Dr Werachart DO, DPT, PT

ข้อมูลการติดต่อ, แผนที่และเส้นทาง,แบบฟอร์มการติดต่อ,เวลาเปิดและปิด, การบริการ,การให้คะแนนความพอใจในการบริการ,รูปภาพทั้งหมด,วิดีโอทั้งหมดและข่าวสารจาก Dr Werachart DO, DPT, PT, การศึกษา, Bangkok.

Doctor of Philosophy in Physical Medicine & Rehabilitation Program – PhD (PMR), Doctor of Osteopathy (DO), Doctor of Physical Therapy (DPT), Master NeuroKinetic Therapy Practitioner (NKT), Founder of JR Physio Clinic, Educator

Photos from JR Physio Academy's post 05/07/2024
06/06/2024

Movement Assessment
โดยจะเป็นการตรวจประเมินการเคลื่อนไหวของร่างกาย ในตำแหน่งต่างๆ และวางแผนการออกกำลังกาย พร้อมแนวทางการประเมินซ้ำ
📆 17 มิถุนายน 67
🕧 10.00- 16.00 น.
📍บ้านใจอารีย์ สาขาเยาวราช
สมัครได้ที่: https://forms.gle/vr35VTa9tCiVfU4Y9
เอกสารโครงการ: https://shorturl.asia/qpE8Q

Photos from Dr Werachart DO, DPT, PT's post 06/04/2024

Dr W EP: 15
🤔 ปวดหลัง ปวดขา ปัญหาอาจมาจาก Sling imbalance 🤔 (ช่วงนี้จะรีบลงข้อมูล เดี๋ยวอีกไม่กี่วันจะไม่ว่างลงครับ)

⚡️วันนี้ยังคงอยู่ที่ Deep longitudinal system (DLS) ⚡️

❤️ สรุป Function ของ Sling นี้อีกรอบนะครับ
เพื่อ Stabilization of the SI joint and longitudinal arch of foot รวมทั้งยังทำหน้าที่ eccentric deceleration of forward leg swing and heel strike, proprioceptive mechanism โดยเฉพาะอย่างยิ่งในการตอบสนองต่อ ground reaction forces

วันนี้จะมายกตัวอย่างความสัมพันธ์ของ kinetic chain นี้
✔️ เมื่อวาน มีเคสนักวิ่งมาปรึกษาอีกเคส ด้วยอาการเจ็บบริเวณหน้าแข้ง (Tibiofibular jt) และต้นขาด้านหลังข้างขวา (Hamstring) และบางครั้งก็เจ็บไปถึงก้น (Rt. Sacroiliac joint) ข้างขวา เมื่อเดินหรือวิ่งไม่นาน

🔴 เคสนี้ยังคงทำการตรวจโดยประเมินตาม Deep longitudinal system พบการทำงานแบบ
🔺 Overactive ของ
Rt. biceps femoris
🔺 Overactive ของ Rt. Peroneus longus
🔺 Overactive ของ ***Rt. Tibiofibular joint ** ชัดที่สุด (จุดเกาะร่วม)
และพบ
🔻 Underactive of Rt. Gluteus Maximus

🔧 Treatment 🔨
Mobilazation of Rt. Tibiofibular joint และ Activate การทำงานของ Rt. Gluteus Maximus
หลังจากนั้นทำการทดสอบ global movement อีกรอบ ออกมาปกติ ไม่มีอาการเจ็บใดๆ จึงให้ลองไปวิ่งต่อเนื่อง สามารถเดิน และวิ่งได้โดยที่ไม่เจ็บ ทั้งหน้าแข้ง หลังต้นขา และก้นขวา 💪

📌 Take home messege
ในการรักษาคนไข้ อาจจะต้องดูองค์ประกอบหลายๆอย่างในการรักษา ทั้ง contractile tissue และ non-contractile tissue รวมทั้ง motor control และ emotion เพราะล้วนแต่มีผลต่อการรักษาทั้งสิ้น

📣 เมื่อพอเข้าใจคร่าวๆ ลองนำไปใช้ดูนะครับ และถ้ามีปัญหาอะไร สอบถามได้เลยครับ ครั้งหน้าจะมาลงเนื้อหาเกี่ยวกับ Sling อื่นๆ ต่อ แต่ยังอยากลงเคส Scar และ Ligament เหมือนกันหรือถ้าสนใจเรื่องไหนเป็นพิเศษ ก็เสนอมาใน comment ได้เลยนะครับ จะพยายามเขียนกระทู้ให้ได้อาทิตย์ละเรื่องครับ📣

🙏🙏🙏🙏🙏🙏🙏🙏🙏🙏

05/04/2024

📌บ้านใจอารีย์คลินิกกายภาพบำบัด JR Physio Clinic รับสมัครนักกายภาพบำบัด Full Time สาขาเพชรเกษม81 1 ตำแหน่ง

คุณสมบัติ
- ชอบการเรียนรู้ โดยเฉพาะ Manual therapy + Exercise (ถ้าสนใจ Sport จะพิจารณาเป็นพิเศษ)
- ใช้ความคิดสร้างสรรค์ ในการออกแบบการรักษา
- สามารถทำสื่อเบื้องต้นได้ (ในคลินิกมีสอนให้)
- สามารถทำงานได้ต่อเนื่อง 2 ปี
- มี Service mind และทำงานร่วมกับผู้อื่นได้

ค่าตอบแทนและอื่นๆ
- รายได้รวมหลังผ่านการทดลองงาน 18,000 - 40,000 บาท (ช่วงทดลองงาน 15,000 บาท)
- มีโบนัสปลายปีตามผลประกอบการ
- วันหยุดรวม 6 วัน/เดือน ยังไม่รวมวันหยุดนักขัตฤกษ์ ปีละ 13 วัน
- วันลาพักร้อน 6 วัน/ปี (เมื่อทำงานครบ 1 ปี)
- ได้รับการอบรมเนื้อหาและเทคนิคการรักษาใหม่ๆ จากทั้งในไทยและต่างประเทศ เช่น NKT, DNS, CSCS ,KIASTM, Movement analysis, NMI, Movement subsystem และอื่นๆ
- เที่ยวพักผ่อนประจำปี
- งบสนับสนุนการอบรมทางกายภาพบำบัด
- ประกันสังคม และประกันอุบัติเหตุ
- มี Uniform ให้
- รักษาทางกายภาพบำบัดให้ครอบครัวฟรี
- มีโอกาสเข้าร่วมการอบรมที่คลินิกจัดทุกครั้ง

✅สัมภาษณ์ผ่าน zoom
✅ทดลองงาน(อย่างต่ำ 3 เดือน) 16 เมษายน 67/วันที่ 1 พ.ค. 67 ที่สาขาเพชรเกษม (มีค่าตอบแทนให้ เดือนละ 15,000 บาท และเมื่อผ่านโปร รายได้รวมหลังผ่านการทดลองงาน 18,000 - 40,000 บาท)
✅การสมัคร สามารถส่ง Resume ได้ทาง Inbox ของบ้านใจอารีย์คลินิกกายภาพบำบัด สาขาเพชรเกษม 81 เท่านั้น

[email protected]
บ้านใจอารีย์ คลินิกกายภาพบำบัด สาขาเพชรเกษม 81 JR Physio Clinic

Photos from Dr Werachart DO, DPT, PT's post 27/03/2024

Dr W EP: 14
🤔 ปวดหลัง ปัญหาอาจมาจาก Sling imbalance 🤔 (ช่วงนี้งานเยอะ เลยไม่มีเวลาลงข้อมูลครับ)

