ใต้โต๊ะกฎหมาย

บริการงานกฎหมาย
ปรับฐานกฎหมาย
Notary Public

08/12/2022

เพื่อนบ้านติดกล้องวงจรปิด หันมาทางบ้านเราแบบนี้

ถือว่า ละเมิด PDPA ไหม แล้วจะมีวิธีจัดการอย่างไรบ้าง ?
-------------------------------------------------
#ธรรมนิติ #กล้องวงจรปิด

27/11/2022

ประกาศสำนักงานคณะกรรมการกฤษฎีกา เรื่อง ช่องทางอิเล็กทรอนิกส์สำหรับติดต่อสำนักงานคณะกรรมการกฤษฎีกา พ.ศ. ๒๕๖๕

19/11/2022

↕️↕️↕️↕️↕️
{🔝ที่มาinfo_บทความ-©Copyright .ในภาพ}
ขอขอบคุณinfo_บทความ
🚫🚫cusa🚫🚫
↕️↕️↕️↕️↕️

Photos from สำนักงานกฎหมายเอส เอ็น ลอว์'s post 17/11/2022
Photos from กลุ่มพัฒนาวิชาชีพนักกฎหมาย's post 02/11/2022
Photos from Thai Law Reform Commission's post 02/11/2022
02/11/2022

#ไม่ต่อมาตรการLTV

Photos from All about บ้าน's post 18/10/2022
07/09/2022

ร่างพ.ร.บ.เครื่องราชฯ ตกไปแม้เคยผ่านสภา เหตุพระมหากษัตริย์ทรงวีโต้และรัฐสภามีมติไม่ยืนยัน

