National Geographic Thailand

National Geographic ฉบับภาษาไทย "เพราะชีวิตคือความอยากรู้" ในเครือ Amarin Media & Event

ช่องทางการสมัครสมาชิกและสั่งซื้อนิตยสารฉบับปัจจุบัน / ฉบับย้อนหลัง
1.สมัครสมาชิก(สำหรับอ่านเอง) และ สั่งซื้อนิตยสาร : https://bit.ly/3LZ9wlp
2.สมัครสมาชิกอุปถัมภ์(สำหรับบริจาค) : https://bit.ly/3LX2e1i
3.Line : @amarin-member
4.E-mail : [email protected]
5.เบอร์โทร 02-423-9999 กด 2

อะไรคือสิ่งที่ต้องรู้เกี่ยวกับปรากฏการณ์ Super Blue Moon 02/09/2024

ซุปเปอร์บลูมูน (Super Blue Moon) ปรากฏการณ์ทางดาราศาสตร์ที่สิบปีมีหนึ่งครั้ง แต่โลกเพิ่งผ่านช่วงเวลาแห่งความพิเศษด้วยการมี ซุปเปอร์บลูมูน 2 ปีติดต่อกัน ช่วงเวลาดังกล่าวอาจทำให้หลายคนสับสน อะไรคือสิ่งที่ต้องรู้เกี่ยวกับปรากฏการณ์นี้

อะไรคือสิ่งที่ต้องรู้เกี่ยวกับปรากฏการณ์ Super Blue Moon ซุปเปอร์บูลมูน (Super Blue Moon) ปรากฏการณ์ทางดาราศาสตร์ที่สิบปีมีหนึ่งครั้ง แต่โลกเพิ่งผ่านช่วงเวลาแห่งความพิเศษ....

02/09/2024

นักวิทยาศาสตร์บางคนเชื่อว่าจักรวาลของเราสามารถ ‘เด้งกลับ’ ได้จากจุดที่เล็กที่สุดไปยังสิ่งที่มีขนาดมหึมาแล้วก็หดตัวลงมาอีกครั้งเพื่อเริ่มวัฏจักรใหม่ หากทฤษฎีนี้เป็นจริง มันอาจส่งผลกระทบอย่างลึกซึ่งต่อธรรมชาติของสิ่งที่เรารู้ในปัจจุบัน รวมถึงสิ่งที่ลึกลับและสุดขั้วนั่นคือ หลุมดำและสสารมืด
อ่านต่อที่ https://ngthai.com/science/72267/bouncing-universe-big-bang/
เราทุกคนต่างเคยได้ยินคำว่า ‘บิ๊กแบง’ (Big Bang) โดยเชื่อกันว่ามันเป็นจุดเริ่มต้นของจักรวาลเมื่อราว 13.8 พันล้านปีก่อน ณ จุดจุดหนึ่งที่ว่างเปล่า จักรวาลก็ได้ขยายตัวอย่างรวดเร็วพร้อมกับสร้างสสารจำนวนมากจนกลายเป็นสิ่งที่เห็นได้ในปัจจุบัน แต่ในขณะเดียวกันมันก็ได้สร้างคำถามหลายอย่างตามมา
ในการศึกษาครั้งใหม่นี้ นักวิจัยได้สำรวจการจำลองสถานการณ์ที่ว่า สสารมืดอาจประกอบไปด้วยหลุมดำดึกดำบรรพ์ที่เกิดจากความผันผวนของความหนาแน่นซึ่งเป็นไปได้ว่าเกิดขึ้นจากการ ‘หดตัว’ ครั้งสุดท้ายของจักรวาลก่อนหน้าเรา และมันก็อาจสังเกตเห็นได้ผ่านคลื่นความโน้มถ่วงที่เกิดจากการก่อตัวของหลุมดำ
ในมุมมองทางจักรวาลวิทยาแบบดั้งเดิมนั้นเชื่อกันว่าจักรวาลปัจจุบันของเราเริ่มต้นขึ้นจากภาวะเอกฐานหรือ singularity ซึ่งตามมาด้วยการขยายตัวอย่างรวดเร็วในช่วงเวลาสั้น ๆ ที่นักวิทยาศาสตร์เรียกกันอย่างง่าย ๆ ว่า ‘พองตัว’ ซึ่งส่งผลให้เอกภพยังคงขยายตัวอยู่ในปัจจุบัน
อย่างไรก็ตาม งานวิจัยใหม่นี้ได้ลองวิเคราะห์ในสถาณการณ์ที่แตกต่างออกไปนั่นคือ จักรวาลไม่ได้เริ่มต้นจากภาวะเอกฐาน แต่อันที่จริงแล้วเป็นการกระเด้งกลับของสสารก่อนหน้า โดยมีสมมติฐานว่าจักรวาลดังกล่าวได้หดตัวลงจนถึงจุดที่มีความหนาแน่นของสสารสูงสุด และท้ายที่สุดก็กลายเป็นบิ๊กแบง

Photos from National Geographic Thailand's post 01/09/2024

กระบวนการที่ซากไดโนเสาร์ยักษ์ใหญ่ถูกธรรมชาติแปลงให้กลายเป็นฟอสซิลนั้นซับซ้อนและน่าประหลาด แต่ที่ประหลาดไม่แพ้กันก็คือหลังจากถูกทับถมฝังกลบมายาวนาน ฟอสซิลนั้นก็กลับสู่พื้นโลกอีกครั้ง ให้สิ่งมีชีวิตอีกต่างเผ่าพันธุ์อย่างมนุษย์ขุดค้นพบ และเพียรพยายามในการประกอบร่างไดโนเสาร์ขึ้นใหม่
ชวนอ่านขั้นตอนการประกอบโครงกระดูกไดโนเสาร์ ที่เหล่าผู้เชี่ยวชาญสาขาต่างๆ ร่วมมือกันแปลงโฉมกระดูกชิ้นเล็กใหญ่จำนวนหลายตันซึ่งฝังอยู่ในหินให้กลายเป็นร่างไดโนเสาร์ยักษ์สูงตระหง่าน ยาวกว่า 22 เมตรขึ้นใหม่ ที่จะทำให้ผู้เยี่ยมชมพิพิธภัณฑ์ประวัติศาสตร์ธรรมชาติแห่งลอสแอนเจลิสตื่นตาตื่นใจ
[อ่านบทความฉบับเต็มได้ที่ https://ngthai.com/history/72236/gnatalie-sauropod-dinosaur-museum/ ]
#ไดโนเสาร์ #บรรพชีวินวิทยา

01/09/2024

หลายคนอาจไม่ทราบว่า อนุสาวรีย์ โบสถ์อันงดงาม สถาปัตยกรรมต่างๆ และสถานที่อันเป็นเอกลักษณ์ของปารีสถูกสร้างขึ้นจากหินปูนที่ขุดขึ้นมาจากเขาวงกตอันกว้างใหญ่ของเหมืองใต้ดินตั้งแต่สมัยยุคกลาง (คริสต์ศตวรรษที่ 5 ถึงคริสต์ศตวรรษที่ 15)
อ่านต่อที่ https://ngthai.com/history/72228/paris-cataphile/
อุโมงค์ขนาดยาวแห่งนี้ถูกทิ้งร้างมายาวนาน ไม่ได้อนุญาตให้ใครเข้าไปยุ่ง แต่ต่อมาก็มีนักสำรวจแอบบุกเมืองใต้ดินผ่านทางท่อระบายน้ำและหาประตูเข้าไปได้ เรื่องราวของเมืองใต้ดินจึงกลายมาเป็นตำนานเมืองที่มีเรื่องเล่าถึงมากมาย แต่ก็ไม่ได้สร้างความหวาดกลัวให้กับชาวฝรั่งเศส เด็กวัยรุ่นและนักท่องเที่ยวที่สนใจไคร่รู้ โดยมีคำเรียก เด็กนักเรียน หรือ กลุ่มวัยรุ่น ที่ชอบลงไปท้าทายความมืดในอุโมงค์ใต้ดินว่า Cataphile
ต่อมากำแพงเหมืองเก่าถูกพ่นสีเป็นกราฟฟิตี้ มีนักจัดอีเวนท์ลงไปเนรมิตดิสโก้เธคตอนกลางคืน มีการแสดงงานศิลปะที่ผิดกฎหมาย และการทำโรงภาพยนตร์ลับใต้ดิน

