช้วิธี centrifugal floatation หรือ simple floatation ซึ่งไข่ที่พบจะมีเปลือกบางสองชั้น ภายในมีตัวอ่อนที่กำลังแบ่งตัวแต่ยังไม่สมบูรณ์ (segmented embryonic cell)
นี่เป็นเพียงส่วนหนึ่งของบทความเท่านั้น อ่านบทความฉบับเต็มพร้อมหัวข้อเรื่องพยาธิ Strongyloides spp. และ Protocol การป้องกันในแม่สุนัข พร้อมภาพประกอบและข้อสอบ CE 3 คะแนน ต่อได้ที่ : https://readvpn.com/article/detail/2180
บทความโดย : สพ.ญ.ธัญทิพ พงษ์ไพบูลย์
สำหรับคุณหมอสัตวแพทย์ที่ยังไม่ได้เป็นสมาชิก
ตอนนี้ทาง VPN มีโปรโมชั่นน่าสนใจอยู่นะ
💙 อ่านออนไลน์ จ่ายถูกกว่า -
สำหรับสัตวแพทย์ท่านที่สมัครสมาชิกแบบอ่านออนไลน์ (ไม่รับหนังสือ) จ่ายเพียง 1,500 บาท/ปี เท่านั้น และยังสามารถทำ CE online ในเว็ปไซต์ได้ตามปกติ
💙 อ่านจากเล่ม เน้นสะสม -
สำหรับท่านที่สมัคร/ต่ออายุสมาชิกแบบรับหนังสือ (สามารถใช้งานเว็ปไซต์และทำ CE online ได้ด้วย)
📍 ได้ทำ CE online มากกว่า 40 คะแนน/ปี
📍 ดาวโหลด E-book ไปอ่านได้
📍 ใช้งานเว็ปไซต์ได้เต็มรูปแบบ
📍 E-learning online course
ดูรายละเอียดแพคเกจ
และสมัครออนไลน์ด้วยตัวเองได้ที่ https://www.readvpn.com/VPN/Subscription
หรือสอบถามเพิ่มเติม
add Line :

Photos from Remevet's post 12/04/2024
12/04/2024

โรคตาที่พบบ่อยในนกแก้ว

1. หวัดนกแก้ว กำลังเป็นกระแสเลยทีเดียว
เจ้าเชื้อตัวนี้เป็นแบคทีเรีย ที่สามารถติดต่อสู่คนได้
อาการคืนนกเริ่มมีอาการเป็นหวัด โพรงจมูกและตาบวม
มีน้ำมูก น้ำตาไหล มีขี้ตาเยอะ

2. ตาบวมจากการขาดวิตามิน A
เกิดจากการได้รับวิตามินเอต่ำไป กินอาหารเดิมๆซ้ำๆ
ปัญหาจากการดูดซึมวิตามิน ควรได้รับการตรวจวินิจฉัยโดยสัตวแพทย์
และรับการรักษาด้วยวิตามินเอในปริมาณที่เหมาะสม
เพราะหากได้รับมากไป นกมีโอกาสเกิดพิษจากวิตามินเอได้เช่นกัน

3. ติดเชื้อที่ตาและโพรงจมูก
ด้วยความที่นกมีโพรงตา โพรงจมูก และโพรงในปากเชื่อมถึงกัน
เวลาที่เกิดการติดเชื้อตำแหน่งใดตำแหน่งหนึ่งมักจะส่งผล
ไปยังตำแหน่งอื่นๆด้วย (อันนี้เหมือนเคยโพสเก๊าเก่าแล้ว)

4. บาดเจ็บที่ดวงตา
จากการเกา ต่อสู้ หรืออุบัติเหตุอื่นๆ

5. ต้อกระจก
เกิดจากการเปลี่ยนแปลงของเลนส์ตาหรือแก้วตาทำให้การมองเห็นเค้าลดลง สามารถแก้ไขด้วยการศัลยกรรม แต่ปัจจุบันยังไม่ได้รับความนิยมในไทยมากเท่าที่ควร

#หมอคลั่ง

05/04/2024

แมงกะพรุนกล่อง (Box jellyfish)

