JuiMint Insure

JuiMint Insure

JuiMint Insure ประกันชัวร์ชัวร์ by จุ้ยกับมิ้น

© All rights reserved by JM.insure

13/04/2023

สวัสดีวันปีใหม่ไทยนะคะ 🥰❤️

พวกเราขอใข้โอกาสนี้ กล่าวอวยพรและขอขอบคุณคุณลูกค้าและแฟนเพจทุกท่าน

ขอให้ทุกๆคนมีสุขภาพร่างกายแข็งแรง เดินทางปลอดภัยกันทุกคน และที่สำคัญ อย่าลืมดูแลสุขภาพกันด้วยนะคะ 💕

JuiMint Insure ประกันชัวร์ชัวร์ by จุ้ยกับมิ้น

© All rights reserved by JM.insure
Facebook จุ้ย : Patiparn Leelaapiwat
Facebook มิ้น : Natcha Klaimanee
Instagram: และ

#แอดมินจุ้ย #แอดมินมิ้น
#จุ้ยaia #มิ้นaia

16/01/2023

สวัสดีวันจันทร์นะคะ แฟนเพจที่น่ารักทุกคน 🥰

วันนี้มิ้นกับจุ้ยมีปฏิทินกับ สคส. น่ารัก ๆ จากพวกเรามาฝากค่ะ ❤️📆

แต่ก่อนอื่น พวกเรามีกิจกรรมเล็ก ๆ อยากให้ทุกคนมาร่วมสนุกกันก่อนค่า 😁

กิจกรรมนี้ชื่อว่า One Good Thing ✨ ค่ะ

มิ้นอยากให้ทุกคนมาร่วมแชร์เรื่องราวดี ๆ เล็กๆน้อยๆ ที่เกิดขึ้นในช่วงนี้กันค่ะ 🍀✨

อย่างของมิ้น เมื่อวานมิ้นได้ดูซีรี่ย์เรื่อง Emily in Paris กับครอบครัวที่บ้าน พร้อมสั่งอาหารมาทานด้วยกันเป็นปาร์ตี้เล็กๆ มีความสุขมากเลยค่ะ 🥰

แล้วทุกคนล่ะคะ มีเรื่องราวดีๆอะไรเกิดขึ้นบ้าง คอมเม้นท์มาบอกกันใต้โพสต์นี้ได้เลยนะคะ

คอมเม้นท์ไหนถูกใจ รับไปเลย ปฏิทิน และ สคส. สุดน่ารัก 💕 แทนคำขอบคุณจากพวกเรา JuiMint Insure ค่ะ 😊

มาร่วมสนุกกันเยอะๆนะคะ

มิ้นกับจุ้ย รออ่านเรื่องราวน่ารักๆของทุกคนอยู่น้า ❤️

JuiMint Insure ประกันชัวร์ชัวร์ by จุ้ยกับมิ้น

© All rights reserved by JM.insure
Facebook จุ้ย : Patiparn Leelaapiwat
Facebook มิ้น : Natcha Klaimanee
Instagram: และ

#ประกันชีวิต
#จุ้ยAIA #มิ้นAIA

09/01/2023

สวัสดีปีใหม่นะคะทุกคน ขอให้ปีนี้เป็นปีที่สดใสของทุกคน ขอให้ทุกคนมีสุขภาพกาย ใจ แข็งแรง และที่สำคัญขอให้มีสุขภาพการเงินที่ “แข็งแกร่ง” ด้วยน้า 💕

พวกเรา JuiMint Insure ขอขอบคุณลูกค้าและลูกเพจที่น่ารักที่ให้การสนับสนุนพวกเรามาตลอดนะคะ 😊🙏

สำหรับปีนี้ก็ขอฝากเนื้อฝากตัวด้วยอีกเช่นเคย พวกเราจะตั้งใจสรรหา คอนเทนต์การเงินดีๆมาฝากทุกคน เพื่อให้พวกเราเติบโตไปอย่างมั่งคั่งและมั่นคงไปด้วยกันน้า 😆💕

นึกถึงประกัน นึกถึง JuiMint Insure นะคะ💕🥰

JuiMint Insure ประกันชัวร์ชัวร์ by จุ้ยกับมิ้น

© All rights reserved by JM.insure
Facebook จุ้ย : Patiparn Leelaapiwat
Facebook มิ้น : Natcha Klaimanee
Instagram: และ

#ประกันชีวิต #จุ้ยaia #มิ้นaia

27/12/2022

ประกัน หรือ กองทุน ลดหนย่อนภาษีด้วยวิธีไหนดีนะ?

