Pink English Camp

แคมป์ฝึกภาษาต่างประเทศ สำหรับเด็กประถมวัย 6-12 ปี เน้นฝึกภาษาผ่านการเดินทางและฝึกฝน life skills

Photos from Pink English Camp's post 10/07/2020

เล่าเรื่องการเดินทางของน้องคุกกี้ 🍪❤️🍪

Thank you Chen Wei Teng for a wonderful story you made with our cookies !


อาทิตย์ก่อน ครูพิ้งได้รับข่าวดีมาจากคุณครูเว่ยถิงค่ะว่า คุกกี้ Munchie Planet ที่ทางคุณครูสั่งให้ส่งลงไปให้ทั้ง 6 กล่องนั้น ไปถึงบ้านคุณครูที่สิงคโปร์อย่างเรียบร้อยภายใน 3 วันเท่านั้นเองค่ะ !! 🥰❤️
ดีใจมากที่ในยุคโควิทแบบนี้แม้พรมแดนจะยังไม่เปิดให้เราเดินทางหากัน แต่ขนมของเรากลับสามารถนำความรักความห่วงใยไปถึงเพื่อนของเราแทนตัวเราได้
ครูพิ้งไม่เคยส่งขนม homemade ไปต่างประเทศมาก่อนเลยจัดทำฉลากพิเศษเป็นภาษาอังกฤษ บรรยายส่วนผสม วันที่ผลิต และ ที่อยู่ติดต่อแปะไว้ข้างๆกล่องให้อย่างดี เผื่อตม.ที่สิงคโปร์ตรวจสอบ
ส่งไปแล้วก็ภาวนาว่าขอให้ไม่ถูกโยนทิ้งด้วยข้อห้ามทางการนำเข้าอาหารที่เราอาจจะไม่รู้มาก่อน เพราะถ้าเป็นที่อเมริกาเค้าจะห้ามเบเกอรี่ทุกอย่างเข้าเด็ดขาดเลยค่ะ
ปรากฎว่ากล่องไม่ได้มีการถูกเปิดออกเลยแต่อย่างใด ทำให้ขนมทั้งหมดข้ามน้ำข้ามทะเลไปถึงในสภาพสมบูรณ์สุดๆ🥰❤️
ทางคุณครูเว่ยถิง เมื่อได้รับคุกกี้แล้วก็จัดการแจกจ่ายให้คนที่บ้านชิมบางส่วนและก็เล่าว่าได้ นำคุกกี้บางส่วนไปเล่นเป็นเกมส์กับนักเรียนของคุณครูก่อนทาน มีการฝึกเดาส่วนผสม และฝึกอ่านฉลากกันก่อนทานด้วย ครีเอทมากค่ะ 🍪🤟
ขออธิบายเพิ่มเติมหน่อยค่ะว่า ในโรงเรียนที่คุณครูทำงานอยู่นั้น นักเรียนของคุณครูเว่ยถิงส่วนใหญ่มาจากครอบครัวที่มีฐานะยากจน ด้อยโอกาส และหลายๆคนไม่ได้มีโอกาสทานขนมดีๆบ่อยนัก อย่างรูปที่ส่งมาคุณครูก็บอกว่า น้องไม่เคยทานแอปริคอทมาก่อน และชอบมาก
ครูพิ้งฟังแล้วรู้สึกหัวใจพองโต เพราะถึงแม้การส่งขนมเดินทางลงไปจะไม่ใช่เรื่องง่าย แต่เมื่อได้รู้ว่าปลายทางได้รับด้วยรอบยิ้มแบบนี้ ก็รู้สึกว่าคุ้มค่ามากๆจนหายเหนื่อยเลยค่ะ 🥰❤️
ขอขอบคุณ คุณครูเว่ยถิงสำหรับเรื่องราวดีๆในสัปดาห์นี้ด้วยนะคะ 🥰🙏❤️

03/07/2020

Congratulations to the first Virtual Story Concerto !! 🥰❤️🥳
สวัสดีค่า วันนี้ครูพิ้งต้องขอแสดงความยินดีกับ แคมป์ลีดเดอร์กิตติมศักดิ์ ของเรา หรือ คุณครู เว่ยถิง Chen Wei Teng ผู้แต่งหนังสือนิทาน Murphy See How You Shine ด้วยนะคะ
ในอาทิตย์ที่ผ่านมา คุณครูและเพื่อนๆนักแต่งนิทานชาวสิงคโปร์ทุกๆท่าน ได้ริเริ่มจัด Story Concerto หรือการร้องเพลงเล่านิทานแบบ Online ที่น่ารักมากๆให้เด็กๆได้ดูกันจากที่บ้านในปีนี้ ได้สำเร็จเป็นที่เรียบร้อยค่ะ เป็น New Normal แบบใหม่ที่อะไรๆก็เป็นไปได้ค่ะ
ในการร่วมงานกับทางคุณครู แผนการณ์ตอนแรกที่ครูพิ้งวางเอาไว้ของแคมป์ในเดือนมีนาคม คือเช้าวันเสาร์ เราจะพาเด็กๆลงเรือชมวิวริมฝั่งแม่น้ำ จากใกล้ๆที่พักแถว Robertson Quay ล่องไปที่เวทีการแสดงที่ Esplanade เพื่อไปฟังการแสดง Story Concerto ใน Concert Hall ที่คุณครูเตรียมจัดขึ้น และหลังจากนั้น ครูพิ้งและครูเว่ยถิงจะพาเด็กเดินเล่นชมเมืองตามรอยเสด็จประพาสสิงคโปร์ครั้งแรก ของล้นเกล้ารัชกาลที่ 5 ในช่วงบ่ายและทำกิจกรรมที่พิพิธภัณฑ์ศิลปะด้วยกัน ซึ่งฟังดูน่าสนุกสำหรับเด็กๆมากค่ะ
ดังนั้นในอนาคตหากสถานการณ์โรคระบาดดีขึ้น เราก็จะได้มีโอกาสลงไปทำกิจกรรมสนุกๆร่วมกับคุณครูและทีมกันเต็มสัปดาห์ ได้แบบ Real Time แน่นอนค่ะ 😎
การจัดกิจกรรมของคุณครูเว่ยถิงและเพื่อนๆนั้น ตั้งใจจัดขึ้นเพื่อ โปรโมท ความรักการอ่านให้กับเด็กๆทั่ว เอเชียตะวันออกเฉียงใต้ผ่านองค์กร KidLit SEA เป็นประจำค่ะ ดังนี้ในปีนี้ถ้ามีกิจกรรมอะไรที่น่าสนใจจากทางฝั่งสิงคโปร์อีกครูพิ้งจะขอร่วมนำมาอัพเดทให้พวกเราทางฝั่งไทยฟังกันนะคะ สำหรับกิจกรรม Story Concerto นี้ สามารถรับชมย้อนหลังผ่าน Link ที่ครูพิ้งคัดลอกมาได้เลยนะคะ
https://www.facebook.com/140333063356194/posts/629194541136708/