6 กันยายน 2565 นอกจากรัฐสภาจะมีนัดพิจารณา #แก้รัฐธรรมนูญ ตัดอำนาจส.ว. ในการเลือกนายกรัฐมนตรี ก่อนจะเข้าสู่วาระแก้รัฐธรรมนูญ รัฐสภามีวาระปรึกษาหารือร่างพระราชบัญญัติเครื่องราชอิสริยาภรณ์จุลจอมเกล้า (ฉบับที่ ..) พ.ศ. .... (ร่างพ.ร.บ.เครื่องราชฯ) ซึ่งร่างกฎหมายดังกล่าว ผ่านการพิจารณาของสภาผู้แทนราษฎร “สามวาระรวด” ในวันเดียว เมื่อ 22 ธันวาคม 2564 และต่อมา 17 มกราคม 2565 ก็ผ่านการพิจารณาโดยวุฒิสภาจบสามวาระรวดในวันเดียว หลังจากนายกฯ นำร่าง ขึ้นทูลเกล้าทูลกระหม่อมถวายพระมหากษัตริย์ทรงลงพระปรมาภิไธยเมื่อ 31 มกราคม 2565 แต่พระมหากษัตริย์ไม่ได้ลงพระปรมาภิไธยภายใน 90 วัน และไม่ได้พระราชทานร่างกฎหมายคืนกลับมา อาจกล่าวสั้นๆ ว่า พระมหากษัตริย์ทรงใช้พระราชอำนาจยับยั้ง (Veto) ร่างกฎหมาย โดยการไม่ลงพระปรมาภิไธยภายในกรอบเวลาที่รัฐธรรมนูญกำหนด
กรณีที่พระมหากษัตริย์ทรงยับยั้งร่างกฎหมาย ไม่ได้แปลว่าร่างกฎหมายนั้นจะตกไปในทันที เพราะรัฐธรรมนูญ มาตรา 146 กำหนดให้รัฐสภาจะต้องนำร่างพระราชบัญญัตินั้นมา "ปรึกษา" ใหม่ เพื่อหาทางว่าจะดำเนินการอย่างไรต่อ หากรัฐสภาประสงค์จะยืนยันตามที่ลงมติเดิม ต้องใช้มติไม่น้อยกว่าสองในสามของสมาชิกสองสภา (ส.ส. + ส.ว.) ทั้งหมดเท่าที่มีอยู่ แต่ถ้าเสียงยืนยันไม่ถึงสองในสาม ร่างพ.ร.บ.เครื่องราชฯ ก็จะเป็นอันตกไป
ร่างพ.ร.บ.เครื่องราชฯ เสนอโดยคณะรัฐมนตรี (ครม.) เพื่อแก้ไขพ.ร.บ.เครื่องราชอิสริยาภรณ์จุลจอมเกล้า พุทธศักราช 2484 ที่ถูกแก้ไขเพิ่มเติมครั้งล่าสุดในปี 2509 (พ.ร.บ.เครื่องราชฯ) โดยเสนอให้ยกเลิก มาตรา 9 และมาตรา 10 ซึ่งวางหลักการสืบตระกูลเครื่องราชอิสริยาภรณ์ไว้ โดยมีหลักสำคัญว่า กรณีที่ผู้ชายได้รับพระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์ตั้งแต่ชั้นที่สอง คือ ทุติยจุลจอมเกล้า (ท.จ.) ขึ้นไป เมื่อผู้ได้รับพระราชทานเสียชีวิตลง บุตรชายคนโตสามารถเลื่อนขึ้นมารับสืบตระกูลเครื่องราชได้โดยอัตโนมัติ
โดยก่อนที่บรรดาส.ส. ส.ว. จะอภิปราย วิษณุ เครืองาม รองนายกฯ ได้กล่าวชี้แจงว่า กรณีที่พระมหากษัตริย์ไม่ได้ทรงลงพระปรมาภิไธยหรือไม่ได้พระราชทานร่างกฎหมายคืนมาในเวลาที่กำหนด ถ้าพูดตามความเป็นจริงแล้วก็ไม่ได้มีการแจ้งเหตุผลให้รัฐบาลทราบ แต่เท่าที่มีการประสานงานกับเจ้าหน้าที่สำนักพระราชวัง เข้าใจว่า การแก้กฎหมายครั้งนี้ เป็นการยกเลิก มาตรา 9 และมาตรา 10 ของพ.ร.บ.เครื่องราชฯ ซึ่งในพ.ร.บ.เครื่องราชฯ กำหนดหลักสืบตระกูลโดยบุตรชายคนโตเอาไว้ ซึ่งก็เป็นประเพณีและเป็นกฎหมายที่ปฏิบัติกันมา ต่อมาก็ได้มีพระราชดำริว่า การที่บุคคลได้รับเครื่องราชอิสริยาภรณ์ไม่ว่าจะเป็นเครื่องราชตระกูลหรือชั้นตราใด ควรมาจากการทำคุณงามความดีให้ประเทศชาติ มากกว่าจะได้รับโดยอัตโนมัติโดยบุตรชาย จึงให้ยกเลิกมาตรา 9 และมาตรา 10