วันนี้พวกเรา JuiMint insure มีตารางสรุปง่ายๆมาฝากกัน หวังว่าจะช่วยให้เพื่อนๆทุกคนตัดสินใจได้ง่ายขึ้นนะครับ 😄

ใครที่ประสงค์จะใช้สิทธิ์ลดหย่อนภาษีปี 2565 ต้องรีบแล้วน้าา เหลือเวลาอีกแค่ 3 วันเท่านั้นเอง ⏰

JuiMint Insure ประกันชัวร์ชัวร์ by จุ้ยกับมิ้น
© All rights reserved by JuiMint Insure
Facebook จุ้ย : Patiparn Leelaapiwat
Facebook มิ้น : Natcha Klaimanee
Instagram: และ

16/12/2022

JuiMint การเงิน EP.2 ประกัน vs กองทุน ใน 5นาที

วิดีโอนี้ผมรวบรวมและหาข้อมูลด้วยตัวเองทั้งหมด หากผิดพลาดประการใด ต้องขอภัยมา ณ ที่นี้ด้วยครับ

ฝากทุกคน ช่วยกดไลค์ JuiMint Insure และกดแชร์วิดีโอนี้ เพื่อเป็นกำลังใจให้พวกเราด้วยนะครับ

JuiMint Insure ประกันชัวร์ชัวร์ by จุ้ยกับมิ้น

© All rights reserved by JM.insure
Facebook จุ้ย : Patiparn Leelaapiwat
Facebook มิ้น : Natcha Klaimanee
Instagram: และ

#ลดหย่อนภาษี #ประกันชีวิต #ความรู้

29/11/2022

JuiMint การเงิน EP.1 ภาษีคำนวณยังไง ลดหย่อนอะไรได้บ้าง

วิดีโอนี้ผมรวบรวมและหาข้อมูลด้วยตัวเองทั้งหมด หากผิดพลาดประการใด ต้องขอภัยมา ณ ที่นี้ด้วยครับ

ฝากทุกคน ช่วยกดไลค์เพจของพวกเรา และกดแชร์วิดีโอนี้ เพื่อเป็นกำลังใจให้พวกเราด้วยนะครับ

JuiMint Insure ประกันชัวร์ชัวร์ by จุ้ยกับมิ้น
© All rights reserved by JM.insure

Facebook จุ้ย : Patiparn Leelaapiwat
Facebook มิ้น : Natcha Klaimanee
Instagram: และ

#ภาษี #วางแผนภาษี #คํานวณภาษี #ลดหย่อนภาษี #ความรู้

Photos from JuiMint Insure's post 27/09/2022

การคำนวณภาษี อาจเป็นเรื่องยุ่งยากสำหรับใครหลายๆคน อ่านยังไง ก็ไม่เข้าใจซักที วันนี้ เพจ JuiMint Insure เลยมีวิธีการคำนวณภาษี ฉบับเข้าใจง่ายๆ อ่านตามไปพร้อมๆกันได้เลย!

JuiMint Insure ประกันชัวร์ชัวร์ by จุ้ยกับมิ้น
© All rights reserved by JM.insure
Facebook จุ้ย : Patiparn Leelaapiwat
Facebook มิ้น : Natcha Klaimanee
Instagram: และ

#ลดหย่อนภาษี #วางแผนการเงิน #ภาษี #ประกันชีวิต #ประกันสุขภาพ

16/09/2022

ใกล้จะสิ้นปีกันแล้ว ช่วงนี้ถือเป็นโค้งสุดท้ายของการลดหย่อนภาษีแล้วนะครับ วันนี้ เพจ JuiMint Insure มีความรู้เกี่ยวกับภาษี 23 ข้อ มาฝากกัน

1. กฎหมายภาษี เป็นกฎหมายที่มีความซับซ้อนมากที่สุดสาขาหนึ่ง เนื่องจากมีข้อยกเว้นเยอะ และ มีการปรับเปลี่ยนอยู่ตลอด

2. นโยบายภาษีที่ดีควร เป็นธรรม มีประสิทธิภาพ และ เรียบง่าย

3. รัฐ ใช้ภาษีในการควบคุมกิจกรรมของประชาชน หากต้องการสนับสนุน จะลดภาษี เช่น การทำประกัน หรือ ซื้อทุนเกษียณ เนื่องจากเป็นการแบ่งเบาภาระของภาครัฐ หากไม่ต้องการสนับสนุน จะขึ้นภาษี เช่น ภาษีบุหรี่ ภาษีเหล้า เพราะ หากคนไทยมีปัญหาสุขภาพ รัฐก็จะแบกรับภาระเรื่องค่ารักษาพยาบาลต่อไปอีก

