สมาคมพ่อค้าเหล็กแห่งประเทศไทย
ตำแหน่งใกล้เคียง บริษัท วิศวกรรม
เลขที่ 1 อาคารเอ็มไพร์ ทาวเวอร์ ชั้น 47 ห้อง 4703 ถ. สาทรใต้ แขวง ยานนาวา เขต สาทร กรุงเทพมหานคร, Sathon
Chongnonsee
สมาคมพ่อค้าเหล็กแห่งประเทศไทย since 1958 ทำการค้าเหล็กทั่วราอาณาจักรไทยมาอย่างยาวนาน มีชื่อเสียงโด่งดังมายาวนาน ในการทำการค้าเหล็กทั่วราชอาณาจักรไทย since 1958
การค้าระหว่างไทยจีนเจริญขึ้นเยอะ
📌เมื่อวันที่ 14 มิถุนายน 2566 สำนักข่าวบลูมเบิร์กรายงานว่า สินแร่เหล็กร่วงลงเป็นครั้งแรกในรอบ 9 ครั้ง เนื่องจากโกลด์แมน แซคส์ กรุ๊ป อิงค์ (Goldman Sachs Group Inc.) เตือนว่าความอ่อนแอของทรัพย์สินน่าจะเป็นตัวฉุดการเติบโตทางเศรษฐกิจของจีนไปอีกหลายปี
📌มูลค่าการผลิตเหล็กในสิงคโปร์ลดลงเกือบ 5% หลังจาก Goldman Sachs ระบุในบันทึกว่ามองเห็นปัญหาอย่างต่อเนื่องในอสังหาริมทรัพย์ของจีน ซึ่งส่วนใหญ่เกี่ยวข้องกับเมืองระดับล่างและการจัดหาเงินทุนของนักพัฒนาเอกชน ไม่มีการแก้ไขอย่างรวดเร็วและการฟื้นตัวของอสังหาริมทรัพย์น่าจะเป็นรูปตัว
📌โดยคำเตือนดังกล่าวเกิดขึ้นหลังจากแร่เหล็กพุ่งขึ้น 14% ในช่วง 8 ครั้งก่อนหน้า เนื่องจากจีนเพิ่มมาตรการเพื่อฟื้นฟูการฟื้นตัวที่ชะงักงัน และยังคาดหวังถึงนโยบายที่ตรงเป้าหมายมากขึ้นเพื่อปรับปรุงตลาดอสังหาริมทรัพย์ ซึ่งเป็นแหล่งอุปสงค์สำคัญสำหรับการผลิตเหล็ก วัตถุดิบ อย่างไรก็ตาม Goldman Sachs กล่าวว่าไม่คาดว่าจะมีการกระตุ้นเศรษฐกิจเฉพาะด้านที่อยู่อาศัยมากขึ้น และเสนอแนะว่าจีนน่าจะพยายามที่จะลดการพึ่งพาทางเศรษฐกิจและการคลังในภาคส่วนนี้
📌ผลผลิตเหล็กดิบของจีนในแต่ละวันมีแนวโน้มลดลงเหลือ 2.94 ล้านตันในต้นเดือนมิถุนายน ลดลง 0.5% จากปลายเดือนพฤษภาคม และ 1.6% จากปีก่อนหน้า เมื่อเศรษฐกิจยังคงสั่นคลอนจากข้อจำกัดด้านโรคระบาด ทั้งนี้แร่เหล็กลดลงมากถึง 4.8% เป็น 107.15 ดอลลาร์ต่อตัน ก่อนที่จะซื้อขายที่ 107.40 ดอลลาร์ ณ เวลา 10.38 น. ในสิงคโปร์ ฟิวเจอร์สใน Dalian ลดลง 3% ในขณะที่เหล็กเส้นและฟิวเจอร์สรีดร้อนชนิดม้วนร่วงลงมากกว่า 1.5% ในเซี่ยงไฮ้
📌เป็นภาพจำขึ้นใจ ของแวดวงอุตสาหกรรมไทย ที่มีความจำเป็นต้องใช้ “เหล็ก และ ผลิตภัณฑ์จากเหล็ก” สำหรับช่วงปี 2564 ที่ครั้งนั้น ราคาเหล็ก ปรับตัวสูงขึ้นมาก อย่างก้าวกระโดด เนื่อง ปริมาณเหล็กในตลาดโลกลดลง จากนโยบายของรัฐบาลจีน ที่เป็นผู้ส่งออกรายใหญ่ของโลก จำกัดการส่งออกเหล็กและการลดกำลังการผลิตในประเทศ
📌ผลกระทบจึงไม่วายที่จะเกิดขึ้นกับประเทศไทยอย่างหนัก เนื่องจาก ไทยอยู่ใน ฐานะที่พึ่งพิง การนำเข้าเหล็กจีน ถึง 35% ของการนำเข้ารวม โดยธุรกิจที่ได้รับผลกระทบมากที่สุด ได้แก่ เครื่องจักรและอุปกรณ์ ภาคก่อสร้าง ยานยนต์และชิ้นส่วน เครื่องใช้ไฟฟ้าและอิเล็กทรอนิกส์
📌เนื่องจาก ธุรกิจเหล่านี้ พึ่งพิงวัตถุดิบเหล็กมาก แต่ความสามารถในการปรับราคาขายต้องใช้เวลานาน ทำให้อัตรากำไรลดลงจากภาวะต้นทุนเหล็กที่เพิ่มสูงขึ้น เดือดร้อนเป็นวงกว้าง จนเกิดการเรียกร้อง ให้รัฐบาลเร่ง ผลักดันนโยบายอุตสาหกรรมเหล็ก 4.0 เพื่อสร้างความยั่งยืน และเสถียรภาพของราคาเหล็กในประเทศระยะยาว
📌หนำซ้ำช่วงปี 2565 ราคาเหล็ก ยังได้รับผลกระทบอย่างหนัก จากปัญหาความขัดแย้ง รัสเซีย-ยูเครน และ ผลพ่วงจากราคาน้ำมัน ค่าขนส่ง แพงขึ้นเป็นระยะๆ ภายใต้ ความต้องการใช้เหล็กถึง 19.6 ล้านตัน ตามการขยายตัวของภาคก่อสร้างโครงสร้างพื้นฐานของรัฐบาลไทย โดยราคาขายเฉลี่ยช่วง มี.ค. 2565 เหล็กขายอยู่ที่ตันละ 25,500 บาท เพิ่มขึ้น 31% และราคาเศษเหล็ก อยู่ที่ตันละ 17,425 บาท เพิ่มขึ้น 34%
📌ปี 2566 ราคาเหล็กถูกลง ย่อตัว -10%
