Warfarin Clinic at SDMC
Our admin
- Cardiologist, ACLS & BLS instructor
- Clinical Pharmacist, CCU service staff Since October 2012
ประกาศ ตามที่คณะรัฐมนตรี ประกาศให้วันจันทร์ที่ 31 กรกรฎาคม 2566 เป็นวันหยุดราชการกรณีพิเศษ หน่วยที่เปิดให้บริการ คลินิกในเวลาราชการ คลินิกพรีเมียม คลินิกนอกเวลาราชการเปิดให้บริการบางหน่วย
ติดตามข้อมูลข่าวสารเพิ่มเติมได้ที่ https://www.rama.mahidol.ac.th
#อาคารสมเด็จพระเทพรัตน์
#โรงพยาบาลรามาธิบดี
#เปิดปิดบริการชั่วคราว
(Hypertension)
อันนี้น่าสนใจ ก็คือมีการเก็บข้อมูลย้อนหลังว่า คนไข้ที่ได้ยาความดันกลุ่มไหน มีโอกาสเกิด Dementia มากกว่ากัน
ผลสรุปออกมาว่า คนไข้ที่อายุมากกว่า 65 ปีและได้ยากลุ่ม "AT2 stimulating" (ชื่อเต็มๆมันคือกลุ่ม Type 2 and 4 angiotensin II receptor–stimulating antihypertensive medications เลยขอเรียกสั้นๆให้เข้าใจง่ายๆแทน) มีโอกาสเกิด Dementia ลดลง 16% (P < .001) โอกาสเกิด Vascular Dementia ลดลง 18% (P = .02) เมื่อเทียบกับกลุ่มที่ได้ยา "AT2 inhibiting"
📌 หรือพูดง่ายๆคือ คนไข้อายุ65+ ที่ได้ยา ARB (e.g. Losartan), dihydropyridine CCB (e.g. Amlodipine) และ Thiazides
เมื่อกินยาไปประมาณ 6.9 ปี มีโอกาสเกิด dementia น้อยกว่าคนไข้ที่ได้ยากลุ่ม
ACEI (e.g. Enalapril), Beta-blocker และ nondihydropyridine CCB (e.g. Diltiazem)
📌 แต่ช้าก่อนนน !! อย่าเพิ่งเปลี่ยนยาคนไข้ที่ OPD ให้เป็นกลุ่มแรกกันซะหมด เพราะเปเปอร์นี้ก็ยังมีข้อจำกัดมากมาย เช่น
- เป็น retrospective cohort ดังนั้นมันมักจะมี confounding เยอะมาก เช่น การวินิจฉัย dementia บางครั้งถ้าไม่ได้ prospective แล้วตั้งใจมองหา ก็อาจจะไม่เจอ
- ไม่ได้เก็บ dose response ว่าต้องกินยานั้นขนาดเท่าไร
- ไม่ได้เก็บ BP target ของคนไข้ทั้งสองกลุ่มว่าต่างกันไหม แล้วได้ target เท่าไร
- จากผลการศึกษา ให้สองกลุ่มนี้คู่กันก็ได้ประโยชน์นะ ไม่ต้อง off ยากลุ่ม inhibiting ก็ได้ และยากลุ่มนั้นก็ยังมีประโยชน์อย่างอื่น เช่น BetaBlocker ที่ช่วยเรื่อง heart failure/postMI
⛵️ ⛵️ ⛵️
สรุป รอดูข้อมูลในอนาคตก่อน ณ เวลานี้แนะนำให้ยาอิงตาม guideline เดิมก่อนครับ (ref ในคอมเม้น)
อาจารย์วรรณวรางค์ นำเสนอข้อมูลสนับสนุนว่าในคนไทยน่าจะใช้ Rivaroxaban ขนาดยาแบบประเทศญี่ปุ่น ได้เหมือนกัน โดยอาศัยข้อมูลของ antiXa activity โดยเฉพาะอย่างยิ่งในผู้ป่วยที่ได้ยานี้ร่วมกับ clopidogrel
นานๆจะชนะซะที 🤣
INVICTUS: In patients with RHD-associated AF, compared to rivaroxaban, VKA reduced cardiovascular events and mortality without increasing bleeding. https://nej.md/3cdFf2W
🔅🔆 ข้าวเหนียวมะม่วง 🔆🔅