❤️🥰

19/03/2020

ซีรีย์ by Kru Pink รีวิวรายการฝึกภาษาดีๆในช่วงเก็บตัวอยู่บ้านจาก Covid19 ระบาด
ปีนี้แคมป์ของเรายกเลิกไปด้วยเรื่องไวรัสเพื่อความปลอดภัยของเด็กๆไปอย่างไม่มีกำหนด ซึ่งก็ไม่เป็นไรเพราะเป็นเรื่องสุดวิสัยนะคะ แต่ถึงแม้จะไม่ได้เดินทางเด็กๆก็ยังฝึกภาษากันได้อยู่แน่นอนค่ะ วันนี้ครูพิ้งเลยจะมาคั่นเวลาเครียดๆ ชวนดูทีวี ดูหนังดูละคร กัน ส่วนใหญ่ก็จะเป็นรายการที่บ้านเราดูกันแล้วชอบนะคะ
อันที่จริงการนั่งดูรายการทีวีดีๆก็ให้ผลดีในเรื่องการฝึกภาษาที่ไม่แพ้การเดินทางเลยเพราะเราจะได้เรียนรู้เรื่องราววัฒนธรรมต่างให้ลึกซึ้งขึ้นและฝึกฝนความเข้าใจด้านการใช้ภาษาไว้ล่วงหน้า เพื่อที่เมื่อถึงเวลาเดินทางจริงเราก็จะเดินทางได้อย่างมั่นใจ และ มีความสนุกยิ่งกว่าเดิมค่ะ
No. 1 : The Final Table
📣 รายละเอียด :
The Final Table เป็น รายการทำอาหารของประเทศอเมริกาใน Netflix ที่ต้องยกให้ว่ามีเสน่ห์ไม่เหมือนรายการอาหารที่เคยดูมา เพราะรวบรวมคัดผู้เข้าแข่งขันเฉพาะแต่จอมยุทธ์ในวงการทำอาหารที่ล้วนแต่มีร้านอาหารของตัวเอง มีมิชชิลินสตาร์ หลากหลายสัญชาติ ระดับ​ World 50 Best มาประลองคมมีดกัน การตัดสินจะทำโดยกรรมการที่มีทั้ง เชฟระดับโลก ดารานักแสดง นักกีฬา นักวิจารณ์อาหาร และ นักเขียนคอลัมน์บทความเกี่ยวกับอาหารชื่อดัง
ใน Season 1 ที่ถูกปล่อยมาตั้งแต่ Nov 2018 มีทั้งหมด 10 Episode นั้น จะมีทีมที่เข้าแข่งขันทั้งหมด 12 ทีม ทีมละ 2 คน ซึ่งในแต่ละEpisode จะต้องมีการแข่งกันทั้งหมด 2 รอบ ด้วยโจทย์ในการทำอาหารที่ต่างกัน โดยรอบแรกนั้น จะเป็นการแข่งทำอาหารประจำชาติของประเทศที่เป็นธีมหลักประจำ Ep นั้น และ ทีมที่อยู่บ๊วยสุดสามทีมล่างจะต้องไปแข่งแพ้คัดออกกับเชพชื่อดังของประเทศนั้นๆที่จะกำหนดส่วนผสมหลักของเมนูมาให้ทำ
ซึ่ง 2 ทีมที่ผ่านไปจนถึงรอบสุดท้ายนั้น ก็จะได้พบกับการรวมตัวของสุดยอดเชพประจำรอบ 9 คน ที่รอตัดสินอยู่ที่ The Final Table ก่อนจะต้องแยกเป็น 4 คน เพื่อแข่งกันเองในการที่จะสร้างสรรค์เมนูเด็ดของตัวเองที่จะ ‘เขย่าวงการทำอาหาร’ ให้สำเร็จ
รายการนี้ดียังไง และ เด็กๆน่าจะได้เรียนรู้อะไร ❓
☝️เหตุผลแรกเลย คือ “รายการนี้ดูได้พร้อมกันทั้งครอบครัว” ซึ่งเรื่องรายเกี่ยวกับอาหารนั้นไม่มีพิษมีภัยและเป็นสิ่งที่เชื่อมโยงจิตใจของคนในบ้านได้ดีมาก โดยเฉพาะกับบ้านครูพิ้งที่อินเรื่องการทำอาหารอยู่แล้ว ที่บ้านของเรา ครูพิ้งกับน้องเจสก็จะรออ.ปิยะ กลับมาจากการทำงาน แล้วค่อยนั่งดูด้วยกันเพื่อลุ้นไปทีละวันว่าวันนี้ทีมไหนจะผ่านเข้ารอบ หรือ ทีมไหนจะถูกแพ้คัดออก
ทำให้เรามีช่วงเวลาดีๆร่วมกันหลังจากแยกกันทำหน้าที่ของตัวเองมาทั้งวัน และ เป็นโอกาสที่จะทำให้เราได้มีเรื่องพูดคุยกันแสดงความคิดเห็นกัน ยิ่งในช่วงเวลาที่เราไปเที่ยวต่างประเทศด้วยกันไม่ได้นั้น การได้นั่งดูรายการแบบนี้ร่วมกันทำให้รู้สึกเหมือนได้ไปเที่ยวรอบโลกโดยที่ไม่ต้องจัดกระเป๋าเลยค่ะ
☝️เหตุผลที่สอง “รายการนี้สามารถช่วยให้ลูกฝึกฟังภาษาอังกฤษที่ใช้งานจริงได้ในหลากหลายสำเนียงในเวลาเดียวกัน” ผ่านการพูดตอบโต้และบทสัมภาษณ์ของทั้งผู้เข้าแข่งขันและกรรมการ
โดยสิ่งที่น่าสนใจก็คือ แต่ละคนจะมีสำเนียงของภาษาอังกฤษที่ไม่เหมือนกัน เนื่องจากพวกเค้ามาจากหลากหลายประเทศที่ภาษาอังกฤษไม่ใช่ภาษาแม่ และ ผู้เข้าแข่งขันบางคนก็คุยกันเป็นภาษาอื่นในระหว่างการทำอาหาร ซึ่งจะทำให้เด็กๆได้สังเกตเห็นความแตกต่างของสำเนียงภาษาอังกฤษจากชาติต่างๆตรงนี้
นอกจากนี้ เด็กๆจะมีโอกาสจดจำคำศัพท์ใหม่ๆประโยคสั้นๆง่ายๆที่ได้ยินซ้ำๆในช่วงเวลาต่างๆได้อย่างเป็นธรรมชาติได้มากมายตลอดการชมด้วย
☝️เหตุผลที่สาม “ได้เรียนรู้การก้าวข้ามข้อจำกัดในด้านภาษาด้วยวิธีอื่น” เพื่อการสื่อสาร ไม่ว่าจะเป็นเรื่องการใช้ล่าม ซึ่งเป็นวิธีการที่เอื้อให้เชฟบางท่านที่อาจจะภาษาไม่แข็งแรงสามารถสื่อสารความคิดและทัศนคติไปยังผู้เข้าแข่งขันท่านอื่นได้นั้นมีความสะดวกมากน้อยแค่ไหน และ อะไรทำให้เชฟบางคนต้องใช้ล่าม บางคนไม่ต้องใช้ล่าม
หรือแม้แต่การใช้ศิลปะโดยการที่ผู้เข้าแข่งขันบางคนพยายามสื่อสารออกมาผ่านการสร้างสรรค์เมนูที่มีเรื่องราวและแนวคิดซ่อนอยู่ กรรมการผู้ตัดสินก็สามารถรับรู้ได้ทั้งเรื่องราวและอารมณ์เมื่อได้ชิมอาหารจานนั้น
☝️เหตุผลที่สี่ “รายการนี้จะสอนให้เห็นถึงความสำคัญของวัฒนธรรม และความรักความภูมิใจในชาติ” ที่ทั้งเชฟและกรรมการจากทั่วโลกแสดงออกในสิ่งที่เป็นตัวตนของเค้า เด็กๆจะได้เห็นว่าการจะชนะใจกรรมการที่เป็นเจ้าตำรับของแต่ละชาตินั้น นอกจากจะต้องมีความสามารถในด้านเทคนิคการทำอาหารเป็นอย่างมากแล้วนั้น จำเป็นจะต้องมีความเข้าใจวัฒนธรรมของแต่ละชาติที่สะท้อนอยู่ในสูตรอาหารนั้นๆอย่างลึกซึ้ง
ซึ่งแม้แต่ผู้ที่เข้าแข่งขันที่มีข้อได้เปรียบในเรื่องการเป็นคนจากประเทศนั้นๆก็อาจถ่ายทอดความเข้าใจสู้เชฟที่ตีความโจทย์ได้ดีกว่าไม่ได้ ทำให้เราได้เห็นว่าหลายๆตอน เชฟที่มาจากประเทศเดียวกับกรรมการนั้นต้องถูกคัดให้ตกไปอยู่สามทีมล่างสุดหลายทีม ในขณะที่เราก็จะได้เห็นเชฟที่มีความมุ่งมั่นที่จะเรียนรู้วัฒนธรรมที่ตนเองหลงใหลแม้จะไม่ได้เป็นคนชาติเดียวกันแต่ก็สามารถเอาชนะใจกรรมการได้ในที่สุด
☝️เหตุผลที่ห้า “เด็กๆจะได้เรียนรู้และเข้าใจการทำงานระดับมืออาชีพ ระดับโลก“ ซึ่งประสบการณ์แบบนี้นั้นหาไม่ได้ในชีวิตประจำวัน เค้าจะได้เห็นการทำงานภายใต้ความกดดันของเชฟแต่ละคนที่ถึงแม้จะกดดัน แต่เค้าก็สามารถพิสูจน์ตัวเองผ่านผลงานที่น่าทึ่งจานแล้วจานเล่า
เค้าจะได้รับฟังเรื่องราวความเป็นมาของชีวิตเชฟแต่ละคนที่เริ่มต้นจาก 0 จนค้นพบแรงบันดาลใจในการทำอาหาร ฝึกฝนตัวเองอย่างหนัก ต่อสู้กับอุปสรรคต่างๆ จนสามารถมายืนเคียงบ่าเคียงไหล่กับสุดยอดเชฟคนอื่นๆในรายการนี้ได้ ซึ่งไม่ใช่เรื่องง่าย ซึ่งการได้รับรู้เรื่องราวแบบนี้นั้นจะช่วยเป็นแนวทางการสร้างแรงบันดาลใจให้กับเด็กๆในชีวิตของเค้าต่อไป
☝️เหตุผลที่หก “ชีวิตคือการผจญภัย และ การเสี่ยงโชค” ซึ่งอาจจะนำมาซึ่งชัยชนะ หรือ ความพ่ายแพ้ที่คาดเดาได้ยาก โดยเด็กๆจะได้เห็นว่าเชฟแต่ละทีมจะได้รับโอกาสในการช้อปปิ้งวัตถุดิบจาก supermarket ชั้นยอดที่เต็มไปด้วยวัตถุดิบชั้นดี ซึ่งการเลือกสรรวัตถุดิบนั้น ไม่ว่าจะถูกหรือแพง ก็อาจจะไม่ได้เป็นตัวตัดสินว่าจะนำมาซึ่งชัยชนะเสมอไป
เราจะได้เห็นทีมที่เลือกใช้แต่วัตถุดิบราคาแพงอย่าง ตับห่าน เห็ดทรัฟเฟิล แพ้ให้กับทีมที่เลือกใช้แต่ผักส่วนที่คนเอาไปทิ้ง หรือ การเลือกสมุนไพรจับคู่กับส่วนผสมหลักผิดชนิด ก็มีผลกับรสชาตจนถูกตัดสินให้ออกจากรายการ ในขณะที่การเลือกสร้างสรรค์เมนูในบางครั้งการตีโจทย์ไม่แตกในเรื่องความคาดหวัง ก็ทำให้การสร้างสรรค์เมนูออกมาไม่ถูกใจกรรมการ ซึ่งเมนูที่ทำออกมาคล้ายต้นฉบับอาจจะได้รับคำชมในวัฒนธรรมหนึ่ง แต่อาจจะเป็นสิ่งที่เป็นความผิดร้ายแรงกับอีกวัฒนธรรมหนึ่งได้ แต่
🤩เหตุผลสุดท้ายที่สุด นี่เป็น”โอกาสที่ดีที่จะช่วยให้เราสอนลูกเกี่ยวกับการรับมือกับความผิดหวัง” โดยหากเข้าใจก็จะสามารถทำได้อย่างสง่างาม เพราะเชฟบางคนก็เดินออกจากรายการด้วยรอยยิ้ม และมิตรภาพ ในขณะที่เชฟบางคนก็เดินออกจากรายการด้วยน้ำตาและหน้าตาที่บึ้งตึง
จากเหตุผลทั้ง 7 อย่างหลักๆที่เล่ามาให้ฟังนะคะ ครูพิ้งก็รู้สึกว่านี่เป็นรายการที่ดีมากที่จะยิงปืนนัดเดียวได้นกหลายตัว แถมน่าจะช่วยผ่านเวลาอยู่บ้านช่วงนี้ไปได้อย่างมีสาระและความบันเทิงไปพร้อมกันค่ะ ชวนไปเปิดดูด้วยกันได้เลยค่ะ แนะนำๆๆๆๆ 🥰❤️🥰

