ร่วมปฏิบัติบูชาถวายพระบิดาแห่งการอุดมศึกษาไทย

ร่วมปฏิบัติบูชาถวายพระบิดาแห่งการอุดมศึกษาไทย

เพื่อเป็นการปฏิบัติบูชาถวายสมเด็จ?

18/04/2024

ครูของหมอ

หลู่ซวิ่น นักเขียนผู้ยิ่งใหญ่ของจีนเคยคิดอยากจะเป็นหมอรักษาคน เขาดั้นด้นไปเรียนแพทย์ถึงญี่ปุ่น แต่เพราะประเทศจีนถูกเหยียดหยามจากต่างชาติ ทำให้เขาคิดว่าบางทีการรักษาคนอาจยังไม่พอ เขาจึงหันมาจับปากกาแล้วใช้งานเขียนเยียวยาจิตวิญญาณของมนุษย์แทน

ดร. ซุนยัดเซนก็เป็นหมอแต่เปลี่ยนใจจากการรักษาคนมารักษาบ้านเมืองแทน ว่ากันว่าพี่ชายที่ชื่อซุนเหมยถามเขาถึงสาเหตุที่จะต้องเสี่ยงชีวิตมาทำงานปฏิวัติ ดร. ซุนบอกว่า "หากผมเป็นหมอ ผมคงรักษาคนไข้ได้ทีละคน แต่หากผมช่วยประเทศจีนให้เป็นอิสระ ผมจะช่วยคนได้ถึง 400 ล้านคน"

ทั้งหลู่ซวิ่นและซุนยัดเซนเริ่มจากวิชาหมอแต่จบลงด้วยการช่วยบ้านเมือง

ที่ประเทศสยาม เจ้าฟ้าพระองค์หนึ่งเริ่มจากวิชาทหารมาจบลงด้วยวิชาแพทย์ คือ สมเด็จพระมหิตลาธิเบศร อดุลยเดชวิกรม พระบรมราชชนก

เริ่มกันคนละอย่างแต่จบลงที่การช่วยบ้านเมืองและมนุษยชาติเหมือนกัน

ตอนที่กำลังศึกษาวิชาแพทย์ หลู่ซวิ่นเห็นภาพถ่ายทหารญี่ปุ่นกำลังตัดศีรษะคนจีนแล้วเกิดความสะเทือนใจ ตระหนักถึงความตกต่ำของบ้านเมืองเขาจึงตัดสินใจทิ้งมีดหมอมาจับปากกา

ส่วนสมเด็จพระมหิตลาธิเบศร "กรมหลวงสงขลานครินทร์" ทรงสงสารราษฎรเมื่อได้เห็นภาพความทุกข์ยากของพวกเขาที่ต้องมารอรับการรักษาที่ศิริราชพยาบาลอีกทั้งเครื่องมือแพทย์ก็ไม่เพียงพอ จึงทรงตัดสินพระทัยที่จะช่วยปรับปรุงการแพทย์ของประเทศ

กรมหลวงสงขลานครินทร์ทรงกราบทูลกับกรมขุนชัยนาทนเรนทร อธิบดีกรมสาธารณสุขว่า "หม่อมฉันรู้สึกเสมอว่า การสาธารณสุขนั้นเปนการสำคัญอย่างยิ่ง ทั้งเปนเครื่องบำรุงกำลังของชาติไทย แลเปนสาธารณประโยชน์แก่มนุษยชาติทัวไป" ดังนั้นจึงทรงอาสาที่จะช่วยเหลือในเรื่องนี้

เจ้าฟ้านายทหารที่ศึกษาวิชาทหารมาแล้วจากเยอรมนี (ด้วยคะแนนสูงสุด) จึงต้องกลับไปต่างประเทศอีกครั้งเพื่อเรียนวิชาหมอมาช่วยบ้านเมือง คราวนี้เสด็จไปเรียนที่ "สหปาลีรัฐอเมริกา"

ในปี 2460 ทรงโดยสารเรือจากสยามต่อไปยังเมืองจีนจากนั้นข้ามแปซิฟิกมายังสหรัฐ ระหว่างทางแวะที่เกาะฮาวาย ดินแดนของสหรัฐ

ที่ฮาวายนี่เองที่เกิดเรื่องขึ้น

ในคลังคลิปข่าวของหอสมุดสภาคองเกรสมีรายงานชิ้นหนึ่งระบุว่า "เมื่อถึงโฮโนลูลู พรินซ์มหิดล สงขลา กำลังจะเสด็จลงเรือไปทอดพระเนตรทิวทัศน์ของเมืองหลวง เจ้าหน้าที่ตรวจคนเข้าเมืองมาห้ามพระองค์ไว้บอกว่า คนญี่ปุ่นจะขึ้นท่าไม่ได้ถ้าไม่ได้ตรวจเอกสารก่อน ...

ในตอนนั้นพวกญี่ปุ่นกับจีนไปเป็นกุลีที่ฮาวายกันมาก ซุนยัดเซนก็ไปอยู่กับพี่ชายซึ่งทำกินที่ฮาวาย ดังนั้นเจ้าหน้าที่อเมริกันจึงเหยียดหยามคนเหล่านี้
.. พรินซ์มหิดล สงขลาทรงตอบว่าพระองค์ไม่ใช่คนญี่ปุ่น แต่เจ้าหน้าที่ตรวจคนเข้าเมืองกลับโต้เถียงด้วยวิธีการอันเป็นอเมริกันยิ่งด้วยการ "ต่อยเข้าไปที่ปลายจมูก" แต่มหิดล สงขลาคงจะไม่ทรงคุ้นกับการโต้ตอบอย่างฉับพลันแบบนี้ จึงทรงมิได้ทรงโต้ตอบ ...

เจ้าฟ้าเสด็จมาถึงซานฟรานซิสโกแล้ว ทรงพบกับราชทูตสยามผู้เกรี้ยวกราดอย่างมากกับรายงานการกระทำอันหยามพระเกียรตินี้...

แต่มหิดล สงขลาทรงเป็นสุภาพบุรุษชาวสยามทุกกระเบียดนิ้ว ทรงพยายามบอกว่าผู้กระทำต่อพระองค์นั้นไม่ได้ผิดและทรงหวังว่าเขาจะไม่ถูกไล่ออกจากงาน...

ผู้รานงานข่าวทิ้งท้ายว่า "การที่เจ้าฟ้าทรงหวังด้วยพระเมตตาอย่างนี้ ไม่อาจยับยั้งการลงโทษผู้ก่อเหตุได้แน่นอน" และ "เจ้าหน้าที่ตรวจคนเข้าเมืองอเมริกันจะต้องหมดอนาคตในงานราชการอย่างแน่นอน"

ข่าวนี้บอกกับเรา "พรินซ์ ออฟ สงขลา" ทรงมีขันติธรรมมากเพียงใด แม้จะทรงถูกปฏิบัติอย่างเลวร้ายแต่ก็ยังอุตส่าห์ห่วงผู้ที่กระทำต่อพระองค์ ทรงทำให้ชาวอเมริกันได้ประจักษ์ในความเป็น "สุภาพบุรุษชาวสยาม"

เมื่อทรงเดินทางถึงสหรัฐแล้วเริ่มศึกษาวิชาการแพทย์ก็ทรงไม่ถือยศถืออย่าง ทรงสละคำว่าพรินซ์และดยุคอันรุงรังออกไปเสีย เหลือเพียงคำว่า "มิสเตอร์มหิดล สงขลา" ตามธรรมเนียมเข้าเมืองตาหลิ่วต้องหลิ่วตาตาม เพราะสังคมอเมริกันนั้นไม่มีชนชั้น

ทรงให้สัมภาษณ์กับ Boston Globe ในปี 2460 (ซึ่งผู้เขียนจะขอแปลอย่างง่ายๆ เพื่อรักษาความเป็นกันเอง ดังนี้)

"ผมไม่อยากให้คนรู้ว่าผมเป็น พรินซ์ ตอนที่อยู่ที่นี่ เรียกง่ายๆ ว่านายสงขลาเหมาะกับผมมากกว่า คุณดูสิยศของผมคือดยุคแห่งสงขลา ตอนที่ผมอยู่ที่นี่ผมอยากจะใช้คำนำหน้าชื่อแบบอเมริกันว่า มิสเตอร์มากกว่า ... ผมเชื่อว่าเมื่อเราไปประเทศหนึ่งเพื่อทำงานหรืออยู่อาศัยควรจะทำตามธรรมเนียมของประเทศนั้นทุกอย่าง"