ถ้าช่วงนี้คนไข้ที่เคย INR ดีๆมาตลอด กลับมามี INR ที่สูงกว่าปกติ อย่าลืมถามเรื่อง “ข้าวเหนียวมะม่วง” ไว้ด้วยนะครับ
ที่คลินิกวันนี้ ถ้าใครกินมะม่วงติดกันมาหลายวัน ค่าเลือด 4+ ทั้งนั้นเลย
📌 เชื่อว่าที่ค่าเลือดสูงขึ้น เป็นจาก vitamin A ในมะม่วงไป inh CYP2C19 แนะนำให้ลดปริมาณการกินมะม่วงลงควบคู่กับปรับลด warfarin ลงสักเล็กน้อยนะครับ 🤣
📌 ขออนุญาตเรียนแจ้งยา Orfarin (Warfarin) 5 mg ขาดคราว เนื่องจากบริษัทอยู่ในขั้นตอนการขออนุญาตแก้ไขเปลี่ยนแปลงทะเบียนตำรับยา โดยทางบริษัทคาดว่าจะสามารถจัดส่งยาให้ได้อีกครั้งช่วงเดือนมิถุนายน 2565 ค่ะ
📌 ในระหว่างนี้จะมียา Orfarin (Warfarin) 3 mg ใช้ทดแทนได้ โดยทางงานเภสัชกรรมคลินิก ได้จัดทำตารางตัวอย่าง Regimen ของ Warfarin 3 mg ตามขนาดยาต่อสัปดาห์เดิมที่ผู้ป่วยเคยได้รับ เพื่ออำนวยความสะดวกให้กับแพทย์ เภสัชกร และ พยาบาล ในการสั่งใช้ยาดังเอกสารแนบนะคะ
ยาเหลือประมาณ 10000 เม็ดค่ะ ก็น่าจะใช้ได้อีก 1 wk คร้าาา 🥰
หนึ่งในคำถามยอดฮิต ประจำ OPD ครับ 😆
(Part 1)
US FDA อนุมัติให้ Empagliflozin ได้รับข้อบ่งชี้ในการรักษาภาวะหัวใจล้มเหลว ชนิด HFrEF แล้ว (โดยไม่ต้องเป็นเบาหวานนะ) และ ใช้ได้จน eGFR 20 เลย ใน ผู้ป่วย HFrEF
ส่วน อย. ไทย รอไปก่อนนะ
เอาเข้าจริงๆ หมอหัวใจเค้าก็ใช้กันพักใหญ่ๆ แล้วหละนะ อีกตัวคือ Dapagliflozin
หลายคนติดใจ เพราะใช้ง่าย ผลแทรกซ้อนน้อย (อันนี้ความเห็นส่วนตัวของแอดมิน) ได้ผลดี อีกต่างหาก ด้วยกลไกอะไรก็ยังไม่ทราบชัดเจน
ขอเชิญประชาชนที่มีอายุ 60 ปีขึ้นไปหรือผู้ป่วย 7 กลุ่มโรคเรื้อรัง
•โรคทางเดินหายใจเรื้อรัง
•โรคหลอดเลือดสมอง
•โรคหัวใจและหลอดเลือด
•โรคเบาหวาน
•โรคไตเรื้อรังระยะ 5 ขึ้นไป
•โรคอ้วน
•โรคมะเร็งทุกชนิด
หรือหญิงตั้งครรภ์ที่มีอายุครรภ์ ตั้งแต่ 12 สัปดาห์ขึ้นไป ฉีดวัคซีนโควิด-19 เข็มที่ 1 AstraZeneca
แจ้งจองฉีดวัคซีนได้ทาง RAMACOVID CallVaccine โทร. 0-2078-9078 เริ่มจองตั้งแต่วันที่ 5 สิงหาคม 2564 เวลา 07.00 น. เป็นต้นไป จนกว่าจะครบจำนวนของวัคซีน
กำหนดฉีดวันที่ 9-13, 16 สิงหาคม 2564 เวลา 08.00-16.00 น. ณ Sky Hall ชั้น 3 ห้างสรรพสินค้าเซ็นทรัล ลาดพร้าว
ประกาศโรงพยาบาลรามาธิบดี ในสถานการณ์การระบาดของโควิด-19 ตั้งแต่วันที่ 1 สิงหาคม 2564 เป็นต้นไป
งดรับผู้ป่วยนอกที่ไม่ได้นัดไว้ (Walk In)
ผู้ป่วยที่ยังไม่มีนัดตรวจ สามารถนัดผ่านช่องทาง
•Rama App
- App Store
https://apps.apple.com/th/app/rama-app/id1486537464
- Google Play
https://play.google.com/store/apps/details?id=org.ramathibodi.ramaapp
•E-mail ของแต่ละหน่วยตรวจ
https://www.rama.mahidol.ac.th/appointment-opd-email
•ผู้ป่วยที่มีนัดหมายเดิมสามารถใช้การตรวจทางไกล (Telemedicine) ตามวันและเวลานัดเดิม
