ชมรมนักศึกษาเก่ามหาวิทยาลัยเชียงใหม่ CMUpark.com

ชมรมนักศึกษาเก่ามหาวิทยาลัยเชียงใหม่ CMUpark.com

Chiang Mai University หลายหลายเรื่องราวเกี่ยวกับมหาวิทยาลัยเชียงใหม่
http://www.CMUpark.com

06/12/2022

คิดถึงอ่างแก้ว

กลับมาปิ๊งป่องอีกครั้ง! งานรับน้องขึ้นดอย ปี 65 ปล่อยวาร์ปตัวตึง 29/11/2022

กลับมาปิ๊งป่องอีกครั้ง! งานรับน้องขึ้นดอย ปี 65 ปล่อยวาร์ปตัวตึง

กลับมาปิ๊งป่องอีกครั้ง! งานรับน้องขึ้นดอย ปี 65 ปล่อยวาร์ปตัวตึง อย่าลืมกด Like Fanpage ของพวกเราได้ที่https://www.facebook.com/okwegochannelInstagram : ้ง : .m.o.n.gแป๊ก : .jirawat51ภัทร : ิล์...

ขึ้นดอยมช. 2022 กลับมาอีกครั้งกับประเพณีลูกช้างขึ้นดอย19 พ.ย. 65 20/11/2022

ขึ้นดอย มช. 2565

ขึ้นดอยมช. 2022 กลับมาอีกครั้งกับประเพณีลูกช้างขึ้นดอย19 พ.ย. 65 #ขึ้นดอย #มช #เชียงใหม่ สวัสดีค่ะห่างหายไปนานเลยย กลับมาพาทุกคนไปดูบรรยากาศการขึ้นดอยประจำปี2565กันน้าาาค....