เป็นสัตว์น้ำที่มีพิษและมีความเสี่ยงต่อชีวิตมนุษย์
เป็นแมงกะพรุนที่มีขนาดใหญ่
และถือเป็นหนึ่งในสิ่งมีชีวิตที่ทำร้ายมนุษย์มากที่สุดในโลกทะเล
แมงกะพรุนกล่องมักพบในทะเลเขตร้อน ไม่ว่าจะเป็นออสเตรเลีย แปซิฟิก
หรือแม้กระทั่งในประเทศไทยก็สามารถพบได้

รูปร่างของแมงกะพรุนกล่องมีลักษณะเป็นทรงจัตุรัสขอบมน
กะพรุนกล่องมีขนาดประมาณ 15 ถึง 25 เซนติเมตร
มีหนวดตั้งแต่ 4-30 เส้น มีเข็มพิษตลอดแนวของหนวด

แมงกะพรุนกล่องมีพิษที่อยู่ในเส้นใยของมันที่แทรกตัวอยู่ในผิวหนังของเหยื่อ พิษของแมงกะพรุนกล่องมีอัตราการละลายที่เร็ว ซึ่งอาจทำให้เกิดอันตรายต่อชีวิตได้ในเวลาอันรวดเร็ว ผลกระทบของพิษมีลักษณะเร็วรุนแรง โดยส่วนใหญ่จะเป็นการสะเทือนทางการหายใจ สัมผัสระบบประสาท และทำให้เกิดอาการหัวใจหยุดเต้น

ควรเลี่ยงการสนองสัมผัสกับกะพรุนในทะเล
แต่หากมีการสัมผัสให้รีบล้างด้วยน้ำส้มสายชูปริมาณมาก แล้วรีบไปโรงพยาบาลโดยเร็วที่สุด

การรักษาที่ถูกต้องและรวดเร็วสามารถช่วยลดความรุนแรงของอาการ และเสริมสร้างโอกาสในการฟื้นตัวของผู้ประสบภัยได้มาก

03/04/2024

ปกติเขียนแต่เรื่องบนบก วันนี้ออกทะเลบ้างดีกว่าาา

"【กะพรุนไฟหมวกโปรตุเกส】" พิษร้ายแรงที่สามารถพบเจอได้
หรือ อาจจะเรียนกะพนุนไฟเรือรบโปรตูเกส ภาษาอังกฤษรู้จักกันในหลายชื่อ
ไม่ว่าจะเป็น Portuguese man-of-war, Portuguese Man o' War,
Blue bubble, Floating terror
เป็นสัตว์ที่อยู่ในไฟลัม Cnidaria (ไนดาเรีย) เหมือนกับกระพรุนชนิดอื่น
แต่ก็ไม่ได้ถือว่าเป็นกะพรุนแท้ทั่วไป ด้วยรูปร่างลักษณะที่ไม่เหมือนกัน

ในระยะโตเต็มวัย (Medusa phase)
รูปร่างส่วนหัวคล้ายหมวกของทหารโปรตุเกส
ส่วนหมวกโปร่งใส สีน้ำเงินอมม่วง ขนาดประมาณ 5-30 cm
หนวดหลายเส้น ยาวได้ถึง 30 ฟุต

ในไทยพบสายพันธุ์ที่ใกล้เคียงกัน
คือ “แมงกะพรุนหัวขวด-Blue bottle”
หน้าตาคล้ายกัน แต่ขนาดเล็กกว่า
*บางรายงานบอกคือชนิดเดียวกัน*

ที่หนวดจะมีเข็มพิษจำนวนมากมาก
ตัวพิษจะทำลายระบบประสาท ผิวหนัง หัวใจ
เมื่อสัมผัสจะเจ็บปวด ร้อน แสบ เกิดการอักเสบรุนแรง
ทำให้เกิดอัมพาต ช็อค และหัวใจล้มเหลวได้

หากสัมผัสพิษ
ให้เอาหนวดพิษออก โดยห้ามเอามือเปล่าสัมผัส
ล้างด้วยน้ำทะเลเยอะๆ
จากนั้นรีบพาตัวส่งโรงพยาบาลทันที