4. หน่วยงานที่จัดเก็บภาษีในประเทศไทย แบ่งเป็น 2 กลุ่มใหญ่ๆ คือ

1) ส่วนกลาง ได้แก่ กรมสรรพากร (ภาษีเงินได้) กรมศุลกากร (ภาษีนำเข้า - ส่งออก) กรมสรรพสามิต (ภาษีสุรา, ภาษีน้ำมัน)

2) ส่วนท้องถิ่น เช่น กทม. พัทยา เทศบาล ดูแลเกี่ยวกับ ภาษีป้าย ภาษีที่ดิน เป็นต้น

5. ประเทศไทย จัดเก็บภาษีแบบอัตราก้าวหน้า หรือ แบบขั้นบันได โดยหากมีฐานภาษีสูง หรือ รายได้ยิ่งมาก จะเสียภาษีในอัตราที่สูงขึ้นเรื่อย ๆ

6. จำนวนเศรษฐี 1% ของประเทศไทย เสียภาษีเป็น 2/3 ของทั้งประเทศ ในขณะที่จำนวนกว่าครึ่งนึงของประเทศ ไม่จำเป็นต้องจ่ายภาษี เพราะเป็นผู้มีรายได้น้อย

7. รัฐมองว่า อัตราภาษี ไม่ควรเก็บเท่ากัน เนื่องจาก 10% ของผู้มีรายได้น้อย กับ 10% ของผู้มีรายได้มาก มีค่าไม่เท่ากัน

8. ภาษีเงินได้ แบ่งเป็น บุคคลธรรมดา และ นิติบุคคล (บริษัท) โดยภาษีเงินได้แบบนิติบุคคล จะเสียภาษีในอัตราที่น้อยกว่า จึงเป็นเหตุผลว่าทำไม ร้านค้าหรือบริษัท นิยมจดทะเบียนตั้งบริษัทกัน

9. คนตายยังต้องเสียภาษีอยู่นะ แต่จะจ่ายแค่เฉพาะปีแรกในส่วนของรายได้ที่ได้รับก่อนเสียชีวิต รายได้ต่อจากนี้ ก็จะกลายเป็นกองมรดกต่อไป ซึ่งหากกองมรดกนี้ ยังไม่ถูกจัดสรร ก็จะต้องเสียภาษีต่อไปเรื่อยๆทุกปี

(รู้หรือไม่ ทุนประกันที่ได้รับจากบริษัทประกัน ไม่ถือว่าเป็นรายได้ของผู้รับมรดก ดังนั้น จึงไม่จำเป็นต้องเสียภาษีเงินได้ แต่มรดกเงินสด ต้องเสียภาษีมรดก)

10. คน 4 กลุ่ม ที่ไม่จำเป็นต้องยื่นภาษีโดยไม่ผิดกฎหมาย

1) คนทั่วไป/เยาวชน ที่มีรายได้ไม่เกิน 30,000 ต่อปี (เดือนละ 2,500)
2) มนุษย์เงินเดือน ที่มีรายได้ไม่เกิน 50,000 ต่อปี (เดือนละ 4,166)
3) คู่สมรสที่มีรายได้รวมกันไม่เกิน 60,000 บาทต่อปี (เดือนละ 5,000)
4) คู่สมรสที่มีเงินเดือนไม่เกิน 100,000 ต่อปี (เดือนละ 8,333)

นอกเหนือจากนี้ ทุกคน มีหน้าที่ยื่นแสดงภาษีเงินได้ แม้ว่าจะไม่จำเป็นต้องจ่ายภาษีอีกแล้วก็ตาม

11. วิธีการคำนวณภาษีเงินได้

1) หาฐานภาษี คิดจากการเอารายได้ทั้งหมดต่อปี หกลบด้วย ค่าใช้จ่ายและค่าลดหย่อนทั้งหมด

2) หาเงินภาษีที่ต้องจ่าย คิดจากการเอาฐานภาษี (รายได้สุทธิ) x อัตราภาษี

*กรณีที่มีรายได้อื่น นอกเหนือจากเงินเดือน (ที่รวมแล้วเกิน 1 ล้าน หรือ คำนวณแล้ว ภาษีที่ต้องจ่ายเยอะกว่าภาษีเงินเดือน) ให้เอารายได้นั้น x 0.5% ได้เท่าไหร่ จ่ายเท่านั้นเป็นแบบเหมาจ่าย