31/08/2024

ดวงดาวที่ใหญ่ที่สุด ในจักรวาล Stephenson 2-18 หรือ กาแล็กซีทางช้างเผือก มีขนาดรัศมีใหญ่กว่าดวงอาทิตย์ในระบบสุริยะจักรวาลถึง 2,150 เท่า ถือเป็นดาวยักษ์ที่ทำให้ดวงอาทิตย์ดูดวงเล็กลงเหลือขนาดนิดเดียว หากนำมาวางเทียบขนาดกัน
อ่านต่อที่ https://ngthai.com/science/72143/stephenson-2-18-star-universe/
Stephenson 2-18 เป็นที่รู้จักในชื่อสตีเฟนสัน 2 DFK 1 หรือ RSGC2-18 คือซุปเปอร์ดาวยักษ์สีแดง ประเภท Red Hypergiant อยู่ห่างจากโลกประมาณ 20,000 ปีแสง อยู่ในบริเวณทิศของกลุ่มดาวโล่ (Scutum) รวมถึงยังเป็นดวงอาทิตย์ที่สว่างที่สุดในจักรวาล ซึ่งหากนำมาอยู่เป็นศูนย์กลางของระบบสุริยะของเรา มันจะกลืนกินดวงดาวไปถึงวงโคจรของดาวเสาร์
ทั้งนี้ Stephenson 2-18 มีขนาดใหญ่กว่าดวงอาทิตย์ถึง 2,150 เท่า ถูกค้นพบโดยนักดาราศาสตร์ชาวอเมริกันชื่อ Charles Bruce Stephenson เมื่อปี 1990 ซึ่งเขาเห็นมันโดดเด่นอยู่ในกระจุกดาวหรือคลัสเตอร์ที่ชื่อ RSGC2 แต่ด้วยความที่ Stephenson 2-18 อยู่ในตำแหน่งที่ห่างไกลเกินปกติ รวมทั้งความสว่างสูงมาก และเคลื่อนไหวน้อย ทำให้ช่วงแรกมันยังไม่ถูกรับรองจากองค์กระดับประเทศ

31/08/2024

ชวนร่วมสัมมนา SACIT Craft Power: Trend Symposium
ยกระดับงานศิลปหัตกรรมไทยสู่สากล
พร้อมอัปเดตเทรนด์งานฝีมือปี 2568 และแลกเปลี่ยนมุมมองกับผู้เชี่ยวชาญทั้งไทยและต่างประเทศ วันอังคารที่ 3 กันยายน 2567 เวลา 13.00 - 17.00 น. ณ C asean Ratchada ห้อง AUDITORIUM & Multifunction Hall ชั้น 10

สแกน QR Code เพื่อลงทะเบียน

อย่าพลาดโอกาสพัฒนางานศิลปหัตถกรรมของคุณให้ก้าวไกลไปกับเรา
สอบถามข้อมูลเพิ่มได้ที่ โทร. 092-6622499

#หัตถกรรม #ศิลปหัตถกรรม #ทำมือ #สถาบันส่งเสริมศิลปหัตถกรรมไทย #กระทรวงพาณิชย์

31/08/2024

กลายเป็นหัวข้อแห่งการถกเถียงเมื่อไม่นานมานี้ในหมู่คนรักสุนัขว่า มนุษย์กับน้องหมาจะสามารถสื่อสารกันโดยใช้สิ่งที่เรียกว่า ‘แผงเสียงคำพูด’ หรือ soundboards ที่เมื่อสุนัขไปกดปุ่มก็จะมีเสียงพูดของคำคำนั้นเปล่งออกมา
อ่านต่อที่ https://ngthai.com/wildlife/72225/dogs-really-can-communicate/
พวกเขาได้สร้างการทดลองสองครั้งในสุนัขจำนวน 59 ตัวโดยทั้งหมดถูกฝึกให้ใช้แผงเสียง สำหรับการทดสอบโดยครั้งแรกทีมวิจัยได้ทดสอบแบบตัวต่อตัวด้วยการไปเยี่ยมบ้านของน้องหมา 30 ตัว และอีกครั้งคือทดสอบผ่านระยะไกลทั่วประเทศเพื่อดูว่าสุนัขตอบสนองอย่างไรต่อปุ่มเสียงต่าง ๆ เช่นคำว่า ‘out, outside, play, toy, eat, dinner หรือ hungry

Photos from National Geographic Thailand's post 30/08/2024

ชวนโหวตผลงานที่คุณชื่นชอบ เพื่อเป็น POPULAR VOTE ชุดภาพสารคดียอดนิยมในโครงการประกวดสารคดีภาพถ่าย National Geographic Thailand Photography Contest 2024 “10 ภาพเล่าเรื่อง” Season 9 ภายใต้หัวข้อ “FOLLOW THE RIVER”
กติกา : ร่วมแสดงการมีส่วนร่วม (Engagement) ในแต่ละชุดภาพตามโพสต์ที่กำหนดในอัลบั้มนี้ โดยที่ผู้ชนะจะเป็นผู้ที่ได้รับคะแนนมากที่สุด
กด Like, Love (1 Like / Love = 1 คะแนน) กดแชร์ (1 แชร์ = 2 คะแนน) โดยการมีส่วนร่วมต้องอยู่ในเพจ National Geographic Thailand เท่านั้น (คลิ๊กที่ภาพเพื่อร่วมโหวต) ระยะเวลาตั้งแต่วันนี้ - 15 กันยายน 2560 เวลา 20.00 น.
เรามีรางวัลมอบให้ผู้ร่วมโหวต 3 ท่าน (โดยการสุ่มเลือก) เพื่อรับสมาชิกนิตยสารเนชั่นแนล จีโอกราฟฟิก ฉบับภาษาไทย 6 เดือน มูลค่า 1,020 บาท
ประกาศผลรางวัลในเพจ National Geographic Thailand วันที่ 16 กันยายน 2567
#10ภาพเล่าเรื่อง