แต่ต่อมาก็ได้พบว่า ปัจจุบันมีผู้ได้รับเครื่องราชอิสริยาภรณ์จุลจอมเกล้าที่เสียชีวิตไป และบุตรก็ได้ขอรับพระราชทานการสืบสกุลเครื่องราช อยู่ในลำดับค้างไว้ 74 คน นับแต่ปี 2544 จนถึงปัจจุบัน ยังไม่ได้มีการพระราชทานตราสืบสกุลให้แก่บุคคลทั้ง 74 ราย อันที่จริงแล้ว ถึงแม้จะไม่มีการตราร่างพ.ร.บ.เครื่องราช ยกเลิกมาตรา 9 และมาตรา 10 การพระราชทานเครื่องราช ก็เป็นไปตามพระราชอัธยาศัย ก็ไม่มีเหตุจำเป็นที่จะไปตัดสิทธิในการขอรับตราสืบสกุล เพราะว่าอยู่ที่ว่าจะมีพระมหากรุณาพระราชทานหรือไม่ ที่สำคัญก็คือ ขณะเดียวกัน พ.ร.บ.เครื่องราชฯ ปี 2484 ที่ยังใช้บังคับอยู่ ได้ใช้มาเป็นเวลานาน ควรจะต้องปรับปรุงแก้ไขเรื่องอื่นเสียใหม่ไม่ใช่แค่เรื่องสืบสกุล จึงได้หยุดรั้งรอไว้เพื่อพิจารณาพร้อมกันเสียทีเดียว น่าจะเป็นเหตุผลที่พระมหากษัตริย์ไม่ทรงลงพระปรมาภิไธยตามกำหนดเวลา ซึ่งทั้งหมดก็ได้ปรึกษาหารือผู้เกี่ยวข้องแล้ว มิใช่เป็นการทำไปโดยพลการทั้งสิ้น
จึงนำร่างพ.ร.บ.เครื่องราชฯ มาเสนอต่อรัฐสภา เพื่อพิจารณาว่าจะยกขึ้นปรึกษาหารือใหม่ แต่ขออนุญาตกราบเรียนว่า ทางรัฐบาลไม่มีความขัดข้องหากรัฐสภาจะไม่ยกขึ้นพิจารณา หรือเห็นสมควรจะให้ร่างพ.ร.บ.ฉบับนี้ตกไปโดยไม่มีการยืนยัน เพราะไม่ใช่เครื่องมือในการบริหารราชการแผ่นดิน แต่เป็นเรื่องเครื่องราชอิสริยาภรณ์ซึ่งพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประธานแห่งเครื่องราชอิสริยาภรณ์
ด้านสมาชิกรัฐสภา มีผู้อภิปรายสองราย รายแรกรังสิมันต์ โรม ส.ส.พรรคก้าวไกล ขออภิปรายร่างพ.ร.บ.เครื่องราชฯ ประเทศไทยมีการปกครองระบอบประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริย์ทรงอยู่ใต้รัฐธรรมนูญ ยึดถือหลักการ “ปกเกล้า แต่ไม่ปกครอง” ตามรัฐธรรมนูญ มาตรา 3 ที่กำหนดว่า
“มาตรา 3 อำนาจอธิปไตยเป็นของปวงชนชาวไทย พระมหากษัตริย์ผู้ทรงเป็นประมุข ทรงใช้อำนาจนั้นทางรัฐสภา คณะรัฐมนตรี และศาล ตามบทบัญญัติแห่งรัฐธรรมนูญ”
รังสิมันต์ กล่าวต่อไปว่า ดังนั้น องค์กรที่เป็นผู้รับสนองพระบรมราชโองการ จึงอยู่ในฐานะที่จะถวายคำแนะนำแด่พระมหากษัตริย์ในการใช้อำนาจนั้นได้ ซึ่งในกรณีที่พระมหากษัตริย์ไม่ทรงลงพระปรมาภิไธยร่างพ.ร.บ.ฉบับนี้ ผู้ที่อยู่ในฐานะที่จะถวายคำแนะนำได้ คือผู้นำร่างกฎหมายขึ้นทูลเกล้าฯ เพื่อทรงลงพระปรมาภิไธย นั่นก็คือ นายกฯ พลเอกประยุทธ์ จันทร์โอชา ทว่า ในกรณีนี้ ตามหนังสือที่สำนักนายกฯ ได้แจ้งมายังรัฐสภา ไม่ได้มีการระบุไว้ว่ากรณีนี้มีสาเหตุเกิดจากอะไร ซึ่งรองนายกฯ ได้ชี้แจง จับใจความได้ว่า ท่านได้คาดเดาว่ามีสาเหตุจากอะไร นั่นหมายความว่ารัฐบาลก็ไม่ทราบว่าการวีโต้กรณีนี้ เกิดจากอะไรกันแน่