07/02/2020

สวัสดีค่ะ ครูพิ้งตามข่าวเรื่อง โคโรนาไวรัสเคส ที่เพิ่มขึ้นเรื่อยๆในสิงคโปร์มาซักพัก จนเห็นสมควรที่จะต้องเลื่อนการจัดแคมป์รุ่นแรก ในเดือนมีนาคมนี้ออกไปก่อนจนกว่าทางการจะควบคุมการแพร่ระบาดได้อย่างมีประสิทธิภาพเพื่อความปลอดภัยของเด็กๆนะคะ

สำหรับท่านผู้ปกครองที่ได้ทำการชำระเงินมาแล้ว สามารถติดต่อหลังไมค์เพื่อครูพิ้งจะทำการโอนคืนเงินให้เต็มจำนวน ต้องขออภัยและขอบพระคุณที่ให้การสนับสนุนเรามาในครั้งนี้ด้วยค่ะ ❤️🙏❤️

20/01/2020

☀️ #คุยกัน วันที่ 7 : ปี 2020 กับ แนวทางการสอนภาษาอังกฤษเด็ก จากยุคพระนางวิคตอเรีย 👸
สวัสดีค่ะ คุยกันวันนี้ ครูพิ้งกำลังนึกย้อนเวลากลับไปสมัยตัวเองเป็นครูสอนภาษาอังกฤษให้กับโรงเรียนอนุบาลไทย ในระดับชั้นอนุบาล 1-3 ในช่วงปี 2010-2011 ที่กำลังเรียนปริญญาโทไปด้วยค่ะ ในช่วงเวลานั้น โจทย์ท้าทายที่รอครูพิ้งอยู่คือ จะเริ่มต้นสอนเด็กๆที่จะมาเรียนด้วยมาจากครอบครัวที่พูดภาษาไทย 100% และ ไม่มีใครเคยพูดภาษาอังกฤษมาก่อนให้สามารถสื่อสารภาษาอังกฤษเบื้องต้นได้อย่างไร ❓❓❓
ซึ่งจะตอบคำถามนี้ได้ ครูพิ้งจึงต้องกลับไปค้นคว้าจากกองหนังสือปริญญาโทที่ตัวเองกำลังเรียนอยู่ว่า แนวทางการสอนภาษาอังกฤษที่มีอยู่นั้น มีอยู่กี่แบบ และ แบบไหน จึงเหมาะที่จะนำมาใช้กับเด็กเล็กๆในวัย 3-6 ขวบนี้ที่สุด ❓❓❓
☝️ซึ่งวันนี้ ก็ได้เกร็ดความรู้ที่น่าสนใจ มาเท้าความเล่าให้ฟังกันก่อนว่า แนวทางการสอนภาษาอังกฤษที่ใช้กันทั่วโลกนั้น มีการวิวัฒนาการมาอย่างต่อเนื่อง แต่วิธีการที่คลาสสิคที่สุดที่ใช้มาตั้งแต่ 1840 ยุคพระนางวิคตอเรีย แห่ง อังกฤษ มีชื่อเรียกว่า Grammar Translation Method ค่ะ
****************************************
Grammar Translation Method นี้เป็นเป็นแนวการสอนภาษาเก่าแก่ที่ปรับใช้มาจากการสอนภาษาลาติน ซึ่งเป็นภาษาเก่าแก่ที่ไม่มีคนใช้พูด และถูกเรียกว่าเป็นภาษาที่ตายแล้ว แต่ถือว่าเป็นการเรียนเพื่อเพิ่มรอยหยักในสมอง
โดยเป็นการนำประโยคต่างๆมาแปลให้นักเรียนอ่านเพื่อสอนหลักไวยากรณ์ควบคู่กันไป แต่เป็นการมุ่งเน้นการสอนผ่านหลักไวยากรณ์โดยเฉพาะ ซึ่งนักเรียนจะถูกสอนผ่านการท่องจำคำศัพท์ ท่องจำหลักไวยากรณ์ต่างๆในตารางยาวเป็นหางว่าวก่อน แล้วค่อยเอาหลักไวยยากรณ์เหล่านั้นมาแต่งเป็นประโยคที่อาจจะไม่มีความหมายในเชิงสื่อสาร
อ่านมาถึงตอนนี้ คุณพ่อคุณแม่คุ้นๆบ้างมั้ยคะ กับการสอนภาษาอังกฤษด้วยวิธี Grammar Translation แบบนี้ ?
✅ ถูกแล้วค่ะ (หลายๆคนเอามือทาบอก รวมทั้งครูพิ้งด้วย) ตอนที่ได้รู้จักชื่อวิธีการสอนนี้เป็นครั้งแรก ว่า ขุ่นพระ ‼️นี่มันเรานิ นี่มันคือชีวิตการเรียนภาษาอังกฤษอย่างทรมาน ในโรงเรียนในยุคที่เราเติบโตมานินา 😭
ทีนี้ร้องอ๋อเลยค่ะ !ว่า ทำไมนักเรียนมากมาย ที่โตมากับวิธีการเรียนภาษาแบบนี้ในโรงเรียนถึงพูดภาษาอังกฤษไม่ได้ ทั้งๆที่เรียนภาษาอังกฤษมาเป็นสิบปี คือครูพิ้งจะบอกเลยค่ะ ถ้าได้รู้ว่าโรงเรียนสอนภาษาอังกฤษให้เราด้วยวิธีนี้แล้ว จงอย่าโทษตัวเองค่ะ มันไม่ใช่ความผิด แต่มันคือ ❌“ความเข้าใจผิด”❌ ว่าใช้วิธีสอนภาษาแบบนี้แล้วผู้เรียนจะพูดได้เอง
เพราะเมื่ออ่านต่อไป.....เค้าก็เขียนชัดว่า เป้าหมายของการสอนภาษาด้วยวิธีการแบบ Grammar Translation นี้ คือ
☝️1. การช่วยให้นักเรียนสามารถอ่านออกเขียนได้จนถึงระดับที่สามารถอ่านวรรณคดีในภาษาอังกฤษได้
☝️2. ช่วยส่งเสริมทักษะการใช้ความคิดวิเคราะห์ให้ดีขึ้น
ดังนั้น Grammar Translation Method จึงเป็นแนวทางการสอนภาษาอังกฤษที่จะเน้นการอ่านเขียนล้วนๆ ผ่านการแปลภาษาที่สองเป็นภาษาที่หนึ่งกลับไปกลับมา โดยเป็นวิธีที่จะให้ความสำคัญกับการฟังและการพูดน้อยมากกกกกกกกกกกกกกกกกกก 😱
****************************************
👌ซึ่งครูพิ้งสรุปในใจได้เลยค่ะ ว่าวิธีการแรกที่เล่ามานี้ ไม่ได้เหมาะกับการสอนภาษาอังกฤษให้กับเด็กเล็กเลยแม้แต่น้อย เพราะอย่างที่ครูพิ้งเคยอธิบายให้ฟังไปแล้ว ว่าเด็กเล็กๆจะเรียนรู้ภาษาผ่านการ ฟังและพูด เป็นหลัก โดยที่เค้าจะสามารถเดากฎของไวยากรณ์ได้เองเมื่อได้มีโอกาสสื่อสารจริง การที่เด็กจะต้องมานั่งท่องศัพท์ ฝึกอ่านเขียน หรือ นั่งจำหลักไวยากรณ์ กันเพียงอย่างเดียวก็อาจจะรู้สึกเหมือนกับการถูกบังคับให้กินยาขมทั้งปีทั้งชาติอยู่ก็ได้ค่ะ
ซึ่งถ้าหากเด็กๆได้เรียนภาษาอังกฤษในโรงเรียนด้วยวิธีนี้เป็นหลักจนโต โดยไม่ได้มีวิธีการสอนภาษาแนวอื่นร่วมด้วยเลย คะแนนสอบวิชาภาษาอังกฤษที่สูง จึงไม่สามารถเป็นเครื่องหมายบ่งชี้ถึงความสามารถในการพูดได้เลยเป็นธรรมดา ว่ามั้ยคะ ❓
สิ่งที่น่าตกใจยิ่งกว่าก็คือ ข้ามมาถึงรุ่นลูกของเรา วิธีการนี้ ก็ยังได้รับความนิยมอยู่อย่างไม่เสื่อมคลาย
“Despite all of these drawbacks, the grammar–translation method is still the most used method all over the world in language teaching. That is unsurprising since most language proficiency books and tests are in the format of grammar–translation method.”
(จาก Grammar–translation method “https://en.wikipedia.org/wiki/Grammar–translation_method”)
🧐ซึ่งอาจจะเป็นเพราะว่า วิธีนี้ แม้จะทำให้นักเรียนหงุดหงิด ทุกข์ทรมาน แต่คุณครูสอนสบาย สอนอ่านอย่างเดียว ไม่ต้องเน้นสอนพูดค่ะ
“ Although the Grammar-Translation Method often creates frustration for students, it makes few demands on teachers....It is still used in situations where understanding literary texts is the primary focus and there is little need for a speaking knowledge of the language.”
(จาก Approaches and Methods in Language Teaching, Richards & Rodgers 2007)
*****************************************
☔️ผลของความล้มเหลวในการสอนภาษาอังกฤษด้วยวิธีนี้ ที่ครูพิ้งสังเกตเห็นก็คือ คุณพ่อคุณแม่หลายๆบ้านที่มีประสบการณ์ที่ไม่ดีกับการเรียนภาษาอังกฤษในโรงเรียนไทยมา จึงมีความรู้สึกอยากลองส่งลูกเข้าเรียนโรงเรียนอินเตอร์ถ้างบไม่ใช่ปัญหา เพื่อช่วยให้เด็กๆมีโอกาสได้ซึมซับภาษาอย่างเป็นธรรมชาติตั้งแต่เล็ก ซึ่งถึงจะได้ผลดี แต่มีป้ายราคาหลักสิบล้านอัพที่อาจจะไม่ได้ตอบโจทย์กับทุกครอบครัวระยะยาว และอาจจะมีผลทำให้ภาษาไทยและความเข้าใจวัฒนธรรมแบบไทยของลูกอ่อนแอ
ซึ่งจริงๆมันก็ยังมีวิธีการสอนภาษาอังกฤษแบบอื่นๆอีกที่ได้ผล รวมถึงการส่งเสริมภาษาและความรู้ผ่านช่องทางต่างๆเพิ่มเติมโดยที่อาจจะไม่ต้องจ่ายแพงขนาดนั้นด้วยเช่นกัน อย่างเช่นวิธีที่ครูพิ้งโตมากับการเดินทางเข้าแคมป์ที่ต่างประเทศ การแลกเปลี่ยนวัฒนธรรม และ การแลกเปลี่ยนนักเรียนระดับมหาวิทยาลัย ตั้งแต่อายุ 11 จนถึง 20 ปี เป็นต้น
*****************************************
🧏‍♀️ ดังนั้นครูพิ้งจึงแค่อยากจะชี้ให้เห็นเรื่องสำคัญนะคะว่า สำหรับพ่อแม่แล้ว เราส่งลูกไปเรียนอะไรก็ตามที่โรงเรียน ควรลองปรับมุมมองเพิ่มเติมว่าไม่มีโรงเรียนไหนจะสมบูรณ์แบบ ไม่ว่าเราจะส่งเค้าเรียนที่ราคาไหน เราอาจจะลองทำความเข้าใจกับแนวทางที่โรงเรียนสอนลูกเราให้ชัด เพื่อจะได้เห็นว่าลูกเรามีบางมุมที่เราจะต้องช่วยชดเชย หรือ เสริมความรู้ที่จำเป็นเพิ่มเติมตรงจุดไหนหรือไม่
‼️เพราะการนิ่งนอนใจ รอจนลูกเราโต แล้วค่อยเริ่มชดเชยทักษะที่ขาดไปหลายๆเรื่อง อย่างเช่นเรื่องการฝึกพูดภาษาที่สอง ที่ดูจะมีเวลาในการเรียนรู้อย่างเป็นธรรมชาติที่จำกัด ยิ่งเริ่มช้า ยิ่งมีอุปสรรคมาก และ เสียเวลาเสียโอกาสที่จะนำทักษะนี้ไปต่อยอดเพื่อใช้หาความรู้ขั้นสูง ที่เป็นความฝันของตัวเอง
งานให้การศึกษาลูก จริงๆจึงควรเป็นความร่วมมือของทั้งบ้านและโรงเรียน ที่จะช่วยดึงศักยภาพของเค้าออกมาให้ได้มากที่สุด ให้เด็กๆจึงจะเติบโตขึ้นมาได้อย่างมีความสุข และ มีคุณภาพ ในวันข้างหน้าค่ะ 🌈
โพสต่อๆไปครูพิ้งจะทยอยเล่าต่อ เรื่องวิธีการสอนภาษาแบบต่างๆที่นิยมกันจากในห้องเรียนที่ดูน่าสนใจให้ฟังเพิ่มเติมกันนะคะ เราจะได้ลองเอาเทคนิคบางอย่างไปปรับใช้กับลูกของเรากันที่บ้านดูค่ะ
—-
☝️พูดคุยสอบถามเรื่องแคมป์และการฝึกภาษาให้ลูกกับครูพิ้งได้ที่
📲 0855622879
และติดตามเป็นเพื่อนกับเราได้ที่