30/08/2024

ในรายงานใหม่ที่เผยแพร่บนเซิฟเวอร์ ‘arXiv’ ได้เผยให้เห็นข้อมูลใหม่ที่นักวิทยาศาสตร์ตามหามาอย่างยาวนาน ด้วยการใช้กล้องโทรทรรศน์อวกาศเจมส์ เวบบ์ (JWST) ส่องไปยังเนบิวลาที่มีชื่อว่า NGC 1333 ในกลุ่มดาวเพอร์ซิอุส พวกเขาก็ต้องพบกับความประหลาดใจ เมื่อได้มองเห็นวัตถุ 6 ชิ้นที่มีขนาดเท่ากับดาวเคราะห์ ซึ่งเคลื่อนที่อย่างรวดเร็วและอิสระในอวกาศระหว่างดวงดาว
อ่านต่อที่ https://ngthai.com/science/72216/six-rogue-planets-without-a-star-to-call-home/
“เรากำลังตรวจสอบขีดจำกัดของกระบวนการก่อตัวเป็นดาวฤกษ์” อดัม แลงเกเวลด์ (Adam Langeveld) นักดาราศาสตร์ฟิสิกส์จากมหาวิทยาลัยจอห์นฮอปกินส์ กล่าวและว่า “หากคุณมีวัตถุที่ดูเหมือนดาวพฤหัสบดีอายุน้อย เป็นไปได้หรือไม่ว่าวัตถุนั้นจะกลายเป็นดาวฤกษ์ได้ภายใต้เงื่อนไขที่เหมาะสม ซึ่งนี่เป็นบริบทที่สำคัญสำหรับการทำความเข้าใจทั้งการก่อตัวของดาวฤกษ์และดาวเคราะห์”
โดยทั่วไปแล้วจักรวาลสามารถสร้างวัตถุบนท้องฟ้าได้หลายวิธีตัวอย่างเช่นดาวฤกษ์ที่จะเกิดจากการรวมตัวกันของฝุ่นและก๊าซที่มีความหนาแน่นเพียงพอ มันจะยุบตัวลงภายใต้แรงโน้มถ่วงที่รุนแรง และเมื่อมันสะสมมวลมากขึ้นเรื่อย ๆ จากดิสก์ของสสารที่หมุนวนรอบ ๆ
จนกระทั่งความดันและความร้อนที่ศูนย์กลางถึงจุดจุดหนึ่ง มันก็จะสามารถจุดชนวนปฏิกิริยานิวเคลียร์ฟิวชันได้ ในตอนนั้นวัตถุดังกล่าวจะส่องแสงขึ้นมากลายเป็นดาวฤกษ์ที่สว่างสไว กลับกัน หากก้อนฝุ่นดังกล่าวไม่สามารถสร้างนิวเคลียร์ฟิวชันได้ พวกมันก็จะกลายเป็นดาวเคราะห์แทน ซึ่งมักจะเป็นเศษฝุ่นที่หลงเหลือมาจากการก่อตัวของดาวฤกษ์

Photos from National Geographic Thailand's post 29/08/2024

โลกของเราเต็มไปด้วยความมหัศจรรย์ ตั้งแต่ในลุ่มน้ำทาริมของจีนไปจนถึงโบโกตา เมืองหลวงของโคลอมเบีย และเกาะครีตของกรีซ โดยอยู่ในรูปของประติมากรรมหุ่นนักรบดินเผา เนินดิน และวิหารศิลา วัฒนธรรมต่างๆในยุคโบราณทิ้งปริศนาและเงื่อนงำน่าทึ่งไว้เบื้องหลัง
อ่านต่อที่ https://ngthai.com/history/72141/world-ancient-mysteries/
เมื่อปราศจากบันทึกลายลักษณ์อักษร หรือกระทั่งแม้จะมีก็ตามที ปริศนาต่างๆจึงดำรงคงอยู่เรื่อยมาแม้ในขณะที่การสืบสวนอย่างขยันขันแข็งและนวัตกรรมทางเทคโนโลยีจะช่วยตอบคำถามเก่าแก่หลายข้อ หรืออย่างน้อยก็ให้คำอธิบายที่เป็นไปได้ต่างๆบางส่วนได้แล้ว ปริศนาอีกนับจำนวนไม่ถ้วนยังคงอยู่
#สิ่งมหัศจรรย์ของโลก

29/08/2024

ทำไมแมว(บางตัว)ถึงไม่ชอบให้ มนุษย์ปิดประตู? พฤติกรรมเรื่องนี้สะท้อนตั้งแต่การร้องเหมียว ๆ อยู่หน้าห้อง ไปจนถึงการนำอุ้งเท้าเล็ก ๆ มาแง้มประตูไว้ สิ่งเหล่านี้มีคำอธิบายหรือไม่?
อ่านต่อที่ https://ngthai.com/wildlife/72202/cats-experience-fomo/
“มันเป็น FOMO เล็กน้อย” ดร. คาเรน ซูเอดา (Karen Sueda) นักพฤติกรรมวิทยาสัตวแพทย์ กล่าว “FOMO ก็คือ ‘ฉันไม่รู้ว่าอีกด้านมีอะไรอยู่ และฉันอยากไปดูและหาคำตอบ”
FOMO นั้นย่อมาจาก Fear Of Missing Out หรือแปลเป็นภาษาไทยได้ง่าย ๆ ว่า ‘กลัวที่จะพลาดอะไรบางอย่างไป’ ซึ่งนักวิทยาศาสตร์กล่าวว่านี่เป็นเพราะวิวัฒนาการของมัน เนื่องจากแมวเป็นสัตว์ที่มีความอยากรู้อยากเห็นตามธรรมชาติ และพวกมันชอบที่คอยจับตาดูทุกสิ่งทุกอย่างที่เกิดขึ้นในอาณาเขตของมัน รวมถึงบ้านของเจ้าของด้วย
แมวจึงทั้งขึ้นไปอยู่บนคอมพิวเตอร์ และก็เดินตามเจ้าของแม้ว่ามนุษย์จะไปอาบน้ำ ถึงแมวตัวดังกล่าวจะไม่ชอบอาบน้ำก็ตาม พวกมันก็ยังคงต้องการที่จะจ้องดูเพื่อให้รู้ว่าเกิดอะไรขึ้น เมื่อมันทราบแล้วว่าเจ้าของทำอะไร พวกมันก็เลิกความสนใจไปหาอย่างอื่นแทน

28/08/2024

สัมภาษณ์นักวิจัยไทยกับประสบการณ์ทำงานวิจัยอวกาศที่ NASA และชีวิตการทำงานในอุตสาหกรรมโทรคมนาคมและอวกาศ
อ่านต่อที่ https://ngthai.com/education/72178/kornyanat-hozumi-space-research
ดร. กรยณัฐน์ โฮะซึมิ ไม่ได้อยู่ประเทศไทย หากอยากจะสนทนากับเธอผ่านเสียง ต้องหักลบเวลาราว 12 ชั่วโมง เพื่อหาข้อตกลงระหว่างรัฐแมริแลนด์ สหรัฐอเมริกา กับกรุงเทพฯ
ต้นเดือนสิงหาคม กรยณัฐน์ ตอบข้อความตอนหนึ่งว่า เธอเพิ่งได้งานใหม่ ในฐานะนักวิจัย ที่ The University of Scranton ภายหลังใช้เวลา 1 ปีในการทำงานที่ NASA
“เราไม่ได้เป็น US citizen จึงไม่สามารถเข้าไปเป็นเจ้าหน้าที่ของ NASA ได้ ดังนั้นการเข้าไปทำที่ NASA จึงเป็นการเข้าไปทำแบบสัญญาจ้างโดยเขาจ้างงานเราผ่านทางมหาวิทยาลัยที่นี่ นั่นคือ The Catholic University of America ที่กรุงวอชิงตัน ดี.ซี. เราได้เข้าไปเป็น Research Scientist ของ CCMC หรือชื่อเต็มว่า Community Coordinated Modeling Center”
จริงอยู่ที่ว่า ดร. กรยณัฐน์ ไม่ใช่คนไทยคนแรกที่ทำงานกับองค์กรด้านอวกาศระดับนานาชาติอย่าง NASA แต่เส้นทางอาชีพของเธอก็น่าสนใจ อย่างน้อยๆในฐานะคนไทย ที่เกิดและโตที่นี่ แต่มองหาโอกาสเพื่อเข้าไปทำงานที่ใฝ่ฝัน