และทรงบอกถึงเจตนารมณ์เอาไว้ว่า

"ที่ผมมาที่นี่ไม่ใช่มาทำธุรกิจหรือมาเสพสุข แต่มาเพราะหน้าที่ พระเจ้ากรุงสยามพระเชษฐาธิราชของผมทรงได้รับค่าเหนื่อยในการบริหารประเทศอย่างมาก และผมเชื่ออย่างหนักแน่นว่าพระบรมวงศ์ของพระองค์ควรจะอุทิศตนเพื่อรับใช้บ้านเมืองของตนเป็นการตอบแทน หากผมอยากจะอยู่สบายๆ ก็ทำได้ไม่ยาก แต่ผมไม่คิดว่ามันเป็นเรื่องถูกต้อง เพราะผมรู้สึกอย่างแรงกล้าถึงพันธกิจต่อพสกนิกรของพระเชษฐาธิราช"

ต่อมาทรงให้สัมภาษณ์กับ New York Times ว่า

"ผมคงไม่ได้ครองราชย์หรอก แต่ผมไม่ได้กังวลใจเรื่องนี้ ... ความปรารถนาอันแรงกล้าของผมคือการทำตนให้เป็นประโยชน์ ผมจะอยู่สบายๆ ด้วยยศศักดิ์ก็ย่อมได้ในฐานะพระอนุชาของพระเจ้าแผ่นดิน แต่ผมคิดว่าผมควรได้รับการยกย่องในสิ่งที่ผมเป็นจริงๆ มากกว่า หากคนจะยกย่อง ผมก็อยากให้เขายกย่องเพราะผมมีผลงานควรแก่การยกย่อง"

และก็เช่นนั้นจริงๆ เพราะโลกจดจำพระองค์ที่ความดี ไม่ใช่เพราะทรงเป็นเจ้าฟ้า

แม้จะเป็นเจ้าฟ้าแต่ครอบครัวมหิดลใช้ชีวิตอยู่ในต่างแดนอย่างประหยัดยิ่ง ทั้งยังทรงเจียดเงินช่วยเหลือนักศึกษาไทยและนักศึกษาแพทย์ช่วยเม็กซิกันที่อัตคัดขัดสน เพื่อที่เขาจะได้กลับไปเป็นหมอรักษาพี่น้องร่วมชาติเหมือนพระองค์หลังทรงจากทรงทราบความตั้งใจของเขา

ทรงช่วยเขาเป็นเงินถึง 100 ดอลลาร์ต่อเดือน ส่วนพระองค์นั้นตอนแรกที่ไปถึงสหรัฐทรงใช้เงินกับอาหารวันละ 6 - 7 ดอลลาร์เท่านั้น

เมื่อทรงกลับมาประเทศสยามแล้วทำคุณประโยชน์ด้านการแพทย์มากมาย ทั้งวางระบอบการแพทย์แผนใหม่ให้สยาม สอนวิชาแพทย์ให้กุลบุตรสยามและรักษาราษฎรชาวสยามจนผู้คนเรียกขานด้วยความรักใคร่ว่า "หมอเจ้าฟ้า"

ราษฎรบางคนรู้สึกเป็นมงคลแก่ชีวิตที่พระองค์รักษาให้ เมื่อกลับไปบ้านแล้วไม่ยอมอาบน้ำก็มี บอกว่า “หมอเจ้าฟ้าล้างหูให้”

ราษฎรรักพระองค์มากกกว่าหมอธรรมดา และพระองค์ก็รักคนไทยมากเช่นกัน ในจดหมายที่มีไปถึงหม่อมคัทริน จักรพงษ์ทรงเอ่ยความในใจว่า

"เมื่อฉันเพิ่งออกไปเรียนหนังสือที่ยุโรป ฉันไม่เคยรู้แน่เลยว่าชาติของฉัน บ้านของฉันนั้นสำคัญแก่ฉันเพียงไร จนกระทั่งฉันได้มีโอกาสติดต่อกับคนไทย จึงได้รู้ตัวว่ารักคนไทยเพียงใด และได้รู้จักคุณสมบัติของคนไทยอันน่ารักมีคุณค่า ... จึงได้รู้สึกตัวว่าถิ่นฐานของฉันในโลกนี้ ก็คือจะต้องอยู่ท่ามกลางคนไทยด้วยกัน"

แม้ว่าจะทรงไม่อยากให้คนจดจำพระองค์เพราะฐานันดรแต่กำเนิด แต่ชาวไทยไม่อาจลืมได้ว่าทรงไม่ได้เป็นแค่หมอและครูของหมอ เพราะในสมัยรัชกาลที่ 7 ยังทรงอยู่ในลำดับที่ได้สืบราชบัลลังก์ต่อไปด้วย

ในปี 1928 ขณะที่ทรงศึกษาวิชาแพทย์ที่สหรัฐนั้นทรงประชวรหนักรู้สึกพระองค์ว่าคงจะไม่รอดแล้ว จึงเรียกหา "ฟรานซิส บี. แซร์" หรือ พระยากัลยาณไมตรีชาวอเมริกันผู้เป็นที่ปรึกษาด้านการต่างประเทศของรัฐบาลสยามและผู้ที่สนิทสนมกับพระองค์เป็นอันมาก

ฟรานซิส บี. แซร์ บันทึกไว้ว่า

"เดือนเมษายน 1928 พรินซ์มหิดลประชวรหนักและถูกส่งไปยังโรงพยาบาลบอสตัน ด้วยเกรงว่าอาการอาจถึงแก่ชีวิต จึงทรงเรียกหาผมให้ผมช่วยจดพินัยกรรมเกี่ยวกับพระโอรส โดยหากมีความเป็นไปได้ที่พระโอรสทั้งสองจะได้ครองราชบัลลังก์สยาม จะทรงขอพระเจ้าแผ่นดินสยามอย่าได้เลือกพระโอรสองค์ใดองค์หนึ่งเป็นรัชทายาท"

เหตุครั้งนั้นทรงหายประชวรได้แต่ในอีก 2 ปีต่อมาก็สิ้นพระชนม์ไปอย่างน่าเสียดาย

ทรงไม่มีโอกาสได้รับรู้ว่าความปรารถนาของพระองค์ไม่อาจกลายเป็นจริง ไม่ใช่แค่พระโอรสองค์เดียวเท่านั้นที่ได้เป็นพระเจ้าแผ่นดิน

แต่ได้เป็นทั้งสองพระองค์

ข้อมูลจาก
• Celebrating The Legacy of His Royal Highness Prince Mahidol of Songkla: A Century of Progress in Public Health and Medicine in Thailand
• World War history : daily records and comments as appeared in American and foreign newspapers, 1914-1926 ([New York]), August 20, 1916, (1916 August 20-27)
• จดหมายเหตุพระราชประวัติ สมเด็จพระมหิตลาธิเบศร อดุลยเดชวิกรม พระบรมราชชนก
• มรดกไทยในฉลองพระองค์เจ้าฟ้าทหารเรือ

(ป.ล. ตลอดเวลาที่ผ่านมาผมอยากจะขอบคุณทีมแพทย์และเจ้าหน้าที่ผู้เสียสละในแนวหน้าสงครามการระบาดแต่ไม่รู้ว่าจะสื่อความในใจอย่างไร ทำได้ก็แค่เขียนหนังสือ จึงขอแสดงความซาบซึ้งในความเสียสละของทุกท่านด้วยงานเขียนชิ้นนี้ ... และที่ผมเลือกใช้หมอเจ้าฟ้าเป็นตัวแทนแสดงความขอบคุณทีมแพทย์ ไม่ว่าจะยอพระเกียรติ แต่อยากจะเลือกสักท่านหนึ่งเป็นสัญลักษณ์แทนความเสียสละของทีมสาธารณสุข)

https://www.facebook.com/share/1B7xLDFz1Bx8yUuX/?mibextid=xfxF2i

ภาพจาก Bibliothèque nationale de France

17/04/2024

Date of birth : 16 Apeil 1884 (๑๖ เมษายน พ.ศ. ๒๔๒๗)
::: สมเด็จพระราชปิตุจฉา เจ้าฟ้าวไลยอลงกรณ์ กรมหลวงเพชรบุรีราชสิรินธร :::
พระราชธิดาลำดับที่ 43 ในพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว

นายพันเอกหญิง สมเด็จพระราชปิตุจฉา เจ้าฟ้าวไลยอลงกรณ์ กรมหลวงเพชรบุรีราชสิรินธร (ประสูติ: 16 เมษายน พ.ศ. 2427 - สิ้นพระชนม์: 15 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2481) เป็นพระราชธิดาลำดับที่ 43 ใน พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ประสูติแต่สมเด็จพระศรีสวรินทิราบรมราชเทวี พระพันวัสสาอัยยิกาเจ้า เมื่อวันที่ 16 เมษายน พ.ศ. 2427 เป็นพระขนิษฐาร่วมพระมารดาของสมเด็จพระบรมโอรสาธิราช เจ้าฟ้ามหาวชิรุณหิศ สยามมกุฎราชกุมาร มกุฎราชกุมารพระองค์แรกของสยาม และเป็นเชษฐภคินีของสมเด็จพระมหิตลาธิเบศร อดุลยเดชวิกรม พระบรมราชชนก พระราชบิดาของพระบาทสมเด็จพระปรเมนทรมหาอานันทมหิดล พระอัฐมรามาธิบดินทร และพระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช

สมเด็จพระราชปิตุจฉา เจ้าฟ้าวไลยอลงกรณ์ กรมหลวงเพชรบุรีราชสิรินธร ทรงเล็งเห็นความสำคัญกับการศึกษาของสตรีไทย เช่น ทรงรับเป็นองค์อุปถัมภ์ของโรงเรียนราชินี การก่อสร้างโรงเรียนราชินีบน และทรงจัดตั้งโรงเรียนฝึกหัดครูเพชรบุรีวิทยาลงกรณ์ (ต่อมาคือ มหาวิทยาลัยราชภัฏวไลยอลงกรณ์) เป็นต้น

พระองค์ทรงพระประชวรด้วยโรคพระวักกะพิการเรื้อรัง เคยเสด็จไปทรงรับการผ่าตัดที่ต่างประเทศถึง 2 ครั้ง จนเมื่อวันที่ 14 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2481 มีพระอาการหนักอย่างน่าวิตก พระอาการประชวรได้ทรุดลงตามลำดับ และสิ้นพระชนม์เมื่อเวลา 23.15 นาฬิกา ของวันที่ 15 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2481 สิริพระชนมายุ 53 พรรษา
::::::::::::::::::::::::::::::::::::::::::

#16เมษายน #สมเด็จพระราชปิตุจฉาเจ้าฟ้าวไลยอลงกรณ์กรมหลวงเพชรบุรีราชสิรินธร

Photos from หน่วยวิจัยแผนที่และเอกสารประวัติศาสตร์สถาปัตยกรรม's post 17/02/2024
Photos from ร่วมปฏิบัติบูชาถวายพระบิดาแห่งการอุดมศึกษาไทย's post 27/03/2023
27/03/2023

04 #เหตุผลอันควรถวายพระราชสมัญญา “พระบิดาแห่งการอุดมศึกษาไทย”
แด่สมเด็จพระมหิตลาธิเบศรอดุลยเดชวิกรม พระบรมราชชนก

๖. สมเด็จพระมหิตลาธิเบศร อดุลยเดชวิกรม พระบรมราชชนกทรงมีความลึกซึ้งในเรื่องปรัชญา บทบาท หน้าที่ และวิธีการจัดการศึกษามหาวิทยาลัยในระดับสากล ทรงประทานแนวคิดเรื่อง “หน้าที่ของมหาวิทยาลัยที่แท้จริง ๔ ประการ ซึ่งยังคงทันสมัยอยู่เสมอแม้ในกาลปัจจุบัน จนน่าเชื่อได้ว่าหากวงการอุดมศึกษาไทยได้นำแนวพระราชดำริ มาประพฤติปฏิบัติกันตั้งแต่ช่วง พ.ศ. ๒๔๗๒ การอุดมศึกษาไทยของเราคงจะเจริญก้าวหน้าทัดเทียมประเทศชั้นนำของโลก มิพักจะต้องพูดถึงเรื่องความสามารถในการแข่งขัน (Competitiveness) ความเป็นมหาวิทยาลัยชั้นนำระดับโลก (World Class University) หรือความมีธรรมาภิบาลในมหาวิทยาลัย (University Governance) เพราะมหาวิทยาลัยในความหมายของพระองค์คือ สถาบันแห่งธรรมาภิบาลที่ผู้ไร้ซึ่งคุณธรรมจะไม่สามารถอยู่ได้

๗. สมเด็จพระมหิตลาธิเบศร อดุลยเดชวิกรม พระบรมราชชนกทรงวางรูปแบบการบริหารมหาวิทยาลัยในลักษณะที่เน้นการมีส่วนร่วม โดยทรงกำหนดให้มี “เสเนต เป็นคณะที่เลือกตั้งกันขึ้น, มีผู้แทนจากคณะอาจารย์คณะทรัพย์สมบัติ คณะนักเรียน ล้วนเป็นผู้ที่ได้ถูกเลือกมาทั้งนั้น มีหน้าที่เสนอความเห็นแก่สภา และมีสิทธิที่จะทำกฎข้อบังคับปกครองภายใน เกี่ยวด้วยการเลือกนักเรียนเข้า การปกครองการอยู่กินของนักเรียน การไล่นักเรียนออก มีประธานของสภาคณาจารย์เป็นประธาน มีหน้าที่ช่วยอุปนายกจัดการปกครองภายใน”

จนอาจกล่าวได้ว่า สมเด็จพระบรมราชชนกได้ทรงนำเสนอหลักการ “ธรรมาภิบาล” ในการบริหารอุดมศึกษาตั้งแต่ พ.ศ. ๒๔๗๒ ก่อนที่สังคมไทยจะเริ่มหันมาให้ความสำคัญกับเรื่องปฏิรูปการศึกษา และกระแสธรรมาภิบาล อีกครั้งในการปฏิรูปการศึกษา พ.ศ. ๒๕๔๒ หรือ อีก ๗๐ ปี ต่อมา

๘. สมเด็จพระมหิตลาธิเบศร อดุลยเดชวิกรม พระบรมราชชนกทรงมีความลึกซึ้งในงานวิจัยและการนำผลการวิจัยไปสู่การบริหารการจัดการศึกษา ดังจะเห็นได้จากบันทึกพระราชดำริ เรื่อง “การสำรวจการศึกษาเพื่อประกอบพระราโชบายเรื่องการตั้งมหาวิทยาลัย” และ “รายงานความเห็นเรื่องโครงการมหาวิทยาลัย” ที่ทรงนำเสนอต่อรัฐบาลในเดือนกุมภาพันธ์ พ.ศ. ๒๔๗๔ ทั้งนี้ พระราชดำริด้านการศึกษาของพระองค์มักได้รับการนำไปยึดถือเป็นแนวทางปฏิบัติ หรือมักได้รับการอ้างอิงในที่ประชุมระดับอฏิรัฐมนตรี

เช่น การประชุมพิจารณาเรื่องการออกพระราชบัญญัติพระราชทานปริญญาแก่บัณฑิตจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยของที่ประชุมอภิรัฐมนตรี ครั้งที่ ๔/๒๔๗๒ พระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ ๗ ได้มีพระราชดำรัสว่า “.... ถ้าพระราชบัญญัติยังไม่ได้ออกต้องให้ปริญญาดั่งนี้เรื่อย ๆ ไป พวกที่ได้ปริญญาไปคงรู้สึกไม่เต็มภาคภูมิ, ทรงพระราชดำริเห็นว่า ควรให้ปริญญาเป็นของมีค่า, สมเด็จเจ้าฟ้ากรมขุนสงขลานครินทร์เคยกราบบังคมทูลว่า ต้องการให้เป็น Charter ถ้าเกี่ยวกับกระทรวงจะเป็นปอลิติคไป ..”

หรือในบันทึกที่ ๓๕๙/๑๓๔๐๒ ลงวันที่ ๓ มีนาคม พุทธศักราช ๒๔๗๓ ของกระทรวงธรรมการเรื่องการโปรดเกล้าฯ แต่งตั้งคณะกรรมการดำริรูปการมหาวิทยาลัย ก็ยังมีการระบุไว้ในหน้าที่ของคณะกรรมการ ข้อที่ ๔ ว่า “ควรให้พิจารณาการทั้งนี้ประกอบกับพระดำริสมเด็จพระเจ้าพี่ยาเธอ เจ้าฟ้ากรมขุนสงขลานครินทร์” จนอาจกล่าวได้ว่าการดำเนินการใด ๆ ของระบบอุดมศึกษาสยามในยุคแรกเริ่มก่อตั้งนั้นมักมีการนำแนวพระราชดำริของสมเด็จพระมหิตลาธิเบศร อดุลยเดชวิกรม พระบรมราชชนก เข้าไปร่วมพิจารณาด้วยเสมอ

๙. สมเด็จพระมหิตลาธิเบศร อดุลยเดชวิกรม พระบรมราชชนกมีความเข้าพระราชหฤทัยในระบบการศึกษาอันครบถ้วนรอบด้าน ด้วยทรงศึกษาอย่างกว้างขวาง เริ่มจากการศึกษาในพระบรมมหาราชวัง ในอังกฤษ ในเยอรมัน ในโรงเรียนทหารบก โรงเรียนทหารเรือ โรงเรียนสาธารณสุข โรงเรียนแพทย์ เมื่อทรงฝึกฝนปฏิบัติสิ่งใดก็ปฏิบัติอย่างมุ่งมั่นจริงจังมีผลงานอันประจักษ์ ดังจะเห็นได้จากการที่ทรงได้รับโปรดเกล้าฯ แต่งตั้งให้ทรงเป็นอธิบดีกรมมหาวิทยาลัยตั้งแต่ยังประทับอยู่ในยุโรป