สำหรับปีนี้ ศูนย์วิจัยกสิกรไทย คาดว่า ราคาเหล็กจะถูกลง จากความต้องการ (อุปสงค์) โลกที่ชะลอตัวลง เพราะเศรษฐกิจโลกถดถอย โดยเฉพาะในจีน ความต้องการใช้หดตัวจากภาคอสังหาริมทรัพย์ที่ยังซบเซา ส่งผลภาพรวมราคาเหล็กปีนี้ อาจหดตัว -10% ถึง -6% (ราคาเหล็กไทยเฉลี่ย 5 เดือนแรกปี 66 ปรับลดลงราว -6%) ส่วนปัจจัยภายในเอง ก็ยังจะมาจากความต้องการในไทยถูกกดดัน จากประเด็นค่าครองชีพสูง กดดันการบริโภคของเอกชน และ ความล่าช้าของการลงทุนโครงการขนาดใหญ่ ในช่วงเปลี่ยนผ่านรัฐบาล นอกจากนี้ยังมีโอกาสที่เหล็กจากจีนบางส่วน อาจระบายสต็อกมาที่ไทยมากขึ้น ทำให้ในระยะสั้นๆ ข้างหน้า อาจเห็นราคาเหล็กไทยย่อตัวลงได้อีก
📌อย่างไรก็ดี ราคาเหล็กไทย ยังยืนสูงเมื่อเทียบกับช่วงก่อนโควิด จากต้นทุนการผลิต/การจัดการในประเทศบางด้านที่ปรับตัวสูงขึ้น ทั้งจากค่าไฟต่อหน่วยของธุรกิจที่คาดว่าจะยังราคาสูงอยู่ และค่าแรงขั้นต่ำที่มีแนวโน้มขยับขึ้นอีกตามนโยบายของรัฐบาลชุดใหม่ รวมถึงค่าขนส่งที่ยังยืนสูงตามทิศทางราคา น้ำมันดีเซลที่เป็นต้นทุนหลักในการขนส่ง
📌Net Zero ตัวแปรใหม่ ราคาเหล็กไทย ส่วนประเด็นลบ ปัจจัยใหม่ที่ต้องติดตามในระยะต่อไป ศูนย์วิจัยกสิกรไทย ชี้ว่า อาจเป็นการ ปรับไปสู่เป้าหมาย Net Zero ในระดับอุตสาหกรรมที่เกี่ยวเนื่องกับการใช้เหล็กมากขึ้น อาจส่งผลให้ผู้เล่นในอุตสาหกรรมเหล็กไทยบางส่วนได้รับผลกระทบ โดยเฉพาะภาค ธุรกิจที่มีการส่งออกไปยังบริษัทข้ามชาติขนาดใหญ่ในอุตสาหกรรมที่มีการตั้งเป้าหมายลดการ ปล่อย GHGs อย่างชัดเจน และมีการกำหนดให้ใช้วัตถุดิบที่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อมในการผลิตสินค้าขั้นปลาย
📌เทียบให้เห็นภาพ ขณะนี้ ในอุตสาหกรรมยานยนต์ที่ต้องการเป็นผู้นำด้าน Net Zero (ลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจกสุทธิเป็นศูนย์) ก็ได้มีการตั้งเป้าลดการปล่อยก๊าซ GHGs ให้ได้ 65% ภายในปี 2573 ส่งผลให้บริษัทผลิตยานยนต์ทั่วโลกมีแนวโน้มที่จะหัน ไปใช้เหล็ก Green steel ในการผลิตรถยนต์/ชิ้นส่วนรถยนต์เพิ่มขึ้น กระทบต่อผู้ผลิตเหล็ก/ผู้ค้าเหล็ก/ ผู้ใช้เหล็กเพื่อผลิตชิ้นส่วนรถยนต์ของไทยที่ต้องส่งออกให้กับบริษัทผลิตยานยนต์เหล่านี้จะต้อง จัดซื้อเหล็กวัตถุดิบ ที่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อมมาจำหน่ายหรือใช้ในการผลิตก่อนที่จะสูญเสียฐาน ลูกค้าไป รวมถึงเพื่อเป็นการสร้างความได้เปรียบที่จะได้ฐานลูกค้าใหม่เพิ่มขึ้นด้วย
📌ในระยะสั้น คาดว่าผู้เล่นในห่วงโซ่อุตสาหกรรมเหล็กไทยที่ได้รับผลกระทบ อาจนำเข้าเหล็ก วัตถุดิบ/สินค้าเหล็กที่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อมจำนวนจำกัด เพื่อนำมาผลิตและส่งออกให้กับตลาดที่มี มาตรการทางการค้า/บริษัทข้ามชาติที่มีความต้องการใช้เท่านั้น ขณะที่ ตลาดในประเทศพบว่าปัจจัยกดดัน จากพฤติกรรมผู้บริโภคยังอยู่ในระดับต่ำ รวมถึงตลาดส่งออกหลักอื่นๆ ของไทยยังเป็นประเทศในอาเซียนที่ มาตรการด้านสิ่งแวดล้อมระหว่างประเทศอยู่ในระดับที่มีความเข้มงวดน้อยกว่า
📌อย่างไรก็ดี ในระยะยาว ห่วงโซ่อุตสาหกรรมเหล็กโลกคาดว่าจะมีการทยอยปรับตัวให้สอดรับ กับอุปสงค์ในสินค้าที่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อมที่มีแนวโน้มเพิ่มขึ้น และความเป็นไปได้ของการบังคับใช้ มาตรการ CBAM ในประเทศอื่นๆ เพิ่มเติม รวมถึงกระแส Net Zero ในประเทศผู้ผลิตเหล็กรายสำคัญของโลก โดยเฉพาะประเทศที่เป็นตลาดนำเข้าเหล็กหลักของไทย เช่น ญี่ปุ่น (33%) จีน (24%) และเกาหลีใต้ (10%) เป็นต้น
📌ราคาเหล็ก จ่อปรับฐานใหม่อีกครั้ง ปัจจัยเหล่านี้อาจทำให้ในระยะถัดไป ราคาเหล็กท่ัวโลกมีแนวโน้มปรับฐานใหม่ตาม ต้นทุนการผลิตที่สูงขึ้น ส่งผลให้ทุกผู้เล่นในห่วงโซ่อุตสาหกรรมเหล็กไทยคงหลีกเลี่ยงต้นทุนเหล็ก วัตถุดิบ/สินค้าเหล็กที่อาจปรับเพิ่มขึ้นนี้ได้ยาก จนกว่าการผลิตของอุตสาหกรรมเหล็กโลกในภาพรวมจะสามารถผลิตด้วยเทคโนโลยีใหม่จนเกิดการประหยัดต่อขนาด (Economy of Scale) จึงจะทำให้ราคาเหล็กโลกถูก ลงได้บ้าง