Photos from National Geographic Thailand's post 28/08/2024

ผลงานเข้ารอบ 10 ภาพเล่าเรื่อง Season 9 : สองฟากฝั่งอ่าวปัตตานี
โดย อภินัยน์ ทรรศโนภาส
จากสันทรายทอดแนวขนานกับแผ่นดิน เกิดเป็นแหลมยื่นออกไปในทะเลโอบล้อมผืนน้ำบริเวณปากน้ำปัตตานี เกิดเป็น “อ่าวปัตตานี” กระแสน้ำจากแม่น้ำปัตตานีและคลองยามูไหลมาผสมกับน้ำจากทะเล ทำให้อ่าวปัตตานีเป็นพื้นที่ที่มีน้ำจืด น้ำเค็ม น้ำกร่อย เป็นระบบนิเวศแบบทะเลตมและป่าชายเลน พบสัตว์น้ำ สัตว์หน้าดิน สาหร่ายทะเล หญ้าทะเล รวมถึงเป็นที่พักของนกประจำถิ่นและนกอพยพจำนวนมาก
ในอดีตเคยพบพะยูนมากินหญ้าทะเลในอ่าว ด้วยความอุดมสมบูรณ์ของทรัพยากร ชาวบ้านรอบอ่าวทำการประมงพื้นบ้านขนาดเล็กเรื่อยมาจนกระทั่งปัจจุบัน ชายฝั่งทะเลนอกเกิดการกัดเซาะชายฝั่งเพิ่มขึ้นทุกปี แผ่นที่ดินแหลมโพธิ์ค่อย ๆ หายไป ขณะเดียวกันกระแสน้ำจากอ่าวไทยพัดพาตะกอนทรายเข้ามาทับถมปากอ่าวค่อย ๆ แคบลง ระดับน้ำขึ้นน้ำลงที่เปลี่ยนไป น้ำเค็มไม่สามารถไหลเวียนเข้าออกได้อย่างเคย ความเค็มเปลี่ยนไป สัตว์น้ำและพรรณพืชภายในอ่าวลดลงจนหายไป ฤา สันดอนทรายที่เกิดขึ้นกลางอ่าว กำลังทำให้วิถีสองฝั่งอ่าวพังทลาย ในรุ่นลูกรุ่นหลาน อ่าวปัตตานีจะคงเหลือเพียงตำนาน…
ชมภาพสารคดีได้ที่ https://ngthai.com/photography/72122/pattani-river-bank/
#10ภาพเล่าเรื่อง

28/08/2024

เมื่อนาซา (NASA) ยืนยันแล้วว่านักบินอวกาศ 2 คนที่เดินทางไปกับ ‘โบอิ้ง สตาร์ไลเนอร์’ (Boing Starliner) จะได้กลับอย่างเร็วที่สุดในปีหน้า คำถามคือจะเกิดอะไรขึ้นกับร่างกายมนุษย์หากต้องอยู่บนอวกาศนานขนาดนั้น?
อ่านต่อที่ https://ngthai.com/science/72194/the-human-health-in-space
“การตัดสินใจให้บุตช์และซูนีอยู่บนสถานีอวกาศนานาชาติ และนำโบอิ้งสตาร์ไลเนอร์กลับบ้านโดยไม่มีลูกเรือนั้นเป็นผลมาจากความใส่ใจด้านความปลอดภัย” บิล เนลสัน (Bill Nelson) ผู้บริหารของนาซา กล่าว
สถานีอวกาศนานาชาติเป็นสถานที่ที่แตกต่างไปจากโลก มันมีแรงโน้มถ่วงต่ำกว่าอย่างมาก ซึ่งหากไม่มีสิ่งนี้คอยดึงขาของเราให้ยึดติดกับพื้นไว้ มวลกล้ามเนื้อและกระดูกของเราจะเริ่มลดลงอย่างรวดเร็วในอวกาศ
กล้ามเนื้อที่ช่วยรักษาท่าทางของเราให้ตั้งตรงอย่างหลัง คอ น่องและต้นขาจะได้รับผลกระทบมากที่สุด เนื่องจากเมื่ออยู่ในสภาวะไร้น้ำหนัก กล้ามเนื้อไม่จำเป็นต้องทำงานเพื่อพยุงท่าทางของเราอีกต่อไป รายงานระบุว่าหลังจากผ่านไปเพียง 2 สัปดาห์ มวลกล้ามเนื้ออาจลดลงถึง 20% และหากเป็นภารกิจที่ยาวนานกว่า 3-6 เดือน มวลกล้ามเนื้อก็อาจลดลงมากถึง 30%
เช่นเดียวกับ โครงกระดูกที่ไม่ได้ทำงานก็จะเริ่มสูญเสียแร่ธาตุและความแข็งแรงของมันไป นักบินอวกาศอาจสูญเสียมวลกระดูก 1-2% ต่อเดือนที่ใช้เวลาอยู่ในอวกาศ และอาจมากถึง 10% ภายในช่วงเวลา 6 เดือน ซึ่งอาจเพิ่มความเสี่ยงต่อการเกิดกระดูกหัก (บนโลก มนุษย์สูงอายุจะสูญเสียมวลกระดูก 0.5-1% ต่อปี)
“นักบินอวกาศมีปฏิกิริยาตอบสนองที่หลากหลายเมื่อพวกเขากลับมายังโลก”ดร. ลีห์ กาเบล ผู้ช่วยศาสตราจารย์จากคณะจลนศาสตร์ กล่าวและว่า “การสูญเสียมวลกระดูกเกิดขึ้นในมนุษย์เมื่อเรามีอายุมากขึ้น ได้รับบาดเจ็บ หรือสถานการณ์ใด ๆ ก็ตามที่เราไม่ได้เคลื่อนไหวร่างกาย เราก็จะสูญเสียมวลกระดูก

Photos from National Geographic Thailand's post 27/08/2024

ผลงานเข้ารอบ 10 ภาพเล่าเรื่อง Season 9 : ‘The Mekong,’ An Edible Civilization
โดย คุณกฤตนันท์ ตันตราภรณ์
แม่น้ำโขง สายน้ำยิ่งใหญ่ที่ทอดตัวผ่านใจกลางเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ เป็นมากกว่าเส้นทางน้ำธรรมดา แต่เปรียบเสมือนเส้นเลือดใหญ่ที่หล่อเลี้ยงชีวิตและวัฒนธรรมของผู้คนในภูมิภาค สายน้ำอันอุดมสมบูรณ์นี้เป็นบ้านของปลากว่า 1,000 สายพันธุ์ ตั้งแต่ปลาตัวจิ๋วในน้ำตื้นไปจนถึงปลาขนาดใหญ่ในเขตน้ำลึก รวมถึงสาหร่ายเทาที่สำคัญต่อระบบนิเวศ ความหลากหลายนี้สะท้อนในวิธีการถนอมและปรุงอาหารที่เป็นเอกลักษณ์ เช่น แกงปลา ปลาส้ม หรือลาบปลา แสดงถึงการปรับตัวของชุมชนริมน้ำโขงที่ยังคงเชื่อมโยงกับแม่น้ำอย่างแนบแน่น
อย่างไรก็ตาม ความอุดมสมบูรณ์นี้กำลังเผชิญภัยคุกคามจากการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศและการสร้างเขื่อน ซึ่งอาจทำลายสมดุลระหว่างความต้องการของมนุษย์และความยั่งยืนทางนิเวศวิทยา ความเร่งด่วนในการอนุรักษ์ระบบนิเวศและมรดกทางวัฒนธรรมเพิ่มขึ้นตามการเปลี่ยนแปลงของระดับน้ำ จากปลาแห้งที่แขวนอยู่ในตลาดริมน้ำ ไปจนถึงลาบปลาที่เสิร์ฟในร้านอาหารหรูในกรุงเทพฯ อิทธิพลของแม่น้ำโขงแผ่ขยายไกลเกินกว่าริมฝั่ง เตือนใจเราว่าในภูมิภาคนี้ สิ่งที่คุณกินนั้นเชื่อมโยงอย่างแนบแน่นกับสายน้ำอันยิ่งใหญ่ที่หล่อเลี้ยงอารยธรรมนับพันปี
ชมภาพสารคดีได้ที่ https://ngthai.com/photography/72066/mekong-an-edible-civilization/
#10ภาพเล่าเรื่อง