24/09/2022

นักชีววิทยา คณะวิทย์ มช. พบ 2 new family, 5 new genus, 26 new species จากตัวอย่างฟอสซิลของรา 39 families ที่เก็บได้จาก 5 ประเทศ โดยอาศัยอนุกรมวิธานสมัยใหม่
ทีมนักชีววิทยา คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ ประกอบด้วย Mr. Milan Chameera Samarakoon นักศึกษาปริญญาเอก สาขาวิชาจุลชีววิทยาประยุกต์ ภาควิชาชีววิทยา คณะวิทยาศาสตร์ รศ.ดร. อิทธญากรณ์ พรหมพุทธา ภาควิชาชีววิทยา คณะวิทยาศาสตร์ (อาจารย์ที่ปรึกษา) และ ดร. นครินทร์ สุวรรณราช นักวิจัยมหาวิทยาลัยเชียงใหม่ ภาควิชาชีววิทยา คณะวิทยาศาสตร์ ได้ร่วมกันศึกษาวิจัยในหัวข้อ "Taxonomy, phylogeny, molecular dating and ancestral state reconstruction of Xylariomycetidae (Sordariomycetes)" และได้ค้นพบ 2 new family, 5 new genus, 26 new species จากตัวอย่างฟอสซิลของรา 39 families ที่เก็บได้จาก 5 ประเทศ โดยอาศัยอนุกรมวิธานสมัยใหม่ (modern fungal systematics)
ในงานวิจัยนี้ ได้มีการจัดอนุกรมวิธานของราแบบบูรณาการ โดยอาศัยข้อมูลทางสัณฐานวิทยาร่วมกับข้อมูลสารพันธุกรรมในยีนหลายตำแหน่งร่วมกัน คือ ITS-LSU-rpb2-tub2-tef1 จากตัวอย่างฟอสซิลของราจำนวน 39 families จาก 3 orders ได้แก่ Amphisphaeriales, Delonicicolales และ Xylariales ใน subclass Xylariomycetidae ที่เก็บตัวอย่างได้จากประเทศไทย จีน อิตาลี รัสเซีย และอังกฤษ โดยทำการสกัดและเพิ่มปริมาณดีเอ็นเอในยีนที่กำหนดเพื่อใช้หาลำดับนิวคลิโทด์ (nucleotide sequence) นำผลไปวิเคราะห์ร่วมกับnucleotide sequence อ้างอิงของราชนิดเดียวกันที่มีข้อมูลเก็บไว้ใน GenBank ด้วยโปรแกรมทางชีวสารสนเทศ (bioinformatics) ร่วมกันหลายโปรแกรม ได้แก่ BioEdit, MAFFT, TrimAl, MrModeltest, Maximum-likelihood, Bayesian Inference, MrBayes และ IQ-TREE จนทำให้สามารถวิเคราะห์เวลาของการเปลี่ยนแปลงระดับโมเลกุลและเวลาที่ทำให้เกิดการแยกจากกัน (divergence time) ให้มีความน่าเชื่อถือ และสามารถใช้เป็นข้อมูลในการเปรียบเทียบหาอายุขั้นต่ำของฟอสซิลให้มีความถูกต้องมากขึ้นได้ จนสามารถจัดทำแผนภูมิต้นไม้แสดงถึงสายวิวัฒนาการของรา Xylariomycetidae ได้อย่างถูกต้อง
จากการจัดอนุกรมวิธานของราแบบบูรณาการของฟอสซิลราทั้ง 39 families พบว่า
1. Subclass Xylariomycetidae อาจมีต้นกำเนิดระหว่างยุค Permian ถึง Jurassic ในช่วง Late Paleozoic ถึง Early Mesozoic โดย order Delonicicolales แยกออกจาก Amphisphaeriales และ Xylariales เมื่อ 161 (123–196) ล้านปีก่อน (MYA) ส่วน order Amphisphaeriales และ Xylariales แยกจากกันเมื่อ 154 (117–190) MYA โดยมีอายุมากที่สุดที่ 127 (92–165) และ 147 (111–183.5) MYA ตามลำดับ
2. สามารถจัดลำดับวงศ์ใหม่ (new family) ของตัวอย่างได้ถึง 2 families คือ Appendicosporaceae (Class Amphisphaeriales) และ Induratiaceae (Class Xylariales) โดยมีอายุต้นกำเนิดประมาณ 89 (65–117) MYA และ 74.5 (52. 6–96) MYA ตามลำดับ
3. สามารถจัดลำดับสกุลใหม่ได้ 5 สกุล (genus) ได้แก่ 𝑀𝑎𝑔𝑛𝑜𝑠𝑡𝑖𝑜𝑙𝑎𝑡𝑎, 𝑀𝑒𝑙𝑎𝑛𝑜𝑠𝑡𝑖𝑐𝑡𝑢𝑠, 𝑁𝑒𝑜𝑎𝑚𝑝ℎ𝑖𝑠𝑝ℎ𝑎𝑒𝑟𝑖𝑎, 𝑁𝑖𝑔𝑟𝑜𝑝𝑢𝑛𝑐𝑡𝑎𝑡𝑎, 𝑃𝑎𝑟𝑎𝑣𝑎𝑚𝑠𝑎𝑝𝑟𝑖𝑦𝑎
4. ประกอบด้วย 26 สายพันธุ์ใหม่ (new species)
จากผลการวิจัย ทำให้เกิดกระบวนการจัดจำแนกราในกลุ่มที่นำมาศึกษาให้มีความถูกต้องและน่าเชื่อถือมากขึ้น เกิดการปรับปรุงข้อมูลด้านอนุกรมวิธานราให้เป็นปัจจุบัน มีข้อมูลทางพันธุกรรมเก็บในฐานข้อมูลออนไลน์ และภาพสัณฐานวิทยาของราที่สามารถใช้เป็นรายการอ้างอิงในวงวิชาการได้อย่างถูกต้อง
งานวิจัยได้รับการตีพิมพ์ในวารสารวิชาการชั้นนำ Springer IF : 20.372; Q1
เผยแพร่เมื่อเดือนมกราคม 2565
อ่านงานวิจัยได้ที่ https://doi.org/10.21203/rs.3.rs-935829/v1
อ่านข่าว https://cmu.ac.th/th/article/c98a8490-4fc8-4170-8f8b-33305da04406

03/09/2022