📌“มองไปข้างหน้า ถึงแม้ในปัจจุบันความเร่งด่วนในการปรับตัวของผู้เล่นในอุตสาหกรรมเหล็ก ไทยอาจยังมีไม่มากและจำกัดเฉพาะกลุ่มที่อาจได้รับผลกระทบก่อน แต่ในระยะถัดไปคาดว่าการขับเคลื่อนเป้าหมาย Net Zero ในภาพรวมทั้งในประเทศและต่างประเทศน่าจะครอบคลุมทุกภาคส่วน ทำให้ภาคธุรกิจที่เกี่ยวข้องในอุตสาหกรรมเหล็กไทยคงต้องทยอยปรับตัว เพื่อลดผลกระทบของต้นทุน ส่วนเพิ่มจากราคาเหล็กวัตถุดิบ/สินค้าเหล็กที่อาจปรับฐานสูงขึ้น และการต้องจ่ายภาษีคาร์บอนทั้งใน ประเทศและตลาดคู่ค้า รวมถึงเพื่อลดความเสี่ยงจากการเสียโอกาสในการเข้าถึงแหล่งเงินทุน ซึ่งอาจ ส่งผลต่อความสามารถในการทำกำไรและความสามารถในการแข่งขันของภาคธุรกิจในระยะยาวได้”
📌วิบากกรรมของอุตสาหกรรมเหล็กไทยยังมีไม่จบสิ้น แม้จะมีบางช่วงราคาในตลาดดีดตัวดีขึ้น แต่ก็เป็นเพียงระยะสั้น เทียบกับปัจจัยลบที่มีอยู่มาก ทั้งความเสี่ยงจากภาวะเศรษฐกิจเติบโตตํ่า การชะลอตัวของภาคการก่อสร้างทั้งภาครัฐและเอกชน นอกจากนี้การทุ่มตลาดสินค้าเหล็กจากต่างประเทศที่ยังมีต่อเนื่อง ภาพรวมตลอดปี2566 อุตสาหกรรมเหล็กไทยจะเป็นอย่างไร ?
📌ระดับวิกฤตใช้กำลังผลิตตํ่ากว่า 30%
ต่อคำถามภาพรวมอุตสาหกรรมเหล็กถึงจุดตํ่าสุดในรอบปีแล้วหรือยัง ทั้งในแง่ความต้องการของตลาด และราคา นายนาวา ฉายภาพว่า ราคาสินค้าเหล็กในประเทศกลางปี 2566 ได้ปรับลดลงจากช่วงไตรมาสแรกแล้วกว่า 10% จากภาวะเศรษฐกิจที่เติบโตตํ่าของไทย การก่อสร้างทั้งภาครัฐและเอกชนชะลอตัว รวมถึงผลกระทบจากสินค้าเหล็กจากต่างประเทศทุ่มตลาด โดยช่วงเดือน ม.ค.- เม.ย. 2566 มีสินค้าเหล็กนำเข้าเพิ่มขึ้น 19% ขณะที่การผลิตเหล็กในประเทศมีปริมาณลดลง 10% ส่งผลให้อุตสาหกรรมเหล็กในประเทศมีอัตราการใช้กำลังการผลิตเฉลี่ยช่วงแรกของปี 2566 ตํ่ากว่า 30% ถือเป็นระดับวิกฤต
โดยโรงงานผลิตเหล็กทรงยาวในประเทศ ได้แก่ เหล็กเส้น เหล็กข้ออ้อย เหล็กลวด เหล็กเฮชบีม เหล็กไอบีม มีกำลังการผลิตทุกโรงงานรวม 14.6 ล้านตันต่อปี แต่ปัจจุบันใช้กำลังการผลิตเพียง 33% เท่านั้น ส่วนเหล็กทรงแบน ได้แก่ เหล็กแผ่นรีดร้อน เหล็กแผ่นรีดเย็น เหล็กแผ่นเคลือบต่างๆ มีกำลังการผลิตรวม 9.0 ล้านตันต่อปี แต่ปัจจุบันใช้กำลังการผลิตเพียง 24% เท่านั้น เทียบกับภาพรวมทุกประเทศทั่วโลกมีกำลังการผลิตเหล็ก 2,463 ล้านตัน แต่มีการใช้กำลังการผลิตจริงเฉลี่ย 74.3% ถือเป็นอัตราการใช้กำลังการผลิตที่ค่อนข้างตํ่า
📌5 เดือนจีนส่งออกเหล็กพุ่ง 41%
นายนาวา กล่าวอีกว่า จีนเป็นประเทศผู้ทุ่มตลาดสินค้าเหล็กสูงสุดในโลก ช่วง 5 เดือนแรกปีนี้ จีนผลิตเหล็กดิบกว่า 440 ล้านตัน เพิ่มขึ้น 4.1% ซึ่งเป็นการกลับมาผลิตเหล็กสูงสุดในรอบ 7 ปี ขณะที่ความต้องการใช้เหล็กในประเทศของจีนทรงตัว จึงมีการส่งออกมากถึง 36.4 ล้านตัน เพิ่มขึ้น 41% เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน ส่งผลให้สินค้าเหล็กในภูมิภาคอาเซียนซึ่งเป็นเป้าส่งออกหลักของจีนราคาถดถอย ดังนั้นหากจีนยังคงการผลิตที่เพิ่มขึ้น การส่งออกเหล็กจากจีนน่าจะยังมากต่อเนื่อง
📌ห่วงเหล็กล้นตลาดอาเซียน
ขณะเดียวกันสิ่งที่อุตสาหกรรมเหล็กห่วงคือ การผลิตเหล็กที่มากเกิน (โอเวอร์ซัพพลาย) เฉพาะอย่างยิ่งผู้ผลิตเหล็กรายใหญ่สุดของโลกคือจีน ที่ผลิตเหล็ก 1,108 ล้านตันต่อปี คิดเป็นสัดส่วนถึง 54% ของการผลิตเหล็กทั้งโลก และปัญหาโอเวอร์ซัพพลายนี้กำลังขยายลุกลามเกิดขึ้นในกลุ่มอาเซียน