Photos from National Geographic Thailand's post 27/08/2024

ผลงานเข้ารอบ 10 ภาพเล่าเรื่อง Season 9 : The Irrawaddy River
โดย คุณ Myat Zaw Hein
The Irrawaddy River in Myanmar is not only a majestic natural wonder but also an integral part of the country’s transportation system, ecosystem, economy, and livelihood of the people living along its banks. Stretching over 1,300 miles and flowing from the confluence of the Mali and N’mai rivers, the Irrawaddy River is the lifeline of Myanmar, providing essential services and resources to those who depend on it for their daily needs. One of the most significant roles played by the Irrawaddy River is its importance in transportation.
For centuries, the river has served as a vital route for the movement of goods and people across various parts of Myanmar. The river acts as a natural highway connecting various towns and cities, enabling trade and commerce to thrive along its banks. Due to its navigable waters, the river facilitates the transportation of goods such as rice, timber, and other commodities, thus contributing to the economic development of the region.
ชมภาพสารคดีได้ที่ https://ngthai.com/photography/72108/the-irrawaddy-river/
#10ภาพเล่าเรื่อง

27/08/2024

[PR] 🎉 เพียงชวนเพื่อนสมัครสมาชิกนิตยสารเครืออมรินทร์ ปกใดก็ได้ 📚รับฟรี E-Magazine 12 ฉบับ ทั้งผู้แนะนำและผู้ถูกแนะนำ 🎁
📍เงื่อนไขการรับ E-Magazine
1 E-Magazine ที่ร่วมรายการ ได้แก่ บ้านและสวน , แพรว , ชีวจิต , National Geographic ฉบับภาษาไทย
2 สามารถเลือก E-Magazine ทั้ง 12 ฉบับ ได้เพียง 1 นิตยสารเท่านั้น
3 ดาวน์โหลดอ่าน E-Magazine ได้ทาง Naiin App.
📍สนใจติดต่อแผนกสมาชิกนิตยสาร 📍
☎️ โทร. 02-423-9999 กด 2
💬 ID Line : -member

ชาวอินูกุอิตเฝ้าสังเกตพฤติกรรมวาฬนาร์วาลและออกล่าพวกมันทั่วน่านน้ำ 26/08/2024

หลายชั่วอายุคนมาแล้วที่ชาวอินูกุอิตเฝ้าสังเกตพฤติกรรมวาฬนาร์วาลและออกล่าพวกมันทั่วน่านน้ำที่ปกคลุมไปด้วยน้ำแข็งของกรีนแลนด์พวกเขาเชื่อว่าถึงเวลาแล้วที่นักวิทยาศาสตร์กับเจ้าหน้าที่รัฐจะให้ความสนใจภูมิปัญญาของชนพื้นเมืองมากกว่าเดิม

ชาวอินูกุอิตเฝ้าสังเกตพฤติกรรมวาฬนาร์วาลและออกล่าพวกมันทั่วน่านน้ำ ชาวอินูกุอิตเฝ้าสังเกตพฤติกรรมวาฬนาร์วาล และออกล่าพวกมันทั่วน่านน้ำที่ปกคลุมไปด้วยน้ำแข็งของกรีนแลนด.....

Photos from National Geographic Thailand's post 26/08/2024

ผลงานเข้ารอบ 10 ภาพเล่าเรื่อง Season 9 : Bangkok River Festival
โดย สมชาย อิ่มชู
สายน้ำแห่งวัฒนธรรมแห่งเดียวในโลกที่มีในเมืองไทย ซึ่งสร้างความสนใจให้แก่ผู้ได้รับชม สายน้ำของลุ่มเจ้าพระยามักควบคู่กับคำว่า วัฒนธรรมสายน้ำ ตั้งแต่ยุคสมัยบรรพบุรุษ มีการสัญจรทางเรือ ถนนหนทางยังไม่เจริญ มีการค้าขาย และ ขนส่งออกสินค้าทางน้ำ ในยุคปัจจุบัน ก็ยังจำเป็นกับชีวิตของพวกเรา ดุจดังเช่น ในน้ํามีปลาในนามีข้าว ที่พูดกันติดปากมาถึงยุคปัจจุบัน…การฝึกฝีพายเพื่อในงานต่าง ๆ ต้องเริ่มจาก 0 จนเต็ม 100 ท้ายสุดก็สร้างความประทับใจให้แก่คนที่ได้พบเห็น ทั้งชาวไทยและชาวต่างชาติ เบื้องหน้าและเบื้องหลังของความสำเร็จ และขั้นตอนต่างๆ ของงาน…
ชมภาพสารคดีได้ที่ https://ngthai.com/photography/72095/bangkok-river-festival/
#10ภาพเล่าเรื่อง

26/08/2024

ในรายงานใหม่ที่เผยแพร่บนวารสาร Cell Report Physical Science ได้เผยให้เห็นว่าวัสดุที่นำไปทำ ‘แผ่นแปะลดไข้’ อย่างไฮโดรเจลที่เหนียวนุ่มและอุดมไปด้วยน้ำ ไม่เพียงแต่สามารถเล่นวิดีโอเกมที่ชื่อ ‘Pong’ หรือปิงปองได้เท่านั้น แต่ยังสามารถปรับปรุงประสิทธิภาพรูปแบบการเล่นให้ดีผ่านการเรียนรู้โดยใช้เวลาเล็กน้อย
อ่านต่อที่ https://ngthai.com/science/72162/hydrogel-pong/
ปอง นั้นเป็นวิดีโอเกมที่เปิดตัวครั้งแรกในปี 1972 โดย ‘Atari’ ซึ่งได้รับความนิยมอย่างรวดเร็วและเป็นหนึ่งในเกมที่มีอิทธิพลมากที่สุดตลอดกาล โดยเกมจะประกอบไปด้วยผู้เล่นสองคนและ ‘ลูกบอล’ แบบพิกเซลที่เด้งไปมาระหว่างทั้งคู่คล้ายกับกีฬาปิงปองในโลกแห่งความเป็นจริง
แม้เกมนี้จะเปิดตัวมาเป็นเวลากว่า 50 ปีแล้วทว่านักวิทยาศาสตร์หลายคนก็ยังคงใช้ ปอง เป็นเกณฑ์มาตรฐานที่มีประโยชน์สำหรับการฝึกไม่ใช่เพียงแค่ปัญญาประดิษฐ์และเครือข่ายระบบประสาทต่าง ๆ เท่านั้น แต่ยังรวมถึง ‘ปัญญาชีวะ’ หรือ organoid intelligence (OI. (โอไอ)) ซึ่งก็คือ คอมพิวเตอร์ชีวภาพจากเซลล์ของมนุษย์ ด้วยเช่นกัน