“ผมและพรรคก้าวไกล เราไม่ได้มีข้อขัดข้องอะไรต่อเนื้อหาสาระ (ร่าง) พ.ร.บ.เครื่องราชอิสริยาภรณ์ ฉบับนี้ อย่างไรก็ตาม สิ่งที่เกิดขึ้น มันคือการวีโต้ร่างกฎหมายที่ผ่านความเห็นชอบจากผู้แทนประชาชน ผ่านการพิจารณาทั้งในชั้นส.ส. สามวาระ และส.ว.อีกสามวาระ ใช้เวลาและค่าใช้จ่ายไปก็มิใช่น้อย โดยผู้วีโต้ในกรณีนี้ ก็คือพระมหากษัตริย์ ที่ในทางหลักการแล้ว มิได้ทรงใช้อำนาจด้วยพระองค์เอง ดังนั้น จึงจำเป็นที่รัฐบาล ซึ่งเป็นผู้ที่รับสนองพระบรมราชโองการ จะต้องชี้แจงต่อรัฐสภาที่จะลงมติต่อจากนี้ ให้ทราบถึงสาเหตุของ (ร่าง) พ.ร.บ.ฉบับนี้ ว่ามันมีปัญหาเกิดจากอะไร ทำไมร่างพ.ร.บ.ฉบับนี้ ซึ่งมีการเริ่มต้นจากครม.แท้ๆ ถึงถูกวีโต้ สิ่งที่สภาเราอยากจะได้ยิน ไม่ใช่แค่การคาดเดา แต่คือสาเหตุจริงๆ ว่าเกิดจากอะไร”
“เรียนด้วยความเคารพ ในการทำหน้าที่ของพวกเรา ค่าใช้จ่ายที่เป็นเงินภาษีของพี่น้องประชาชนในการใช้จ่ายเพื่อผ่านกฎหมายแต่ละฉบับ มันมีค่าใช้จ่ายจำนวนมาก ส.ส.แต่ละท่านที่จะเดินทางมาจากต่างจังหวัด ต้นทุน ค่าใช้จ่าย ตั้งแต่ค่าไฟฟ้าต่างๆ มันมีราคา และเป็นจำนวนมาก ดังนั้น สิ่งที่สภาเราต้องการรับทราบ คือ เพราะเหตุใดกฎหมายที่ครม.เป็นผู้เสนอ จึงไม่สามารถผ่านในส่วนของการลงพระปรมาภิไธยได้ คาดเดาอย่างเดียวไม่เพียงพอครับ”
“การที่ผมอภิปรายตรงนี้ เจตนารมณ์ก็เพื่อให้เกิดความชัดเจน เพราะมิเช่นนั้นมันจะกลายเป็นบรรทัดฐานที่จะเกิดขึ้นต่อไป ว่ากฎหมายที่ถูกวีโต้ เราในฐานะตัวแทนประชาชนจะไม่มีสิทธิที่จะรู้อย่างเพียงพอต่อข้อเท็จจริงที่เกิดขึ้น แล้วการชี้แจงของรัฐบาลแบบนี้ ด้วยความเคารพนะครับท่านประธาน การชี้แจงแบบนี้ ไม่ได้เป็นการชี้แจงที่เป็นการปกป้องพระมหากษัตริย์ เพราะท่านได้แต่คาดเดาโดยไม่ได้ชี้แจงเหตุผล ถ้าท่านบอกว่า จะมีกฎหมายฉบับนี้หรือไม่มี สาระไม่ต่างกัน แล้วท่านจะเสนอกฎหมายฉบับนี้ไปทำไม ทำไมท่านไม่เสนอกฎหมายที่มีความจำเป็นต่อการบริหารบ้านเมือง เราจำเป็นต้องใช้สภาให้เป็นประโยชน์ต่อบ้านเมือง ถ้ากฎหมายที่ท่านคิดว่า จะมีหรือไม่มี มีค่าเท่ากัน เสนอมาแบบนี้ มันเป็นการตัดโอกาสกฎหมายฉบับอื่นครับ”
“จึงเรียนไปยังท่านประธาน ถึงท่านรองนายกรัฐมนตรี ว่าผมมีความคาดหวังถึงการชี้แจงที่ประกอบด้วยเหตุผลที่มีน้ำหนัก มากกว่าการคาดเดา การตอบว่าไม่รู้ว่าสาเหตุลึกๆ คืออะไร ผมคิดว่านี่ไม่ใช่สิ่งที่สภาของเราอยากจะได้ยินหรืออยากจะรับทราบ เราอยากจะรู้เหตุผลที่แท้จริงว่าเกิดจากอะไร ขอบคุณครับท่านประธาน”
ผู้อภิปรายรายที่สอง สมชาย แสวงการ ส.ว. อภิปรายว่า