Line Official :
https://lin.ee/j2Y0yw4

www.pinkenglishcamp.com

15/01/2020

☀️ #คุยกัน วันที่ 6 : มารู้จักกับ ‘Scaffolding’ เทคนิคเริ่มสอนภาษาลูกตัวต่อตัว ช่วง 3 ขวบอัพ แบบเนียนๆกันค่ะ

คุณพ่อคุณแม่บางท่าน อาจจะชินว่าการเรียนภาษาของเด็กที่ได้ผลนั้น คือการไปนั่งเรียนในโรงเรียน เปิดสมุดขึ้นมาคัดคำศัพท์ หรือ เรียนอ่านเขียนไวยากรณ์กันอย่างคร่ำเคร่ง ในห้องเรียนเพียงอย่างเดียว

☝️แต่จริงๆแล้วเราสามารถช่วยลูกนำความรู้ที่ได้จากในห้องเรียนมาต่อยอดเพื่อพัฒนาภาษาให้มีความก้าวหน้ากันต่อที่บ้านได้ด้วยค่ะ ซึ่งเทคนิคการ Scaffolding ที่เล่ามาในวันนี้ ครูพิ้งได้นำมาใช้กับน้องเจสซี่ตั้งแต่เด็กๆ จนถึงจุดนึง ความจำเป็นที่จะต้องช่วยซัพพอร์ตเค้าในการพูดก็จะน้อยลงไปเรื่อยๆ

โดยพบว่า ยิ่งเด็กรู้สึกอบอุ่นปลอดภัย ก็จะยิ่งเกิดความมั่นใจที่จะสื่อสารตอบโต้กับผู้ใหญ่ที่เค้าไว้ใจมากขึ้นเท่านั้น การคุยกันที่ดูธรรมดา แล้วจึงเป็นความไม่ธรรมดาที่จะส่งผลให้เกิดความก้าวหน้าในการพัฒนาภาษาให้กับลูกได้ดีมาก อย่างที่ลูกแทบไม่รู้ตัวเลยค่ะ เทคนิคนี้ ครูพิ้งจึง highly recommend ค่ะ ☺️🥰

========================================

✅ Scaffolding คืออะไร ❓

คำว่า Scaffolding เมื่อแปลตรงตัว ในภาษาไทย จะหมายถึง การใช้ ‘นั่งร้าน’ ในการพยุงโครงสร้างของสิ่งก่อสร้าง

แต่ในมุมของการสอนภาษา นี่คือเทคนิคทรงพลัง ที่คุณพ่อคุณแม่สามารถนำ tips ที่ครูพิ้งจะเล่าให้ฟังในวันนี้ มาช่วยพัฒนาภาษาอังกฤษของลูกให้มีความซับซ้อน หลากหลายขึ้น ผ่านการพูดคุยกันในชีวิตประจำวันได้ค่ะ

เมื่อลูกเริ่มรู้จักคำศัพท์ภาษาอังกฤษบ้างแล้ว การที่เค้าจะก้าวต่อไปสู่การเลียนแบบพูดประโยคพื้นๆที่ไม่ซับซ้อน จนถึงมีความสามารถในการเรียบเรียงประโยคได้ด้วยตัวเองนั้น จะเกิดจากโอกาสที่ได้พูดคุยกับผู้ใหญ่ที่จะช่วยเป็นต้นแบบภาษาให้กับเค้าได้เป็นหลัก

Scaffolding จึงสามารถนำมาปรับใช้ในการฝึกภาษาทั้งภาษาที่ 1 และ ภาษาที่ 2 เพื่อเป็นเทคนิคในการพูดคุยที่มุ่งต่อยอดจากคำศัพท์ที่เด็กๆรู้ ไปสู่คำศัพท์และโครงสร้างภาษาใหม่ๆ ที่ยังอยู่ในระดับใกล้เคียงกับความเข้าใจของเด็ก ทำให้เด็กๆยังคงเกิดความผ่อนคลายและมั่นใจในการสื่อสาร

::::::::::::::::::::::::::::::::::::::::::::::::::::::::::::::::::

✅โดยเราจะสามารถลองใช้เทคนิคของการ Scaffolding ในรูปแบบต่างๆต่อไปนี้ดูได้ค่ะ 👀

สมมติว่าลูกเราพูดคำศัพท์อะไรออกมาซักคำนึงเพื่อต้องการบอกเราว่าเค้าเห็นอะไร หรือ เค้ากำลังจะทำอะไร เราสามารถที่จะ....

1. ช่วยออกเสียงทวนคำศัพท์เดิมให้ชัดขึ้น (tar > yes, a car)

2. พูดทวนซ้ำด้วยคำศัพท์ใหม่ที่มีความหมายเหมือนกัน (milk gone > yes, milk is finished)

3. ทวนคำศัพท์เดิม และ ขยายออกเป็นประโยคที่ยาวขึ้น (yes, milk has all gone > you’ve drunk it all)

4. สอนคำศัพท์ใหม่ๆเพิ่มเติม (Do you know what this is ? It’s a .....)

5. ตั้งคำถามปลายปิด หรือ ปลายเปิด ให้ลูกพยายามตอบ (Why , How, What, .....)

6. เริ่มต้นประโยคให้ลูกจบด้วยคำศัพท์ที่ตัวเองรู้ (In the zoo, you see a ........)