12. เงินได้พึงประเมิน มี 8 ประเภท ได้แก่

1) เงินเดือน
2) ค่ารับจ้าง
3) ค่าลิขสิทธิ์
4) ดอกเบี้ย และ เงินปันผล
5) ค่าเช่า
6) ค่าวิชาชีพอิสระ
7) ค่ารับเหมา
8 ) เงินได้อื่น ๆ (ธุรกิจส่วนตัว, อาชีพอิสระ)

จะเห็นได้ ครอบคลุมเงินได้เกือบทุกประเภทเลย ดังนั้น ถ้าไม่มีกฎหมายกำหนด ทุกรายได้ = ต้องเสียภาษี

13. วิธีการหักค่าใช้จ่ายเพื่อหาฐานภาษี มี 2 วิธี

1) หักแบบเหมาเป็นเปอร์เซ็นต์ตามเงินได้ (ไม่จำเป็นต้องแสดงหลักฐาน)

2) หักตามจริง ตามความจำเป็น (ต้องยื่นแสดงหลักฐาน)

14. เงินได้ประเภทที่ 1 - 4 (เงินเดือน ค่าจ้าง และ ค่าลิขสิทธิ์) สามารถหักได้ 40% ของเงินได้ สูงสุดไม่เกิน 60,000 บาท

เงินได้ประเภทที่ 5 - 8 (ค่าเช่า ค่าวิชาชีพอิสระ ค่ารับเหมา หรือ เงินได้อื่นๆ ) สามารถเลือกหักแบบเหมา หรือหักตามจริงก็ได้

15. อัตราภาษีขั้นบันได ค่อนข้างซับซ้อน หากคุณมีฐานภาษีอยู่ที่ 15% ไม่ได้หมายความว่าคุณต้องเสียภาษี 15% ของเงินได้ทั้งหมด แต่คิดเป็นขั้นบันได

กล่าวคือ 150,000 แรก ของคุณ จะไม่เสียภาษี ถัดมาอีก 150,000 - 300,000 จะเสียภาษี 5% (7,500 บาท) ถัดมา อีก 300,001 - 500,000 จะเสียภาษีอีก 10% (20,000) ที่เหลือ จึงจะเสีย 15%

16. ภาษีหัก ณ ที่จ่าย เป็นการหักล่วงหน้า โดยที่นายจ้าง/บริษัท ดำเนินการให้ แม้จะถูกหัก ณ ที่จ่ายไปแล้ว แต่เราก็ต้องยื่นภาษีอยู่ดี เนื่องจาก

1) ภาษีที่หักไป ไม่พอ ต้องดำเนินการจ่ายให้ครบ มิฉะนั้นจะมีโทษตรมกฎหมาย

2) ภาษีที่หักไป เกิน เนื่องจากหักลบค่าลดหย่อนแล้ว ต้องเสียภาษีน้อยกว่าที่หักไป การยื่นภาษีทำให้เราได้เงินภาษีคืนมา (การขอคืนภาษี สามารถทำย้อนหลังได้ไม่เกิน 3 ปี)

17. โทษของการหนีภาษี

1) ถูกปรับเงินเพิ่ม (2 เท่าของภาษีที่ต้องจ่าย)

2) ภาษีที่ต้องจ่าย จะมีดอกเบี้ยด้วย (1.5% ต่อเดือน สูงสุดไม่เกิน 2 เท่า)

18. ทุกคนต้องคำนวณภาษี แล้วยื่นเอง แต่กรมสรรพากรจะช่วยตรวจสอบให้อีกที ถ้าจ่ายขาด จะผิดกฎหมาย แต่ถ้าจ่ายเกิน ต้องไปตามเงินคืนเอาเองนะ555

19. วิธีการยื่นภาษีเงินได้ ยื่นปีละครั้ง ช่วงเดือน มกรา - มีนา ในปีถัดไปใครมีรายได้ทางเดียว ใช้แบบ ภงด 91 ใครมีหลายทาง ใช้ ภงด 90

20. ถ้ามีเงินได้ประเภทที่ 5 - 8 (ค่าเช่า ค่าวิชาชีพอิสระ ค่ารับเหมา หรือ เงินได้อื่นๆ) ต้องทำการยื่น 2 รอบ (ภงด 94) คือ ช่วงกรกฎา - กันยา (ยื่นของ มกรา - มิถุนา) และ อีกครั้งในเดือน มกรา - มีนา ปีถัดไป

ดังนั้น หากต้องการใช้สิทธิ์ลดหย่อนภาษี ต้องใช้ภายในปีนี้เท่านั้น ไม่สามารถทำเรื่องหักย้อนหลังได้