ในไทยมีรายงานถึงการพบกะพรุนหัวขวด
ช่วงฤดูมรสุม ในเขตอ่าวไทยตอนล่าง
เช่น ในจังหวัดสงขลาเป็นต้น

ขอบคุณข้อมูลดีๆเพิ่มเติมจากพี่นัทด้วยนะคร้าบ

-- รู้ไว้ใช่ว่า ดีกว่าเจอปัญหาแล้วไม่รู้เอาน้าา --

02/04/2024

ไข่ค้าง ภาวะค้างๆ ที่ปล่อยค้างไม่ได้

16/03/2024

🐰 อาการน้ำตาลในกระแสเลือดต่ำในกระต่าย และแนวทางรักษา 📝
โดย น.สพ.เสกฐชนม์ เพิ่มเยาว์ (หมอสตางค์) โรงพยาบาลสัตว์ขวัญคำ 🏨

เป็นอาการที่จะพบได้บ่อยๆ ในกระต่ายที่มีอาการป่วยแบบเรื้อรัง ซึ่งมักจะทำให้กระต่ายผอมลงมาก กระต่ายที่ไม่ได้กินหญ้าและอาหารที่เหมาะสม หรือป่วยและทำให้เบื่ออาหาร ในเวลา 1-2 วันก็พบอาการได้แล้ว ถูกวิ่งไล่และมีการใช้พลังงานอย่างมาก ซึ่งมักจะมาพร้อมอาการบาดเจ็บของกล้ามเนื้อและโรคลมร้อน

เราแบ่งความรุนแรงเป็น 2 ระดับ คือระดับอ่อน (mild) ซึ่งจะไม่ปรากฏอาการ ใช้ค่าน้ำตาลในเลือดประเมิน อยู่ระหว่าง 75-100 mg/dL และระดับรุนแรง (severe) ที่มีค่าเลือดต่ำลงมาก ระหว่าง 45-75 mg/dL จะปรากฎอาการให้เห็น ได้แก่ ซึมมากจนถึงหมดสติ อ่อนแรง หรือเป็นลม หรืออาจพบอาการชัก แต่พบได้น้อยในกระต่าย มักจะเป็นอาการตัวสั่น เดินโซเซขาไม่สัมพันธ์ หรือกระโดดแล้วล้ม เป็นผลมาจากระบบประสาทเป็นส่วนใหญ่ และการใช้พลังงานของกล้ามเนื้อไม่เพียงพอ

ที่สำคัญมากๆ ในกระต่ายที่มีปัญหาน้ำตาลในเลือดต่ำ จะทำให้ตายได้จากหลายสาเหตุ ประการหนึ่ง คือ ทำให้ความสามารถทำให้กล้ามเนื้อผลิตความร้อนเพื่อความอบอุ่นในร่างกายลดลง ยิ่งรุนแรงก็ยิ่งลดลงอย่างมาก หรือจะลดลง 1 องศาเซนเซียส ทุกการลดลงของน้ำตาล 31 mg/dL จะทำให้เกิดอุณหภูมิร่างกายต่ำลงอย่างรวดเร็วและตายได้ ซึ่งมักจะถูกมองข้าม