Photos from National Geographic Thailand's post 26/08/2024

ผลงานเข้ารอบ 10 ภาพเล่าเรื่อง Season 9 : “ไหล” ตามกาลเวลา
โดย คุณ Siripong Kanjanabut
372 กิโลเมตร ความยาวในการเดินทางของ “แม่น้ำเจ้าพระยา” มีต้นน้ำจากแม่น้ำ 4 สายจากภาคเหนือคือ แม่น้ำปิง แม่น้ำวัง แม่น้ำยม และแม่น้ำน่าน จุดเริ่มต้นแม่น้ำเจ้าพระยาอยู่ที่บริเวณปากน้ำโพธิ์ จังหวัดนครสวรรค์ โดยมาบรรจบกันของแม่น้ำปิงและแม่น้ำน่าน ซึ่งรับน้ำมาจากทิวเขาถนนธงชัยและทิวเขาผีปันน้ำ ไหลสู่ทะเลที่จังหวัดสมุทรปราการ แม่น้ำเจ้าพระยาสายน้ำที่หล่อเลี้ยงชีวิตตั้งแต่อดีต เป็นจุดเริ่มต้นของอารยธรรมและวิถีชีวิตริมน้ำที่มีเอกลักษณ์ความเป็นไทย
สายน้ำที่ไหลผ่านแต่ละพื้นที่ สร้างความเป็นตัวตนของคนริมน้ำในเมืองของแต่ละจังหวัด ปัจจุบันเส้นทางริมน้ำได้เกิดการเปลี่ยนแปลงจากการจัดระเบียบของเมืองใหม่ เพื่อสร้างเขื่อนกั้นน้ำป้องกันภัยธรรมชาติ การเปลี่ยนแปลงส่งผลกระทบกับคนกลุ่มเล็ก ๆ ริมน้ำต้องย้ายออกจากถิ่นฐาน แต่ก็ยังมีกลุ่มคนบางส่วนที่เข้ามาใหม่เพื่อพึ่งพิงแม่น้ำเจ้าพระยาเพื่อลดค่าครองชีพในเมือง แต่สิ่งที่ไม่เคยเปลี่ยนแปลงคือ แม่น้ำเจ้าพระยายังคง “ไหล” เพื่อให้ทุกชีวิตริมสองฝั่งยังคงดำเนินต่อไป
ชมภาพสารคดีได้ที่ https://ngthai.com/photography/72081/flow-through-time/
#10ภาพเล่าเรื่อง

26/08/2024

กฎของชาร์ลส์ (Charle’s Law) กฎของแก๊สอุดมคติ กับ กฎของบอยล์ (Boyle’s law) ความสัมพันธ์ของแก๊ส และการใช้ทฤษฎีต่างๆ กฎทั้งสองข้อนี้มีบทบาทอย่างไรในวงการวิทยาศาสตร์
อ่านต่อที่ https://ngthai.com/science/71909/charles-law-boyles-law/
กฎของบอยล์ เกิดขึ้นก่อน กฎของชาร์ลส์ ในปี 1662 โดย โรเบิร์ต บอยล์ (Robert Boyle) นักเคมีและนักฟิสิกส์ชาวอังกฤษ ศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างปริมาตรและความดันของแก๊สที่มีปริมาณและอุณหภูมิคงตัว
ทั้งนี้ เขาสังเกตว่าปริมาตรของแก๊สที่มีมวลหนึ่งๆ แปรผกผันกับความดันของแก๊ส กฎของบอยล์ตีพิมพ์ในปี 1662 กล่าวว่า หากอุณหภูมิคงตัว ผลคูณของความดันและปริมาตรของแก๊สอุดมคติที่มีมวลหนึ่ง ๆ ในระบบปิดเป็นค่าคงตัวเสมอ สามารถยืนยันได้โดยการทดลองใช้เครื่องวัดความดันและภาชนะที่มีปริมาตรไม่คงตัว

"เมืองโบราณศรีเทพ" หลังได้รับการประกาศให้เป็น “มรดกโลก” 25/08/2024

ความเป็นไปของ “เมืองโบราณศรีเทพ” สถานที่อยู่นอกแวดวงวิชาการประวัติศาสตร์และโบราณคดีจะรู้จัก หลังได้รับการประกาศให้เป็น “มรดกโลก”

"เมืองโบราณศรีเทพ" หลังได้รับการประกาศให้เป็น “มรดกโลก” "เมืองโบราณศรีเทพ" สถานที่ซึ่งก่อนหน้านี้แทบไม่มีใครที่อยู่นอกแวดวงวิชาการประวัติศาสตร์และโบราณคดีจะรู...

Photos from National Geographic Thailand's post 25/08/2024

ผลงานเข้ารอบ 10 ภาพเล่าเรื่อง Season 9 : ชาวจีนข้ามทะเล (Overseas Chinese) โดย Pitiwat Angwatanapanich
ประเทศไทยเป็นหนึ่งในหมุดหมายหลักของชาวจีนโพ้นทะเลที่อพยพเข้ามาแสวงหาโอกาสเพื่อสร้างตัว จากทะเลจีนใต้เข้าทางปากอ่าวไทยสู่แม่น้ำเจ้าพระยาบริเวณท่าเรือสำเพ็งและวัดยานนาวา บ้างหางานทำในกรุงเทพฯ บ้างกระจายตัวออกต่างจังหวัด ขณะที่บางกลุ่มล่องเรือต่อไปขึ้นฝั่งยังบริเวณภาคใต้ของประเทศ เวลาผ่านไปกว่า 80 ปี ในปัจจุบัน ปี พ.ศ.2567 มีประชากรที่เป็นชาวไทยเชื้อสายจีนกว่า 9,000,000 คนอาศัยอยู่ในประเทศไทย รวมถึงตัวผู้เขียนด้วยที่เป็นหนึ่งในลูกหลานของคนจีนโพ้นทะเล
ภาพชุดนี้ผู้เขียนจึงต้องการถ่ายทอดเส้นทางการอพยพของคนจีนที่ข้ามทะเลเข้าสู่ประเทศไทยผ่านหลักฐานต่างๆ เล่าเรื่องราวตั้งแต่การเข้ามาของคนจีนทางเรือในอดีต จวบจนถึงปัจจุบัน
ชมภาพสารคดีได้ที่ https://ngthai.com/photography/72041/life-of-overseas-chinese/