21. ช่องทางการยื่นภาษี มี 4 ช่องทาง

1) สำนักงานสรรพากร
2) ธนาคารที่ร่วมบริการ
3) ไปรษณีย์ลงทะเบียน (เฉพาะ กทม)
4) ยื่นผ่านเว็บสรรพากร (เลทได้ 1 เดือน ถึง เมษา)

22. ถ้าต้องเสียภาษี 3,000 บาทขึ้นไป สามารถทำเรื่องขอผ่อนได้สูงสุด 3 งวด

23. เทคนิคการวางแผนภาษี 5 ข้อ โดยไม่ผิดกฎหมาย

1) เปลี่ยนเงินได้ เป็นเงินปลอดภาษี เช่น ขอเบิกค่าน้ำมันตามจริง แทนที่จะรวมเป็นรายได้แต่แรก จะไม่ได้ไม่ต้องนำไปคิดภาษี

2) ใช้สิทธิ์ลดหย่อนภาษีเต็มจำนวน เช่น ซื้อประกัน หรือซื้อกองทุนเกษียณ

3) กระจายหน่วยภาษี เช่น แบ่งรายได้ร่วมกับผู้อื่น เช่น คนในครอบครัว

4) ใช้สิทธิ์จ่ายภาษีช้า เช่น รับโบนัสต้นปี แทนที่จะเป็นปลายปี จะได้ถูกนำไปคิดภาษีเป็นปีหน้า

5) เลือกยื่นเงินได้ให้ถูกประเภท เพราะ เงินได้แต่ละประเภท หัก ได้มากน้อย ไม่เท่ากัน

เนื้อหาทั้ง 23 ข้อ ผมสรุปมากจากหนังสือ itax ภาษี ง่ายได้อีก โดยหนังสือ มีวางขายแล้วตามร้านหนังสือชั้นนำทั่วไป ภายในหนังสือจริง จะมีความรู้ที่เป็นประโยชน์กว่านี้เยอะมากครับ อ่านง่าย ภาพประกอบเข้าใจง่ายด้วย ได้ความรู้เชิงประวัติศาสตร์ และ ความรู้รอบตัวเกี่ยวกับภาษีอีกเยอะแยะเลย เด็กๆก็อ่านได้ครับ เข้าใจได้ไม่ยากเลย เหมาะเป็นสื่อการสอนเศรษฐศาสตร์ด้วย

ขอขอบคุณหนังสือ itax ภาษีง่ายได้อีก และ ดร. ยุทธนา ศรีสวัสดิ์ ผู้เขียน ข้อมูลผิดพลาดประการใด ขออภัยมา ณ ที่นี้ด้วยนะครับ

JuiMint Insure ประกันชัวร์ชัวร์ by จุ้ยกับมิ้น
© All rights reserved by JM.insure

Facebook จุ้ย : Patiparn leelaapiwat
Facebook มิ้น : Natcha Klaimanee
Instagram: และ

#จุ้ยAIA #มิ้นAIA #จุ้ยมิ้นอินชัวร์ #ประกันชัวร์ชัวร์byจุ้ยกับมิ้น #ประกันชีวิต #ประกันสุขภาพ #ลดหย่อนภาษี #วางแผนการเงิน #ภาษี #กฎหมายภาษี

12/09/2022

ประกันชีวิต ประกันสุขภาพ สำหรับลดหย่อนภาษี ในปี 2565 นี้ มีอยู่หลายแบบ และเงื่อนไขในการนำมาลดหย่อนภาษีได้ไม่เหมือนกัน

สำหรับประกันที่สามารถนำมาลดหย่อนภาษีได้จะแบ่งเป็น 3 หมวด ได้แก่ ประกันชีวิตทั่วไป ประกันบำนาญ และ ประกันสุขภาพ

1. ประกันชีวิตทั่วไป ใช้สิทธิ์ลดหย่อนได้ตามจริงแต่ไม่เกิน 100,000 บาท และประกันชีวิตของคู่สมรสที่ไม่มีรายได้ก็สามารถลดหย่อนได้ตามจริงแต่ไม่เกิน 10,000 บาท

สำหรับประกันชีวิตทั่วไปที่สามารถนำมาลดหย่อนภาษีได้ ได้แก่

1. ประกันแบบชั่วระยะเวลา
2. ประกันชีวิตแบบตลอดชีพ
3. ประกันชีวิตสะสมทรัพย์
4. ประกันชีวิตควบการลงทุน (Unit Linked)

สำหรับประกัน Unit linked ส่วนที่นำมาลดหย่อนได้จะเป็นค่าการประกันภัยและค่าใช้จ่ายอื่นๆของกรมธรรม์ แต่ในส่วนของเงินที่นำไปลงทุนในกองทุนรวมนั้นยังไม่สามารถนำมาหักลดหย่อนได้