การรักษาในแนวทางที่เหมาะสมในสัตว์กินพืช สำคัญมาก!
ในรายที่เป็นแบบอ่อนหรือไม่ได้แสดงอาการ กับกรณีที่รุนแรงรักษาต่างกันมาก เพราะกรณีรุนแรง (severe hypoglycemia) ถือว่าเป็นภาวะวิกฤติ (critical) การรักษาต้องแก้ให้ถูกวิธี สัตวแพทย์และผู้เลี้ยงจำนวนไม่น้อยใช้การน้ำตาล ซึ่งได้ผลดีในรายที่เป็นแบบไม่แสดงอาการ และนิยมใช้ในสุนัข แต่ในกระต่ายพบเกิดความเสี่ยงจากการให้น้ำตาลด้วยวิธีป้อน เช่น ทำให้เกิดการผลิตกรดแลคติกมาก เกิดเสียสมดุลจุลินทรีย์ในทางเดินอาหาร และลำไส้อักเสบ ส่วนในกรณีที่แสดงอาการดังกล่าวข้างต้น มักเป็นรุนแรงแล้ว กระต่ายจะต้องอยู่ในที่อบอุ่นด้วยเพราะสร้างความร้อนในร่างกายได้แย่ลง ได้รับการทดแทนน้ำตาลทางหลอดเลือดด้วยน้ำตาลเด็กซโตรสเข้มข้น 50%Dextrose ขนาด 0.5-1 mL/kg ทำการเจือจาง 1:4 และให้ทางหลอดเลือด ในระยะเวลา 5-10 นาที แต่ต้องระวังว่าไม่ควรเกิน 3 mL ต่อระยะเวลา 1 นาที ในสัตว์ที่มีน้ำหนักมากจึงต้องระมัดระวังเกินขนาด เพื่อป้องกันหลอดเลือดอักเสบ (phlebitis) อย่างไรก็ตามระวังภาวะน้ำตาลเกิน (hyperglycemia) แทนด้วยเช่นกัน จึงต้องระวังขนาดและอัตราการให้ กระต่ายมักจะฟื้นตัวและตอบสนอง แต่หลายรายที่มีอาการผอมมาก มีโรคเรื้อรังแทรกซ้อน อาจมีความจำเป็นต้องให้ต่อในอัตราคงที่ จึงค่อยมาเลือกใช้สารละลายที่มีน้ำตาลต่ำ ที่พบในน้ำเกลือ เช่น D5W เพื่อประคอง แต่ระวังเสียสมดุลอิเลคโทรไลต์ แต่การให้ Acetar-5 ก็อาจทำให้เกิดภาวะโซเดียมสูง บางท่านแนะนำให้ใช้ D5 1/2S ซึ่งมีคุณสมบัติคล้าย maintenance fluids จนกว่ากระต่ายจะเริ่มกินอาหารได้เอง ขณะที่ในรายที่เป็นแบบอ่อน ให้ทำการป้อนอาหารฟื้นฟูกลุ่มเพิ่มน้ำหนักและบูสเตอร์ ถ้ากินได้ เช่น VETREC หรือ EmerAid ที่ให้พลังงานสูงกว่า หรือ Randolph Rabbit Care สูตรโมโนลอริน จะช่วยให้กระต่ายกลุ่มนี้ฟื้นตัวเร็วต่อเนื่อง ไม่ควรป้อนน้ำตาล และพิจารณาให้สารละลายน้ำตาลความเข้มข้นต่ำเข้าหลอดเลือดในอัตราทดแทน maintenance rate จะเหมาะสมกว่า
_______________________________________________
#อาการน้ำตาลในกระแสเลือดต่ำในกระต่าย
#กระต่าย
#น้ำตาลในเลือดต่ำในกระต่าย
#โรคในกระต่าย


#โรงพยาบาลสัตว์ขวัญคำ

#หมอเอ็กโซติก

🐶🐱🐭🐹🐰🦊🐻🐯🐮🐷🐸🐵🐔🐦🦅🦉🐢🐍🦎
#คลินิกออนไลน์สำหรับสัตว์เลี้ยงชนิดพิเศษ
www.epofclinic.com

Photos from หมอคลั่ง - Insane VET's post 12/03/2024

[ #อัพเดท ]

แนวทางการทำ #วัคซีนลูกสุนัข และ #วัคซีนลูกแมว สำหรับคนเริ่มเลี้ยงน้า

สัตว์เลี้ยงควรทำวัคซีน ถ่ายพยาธิ และป้องกันเห็บหมัดควรทำควบคู่กันไป และสม่ำเสมอ

* #การถ่ายพยาธิ ถ้ากินยาครั้งแรก แล้วมีตัวพยาธิออกมากับอุจาระ
โปรแกรมการถ่ายพยาธิ อาจจะต้องปรับความถี่การให้ยา เพื่อรักษาการติดโรคพยาธิทางเดินอาหาร

** หลังจากจบโปรแกรมวัคซีน ควรมีการถ่ายพยาธิซ้ำเสมอ
- กินบาร์ฟ / เลี้ยงปล่อย ควรถ่ายพยาธิทุก 1 เดือน
- กินอาหารทั่วไป เลี้ยงระบบปิด ควรถ่ายพยาธิทุก 3 เดือน