⚡️วันนี้จะมาแนะนำ Core Sling ทั้ง 4 ชุด (Sub system)⚡️

1️⃣ Deep longitudinal system
2️⃣ Lateral system
3️⃣ Anterior oblique system
4️⃣ Posterior oblique system

❤️ วันนี้จะเน้นที่ Sling แรกนะครับ คือ Deep longitudinal System (DLS) ที่คนเราต้องใช้ใน🏃‍♂️🚶‍♂️การเดิน การวิ่ง🚶‍♀️🏃‍♀️ โดยทำหน้าที่ control ground reaction force ในขณะทำ gait motion

ซึ่งประกอบไปด้วย
1️⃣Peroneus longus
2️⃣Tibialis Anterior
3️⃣Biceps Femoris
4️⃣Sacrotuberous ligament
5️⃣SI joint ส่งแรงผ่าน thoracolumbar fascia
6️⃣Contralateral Erector Spinae
7️⃣ต่อไปถึง Contralateral shoulder

✔️ เคสนักวิ่งมาปรึกษาด้วยอาการเจ็บหลังส่วนล่างข้างขวา เมื่อเดินหรือวิ่ง มากกว่า 10 นาทีต่อเนื่อง และเคยมีปัญหาข้อเท้าซ้ายแพลงมาเมื่อ 2 ปีก่อน

🔴 หลังทำการตรวจโดยประเมินตาม Deep longitudinal system พบการทำงานของ Lt. Tibialis Anterior overactive และ พบ Underactive of Rt. Erector Spinae

🔴 จึง Release Lt. Tibialis Anterior
และ Activate การทำงานของ Rt. Erector Spinae
หลังจากนั้นทำการทดสอบ global movement อีกรอบ ออกมาปกติ ไม่มีอาการเจ็บใดๆ จึงให้ลองไปวิ่งต่อเนื่อง สามารถวิ่งได้มากกว่า 10 นาทีโดยที่ไม่เจ็บ 💪

📣 เมื่อพอเข้าใจคร่าวๆ ลองนำไปใช้ดูนะครับ และถ้ามีปัญหาอะไร สอบถามได้เลยครับ ครั้งหน้าจะมาลงเนื้อหาเกี่ยวกับ Sling อื่นๆ ต่อ แต่ยังอยากลงเคส Scar และ Ligament เหมือยกันหรือถ้าสนใจเรื่องไหนเป็นพิเศษ ก็เสนอมาใน comment ได้เลยนะครับ จะพยายามเขียนกระทู้ให้ได้อาทิตย์ละเรื่องครับ📣

#ทุกคน
🙏🙏🙏🙏🙏🙏🙏🙏🙏🙏

25/03/2024

#คอร์สเรียนฟรี มีใบเซอร์ อัพเดทความรู้ พัฒนาสกิล เพียงทำตามเงื่อนไขง่ายๆ ก็ร่วมลุ้นรับคอร์สเรียนฟรีได้เลย

🎯 Functional range therapy จัดวันอังคารที่ 7 พฤษภาคม 67
🎯 Movement assessment จัดวันจันทร์ ที่ 17 มิถุนายน 67

👉เงื่อนไข
1.แชร์โพสต์ เปิดสาธารณะพร้อมใส่เหตุผลว่า “ทำไมถึงอยากเรียนคอร์สนี้” และใส่ชื่อคอร์สที่อยากเรียน พร้อม Tag เพื่อน 3 คน
2.ตัดสินจากโพสต์ที่แชร์ออกไป ท่านใดมีจำนวนยอดไลค์มากที่สุด

#จำกัด 1 คน เลือกได้ 1 คอร์สเท่านั้น
#คอร์สละ 2 รางวัล
#ประกาศผล 17 เมษายน 67
#ทำตามเงื่อนไขให้ครบทุกข้อเท่านั้น
#ต้องสามารถมาเข้าเรียนออนไซต์ในวันนั้นได้จริง
#ไม่สามารถส่งผู้อื่นมาเข้าเรียนแทนได้ตนเอง
#ไม่สามารถเปลี่ยนเป็นเงินสดได้

ส่วนท่านไหนที่อยากเรียนแต่ไม่ชอบลุ้น สามารถสมัครได้โดยตรงที่
https://www.facebook.com/share/p/5davddzkHD5dCERz/?mibextid=oFDknk

Photos from Dr Werachart DO, DPT, PT's post 19/02/2024

Dr W EP: 13
🤔 ปวดด้านนอกสะโพก ปวดด้านในเข่า รักษาที่เข่าและสะโพกเท่าไหร่ไม่หาย ลองมาดูที่เท้าดีมั้ย? part 4 🤔

⚡️Kinetic chain from feet to ankles , knees, hips, and spine⚡️

ℹ️ วันนี้เรามาพูดถึงวิธีการหนึ่งในการเพิ่ม Mobility of ankle rocker phase กันในกรณีของคนที่มีปัญหาส่วนนี้และส่งผลต่อภาวะเท้าแบน (pronated foot)

❤️ สามารถจัดการได้โดยใช้การขยับข้อต่อ (mobilization) เช่น

🔴 Modified movement with mobilization using talus glide taping. วิธีนี้ค่อนข้างง่ายครับ แล้วใช้ weight คนไข้เป็นตัวช่วยขยับข้อต่อ ในทิศทาง Postero-inferior นิยมใช้ในนักกีฬา
🔴 Mobilization with movement using belt วิธีนี้เป็นอีกวิธีที่ค่อนข้าง effective โดยใช้ mvt, belt และ weight เป็นตัวช่วย แนวทางการให้แรงยังเหมือนเดิท
🔴 Passive Mobilization เป็นเทคนิคที่ง่าย แต่อาจต้องให้คนอื่นช่วย หรือใช้อุปกรณ์หรือมือตัวเองก็ได้ แต่คงไม่ค่อยถนัดเท่าไหร่ แนวทางการให้แรง ยังเหมือนเดิม

✔️ ปัญหานี้ ถ้าเกิดจากเพียง form closure ที่มีปัญหา ก็จะสามารถเเก้ไขได้ แต่ในความเป็นจริง เรายังต้องประเมิน force closure ที่มีผลต่อ mvt ร่วมด้วย ถึงจะเเก้ไขปัญหานี้ในระยะยาวได้ รวมทั้งต้องดู motor control ว่าสั่งการ ทำงานได้ปกติมั้ย

📣 เมื่อพอเข้าใจคร่าวๆ ลองนำไปใช้ดูนะครับ และถ้ามีปัญหาอะไร สอบถามได้เลยครับ ครั้งหน้าจะมาลงเนื้อหาเกี่ยวกับ Scar related to movement ได้ยังไง หรือถ้าสนใจเรื่องไหนเป็นพิเศษ ก็เสนอมาใน comment ได้เลยนะครับ จะพยายามเขียนกระทู้ให้ได้อาทิตย์ละเรื่องครับ📣

🙏🙏🙏🙏🙏🙏🙏🙏🙏🙏

สามารถสอบถาม/ขอนัดหมายรับการรักษา

⏱ เปิดบริการทุกวัน เวลา 9.00 - 20.00 น.
🏥 คลินิกตั้งอยู่ในซอยวุฒิสุข เพชรเกษม 81 หนองแขม กทม.(ติดกับสน.หนองแขม🚓)
🚗 มีที่จอดรถ 🚗
📍 Facebook : บ้านใจอารีย์ คลินิกกายภาพบำบัด
📞 Tel : 0946542460
✉ ID Line :
🗺 Map : https://goo.gl/maps/5bjmSYQmL5F2
🌐 Website : https://www.jrphysio.com/