จากข้อมูลสถาบันเหล็กและเหล็กกล้าแห่งอาเซียน (SEAISI) ปัจจุบันกลุ่มอาเซียนมีกำลังการผลิตเหล็กรวม 75.3 ล้านตันต่อปี แต่มีโครงการสร้างโรงงานเหล็กเพิ่มเติมในกลุ่มอาเซียน ได้แก่ 1.มาเลเซีย เพิ่มกำลังการผลิตจาก 17.5 ล้านตัน เป็น 52.8 ล้านตันต่อปี 2.อินโดนีเซีย เพิ่มจาก 24.9 ล้านตัน เป็น 46.7 ล้านตันต่อปี 3.เวียดนาม จาก 24.7 ล้านตัน เป็น 30.3 ล้านตันต่อปี และ 4.ฟิลิปปินส์ จาก 10.1 ล้านตัน เป็น 25.3 ล้านตันต่อปี ในปี 2569 กำลังการผลิตเหล็กรวมของประเทศต่าง ๆ ในอาเซียนคาดจะเพิ่มขึ้นเท่าตัวเป็น 151.9 ล้านตันต่อปี มากเกินความต้องการ จะนำมาซึ่งสงครามการค้าและการทุ่มตลาดสินค้าเหล็กในภูมิภาคอาเซียนรุนแรงขึ้น หากประเทศใดละเลยไม่มีมาตรการป้องกัน จะเป็นเป้าหมายหลักที่ถูกทุ่มตลาดอย่างแน่นอน
📌มองดีมานด์-ซัพพลายในประเทศ
สำหรับตลาดเหล็กในประเทศดีมานด์-ซัพพลายทั้งปีจะเป็นอย่างไร นั้นนายนาวา กล่าวว่า ประเทศไทยเคยมีสถิติความต้องการใช้เหล็กสูงสุดในปี 2559 มากถึง 19.28 ล้านตัน แต่หลังจากนั้นความต้องการใช้เหล็กก็ลดน้อยลง โดยในปี 2565 ประเทศไทยมีความต้องการใช้เหล็กรวม 16.39 ล้านตัน ซึ่งถือเป็นปริมาณต่ำสุดในรอบ 12 ปีหลังสุด โดยสามารถจำแนกการใช้เหล็กของประเทศไทยตามสัดส่วนได้ดังนี้
สัดส่วนตามแหล่งผลิตเหล็ก คือ เหล็กนำเข้า 68.5% โดยส่วนใหญ่เป็นสินค้าเหล็กทรงแบน เช่น เหล็กแผ่นรีดร้อน เหล็กแผ่นเคลือบสังกะสี เหล็กผลิตในประเทศไทย 31.5% สัดส่วนตามปริมาณที่ใช้งานในภาคต่างๆ คือ 1.ก่อสร้าง 57% 2.ยานยนต์ 22% 3.เครื่องใช้ไฟฟ้า 8% 4.เครื่องจักรกล 7% 5.บรรจุภัณฑ์ 6% และสัดส่วนตามประเภทเหล็กที่ใช้ คือ เหล็กทรงแบน 62% และ เหล็กทรงยาว 38%
คาดการณ์ว่าในปี 2566 ความต้องการใช้เหล็กของประเทศไทยจะปรับตัวดีกว่าปีก่อน จากทิศทางการเติบโตทางเศรษฐกิจ และปัญหาคอขวดในห่วงโซ่อุปทานได้คลี่คลายลง แต่อัตราเงินเฟ้อที่เพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่อง ค่าไฟฟ้าแพง และอัตราดอกเบี้ยที่สูง จะจำกัดการฟื้นตัวของความต้องการใช้เหล็ก และที่สำคัญขึ้นอยู่กับการจัดตั้งรัฐบาลใหม่ว่าจะมีความราบรื่นทางการเมืองและทันการณ์เพียงใด และความสามารถของทีมเศรษฐกิจของรัฐบาลที่จะมาขับเคลื่อนเศรษฐกิจและบริหารจัดการงบประมาณภาครัฐในครึ่งหลังของปีนี้ โดยความต้องการใช้เหล็กของประเทศไทยปี 2566 มีโอกาสเติบโตขึ้นระหว่าง 1.9% - 3.7% เป็น 16.7 - 17.0 ล้านตัน ในขณะที่โรงงานเหล็กในประเทศไทยซึ่งมีกำลังการผลิตสำเร็จรูป (Finished Steel Products) รวม 13.8 ล้านตัน แต่จะใช้กำลังการผลิตจริงเพียง 4.7 – 5.0 ล้านตัน ในขณะที่อีก 12 ล้านตันจะเป็นสินค้าเหล็กนำเข้ามาแบ่งตลาด
📌ไตรมาส3 จะผ่านจุดต่ำสุด
อย่างไรก็ตาม คาดการณ์ว่าราคาสินค้าเหล็กในตลาดโลกจะผ่านจุดต่ำสุดภายในไตรมาส 3 แล้วปรับตัวสูงขึ้นในไตรมาสที่ 4 เนื่องจากรัฐบาลจีนได้ประกาศจะควบคุมลดปริมาณการผลิตเหล็กของจีนลงในครึ่งหลังของปี รวมถึงการลดการผลิตเหล็กในช่วงฤดูหนาวของจีน ที่เรียกกันว่า Winter-Cut เพื่อลดมลภาวะทางสิ่งแวดล้อมด้วย ประกอบกับมาตรการกระตุ้นเศรษฐกิจด้านอสังหาริมทรัพย์ของจีนที่กำลังดำเนินการอยู่ น่าจะเริ่มเห็นผลทำให้ความต้องการใช้เหล็กภายในประเทศจีนช่วงปลายปีกระเตื้องขึ้น
ดังนั้น ราคาสินค้าเหล็กในประเทศไทยไม่น่าจะเหวี่ยงตัวมากในไตรมาสที่ 3 และมีโอกาสขยับสูงขึ้นในไตรมาสที่ 4 โดยเชื่อว่าความต้องการใช้เหล็กของประเทศไทยในครึ่งปีหลังน่าจะมากกว่าครึ่งปีแรกจากการค่อย ๆ ฟื้นตัวทางเศรษฐกิจของประเทศไทย โดยเฉพาะอย่างยิ่งถ้ารัฐบาลใหม่มีความมั่นคงทางการเมือง และสามารถขับเคลื่อนแก้ไขปัญหาเศรษฐกิจต่าง ๆ ได้ดี
📌รองอธิบดีกรมการค้าต่างประเทศ เปิดรับฟังและให้คำปรึกษาอุตสาหกรรมเหล็กไทยรับมือสินค้าเหล็กจากต่างประเทศเข้าไทยต่อเนื่อง ในขณะเดียวกันก็ให้ความเป็นธรรมต่อผู้นำเข้าเหล็ก หากมีการนำเข้าตามกลไกของราคาปกติ ไม่มีการทุ่มตลาดหรืออุดหนุนด้านราคา