*** แนวทางนี้เป็นเพียงแนวทางการให้วัคซีนกับลูกสัตว์เท่านั้น สัตวแพทย์จะมีการปรับโปรแกรมวัคซีน ตามความชุกของโรคในแต่ละพื้นที่

Photos from หมอคลั่ง - Insane VET's post 05/03/2024

ขนคุดในนก (Feather cyst)

เกิดจากการที่ต่อมขนสร้างหลอดขนผิดปกติ เพิ่มจำนวนมากขึ้น ปกติ 1 รูขุมขนจะสร้างขน 1 เส้น
ในนกป่วย อาจจะพบมากได้ถึง 10 เส้น(ตัวในรูป)
มักพบที่ปีก ท้อง และลัมป์ของนก

เราสามารถเจอขนคุดในนกและสัตว์ปีกทุกชนิด
มักพบบ่อยในนกหงส์หยก และนกขนากเล็กบ่อยๆ
มักก่อให้เกิดการคัน เจ็บปวด บวมแดง อักเสบ
หรืออาจจะกลายเป็นเนื้องอก และลุกลามกลายเป็นมะเร็งได้

การรักษา
- ป่วยระยะแรกๆ และ ถือว่าเป็นวิธีที่นิยม เจ้าของบางคนอาจจะเคยได้ยินว่าให้ถอนออก
สามารถทำได้ในทางปฏิบัติ แต่เกือบ 100% จะกลับมาเป็นได้อีก เพราะต่อมขนเหล่านั้นยังทำงานอยู่
- ผ่าตัดออก ในบางตำแหน่งสามารถทำได้ หากชิ้นเนื้อ นั้นยังไม่ใหญ่มาก และนกมีพื้นที่มากพอให้ตัดและเย็บ
- ตัดจี้ด้วยความร้อน หรือความเย็น สัตวแพทย์จะทำการตัดจี้ ก้อนเนื้อและห้ามเลือดไว้ หรือหากไม่สามารถตัดจี้ได้ทั้งหมดอาจจะมีการนัดมาติดตามและทำหัตถการนั้นซ้ำ จนกว่าจะไม่มีขนคุดออกมา
* การจี้ร้อนหรือเย็นจะเป็นการทำลายเซลล์เนื้อเยื่อรอบๆบริเวณให้ตายฉับพลันและหลุดออกมา
** การแก้ไขภาวะขนคุดในนกทุกวิธีมีโอกาสกลับมาเป็นซ้ำได้ทั้งตำแหน่งเดิม และตำแหน่งใหม่ มักพบในนกที่เป็นเนื้องอก หรือมะเร็งลุกลาม

เริ่มเป็น ควรพบสัตวแพทย์ให้เร็วที่สุดเพื่อพิจารณาหาทางรักษา และแก้ไขทันท่วงที

×× การแก้ไขหรือแนวทางรักษาขึ้นกับดุลยพินิจของสัตวแพทย์แต่ละท่าน ความพร้อมของเจ้าของ และการรับความเสี่ยงแต่ละกรณีได้
ทั้งนี้ยังขึ้นกับอุปกรณ์ และความเหมาะสมตามแต่หมอจะประเมิน
!! ไม่สามารถเอาวิธีการของใครไปตัดสินว่าคนนี้ทำถูก หรือไม่ถูก
#ฝากไว้ให้คิส