Photos from Dr Werachart DO, DPT, PT's post 09/02/2024

Dr W EP: 12
🤔 ปวดด้านนอกสะโพก ปวดด้านในเข่า รักษาที่เข่าและสะโพกเท่าไหร่ไม่หาย ลองมาดูที่เท้าดีมั้ย? part 3 🤔

⚡️Kinetic chain from feet to ankles , knees, hips, and spine⚡️

ℹ️ วันนี้เราจะมาพูดถึงสาเหตุที่สำคัญอย่างหนึ่งของการเกิด overpronated และ flat feet กัน

❤️ ก่อนอื่นเราต้องทำความรู้จักกับ 3 rockers of gait กัน
1️⃣ Heel rocker : จุดหมุนอยู่ที่ calcaneus/heel จังหวะที่heel สัมผัสกับพื้น Tibialos Anterior ทำงานแบบ Eccentric เพื่อจาก Decelerate Forefoot ขณะสัมผัสพื้น
2️⃣ Ankle rocker : จุดหมุนอยู่ที่ ankle joint เเละเป็นจังหวะที่ tibia ต้องmoveไปด้านหน้าขณะที่เท้าสัมผัสกับพื้น เพื่อที่จะ shifts the center of pressure (COP) จาก heel ไป forefoot โดยเป็นการทำงานแบบ eccentric ของ Soleus (primary) เพื่อจะdecelerate การmoveไปด้านหน้า ของ tibia ต่อ talus
3️⃣ Forefoot rocker : จุดหมุนอยู่ที่ metatarsal เกิดขณะที่ heelพ้นจากพื้นในช่วงterminal phase of stance และ Calf และ foot intrinsic muscle ต้องทำงานเพื่อยกheelขึ้นจากพื้น

🎯 ***Ankle rocker*** มักจะเป็นช่วงที่มีปัญหา ขณะที่เท้าราบและfixอยู่กับพื้น ปกติtibiaจะพยายามที่moveไปด้านหน้า แต่ถ้า Calf muscle (Gastrocnemius, Soleus) ตึงเกินไป (stiff and tight) tibiaจะถูกblock ไม่สามารถmove ไปด้านหน้าได้ แต่ร่างกายยังคงmoveไปด้านหน้า จึงทำให้เกิดแรงกดTalus down and forward ➡️ทำให้เกิด over pronated และ flat feet ได้

✔️ สำหรับปัญหานี้ เราควรปรับการทำงานของ Ankle rocker ให้กลับมาทำงานได้ ทั้งในเรื่องของ form and force closure ของ ankle เพื่อให้เกิด mechanic ที่ดีขึ้น จึงจะแก้ไขปัญหานี้ได้ ดังนั้นการตรวจประเมินจึงเป็นเรื่องที่สำคัญมากๆ เพื่อให้วางแผนการรักษาได้อย่างมีประสิทธิภาพ

📣 เมื่อพอเข้าใจคร่าวๆ โพสหน้า จะมายกเคสที่รักษาให้ฟัง "ปวดด้านนอกสะโพก ปวดด้านในเข่า รักษาที่เข่าและสะโพกเท่าไหร่ไม่หาย ลองมาดูที่เท้าดีมั้ย? part 4" หรือถ้าสนใจเรื่องไหนเป็นพิเศษ ก็เสนอมาใน comment ได้เลยนะครับ จะพยายามเขียนกระทู้ให้ได้อาทิตย์ละเรื่องครับ📣

🙏🙏🙏🙏🙏🙏🙏🙏🙏🙏

🌐 Website : https://www.jrphysio.com/

Photos from Dr Werachart DO, DPT, PT's post 08/02/2024

Dr W EP: 11
🤔 ปวดด้านนอกสะโพก ปวดด้านในเข่า รักษาที่เข่าและสะโพกเท่าไหร่ไม่หาย ลองมาดูที่เท้าดีมั้ย? part 2 🤔

⚡️Kinetic chain from feet to ankles , knees, hips, and spine⚡️

ℹ️ ต่อจากตอนที่แล้ว วันนี้จะมาขยายความถึง เมื่อเท้า เกิดปัญหาจะส่งผลต่อรยางค์ส่วนอื่นๆ อย่างไรได้บ้าง

ℹ️ ตัวอย่างเช่น

เมื่อเท้าเกิด Pronation ที่ Subtalar jt. มากเกินไป เกิด Flat Arch ย่อมส่งผลต่อ chain ที่เหนือต่อ
➡️ มีโอกาสเกิด Internal rotation ที่ Tibia และ Knee (เกิด Genu valgum และมีโอกาสเกิด Shifted Patella)
➡️ มีโอกาสจะเกิด Internal Rotation ที่ Hip (ทำให้เกิด Functional short leg ขึ้น ซึ่งทำให้เราอาจเข้าใจว่าขาข้างนี้สั้นจริงๆ แต่สั้นเพราะเกิด internal forcesเป็นระยะเวลานาน)
➡️ ส่งผลต่อ Pelvis tilt ด้านหน้า (ส่งผลให้เกิดUnlevel of pelvis และ Shoulder ได้)

❤️ แน่นอนว่าการเกิด movement pattern ที่เพี้ยนไปนานๆ ย่อมส่งผลให้เกิด malalignment of hip, knee, pelvis, spine และ Shoulder ได้
ซึ่งผลที่ตามมาที่อาจจะเกิดขึ้นได้ เช่น Metatarsalgia, Plantar fasciitis, Achilles Tendinitis ที่บริเวณเท้า, Shin splint ที่หน้าแข้ง, Patello-femoral pain syndrome / medial knee pain, Ilio-tibial band friction pain syndrome / Lateral hip pain นอกจากนี้ยังส่งผลให้เกิด Scoliosis , Back pain และ neck pain ในระยะยาวได้ เป็นต้น

🎯 ดังนั้น ถ้าเราไม่ได้ตรวจประเมิน และปรับเท้า (foot correction)
อาการที่บริเวณเข่าด้านใน หรือสะโพกด้านนอก และอาการอื่นๆที่อยู่เหนือต่อ chain เหล่านี้ ก็อาจจะไม่หายไป เพราะร่างกายยังคงมี compensation movement pattern ที่เกิดขึ้นอยู่

✔️ ดังนั้นการตรวจประเมินจึงเป็นเรื่องที่สำคัญมากๆ เพื่อให้วางแผนการรักษาได้อย่างมีประสิทธิภาพ

📣 เมื่อพอเข้าใจคร่าวๆ โพสหน้า จะมายกเคสที่รักษาให้ฟัง "ปวดด้านนอกสะโพก ปวดด้านในเข่า รักษาที่เข่าและสะโพกเท่าไหร่ไม่หาย ลองมาดูที่เท้าดีมั้ย? part 3" หรือถ้าสนใจเรื่องไหนเป็นพิเศษ ก็เสนอมาใน comment ได้เลยนะครับ จะพยายามเขียนกระทู้ให้ได้อาทิตย์ละเรื่องครับ📣

🙏🙏🙏🙏🙏🙏🙏🙏🙏🙏

🌐 Website : https://www.jrphysio.com/

Photos from Dr Werachart DO, DPT, PT's post 07/02/2024

Dr W EP: 10 Kinetic Chain
🤔 ปวดด้านนอกสะโพก ปวดด้านในเข่า รักษาที่เข่าและสะโพกเท่าไหร่ไม่หาย ลองมาดูที่เท้าดีมั้ย? part 1 🤔

⚡️Kinetic chain from feet to ankles , knees, hips, and spine⚡️

ℹ️ หลังจากห่างหายไปนาน วันนี้จะมาแนะนำความสัมพันธ์ระหว่างเท้า ไปจนถึงสะโพกอย่างง่ายๆให้ฟัง