เทคนิค Scaffolding ที่ครูพิ้งกล่าวมานี้ ไม่ได้มุ่งเน้นที่การแก้ไขข้อผิดพลาดที่ลูกพูดในทันที แต่เป็นการช่วยทบทวนสิ่งที่ถูกให้กับลูก ช่วยขยายความอย่างต่อเนื่อง ให้ความสนใจกับหัวข้อที่คุยกันไปเรื่อยๆ บ่อยๆจนถึงจุดนึงเค้าก็จะรู้เองค่ะว่า ควรใช้ภาษาให้ถูกต้องขึ้นอย่างไร

:::::::::::::::::::::::::::::::::::::::::::::::::::::::::::::::::::

🎢 และเพื่อให้เกิดการเรียนรุ้อย่างค่อยเป็นค่อยไปและไม่ทำให้ลูกเราเครียดกับการเรียนรู้ภาษาใหม่ สิ่งที่เราควรจะคำนึงถึงเพิ่มเติมในระหว่างการใช้เทคนิค Scaffolding กับลูก คือ ความเหมาะสมของระดับภาษาที่เราใช้กับลูกในแต่ละช่วงอายุของเค้าด้วยค่ะ

☝️โดยเราอาจจะต้องลองพิจารณาดูด้วยว่า

1. การคุยกันยังอยู่ในระดับความรู้ความเข้าใจที่เหมาะกับวัยของเด็กในเรื่องคุยกับเค้าหรือไม่ ❓

2. เด็กๆมีเข้าใจความหมายของคำศัพท์ใหม่ๆที่เราใช้คุยกับเค้ารึยัง ❓ถ้ายังไม่เข้าใจ มีทางเลือกคือเราสามารถใช้ท่าทางในการช่วยสื่อความหมาย หรือ เราจะแปลด้วยภาษาแม่ตรงๆก็ได้

3. การเลือกใช้ประโยคที่ไม่ซับซ้อนในการคุย และ เลือกประโยคสั้นๆ ได้ผลดีแค่ไหน ❓

4. ความเร็วของการพูด เร็วไปหรือไม่ ❓ และ ได้มีการเว้นจังหวะให้เด็กๆได้ทำความเข้าใจกับข้อมูลใหม่แค่ไหน❓

5. เรามีโอกาสเพิ่มการใช้คำถามปลายเปิดที่ชวนให้เด็กๆพูดโต้ตอบมากกว่าแค่ๆคำเดียว โดยอาจจะเป็นคำถามที่ต้องการคำตอบที่ยาวหน่อยบ้างหรือไม่ ❓

:::::::::::::::::::::::::::::::::::::::::::::::::::::::::::::::

✅ประโยชน์ที่เด่นชัดของการใช้เทคนิค Scaffolding คือ การช่วยสร้างประสบการณ์ทางภาษาเต็มที่รูปแบบให้กับเด็ก โดยเด็กๆจะได้มีโอกาส สังเกตเห็นคำศัพท์ถูกใช้ในรูปประโยค ไปพร้อมๆกับหลักไวยากรณ์ รวมถึงการได้เรียนรู้ความรู้ใหม่ๆไปพร้อมๆกัน

ก่อนจบโพสนี้ ครูพิ้งขอฝากตัวอย่างการ Scaffolding ให้ทั้งรูปแบบ dialogue และ วีดีโอให้ชมกันดูเป็นไอเดียด้วยนะคะ

===========================

❤️Scaffolding example 1 :
สำหรับตัวอย่างสั้นๆนี้ จะเห็นว่า เรามีโอกาสสอนคำศัพท์ใหม่ๆ ประโยคใหม่ๆ ที่ครูพิ้งเน้นไว้ให้ในระหว่างเล่นกับลูกได้ทุกกิจกรรมค่ะ

Child : Car (taking a blue car out of his pocket)
Adult : Oh you’ve got a 🚙 blue car.
Child : 🚙 Blue Car.
Adult : Look ! There’s 4 wheels ! Be careful ! The 🚦car’s coming.
Child : Vroom Vroom - 🚦car coming ! (Child taking the car on a journey in the air)
Adult : The 🚀car’s coming fast, watch out !
Child : Vroom Vroom, 🚀 car’s coming fast.
Adult : (holding up a hand to stop the car) Stop ! The policeman says ❌STOP !
Child : ❌Stop! Car’s stop stop
Adult : Let’s park the car in the 🅿️ garage. Let’s pretend this is your garage.(holding open the child’s pocket)
Child : 🅿️ Car garage (closing pocket) car garage
.............................................................

❤️Scaffolding Example 2 :
วีดีโอตัวอย่างของการ Scaffolding ในห้องเรียน
ซึ่งเป็นการใช้เทคนิค scaffolding ในภาษาอังกฤษของคุณครูเจ้าของภาษาค่ะ

https://youtu.be/55-SIwjXngI

===========================
🤓Reference lists : https://ican.org.uk/media/1313/scaffolding.pdf
Introducing English to Young Children : Spoken language (Dunn,2012)
Key terms in Second language acquisition (VanPatten and G. Benoit, 2013)

—-
☝️พูดคุยสอบถามเรื่องแคมป์และการฝึกภาษาให้ลูกกับครูพิ้งได้ที่
📲 0855622879
และติดตามเป็นเพื่อนกับเราได้ที่

Line Official :
https://lin.ee/j2Y0yw4

www.pinkenglishcamp.com

11/01/2020

☀️ คุยกันวันที่ 5 : วัยเด็กต่างหาก คือ วาระแห่งชาติที่แท้จริง

Happy Children’s Day สวัสดีวันเด็กแห่งชาตินะคะทุกคน 🥰🤟🥰 !

สำหรับคุณพ่อคุณแม่หลายๆบ้านอาจจะไม่ค่อยตื่นเต้นกันซักเท่าไหร่ เพราะจริงๆทุกวันของครอบครัวที่มีลูก ทุกๆวันก็ดูจะเป็นวันเด็กอยู่แล้ว แต่วันนี้อาจจะเป็นวันที่พิเศษขึ้นมาอีกนิดเพราะลูกเราอาจจะได้ลูกโป่ง หรือ แจกขนมของขวัญ จากผู้ใหญ่ใจดี

ไม่รู้บ้านอื่นเป็นเหมือนกันมั้ยนะคะ สำหรับครูพิ้ง วันเสาร์อาทิตย์ จะยุ่งมากกว่าวันธรรมดาที่ลูกไปโรงเรียนอีกค่ะ เพราะเราต้องวางแผนกิจกรรมให้ลูกทำเต็มวัน และตัวเองต้องเป็นคนพาไป เหนื่อยเป็นสามเท่าของวันธรรมดา 😂

*******************************
🤦‍♀️ การเลี้ยงลูกให้โตขึ้นมาในกรุงเทพนี่ไม่ง่ายเลยค่ะ คิดเยอะ จ่ายเยอะทุกสิ่ง ยิ่งอยากเลี้ยงลูกให้เป็นเด็กที่เก่งภาษา แบบไม่ส่งโรงเรียนอินเตอร์ด้วยแล้ว เรายิ่งต้องคิดว่าจะพาไปเจอสิ่งแวดล้อมแบบไหนให้ลูกมีโอกาสใช้ภาษาในสถานการณ์จริงดูบ้างในช่วงวันหยุด

ซึ่งถ้าเป็นต่างประเทศ เราก็ไม่ต้องคิดอะไรมาก พาไปปล่อยเล่นตามสวนสาธารณ์ที่มีสนามเด็กเล่นที่มีเด็กต่างชาติเจ้าของภาษาเยอะๆก็จบละ

แต่พอเป็นบ้านเรา สิ่งหนึ่งที่ครูพิ้งรู้สึกอึดอัดไม่ใช่น้อยเกี่ยวกับกรุงเทพ นอกจากเรื่องรถติดแล้ว ยังเป็นเรื่องที่กรุงเทพของเรามีสถานที่วิ่งเล่นที่เป็นธรรมชาติที่จะช่วยให้ได้ทั้งออกกำลังกาย ได้ความรู้ และ ฝึกภาษาให้กับเด็กอยู่น้อยมากนี่แหล่ะค่ะ

****************************

บ้านเราเป็นครอบครัวไทย ที่ไม่ได้มีเพื่อนสนิทเป็นครอบครัวชาวต่างชาติที่มีลูกวัยเดียวกันเยอะนัก ซึ่งช่วงวันหยุดลูกจึงจะมีโอกาสพบปะเล่นกับเพื่อนๆวัยเดียวกันที่เป็นชาวต่างชาติ อยู่ตามแค่ใน Playgroup โรงเรียนนานาชาติ indoor playground หรือกิจกรรมเรียนพิเศษในห้างกลางเมืองเป็นส่วนใหญ่ 🥺

ซึ่งถ้าเป็นห้างก็ต้องขับรถพาลูกไปที่ห้าง มักจะมีราคาสูง ต้องซื้อบัตรเข้า ต้องซื้อถุงเท้า ต้องจ่ายค่าที่จอดรถ ต้องจ่ายค่าอาหารการกิน หมดวันผู้ปกครองแต่ละบ้านล้วนต้องจ่ายกันหลักพันเพื่อประสบการณ์ชีวิตลูก😭

แต่จะมีพิพิธภัณฑ์ สวนสาธารณะ หรือห้องสมุดคุณภาพดีๆที่เก็บค่าเข้าไม่แพง และถูกออกแบบมาให้เด็กโดยเฉพาะนี่น้อยมากค่ะ ถ้าไม่ต้องขับรถฝ่าการจราจรออกนอกเมืองไปอย่างไกล คุณภาพของสถานที่ก็สู้ต่างประเทศยังไม่ได้ 😣

และส่วนใหญ่จะไม่ได้เน้นประสบการณ์ด้านภาษาของเด็กควบคู่กันไปกับประสบการณ์ด้านความรู้เท่าไหร่ สุดท้ายโอกาสจะได้ฝึกภาษาก็น้อยอีกเพราะชาวต่างชาติก็ไม่ได้แห่กันไปพิพิธภัณฑ์นอกเมือง ถ้าเค้าจะไปเค้าก็ไปโรงแรมติดหาดห้าดาวแถวหัวหิน พัทยา ภูเก็ต กันไปเลย