Photos from National Geographic Thailand's post 25/08/2024

ผลงานเข้ารอบ 10 ภาพเล่าเรื่อง Season 9 : พรมแดนสุดท้ายในสายน้ำโขง โดยพลฤทธิ์ ฐิติวริทธินันท์
แม่น้ำโขงมหานทีแห่งเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ ไหลคดเคี้ยวจากประเทศจีนทอดยาวผ่าน 6 ประเทศ ดึงดูดเอาความความหลากหลายทางชีวภาพ วิถีชีวิต ผู้คน วัฒนธรรม และกลุ่มชาติพันธุ์สู่สองฝากฝั่งของลำน้ำโขง ซึ่งเป็นเสมือนพรมแดนสุดท้ายที่หล่อเลี้ยงชีวิตของกลุ่มชาติพันธ์ุ จาม ที่อพยพมาอาศัยอยู่ในลุ่มน้ำโขง พวกเขาได้การดำรงไว้ซึ่งวิถีและวัฒนธรรมตามที่ได้สืบต่อมาจากรุ่นสู่รุ่น แต่เมื่อแผนพัฒนาเมืองและการใช้ทรัพยากรทั้งในน้ำและด้านภูมิทัศน์ของเมืองที่ดำเนินการอยู่ ปัญหาความขัดแย้งของวิถีชีวิตแบบดั้งเดิมและความเจริญได้คุกคามชีวิตและความเป็นอยู่ของกลุ่มชาติพันธุ์อย่างต่อเนี่อง
ชมภาพสารคดีได้ที่ https://ngthai.com/photography/71985/destination-of-mekong-river/
#10ภาพเล่าเรื่อง

Photos from National Geographic Thailand's post 24/08/2024

ผลงานเข้ารอบ 10 ภาพเล่าเรื่อง Season 9 : “สองแคว” เมืองสีสันแห่งสายนํ้า โดย Paul Angkurasri
จังหวัดพิษณุโลกชื่อเดิมคือเมืองสองแคว เกิดจากแม่นํ้าน่านและแม่นํ้าแควน้อยไหลมาบรรจบกันจึงเป็นชื่อที่มาของเมืองสองแคว และมีแม่นํ้ายมไหลผ่าน จึงก่อให้เกิดวัฒนธรรมและประเพณีของชาวพิษณุโลกที่เกี่ยวข้องกับแม่นํ้ามาโดยตลอด
ยามหน้านํ้าหลากชาวบ้านก็พากันออกหาปลา พอนํ้าลด ก็ทำไร่ทำนา ทำสวน ปรับตัวให้เข้ากับสภาพและปริมาณนํ้าในแต่ละปีด้วยความเคยชิน ซึ่งขัดแย้งกับ บางระกำโมเดล ที่เป็น วาทะกรรมของนักการเมืองที่โยนให้กับชาวบ้านว่าได้รับความเดือดร้อนจากนํ้าท่วมในแต่ละปีและต้องมีงบประมาณมาช่วยบรรเทาความเดือดร้อน
ชมภาพสารคดีได้ที่ https://ngthai.com/photography/71972/songkwae_the-city-river/
#10ภาพเล่าเรื่อง

Photos from National Geographic Thailand's post 24/08/2024

ผลงานเข้ารอบ การประกวดภาพถ่ายสารคดี 10 ภาพเล่าเรื่อง Season 9 : ตำนานแขกแพสายน้ำริมฝั่งเจ้าพระยา สู่คูคลองสายใยแห่งมัสยิด โดยวินนิวัตร ไตรตรงธนรัตน์
คำว่าแขก ยึดคำอธิบายของเสฐียรโกเศศ ที่ไทยเรียกชนชาติต่างๆทางตะวันตกชาวอาหรับ ซึ่งส่วนใหญ่นับถือศาสนาอิสลาม แขกที่กล่าวถึงในสารคดีเรื่องนี้ หมายถึง มุสลิมฝั่งธน แบ่งได้เป็น2กลุ่มใหญ่ กลุ่มแรกคือ มุสลิมเปอร์เชีย สายสุลต่านสุลัยมาน ซึ่งเข้ามาค้าขายบนแพในแม่น้ำตั้งรกรากกรุงธนบุรี ตั้งแต่กรุงศรีอยุธยา
ชุมชนของมุสลิม2กลุ่มนี้อยู่ในพื้นที่ฝั่งธนที่เรียกว่า คลองบางหลวง หรือคลองบางกอกใหญ่ปัจจุบัน ในอดีตชนชาวมุสลิม อยู่รวมกันหนาแน่น มีทั้งที่ผูกเป็นเรือนแพอาศัยอยู่ริมฝั่งแม่น้ำ กับที่ปลูกบ้านอยู่ ตลอด2ฝั่งคลองรวมกันเป็นชุมชน เรียงรายปากคลองบางหลวง ที่เชื่อมกับแม่น้ำเจ้าพระยา ตรงป้อมวิชัยประสิทธิ์หรือพระราชวังเดิม จนลึกเข้ามาในคลองไปจนถึงบริเวณสะพานเจริญพาศน์ปัจจุบัน บริเวณปากคลองบางหลวง ถือได้ว่าเป็นทำเลทองคือเส้นทางเดิมของแม่น้ำเจ้าพระยา ก่อนจะมีการขุดคลองลัด ในสมัยพระเจ้าชัยราชาธิราช จากปากคลองบางกอกน้อยมาบรรจบยังปากคลองบางกอกใหญ่ ก่อให้เกิดคูคลองสายใหม่ขึ้น ปัจจุบันมัสยิดเป็นที่ตั้งตามแนวคูคลองเมื่อได้ล่องเรือผ่านชม
ชมภาพสารคดีได้ที่ https://ngthai.com/photography/72028/muslim-life-water/
#10ภาพเล่าเรื่อง

24/08/2024

[PR CONTENT]

ด้วยพระบารมีพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว​ พลิกฟื้นชีวิตชาวผาสุก​ จากความแห้งแล้งสู่ความอุดมสมบูรณ์ที่ยั่งยืน
ความสุขของคุณเริ่มต้นที่ไหน?....ความสุขของพวกเขาเริ่มที่ลำพันชาดน้อย

วันนี้เราจะพาคุณไปพบเรื่องราวของชาวตำบลผาสุก อ.วังสามหมอ จ.อุดรธานี ตำบลที่อยู่ห่างจากตัวเมืองมากกว่า 120 กิโลเมตร แต่ไม่ได้ทำให้พวกเขาห่างไกลจากความสุขและความอุดมสมบูรณ์เลย นั่นเพราะพวกเขามีแหล่งน้ำที่สำคัญ “อ่างเก็บน้ำลำพันชาดน้อยฯ” ที่เป็นจุดเริ่มต้นของสายน้ำในพื้นที่ช่วยให้พวกเขาพลิกฟื้นจากความแห้งแล้งสู่ความสมบูรณ์ที่ยั่งยืนและอยู่ดีกินดีอย่างในปัจจุบัน

ชวนคุณมาฟังเรื่องราวความผูกพันของชาวผาสุกกับแหล่งน้ำสร้างชีวิต พร้อมสัมผัสวิถีชีวิตที่สามารถพึ่งพาตัวเองได้อย่างมีความสุข มีของดีที่สามารถสร้างรายได้ให้แก่คนในพื้นที่อย่างยั่งยืน รับชมได้ที่ “ความสุขของแผ่นดิน” …แล้วคุณจะยิ้มไปด้วยกันกับเรา...ชาวผาสุกที่อยู่กันอย่างผาสุก

#เนื่องในโอกาสพระราชพิธีมหามงคลเฉลิมพระชนมพรรษาพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวครบรอบ72พรรษา
#โครงการอ่างเก็บน้ำลำพันชาดน้อยอันเนื่องมาจากพระราชดำริ
#ความสุขของแผ่นดิน #ตำบลผาสุก #อุดรธานี #ลำพันชาดน้อย #โครงการพระราชดำริ #สำนักงานกปร