และต่อมาเมื่อพระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัวทรงพระราชดำริว่าการจัดการศึกษานั้นต้องกลมกลืนและต่อเนื่องตั้งแต่ปฐมศึกษา มัธยมศึกษา และอุดมศึกษา ก็ได้โปรดเกล้าฯ แต่งตั้งให้สมเด็จพระมหิตลาธิเบศร อดุลยเดชวิกรม พระบรมราชชนก ทรงดำรงตำแหน่งข้าหลวงสำรวจการศึกษาทั่วไปของกระทรวงศึกษาธิการไปผลักดันให้แนวพระราชดำริดังกล่าวสำเร็จดังพระราชประสงค์

27/03/2023

05 #เหตุผลอันควรถวายพระราชสมัญญา “พระบิดาแห่งการอุดมศึกษาไทย”
แด่สมเด็จพระมหิตลาธิเบศรอดุลยเดชวิกรม พระบรมราชชนก

๑๐. สมเด็จพระมหิตลาธิเบศร อดุลยเดชวิกรม พระบรมราชชนก มีน้ำพระราชหฤทัยรักใคร่ในราษฎรทรงวางตนเช่นราษฎรทั่วไปโดยมิโปรดเกียรติยศใด ๆ เป็นการพิเศษ ดังจะเห็นได้จาก..
-การปลอมพระองค์เป็นสามัญชนตามเสด็จบิณฑบาตสมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ เจ้าฟ้าอัษฎางค์เดชาวุธ กรมหลวงนครราชสีมา
-การที่ทรงปฏิบัติตนเป็นกลาสีทั่วไปในระหว่างฝึกทหารในเรือวิกตอเรียหลุยส์
-การใช้ชีวิตเยี่ยงสามัญชนชื่อ M. Songkla ในระหว่างศึกษาในสหรัฐอเมริกา
-การเก็บตัวอย่างเชื้อตามส้วมสาธารณะและในเรือนจำระหว่างทรงสำรวจด้านสาธารณสุขในสยาม
-การแสดงความเคารพแก่ทหารที่มีอาวุโสสูงกว่าเมื่อโดยสารเรือข้ามท่าศิริราช
-การระบุมิให้จารึกพระนามไว้บนอาคารที่พระราชทานพระราชทรัพย์สร้าง
-และการปฏิบัติต่อผู้ป่วยไข้ที่ทรงรักษา ฯลฯ

จนน่าเชื่อได้ว่าหากยังทรงพระชนมชีพอยู่ พระองค์อาจมิได้สนพระราชหฤทัยต่อคำสรรเสริญใด ๆ ไม่ว่าจะเป็นการถวายพระราชสมัญญา “พระบิดาแห่งการแพทย์แผนใหม่” “องค์บิดาแห่งการสาธารณสุขไทย” “บุคคลดีเด่นของโลก ของยูเนสโก” หรือกระทั่ง “พระบิดาแห่งการอุดมศึกษาไทย” ที่ผู้เขียนกำลังพยายามนำเสนอแก่สาธารณชนอยู่นี้

๑๑. การถวายพระราชสมัญญา “พระบิดาแห่งการอุดมศึกษาไทย” นั้น แท้จริงแล้วจึงเป็นการสร้างประโยชน์แก่วงการอุดมศึกษาและระบบการศึกษาของประเทศไทยโดยรวมมากกว่าที่จะเป็นการถวายพระเกียรติยศแด่สมเด็จพระมหิตลาธิเบศร อดุลยเดชวิกรม พระบรมราชชนก ผู้ทรงพ้นไปจากวิสัยแห่งลาภยศสรรเสริญใด ๆ ในทางโลกย์ และการถวายพระราชสมัญญา “พระบิดาแห่งการอุดมศึกษาไทย” จะส่งผลให้เกิดการกระตุ้นเตือนสังคมไทยให้ได้ตระหนักถึงความสำคัญของคุณภาพของการศึกษา หลักการของอุดมศึกษา ตลอดจนใช้เป็นโอกาสแสดงความกตัญญูและความกตเวทิตาที่พึงมีต่อพระผู้ทรงมีพระกรุณาธิคุณอันล้นพ้นแก่ระบบการศึกษาของไทย เป็นการกระตุ้นให้สังคมได้ตระหนักถึงจิตวิญญาณที่แท้จริงของความเป็นครูของการอุดมศึกษา ดังที่มีปรากฏอยู่ในพระราชประวัติ ในพระราชหัตถเลขา และในบันทึกพระราชดำรัส ฯลฯ

๑๒. การถวายพระราชสมัญญา “พระบิดาแห่งการอุดมศึกษาไทย” มิได้ขัดกับพระราชสมัญญา ด้านการศึกษาที่เคยมีผู้ถวายแด่พระองค์ ไม่ว่าจะเป็น
+ “พระบิดาแห่งการแพทย์แผนใหม่”
+ “องค์บิดาแห่งการสาธารณสุขไทย”
+ “บุคคลดีเด่นของโลกของยูเนสโก”

เป็นการเสริมและเติมเต็มให้สมบูรณ์แบบ เพราะทั้งวิชาชีพแพทย์และนักสาธารณสุขนั้นล้วนเป็นผลสืบเนื่องจากการจัดการศึกษาในระดับอุดมศึกษาซึ่ง สมเด็จพระมหิตลาธิเบศร อดุลยเดชวิกรม พระบรมราชชนกได้ทรงทุ่มเทพระวรกาย พระราชทรัพย์ และพระสติปัญญา เพื่อเจรจาขอความร่วมมือจากมูลนิธิร็อคกี้เฟลเลอร์ ทรงจัดวางรากฐานและร่วมดำเนินการในทุกทาง

แม้ว่าในระยะแรกจะมุ่งเฉพาะด้านการแพทย์ แต่ก็ปฏิเสธไม่ได้ว่าทรงมีส่วนการจัดการสอนในระดับอุดมศึกษาอื่น ๆ ของจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยด้วย ไม่ว่าจะเป็น อักษรศาสตร์ วิทยาศาสตร์ วิศวกรรมศาสตร์ หรือรัฐประศาสนศาสตร์

นอกจากนั้น คำว่า “พระบิดาแห่งการแพทย์แผนใหม่” ยังอาจถูกมองในความหมายเฉพาะการแพทย์ในส่วนที่เป็นการรักษาพยาบาลผู้ป่วย โดยมิได้ครอบคลุมไปถึงเรื่องการจัดการเรียนการสอนแพทย์ซึ่งครอบคลุมไปในเรื่องอื่น ๆ ด้วย มีทั้งเรื่องอักษรศาสตร์ ศิลปศาสตร์ และวิทยาศาสตร์ ฯลฯ

๑๓. การที่บุคลากรในวงการอุดมศึกษาอันมีสำนักงานคณะกรรมการการอุดมศึกษาและกระทรวงศึกษาธิการเป็นผู้นำพร้อมเพรียงกันขอพระราชทานถวายพระราชสมัญญา “พระบิดาแห่งการอุดมศึกษา” แด่สมเด็จพระมหิตลาธิเบศร อดุลยเดชวิกรม พระบรมราชชนก ผู้ทรงพระกรุณาธิคุณอันล้นพ้นแก่การอุดมศึกษาของไทย ใน พ.ศ. ๒๕๕๕ อันเป็นปีที่ครบ ๑๒๐ ปี แห่งวันพระราชสมภพ (๑ มกราคม พ.ศ. ๒๔๓๕ ทรงพระราชสมภพก่อนที่สยามจะเปลี่ยนวันปีใหม่จากเดือนเมษายนมาเป็นเดือนมกราคมตามหลักสากล) จึงเป็นกุศลอันยิ่งใหญ่ของวงการอุดมศึกษาของไทยอย่างแท้จริง

27/03/2023

#เหตุอันควรถวายพระราชสมัญญา “พระบิดาแห่งการอุดมศึกษาไทย” แด่สมเด็จพระมหิตลาธิเบศร อดุลยเดชวิกรม พระบรมราชชนก