“ความจริงผมเกรงใจสภาและก็คิดว่าโดยประเพณีการปกครองของประเทศไทย ที่รัฐธรรมนูญกำหนดให้เราอยู่ด้วยกันโดยมีระบอบการปกครองประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริย์เป็นประมุข ได้กำหนดไว้ในรัฐธรรมนูญถึง 10 ฉบับ ที่เขียนอำนาจในการยับยั้งกฎหมาย หรือที่เรียกว่าวีโต้จากพระมหากษัตริย์ได้ ตั้งแต่ รัฐธรรมนูญ 2475, รัฐธรรมนูญ 2492, รัฐธรรมนูญ 2475 แก้ไขเพิ่มเติม 2495, รัฐธรรมนูญ 2511, รัฐธรรมนูญ 2517, รัฐธรรมนูญ 2521, รัฐธรรมนูญ 2534, รัฐธรรมนูญ 2540, รัฐธรรมนูญ 2550, และรัฐธรรมนูญ 2560 ในมาตรา 146 นี้ก็เป็นอำนาจครับ เช่นเดียวกับที่บางท่านก็เอ่ยอ้างอำนาจประชาชน อ้างในเรื่องของการที่ผมคิดว่าบางเรื่องอาจจะมิบังควร สภาเองทำกฎหมายไม่เสร็จเยอะครับ ร่างพระราชบัญญัติประกอบรัฐธรรมนูญเนี่ย ใช้เวลานานมาก งบประมาณเยอะมาก ประชุมร่วมรัฐสภาหลายรอบ กรรมาธิการก็งบเยอะมาก ในที่สุดก็ทำไม่สำเร็จ เกินเวลา มีกฎหมายเยอะครับที่ไม่ผ่านสภา ไม่ว่าสภาผู้แทนราษฎรหรือวุฒิสภา ที่เราก็ไม่ได้รับความรับผิดชอบอะไรทั้งสิ้น”
“ผมจึงลุกขึ้นมาเพื่ออธิบายความตามที่ท่านรองนายกรัฐมนตรี ได้อธิบายต่อสภา ผมคิดว่ามาตรา 146 เนี่ย แม้เขียนว่า “ร่างพระราชบัญญัติใด พระมหากษัตริย์ไม่ทรงเห็นชอบด้วยและพระราชทานคืนมายังรัฐสภา หรือเมื่อพ้นเก้าสิบวันแล้วมิได้พระราชทานคืนมา รัฐสภาจะต้องปรึกษาร่างพระราชบัญญัตินั้นใหม่ ถ้ารัฐสภามีมติยืนยันตามเดิมด้วยคะแนนเสียงไม่น้อยกว่าสองในสามของจำนวนสมาชิกทั้งหมดเท่าที่มีอยู่ของทั้งสองสภาแล้ว ให้นายกรัฐมนตรีนำร่างพระราชบัญญัตินั้นขึ้นทูลเกล้าทูลกระหม่อมถวายอีกครั้งหนึ่ง” ผมกราบเรียนเลยว่า สมาชิกวุฒิสภาเห็นด้วยว่าไม่ยืนยันครับ เพราะเป็นเรื่องที่ท่านรองนายกฯ ชี้แจงแล้ว ผมเข้าใจชัดเจนครับ ว่าเหตุผลนั้นเป็นเรื่องการพระราชทานเหรียญอิสริยาภรณ์ตามพระราชอัธยาศัย และก็เป็นอำนาจตามที่รัฐธรรมนูญกำหนดไว้ เพราะฉะนั้น เมื่อท่าน (พระมหากษัตริย์) ทรงใช้สิทธิวีโต้ เราก็ควรดำเนินการตามประเพณีการปกครองและให้ความเคารพ ผมจึงอยากเห็นสภาทำหน้าที่ตามที่ท่านรองนายกฯ ได้ชี้แจงว่า รัฐบาลก็ไม่ขัดข้องแม้เป็นผู้เสนอร่าง ผ่านสภา ผ่านวุฒิสภาแล้ว ก็เมื่อทรงใช้สิทธิวีโต้ ก็ตามปกติครับ และก็ไม่ควรอภิปรายยืดเยื้อหรือพยายามพาดพิงไปในส่วนที่ทำให้เกิดความเข้าใจผิด”
“ผมคิดว่า สภาทำหน้าที่ของตัวเองเถอะครับ ในการไม่ยืนยัน ก็ขออนุญาตกราบเรียนท่านประธานด้วยความเคารพ แล้วก็ไม่อยากเห็นการอภิปรายเพื่อนำไปสู่สิ่งที่เกิดความไม่สบายใจของพวกกระผม กราบขอบพระคุณครับท่านประธาน” สมชาย แสวงการกล่าว
หลังจากนั้น วิษณุ เครืองาม รองนายกฯ ได้กล่าวชี้แจงสั้นๆ ต่อ โดยอธิบายเนื้อหาของรัฐธรรมนูญที่กำหนดเรื่องการวีโต้ ด้านรังสิมันต์ โรม ก็ลุกขึ้นกล่าวว่าทางสภาต้องการทราบรายละเอียดถึงสาเหตุ วีระกร คำประกอบ ส.ส.พรรคพลังประชารัฐ จึงขอให้ปิดการอภิปราย ชวน หลีกภัย ประธานรัฐสภาแจ้งว่ามีผู้อภิปรายเท่านี้ จึงขอมติที่ประชุมว่า “จะยืนยันร่างพระราชบัญญัติเครื่องราชอิสริยาภรณ์จุลจอมเกล้า (ฉบับที่ ..) พ.ศ. .... ตามเดิมหรือไม่”
ท้ายที่สุด ที่ประชุมร่วมกันของรัฐสภามีมติไม่ยืนยันร่างพ.ร.บ.เครื่องราชฯ ด้วยคะแนนเสียงไม่เห็นด้วย (ไม่ยืนยัน) 431 เสียง เห็นด้วย (ยืนยัน) 1 เสียง งดออกเสียง 28 เสียง ไม่ลงคะแนนเสียง 1 ด้วย เนื่องจากคะแนนเห็นด้วยไม่ถึงสองในสามของจำนวน ส.ส.+ส.ว. ทั้งหมดเท่าที่มีอยู่ คือ ไม่ถึง 485 เสียง มติที่ประชุมจึงไม่ยืนยันร่างพ.ร.บ.เครื่องราชฯ ที่พระมหากษัตริย์ทรงวีโต้ ร่างพ.ร.บ.เครื่องราชฯ ที่ผ่านการพิจารณาชั้นสภาผู้แทนราษฎรและวุฒิสภามาแล้ว ก็เป็นอันตกไป ทั้งนี้ 1 เสียงที่เห็นด้วย (ยืนยัน) พิทักษ์ ไชยเจริญ ส.ว. ระบุหลังลงมติแล้วว่า ความจริงแล้วตนไม่เห็นด้วย (ไม่ยืนยัน) แต่กดปุ่มผิด