*************************

🤦‍♀️ทุกครั้งที่ครูพิ้งได้ยินว่ากำลังมีห้างใหม่มาเปิดในกรุงเทพเพิ่มอีกห้าง ครูพิ้งก็ยิ่งห่อเหี่ยวใจ เพราะลูกครูพิ้งก็เล่น indoor playground ครบเกือบทุกห้างจนเบื่อหมดแล้ว สไตล์ก็เหมือนๆกัน

แถมไปทุกวันค่าใช้จ่ายก็เกินความเหมาะสมไป พูดแล้วก็รู้สึกน้อยใจเหมือนกันค่ะ ที่เด็กๆในประเทศของเราได้รับความสนใจแค่ในวันเด็กแห่งชาติแค่วันเดียว ส่วนวันอื่นๆพ่อแม่ก็ต้องรับภาระต่อกันเอง

***************************

🧐 ดังนั้น’วัยเด็กแห่งชาติ’ จึงน่าจะเป็นคำที่เหมาะสมที่จะใช้เรียกร้องต่อผู้ใหญ่ใจดีตามองค์กรต่างๆที่มีอำนาจในการตัดสินใจของบ้านเมืองเราให้คำนึงถึงการลงทุนสถานที่ที่จะให้ทั้งความรู้ และ ประสบการณ์ภาษาที่มีคุณภาพระดับโลกให้กับลูกหลานเราเพิ่มขึ้นบ้างค่ะ

👉🌏✈️ ไม่ต้องไปดูงานที่ไหนไกลเลยค่ะ สิงคโปร์ที่ครูพิ้งจะจัดแคมป์พาลูกและเด็กๆบ้านอื่นไปนี่แหล่ะค่ะ เป็นเมืองที่เต็มไปด้วยสถานที่ให้ความรู้สำหรับเด็กของเค้าที่มีคุณภาพระดับโลก ที่ล้วนแต่เดินทางไม่ไกลเยอะมากๆ

มีห้องสมุดของเด็กขนาดใหญ่ที่มีสตูดิโอทำอาหารอยู่ตามห้าง มีสนามเด็กเล่นอยู่ในพิพิธภัณฑ์ มีสวนขนาดใหญ่ให้เด็กๆได้วิ่งเล่นและสำรวจธรรมชาติ มีการจัดแสดงนิทรรศการ และ งานศิลปะอยู่ทั่วเมือง ที่ให้ความรู้ที่เต็มไปด้วยประสบการณ์ทางภาษาอังกฤษ และ แรงบันดาลใจในการพัฒนาคุณภาพชีวิต

************************
🧢เพราะวันของเด็กไม่ได้มีวันเดียว แต่เป็นช่วงเวลาจาก 0-18 ที่พ่อแม่ทุกครอบครัวจะต้องรับภาระ ดูแล ส่งเสริมลูก ให้เติบโตขึ้นมาเป็นพลเมืองที่มีคุณภาพให้กับประเทศของเราให้ดีให้ได้

💪โตอย่างเดียวไม่ได้ ต้องเป็นคนดี เป็นคนดีอย่างเดียวไม่ได้ ต้องมีความรู้ความสามารถ มีความเชี่ยวชาญเพียงพอที่จะลงแข่งขันกับประเทศอื่นๆในนามประเทศของเราได้

👉โดยก้าวแรกที่จะเริ่มต้น จะมาจากทักษะภาษา และ การคิดวิเคราะห์ที่ดี ที่จะช่วยให้เด็กๆของเรามีความเข้าใจในจุดแข็งจุดอ่อนของความเป็นไทยอย่างชัดเจน จนความมั่นใจที่จะดึงศักยภาพของตัวเองออกมาแสดงให้โลกเห็นได้ในที่สุด

****************************
🌏 งานสร้างคนเป็นงานที่ต้องอาศัยวิสัยทัศน์ร่วมกันทั้งภาครัฐและภาคเอกชน ดังนั้นสำหรับครูพิ้งแล้ว ‘วัยเด็กแห่งชาติ’ จึงควรเป็นวาระแห่งชาติที่แท้จริงถึงจะเหมาะสมที่สุดค่ะ ❤️

ส่วนในระหว่างที่เรากำลังรอการตัดสินใจของเบื้องบน ครูพิ้งก็ขอพาเด็กๆลงไปฝึกภาษาที่สิงคโปร์ไปพลางๆเองก่อนละกันนะคะ ^^

—-
☝️พูดคุยสอบถามเรื่องแคมป์และการฝึกภาษาให้ลูกกับครูพิ้งได้ที่
📲 0855622879
และติดตามเป็นเพื่อนกับเราได้ที่

Line Official :
https://lin.ee/j2Y0yw4

www.pinkenglishcamp.com

The benefits of a bilingual brain - Mia Nacamulli 09/01/2020

☀️ #คุยกัน วันที่ 4 : เด็กๆโตมาเป็นมนุษย์สองภาษา ดีต่อใจและสมองของเค้ายังไง❓

☝️สวัสดีค่ะ วันนี้อยากจะขอมาขยายความเกี่ยวกับประเด็นของ ความเป็นมนุษย์สองภาษา หรือ Bilingualism ให้ฟังกันค่ะ ว่าประโยชน์ของมันดีกับเด็กยังไงทั้งในด้านสมองและด้านอื่นๆ

เมื่อวานครูพิ้งเล่าถึงประสบการณ์ส่วนตัวของการพยายามช่วยลูกให้มีความเป็นมนุษย์สองภาษาตั้งแต่ช่วง 0-3 ขวบให้ฟังแล้ว แต่ก็ยังไม่ได้อธิบายเพิ่มเติม ว่าทำไมแม่อย่างเราต้องลำบากลำบนพยายามทำเพื่อลูกขนาดนี้ มาดึกนิดนึงนะคะ แต่คิดถึงหัวข้อนี้มาตั้งแต่เช้าแล้วเลยอยากหยิบมาคุยกันก่อนนอนให้ฟังกันค่ะ

—————————————

จากบทความด้านล่างนี้นะคะ ครูพิ้งอยากจะสรุปออกมาเป็นประเด็นที่น่าสนใจสั้นๆให้ฟังกันนะคะ

🌈Advantages of a bilingual brain : Teaching young children a second language is beneficial in many ways.

https://www.canr.msu.edu/news/advantages_of_a_bilingual_brain

🍎 ข้อแรก สมองของเด็กทารกนั้นจะสามารถจับความเปลี่ยนแปลงโค้ดในภาษาที่ได้ยินได้ตั้งแต่ 6 เดือน ทำให้เค้าสามารถเรียนรู้ภาษาที่สองได้ง่ายไปพร้อมๆกับการเรียนรู้ที่จะเดิน และ เรียนรู้ภาษาแรกค่ะ ซึ่งจากการสำรวจพบว่า การเรียนรู้ภาษาที่สองไปพร้อมๆกันในช่วงนี้ ส่วนใหญ่ไม่ได้ทำให้เกิดผลเสียต่อการเรียนรู้ภาษาแรกแต่อย่างใด

🍐 ข้อที่สอง เด็กๆที่โตมาเป็นเด็กสองภาษานั้น มีสมองที่ยืดหยุ่นกว่าในการตอบสนอง เนื่องจากเวลาที่เด็กพยายามจะสื่อสารนั้น สมองของเด็กจะต้องเลือกระหว่างภาษาที่ตัวเองรู้ เมื่อเลือกได้แล้วก็ต้องระงับอีกภาษานึงเอาไว้ ซึ่งจะต้องใช้ทั้งสมาธิและพลังสมองที่สูงพอสมควร แต่สามารถทำได้ง่ายในช่วงวัยเด็กแบบนี้

🍓 ข้อที่สาม ประสบการณ์ของการเป็นเด็กสองภาษาซึ่งเริ่มต้นมาจากความเข้าใจที่ว่า วัตถุหนึ่ง อาจมีชื่อเรียกได้หลายชื่อก็ได้ และ มันก็ยังคงเป็นวัตถุชิ้นเดียวกันนั้น จะช่วยให้เด็กสามารถวางแผนในการแก้ปัญหา มีความคิดที่เปิดกว้างกว่า มีความคิดสร้างสรรค์ที่ดีกว่า ทำให้ สามารถแก้ปัญหาได้จากหลายมุมมอง

ซึ่งเมื่อเด็กๆเหล่านี้โตขึ้นไปเข้าสู่ช่วงวัยรุ่นนั้น สมองที่ถูกฝึกมาแบบสองภาษานั้นจะช่วยให้เด็กๆมีความสามารถในการรับข้อมูลเรื่องหนึ่ง และ สลับไปที่ข้อมูลอีกเรื่องหนึ่ง โดยที่ยังสามารถเก็บความทรงจำของของมูลชุดเดิมไว้ได้อย่างดี ซึ่งทักษะเหล่านี้จะช่วยเด็กๆในการเรียนรู้เป็นอย่างมากค่ะ