เมื่อผมเริ่มต้นออกมาเรียกร้องให้มีการถวายพระราชสมัญญา “บิดาแห่งการอุดมศึกษาไทย” แด่สมเด็จพระมหิตลาธิเบศร อดุลยเดชวิกรม พระบรมราชชนก ใน พ.ศ. ๒๕๕๐ นั้น คำถามที่มักได้รับการสอบถามอยู่เสมอคือ เหตุใดจึงเลือกถวายพระเกียรติยศในฐานะ “พระบิดาแห่งการอุดมศึกษาไทย” แก่พระองค์ผู้ทรงมีบทบาทในแวดวงการศึกษาเพียงระยะเวลาสั้น ๆ ช่วง ๑๐ ปีสุดท้ายก่อนสิ้นพระชนม์ ในขณะที่มีพระมหากษัตริย์ เชื้อพระวงศ์ชั้นสูง อีกมากมายที่ได้ทรงเสียสละทุ่มเทและทรงวางรากฐานการศึกษาสมัยใหม่ในระดับอุดมศึกษาขึ้นในประเทศนี้ หรือแม้แต่ข้าราชการชั้นผู้ใหญ่ก็ตาม ผมจึงถือเป็นภาระสำคัญที่จะต้องอธิบายถึงเหตุและผลซึ่งสนับสนุนต่อข้อเสนอดังกล่าว

ก่อนอื่น ต้องยอมรับเสียก่อนว่ามีความจริงอันปฏิเสธไม่ได้อยู่หลายประการเกี่ยวกับการจัดการศึกษาในประเทศไทย เช่น

๑. คำว่า “อุดมศึกษา” นั้นแม้จะแปลว่า “การศึกษาชั้นสูง” แต่คำจำกัดความที่ผู้คนในสังคมไทยรับรู้นั้นมุ่งเฉพาะการศึกษาในรูปแบบแนวทางมาตรฐานตะวันตก และเป็นการศึกษาที่สูงกว่าระดับการสอนเพื่อให้เป็นพลเมืองดี อย่างระดับประถม หรือระดับมัธยม เพราะหากถือเป็นเพียงการศึกษาชั้นสูงทั่ว ๆ ไป ไทยเราก็มีการศึกษาชั้นสูงมานานกว่าพันปีแล้ว พิจารณาง่าย ๆ ได้จากบรรดางานศิลปะ วรรณกรรมชั้นครูซึ่งมีปรากฏมาแต่ครั้งสมัยสุโขทัย ตลอดไปจนถึงหลักฐานถาวรวัตถุประเภท ศิลาจารึก สิ่งปลูกสร้าง และอนุสรณ์สถานโบราณหลาย ๆ แห่งที่ยังคงมั่นคงแข็งแรงมาถึงปัจจุบัน แต่ละแห่งล้วนต้องอาศัยทั้งศิลปะ ความรู้ ความชำนาญ ในด้านการออกแบบ และการคำนวณมาอย่างดี จึงสามารถจะปลูกสร้างขึ้นมาได้

ยกตัวอย่างให้เห็นชัด ๆ ก็คือ หมู่วิหาร อาคาร และสิ่งปลูกสร้างในพระบรมมหาราชวัง และวัดพระศรีรัตนศาสดาราม ซึ่งล้วนงดงามใหญ่โตโอฬาร ทั้งหมดผ่านร้อนผ่านหนาวมาได้สองศตวรรษกึ่งแล้ว โดยไม่มีร่องรอยแตกร้าวปรากฏให้เห็นเลย ทั้งที่รอบพระบรมมหาราชวังนั้นมีรถยนต์ รถบรรทุกวิ่งผ่านโดยรอบวันละเป็นพันเป็นหมื่นคัน ผิดกับสิ่งปลูกสร้างและอาคารสมัยใหม่จำนวนมากแค่สร้างมาเพียงไม่กี่ปี ก็ปรากฏรอยแตกร้าวตามผนังมากมาย ทั้งที่ไม่ต้องรับแรงสั่นสะเทือนใด ๆ จากบริเวณใกล้เคียง

๒. คำว่า “อุดมศึกษา” หรือ Higher education ในที่นี้จึงยึดตามมาตรฐานตะวันตกที่ได้เริ่มเข้ามามีอิทธิพลครอบงำระบบการศึกษาของไทยตั้งแต่ยุคก่อนสมัยพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ ๔ หรือเกือบสองศตวรรษล่วงมาแล้ว โดยเหตุที่ระบบการศึกษาแบบตะวันตกนั้นสามารถตอบสนองความต้องการของโลกและสังคมได้ดีกว่า อย่างน้อยก็เป็นอาวุธสำคัญที่โลกตะวันตกใช้แผ่ขยายอิทธิพล เที่ยวยึดครองพื้นที่ของโลกตะวันออกไว้เป็นอาณานิคมได้โดยทั่วไป และส่งผลให้ระบบการศึกษาแบบตะวันออกทั้งหลายต้องปรับตัวลดบทบาทลงไปอยู่ในฐานะของระบบการศึกษาทางเลือก เช่น ในประเทศไทยนั้น วัดวาอารามที่เคยเป็นแหล่งวิชา แหล่งพัฒนาบุคลากรให้กับสังคมก็จำต้องลดและจำกัดบทบาท เหลือเพียงแค่การศึกษาพุทธดำรัส และบาลีของเหล่าภิกษุสามเณร

๓. ความหมายของคำ “อุดมศึกษา” และ “มหาวิทยาลัย” มีความแตกต่างและความคล้ายคลึงอันไม่หยุดนิ่งในสังคมไทย เช่น ในยุคแรกนั้น คำว่า “อุดมศึกษา” ได้เกิดขึ้นก่อน โดยถือเอาโรงเรียนฝึกอาชีพชั้นสูงทั้งหลายในกระทรวงว่าเป็นอุดมศึกษา เช่น โรงเรียนนายร้อย โรงเรียนมหาดเล็ก โรงเรียนแพทย์ โรงเรียนกฎหมาย โรงเรียนปกครอง ในขณะที่คำว่า “มหาวิทยาลัย” นั้นจะมุ่งไปที่การเรียนปรัชญาชั้นสูงซึ่งเกิดขึ้นในภายหลังอย่างกรณีของจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย พูดง่าย ๆ ว่า อุดมศึกษาในไทยนั้นเกิดขึ้นก่อนมหาวิทยาลัย อย่างไรก็ตาม ต่อมาคำว่า “อุดมศึกษา” และ “มหาวิทยาลัย” ก็มีความหมายเปลี่ยนไปจนแทบจะไม่แตกต่างกันในความรู้สึกของคนทั่วไป ทั้งในระดับสากลและระดับภายในประเทศ โดยเฉพาะในประเทศไทยขณะนี้มักนิยมเรียกคลุมไปหมดว่าเป็นสถาบันอุดมศึกษา (Higher Education)

๔. ไม่ว่าจะมีความหมายเปลี่ยนแปลงไปเช่นไร ก็ยังเป็นความจริงอยู่เสมอว่า มีการจัดตั้งสถานอุดมศึกษาและมหาวิทยาลัยขึ้นก่อนที่สมเด็จพระมหิตลาธิเบศร อดุลยเดชวิกรม พระบรมราชชนก จะทรงเข้ามารับผิดชอบการจัดการอุดมศึกษาในฐานะของอธิบดีกรมมหาวิทยาลัย (๒๔๖๖) และข้าหลวงสำรวจการศึกษาทั่วไป (๒๔๖๗) แล้วเหตุใดจึงสมควรถวายพระเกียรติยศในฐานะ “พระบิดาแห่งการอุดมศึกษาไทย” แก่พระองค์

อย่างไรก็ตาม การที่พระองค์ได้รับการถวายพระราชสมัญญา “พระบิดาแห่งการแพทย์แผนใหม่ของไทย” และ “องค์บิดาแห่งการสาธารณสุขของไทย” ทั้งที่ทรงเข้ามาบริหารศิริราชในภายหลังก่อตั้ง และระบบสาธารณสุขของไทยก็มีมาก่อนที่พระองค์จะทรงทุ่มเทเสียสละให้แก่วงการวิชาชีพและแวดวงอุดมศึกษาทั้งสอง ก็แสดงให้เห็นบุคลากรในวงการอาชีพทั้งสองนั้นได้ให้การเคารพยกย่องพระองค์ประหนึ่งบิดาผู้ทรงเป็นหลักแห่งจิตวิญญาณความเป็นแพทย์ ความเป็นนักสาธารณสุข โดยไม่จำเป็นว่าจะต้องทรงเป็นผู้วางอิฐก้อนแรกของการก่อสร้างอาคารโรงพยาบาลศิริราช หรือการเขียนโครงการจัดตั้งราชแพทยาลัย

๕. สำหรับการศึกษาในรูปแบบตะวันตก หรือที่เรียกว่าเป็น Modernized Education นี้ ได้รับการยอมรับกันโดยทั่วไปในสังคมไทยว่าเป็นผลมาจากการปฏิรูปการศึกษาของพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้า เจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ ๕ โดยมิได้ทรงปฏิรูปเฉพาะในส่วนของการศึกษาเท่านั้น แต่ได้ทรงปฏิรูปประเทศสยามในทุก ๆ ด้านทั้งทางด้านการเมือง เศรษฐกิจ และสังคม จนเป็นเหตุให้ปวงชนชาวไทยพร้อมกันถวายพระราชสมัญญา “พระปิยมหาราช” แด่พระองค์