ℹ️ แน่นอนว่า เท้าเป็นฐานของร่างกายคนเรา (The Feet are base of body kinetic chain) ดังนั้นถ้าเท้ามีความผิดปกติไป (Dysfuction) ร่างกายอื่นๆ ก็จะพยายามปรับตัว เพื่อให้ยังคงสามารถเคลื่ิอนไหวต่อไปได้ เกิดเป็น Compensatory dysfunction แน่นอนว่าจะนำไปสู่ความเสี่ยงต่อการบาดเจ็บที่เพิ่มขึ้น

🎯 ดังนั้น ถ้าเราไม่ได้ตรวจประเมิน และปรับเท้า (foot correction)
อาจส่งผลต่อภาวะอาการปวดและ Dysfuction ที่ตำเเหน่ง ankle, knee, hip, spine หรือแม้แต่ shoulder ซึ่งสามารถพบได้บ่อยครั้ง จาก compensation movement pattern ที่เกิดขึ้น

✔️ ดังนั้นการตรวจประเมินจึงเป็นเรื่องที่สำคัญมากๆ เพื่อให้วางแผนการรักษาได้อย่างมีประสิทธิภาพ
...กลัวจะยาวเกินของต่อ ตอนหน้านะครับ...

📣 เมื่อพอเข้าใจคร่าวๆ โพสหน้า จะมาลงลึกเรื่องนี้ต่อได้ "ปวดด้านนอกสะโพก ปวดด้านในเข่า รักษาที่เข่าและสะโพกเท่าไหร่ไม่หาย ลองมาดูที่เท้าดีมั้ย? part 2" หรือถ้าสนใจเรื่องไหนเป็นพิเศษ ก็เสนอมาใน comment ได้เลยนะครับ จะพยายามเขียนกระทู้ให้ได้อาทิตย์ละเรื่องครับ📣
https://www.jrphysio.com/
🙏🙏🙏🙏🙏🙏🙏🙏🙏🙏

Photos from Dr Werachart DO, DPT, PT's post 06/02/2024

Dr W EP: 9 🤔 Sciatica ปวดร้าวลงขา ปัญหาที่ไม่ควรมองข้าม part 3 🤔

⚡️วันนี้ยังคงอยู่ที่ Pseudo-Sciatica ⚡️

ℹ️ วันนี้จะมาแนะนำกล้ามเนื้ออีกมัดที่ทำให้เกิด Pseudo-sciatica ได้ นั่นคือ Long head of Biceps femoris :)

ℹ️ ทบทวนจุดเกาะของ Biceps femoris (ส่วนหนึ่งของ Hamstring)
🔴 Origin :
The long head originates from the ischial tuberosity of the pelvis.
The short head originates from the linea aspera on posterior surface of the femur.
🔴 Insertion- the heads from a tendon, which inserts into the head of the fibula.
🔴 Action : Flexion at the knee. It also extends the leg at the hip and laterally rotates at the hip and knee.

❓ Long head of biceps femoris เกี่ยวข้องยังไงกับ Sciatic nerve
✔️ ถ้าดูตามการวางตัวของกล้ามเนื้อ จะพบว่า Sciatic nerve อยู่หน้าต่อ Long head of bicep femoris ดังนั้นถ้ากล้ามเนื้อมัดนี้ตึงขึ้นมา (tightness) จะมีโอกาสเกิด Sciatica pain จากจุดนี้ได้เช่นกัน

❓ สาเหตุที่ทำให้ tight Hamstring (เดี๋ยวมาขยายความใน EP หน้านะครับ วันนี้้เขียนหัวข้อไว้ให้ก่อน) เช่น

1️⃣ นั่งนานเกินไป (Too much sitting can cause tight Hamstring)
2️⃣ ตึงกล้ามเนื้อต้นขาด้านหน้าส่งผลให้ตึงกล้ามเนื้อต้นขาด้านหลังได้ (Tight Quads can cause tight Hamstring)
3️⃣ กล้ามเนื้อหน้าท้องไม่แข็งแรงส่งผลให้ตึงกล้ามเนื้อต้นขาด้านหลัง (Weak core muscles can cause tight Hamstring)

🎯 เมื่อทราบถึงสาเหตุเราจะสามารถป้องกันการเกิดภาวะ Sciatica pain จากสาเหตุนี้ได้

✔️ ดังนั้นการตรวจประเมินจึงเป็นเรื่องที่สำคัญมากๆ เพื่อให้วางแผนการรักษาได้อย่างมีประสิทธิภาพ

📣 โพสหน้า จะมาแนะนำเรื่องสาเหตุที่ทำให้ Hamstring ตึง หรือถ้าสนใจเรื่องไหนเป็นพิเศษ ก็เสนอมาใน comment ได้เลยนะครับ จะพยายามเขียนกระทู้ให้ได้อาทิตย์ละเรื่องครับ📣

Photos from Dr Werachart DO, DPT, PT's post 05/02/2024

Dr W EP: 8 🤔 Sciatica ปวดร้าวลงขา ปัญหาที่ไม่ควรมองข้าม part 2 🤔

⚡️Pseudo-Sciatica คือภาวะที่มีอาการปวด ชา หรือร้าวตามแนวของ Sciatic nerve จากปัญหาที่ไม่ได้เกิดจากกระดูกสันหลัง (Spinal source) ครั้งก่อนก็เพิ่งพูดถึง Piriformis syndrome ซึ่งเป็นตัวอย่างนึงของสาเหตุ Pseudo-sciatica⚡️

ℹ️ วันนี้จะมาแนะนำกล้ามเนื้ออีกส่วนที่ทำให้เกิด Pseudo-sciatica ได้ นั่นคือ Gluteus minimus ที่ส่งผลให้เกิด Referal pattern แบบเดียวกับ L-HNP ได้นั่นเอง :)

ℹ️ ทบทวนจุดเกาะของ Gluteus minimus
🔴 Origin : Outer (external) surface of ilium, between the anterior and inferior gluteal lines.
🔴 Insertion : Anterior surface of the greater trochanter of femur.
🔴 Action : Abducts and medially rotates hip. Tilts pelvis on walking

อาจสังเกตได้จาก
1️⃣ ลุกขึ้นลำบากหลังจากนั่งนาน
2️⃣ ปวดเมื่อเดิน และปวดอาจจะไม่ลดลงเมื่อนอนพัก
3️⃣ ไม่สามารถนั่งไขว่ห้างได้ง่ายๆ (จึงใช้เป็นท่าตรวจด้วยตนเองแบบง่ายๆ)

🎯 ตัวอย่าง เคสที่เจอพบ คือ มีอาการปวดร้าวลงขาขวา แต่ตรวจไม่พบปัญหาของ Lumbar disc และเมื่อทำการตรวจเพิ่มเติมพบเป็นปัญหาของ gluteus minimus ที่ทำงานมากเกินไป (overworking) และพบ Contralateral QL ทำงานน้อยเกิน (underactive) ซึ่งปัญหานี้พบบ่อย ใน Lateral Sling

✔️ ดังนั้นการตรวจประเมินจึงเป็นเรื่องที่สำคัญมากๆ เพื่อให้วางแผนการรักษาได้อย่างมีประสิทธิภาพ

📣 โพสหน้า จะมาแนะนำเรื่อง Sciatica part 3 หรือถ้าสนใจเรื่องไหนเป็นพิเศษ ก็เสนอมาใน comment ได้เลยนะครับ จะพยายามเขียนกระทู้ให้ได้อาทิตย์ละเรื่องครับ📣