📌 ย้อนทำความเข้าใจเรื่องนี้ ได้ที่ https://ilaw.or.th/node/6161

เช็กเลย! กม.จราจรใหม่โทษหนัก ติดคุก-ปรับอ่วม เริ่ม 5 ก.ย. 02/09/2022

เช็กเลย! กม.จราจรใหม่โทษหนัก ติดคุก-ปรับอ่วม เริ่ม 5 ก.ย. พล.ต.อ.ดำรงศักดิ์ กิตติประภัสร์ รองผู้บัญชาการตำรวจแห่งชาติ (รอง ผบ.ตร.) กฎหมายจราจรทางบกฉบับใหม่ที่จะมีผลวั...

24/08/2022

↕️↕️↕️
{🔝ที่มาinfo_บทความ-©Copyright .ในภาพ}
ขอขอบคุณinfo_บทความ
🚫🚫cusa🚫🚫
↕️↕️↕️↕️↕️

รื้อเกณฑ์'บุคคลล้มละลาย' ดำรงตำแหน่งสำคัญในภาครัฐ-ประกอบอาชีพ'รับราชการ'ต่อไปได้ 15/08/2022

รื้อเกณฑ์'บุคคลล้มละลาย' ดำรงตำแหน่งสำคัญในภาครัฐ-ประกอบอาชีพ'รับราชการ'ต่อไปได้ “…เนื่องจากบุคคลดังกล่าว แม้จะเป็นผู้ที่ถูกศาลพิพากษาให้เป็นบุคคลล้มละลาย แต่ความสามารถในการปฏิบัติหน....

09/08/2022

กฎหมายฉบับใหม่ที่อาจถือได้ว่าเป็น ‘ผลงานชิ้นโบว์แดง’ ของรัฐบาลประยุทธ์ คือ การปฏิรูปกฎหมาย ด้วย "พ.ร.บ.การปรับเป็นพินัย" ซึ่งจะช่วยทำให้ประชาชนตัวเล็กตัวน้อยที่ทำผิดทางอาญาที่ไม่รุนแรง ไม่มีโทษถึงจำคุก ให้ไม่ต้องถูกกักขังระหว่างคดี ไม่ถูกบันทึกประวัติ แต่คงไว้แค่การจ่าย ‘ค่าปรับ’ หรือ ‘บริการสั่งคม/บำเพ็ญประโยชน์’ แทน
ที่สำคัญคือ กฎหมายนี้จะคำนวณค่าปรับจาก ‘ฐานะทางเศรษฐกิจ’ รวมถึงแม้จะไม่จ่ายค่าปรับและถูกส่งฟ้อง ศาลอาจจะพิจารณาลดโทษหรือแค่ตักเตือน หากเป็นการกระทำความผิดเพราะความยากจน
เช่น ไม่แสดงใบขับขี่ ปรับไม่เกิน 1,000 บาท สูบบุหรี่ในเขตปลอดบุหรี่ ปรับไม่เกิน 2,000 บาท จอดรถขายผลไม้ริมถนนสาธารณะ ปรับไม่เกิน 2,000 บาท เหล่านี้จะถูกปรับเป็นโทษ ‘ปรับเป็นพินัย’ ที่ไม่มีการกักขัง ทำประวัติ และค่าปรับคิดตามฐานะผู้ทำผิด
รายละเอียดสำคัญของร่างกฎหมายนี้ มีดังนี้

1. เปลี่ยนโทษปรับทางอาญาในกฎหมาย 200 ฉบับ ให้เป็น "โทษปรับทางพินัย" ที่ไม่ใช่โทษทางอาญาแทน จึงไม่มีการกักขังแทนค่าปรับในกฎหมาย 200 ฉบับนี้อีกต่อไป

2. รับโทษปรับอย่างเดียว โดยไม่มีการกักขังระหว่างพิจารณาคดี ไม่ต้องเป็นภาระในการประกันตัว
3. ไม่ถูกบันทึกประวัติอาชญากรรม ไม่ต้องพิมพ์ลายนิ้วมือให้เสียประวัติ กระทบต่อหน้าที่การงาน