๖. ในส่วนของการจัดการศึกษาขึ้นในประเทศไทยนั้น พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาล
ที่ ๕ ได้ทรงวางรากฐานด้วยการมอบหมายให้พระอนุชาทั้ง ๒ พระองค์ คือ สมเด็จฯ กรมพระยาดำรงราชานุภาพ และสมเด็จพระมหาสมณเจ้า กรมพระยาวชิรญาณวโรรส ทรงร่วมกันจัดวางรูปแบบการศึกษาของสยามในลักษณะคู่ขนานกันไประหว่างการศึกษาในอาณาจักรและศาสนจักร มีการจัดตั้งโรงเรียนขึ้นในพระอารามต่าง ๆ

๗. นอกจาก พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ ๕ สมเด็จฯ กรมพระยาดำรงราชานุภาพ และสมเด็จพระมหาสมณเจ้า กรมพระยาวชิรญาณวโรรส ซึ่งทรงเป็นหลักสำคัญในการจัดวางโครงสร้าง แบบแผนการจัดการศึกษาสมัยใหม่ขึ้นในประเทศสยามแล้ว ยังมีบุคคลสำคัญอีกจำนวนมากที่ร่วมกันทุ่มเทพัฒนาการศึกษา เช่น พระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ ๖ พระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ ๗ สมเด็จฯ กรมพระยาชัยนาทนเรนทร เจ้าพระยาภาสกรวงศ์ (พร บุนนาค) เจ้าพระยาวิชิตวงศ์วุฒิไกร (หม่อมราชวงศ์คลี่ สุทัศน์) พระองค์เจ้าธานีนิวัติ กรมหมื่นพิทยลาภพฤฒิยากร เจ้าพระยาธรรมศักดิ์มนตรี (สนั่น เทพหัสดิน ณ อยุธยา) เจ้าพระยาพระเสด็จสุเรนทราธิบดี (หม่อมราชวงศ์เปีย มาลากุล) ฯลฯ

นอกจากพระมหากษัตริย์ผู้ทรงปกครองแผ่นดินในระบบสมบูรณาญาสิทธิราชย์ และมีส่วนสำคัญในการกำหนดทิศทางการจัดการศึกษาของประเทศแล้ว บุคคลสำคัญเหล่านี้ต่างดำรงตำแหน่งสำคัญ ๆ ระดับเสนาบดี และระดับอธิบดีในกระทรวงศึกษาธิการคนละหลาย ๆ ปี จึงย่อมมีตัวผลงานในเชิงปริมาณอันมากมาย เช่น หากยึดเอาตรรกะว่าโรงเรียนพระตำหนักสวนกุหลาบ และโรงเรียนในกรมมหาดเล็กรักษาพระองค์ ซึ่งจัดสอนบุคลากรป้อนให้กับราชการถือเป็นการศึกษาระดับอุดมศึกษาแห่งแรกในสยาม ก็อาจจะตีความว่าสมเด็จฯ กรมพระยาดำรงราชานุภาพ อธิบดีกรมธรรมการท่านแรกและเป็นผู้ก่อตั้งโรงเรียนดังกล่าวใน พ.ศ. ๒๔๒๔ คือ “บิดาแห่งการอุดมศึกษา” แต่ก็จะเกิดปัญหาติดตามมาว่าโรงเรียนพระตำหนักสวนกุหลาบ และโรงเรียนในกรมมหาดเล็กรักษาพระองค์นั้นมีหลักการหรือจิตวิญญาณในการจัดการศึกษาแบบอุดมศึกษา หรือแบบมหาวิทยาลัยอย่างที่ประชาชนรับรู้กันอยู่ในปัจจุบันหรือไม่

อีกทั้งหากใช้ตรรกะง่าย ๆ อาศัยเพียงว่าผู้ใดเป็นผู้ดำเนินการก่อนเป็นผู้สมควรได้รับเกียรติยศ ก็อาจจะมีผู้นำเสนอให้นายแพทย์แซมมวล สมิธ (Samuel J. Smith) เป็น “บิดาแห่งมหาวิทยาลัยไทย” เพียงเพราะเป็นผู้แรกที่ปรากฏหลักฐานว่าได้ลงประกาศรับนักเรียนเข้าเรียนใน “ยูไนเวอร์ซิตีสยาม” ของตนใน พ.ศ. ๒๔๒๕

๘. สมเด็จพระมหิตลาธิเบศร อดุลยเดชวิกรม พระบรมราชชนก ทรงเพียบพร้อมด้วยคุณลักษณะสำคัญอันเป็นแบบอย่างให้แก่ผู้ใฝ่ในการศึกษา ได้แก่ อิทธิบาท (ฉันทะ วิริยะ จิตตะ วิมังสา) และสังคหวัตถุ (ทาน ปิยวาจา สมานัตตา อัตถจริยา) เมื่อทรงประกอบกิจการใด จะมุ่งมั่นพระราชหฤทัยอย่างแน่วแน่ ทรงกระทำเต็มพระสติกำลังจนเป็นที่รักใคร่ และยกย่องโดยผู้ได้สัมผัสในพระราชจริยาวัตรจนตลอดพระชนมชีพ

ทรงวางพระองค์ได้อย่างเหมาะสมต่อกาละและเทศะเสมอ ไม่ว่าจะประทับอยู่ในประเทศที่ปกครองด้วยระบอบสมบูรณาญาสิทธิราชย์ หรือระบอบประชาธิปไตย ด้วยพระเมตตารักใคร่ราษฎรเสมอในทุกระดับ และมิได้ถือพระองค์ในยศ หรือฐานานุรูปที่ทรงครองอยู่ จึงอาจกล่าวได้ว่าทรงดำรงพระชนมชีพอันเป็นแบบอย่าง (Role models) ของผู้ใฝ่ในการศึกษา เป็นต้นแบบแห่งการอุดมศึกษาในฐานะของมนุษย์ที่แท้ อันประเสริฐด้วยการฝึกตน

๙. สมเด็จพระมหิตลาธิเบศร อดุลยเดชวิกรม พระบรมราชชนก ทรงเปี่ยมด้วยพระเมตตาพระกรุณา ในเชิงอุดมคติซึ่งยุคปัจจุบันเรียกกันว่า “จิตอาสา” ได้ทรงทุ่มเทอุทิศพระสติปัญญา และพระราชทรัพย์อันมหาศาลให้กับงานการอุดมศึกษา อย่างไม่เห็นแก่ความสุขสบายส่วนพระองค์ และครอบครัว

ได้เสด็จพระราชดำเนินไปต่างประเทศตลอดพระชนมชีพเพื่อการศึกษา และการเจรจาความร่วมมือกับมูลนิธิร็อคกี้เฟลเลอร์เพื่อวางรากฐานการศึกษาไทยให้มั่นคง ด้วยความเสียสละอันยิ่งใหญ่ของพระองค์ ทำให้บางครั้งต้องจากพระชายา ตลอดจนพระโอรส พระธิดา ไปในเวลานาน ๆ

อนึ่ง การที่ต้องเสด็จพระราชดำเนินไปยังสถานที่ต่าง ๆ ทั่วโลก โดยอาศัยยานพาหนะตามแต่จะมีให้ใช้ได้ในยุคสมัยนั้น ทำให้พระสุขภาพที่ไม่แข็งแรงมาตั้งแต่ครั้งทรงพระเยาว์ต้องเสื่อมทรุดลง และนำสู่การสิ้นพระชนม์ด้วยพระชนมายุเพียง ๓๗ พรรษา

๑๐. สมเด็จพระมหิตลาธิเบศร อดุลยเดชวิกรม พระบรมราชชนก ทรงเป็นหลักเริ่มต้นในการเจรจาความร่วมมือกับมูลนิธิร็อคกี้เฟลเลอร์ นับเป็นประเด็นสำคัญที่ช่วยให้การอุดมศึกษาในสยามที่เริ่มมีการก่อตั้งมาก่อนหน้านั้น ไม่ว่าจะเป็น โรงเรียนข้าราชการพลเรือน โรงเรียนราชแพทยาลัย ได้มีความเข้มแข็งในเชิงวิชาการ และมีความเป็นมาตรฐานในฐานะของมหาวิทยาลัยที่มีคุณภาพระดับสากล มิใช่เป็นเพียงสถานที่ฝึกหัดข้าราชการเพื่อป้อนเข้าสู่หน่วยงานราชการ