*************************

🏂โดยในเด็กสองภาษาที่โตแล้วนั้น ประโยชน์ที่เห็นได้ชัดจะมี เรื่องของ

1. สมาธิ
2. ความเข้าใจโลกผ่านมุมมองของผู้อื่น
3. การอ่านจับใจความ
4. ผลการเรียน และการมีส่วนร่วมในโรงเรียน
5. การปรับตัวและยอมรับในวัฒนธรรมที่แตกต่างของภาษาแม่และภาษาอื่นๆในโลก

~~~~~~~~~~~~~~~~~~~~~

ครูพิ้งหวังว่า เมื่อคุณพ่อคุณแม่รู้ถึงประโยชน์ของสภาวะของการเป็นเด็กสองภาษาแล้ว เราจะได้มีแรงบันดาลใจจะอดทนช่วยส่งเสริมลูกให้มีพัฒนาการด้านภาษาที่ดีแต่เนิ่นๆกันต่อไปนะคะ เพราะอย่าลืมว่า

🎢 งานด้านภาษานี้ไม่ได้ทำเสร็จกันได้ภายในวันสองวันในขณะที่โลกกำลังเชื่อมต่อกันอย่างไม่หยุดยั้ง ภาษาอังกฤษกำลังจะกลายเป็นมาตราฐานขั้นต่ำของพลเมืองโลกในการสื่อสาร และยังมีภาษาอื่นๆอีกทีสำคัญ อย่างเช่นภาษาจีน ที่เรายังต้องไปต่อ ซึ่งครูพิ้งมองว่าเด็กไทยในยุคที่ครูพิ้งอายุ 50-60 ควรโตมาด้วยทักษะทางภาษาอย่างน้อย 2-3 ภาษาเพื่อจะเอาตัวรอด และเตรียมตัวจะคว้าโอกาสทองของชีวิต (ที่อาจจะไม่ได้ถูกส่งมาเป็นภาษาไทย)ในวันข้างหน้าให้ได้ค่ะ พูดได้หลายภาษา มีโอกาสทำงานหาเงินได้ดีกว่านะเออ 🤣

🧏‍♀️ (แม้กระทั่งกับผู้ใหญ่ในวัยเรา ถ้ามีเวลาจะเรียนรู้ภาษาที่สามเพิ่มเติม หรือ ฝึกภาษาอังกฤษให้แข็งแรงขึ้นเพื่อเดินไปกับลูกเรา ก็ยิ่งมีประโยชน์กับสมองเราตอนแก่ที่เค้าแอบกระซิบว่าจะช่วยให้เสื่อมช้าลงด้วยนะคะ)

————-//——————

ก่อนจบเลยขอฝากวีดีโอจาก Ted Talk เพื่ออธิบายประโยชน์ของสมองสองภาษาเพิ่มเติม ให้ฟังกันสนุกๆก่อนนอนด้วยอีกคลิปละกันค่ะ

🌛ราตรีสวัสดิ์ค่ะ 🛌

—-
☝️พูดคุยสอบถามเรื่องแคมป์และการฝึกภาษาให้ลูกกับครูพิ้งได้ที่
📲 0855622879
และติดตามเป็นเพื่อนกับเราได้ที่

Line Official :
https://lin.ee/j2Y0yw4

www.pinkenglishcamp.com

The benefits of a bilingual brain - Mia Nacamulli Check out our Patreon page: https://www.patreon.com/teded View full lesson: http://ed.ted.com/lessons/how-speaking-multiple-languages-benefits-the-brain-mia-...

I Taught My Baby Sign Language For A Week 08/01/2020

☀️ #คุยกัน วันที่ 3 : ประสบการณ์ครูพิ้งในการเริ่มฝึกภาษากับลูกในช่วงก่อนเข้าโรงเรียน (0-3)

🌈“All children go through the same three stages in learning L1 (mother tongue) stretch over approximately three years
1. The initial silent period last the longest time
👀Communication takes place only through eyes, facial and body language.
👂Children are building up bank of knowledge of sound, structure of the language and their own strategies of how to acquire the language.
👄Quality of input is crucial at all time, adjustment will happen as they match their output to that of the model speaker.”

จาก ’Introducing English to Young Children: Spoken Language’ , Opal Dunn (2013)🌈

หัวข้อที่จะคุยกันวันนี้นี้น่าจะมีประโยชน์สำหรับครอบครัวที่พึ่งได้ต้อนรับเบบี๋มาเป็นสมาชิกใหม่ในครอบครัวในช่วงสองสามปีนี้นะคะ โดยครูพิ้งอยากจะมาแชร์ประสบการณ์ช่วงที่ตัวเองฝึกภาษากับลูกในช่วงก่อนเข้าโรงเรียนให้ฟังกันค่ะ

👩‍👦ก่อนอื่นครูพิ้งอยากจะเล่าทฤษฎีที่เกี่ยวข้องในช่วงนี้ให้ฟังว่า ตามสเต็ปธรรมชาติในด้านพัฒนาการทางภาษาของเด็กตั้งแต่เกิดนั้น ทารกจะเริ่มต้นพัฒนาภาษาแรกของตัวเอง จากเสียงที่ตัวเองได้ยิน เป็นภาษาแม่หรือภาษาหลัก โดยมันจะมีการแบ่งออกเป็นสามช่วงคร่าวๆ โดยช่วงแรกสุดตั้งแต่เกิดจนถึงเริ่มพูดได้นั้นจะเป็นช่วงที่เรียกกันว่า The initial Silent Period หรือ ช่วงก่อนเริ่มพูด นั่นเองค่ะ และครูพิ้งก็อยากเน้นประเด็นหลักๆของพัฒนาการในช่วงนี้ ว่ามีดังนี้ค่ะ

⭐️1. การสื่อสารทุกๆอย่างจะทำผ่าน สายตา, การแสดงออกทางสีหน้า ภาษากาย การยิ้ม หัวเราะ อ้อแอ้ ร้องไห้ กรีดร้อง เท่านั้น

⭐️2. ในช่วงนี้ เด็กทารกที่ยังพูดไม่ได้ จะเก็บข้อมูล ดาต้าเบสของเสียงที่ตัวเองได้ยินทั้งหมด เพื่อประมวลผลเป็นโครงสร้างของภาษา และ เริ่มต้นวางกลยุทธ์ของตัวเองในการเรียนรู้ที่จะพูดภาษานั้นๆอยู่อย่างเงียบๆสมชื่อช่วง Silent Period ค่ะ

⭐️3. เมื่อถึงจุดนึงที่เด็กเก็บข้อมูลจนพร้อม ก็จะสามารถเริ่มเปล่งเสียงออกมาเป็นคำพูดที่เกิดจากการเลียนแบบเสียงที่ตัวเองได้ยินจากผู้ใหญ่ต้นแบบที่อยู่ใกล้ชิดต่อไป

☝️ดังนั้นในช่วงนี้ คุณพ่อคุณแม่ควรให้ความสำคัญกับคุณภาพของเสียงที่ทารกได้ยินเป็นอันดับแรกค่ะ โดยจากประสบการณ์ส่วนตัวที่ครูพิ้งผ่านมากับพัฒนาการของลูกในช่วงนี้นะคะ พบว่าเป็นแบบที่บรรยายมาจริงๆ คือ

✅ช่วง 0-3 ขวบนี่เป็นช่วงพัฒนาภาษาหลัก ที่หลายๆบ้านที่มีคุณพ่อคุณแม่พูดกันคนละภาษา ก็เริ่มพูดสองภาษาพร้อมกันเลย ลูกก็เลยโตมาได้สองภาษาแบบไม่ต้องพยายาม

ครูพิ้งก็เลยลองสมมติว่าบ้านเรามีใครซักคนไม่พูดภาษาไทยดูบ้าง และเริ่มพูดกับลูกในช่วงนี้ด้วย baby hand sign ที่จะช่วยลูกสื่อสารด้วยการทำทางด้วยมือ และศัพท์ภาษาอังกฤษ เป็นหลัก โดยเราหวังว่าคนรอบๆข้างที่เหลือ ไม่ว่าจะเป็นคุณพ่อ พี่เลี้ยง หรือ คนอื่นๆที่ลูกได้เจอ จะพูดภาษาไทยกับลูกโดยอัตโนมัติอยู่แล้ว

ช่วงที่ลูกยังอ้อแอ้ เราเลยไม่ได้พูดภาษาไทยกับลูกเท่าไหร่ เน้นพูดกับลูกคนเดียวเป็นภาษาอังกฤษทุกวัน ในช่วงนี้

ที่บอกว่าพูดอยู่คนเดียว คือ คนเดียวจริงๆค่ะ โดย แม่จะดูเพี้ยนๆหน่อย เพราะลูกยังพูดไม่ได้ มีแต่แม่ที่นั่งพูดกับลูกอยู่ข้างเดียวเป็นวรรคเป็นเวร แต่แม่พิ้งก็เซลฟ์ค่ะ ใครจะมองก็ไม่สนใจ วันๆนึงก็เอาหนังสือมาเปิดอ่านกับลูก ร้องเพลงใส่ลูก ชี้ชวนลูกดูโน่นดูนี่ เปิด YouTube เป็นภาษาอังกฤษให้ลูกดู 👂

และพอลูกเริ่มพูดได้ ครูพิ้งก็พบว่า ความพยายามที่จะใส่ภาษาอังกฤษเข้าไปในสมองลูกช่วงแรกนั้น ได้ผลดีมากๆคือ สำเนียงภาษาอังกฤษลูกเราค่อนข้างลื่นหูสไตล์ฝรั่ง (แต่ก็อาจจะไม่ได้ฝรั่งจ๋าเหมือนฝรั่งจริงๆนะคะ แต่แม่ก็พยายามเต็มที่แล้ว ^^!) ใครได้ยินก็สังเกตได้เลยว่าเออ ลูกเราสำเนียงดีเนอะ

แต่ที่บางอย่างที่เรามองข้ามไปก็ตึงโป๊ะออกมาค่ะ คือช่วงนั้นเจสซี่กำลังจะเข้าโรงเรียนพอดี พี่เลี้ยงคนแรกก็ลาออก พอครูพิ้งรับช่วงต่อเลี้ยงเอง กลายเป็นว่า สำเนียงภาษาไทยของลูกครูพิ้ง รับมาจากพี่เลี้ยงชาวไทใหญ่คนนี้ไปเต็มๆ นอกจากนี้ยังมีคำศัพท์แปลกๆที่ตามมาอีกหลายคำ มิน่าเค้าถามว่าคุณพ่อน้องเจสเป็นคนชาติอะไรอยู่บ่อยๆ 😅