•ยกเว้น ผู้ป่วยเร่งด่วนสามารถตรวจที่ห้องฉุกเฉิน
ประกาศเมื่อวันที่ 27 กรกฎาคม 2564
โอกาสเกิด VIIT นั้น ส่วนตัวผมยังคิดว่าการเก็บข้อมูลของไทยยังไม่แม่นพอที่จะเชื่อว่าเจอแค่ 1 ใน 5 ล้าน (เราก็รู้กันว่าการลงข้อมูลของหน่วยงานในประเทศไทยนั้นมี accuracy แค่ไหน)
ส่วนตัวผมยังอ้างอิงและอธิบายคนไข้ว่าเจอ VIIT ได้ตามตัวเลขของตปท. คือประมาณ 1 ในแสนครับ
เริ่มวันนี้ 8.30 น นะครับ
⛵️ ⛵️ ⛵️ ⛵️ ⛵️
ขอเชิญชวนประชาชน สั่งจองวัคซีนโควิด-19 ทางเลือก Moderna
เริ่มสั่งจองได้ตั้งแต่วันที่ 5 กรกฎาคม 2564 (เริ่มเวลา 08.30 น. เป็นต้นไป) ถึงวันที่ 11 กรกฎาคม 2564
ค่าวัคซีน+ค่าบริการฉีด = 1,500 บาทต่อโดส
*ด่วน❗️วัคซีนมีจำนวนจำกัด*
รายละเอียดและช่องทางการสั่งจอง เพียงสแกน QR Code หรือคลิก 👉https://www3.ra.mahidol.ac.th/moderna
ขอเชิญชวนประชาชน สั่งจองวัคซีนโควิด-19 ทางเลือก Moderna
เริ่มสั่งจองได้ตั้งแต่วันที่ 5 กรกฎาคม 2564 (เริ่มเวลา 08.30 น. เป็นต้นไป) ถึงวันที่ 11 กรกฎาคม 2564
ค่าวัคซีน+ค่าบริการฉีด = 1,500 บาทต่อโดส
*ด่วน❗️วัคซีนมีจำนวนจำกัด*
รายละเอียดและช่องทางการสั่งจอง เพียงสแกน QR Code หรือคลิก 👉https://www3.ra.mahidol.ac.th/moderna
หมอพร้อม คณะวิทย์ก็พร้อม ! 🏥 👩⚕️👨⚕️
ยินดีอำนวยความสะดวกสำหรับผู้มีนัดฉีดวัคซีน COVID - 19
ณ โรงพยาบาลรามาธิบดี
สามารถจอดรถได้ที่ คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล
ถนนพระรามที่ 6 ติด รพ.รามาธิบดี ตั้งแต่เวลา 8.30 - 16.30 น. 😷
โปรดแสดงหน้าจอ "หมอพร้อม" แจ้งกำหนดนัดฉีดวัคซีนของวันนั้นๆ
ที่ รปภ. ประตู 1 ใกล้กระทรวงการต่างประเทศ
👉https://bit.ly/3vXiTri
สอบถามข้อมูลเพิ่มเติม หน่วยจราจรและความปลอดภัย
โทร 02-201-5023
รับสมัครเภสัชกร Walk - in Interview วันที่ 17 มิถุนายน 2564 เวลา 09.00 น. ณ ห้องเภสัชกรรมคลินิก ชั้น 6 อาคารสมเด็จพระเทพรัตน์ สอบถามข้อมูลได้ที่ โทร 02201-1271 และ 02200-3125
คนไข้โรคกลุ่ม autoimmune เช่น SLE หรือ rheumatoid ก็สามารถฉีดวัคซีนโควิด ได้ทั้ง Sinovac และ AZ นะครับ แต่ต้องระวัง 2 ประเด็น
1) ตัวโรคควรจะสงบในระดับหนึ่ง คนไข้ต้องปรึกษาแพทย์ประจำตัวก่อนฉีดวัคซีนครับ
2) มีแค่ยา 5 กลุ่มดังรูปที่สอง ที่จะต้องพิจารณาหยุดหลังได้รับวัคซีน เพื่อที่ร่างกายจะได้สร้างภูมิคุ้มกันได้ดีขึ้น
*** การหยุดยากดภูมิชั่วคราว ในคนไข้ที่ตัวโรคยังไม่สงบ อาจจะทำให้ตัวโรคกำเริบขึ้นได้ ***
Credits:หน่วยโรคภูมิแพ้และโรคข้อรามาธิบดี
คนไข้โรคหัวใจ ฉีดวัคซีนโควิด-19 ได้ไหม ? ต้องระวังอะไรบ้าง ? มาดูกันครับ 😁
คนไข้โรคหัวใจกับวัคซีนโควิด-19 ที่กำลังจะมา (10 ข้อ - part1)
📌1. เป็นโรคหัวใจ ฉีดวัคซีน AZ ได้ไหม ?