๑๑. ในช่วงระยะเวลาเพียง ๑๐ ปี ที่สมเด็จพระมหิตลาธิเบศร อดุลยเดชวิกรม พระบรมราชชนกทรงเข้ามาเกี่ยวข้องกับวงการแพทย์และวงการศึกษา ด้วยคุณธรรมแห่งพรหมวิหาร ได้พระราชทานพระราชทรัพย์ให้แก่สาธารณประโยชน์ทางการศึกษาเป็นเงินประมาณ ๑ ล้าน ๔ แสนบาท และยังพระราชทานทุนเพื่อการศึกษาและค้นคว้าในต่างประเทศให้กับนักเรียนทุนไม่น้อยกว่า ๓๔ ทุน (หากเทียบเป็นตัวเงินตามมาตรฐานค่าครองชีพปัจจุบัน พระราชทรัพย์ที่พระราชทานให้กับวงการอุดมศึกษาไทยน่าจะมีไม่น้อยกว่า ๑ พันล้านบาท)

ในขณะที่ทรงเลือกที่จะดำรงพระชนมชีพด้วยความประหยัดและอดออม เพื่อสงวนเวลา และพระราชทรัพย์ที่ทรงมีอยู่แทบทั้งหมดให้กับการปูพื้นฐานด้านการอุดมศึกษา และถึงแม้เงินทองหรือถาวรวัตถุจะมิใช่หัวใจหลักของการก่อตั้งอุดมศึกษา แต่หากศึกษาถึงสภาพเศรษฐกิจการคลังของรัฐบาลในช่วงระยะเวลาดังกล่าว ก็จะตระหนักได้ถึงความสำคัญของพระราชทรัพย์ที่ได้ทรงอุทิศเพื่อเสริมสร้างความมั่นคงให้แก่การอุดมศึกษาไทยในช่วงก่อตั้ง

(ความไม่มั่นคงของระบบการอุดมศึกษาสยามในระยะเริ่มก่อตั้ง อาจสังเกตได้จากการยุบรวม รวม และแยกออกของกรมต่าง ๆ ในกระทรวงศึกษาธิการ การเปลี่ยนชื่อกลับไปมาระหว่างกระทรวงศึกษาธิการและกระทรวงธรรมการ การที่กระทรวงพระคลังมหาสมบัติไม่ยอมอนุมัติงบประมาณเพิ่มเติมปีละ ๔๓,๐๐๐ บาทให้แก่การจัดการศึกษาคณะแพทยศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย จนส่งผลให้บรรดาศาสตราจารย์จากมูลนิธิร็อคกี้เฟลเลอร์มีความรวนเรไปในระดับหนึ่ง นอกจากนี้ ยังมีความคิดที่จะเลิกคณะรัฐประศาสนศาสตร์ในจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย แม้ว่าจะเป็นคณะที่ก่อกำเนิดขึ้นมาจากโรงเรียนข้าราชการพลเรือน ซึ่งเป็นจุดเริ่มต้นของจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ฯลฯ)

๑๒. สมเด็จพระมหิตลาธิเบศร อดุลยเดชวิกรม พระบรมราชชนกทรงเปี่ยมล้นด้วยจิตวิญญาณความเป็นครู ทรงแสดงให้เห็นถึงหลักการเรียนรู้ตลอดชีวิต ทรงพระราชดำริว่าการศึกษาเป็นงานที่มีคนเป็นหัวใจ ต้องเน้นคุณค่าของความเป็นคน ยึดคนเป็นหลัก เน้นการสร้างประสบการณ์ การปฏิบัติต่อผู้อื่นด้วยกัลยาณมิตร ทรงอบรมสั่งสอนให้รู้จักคุณค่าของเวลา

๑๓. สมเด็จพระมหิตลาธิเบศร อดุลยเดชวิกรม พระบรมราชชนกทรงมีความลึกซึ้งในเรื่องปรัชญา บทบาท หน้าที่ และวิธีการจัดการศึกษามหาวิทยาลัยในระดับสากล ทรงประทานแนวคิดเรื่อง “หน้าที่ของมหาวิทยาลัยที่แท้จริง ๔ ประการ ซึ่งยังคงทันสมัยอยู่เสมอแม้ในกาลปัจจุบัน จนน่าเชื่อได้ว่าหากวงการอุดมศึกษาไทยได้นำแนวพระราชดำริ มาประพฤติปฏิบัติกันตั้งแต่ช่วง พ.ศ. ๒๔๗๒ การอุดมศึกษาไทยของเราคงจะเจริญก้าวหน้าทัดเทียมประเทศชั้นนำของโลก มิพักจะต้องพูดถึงเรื่องความสามารถในการแข่งขัน (Competitiveness) ความเป็นมหาวิทยาลัยชั้นนำระดับโลก (World Class University) หรือความมีธรรมาภิบาลในมหาวิทยาลัย (University Governance) เพราะมหาวิทยาลัยในความหมายของพระองค์คือ สถาบันแห่งธรรมาภิบาลที่ผู้ไร้ซึ่งคุณธรรมจะไม่สามารถอยู่ได้

๑๔. สมเด็จพระมหิตลาธิเบศร อดุลยเดชวิกรม พระบรมราชชนกทรงวางรูปแบบการบริหารมหาวิทยาลัยในลักษณะที่เน้นการมีส่วนร่วม โดยทรงกำหนดให้มี “เสเนต เป็นคณะที่เลือกตั้งกันขึ้น, มีผู้แทนจากคณะอาจารย์คณะทรัพย์สมบัติ คณะนักเรียน ล้วนเป็นผู้ที่ได้ถูกเลือกมาทั้งนั้น มีหน้าที่เสนอความเห็นแก่สภา และมีสิทธิที่จะทำกฎข้อบังคับปกครองภายใน เกี่ยวด้วยการเลือกนักเรียนเข้า การปกครองการอยู่กินของนักเรียน การไล่นักเรียนออก มีประธานของสภาคณาจารย์เป็นประธาน มีหน้าที่ช่วยอุปนายกจัดการปกครองภายใน”

จนอาจกล่าวได้ว่า สมเด็จพระบรมราชชนกได้ทรงนำเสนอหลักการ “ธรรมาภิบาล” ในการบริหารอุดมศึกษาตั้งแต่ พ.ศ. ๒๔๗๒ ก่อนที่สังคมไทยจะเริ่มหันมาให้ความสำคัญกับเรื่องปฏิรูปการศึกษา และกระแสธรรมาภิบาล อีกครั้งในการปฏิรูปการศึกษา พ.ศ. ๒๕๔๒ หรือ อีก ๗๐ ปี ต่อมา

๑๕. สมเด็จพระมหิตลาธิเบศร อดุลยเดชวิกรม พระบรมราชชนกทรงมีความลึกซึ้งในงานวิจัยและการนำผลการวิจัยไปสู่การบริหารการจัดการศึกษา ดังจะเห็นได้จากบันทึกพระราชดำริ เรื่อง “การสำรวจการศึกษาเพื่อประกอบพระราโชบายเรื่องการตั้งมหาวิทยาลัย” และ “รายงานความเห็นเรื่องโครงการมหาวิทยาลัย” ที่ทรงนำเสนอต่อรัฐบาลในเดือนกุมภาพันธ์ พ.ศ. ๒๔๗๔ ทั้งนี้ พระราชดำริด้านการศึกษาของพระองค์มักได้รับการนำไปยึดถือเป็นแนวทางปฏิบัติ หรือมักได้รับการอ้างอิงในที่ประชุมระดับอฏิรัฐมนตรี

เช่น การประชุมพิจารณาเรื่องการออกพระราชบัญญัติพระราชทานปริญญาแก่บัณฑิตจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยของที่ประชุมอภิรัฐมนตรี ครั้งที่ ๔/๒๔๗๒ พระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ ๗ ได้มีพระราชดำรัสว่า “.... ถ้าพระราชบัญญัติยังไม่ได้ออกต้องให้ปริญญาดั่งนี้เรื่อย ๆ ไป พวกที่ได้ปริญญาไปคงรู้สึกไม่เต็มภาคภูมิ, ทรงพระราชดำริเห็นว่า ควรให้ปริญญาเป็นของมีค่า, สมเด็จเจ้าฟ้ากรมขุนสงขลานครินทร์เคยกราบบังคมทูลว่า ต้องการให้เป็น Charter ถ้าเกี่ยวกับกระทรวงจะเป็นปอลิติคไป ..”