📌นายนพดล คันธมาศ รองอธิบดีกรมการค้าต่างประเทศกล่าวว่า ข้อมูลสถิติจาก Worldsteel Association ได้รายงานว่า ในปี 2565 ประเทศที่มีการนำเข้าเหล็กสูงสุด 3 อันดับ ได้แก่ สหภาพยุโรป 48.1 ล้านตัน สหรัฐอเมริกา 28.9 ล้านตัน และ เยอรมัน 21 ล้านตัน สำหรับประเทศไทยมีการนำเข้าเหล็กในปริมาณ 13.4 ล้านตัน เป็นอันดับที่ 8 ของโลกสำหรับสถานการณ์การนำเข้าเหล็กของไทยในช่วงเดือนมกราคม – พฤษภาคม 2566 ตามข้อมูลของ Global Trade atlas พบว่าไทย มีปริมาณการนำเข้า 4.41 ล้านตัน เพิ่มขึ้น 15.33% เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน โดย 3 ประเทศหลักที่มีสัดส่วนการนำเข้าสูงสุด ได้แก่ (1) จีน (42.76%) (2) ญี่ปุ่น (37.31%) และ (3) เกาหลีใต้ (12.15%) จากการนำเข้ารวมทั้งหมด
📌สำหรับประเทศจีน ซึ่งเป็นประเทศผู้ส่งออกสินค้าเหล็กรายใหญ่ของโลก ในช่วง 5 เดือนแรกของปี 2566 จีนมีการส่งออกไปยังประเทศต่างๆ รวมทั้งสิ้น 29.7 ล้านตัน โดย 5 ประเทศแรกที่จีนมีการส่งออกมากที่สุด ได้แก่ (1) เกาหลีใต้ 3 ล้านตัน (10.10%) (2) เวียดนาม 2.7 ล้านตัน (9.26%) (3) ตุรกี 2.2 ล้านตัน (7.35%) (4) ไทย 1.8 ล้านตัน(6.28%) และ (5) สหรัฐอาหรับ เอมิเรตส์ 1.3 ล้านตัน (4.54%) ของการส่งออกรวมทั้งหมด
📌ทั้งนี้ กรมฯสนับสนุนการนำเข้าสินค้าจากต่างประเทศที่ดำเนินการอย่างถูกต้องตามระเบียบหรือข้อตกลงทางการค้าเพื่อเป็นการเพิ่มทางเลือกให้กับผู้บริโภคให้ได้ของมีคุณภาพในราคาที่เหมาะสม ดังนั้น พร้อมอำนวยความสะดวกทางการค้าและปกป้องและรักษาผลประโยชน์ทางการค้า จะกำกับและดูแลให้มีการแข่งขันทางการค้าอย่างเป็นธรรมแก่ทุกฝ่าย หากผู้ประกอบการมีข้อกังวล หรือได้รับผลกระทบต่อการดำเนินธุรกิจ ซึ่งเกิดจากการนำเข้าสินค้าจากต่างประเทศ โดยอาจเป็นการทุ่มตลาดหรือมีการหลบเลี่ยงมาตรการตอบโต้การทุ่มตลาด สามารถขอคำปรึกษาเกี่ยวกับข้อกำหนดในการยื่นคำขอให้ กรมฯเปิดไต่สวนมาตรการ AD หรือ AC เพิ่มเติมได้
📌อย่างไรก็ตาม การดำเนินการไต่สวนเพื่อกำหนดใช้มาตรการ AD หรือ AC เป็นการดำเนินการตามขั้นตอนตามที่พ.ร.บ. การตอบโต้การทุ่มตลาดและการอุดหนุนซึ่งสินค้าจากต่างประเทศ พ.ศ. 2542 และที่แก้ไขเพิ่มเติมฯ กำหนดซึ่งเป็นกระบวนการที่โปร่งใส รับฟังข้อมูลข้อคิดเห็นจากทุกฝ่าย และข้อมูลที่นำมาใช้พิจารณามีการตรวจสอบความถูกต้องอย่างละเอียดรอบคอบ
📌สำหรับขั้นตอนการเปิดไต่สวนนั้น เมื่อกรมฯได้ตรวจสอบข้อมูลคำขอของผู้ยื่นคำขอแล้วพบว่าครบถ้วนถูกต้องจะนำเสนอข้อมูลดังกล่าวต่อคณะกรรมการพิจารณาการทุ่มตลาด (ทตอ.) เพื่อพิจารณาเปิดไต่สวน ดังนั้น จึงขอให้ภาคเอกชนและผู้ที่เกี่ยวข้องทุกฝ่ายให้ความเชื่อมั่นในการกระบวนการไต่สวนและการดำเนินการของกรมฯว่าดำเนินการอย่างเป็นธรรมและโปร่งใส เพื่อรักษาผลประโยชน์ประเทศเป็นสำคัญ.-สำนักข่าวไทย
📌สาย No Vat +4% ต้องระวังปีหน้า!!!! หลังสรรพากรคาดออกพระราชกฤษฎีกาเพื่อนำระบบการตรวจสอบภาษีมูลค่าเพิ่มแบบย้อนหลัง หรือ Reverse Charge VAT มาใช้กับธุรกิจค้าเหล็กต้นปีหน้า เพื่อป้องกันการทุจริตขอคืนภาษี เผยกว่าครึ่งหนึ่งของใบกำกับภาษีปลอมมาจากธุรกิจดังกล่าว
📌นายลวรณ แสงสนิท อธิบดีกรมสรรพากรเปิดเผยว่า กรมสรรพากร คาดว่า ภายในเดือน ม.ค.ปีหน้า จะสามารถนำระบบ Reverse Charge VAT มาใช้กับธุรกิจรับซื้อเศษเหล็ก เพื่อแก้ไขปัญหาการทุจริตการโกงภาษีมูลค่าเพิ่มในธุรกิจดังกล่าว โดยกรมฯจะต้องออกเป็นพระราชกฤษฎีกาเพื่อบังคับใช้ ซึ่งจะกำหนดให้ธุรกิจโรงหลอมเหล็ก เป็นผู้ออกใบกำกับภาษีซื้อและขายด้วยตัวเอง และเป็นผู้นำส่งภาษีมูลค่าเพิ่มให้กับกรมฯ
📌ทั้งนี้ ในระบบการค้าขาย (eco system) ของธุรกิจค้าเศษเหล็กนั้น ธุรกิจโรงหลอมเหล็กถือเป็นคนซื้อสุดท้ายของธุรกิจ โดยในระบบการค้าธุรกิจค้าเหล็ก จะเริ่มจากผู้รับซื้อเศษเหล็กรายย่อย เช่น คนที่ขี่รถซาเล้ง ออกไปรับซื้อเศษเหล็กตามบ้าน เพื่อมานำส่งขายให้กับผู้รวบรวมเศษเหล็ก ซึ่งมีทั้งรายเล็กและรายใหญ่ จากนั้นผู้รวบรวมเศษเหล็ก ก็ขายเศษเหล็กให้กับโรงหลอมเหล็ก เพื่อแปรรูปเหล็กนำกลับมาใช้อีกครั้ง