- คนไข้โรคหัวใจทุกชนิด ไม่ว่าจะเส้นเลือดหัวใจตีบ / ใส่ขดลวดหัวใจ / น้ำท่วมปอด / ลิ้นหัวใจตีบหรือรั่ว / หัวใจเต้นผิดจังหวะ / ใส่เครื่องกระตุ้นหัวใจ / เคยผ่าตัดหัวใจ / เคยผ่าตัดหลอดเลือดใหญ่ / เป็นเส้นเลือดสมองตีบ สามารถฉีดวัคซีนโควิดได้ และขอย้ำว่ายิ่ง "ต้องฉีด" วัคซีนโควิด-19 เพราะถ้าติดเชื้อโควิด คนไข้เป็นกลุ่มนี้จะมีความเสี่ยงสูงมาก
📌2. ได้ข่าวว่าวัคซีน AZ ที่รัฐจัดให้รอบเดือนหน้า ฉีดแล้วมีโอกาสเกิดลิ่มเลือดอุดตัน รอก่อนได้ไหม ?
- เป็นความจริงที่ว่าวัคซีนและยาทุกชนิดมีผลข้างเคียง แต่โอกาสเกิดผลข้างเคียงนั้นน้อยกว่าประโยชน์ที่ได้รับมากๆ ตามสถิติในยุโรปนั้นมีโอกาสเกิด VIIT ประมาณ 1:200,000 และจากข้อมูลในประเทศไทยที่ฉีด AZ ไปแล้วแสนกว่าคนนั้นยังไม่ได้รับรายงานผลข้างเคียงนี้เลย แนะนำให้ฉีดวัคซีน AZ ทันทีที่ได้คิว
📌3. กินยาต้านเกล็ดเลือด Aspirin / Clopidogrel / Ticagrelor / Prasugrel หรือยาละลายลิ่มเลือด Dabigatran / Rivaroxaban / Apixaban / Edoxaban ฉีดวัคซีนได้ไหม ? ต้องหยุดยาหรือเปล่า ?
- ฉีดวัคซีนได้เลย ไม่ต้องหยุดยาล่วงหน้าครับ แต่ต้องแจ้งคุณพยาบาลก่อน เพื่อที่จะได้ใช้เข็มเบอร์เล็กลง (≤ 23G) และกดให้นานขึ้น
- สำหรับยา NOACs ที่กินวันละครั้ง (Rivaroxaban / Edoxaban) ให้กินหลังฉีดวัคซีนในวันนั้น 3 ชม เช่น ถ้าปกติกิน 7 โมงเช้า แล้วต้องฉีดวัคซีน 11 โมง ให้เลื่อน NOACs วันนั้นไปกิน 14 น
- สำหรับยา NOACs ที่กินวันละสองครั้ง (Dabigatran / Apixaban) ให้เว้นมื้อนั้นไปเลย และเริ่มกินมื้อถัดไป เช่น Dabigatran กิน 8 โมง และ 18 น แต่จะต้องฉีดวัคซีน 10 โมง ให้งดมื้อ 8 โมงไปได้เลย และเริ่มกินมื้อ 18 น แทน
📌4. กินยา Warfarin ต้องหยุดยาก่อนฉีดวัคซีนไหม ?