Photos from Dr Werachart DO, DPT, PT's post 02/02/2024

Dr.W EP: 7 🤔 Sciatica ปวดร้าวลงขา ปัญหาที่ไม่ควรมองข้าม part 1 🤔

⚡️ Sciatica คือภาวะที่มีอาการปวด ชา หรือร้าวตามแนวของ Sciatic nerve จากหลัง/ก้น ลงไปที่ขา ⚡️

มักเกิดจาก
1️⃣ ปัญหาที่ Spine เช่น หมอนรองกระดูกปลิ้น (herniated disc), กระดูกงอก (bone spur on the spine)
2️⃣ Sciatic Nerve ถูกเบียดหรือรบกวนนอก Spine เช่น ถูกเบียดโดยกล้ามเนื้อ Piriformis (Piriformis syndrome =>Sciatic nerve entrapment)

ℹ️ วันนี้จะมาแนะนำกลุ่มทำให้เกิดภาวะ Sciatica ภายนอกSpineกันว่า ไม่ได้มีแค่ Piriformis เท่านั้นที่มีโอกาสรบกวน Sciatic nerve ที่บริเวณก้นได้

ℹ️ เนื่องจากกล้ามเนื้อบริเวณก้นมีหลายมัดมาก เเต่กลุ่มที่มักจะมีโอกาสไปรบกวน Sciatic nerve ได้คือ Hip External rotators ทั้ง 6 มัด (Deep 6) ได้แก่
1️⃣ Piriformis
2️⃣ Obturator internus
3️⃣ Obturator externus
4️⃣ Gemellus superior
5️⃣ Gemellus inferior
6️⃣ Quadratus femoris

ℹ️ แน่นอนว่าจากตำเเหน่งการวางตัวของกล้ามเนื้อเหล่านี้อยู่ค่อนข้างใกล้กับ Sciatic nerve ดังนั้นจึงมีโอกาสมากที่กล้ามเนื้อกลุ่มนี้จะไปรบกวน Sciatic nerve ได้ (แต่ไม่ใช่แค่ deep 6 นะครับ ยังมีกลุ่มอื่นๆอีกไว้ต่อครั้งหน้าๆ)

✔️ ดังนั้นการตรวจประเมินจึงเป็นเรื่องที่สำคัญมากๆ เพื่อให้วางแผนการรักษาได้อย่างมีประสิทธิภาพ

📣 โพสหน้า จะมาแนะนำเรื่อง Sciatica part 2 หรือถ้าสนใจเรื่องไหนเป็นพิเศษ ก็เสนอมาใน comment ได้เลยนะครับ จะพยายามเขียนกระทู้ให้ได้อาทิตย์ละเรื่องครับ📣

🙏🙏🙏🙏🙏🙏🙏🙏🙏🙏

Photos from Dr Werachart DO, DPT, PT's post 30/01/2024

Dr.W EP: 6 🤔 ภาวะฮอตฮิตในนักวิ่ง Shin Splint part 2 🤔

🏃‍♀️ก่อนที่จะแนะนำเรื่องท่าออกกำลังกาย เรามาดูจุดเกาะต้นและจุดเกาะปลายของกล้ามเนื้อที่มักทำงานมากกว่าปกติ (overactive)ของภาวะนี้กัน 🏃‍♂️

แบ่งคร่าวๆ เป็น
1️⃣ Medial shin splint (medial stress syndrome) เป็นประเภทที่พบได้บ่อย
- กล้ามเนื้อที่มักทำงานมากเกินไปในกลุ่มนี้ (overactive) เช่น

✔️ Tibialis Posterior
🔴 Origin: Proximal two-thirds of the posterior surfaces of the tibia and the fibula and the interosseus membrane

🔴 Insertion: Passing behind the medial malleolus to attach to the bones that form the arch of the foot: the navicular, each cuneiform and cuboid the calcaneus and metatarsals 2,3,4

🔴 Actions: Inverts and adducts the foot
-----------------
✔️ Soleus
🔴 Origin: Laterally to the the head and the superior 1/3 of the fibula
Medially to the middle 1/3 of the medial border of the tibia and the interosseous membrane

🔴 Insertion: Into the calcaneus via the Achilles tendon

🔴 Actions: Plantarflexion of the foot at the ankle
------------
✔️ Flexor Digitorum Longus
🔴 Origin: The posterior surface of the tibia and to the medial part of the fascia covering the tibialis posterior

🔴 Insertion: Plantar surfaces of the bases of the distal phalanges of the four lateral toes

🔴 Actions: Flexion of the four lateral toes, assists with plantar flexion of the foot at the ankle

2️⃣ Lateral shin splint

- กล้ามเนื้อกลุ่มที่มักทำงานมากเกินไป (overactive) เช่น

✔️ Tibialis Anterior
🔴 Origin: Lateral condyle and proximal half to two-thirds of the lateral surface of the tibial shaft, the adjoining anterior surface of the interosseous membrane and the intermuscular septum between it and the extensor digitorum longus

🔴 Insertion: The plantar surface of the first cuneiform bone and the base of the 1st metatarsal bone.

🔴 Actions: Inverts and adducts the foot

ℹ️ สิ่งสำคัญคือ เราจำเป็นต้องตรวจให้พบว่ากล้ามเนื้อมัดไหนทำงานมากเกินไป และกล้ามเนื้อมัดไหนทำงานน้อยเกินไป โดยเน้น Release การทำงานของ Overactive muscle และ Activate การทำงานของ Underactive muscle เพื่อให้เเก้ไขได้อย่างเหมาะสม

ℹ️ ตัวอย่าง เช่น ขณะวิ่ง Quadriceps ควรจะทำงานขณะเหยียดเข่า แต่เมื่อทำงานไม่มากพอ Tibialis Anterior ก็อาจจะช่วยทำงานมากเกินไป (Functional synnergist) ก็จะส่งผลให้เกิด shear force/torsion ขึ้นที่จุดเกาะ ส่งผลให้รู้สึกเจ็บบริเวณด้านนอกของหน้าเเข้งได้ สำหรับกรณีนี้เราจึงควร Release Tibialis Anterior และ Activate การทำงานของ Quadriceps

📣 โพสหน้า จะมาแนะนำเรื่อง Sciatica หรือถ้าสนใจเรื่องไหนเป็นพิเศษ ก็เสนอมาใน comment ได้เลยนะครับ จะพยายามเขียนกระทู้ให้ได้อาทิตย์ละเรื่องครับ📣

30/01/2024

คอร์สเรียนออนไลน์ 22 หัวข้อ ใช้เวลาหัวข้อละประมาณ 1-2 ชั่วโมง สามารถทบทวนย้อนหลังได้ ประมาณ 30 วันในแต่ละหัวข้อ โดยคอร์สนี้ผู้เรียนสามารถชำระค่าเล่าเรียนเท่าไหร่ก็ได้โดย 50% ของการชำระค่าเล่าเรียน จะนำไปบริจาคให้กับโรงพยาบาลจุฬาฯ อ่านรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ลิงค์ด้านล่าง
https://m.facebook.com/story.php?story_fbid=966025038442637&id=100051054503857&mibextid=RtaFA8

💥 คอร์ส Training and Exercise from Basic to Advanced 💥

🎈เหมาะสำหรับทุกคนที่สนใจสุขภาพ และการออกกำลังกาย เทรนเนอร์ นักกายภาพ ครูโยคะครูพิลาทิส นักกีฬา ผู้ฝึกสอนนักกีฬา 🏌️🧗‍♀🚵‍♀️