โดยเงื่อนไขแบบประกันที่ใช้สำหรับลดหย่อนภาษี คือ

- ต้องมีระยะเวลาคุ้มครองไม่น้อยกว่า 10 ปี
- หากมีเงินคืนทุกปี เงินคืนจะต้องไม่เกินร้อยละ 20 ของเบี้ยประกันรายปี
- กรณีไม่ได้จ่ายเงินคืนทุกปี แต่คืนตามช่วงระยะเวลาที่บริษัทประกันภัยกำหนด เช่น คืนทุก 2 ปี, 3 ปี หรือ 5 ปี เป็นต้น
- เงินที่คืน จะต้องไม่เกินร้อยละ 20 ของเบี้ยประกันชีวิตสะสมของแต่ละช่วงระยะเวลาที่ผู้รับประกันภัยกำหนดให้มีการจ่ายเงินหรือผลประโยชน์ตอบแทนคืน

2. ประกันบำนาญ เป็นแบบประกันที่ออกมาแบบมาเพื่อวางแผนเกษียณให้กับลูกค้าโดยเฉพาะ สามารถลดหย่อนเพิ่มเติมได้อีก 200,000 บาทจากประกันชีวิตทั่วไป หรือสูงสุด 300,000 (กรณียังไม่ได้ใช้สิทธิลดหย่อนภาษีจากประกันชีวิตทั่วไป)

แต่จะลดหย่อนได้ไม่เกิน 15% ของเงินได้ที่ต้องเสียภาษี และเมื่อนำไปรวมกับส่วนการออมเพื่อการเกษียณอื่นๆที่ได้รับสิทธิ์ลดหย่อนภาษี เช่น กองทุนสำรองเลี้ยงชีพ, กบข., กองทุนสงเคราะห์ครูโรงเรียนเอกชน, กองทุนการออมแห่งชาติ, กองทุน RMF, กองทุน SSF รวมกันแล้วต้องไม่เกิน 500,000 บาท

เงื่อนไขของประกันบำนาญที่นำมาลดหย่อนภาษีได้ คือ

- ต้องมีระยะเวลาคุ้มครองตั้งแต่ 10 ปีขึ้นไป
- ต้องมีการจ่ายผลประโยชน์เป็นรายงวดแบบสม่ำเสมอ
- กำหนดช่วงอายุของการจ่ายผลประโยชน์ในช่วงอายุตั้งแต่ 55 ถึง 85 ปีหรือมากกว่านั้น ต้องจ่ายเบี้ยประกันครบก่อนถึงจะได้รับผลประโยชน์


3. ประกันสุขภาพ สำหรับการทำประกันสุขภาพเพื่อนำมาลดหย่อนภาษีได้นั้นจะมีอยู่ 2 รูปแบบคือ

1. เบี้ยประกันสุขภาพที่ทำให้ตัวเอง สามารถลดหย่อนภาษีได้ตามจริงไม่เกิน 25,000 บาท และเมื่อรวมกับประกันชีวิตแบบทั่วไปแล้วจะต้องไม่เกิน 100,000 บาท

2. เบี้ยประกันสุขภาพที่ทำให้พ่อแม่ ลดหย่อนภาษีได้ไม่เกิน 15,000 บาท ซึ่งจะมีเงื่อนไขคือ ต้องเป็นบุตรตามกฏหมาย (ไม่รวมบุตรบุญธรรม) พ่อแม่ต้องมีรายได้ไม่เกิน 30,000 บาทต่อปี

การวางแผนลดหย่อนภาษีด้วยประกัน นอกจากจะได้สิทธิประโยชน์ และ ผลตอบแทนจากการลดหย่อนภาษีแล้ว ที่สำคัญที่สุดก็คือ ผลประโยชน์ที่ได้รับจากการบริหารความเสี่ยงด้วยการวางแผนประกัน ที่จะช่วยให้สถานะทางการเงินของเรามีความมั่นคง และ ปลอดภัยมากยิ่งขึ้น

ขอบคุณข้อมูลจาก aiaplanner

06/09/2022

ทำไมคนไทย ถึงไม่ชอบซื้อประกัน ?