- ให้เจาะเลือดเชคค่า INR ก่อน ถ้าเกิด < 3.0 สามารถฉีดยาได้เลย อย่าลืมแจ้งคุณพยาบาลก่อนเหมือนข้อด้านบน
📌5. เพิ่งทำบอลลูนหัวใจไปเมื่อวาน / เพิ่งมีภาวะน้ำท่วมปอดไป / เพิ่งออกจาก ICU / เพิ่งติดเชื้อทางเดินปัสสาวะ ฉีดวัคซีนได้เลยไหม ?
- ถ้าเพิ่งไม่สบาย แนะนำให้รอจนกว่าตัวโรคจะสงบก่อน และแพทย์ประจำตัวอนุญาตให้ฉีดวัคซีนครับ
📌6. ความดันโลหิตสูง ต้องทำอะไรก่อนฉีดยาไหม ?
- ควรทานยาควบคุมความดันโลหิต ให้ความดันตัวบนน้อยกว่า 160 mmHg และความดันตัวล่างน้อยกว่า 100 mmHg (BP < 160/100 mmHg) และวันที่มาฉีดวัคซีนให้ทานยาความดันมาได้เลย
📌7. ความดันโลหิตต่ำหละ ต้องระวังอะไรไหม ?
- เจอรายงานได้ว่าการฉีดวัคซีนทุกชนิด อาจจะทำให้มีอาการปวดและความดันตกลงได้จากระบบ reflex ของร่างกาย (vasovagal reflex) ซึ่งเจอได้ในช่วง 30-60 นาทีแรกหลังฉีดวัคซีน ดังนั้นหลังฉีดวัคซีนจึงจำเป็นจะต้องสังเกตอาการให้ครบกำหนดเวลาเสมอ รวมถึงอาการแพ้วัคซีนด้วย
📌8. วันมาฉีดวัคซีน ให้เตรียมตัวอย่างไรมาบ้าง ?
- พักผ่อนให้เพียงพอในคืนวันก่อนฉีดวัคซีน เช้าวันมาฉีดวัคซีนให้ทานอาหาร ทานยาประจำตัวมาได้ตามปกติ งดชา/กาแฟ/บุหรี่ ก่อนฉีดวัคซีนไม่น้อยกว่า 2 ชม. ดื่มน้ำเปล่าให้เพียงพอ หลังฉีดวัคซีนอาจจะเจออาการปวดแขนที่ฉีดหรือมีไข้ต่ำๆได้ ไม่ต้องกังวล
📌9. สรุป ควรฉีดวัคซีนรอบนี้ไปก่อน หรือควรรอวัคซีนทางเลือกของทางรพ.ดี ?
- ถามสิบครั้ง ก็มีคำตอบเดียวคือ ควรฉีดทันทีที่ได้คิว (อนึ่ง สมมุติว่าฉีดไปแล้ว เมื่อมีวัคซีนทางเลือกมาอาจจะฉีดเพิ่มได้เพื่อกระตุ้นภูมิ เพราะเริ่มมีข้อมูลการฉีดวัคซีนมากกว่า 1 ชนิดออกมาเรื่อยๆแล้วว่าอาจจะดีกว่าฉีดชนิดเดียว)
📌10. อยากฉีดวัคซีนที่รพ.พระราม9 ติดต่อได้ที่ไหน ?