งานนี้ครูพิ้งเลยต้องรับบทหนักขึ้นนิดหน่อยค่ะ พอรับช่วงมาเริ่มเลี้ยงเอง จากที่แม่ดูเพี้ยนอยู่แล้ว ก็ยิ่งดูอาการหนักกว่าเดิม เพราะกลายเป็นเราต้องพยายามพูดกับลูกพร้อมกันทั้งสองภาษา ทั้งอังกฤษทั้งไทย ทีละประโยคเวลาสื่อสาร เพื่อจะช่วยให้ลูกปรับสำเนียงการพูดในภาษาไทยกลับมาให้เหมือนเราอีกครั้ง และ ช่วยสอนคำศัพท์หลายๆคำให้ใหม่ เช่น หนังยางนะคะลูก ไม่ใช่หนังว่อง, ไฟกระพริบนะคะลูก ไม่ใช่ไฟหมับๆ, รองเท้าค่ะลูก ไม่ใช่ หร่องเท้า ฯลฯ

ซึ่งแม้แต่ศัพท์ภาษาอังกฤษบางคำ คุณพี่เลี้ยงก็อุตส่าห์หวังดีช่วยสอนนับเลข ลูกเราเลยออกเสียง เซเว่นทีน เป็น เซ้เหวนที๊น 🤣 กว่าจะปรับกลับมาได้ก็ใช้เวลาอีกหลายเดือนเลยค่ะ

✅ ก็เลยอยากจะสรุปสั้นให้ฟังวันนี้นะคะ ว่าในช่วง 0-3 เนี่ย เด็กๆจะรับสำเนียงภาษาตั้งต้นจากคนเลี้ยงหลักมาเต็มๆ การใช้เวลาอยู่กับลูกของเราให้มากในช่วงนี้ จึงเป็นโอกาสที่จะช่วยพัฒนาภาษาของเค้าได้มากกว่า 1 ภาษาจริงๆ ย้ำนะคะ ว่ามากกว่า 1

ถ้าเราใส่แค่ 1 ลูกเราก็จะเป็น monolingual ตั้งต้นค่ะ แต่ถ้าเราใส่ 2 ตั้งต้นลูกเราก็จะเป็น bilingual โดยธรรมชาติที่ทำให้เค้ามีโอกาสใช้กลยุทธ์ที่มีในตัว เรียนรู้ภาษาที่ 3 และ 4 ต่อไปได้อย่างไม่ยากค่ะ

แต่ ⚠️ สำคัญอีกอย่างหนึ่งนะคะ ในความหวังดีที่เรามีให้ลูก กระบวนการตรงนี้ เร่งไม่ได้ค่ะ ลูกเราเค้าก็จะซึมซับเสียงที่เค้าได้ยินไปเรื่อยๆจนเค้าพร้อมจะพูดออกมาเองค่ะ เราถึงจะได้เริ่มเห็นการผลิดอกออกผลของความพยายาม

สมัยเจส ครูพิ้งก็รออยู่จนเกือบสามขวบค่ะ ดังนั้นคุณพ่อคุณแม่ ต้องอดทนรอชมผลงานตัวเองกันซักหน่อยนะคะ ขอแค่มีใครซักคนที่ยืนพื้นพูดภาษาอังกฤษใส่ลูกเราเป็นหลักให้ได้ต่อเนื่อง ต่อให้คนรอบข้างในครอบครัวพูดไทย จะช้าจะเร็ว เด็กสองภาษาเรามาแน่ๆค่ะ ❤️🥰❤️

ปล.ในส่วนของการเริ่มต้นที่ครูพิ้งเล่าว่าการใช้ baby hand sign ที่เกริ่นไว้ก่อนหน้า มีประโยชน์มากสำหรับครูพิ้งค่ะ เนื่องจากช่วงเล็กๆลูกเราเป็นเด็กชอบร้องไห้ดังๆเพราะใจร้อนมาก พอเค้าสามารถสื่อความต้องการให้เรารู้ได้ มันก็ช่วยให้เค้าอารมณ์ดีขึ้น แทนที่จะร้องไห้ ลูกก็เริ่มมีความสนใจจะสื่อสารกับเรามากขึ้นและร้องไห้น้อยลงจริงๆค่ะ

ถือเป็นจุดเริ่มต้นที่ดีที่เราจะเริ่มสร้างความสัมพันธ์ของเรากับลูกด้านภาษาแบบเป็นเรื่องเป็นราวผ่านกิจกรรมนี้ค่ะ

ก่อนจบวันนี้ครูพิ้งเลยขอ ฝาก link baby hand sign ให้ไปลองเล่นกับลูกที่บ้านดูกันเบื้องต้นนะคะ จริงๆใน internet ใน YouTube มีอีกเยอะเลยค่ะ ^^

https://www.thebump.com/a/how-to-teach-baby-sign-language

https://youtu.be/5_sRFGa3phE

—-
☝️พูดคุยสอบถามเรื่องแคมป์และการฝึกภาษาให้ลูกกับครูพิ้งได้ที่
📲 0855622879
และติดตามเป็นเพื่อนกับเราได้ที่

Line Official :
https://lin.ee/j2Y0yw4

www.pinkenglishcamp.com

I Taught My Baby Sign Language For A Week Every kid is so different that you have to tailor the words you're teaching them to what makes sense to them. Follow Playfull! https://bzfd.it/2zpFMut Credit...

ต้องการให้ธุรกิจของคุณ ธุรกิจ ขึ้นเป็นอันดับหนึ่ง โรงเรียน ใน Bangkok?
คลิกที่นี่เพื่อเป็นสมาชิก?

วิดีโอทั้งหมด (แสดงผลทั้งหมด)

🐛‘The Very Hungry Caterpillar’ Story Telling by Jesse.🐛Welcome to Pink English Camp, language immersion beyond classroom...

เว็บไซต์

ที่อยู่


30th Flr Bhiraj Tower 689 Sukhumvit Road Klongtoey Nuea Wattana
Bangkok
10110

โรงเรียนสอนภาษา อื่นๆใน Bangkok (แสดงผลทั้งหมด)
Wall Street English Wall Street English
2445/20, 22 Tararom Business Tower, 14th Floor, New Petchaburi Road, Bangkapi, Huai Khwang
Bangkok, 10310

วอลล์สตรีท อิงลิช สถาบันสอนภาษาอังกฤษอันดับ 1

EF Thailand EF Thailand
18 Floor Chartered Square , North Sathorn Road, Silom, Bangrak
Bangkok, 10150

EF International Language Campuses

English Teaching Jobs Thailand English Teaching Jobs Thailand
49/252 Moo 4 Khwang Klongkum Khet , Bungkum
Bangkok, 10204

The 'Teach and Travel Project' by Global Training Academy brings an amazing opportunity of teaching

Jeducation เรียนภาษาญี่ปุ่น เรียนต่อญี่ปุ่น Jeducation เรียนภาษาญี่ปุ่น เรียนต่อญี่ปุ่น
อาคารลิเบอร์ตี้สแควร์ (ปากซอยคอนแวนต์) ชั้น 23 เลขที่ 287 ห้อง 2303 ถนนสีลม เขตบางรัก
Bangkok, 10500

เรียนภาษาญี่ปุ่น เรียนต่อญี่ปุ่น ทำงานบริษัทญี่ปุ่น

Sejong Korean Edutainment School of Bangkok Sejong Korean Edutainment School of Bangkok
United Center Bld. , 4th Floor 323 Silom Road, Bangrak
Bangkok, 10500

Sejong Korean Edutainment School of Bangkok (세종 한국어 학원) โรงเรียนนี้ไม่เกี่ยวข้องกับทางสถานทูต

Thai Japanese Language & Culture Thai Japanese Language & Culture
Shiawase Group Limited Partnership Meesuwan Tower 10-th Floor Room 203-204 39/203 Soi Pridi-Phanomyong-14 Sukhumvit/71 Khlongtan-nua Wattana
Bangkok, 10110

タイ・日文化&言語交流 แลกเปลี่ยนเรียนรู้ ภาษาและวัฒนธรรม ไทย-ญี่ปุ่น

English Corner Bangklo by Kru Gam English Corner Bangklo by Kru Gam
แฉล้มนิมิตร
Bangkok, 10120

สอนภาษาอังกฤษด้วยหลักสูตรเฉพาะ, สอ?

IH Bangkok & IH Chiang Mai Teacher Training IH Bangkok & IH Chiang Mai Teacher Training
9th Floor, The Trendy Office Building Sukhumvit Soi 13, Khlongtoey-Nua, Wattana
Bangkok, 10110

A top English Language school and Teacher Training centre committed to helping you achieve your goals

Tutor Tom Teaches English Tutor Tom Teaches English
Bangkok

TTTE is a tutoring service that wants to help all people speak better English. Students or professio

Modulo Kids Modulo Kids
Central Plaza Grand Rama 9/fl. 12/#1204, 9/9 Ratchadaphisek Rd. , Huai-Khwang
Bangkok, 10310

The cutest school for childhood learning and development, teaching English, science, maths, creative arts and more. Come meet our friendly teachers for a free trial class at Centra...

Learning Thai by Titima Learning Thai by Titima
Sukhumvit 71, Phrakhanong Nuea Wattana
Bangkok, 10900

Teaching Thai Language to Foreigners รับสอนภาษาและวัฒนธรรม

Bangkok Chinese Tutor 曼谷中文家教 Bangkok Chinese Tutor 曼谷中文家教
Soi Suanplu
Bangkok, 10120

Delivery Chinese/English/Thai courses to your home or anywhere you wish. 中英泰三语 线上/线下 专业家教服务.