📌“ปัจจุบันภาษีมูลค่าเพิ่ม กำหนดให้ผู้ขายเป็นผู้ออกใบกำกับภาษีขาย ดังนั้น เมื่อบริษัทผู้รวบรวมเหล็กขายเหล็กให้กับโรงหลอมเหล็ก บริษัทต้องออกใบกำกับภาษีขายให้กับโรงหลอม ทำให้ผู้ขายทำหน้าที่นำส่งภาษีมูลค่าเพิ่มที่อยู่ในอัตรา 7% อย่างไรก็ตาม พระราชกฤษฎีกาฉบับนี้ จะกำหนดให้ธุรกิจโรงหลอมเหล็ก เป็นผู้ออกใบกำกับภาษีขาย แทนธุรกิจผู้รวบรวมเศษเหล็ก”
📌สำหรับสาเหตุที่ต้องแก้ไขกฎหมายดังกล่าว เนื่องจากเกิดปัญหาการปลอมใบกำกับภาษีมูลค่าเพิ่มในธุรกิจนี้จำนวนมาก ซึ่งมีทั้งที่ตั้งใจปลอมใบกำกับภาษีมูลค่าเพิ่ม เพื่อหวังขอคืนภาษีมูลค่าเพิ่มมากกว่าปกติ และมีทั้งที่ไม่ได้ตั้งใจปลอมใบกำกับภาษี
📌“เรามีคดีที่เกี่ยวกับการโกงใบกำกับภาษีในธุรกิจค้าเหล็กเยอะ เราก็ตรวจเข้ม ก็ไปดูจะทำอย่างไร ได้ทางออกมาแล้ว คือ ระบบภาษีมูลค่า มีกลไกหนึ่งที่เรียกว่า Reverse Charge หรือ การตรวจสอบย้อนหลัง ถ้าเราเชื่อมั่นในการทำธุรกิจขนาดใหญ่ของเขา เขาสามารถทำหน้าที่ทั้งภาษีขายและภาษีซื้อได้ทั้งสองขา เรากำลังดำเนินการด้านกฎหมาย และคุยกับผู้ประกอบการแล้ว เขาก็เห็นด้วย”
📌เขากล่าวว่า กว่าครึ่งหนึ่งของใบกำกับภาษีมูลค่าเพิ่มที่ปลอม มาจากธุรกิจค้าเศษเหล็ก ซึ่งปัญหาเรื่องใบกำกับภาษีมูลค่าเพิ่มปลอม เพื่อนำมาใช้เป็นหลักฐานในการขอคืนภาษีจากกรมสรรพากรนั้น เป็นปัญหาที่เกิดขึ้นมาอย่างอย่างนาน ทำให้กรมฯต้องใช้บุคคลกากรของกรมตรวจสอบการขอคืนอย่างเข้มงวดเนื่องจาก เป็นเรื่องที่กรมฯยอมรับไม่ได้ กับการนำใบกำกับภาษีปลอมมายื่นขอคืนภาษี และกระทบต่อธุรกิจที่ดี ที่อาจได้รับใบกำกับภาษีปลอม จากธุรกิจที่ขายสินค้าให้กัน ทำให้ธุรกิจที่ดีเหล่านั้นต้องถูกกรมสรรพากรตรวจสอบไปด้วย
📌“ระบบ Reverse Charge VAT เป็นระบบที่หลายประเทศได้นำมาใช้ เพื่อแก้ไขปัญหาในระบบภาษีมูลค่าเพิ่ม ที่อาจมีความยุ่งยากในการออกใบกำกับภาษีมูลค่าเพิ่ม จนถึงปิดรูรั่วไหลของการการออกใบกำกับภาษีโดยมิชอบ”
📌ในระบบภาษีมูลค่าเพิ่มตามปกตินั้น ธุรกิจเมื่อมีการขายสินค้าและบริการให้กับลูกค้า จะต้องออกใบกำกับภาษีให้กับลูกค้า โดยบวกภาษีมูลค่าเพิ่มในอัตรา 7% เพื่อนำส่งให้กับกรมสรรพากร โดยเรียกว่าภาษีขาย ส่วนใบกำกับภาษีของผู้ซื้อ เรียกว่า ภาษีซื้อ ซึ่งกรณีผู้ซื้อเป็นธุรกิจที่จดทะเบียนในระบบภาษีมูลค่าเพิ่ม สามารถนำภาษีซื้อมาหักออกจากภาษีขาย เพื่อคำนวนภาษีมูลค่าเพิ่มที่ธุรกิจต้องจ่าย ซึ่งหากภาษีซื้อมากกว่าภาษีขายธุรกิจสามารถขอคืนภาษีได้
📌การให้ธุรกิจโรงหลอมเหล็ก ซึ่งถือเป็นผู้ซื้อทอดสุดท้าย ของธุรกิจค้าเศษเหล็ก ซึ่ง eco system ของธุรกิจนี้มีผู้ค้าเศษเหล็กตั้งรายเล็กจนถึงรายใหญ่ เป็นจำนวนมาก และมีทั้งเป็นผู้ค้าที่อยู่ในระบบ ภาษีมูลค่าเพิ่ม และมีผู้ค้าที่ไม่ได้อยู่ในระบบภาษีมูลค่าเพิ่ม การให้โรงหลอมเหล็กออกใบกำกับภาษีมูลค่าเพิ่ม แทนผู้ค้าเศษเหล็กที่นำเศษเหล็กมาขายให้ จะทำให้ระบบการตรวจสอบทำได้ง่ายขึ้น เนื่องจาก โรงหลอมเหล็กเป็นธุรกิจขนาดใหญ่ และมีจำนวนไม่มาก
📌ทั้งนี้ ภาษีมูลค่าเพิ่ม ถือเป็นรายได้สำคัญของกรมสรรพากรและของรัฐบาล โดยภาษีมูลค่าเพิ่มคิดเป็นสัดส่วน 42.94 % ของรายได้ของกรมสรรพากร ในปีงบประมาณ 2565 กรมสรรพากร สามารถจัดเก็บภาษีได้รวม 2.166 ล้านล้านบาท ซึ่งในจำนวนนี้มาจากภาษีมูลค่าเพิ่มถึง 9.30 แสนล้านบาท สำหรับในช่วง 8 เดือนแรกของปีงบประมาณ 2565 (ต.ค.2565 ถึง พ.ค.2566 )กรมสรรพากร เก็บภาษีได้รวม1.304 ล้านล้านบาท ในจำนวนนี้เป็นภาษีมูลค่าเพิ่ม 6.13 แสนล้านบาท
📌ความต้องการใช้เหล็กยังคงอ่อนแอ แต่ผู้ผลิตกลับเพิ่มราคาขึ้นหกเท่าในปีนี้เนื่องจากต้นทุนการผลิตที่เพิ่มขึ้น
📌จากสถิติของสมาคมเหล็กเวียดนามแสดงให้เห็นว่าราคาเหล็กเฉลี่ย ณ สิ้นเดือนกุมภาพันธ์เพิ่มขึ้น 5% เมื่อเทียบกับสิ้นปี 2565 แต่ปีนี้ยังคงต่ำกว่าช่วงเดียวกันของปีที่แล้ว 8%