- สามารถลงทะเบียน online ได้ที่นี่ครับ (เฉพาะผู้ป่วยที่มีประวัติการรักษาที่ รพ.พระรามเก้าเท่านั้น) โดยการกรอกข้อมูลใน Link นี้ให้ครบถ้วน
https://forms.office.com/r/UuXbDhZYyY
หลังจากกรอกข้อมูลแล้ว รอประมาณ 3 วัน ให้ท่านเช็คสิทธิ์ของตนเองได้ที่ app หมอพร้อม โดยเข้าไปเลือก รพ. และวัน/เวลา ที่ท่านสะดวกฉีดวัคซีน
(Stroke/TIA) กลับมาโรคอื่นๆนอกจากโควิดบ้าง
Meta-Analysis คนไข้ stroke/TIA ใช้ dual-antiplatelet ดีกว่า ASA alone ไหมนะ ? จะเหมือนคนไข้ MI ที่ให้ใช้ DAPT หรือเปล่า ? 🤔
เค้าก็เลยเอา 4 RCT ที่เคยทำวิจัยมาวิเคราะห์กัน (n = 21,459) ซึ่งในกลุ่ม DAPT คือ เริ่มภายใน 24 ชม.หลังเกิดโรคและทานไม่เกิน 3 เดือน (บาง trial ก็ 21 วัน, 30 วัน หรือ 90 วัน) เทียบกับ ASA alone
สรุปได้ดังนี้
📌 ลด recurrent stroke 24% ตามที่คาดไว้ว่าให้เยอะขึ้น มันก็ต้องดีกว่าแหละ คือลดเหลือ 5.8% จาก 7.7% (p < 0.001), number needed to treat = 52
📌 เพิ่ม major bleeding 220% ฟังดูสัดส่วนอาจจะน่าตกใจ แต่ถ้าดูในรายละเอียดจะพบว่าโอกาสเกิด majorbleeding เป็นจุดทศนิยมเท่านั้นเอง ก็คือ 0.66% vs 0.27% (p 0.02), number needed to harm = 256
⛵️ ⛵️ ⛵️ ⛵️ ⛵️
ลองเอาข้อมูลไปพิจารณากันดูครับ อนึ่ง guideline ปัจจุบันของอเมริกาแนะนำให้ DAPT 10-21 วัน หลังจากคนไข้เป็น mild stroke (NIHSS ≤ 3) หรือ high-risk TIA (ABCD2 score ≥ 4)
ref และรูปเพิ่มเติมในคอมเม้น
ประชาชนที่ประสงค์ จะเข้ารับวัคซีนป้องกัน COVID-19
- ผู้ที่มีอายุ 60 ปีขึ้นไป และผู้ป่วย 7 โรคเรื้อรัง
สามารถลงทะเบียนฉีดวัคซีนตั้งแต่วันที่ 1 พฤษภาคม 2564 (เริ่มฉีดวัคซีนตั้งแต่วันที่ 7 มิถุนายน 2564)
- ผู้ที่มีอายุ 18-59 ปี
สามารถลงทะเบียนฉีดวัคซีนตั้งแต่วันที่ 1 กรกฎาคม 2564 (ฉีดวัคซีนเดือนสิงหาคม 2564)
โปรดลงทะเบียนและนัดหมายเข้ารับการบริการฉีดวัคซีน ผ่านระบบหมอพร้อมเท่านั้น เพิ่มเพื่อน LINE หมอพร้อม ที่นี่ line://ti/p/
#วัคซีนป้องกันCOVID19
ติดตามข้อมูลเพิ่มเติมได้ที่ https://www.rama.mahidol.ac.th/th/news/patient/03may2021-1612
ฝ่ายเภสัชกรรมรพ.รามาฯ แนะนำวิธีการรับประทานยาฟาวิพิราเวียร์ (favipiravir) สำหรับผู้ป่วยโรงพยาบาลรามาธิบดี ในมุมมองด้าน
- ขนาดยาที่ใช้รักษา
- ระยะเวลาในการรักษา
- ขั้นตอนการรับประทานยา
- ผลข้างเคียง
เพื่อสร้างความเข้าใจในการรับประทานยา และเกิดประสิทธิภาพสูงสุดในการรักษาให้ผู้ป่วยนะคะ 💊💊
#กินยา #โควิด #โควิด19 #ไทยรู้สู้โควิด #สาระปันยา
ตาม link นี้ไปเลยครับ
https://m.youtube.com/watch?fbclid=IwAR1CS-B_m8rd8USpPmh-wRsvUddIhnfMEfeFiuWNkqOY6Ew9Q-l5CCoAtQg&v=Z5C-otyJY4I&feature=youtu.be
💎💎คนไข้ภูมิคุ้มกันต่ำได้โควตาฉีดวัคซีนโควิด สามารถฉีดได้หรือไม่?💎💎