4. คิดค่าปรับตามฐานะทางเศรษฐกิจของผู้กระทำผิด รวมถึงสภาพแวดล้อมในการกระทำผิด
5. ค่าปรับสามารถลด งดเว้น หรือผ่อนชำระได้
6. เลือกทำงานบริการสังคมแทนค่าปรับได้
7. ศาลอาจพิจารณาลดค่าปรับ หรือเพียงแค่ตักเตือนโดยไม่ต้องปรับได้ หากเป็นการกระทำผิดเพราะความยากจน โดยศาลจะคำนึงถึงพฤติกรรมการกระทำผิดและสถานะทางเศรษฐกิจด้วยเสมอ
กฎหมายการปรับเป็นพินัยนี้ เป็นส่วนหนึ่งของการปฏิรูประบบการกำหนดโทษใหม่ ตามแผนการปฏิรูปประเทศด้านกฎหมาย ที่ศึกษามาจากหลายประเทศทางยุโรป เช่น เยอรมนี ฝรั่งเศส อิตาลี และโปรตุเกส แล้วนำมาประยุกต์ใช้ให้เหมาะสมกับบริบทประเทศไทย
ประเด็นสำคัญอีกประการของร่างกฎหมายนี้ คือ ระบบ Day Fine หรือระบุค่าปรับเป็น ‘จำนวนวัน x รายได้สุทธิต่อวันของผู้กระทำความผิด’ ที่จะทำให้การคิดค่าปรับสอดคล้องกับฐานะทางเศรษฐกิจของผู้ทำผิด
หลักการสำคัญของระบบ day fine คือไม่ระบุค่าปรับเป็นจำนวนเงินตายตัว แต่ระบุเป็นจำนวนวัน ตามระดับความรุนแรงของฐานความผิด โดยแต่ละวันจะแปรเป็นจำนวนเงินไม่เท่ากัน เพราะคิดเป็นเงินตามรายได้ของผู้กระทำความผิดในแต่ละคดีต่อ 1 วัน โดยอิงจากฐานการเสียภาษีรายได้ส่วนบุคคลประจำปี
“ค่าปรับ = จำนวนวัน x รายได้สุทธิต่อวันของผู้กระทำความผิด” นอกจากนี้ยังมีระบบการหักค่าใช้จ่ายที่บุคคลผู้กระทำความผิดต้องดูแลรับผิดชอบบุคคลอื่น เพื่อมิให้บุคคลอื่นต้องมาเดือดร้อนไปด้วย
ระบบนี้ถูกใช้ครั้งแรกในประเทศกลุ่มแสกนดิเนเวียน ปี ค.ศ. 1921 จากนั้นเยอรมันนีกับสหรัฐอเมริกา ได้เริ่มนำมาปรับใช้บางส่วน ซึ่งร่างกฎหมายปรับเป็นพินัยนี้ จะยึดหลักการเดียวกัน โดยจะค่อยๆ นำมาปรับกับโทษในคดีความต่างๆ เป็นลำดับขั้นไป
และเมื่อร่างกฎหมายนี้ถูกบังคับใช้ จะถือได้ว่าเป็นการเริ่มต้นการปฏิรูปกฎหมายอาญาครั้งใหญ่ที่สุดของประเทศไทย ที่จะทำให้ระบบยุติธรรมไทยยืนหยัดหลักสากลในการเคารพศักดิ์ศรีความเป็นมนุษย์ได้อย่างภาคภูมิใจ

#ประยุทธ์ #ปฏิรูปกฎหมาย #อาญา #ปรับเป็นพินัย

อ้างอิง:
[1] นายกฯ ชู ก.ม.ปรับเป็นพินัย ช่วยคนไทย เปลี่ยนลงโทษอาญา เป็นเสียค่าปรับ
https://www.thairath.co.th/news/politic/2465389
[2] “ปรับเป็นพินัย - ความผิดทางพินัย” ก้าวแรกของการแก้ปัญหาโทษทางอาญาเฟ้อ!
https://mgronline.com/daily/detail/9650000020939
[3] คำนูณชี้ กม.ปรับเป็นพินัยผลงานโบว์แดงรัฐสภายุคนี้!
https://www.thaipost.net/x-cite-news/192900/
[4] https://www.facebook.com/prayutofficial/posts/pfbid02dJfvfp9VKHcYT7BfqirC4d9BHFe99cHvMYEyJnGmXKAjBkv3rxPyuRehY9GPGwjNl

ได้ข้อยุติแล้ว ค่าไฟฟ้างวดสิ้นปี 65 พุ่งเป็น 4.72 บาทต่อหน่วย ตามมติ กกพ. ปลัดพลังงานเร่งหามา 09/08/2022

ได้ข้อยุติแล้ว ค่าไฟฟ้างวดสิ้นปี 65 พุ่งเป็น 4.72 บาทต่อหน่วย ตามมติ กกพ. ปลัดพลังงานเร่งหามา ได้ข้อยุติแล้วค่าไฟฟ้างวดสิ้นปี 65 พุ่งขึ้นเป็น 4.72 บาทต่อหน่วย โดยปลัดกระทรวงพลังงานยืนยันต้องปรับตามมติบ....

07/08/2022

↕️↕️↕️↕️
{🔝ที่มาinfo_บทความ-©Copyright .ในภาพ}
ขอขอบคุณinfo_บทความ
🚫🚫cusa🚫🚫
↕️↕️↕️↕️↕️

07/08/2022

:: บทความวิชาการ อุทาหรณ์คดีปกครอง ::
🚩 เรื่อง ไม่ใช่คนพื้นที่ ... ฟ้องคดีพิทักษ์ผลประโยชน์ชาติได้ไหม ?

📚ถาม กรณีหน่วยงานของรัฐอนุญาตให้บริษัทเอกชนเข้าทำเหมืองแร่ในเขตป่าสงวนแห่งชาติ ท่านคิดว่า หากผู้ฟ้องคดีไม่ได้อยู่ในพื้นที่ที่ได้รับผลกระทบโดยตรง สามารถยื่นฟ้องคดีต่อศาลแทนคนในพื้นที่ได้หรือไม่ ?