🔥ค่าเรียน: ร่วมสนับสนุนการสอน เท่าไหร่ก็ได้ ไม่มีขั้นต่ำ
[รายได้ 50%นำไปบริจาคให้รพ.จุฬาลงกรณ์ 🏥]

✅ใช้เวลาประมาณ 1-2 ชม. ในแต่ละหัวข้อ (เนื้อหารวมไม่ต่ำกว่า 30 ชั่วโมง)
✅สอนอาทิตย์ละ 1 หัวข้อ โดยสอนทุกวันอังคาร เวลา 12.00-14.00 (รวมทั้งหมด 22 หัวข้อ: วันที่สอนและเนื้อหาอาจจะสลับได้ในภายหลัง จะแจ้งเพิ่มเติมในกลุ่ม)
✅ผ่าน zoom meeting (ท่านไหนที่ลงทะเบียนเรียนไว้และไม่สะดวกเรียนในรอบ Zoom สามารถเข้ามาเรียนย้อนหลังได้ โดย record ไว้ในกลุ่มเพื่อทบทวนย้อนหลังได้ 30 วัน ในแต่ละหัวข้อ)

ตารางสอนเรียนเดือนกุมภาพันธ์ 67
▶Chapter 1: Structure and Function of Body Systems วันอังคาร ที่ 6 ก.พ. 67
▶Chapter 2: Biomechanics of Resistance Exercise วันอังคาร ที่ 13 ก.พ. 67
▶Chapter 3: Bioenergetics of Exercise and Training วันอังคาร ที่ 20 ก.พ. 67
▶Chapter 4: Endocrine Responses Resistance Exercise วันอังคาร ที่ 27 ก.พ. 67
ตารางสอนเรียนเดือนมีนาคม 67
▶Chapter 5: Adaptations to Anaerobic Training Programs วันจันทร์ ที่ 4 มี.ค. 67
▶Chapter 6: Adaptations to Aerobic Endurance Training Programs วันอังคาร ที่ 19 มี.ค. 67
▶Chapter 7: Age- and Sex-Related Difference and Their Implications for Resistance Exercise วันจันทร์ที่ 25 มี.ค.67
▶Chapter 8: Psychology of Athletic Preparation and Performance วันอังคาร ที่ 26 มี.ค. 67
ตารางสอนเรียนเดือนเมษายน 67
▶Chapter 9: Basic Nutrition Factors in Health + Chapter 10: Nutrition Strategies for Maximizing Performance วันที่ 9 เม.ย. 67
▶Chapter 11: Performance-Enhancing Substances and Methods วันที่ 22 เม.ย. 67
ตารางสอนเรียนเดือนมิถุนายน 67
▶Chapter 12: Principles of Test Selection and Administration + Chapter 13: Administration, Scoring, and Interpretation of Selected Tests วันที่ 4 มิ.ย. 67
▶ Chapter 14: Warm-Up and Flexibility Training วันที่ 11 มิ.ย. 67
▶Chapter 15: Exercise Technique for Free Weight and Machine Training วันที่ 18 มิ.ย. 67
▶Chapter 16: Exercise Technique for Alternative Modes and Nontraditional Implement Training วันที่ 25 มิ.ย. 67
ตารางสอนเรียนเดือนกรกฏาคม 67
▶Chapter 17: Program Design for Resistance Training วันที่ 1 ก.ค. 67
▶Chapter 18: Program Design and Technique for Plyometric Training วันที่ 2 ก.ค. 67
▶Chapter 19: Program Design and Technique for Speed and Agility Training วันที่ 9 ก.ค. 67
▶Chapter 20: Program Design and Technique for Aerobic Endurance Training วันที่ 16 ก.ค. 67
▶Chapter 21: Periodization วันที่ 23 ก.ค. 67
▶Chapter 22: Rehabilitation and Reconditioning วันที่ 30 ก.ค. 67

เงื่อนไขการรับสิทธิ์เรียนฟรี
1. แชร์โพสต์ แท็กเพื่อน3คนพร้อมเปิดสาธารณะ และแคปหน้าจอส่งใน comment นี้
2. ร่วมสนับสนุนการสอน เท่าไหร่ก็ได้ ไม่มีขั้นต่ำ ได้ที่ ธ.กรุงไทย เลขบัญชี 596-0-00127-6 ชื่อบัญชี นาย วีรชาติ ใจอารีย์ พร้อมแนบภาพหลักฐานการโอนเงิน
[รายได้ 50%นำไปบริจาคให้รพ.จุฬาลงกรณ์]

🔥 สมัครได้ที่ https://forms.gle/dALcT3bKWdWTZnMaA

🙏🙏ถ้าติดปัญหาการเข้าร่วมกลุ่มสามารถ inbox เข้ามาสอบถามได้นะคะ ซึ่งส่วนนึงมาจากการยังไม่ได้แชร์โพส + tagชื่อเพื่อน 3 คน พร้อมทั้งเปิดสาธารณะ จึงทำให้ยังไม่ได้Approveค่ะ

🙏🙏ปล.คอร์สนี้ปิดรับสมัครวันที่ 31 กรกฏาคม 67 เวลา 12.00 นะคะ เพื่อสรุปยอดนำเงิน50% ไปบริจาคให้กับ รพ.จุฬา ตามวัตถุประสงค์ที่แจ้งไว้ตอนแรก ส่วนวีดีโอสามารถดูย้อนหลังได้ 30 วัน นับจากวันที่สอนในแต่ละหัวข้อ

ส่วนคอร์สอื่นๆในปีนี้ของทางคลินิก สามารถดูรายละเอียดได้ที่
https://www.facebook.com/100051054503857/posts/918521419859666/

Photos from Dr Werachart DO, DPT, PT's post 29/01/2024

Dr.W EP: 5 🤔 ภาวะฮอตฮิตในนักวิ่ง Shin Splint part 1 🤔

Shin splint เป็นอาการอักเสบ/บาดเจ็บของกล้ามเนื้อ และเยื่อหุ้มกล้ามเนื้อ โดยจะเจ็บบริเวณหน้าแข้ง

🏃‍♀️ ซึ่งพบมากในนักวิ่ง🏃‍♂️
(Shin หรือกระดูกหน้าแข้ง ซึ่งวางตัวอยู่ระหว่างข้อเข่าและข้อเท้า)

ℹ️ สำหรับการบาดเจ็บของขาส่วนล่าง (lower leg injuries) แนะนำให้มอง chain ที่อยู่เหนือต่อส่วนที่บาดเจ็บ พวกกล้ามเนื้อกลุ่มใหญ่ อย่างเช่น Quadriceps , Hip flexor, Glute มักพบว่าทำงานไม่ค่อยได้ (not functioning properly) จะส่งผลให้ขาท่อนล่าง ต้องทำงานมากขึ้น เพื่อทดเเทน จึงส่งผลให้เกิดการใช้งานซ้ำและมากเกินไป (repetitive movement + overactivity) จากความสัมพันธ์นี้สรุปง่ายๆคือ ถ้า kinetic chain ส่วนใดส่วนหนึ่งทำงานไม่ได้หรือไม่มากพอ ย่อมส่งผลให้เกิดwork load ต่อ chain ที่อยู่ถัดไปหรือใกล้เคียง ส่งผลให้เกิด dysfunctional movement ขึ้น

แบ่งคร่าวๆ เป็น
1️⃣ Medial shin splint (medial stress syndrome) เป็นประเภทที่พบได้บ่อย
- มักจบบริเวณหน้าแข้งด้านใน
- กลุ่มนี้อาจพบ saphenous nerve entrapment (medial crural cutaneous branch)ได้
- กล้ามเนื้อที่มักทำงานมากเกินไปในกลุ่มนี้ (overactive) เช่น Tibialis Posterior, Soleus, FDL (ตามแนวfascia line)