Photos from หมอคลั่ง - Insane VET's post 18/02/2024

FREE FOR PLEASE DM 💌💌 🤪🤪


Today - 29 Feb 24

19/12/2023

ในปัจจุบัน ความนิยมในการเลี้ยงสัตว์เลี้ยงมีมากขึ้นอย่างเห็นได้ชัด เช่น ในสหรัฐอเมริกา จะพบได้ว่าประชากรสัตว์เลี้ยงนั้น มีมากถึง 57% ต่อครัวเรือน โดยสัดส่วนของเจ้าของสุนัข จากปี 2011 เทียบกับปี 2016 พบว่ามีเพิ่มขึ้น 6 % และสัดส่วนของเจ้าของแมว เพิ่มขึ้น 3 % ระหว่างปี 2016 - 2020 และมีปริมาณสัตว์เลี้ยงเฉลี่ยต่อครอบครัวซึ่งนับเป็นสุนัข 1.46 ตัว และแมว 1.8 ตัว ตามลำดับ เนื่องจากความนิยมในการเลี้ยงแมวที่เพิ่มมากขึ้น ความถี่ของการไปพบสัตวแพทย์ของแมวแต่ละครอบครัวในปี 2017-2018 อยู่ที่ปีละ 2.4 ครั้งต่อตัวต่อครอบครัว
งานด้านวิสัญญีและการควบคุมความเจ็บปวดในแมว เป็นงานทางด้านอายุรศาสตร์ด้านหนึ่งที่สำคัญและได้รับความสนใจมากขึ้นในปัจจุบัน เนื่องจากมีผลช่วยปรับปรุงคุณภาพชีวิต (quality of life; QoL) ของแมวซึ่งอาจมีภาวะเจ็บปวดเกิดขึ้นเนื่องจากโรคหรือความผิดปกติต่าง ๆ ที่เกิดขึ้นภายในร่างกาย ซึ่งในปัจจุบันมีเวชภัณฑ์หรือผลิตภัณฑ์ใหม่ ๆ หลายรายการที่ได้รับการยอมรับจากองค์การอาหารและยาของสหรัฐอเมริกา (US FDA) ให้มีการใช้ได้ในแมว โดยมีรายละเอียดที่น่าสนใจ ดังนี้
มาเริ่มกันที่รายการแรกซึ่งเป็นอุปกรณ์ที่ใช้ช่วยในการวางยาสำหรับการสอดท่อทางเดินหายใจ มีชื่อเรียกในวงการว่า V-gel (ดังภาพที่ 1) ซึ่งอุปกรณ์ดังกล่าวนี้ใช้สำหรับสอดผ่านทางเดินหายใจในตำแหน่งเหนือกล่องเสียง (supraglottic airway ) โดยมีการทำงานคล้ายกับการดมยาผ่านทาง laryngeal mask และเป็นอีกทางเลือกในการสอดท่อจากช่องปากเข้าสู่หลอดลม ซึ่งอุปกรณ์ชนิดนี้ได้ถูกออกแบบมาสำหรับใช้ในแมวโดยเฉพาะ โดยมีลักษณะเด่นคือเรื่องของความปลอดภัย โดยอุปกรณ์จะครอบคลุมในส่วนของทางเดินหายใจทั้งหมด เนื่องจากตัวอุปกรณ์ถูกออกแบบมาให้คล้ายคลึงกันกับโครงสร้างลักษณะทางกายภาพของทางเดินหายใจของแมว ซึ่งจะช่วยป้องกันการบาดเจ็บในส่วน larynx และ trachea อีกทั้งยังมีประโยชน์ในแง่ของการป้องกันการสำลัก stomach content เข้าสู่ทางเดินหายใจ และช่วยลดอุบัติการณ์การไอ หลังจากการถอดอุปกรณ์
นอกจากนี้การสอดท่อโดยใช้อุปกรณ์ดังกล่าวนี้จะสามารถเคลื่อนไหวศีรษะได้โดยไม่มีผลต่อการหายใจ เหมาะกับการทำหัตการที่เกี่ยวข้องกับบริเวณใบหน้า เช่น งานทันตกรรม ซึ่งจะป้องกันการไหลของน้ำหรือสิ่งคัดหลั่งจากในช่องปากลงสู่ท่อทางเดินหายใจในระหว่างการทำหัตถการ เป็นต้น โดยอุปกรณ์ชิ้นนี้มีทั้งหมด 6 ขนาด แบ่งตามน้ำหนักแมว (ดังแสดงรายละเอียดในรูปที่ 2 - ดูรูปได้ที่บทความบนเว็บไซต์)
โดยข้อบ่งใช้ของอุปกรณ์นี้ ข้อดีคือความปลอดภัยตลอดการวางยาสลบ ซึ่งอากาศที่เข้าตัวอุปกรณ์จะเป็น positive pressure ป้องกันการรั่วไหลของตัวยาสลบออกสู่สิ่งแวดล้อม ทำให้ผู้ปฏิบัติงานไม่ต้องสูดดมยาดมสลบที่อาจรั่วไหลออกสู่สิ่งแวดล้อมได้
ข้อดีอีกอย่างหนึ่งของ V-gel คือ เหมาะสำหรับสัตว์ที่จำเป็นต้องได้รับการกู้ชีพ แต่ไม่สามารถสอดท่อ endotracheal tube ได้ เช่น สัตว์ป่วยที่มีการฉีกขาดของหลอดลม หรือมีภาวะของหลอดลมอักเสบ ข้อแนะนำในการใช้อุปกรณ์ V-gel ควรใช้คู่กับเครื่อง capnometry เป็นการวัดค่าคาร์บอนไดออกไซด์ในลมหายใจ โดยหากพบว่ามีระดับคาร์บอนไดออกไซด์จากท่อช่วยหายใจเพิ่มขึ้นสม่ำเสมอจะแสดงถึงท่อช่วยหายใจอยู่ในหลอดลมแล้ว ซึ่งการวัดผลด้วยวิธีการดังกล่าว มีค่า sensitivity และ specificity มากกว่า 95% ในการช่วยยืนยันได้ว่ามีการวางตัวของอุปกรณ์เข้าสู่ตำแหน่งที่ถูกต้องและครอบคลุมในส่วนของทางเดินหายใจ