📌จากข้อมูลของ Steel Online ผู้จัดจำหน่ายของแบรนด์ใหญ่หลายแบรนด์ เช่น Hoa Phat, Viet Y, Kyoie และ Pomina ได้มีการปรับขึ้นราคาขายปัจจุบัน เนี่องจากมีการปรับขึ้นราคาวัตถุดิบนำเข้าที่พุ่งสูงขึ้น สมาคมเหล็กเวียดนามกล่าว พร้อมเสริมว่าผู้ผลิตเหล็กในประเทศต้องเพิ่มราคาขายเพื่อลดการขาดทุน อีกทั้งทางด้าน Vietcombank Securities กล่าวว่า ราคาวัตถุดิบนำเข้าในตลาดโลก เช่น แร่เหล็ก และเศษเหล็ก มีแนวโน้มสูงขึ้นตั้งแต่ปลายปีที่แล้ว โดยสาเหตุหลักมาจากการคาดการณ์การผลิตเหล็กของจีนที่ฟื้นตัวหลังจากเปิดทำการอีกครั้ง
📌ทางนาย Bui Duy Anh รองผู้อำนวยการทั่วไปของ Steel Online กล่าวกับ VnExpress ว่าการปรับขึ้นราคาขายเป็นผลมาจากการขาดแคลนเหล็กแท่ง ซึ่งเป็นผลมาจากการปิดโรงงานเหล็กแท่งบางแห่งเมื่อปีที่แล้ว Steel Online คาดการณ์ว่าการบริโภคเหล็กจะชะลอตัวลงในอีกไม่กี่เดือนข้างหน้า เมื่อมีโครงการก่อสร้างทางโยธาน้อยลงเนื่องจากเศรษฐกิจมหภาคที่ล้าหลัง ราคาขายเหล็กมีแนวโน้มที่จะออกด้านข้างในอีกไม่กี่เดือนข้างหน้า และการขาดแคลนเหล็กแท่งอาจสิ้นสุดลงประมาณเดือนพฤษภาคม เนื่องจากโรงงานบางแห่งได้เริ่มเตาหลอมเหล็กแท่งใหม่อีกครั้ง ตามรายงานของ Steel Online
📌นอกจากนี้ทางภาคตลาดอสังหาริมทรัพย์ทั่วโลกที่ซบเซาเป็นอุปสรรคใหญ่ต่อการเติบโตของอุตสาหกรรมเหล็กในปีนี้ การก่อสร้างอสังหาริมทรัพย์ซึ่งมีสัดส่วนถึง 60% ของความต้องการใช้เหล็กทั้งหมดนั้นซบเซาเนื่องจากผู้พัฒนาโครงการประสบปัญหาในการเข้าถึงแหล่งเงินทุนใหม่และจากความเสี่ยงทางกฎหมาย
https://www.smeleader.com/%E0%B8%A3%E0%B8%A7%E0%B8%A1%E0%B9%82%E0%B8%A3%E0%B8%87%E0%B8%87%E0%B8%B2%E0%B8%99%E0%B9%80%E0%B8%AB%E0%B8%A5%E0%B9%87%E0%B8%81/
รายชื่อโรงงานเหล็ก
รวมรายชื่อ “โรงงานเหล็ก” บริษัทผลิตเหล็ก โรงงานเหล็กเส้น โรงงานตัดเหล็ก - SMELeader : เริ่มต้นธุ รวมรายชื่อบริษัท/โรงงาน “โรงงานเหล็ก”, บริษัทผลิตเหล็ก, โรงงานเหล็กเส้น, โรงงานตัดเหล็ก, โรงงานรีดเหล็ก, โรง...
แผนภาพรวมสมาคมพ่อค้าเหล็กแห่งประเทศไทยปี 2566 คือ ตั้งรับและสวนกลับ
ร้าน เล่า เอี้ยว เฮง จำหน่าย เหล็ก สกรู น็อต ทั่วราชอาณาจักรไทย
โทร 02 622 6072
https://www.ryt9.com/s/iq05/3369810
TSTH คาดยอดขายเหล็ก H2 โตกว่า H1 แต่งวดปี 66 ลดลง 5% นายราจีฟ มังกัล กรรมการผู้จัดการใหญ่ บมจ.ทาทา สตีล (ประเทศไทย) (TSTH) เปิดเผยว่า บริษัทฯ คาดปริมาณการขายเหล็กในค...
บริษัท ส ศิริยนต์เทรดดิ้ง จำกัด
หมวดหมู่ : ขายปลีกชิ้นส่วนและอะไหล่รถยนต์
ที่อยู่ 108 ถนนเฉลิมเขต 2 แขวงวัดเทพศิรินทร์ เขตป้อมปราบศัตรูพ่าย กรุงเทพมหานคร 10100โทรศัพท์ 0-2223-4292
สมาคมพ่อค้าเหล็กแห่งประเทศไทย สมาคมพ่อค้าเหล็กแห่งประเทศไทย since 1958
ข่าวเหล็กรอบโลก
อินเดีย
- รัฐกำหนดภาษีการส่งออกเหล็กเป็น 15%
ตุรกี
- การนำเข้าเศษเหล็กของตุรกีราคาเพิ่มสูงขึ้น
เอเชีย
- แร่เหล็กทรงตัวตามอุปสงค์ลดลง
- การนำเข้าถ่านหินโค้กของจีนเพิ่มขึ้นในเดือนเมษายน
- ผลผลิตเหล็กดิบของญี่ปุ่นลดลงในเดือนเมษายน
CIS
- ราคาเศษเหล็กในรัสเซียดิ่งลง
- รัสเซียวางแผนลดภาษีและมาตรการอื่นๆ เพื่อสนับสนุนอุตสาหกรรมเหล็ก
โปแลนด์
- JSW ของโปแลนด์ ผลประกอบการราคาถ่านหินพุ่งสูงขึ้น
อาทิตย์ สตีล รายงาน
ขอบคุณแหล่งข่าว metalexpert.com
ขอบคุณภาพจาก moneycontrol.com
-----------------------
สนใจขอใบเสนอราคาได้ที่
เบอร์โทร 081-929-9194
Inbox Facebook หรือ
Line: https://page.line.me/artidsteel
❗️ ราคาอาจมีการเปลี่ยนแปลงได้ กรุณาสอบถามอีกครั้งก่อนการสั่งซื้อ
ข่าวเหล็กรอบโลก By อาทิตย์สตีล
ตุรกี
- ภาคเหล็กเส้นของตุรกีเริ่มฟื้นตัวหลังแนวโน้มขาลงเป็นเวลานาน
- การนำเข้าเศษเหล็กหยุดนิ่ง
สหรัฐอาหรับเอมิเรตส์
- นโยบายของเดือนมิถุนายนสำหรับเหล็กเส้น ขนาด 12-40 มม.