ช่วงนี้ admin ได้รับคำถามจากคนไข้หลายๆคนเรื่องนี้ เลยมีโอกาสอ่านคำแนะนำจาก American Society of Hematology(ASH) (update 5/4/64) เลยอยากมาสรุปได้ทุกคนอ่านกันนะครับ
👍วัคซีนโควิดที่มีในไทยปัจจุบันเป็นวัคซีนชนิดไหน?👍
💊Sinovac เป็น inactivated vaccine โดยนำไวรัส COVID-19 มาทำให้อ่อนแรง และไม่ทำให้เกิดอันตราย แล้วจึงฉีดเข้าสู่ร่างกาย เพื่อกระตุ้นร่างกายให้เกิดภูมิคุ้มกัน
💊AstraZeneca เป็น Viral vector vaccine เป็นการใช้เทคโนโลยี Viral Vector ที่ให้ไวรัสเป็นตัวนำพาส่วนของพันธุกรรมที่ตัดต่อแล้วเข้าไปในร่างกาย เพื่อกระตุ้นร่างกายให้เกิดภูมิคุ้มกัน
👍ปัญหาของการฉีดวัคซีนในคนไข้กลุ่มนี้คืออะไร?👍
การสร้างภูมิคุ้มกันหลังฉีดวัคซีนจำเป็นต้องอาศัยระบบภูมิคุ้มกันที่ดีของร่างกายดังนั้นคนไข้ภูมิคุ้มกันต่ำโดยเฉพาะกลุ่มที่มีปัญหาในด้าน adaptive immunity จะไม่สามารถสร้างภูมิคุ้มกันได้ดีเท่ากับประชากรปกติ
👍คนไข้กลุ่มไหนที่บ้างที่น่าจะสร้างภูมิคุ้มกันได้ไม่ดีหลังฉีดวัคซีน covid?👍
💊คนไข้ที่ได้รับเคมีบำบัด
💊คนไข้ที่ได้รับ high-dose corticosteroid (≥20mg/dose หรือ > 2mg/kg/day ของ prednisolone หรือ equivalent dose)
💊คนไข้ตัดม้าม
💊คนไข้ที่ได้ยาที่กดการทำงานของ T-cell เช่น calcineurin inhibitors, ATG, alemtuzumab เป็นต้น
💊คนไข้ที่ได้ยากดการทำงานของ B-cell เช่น anti cd20 (Rituximab), BTK inhibitor (Ibrutinib) เป็นต้น
💊คนไข้ที่ได้รับการปลูกถ่ายไขกระดูก โดยเฉพาะในช่วง 3-6 เดือนแรกใน autologous transplantation หรือมากกว่านั้นใน allogeneic transplantation
💊คนไข้ที่มีความผิดปกติของระบบภูมิคุ้มกันอื่นๆเช่น neutropenia (ANC
ฝึกการหายใจ ใช้ได้กับหลายโรคครับ 👍
EP1 อยู่นี่ 👉 https://fb.watch/58CvVWQr43/
คนไข้ที่ใช้ warfarin และ anticoagulation ทุกชนิดห้ามกินฟ้าทะลายโจรนะครับ เพราะจะทำให้เกิดเลือดออกได้ง่าย ยาจะตีกันได้มาก
อนึ่ง ถึงไม่ใช้ยาละลายลิ่มเลือดก็ไม่ควรทานครับ เพราะไม่มีหลักฐานว่าช่วยป้องกันโควิด ส่วนตัวเจอคนไข้ที่ทานแล้วมีผลข้างเคียงเยอะมาก เช่น cardiac arrhythmia (มี PVC มาเยอะ) และตับอักเสบ (AST ขึ้นเป็นพัน)
ดังนั้น ไม่แนะนำให้ใช้ เพื่อป้องกันหรือรักษาโรคโควิดนะครับ
พลังน้ำใจคนไทย
ต้านวิกฤต COVID-19
กับรามาธิบดี
https://www.rama.mahidol.ac.th/COVID-19/Donate
[General practice] ระยะเวลาในการเริ่มยาต้านการแข็งตัวของเลือดกลุ่มใหม่ (NOACs) หลังผู้ป่วยสมองขาดเลือดเฉียบพลันจากภาวะหัวใจห้อง บนเต้นผิดจังหวะชนิดเอเทรียลฟิบริเลชั่น (AF)......Timing of NOACs after recent ischemic stroke in patients with atrial fibrillation