ในลำดับต่อไปจะกล่าวถึงการใช้ยานำสลบและยาลดปวดที่มีความน่าสนใจ ซึ่งสัตวแพทย์บางท่านอาจจะเคยใช้งานมาบ้างแล้ว ดังนี้
Alfaxalone
จัดเป็นยาในกลุ่ม neurosteroid ที่จับกับ gamma aminobutyric acid หรือ GABA receptor ซึ่ง US FDA อนุมัติให้ใช้ทดแทนกันได้กับ propofol เนื่องจากการทำงานของยาสลบทั้งสองตัวนี้คล้ายกันมาก ยา alfaxalone นี้สามารถใช้เป็นยานำสลบ (induction) ได้ทั้งในสุนัขและแมว โดยขนาดยาที่แนะนำคือระหว่าง 2.2 – 9.7 mg/kg ให้ผ่านทางหลอดเลือดดำ (intravenous) ในกรณีที่ไม่มีการให้ยาระงับความรู้สึกก่อนผ่าตัด (premedication)
และขนาดยา 1-10.8 mg/kg ในกรณีที่สัตว์ได้ยาระงับความรู้สึกก่อนผ่าตัด ซึ่งจะลดปริมาณการใช้ยา alfaxalone ลงได้ประมาณ 10-43 % ขึ้นกับการออกฤทธิ์ของยา ที่ขึ้นอยู่กับความแรง ขนาด และระยะเวลาของยาที่ใช้เป็น premedication
ผลไม่พึงประสงค์ของยา alfaxalone นั้นคล้ายกับ propofol คือมีผลทำให้เกิดการหยุดหายใจ (apnea) ซึ่งจำเป็นต้องมีการสอดท่อช่วยหายใจหลังจากการให้ยาทันที โดยระยะเวลาการออกฤทธิ์จะอยู่ที่ 15-30 นาทีหลังจากให้ยาในครั้งแรก ซึ่งประสบการณ์ส่วนตัวในทางคลินิกพบว่าหากแม่แมวได้รับการช่วยคลอดด้วยวิธีการผ่าคลอด (C-section) และได้รับการวางยาด้วย alfaxalone ลูกที่เกิดมามักมี Apgar score สูงกว่าในรายที่แม่แมวได้รับยา propofol
การใช้ยา alfaxalone เพื่อทำให้สัตว์สงบหรือซึม สำหรับการทำหัตถการที่ไม่ต้องใช้เวลามาก เช่น การ ultrasound จะให้ยาในขนาด 0.5-3 mg/kg เข้าทางกล้ามเนื้อ เนื่องจากตัวยาเป็นรูปแบบละลายในน้ำ ไม่ค่อยส่งผลในเรื่องการระคายเคืองต่อกล้ามเนื้อ
แต่หากต้องการให้ยาในปริมาณมาก อาจจะต้องแบ่งให้ในหลายตำแหน่ง โดยใช้ร่วมกับยา opioid หรือ sedative drug ตัวอื่น ๆ ส่วนการใช้โดยหวังผลให้เป็นยาระงับความรู้สึกก่อนการให้ยานำสลบ สามารถใช้ได้เช่นกัน โดยใช้ยาในรูปแบบฉีดเข้ากล้ามเนื้อ
ทั้งนี้จะต้องเฝ้าระวังเรื่องของการหายใจอย่างใกล้ชิด เนื่องจากข้อควรระวังของการให้ยา alfaxalone คือภาวะการหยุดหายใจดังที่ได้กล่าวไปแล้วข้างต้น ซึ่งแนะนำให้ใช้เป็น premedication ในกรณีที่แมวมีสุขภาพค่อนข้างดีและไม่มีอาการเจ็บป่วยเรื้อรัง หรือใช้ในการผ่าตัด ASA class I หรือ II เท่านั้น (ผู้อ่านสามารถอ่านข้อมูลเพิ่มเติมเกี่ยวกับการพิจารณา ASA class ได้ดังในรายละเอียดตามตารางในภาพที่ 3 - ดูตารางได้ที่บทความบนเว็บไซต์)
นี่เป็นเพียงส่วนหนึ่งของบทความเท่านั้น อ่านบทความฉบับเต็มพร้อมหัวข้อเรื่องยา Buprenorphine, Robenacoxib, Propofol, Tramadol และ Gabapentin ต่อได้ที่ : https://readvpn.com/article/detail/2116
บทความโดย : สพ.ญ.ปทิตตา รวยอารี
สำหรับคุณหมอสัตวแพทย์ที่ยังไม่ได้เป็นสมาชิก
ตอนนี้ทาง VPN มีโปรโมชั่นน่าสนใจอยู่นะ
💙 อ่านออนไลน์ จ่ายถูกกว่า -
สำหรับสัตวแพทย์ท่านที่สมัครสมาชิกแบบอ่านออนไลน์ (ไม่รับหนังสือ) จ่ายเพียง 1,500 บาท/ปี เท่านั้น และยังสามารถทำ CE online ในเว็ปไซต์ได้ตามปกติ
💙 อ่านจากเล่ม เน้นสะสม -
สำหรับท่านที่สมัคร/ต่ออายุสมาชิกแบบรับหนังสือ (สามารถใช้งานเว็ปไซต์และทำ CE online ได้ด้วย)
📍 ได้ทำ CE online มากกว่า 40 คะแนน/ปี
📍 ดาวโหลด E-book ไปอ่านได้
📍 ใช้งานเว็ปไซต์ได้เต็มรูปแบบ
📍 E-learning online course
ดูรายละเอียดแพคเกจ
และสมัครออนไลน์ด้วยตัวเองได้ที่ https://www.readvpn.com/VPN/Subscription
หรือสอบถามเพิ่มเติม
add Line :