👉🏻ตอบ ผู้ฟ้องคดีไม่สามารถยื่นฟ้องคดีต่อศาลแทนคนในพื้นที่ได้ เนื่องจากผู้ฟ้องคดีไม่ได้อยู่อาศัยในบริเวณพื้นที่ที่ได้รับผลกระทบจากการทําเหมืองแร่ และไม่ได้เป็นผู้ที่ได้รับความเดือดร้อนหรือเสียหาย หรืออาจจะเดือดร้อนหรือเสียหายโดยมิอาจหลีกเลี่ยงได้ อันเนื่องมาจากการกระทําหรือการงดเว้นการกระทําของหน่วยงานทางปกครองหรือเจ้าหน้าที่ของรัฐ ตามมาตรา 42 วรรคหนึ่ง แห่งพระราชบัญญัติจัดตั้งศาลปกครองฯ

🔸 อ่านเพิ่มเติม คลิก https://bit.ly/3dbxBGA

:: สำนักงานศาลปกครอง ::

07/08/2022
ต้องการให้ธุรกิจของคุณ ธุรกิจ ขึ้นเป็นอันดับหนึ่ง การปฏิบัติตามกฎหมาย ใน Bangkok?
คลิกที่นี่เพื่อเป็นสมาชิก?

เบอร์โทรศัพท์

เว็บไซต์

ที่อยู่

ถนน พหลโยธิน, สามเสนใน, พญาไท, กรุงเทพมหานคร
Bangkok
10400

เวลาทำการ

อังคาร 09:00 - 15:00
พุธ 08:00 - 16:00
พฤหัสบดี 08:00 - 16:00
ศุกร์ 08:00 - 16:00

นักกฏหมายอาญา อื่นๆใน Bangkok (แสดงผลทั้งหมด)
ภพธรรม ทนายความ ภพธรรม ทนายความ
Sukhumvit 101/1
Bangkok, 10260

สำนักงานกฏหมายคดีอาญา หรือมีโทษทางอาญา เเห่งเดียว 🧡 เข้าถึง จริงใจ ยุติธรรม 🥇

Lawyer team Lawyer team
188/49
Bangkok

เป็นทีมกฎหมายที่จะสอนการว่าความทั้งคีดแพ่งและคดีอาญาให้ทนายความทั้งเก่าและทนายใหม่

ทนายแพท Ace Lawyer ทนายแพท Ace Lawyer
พหลโยธิน
Bangkok

ฟ้องร้องดำเนินคดี ต่อสู้คดี ทั้งแพ่ง อาญา คดีครอบครัว

ทนายน้องตั้ว กับ พี่เบียร์หัวหมอ ทนายน้องตั้ว กับ พี่เบียร์หัวหมอ
18/164 The Reserve Phahol-Pradipat
Bangkok, 10400

เรื่องราวเกี่ยวกับกฎหมาย ที่เอามาเล่าให้ฟังอย่างง่ายๆแต่ได้สาระให้ทุกคนได้เข้าใจกัน

ทนายความอำเภอลำลูกกา Lawyer at Lam Luk Ka District ทนายความอำเภอลำลูกกา Lawyer at Lam Luk Ka District
Bangkok, 10110

ทนายใกล้คุณ ให้คำปรึกษาและบริการ ป?

Paisaya Lawyer Paisaya Lawyer
Bangkok

ทนายความคนจน ให้คำปรึกษากฎหมายแก่คนยากจนฟรี โทร.087-0459885 ทนายความคนจน ให้คำปรึกษากฎหมายแก่คนยากจนฟรี โทร.087-0459885
78 ซอยศาลธนบุรี 35 ถนนศาลธนบุรี แขวงบางหว้า เขตภาษีเจริญ
Bangkok, 10160

ทนายความคนจน ยินดีให้คำปรึกษากฎหมายแก่คนยากจนฟรี

Pol.Col.Opart Kwansomkid Pol.Col.Opart Kwansomkid
Bangkok, 10900

พนักงานสอบสวนนครบาล ,ปราบปรามยาเสพติด ปัจจุปัน ข้าราชการบำนาญ สตช เออรี่รีไทร์รุ่น23 ทำงานอิสระ

ทนายความอำเภอแก้งสนามนาง Lawyer at Kaeng Sanam Nang District ทนายความอำเภอแก้งสนามนาง Lawyer at Kaeng Sanam Nang District
Bangkok, 10110

เครือข่ายทนายความ ทนายใกล้บ้าน โทร. 089-226-8899

รับเขียนอุทธรณ์ คัดค้าน โต้แย้ง เครื่องหมายการค้า รับเขียนอุทธรณ์ คัดค้าน โต้แย้ง เครื่องหมายการค้า
119 ซอย สิรินธร 7 ถนน สิรินธร แขวง บางบำหรุ
Bangkok, 10700

รับเขียนอุทธรณ์เครื่องหมายการค้า ?

ทนายความอำเภอโพนพิสัย Lawyer at Phon Phisai District ทนายความอำเภอโพนพิสัย Lawyer at Phon Phisai District
Bangkok, 10110

เครือข่ายทนายความ ทนายใกล้บ้าน โทร. 089-226-8899