หรือในบันทึกที่ ๓๕๙/๑๓๔๐๒ ลงวันที่ ๓ มีนาคม พุทธศักราช ๒๔๗๓ ของกระทรวงธรรมการเรื่องการโปรดเกล้าฯ แต่งตั้งคณะกรรมการดำริรูปการมหาวิทยาลัย ก็ยังมีการระบุไว้ในหน้าที่ของคณะกรรมการ ข้อที่ ๔ ว่า “ควรให้พิจารณาการทั้งนี้ประกอบกับพระดำริสมเด็จพระเจ้าพี่ยาเธอ เจ้าฟ้ากรมขุนสงขลานครินทร์” จนอาจกล่าวได้ว่าการดำเนินการใด ๆ ของระบบอุดมศึกษาสยามในยุคแรกเริ่มก่อตั้งนั้นมักมีการนำแนวพระราชดำริของสมเด็จพระมหิตลาธิเบศร อดุลยเดชวิกรม พระบรมราชชนก เข้าไปร่วมพิจารณาด้วยเสมอ

๑๖. สมเด็จพระมหิตลาธิเบศร อดุลยเดชวิกรม พระบรมราชชนกมีความเข้าพระราชหฤทัยในระบบการศึกษาอันครบถ้วนรอบด้าน ด้วยทรงศึกษาอย่างกว้างขวาง เริ่มจากการศึกษาในพระบรมมหาราชวัง ในอังกฤษ ในเยอรมัน ในโรงเรียนทหารบก โรงเรียนทหารเรือ โรงเรียนสาธารณสุข โรงเรียนแพทย์ เมื่อทรงฝึกฝนปฏิบัติสิ่งใดก็ปฏิบัติอย่างมุ่งมั่นจริงจังมีผลงานอันประจักษ์ ดังจะเห็นได้จากการที่ทรงได้รับโปรดเกล้าฯ แต่งตั้งให้ทรงเป็นอธิบดีกรมมหาวิทยาลัยตั้งแต่ยังประทับอยู่ในยุโรป

และต่อมาเมื่อพระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัวทรงพระราชดำริว่าการจัดการศึกษานั้นต้องกลมกลืนและต่อเนื่องตั้งแต่ปฐมศึกษา มัธยมศึกษา และอุดมศึกษา ก็ได้โปรดเกล้าฯ แต่งตั้งให้สมเด็จพระมหิตลาธิเบศร อดุลยเดชวิกรม พระบรมราชชนก ทรงดำรงตำแหน่งข้าหลวงสำรวจการศึกษาทั่วไปของกระทรวงศึกษาธิการไปผลักดันให้แนวพระราชดำริดังกล่าวสำเร็จดังพระราชประสงค์

๑๗. สมเด็จพระมหิตลาธิเบศร อดุลยเดชวิกรม พระบรมราชชนก มีน้ำพระราชหฤทัยรักใคร่ในราษฎรทรงวางตนเช่นราษฎรทั่วไปโดยมิโปรดเกียรติยศใด ๆ เป็นการพิเศษ ดังจะเห็นได้จาก..
-การปลอมพระองค์เป็นสามัญชนตามเสด็จบิณฑบาตสมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ เจ้าฟ้าอัษฎางค์เดชาวุธ กรมหลวงนครราชสีมา
-การที่ทรงปฏิบัติตนเป็นกลาสีทั่วไปในระหว่างฝึกทหารในเรือวิกตอเรียหลุยส์
-การใช้ชีวิตเยี่ยงสามัญชนชื่อ M. Songkla ในระหว่างศึกษาในสหรัฐอเมริกา
-การเก็บตัวอย่างเชื้อตามส้วมสาธารณะและในเรือนจำระหว่างทรงสำรวจด้านสาธารณสุขในสยาม
-การแสดงความเคารพแก่ทหารที่มีอาวุโสสูงกว่าเมื่อโดยสารเรือข้ามท่าศิริราช
-การระบุมิให้จารึกพระนามไว้บนอาคารที่พระราชทานพระราชทรัพย์สร้าง
-และการปฏิบัติต่อผู้ป่วยไข้ที่ทรงรักษา ฯลฯ

จนน่าเชื่อได้ว่าหากยังทรงพระชนมชีพอยู่ พระองค์อาจมิได้สนพระราชหฤทัยต่อคำสรรเสริญใด ๆ ไม่ว่าจะเป็นการถวายพระราชสมัญญา “พระบิดาแห่งการแพทย์แผนใหม่” “องค์บิดาแห่งการสาธารณสุขไทย” “บุคคลดีเด่นของโลก ของยูเนสโก” หรือกระทั่ง “พระบิดาแห่งการอุดมศึกษาไทย” ที่ผู้เขียนกำลังพยายามนำเสนอแก่สาธารณชนอยู่นี้

๑๘. การถวายพระราชสมัญญา “พระบิดาแห่งการอุดมศึกษาไทย” นั้น แท้จริงแล้วจึงเป็นการสร้างประโยชน์แก่วงการอุดมศึกษาและระบบการศึกษาของประเทศไทยโดยรวมมากกว่าที่จะเป็นการถวายพระเกียรติยศแด่สมเด็จพระมหิตลาธิเบศร อดุลยเดชวิกรม พระบรมราชชนก ผู้ทรงพ้นไปจากวิสัยแห่งลาภยศสรรเสริญใด ๆ ในทางโลกย์ และการถวายพระราชสมัญญา “พระบิดาแห่งการอุดมศึกษาไทย” จะส่งผลให้เกิดการกระตุ้นเตือนสังคมไทยให้ได้ตระหนักถึงความสำคัญของคุณภาพของการศึกษา หลักการของอุดมศึกษา ตลอดจนใช้เป็นโอกาสแสดงความกตัญญูและความกตเวทิตาที่พึงมีต่อพระผู้ทรงมีพระกรุณาธิคุณอันล้นพ้นแก่ระบบการศึกษาของไทย เป็นการกระตุ้นให้สังคมได้ตระหนักถึงจิตวิญญาณที่แท้จริงของความเป็นครูของการอุดมศึกษา ดังที่มีปรากฏอยู่ในพระราชประวัติ ในพระราชหัตถเลขา และในบันทึกพระราชดำรัส ฯลฯ

๑๙. การถวายพระราชสมัญญา “พระบิดาแห่งการอุดมศึกษาไทย” มิได้ขัดกับพระราชสมัญญา ด้านการศึกษาที่เคยมีผู้ถวายแด่พระองค์ ไม่ว่าจะเป็น
+ “พระบิดาแห่งการแพทย์แผนใหม่”
+ “องค์บิดาแห่งการสาธารณสุขไทย”
+ “บุคคลดีเด่นของโลกของยูเนสโก”

เป็นการเสริมและเติมเต็มให้สมบูรณ์แบบ เพราะทั้งวิชาชีพแพทย์และนักสาธารณสุขนั้นล้วนเป็นผลสืบเนื่องจากการจัดการศึกษาในระดับอุดมศึกษาซึ่ง สมเด็จพระมหิตลาธิเบศร อดุลยเดชวิกรม พระบรมราชชนกได้ทรงทุ่มเทพระวรกาย พระราชทรัพย์ และพระสติปัญญา เพื่อเจรจาขอความร่วมมือจากมูลนิธิร็อคกี้เฟลเลอร์ ทรงจัดวางรากฐานและร่วมดำเนินการในทุกทาง

แม้ว่าในระยะแรกจะมุ่งเฉพาะด้านการแพทย์ แต่ก็ปฏิเสธไม่ได้ว่าทรงมีส่วนการจัดการสอนในระดับอุดมศึกษาอื่น ๆ ของจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยด้วย ไม่ว่าจะเป็น อักษรศาสตร์ วิทยาศาสตร์ วิศวกรรมศาสตร์ หรือรัฐประศาสนศาสตร์

นอกจากนั้น คำว่า “พระบิดาแห่งการแพทย์แผนใหม่” ยังอาจถูกมองในความหมายเฉพาะการแพทย์ในส่วนที่เป็นการรักษาพยาบาลผู้ป่วย โดยมิได้ครอบคลุมไปถึงเรื่องการจัดการเรียนการสอนแพทย์ซึ่งครอบคลุมไปในเรื่องอื่น ๆ ด้วย มีทั้งเรื่องอักษรศาสตร์ ศิลปศาสตร์ และวิทยาศาสตร์ ฯลฯ

๒๐. การที่บุคลากรในวงการอุดมศึกษาอันมีสำนักงานคณะกรรมการการอุดมศึกษาและกระทรวงศึกษาธิการเป็นผู้นำพร้อมเพรียงกันขอพระราชทานถวายพระราชสมัญญา “พระบิดาแห่งการอุดมศึกษา” แด่สมเด็จพระมหิตลาธิเบศร อดุลยเดชวิกรม พระบรมราชชนก ผู้ทรงพระกรุณาธิคุณอันล้นพ้นแก่การอุดมศึกษาของไทย ใน พ.ศ. ๒๕๕๕ อันเป็นปีที่ครบ ๑๒๐ ปี แห่งวันพระราชสมภพ (๑ มกราคม พ.ศ. ๒๔๓๕ ทรงพระราชสมภพก่อนที่สยามจะเปลี่ยนวันปีใหม่จากเดือนเมษายนมาเป็นเดือนมกราคมตามหลักสากล) จึงเป็นกุศลอันยิ่งใหญ่ของวงการอุดมศึกษาของไทยอย่างแท้จริง

Website