Videos (show all)

【แคงเกอร์】, 【คอดอก】 หรือ 🅲🅰🅽🅺🅴🆁 🅳🅸🆂🅴🅰🆂🅴พบในนกและสัตว์ปีก เป็นโรคที่เกิดจากการติดเชื้อโดยเฉพาะจากเชื้อโปรโตซัว ชื่อ"𝙏𝙧𝙞...
การดูแลแผลเน่าหนอน   - ล้างแผลให้สะอาดด้วย น้ำเกลือ หรือน้ำสะอาดปริมาณมาก - ใช้ยาผง หรือยากำจัดหนอนแมลงวันโรยบนแผล - คีบ...
มาแบบนี้หมอก็หัวจะปวดเหมือนกันจ้าาเห็บ ไร เหา มาครบเลยยย 🫠อย่าลืมหยดยาป้องกันและกำจัดเห็บหมัดไรทุกเดือนน้าาา
อย่าให้หน้าหวานๆตะมุตะมิหลอก!!!!#ฟอพัส #Forpus หรือ #PacificParrotlet นกแก้วที่ตัวเล็กที่สุดในโลก น้อนโตเต็มวัย 25-36 กร...
งั้มๆ ช่วงนี้งานเกษตรฯ รับน้องมาใหม่อย่าลืมพามาถ่ายพยาธิและโปรโตซัวกันน้า

Website