จำหน่ายที่ 750 ดอลลาร์สหรัฐ/ตัน จะลดลง 114 ดอลลาร์สหรัฐ/ตัน
เอเชีย
- จีนเดินหน้ากลยุทธ์ Triangle Business โดยส่วนใหญ่ซื้อต้นทางจากรัสเซีย
- โตเกียว สตีล ตัดสินใจลดราคาซื้อเศษเหล็ก
- ผู้ผลิตแร่เหล็กในอินเดียลดราคาแร่เหล็กในประเทศ 8-10 ดอลลาร์สหรัฐ/ตัน
- อินเดียเพิ่มการผลิตแร่เหล็กขึ้น 24%
รัสเซีย
- การส่งออกท่อจากรัสเซียจะลดลงเหลือ 1.06 ล้านตัน
- รัสเซียเสนอขายบิลเล็ตต่ำกว่า 600 ดอลลาร์สหรัฐ/ตัน
ยุโรป
- อิตาลีราคาเหล็กเส้นร่วงอย่างต่อเนื่อง
- ประเทศในยุโรปคาดว่าการนำเข้าและราคาเหล็กม้วนจะชะลอตัวลงในอีกไม่กี่สัปดาห์จากผลกระทบภาษีส่งออกใหม่ของอินเดีย
อเมริกา
- การนำเข้าเหล็กของสหรัฐฯ ลดลง 12% ในเดือนเมษายน
ขอบคุณแหล่งข่าว metalexpert.com
ขอบคุณภาพจาก thanasarn.co.th
-----------------------
สนใจขอใบเสนอราคาได้ที่
เบอร์โทร 081-929-9194
Inbox Facebook หรือ
Line: https://page.line.me/artidsteel
❗️ ราคาอาจมีการเปลี่ยนแปลงได้ กรุณาสอบถามอีกครั้งก่อนการสั่งซื้อ
https://www.facebook.com/thaiironmerchantgroup/
ฝากโปรโมต และแลกลิงค์ด้วยนะครับ
สมาคมพ่อค้าเหล็กแห่งประเทศไทย สมาคมพ่อค้าเหล็กแห่งประเทศไทย since 1958
รวมรายชื่อ "โรงงานชุบโลหะ" โรงชุบกัลวาไนซ์ ,โรงงานชุบโครเมี่ยม ,โรงชุบเหล็ก ,โรงชุบสังกะสี รวมรายชื่อบริษัท/โรงงาน “โรงงานชุบโลหะ”, โรงชุบกัลวาไนซ์ ,โรงงานชุบโครเมี่ยม ,โรงชุบโครเมี่ยม ,โรงชุบโลหะ ,โ...
https://www.108company.com/steel-manufacturing/
โรงงานผลิตเหล็ก | ฐานข้อมูลรายชื่อบริษัทในประเทศไทย | The Thailand Company Directory
https://iiu.isit.or.th/th/directory/category.aspx?Group=1&Category=77
IIU | Iron & Steel Inteligence Unit | รายชื่อผู้ประกอบการเหล็กในประเทศไทย
รวมรายชื่อ “โรงงานเหล็ก” บริษัทผลิตเหล็ก โรงงานเหล็กเส้น โรงงานตัดเหล็ก - SMELeader รวมรายชื่อบริษัท/โรงงาน “โรงงานเหล็ก”, บริษัทผลิตเหล็ก, โรงงานเหล็กเส้น, โรงงานตัดเหล็ก, โรงงานรีดเหล็ก, โรง...
คลิกที่นี่เพื่อเป็นสมาชิก?
ประเภท
ติดต่อ ธุรกิจของเรา
เว็บไซต์
ที่อยู่
วรจักร
Bangkok
เวลาทำการ
จันทร์ | 08:00 - 18:00 |
อังคาร | 08:00 - 18:00 |
พุธ | 08:00 - 18:00 |
พฤหัสบดี | 08:00 - 18:00 |
ศุกร์ | 08:00 - 18:00 |
เสาร์ | 08:00 - 18:00 |
รามคำแหง 185
Bangkok, 10510
Automation Technologies, Embedded Computer, Panel PC, Converters, Signal Light and Sound, LED Work Light.
27 Th/30 Th Floor Serm-mit Tower 159/41-44 Sukhumvit 21, North Klongtoey Wattana
Bangkok, 10110
TTCL is to "First Class International Engineering Company" with "Build up warmth and trust"..."Stay
71 ซอยบรมราชชนนี73 ถนนบรมราชชน
Bangkok, 10170
โครงสร้างหลังคาสำเร็จรูป ผลิตจากเหล็ก High Tensile มีความแข็งแรงสูงตามหลักวิศวกรรม
7/276 ซ. ลาดพร้าววังหิน 14 แยก 3 ถ. ลาดพร้าว-วังหิน แขวงลาดพร้าว เขตลาดพร้าว
Bangkok, 10230
Siam Dyna Supply Ltd.,Part. จัดจำหน่ายผลิตภัณฑ์ Tooling, Cutting Tool, Tool holders Distributor: > MOLDINO (Mitsubishi Hitachi Tool) > Pramet Tools > Haimer GmbH > Alfa-sys ag > L...
จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย 254 Rama IV Road, Pathum Wan
Bangkok, 10330
ตัวแทนจำหน่ายสินค้าจากบริษัทจำลอง?
211 ถนนสรงประภา แขวงดอนเมือง เขตดอนเมือง กรุงเทพมหานคร
Bangkok, 10210
เราเป็นผู้เชี่ยวชาญ ให้บริการด้านระบบควบคุมอัตโนมัติในโรงงานอุตสาหกรรม
121 อาคารอาร์ เอส ทาวเวอร์ ชั้น22 ห้อง121/071 ถนนรัชดาภิเษก แขวงดินแดง เขตดินแดง
Bangkok, 10400
ผู้นำในอุตสาหกรรมเครื่องกำเนิดไฟฟ้า
90-92 ซ. ลาดพร้าว107 (ดีสมโชค)
Bangkok, 10240
จำหน่ายแผ่นอะคริลิก/พลาสติก แปรรูป ?