2️⃣ Lateral shin splint
- มักมีอาการเจ็บที่หน้าแข้งด้านนอก
- กล้ามเนื้อกลุ่มที่มักทำงานมากเกินไป (overactive) เช่น Tibialis Anterior

✅✅ แน่นอนว่าเมื่อมีกลุ่มเนื้อที่ทำงานมากเกินไป ก็ย่อมมีกลุ่มกล้ามเนื้อที่ทำงานน้อยเกินไป ดังนั้นต้องตรวจประเมินกลุ่มที่ Underwork ให้พบ โดยเฉพาะกล้ามเนื้อพวก Quadriceps , Hip flexor, Glute เเละทำการ activate รวมทั้งกลุ่มที่ Overwork ก็ต้องทำการ Release เพื่อกระตุ้นให้ kinetic chain กลับมาทำงานปกติได้ และลดโอกาสเกิดการบาดเจ็บในอนาคต✅✅

📣 โพสหน้า จะมาต่อเรื่องท่าออกกำลังกายของ Shin Splint หรือถ้าสนใจเรื่องไหนเป็นพิเศษ ก็เสนอมาใน comment ได้เลยนะครับ จะพยายามเขียนกระทู้ให้ได้อาทิตย์ละเรื่องครับ

Photos from Dr Werachart DO, DPT, PT's post 27/01/2024

Dr. W EP: 4 🤔 เมื่อคนไข้กางแขนได้ไม่สุด (Humeral abduction) Part 4 ภาคจบ🤔

ℹ️ จากความสัมพันธ์ของ Rhomboid & Serratus Anterior (Angonist and Antagonist of Downward & Upward rotation of Scapulaใน Spiral line)

🔴 ปัญหาแบบที่ 2 (พบได้น้อยกว่าแบบแรก) คือ Rhomboid จะหดสั้น (locked short) และ Serratus ยืดยาว (locked long)
วิธีสังเกต
1️⃣ Scapula มีแนวโน้มจะถูกดึงให้นูนออกมา (Winging scapula) ซึ่งสามารถทดสอบได้ด้วยการทำ Wall Push-up Test
2️⃣ อาจพบ flat (extended) thoracic spine


🔴 ท่าออกกำลังกาย เพื่อเพิ่มกำลังกล้ามเนื้อ Serratus Anterior มีอยู่หลายท่า เช่น
1️⃣ Pressing motion away from the body. (ท่านี้โอกาสกระตุ้นการทำงานของ Pectoral muscle มากเกินไป
2️⃣ Activate the serratus anterior in a fixed position (90-degrees of arm elevation) ท่านี้อาจไม่เหมาะกับคนไข้ที่มีอาการเจ็บ เมื่อยกแขนขึ้นมากกว่า 90 องศา เพราะอาจจะกระตุ้นอาการได้

วันนี้จะมาแนะนำท่าเพิ่มความแข็งแรงของ Serratus Anterior โดยไม่กระตุ้นการทำงานของ Pectoral muscle มากเกินไป เช่น
1️⃣ Scapular Raises
2️⃣ Floor & Wall Angel
3️⃣ Wall Slide (จากงานวิจัยพบว่า เป็นหนึ่งในท่าที่สามารถ activate การทำงานของ Serratus Anterior ได้ดีที่สุด)

🔴 วิธีการยืด/ลดการทำงานของ Rhomboid เช่น
1️⃣ Rhomboid Stretch
2️⃣ Release by Ball /Foam roller
3️⃣ Massage

**แน่นอนว่าเราคงไม่สามารถออกกำลังกายเพื่อเพิ่มความแข็งแรงของกล้ามเนื้อมัดใดมัดหนึ่งโดยเฉพาะ (isolated muscle)ได้ แต่เราสามารถให้การออกกำลังเป็น functional muscle group (ทั้ง Functional Synergist และ Agonist) และท่าออกกำลังกายก็ไม่ได้มีเพียงเท่านี้ นี่เป็นเพียงตัวอย่างเท่านั้น จริงๆแค่เรารู้จุดเกาะต้นเเละเกาะปลายก็สามารถออกแบบท่าexerciseได้เอง**

สรุป ❤️ การที่ Scapula วางตัวอยู่ในแนวที่ไม่เหมาะสม จากผลของ muscle imbalance ของ Rhomboids และ Serratus Anterior ย่อมส่งผลต่อการกางแขนแน่นอน เพราะทั้งคู่ล้วนมีจุดเกาะร่วมกันที่ Medial border of scapula นอกจากการตรวจประเมิน และแก้ไขในส่วนของ Force closure แล้วเรายังคงต้องให้ความสำคัญกับ Form closure รวมทั้ง Motor control ด้วย เพื่อให้การรักษา และการเคลื่อนไหวได้อย่างมีประสิทธิภาพ ❤️

ขอบคุณข้อมูลดีๆจาก
squatuniversity.com/2018/09/27/strengthening-the-serratus-anterior/

📣 โพสหน้า จะเป็นเรื่องของกล้ามเนื้อมัดเล็กๆ แต่ส่งผลมหาศาล อย่าง Pectoralis minor หรือถ้าสนใจเรื่องไหนเป็นพิเศษ ก็เสนอมาใน comment ได้เลยนะครับ 📣

🙏🙏🙏🙏🙏🙏🙏🙏🙏🙏

Photos from Dr Werachart DO, DPT, PT's post 27/01/2024

Dr. W EP: 3 🤔 เมื่อคนไข้กางแขนได้ไม่สุด (Humeral abduction) Part 3 🤔

ก่อนอื่นขอทบทวนจุดเกาะต้นและปลายของกล้ามเนื้อ 2 มัดก่อนนะครับ

✅ Serratus Anterior
จุดเกาะต้น : Upper 8th or 9th ribs
จุดเกาะปลาย : Medial border of scapula
Action : Abduction and rotates scapula upward
Elevate rib when scapula stablized

✅ Rhomboids
จุดเกาะต้น :
Minor : C7 Spinous process
Major : T1-T4 Spinous process
จุดเกาะปลาย : Medial border of scapula
Action : Retract scapula and fix scapula to thoracic wall

ℹ️ จากความสัมพันธ์ของ Rhomboid & Serratus Anterior (Angonist and Antagonist of Downward & Upward rotation of Scapulaใน Spiral line)

แบบแรก คือ
- Rhomboids มักจะถูกยืด (locked long /overstretched, eccentrically loaded)
- ขณะที่ Serratus หดสั้น (locked short /concentrically loa ded) มักพบในนักเพาะกาย

🔴 ท่าออกกำลังกาย เพื่อเพิ่มกำลังกล้ามเนื้อ Rhomboid เช่น
- Bat Wings
- Bent-Over Rows
- Rhomboid Darts
- Resistance Band Pull

🔴 วิธีการยืด/ลดการทำงานของ Serratus Anterior เช่น
- Serratus Stretch
- Release by Ball /Foam roller
- Massage

แบบสอง (ต่อโพสหน้านะครับ กลัวยาวเกิน)

**แน่นอนว่าเราคงไม่สามารถออกกำลังกายเพื่อเพิ่มความแข็งแรงของกล้ามเนื้อมัดใดมัดหนึ่งโดยเฉพาะ (isolated muscle)ได้ แต่เราสามารถให้การออกกำลังเป็น functional muscle group (ทั้ง Functional Synergist และ Agonist) และท่าออกกำลังกายก็ไม่ได้มีเพียงเท่านี้ นี่เป็นเพียงตัวอย่างเท่านั้น จริงๆแค่เรารู้จุดเกาะต้นเเละเกาะปลายก็สามารถออกแบบท่าexerciseได้เอง**