จากสถิติของสมาคมประกันชีวิตไทย พบว่า คนไทยมีสัดส่วนการถือกรมธรรม์อยู่ที่ 37% หรือหมายความว่าคนไทย 10 คน มีคนทีมีประกันชีวิตอยู่แค่ 3.7 คนเท่านั้น ซึ่งน้อยมากเมื่อเทียบกับประเทศพัฒนาแล้วประเทศอื่น ๆ เช่น ญี่ปุ่น ถือกรมธรรม์กันทุกคน เฉลี่ยคนละ 3 เล่ม สิงคโปร์ ถือกรมธรรม์กันทุกคน เฉลี่ย คนละ 2 เล่ม

ทั้งที่อัตราเงินเฟ้อค่ารักษาพยาบาลในไทย เพิ่มขึ้นถึง 8% ต่อปี และมีแนวโน้มที่จะสูงขึ้นเรื่อย ๆ แล้วทำไม คนไทยถึงไม่ชอบซื้อประกันกันนะ?

จากข้อมูลหลาย ๆ เว็บไซต์ และ จากที่เคยสัมภาษณ์จากเพื่อน ๆ และ ลูกค้า ขอแบ่งสาเหตุออกเป็น 3 ข้อ ดังนี้

1. รายได้ไม่เพียงพอ ยังไม่มีเงินเก็บด้วยซ้ำ จะเอาเงินที่ไหนไปทำประกันล่ะ?

ผลสรุปจากคณะพาณิชยศาสตร์และการบัญชี จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย พบว่า ตัวเลขความพร้อมด้านการเงินค่าเฉลี่ยของประเทศมีความพร้อมต่ำกว่า 40% ซึ่งเป็นตัวเลขที่น้อยจนน่าใจหาย แปลว่า จากคนไทย 10 คน มีแค่ 4 คนเท่านั้น ที่มีเงินพอใช้กับรายจ่าย

ทั้งนี้ สาเหตุเกิดจากการที่คนไทยส่วนมาก ยังขาดความเข้าใจในเรื่องของการจัดการกับการเงิน มีเพียงส่วนน้อยเท่านั้น ที่เข้าถึงองค์ความรู้ในเรื่องการเงิน

การซื้อประกัน เป็นหนึ่งในวิธีการสำคัญที่ช่วยให้มีเงินเก็บ เนื่องจากการซื้อประกัน เป็นการลดภาระค่าใช้จ่ายที่เกี่ยวข้องกับสุขภาพลง ให้เหลือเพียงแค่ค่าเบี้ยประกันต่อปีที่สามารถจ่ายไหว โดยไม่ต้องลุ้นว่าจะป่วยเมื่อไหร่ ต้องใช้ค่าใช้จ่ายเท่าไหร่ จะใช้สิทธิ์อะไรได้บ้าง ซึ่งค่ารักษาพยาบาลเป็นหนึ่งในรูรั่วใหญ่ทางการเงินที่ทำให้เรายิ่งเก็บเงินได้ยากขึ้น

2. กลัวซื้อแล้วไม่ได้ใช้ หรือ เคยซื้อแล้วแต่ยกเลิกไป เพราะไม่ป่วย

หลายคนอาจจะยังไม่ทราบ ว่าการสมัครทำประกันสุขภาพและประกันชีวิต ทางบริษัท ต้องพิจารณาถึงสุขภาพของผู้ทำประกันด้วย ดังนั้น แนวคิดที่ว่า ป่วยแล้วค่อยซื้อ หรือถึงเวลาจะใช้ แล้วค่อยซื้อ จึงเป็นความคิดที่ผิดมหันต์ เนื่องจากประกัน จะไม่คุ้มครองโรคที่เคยเป็นมาก่อน หรือ มีความเสี่ยงที่จะเป็นในโรคเหล่านั้น ดังนั้น หากรอจนกว่าจะได้ใช้ ถึงตอนนั้นก็คงซื้อไม่ได้แล้ว

3. กลัวเคลมไม่ได้ หรือ กลัวโดนหลอกขาย

อาจเกิดจากประสบการณ์ตรงของตัวเอง หรือ เกิดจากการที่เค้าเล่ากันมาปากต่อปาก ทำให้เกิดอคติ หรือ ทัศนคติที่ไม่ดีต่อประกัน ซึ่งกว่าจะมาเข้าใจทีหลัง ก็ป่วยซะแล้ว หมดโอกาสได้ซื้อประกันเก็บไว้

ดังนั้น การซื้อประกัน ควรทำกับคนที่ไว้ใจ้ได้ รู้จักกันดี ติดต่อหากันได้ เพราะ ตัวแทน มีผลอย่างมากในการเบิกเคลม หากเกิดปัญหาอะไรขึ้นเกี่ยวกับเอกสารและการดำเนินการ ถ้าเราไม่มีความรู้หรือเวลาในการจัดการเอกสาร อาจทำให้การเคลมล่าช้าหรือเคลมไม่ได้ ยิ่งทำให้ทัศนคติของคนไทยที่มีต่อประกันแย่เข้าไปอีก