ความสำคัญ…..ผู้ป่วยสมองขาดเลือดเฉียบพลันจากลิ่มเลือด สาเหตุจากภาวะหัวใจห้องบนเต้นผิดจังหวะชนิดเอเทรียลฟิบริเลชั่น (atrial fibrillation - AF) มีความเสี่ยงที่จะเกิดสมองขาดเลือดซ้ำ (recurrent ischemic stroke) ได้สูงโดยเฉพาะภายใน 14 วัน แรก โดยพบอัตราการเกิดสมองขาดเลือดซ้ำประมาณร้อยละ 0.5-1.3 ต่อวัน
ทำไมต้องมีระยะเวลาเริ่ม…..ถ้าสมองไม่มีการขาดเลือด (TIA) คงไม่มีปัญหาครับ สามารถเริ่มยาได้เลย (ถ้าไม่มีข้อห้ามอื่นๆ) แต่ถ้ามี infarct อาจจะเกิด complication ได้หลังเริ่มยา……เพราะ cardioembolic stroke หลังจากลิ่ม เลือดอุดตันทำให้มีการทำลาย extracellular matrix และ basal laminaของหลอดเลือด ท าให้เกิดการแยกออกของ blood brain barrier ทำให้เกิดภาวะเลือดออกในสมองจากสมองขาดเลือด (hemorrhagic transformation) ตามมา ซึ่งปกติพบได้ ประมาณร้อยละ 2 ถึง 5 และอาจสูงถึงร้อยละ 6 ถึง 10 จึงต้องมีการรอเพื่อให้ basement membrane , blood brain barrier healing ลดโอกาสเกิดปัญหาตรงนี้
จากการศึกษาแสดงให้เห็นว่าสามารถเริ่มยา anticoagulant ได้เร็ว คำแนะนำตาม AHA/ASA 2019 แนะนำเริ่มยา ภายใน 4 – 14 วัน ในรายที่มีอาการน้อยถึงปานกลาง (NIHSS 4-15) และมีรอยสมองขาดเลือดขนาดเล็กถึงปานกลาง (
ถ้าอาการดี ก็ใช้ telemedicine กันนะครับ
เรียนผู้รับบริการ เนื่องด้วยสถานการณ์การแพร่ระบาดของ COVID-19 ระลอกใหม่ เพื่อความปลอดภัยของผู้ป่วยที่มาใช้บริการที่โรงพยาบาลรามาธิบดี จึงขออภัยในความไม่สะดวกมา ณ ที่นี้
ติดตามข้อมูลเพิ่มเติมได้ที่ https://www.rama.mahidol.ac.th/th/news/patient/07apr2021-1642
คลิกที่นี่เพื่อเป็นสมาชิก?
วิดีโอทั้งหมด (แสดงผลทั้งหมด)
ประเภท
ติดต่อ ธุรกิจของเรา
เบอร์โทรศัพท์
เว็บไซต์
ที่อยู่
ศูนย์การแพทย์สมเด็จพระเทพรัตน์ 270 ถนนพระรามที่ 6 แขวงทุ่งพญาไท เขตราชเทวี
Bangkok
10400
เวลาทำการ
จันทร์ | 08:00 - 16:00 |
พุธ | 13:00 - 16:00 |
616/5 The Parti By Areeya, Lat Pla Khao, Chorakhe Bua, Lat Phrao
Bangkok, 10230
‘สุขภาพดี’ คือของขวัญอันวิเศษของมนุษย์
2102/4 ตึกหวนจี ชั้น 2
Bangkok, 10310
MN Medical Clinic ให้บริการตรวจโรคติดต่อทางเพศสัมพันธุ์ พร้อมให้คำปรึกษาโดยแพทย์ , ตรวจสุขภาพ , การรักษาด้วยกัญชาทางการแพทย์
ถนน สุโขทัย, สวนจิตรลดา, ดุสิต, กรุงเทพมหานคร
Bangkok, 10300
ศูนย์บริการรถพยาบาลทั่วประเทศ
14, 33/33 หมู่ที่ 9
Bangkok, 10170
ผู้นำเข้าและจัดจำหน่ายน้ำยาและเครื่องมือทางห้องปฏิบัติการทางการแพทย์
14, 33/33 ถนนบรมราชชนนี 53 ตลิ่งชัน กทม
Bangkok, 10170
ให้คำแนะนำเกี่ยวกับผลิตภัณฑ์เครื่?
566 ถนนประดิษฐ์มนูธรรม แขวงพลับพลา เขตวังทองหลาง
Bangkok, 10310
ดูแลเส้นผมครบวงจร ปลูกผมถาวร คิ้ว หนวดเครา รักษาภาวะผมร่วงผมบาง และผลิตภัณฑ์บำรุงเส้นผม