📣 โพสหน้า จะมาต่อเรื่องวิธีการออกกำลังกาย ในกรณีที่ Rhomboid ทำงานมากเกินไป และ Serratus Anterior ทำงานน้อยเกินไป และจะมาอธิบายว่ากล้ามเนื้อกลุ่มนี้ สัมพันธ์กับการกางแขน (humeral abduction)อย่างไร รวมทั้งรูปการของ Scapular wing แบบต่างๆ 📣

🙏🙏🙏🙏🙏🙏🙏🙏🙏🙏

Photos from Dr Werachart DO, DPT, PT's post 26/01/2024

Dr. W EP: 2 🤔 เมื่อคนไข้กางแขนได้ไม่สุด (Humeral abduction) Part 2 🤔

แน่นอนว่าเมื่อ Scapula วางตัวอยู่ในแนวที่ไม่เหมาะสม จากผลของ muscle imbalance ย่อมส่งผลต่อการเคลื่อนไหวของข้อไหล่

ℹ️ จากความสัมพันธ์ของ Rhomboid & Serratus Anterior (ใน Spiral line)

🔴 แบบแรก คือ Rhomboids มักจะถูกยืด (locked long /overstretched, eccentrically loaded) ขณะที่ Serratus หดสั้น (locked short /concentrically loaded)
มักพบในนักเพาะกาย (body builder)🏋️‍♀️

วิธีสังเกต คือ
1. Scapula จะห่างออกจาก spine
2. อาจพบภาวะกระดูกสันหลังส่วนอกคร่อมได้ (Thoracic kyphotic spine / anterior thoracic bend).

🔴 แบบที่ 2 คือ Rhomboid จะหดสั้น (locked short) และ Serratus ยืดยาว (locked long)
วิธีสังเกต
1. Scapula มีแนวโน้มจะถูกดึงให้นูนออกมา (Winging scapula) ซึ่งสามารถทดสอบได้ด้วยการทำ Wall Push-up Test
2. อาจพบ flat (extended) thoracic spine

🧠 *การกางแขน (humeral abduction) ได้ดีนั้น ในช่วงแรกต้องอาศัยการทำงานของ
Supraspinatus (0-15 องศา ของ shoulder abduction) หลังจากนั้น
Middle Deltoid จะเป็นตัวหลักในการทำงานต่อ (15-90 องศาของ shoulder abduction) ตามด้วย Trapezius และ Serratus Anterior เพื่อทำให้เกิด Upward rotation of scapula เพื่อให้ไปต่อได้จนสุด 180 องศา = Elevation (90-180 องศา)

🧠 ในช่วงสุดท้ายของการกางแขนนี้เองความสัมพันธ์ของ Serratus-Rhomboid จึงเป็นเรื่องที่น่าสนใจ เพราะทั้งคู่ต่างเป็น Angonist-antagonist ของการทำ Downward & Upward rotation of Scapula
*** ทั้งนี้สามารถทำการทดสอบความแข็งแรงของกล้ามเนื้อแต่ละมัดได้ ตามหลัก Muscle testing ***

เมื่อเราสามารถสังเกตได้คร่าวๆ แล้วก็จะสามารถประยุกต์แนวทางการรักษาและออกกำลังกายต่อได้

📣 โพสหน้า จะมาแนะนำแนวทางการออกกำลังกายแต่ละเเบบเพื่อช่วยให้การกางแขนดีขึ้น (humeral abduction) และรูปการของ Scapular wing แบบอื่นๆ 📣

🙏🙏🙏🙏🙏🙏🙏🙏🙏🙏

ต้องการให้ธุรกิจของคุณ ธุรกิจ ขึ้นเป็นอันดับหนึ่ง โรงเรียน ใน Bangkok?
คลิกที่นี่เพื่อเป็นสมาชิก?

ประเภท

เบอร์โทรศัพท์

เว็บไซต์

ที่อยู่


Bangkok

การศึกษา อื่นๆใน Bangkok (แสดงผลทั้งหมด)
MS MKT Chula Thailand MS MKT Chula Thailand
Chulalongkorn University
Bangkok, 10330

Master of Science in Marketing Chulalongkorn University หลักสูตรวิทยาศ?

KUS Academic Club (KUSAC) KUS Academic Club (KUSAC)
Kasetsart University Laboratory School
Bangkok

Official page of KUS Academic Club (KUSAC) - ชมรมวิชาการนักเรียนสาธิตเกษตร

แนะแนวเรียนต่อต่างประเทศ Learning Curve แนะแนวเรียนต่อต่างประเทศ Learning Curve
191, 193 Soi Prasertmanukit 29, Prasertmanukit Road, Jorakaebua, Ladprao
Bangkok, 10230

ศูนย์แนะแนวการศึกษาต่อต่างประเทศ

Dharmniti Seminar & Training Dharmniti Seminar & Training
178 อาคารธรรมนิติ ชั้น 4 ซอยเพิ่มทรัพย์ ถนนประชาชื่น 20 แขวงบางซื่อ เขตบางซื่อ
Bangkok, 10800

บริษัท ฝึกอบรมและสัมมนาธรรมนิติ จำกัด Dharmniti Seminar and Training Co.,Ltd.

NetDesign Learning Center NetDesign Learning Center
No. 1 22nd Floor, Fortune Tower, Rajadabhisek Road
Bangkok, 10400

NetDesign สถาบันอบรมด้าน Multimedia Design อันดับ1ของเมืองไทยเปิด 9.00-18.00 น. ปิดวันนักขัตฤกษ์ | www.NetDesign.ac.th

Front End Dev Thailand Front End Dev Thailand
บริษัท เก้ายอดสตูดิโอ จำกัด 72/5 หมู่บ้าน @Home ซ. อาภาศิริ ถ. สุทธิสารวินิชฉัย, สามเสนนอก, กรุงเทพฯ
Bangkok, 10310

http://www.jQuery.in.th

BrainAsset BrainAsset
283 Surawong Road , Bangrak
Bangkok, 10500

BrainAsset มุ่งเน้นที่จะให้บริการทางด้าน?

หนังสือน่าอ่าน หนังสือน่าอ่าน
KMUTT
Bangkok

พื้นที่ของหนอนหนังสือและแชร์ประสบ?

Thai Studies Center, Chulalongkorn University Thai Studies Center, Chulalongkorn University
Room 401/21, 4th Floor, Maha Chakri Sirindhorn Building, Faculty Of Arts, Chulalongkorn University
Bangkok, 10330

Thai Studies Center, Chulalongkorn University, offers M.A. and Ph.D Programs in Thai Studies, conducted in English, these programs are designed for those who are interested in all ...

Thailand Pavilion - World Expo 2010 Shanghai China by Phloiko Thailand Pavilion - World Expo 2010 Shanghai China by Phloiko
Thammasat University
Bangkok

อะไร อะไร ก็จีนนนนนนนนนนนนนนนนนนน

Lingo English Institute Lingo English Institute
Samsen Nai Phaya Thai
Bangkok, 10400

English Courses for all ages Kids, Adults, and Corporate

รณรงค์ต่อต้าน ภาวะโลกร้อน รณรงค์ต่อต้าน ภาวะโลกร้อน
Thailand
Bangkok, 10240

ภาวะโลกร้อน หรือ โลกร้อน ภัยธรรมชาติอันร้ายแรงซึ่งพวกเราต้องร่วมมือกันหยุดมันเพื่อโลก?