ดังนั้น ก่อนทำประกัน ควรพิจารณาถึงความน่าเชื่อถือของตัวแทน ควบคู่กันกับ ความมั่นคงของบริษัทประกันที่สังกัด

ด้วยความปรารถนาดีจากพวกเรา เพจ JuiMint Insure ประกันชัวร์ชัวร์ โดย จุ้ยและมิ้น สนับสนุนให้คนไทยทุกคนมีประกัน

ขอบคุณข้อมูลจาก
เว็บ article.in.th , news.mthai , Marketeer Online และ มติชนออนไลน์
ขอบคุณภาพจาก pptvhd36

22/08/2022

นามบัตรของพวกเรา 😄

15/08/2022

คอร์สการเงินออนไลน์ ! ทุกคอร์สเรียนฟรี ใช้ได้จริงและได้ใบรับรอง (Certificate) จากตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย หลักสูตรออนไลน์
เนื้อหาการวางแผนการเงินการลงทุน มีทั้งหมด 9 หลักสูตร

1.) การวางแผนการเงิน
🔗 https://elearning.set.or.th/SETGroup/categories/1
2.) หลักการลงทุน
🔗 https://elearning.set.or.th/SETGroup/categories/2
3.) การลงทุนในหุ้น
🔗 https://elearning.set.or.th/SETGroup/categories/3
4.) การลงทุนในอนุพันธ์
🔗 https://elearning.set.or.th/SETGroup/categories/4
5.) การลงทุนในกองทุนรวม
🔗 https://elearning.set.or.th/SETGroup/categories/5
6.) การลงทุนในตราสารหนี้
🔗 https://elearning.set.or.th/SETGroup/categories/22
7.) หลักสูตรผู้ประกอบการ
🔗 https://elearning.set.or.th/SETGroup/categories/47
8.) หลักสูตรด้านบัญชี
🔗 https://elearning.set.or.th/SETGroup/categories/86
9.) หลักสูตรการพัฒนาธุรกิจอย่างยั่งยืน
🔗 https://elearning.set.or.th/SETGroup/categories/97
#ตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย #คอร์สฟรี #คอร์สออนไลน์

————
©️CMMU Library แหล่งรวมงานวิจัย บทความ วิทยานิพนธ์ ดุษฎีนิพนธ์ ข่าวสารการศึกษาในแวดวงวิชาการ, คอร์สออนไลน์ อัปเดตทุกวัน
📌 ติดตาม CMMU Library
Website : http://library.cmmu.mahidol.ac.th
Facebook : CMMU Library
twitter :
IG : cmmu.library
Youtube : http://bit.ly/2OPiBfQ

Photos from JuiMint Insure's post 22/07/2022

ช่วงนี้เลื่อน Feed ไป ก็เจอแต่ ATK 2 ขีด ถ้าวันนึงคนที่ขึ้น 2 ขีดนั้นเป็นเราขึ้นมาจะทำยังไงดี? จะใช้สิทธิอะไรได้บ้างนะ?

วันนี้ จุ้ยกับมิ้น จาก เพจ JuiMint Insure มีแนวทางการใช้สิทธิต่าง ๆ มาบอกกัน ฝากเพื่อน ๆ ทุกคน ช่วยกดไลค์ และ กดแชร์ เพื่อเป็นประโยชน์ให้แก่เพื่อน ๆ คนอื่น ๆ ด้วยน้า

JuiMint Insure ประกันชัวร์ชัวร์ by จุ้ยกับมิ้น
© All rights reserved by JM.insure

#จุ้ยAIA #มิ้นAIA #จุ้ยมิ้นอินชัวร์ #ประกันชัวร์ชัวร์byจุ้ยกับมิ้น #ประกัน #ประกันชีวิต #ประกันสุขภาพ #โควิด19ต้องรอด #โควิด #สวัสดิการรัฐ #บัตรทอง #ประกันสังคม

ต้องการให้ธุรกิจของคุณ ธุรกิจ ขึ้นเป็นอันดับหนึ่ง บริษัท เงินทุน ใน Bangkok?
คลิกที่นี่เพื่อเป็นสมาชิก?

วิดีโอทั้งหมด (แสดงผลทั้งหมด)

JuiMint การเงิน EP.2 ประกัน vs กองทุน ใน 5 นาที
JuiMint การเงิน EP.1 ภาษีคำนวณยังไง ลดหย่อนอะไรได้บ้าง

เบอร์โทรศัพท์

ที่อยู่


Bangkok