Photos from National Geographic Thailand's post 23/08/2024

ผลงานเข้ารอบ 10 ภาพเล่าเรื่อง Season 9 : นักดำน้ำแห่งคุ้งบางกะเจ้า โดย พิมพ์ลภัส ถนอมพันธุ์
บางกะเจ้าเป็นพื้นที่เกาะเล็กๆ ที่มีแม่น้ำเจ้าพระยาโอบล้อมรอบ ผู้คนจึงผูกพันกับสายน้ำทั้งในชีวิตประจำวันและการประกอบอาชีพ แต่เมื่อกาลเวลาผ่านไป อาชีพบางอย่างเริ่มที่จะหายไป
หนึ่งอาชีพที่อีกไม่นานก็คงจะหมดไปจากลำน้ำเจ้าพระยา คืออาชีพนักดำน้ำ หรือนักประดาน้ำหาสมบัติ ด้วยสภาพปัจจุบันแม่น้ำเจ้าพระยาช่วงคุ้งบางกะเจ้ามีเรือสินค้าขนาดใหญ่ เรือโยง และเรือข้ามฟากสัญจรไปมามากมาย การดำน้ำหาสมบัติใต้น้ำจึงไม่ใช่เรื่องง่ายและปลอดภัย ประกอบกับของมีค่าในแม่น้ำถูกตะกอนเลนทับถมลึกขึ้นจากเศษขยะจากเมืองที่จมลงใต้แม่น้ำ ของมีค่าต่างๆเริ่มยากแก่การงมหา ทุกวันนี้จึงเหลือเพียงการรับจ้างหาสิ่งของที่หล่นในแม่น้ำ
ภาพสารคดีชุดนี้ ตั้งใจถ่ายทอดให้เป็นภาพขาวดำ เพราะหลายครั้งที่คนเราหลงมองสีสันที่สะดุดตาของภาพ จนลืมมองเนื้อหาที่แท้จริงของเรื่องราวไป เหมือนที่เราอาจลืมให้ความสำคัญกับแม่น้ำ และผู้คนซึ่งยังคงต้องอาศัยแม่น้ำในการยังชีพต่อไป
ชมภาพสารคดีได้ที่ https://ngthai.com/photography/72004/diver-of-kung-bang-ka-chao/
#10ภาพเล่าเรื่อง

Photos from National Geographic Thailand's post 23/08/2024

ต่อยอดจากสารคดี “เมืองโบราณศรีเทพ” ในนิตยสารเนชั่นแนล จีโอกราฟฟิก ฉบับภาษาไทย เดือนสิงหาคม 2567 เราได้จัดเสวนาเบื้องหลังการทำสารคดีเรื่องนี้ โดยเชิญเหล่านักทำสารคดีมาถ่ายทอดเรื่องราวของเมืองศรีเทพด้วยทักษะความเชี่ยวชาญเฉพาะสาขา
ได้แก่ คุณศรัณย์ ทองปาน นักเขียนสารคดี ด้านศิลปวัฒนธรรมและประวัติศาสตร์, คุณพัชรพงศ์ กุลกาญจนาชีวิน นักวิจัยอิสระ และนักวาดภาพประกอบจากกลุ่ม “คิดอย่าง” และคุณเอกรัตน์ ปัญญะธารา ช่างภาพอาวุโสของ National Geographic ฉบับภาษาไทย ที่มาแบ่งปันมุมมองครบรสทั้งงานเขียน ภาพถ่าย และภาพสันนิษฐาน
[อ่านบทความฉบับเต็มได้ที่ https://ngthai.com/history/71948/si-thep-documentary-talk/ ]
ก่อนจะเป็น “ศรีเทพมรดกโลก”
คุณศรันย์ เล่าเรื่องเกี่ยวกับ “ศรีเทพศึกษา” ซึ่งมีการตามหา ขุดค้น และศึกษาเกี่ยวกับเมืองศรีเทพย้อนกลับไปนานถึงร้อยกว่าปี เมื่อครั้งสมเด็จ ฯ กรมพระยาดำรงราชานุภาพไปตรวจราชการที่มณฑลเพชรบูรณ์ในปี พ.ศ. 2447 ซึ่งพร้อมกันนั้นก็ได้ไปตามหาเมืองโบราณที่ชื่อว่า “ศรีเทพ” จากข้อมูลที่ได้พบในเอกสารจดหมายเหตุเก่าด้วย ทว่าหลังจากนั้นกลับไม่มีการศึกษาเมืองศรีเทพต่อ ด้วยเมืองเพชรบูรณ์อยู่ห่างจากกรุงเทพมาก ประกอบกับสมัยนั้นเส้นทางคมนาคมไม่ค่อยสะดวก
กระทั่ง 20 ปีต่อมา ในสมัยรัชกาลที่ 7 สมเด็จ ฯ กรมพระยาดำรงราชานุภาพก็ได้ดำรงตำแหน่งเป็นสภานายกของราชบัณฑิตยสภา ซึ่งมีหน้าที่คล้ายกับกรมศิลปากรในปัจจุบันคือการดูแลพิพิธภัณฑ์ จึงได้มีการรวบรวมโบราณวัตถุหลายชิ้นที่พบในเมืองศรีเทพมาไว้ที่พิพิธภัณฑ์ในกรุงเทพตั้งแต่นั้นมา
โบราณวัตถุเหล่านี้ที่ทำให้เมืองศรีเทพได้รับการขึ้นทะเบียนเป็นโบราณสถานในปีพ.ศ. 2478 และได้สถานะเป็นอุทยานประวัติศาสตร์ในปี พ.ศ. 2527 หลังจากนั้นก็มีการผลักดันเพื่อนำเสนอคุณค่าและความโดดเด่นของเมืองโบราณศรีเทพเรื่อยมา จนกระทั่งศรีเทพได้รับการขึ้นทะเบียนเป็นมรดกโลกในที่สุด
[อ่านสารคดีได้ที่ https://ngthai.com/cultures/71848/si-thep-historical-park/ ]
สเน่ห์ศรีเทพ เมืองโบราณแห่งนี้พิเศษอย่างไร
ศรีเทพเป็นเมืองโบราณที่มีพื้นที่กว้างใหญ่ ใหญ่กว่าเกาะรัตนโกสินทร์เสียอีก อาณาเขตของเมืองมีคูน้ำคันดินล้อมรอบ ลักษณะผังเมืองจะแบ่งสองชั้น ชั้นในและชั้นนอก ชั้นในมีลักษณะเกือบเป็นทรงกลม ส่วนชั้นนอกที่ขยายออกไปเป็นทรงสี่เหลี่ยมผืนผ้า ทั้งเมืองชั้นในและชั้นนอกมีศาสนสถานกระจายอยู่ทั่ว เช่น ปรางค์ศรีเทพ ซึ่งตั้งอยู่ใจกลางเมืองชั้นใน
นอกจากนี้ ถัดจากตัวเมืองออกไปทางทิศตะวันตกก็มีเขาลูกหนึ่งชื่อว่าเขาถมอรัตน์ สันนิษฐานว่าเป็นเขาศักดิ์สิทธิ์ของเมืองศรีเทพ เนื่องจากมีการพบโบราณวัตถุหลายอย่างที่นี่ ทั้งรูปเคารพ สถูป และธรรมจักร เป็นเครื่องบ่งชี้อย่างหนึ่งว่าในอดีตเมืองศรีเทพแห่งนี้อาจจะเป็นศูนย์​กลางทางศาสนาหรือสถานที่สำคัญในการจาริกแสวงบุญ
คุณเอกรัตน์ตั้งข้อสังเกตว่าศรีเทพมีความแตกต่างจากเมืองโบราณอื่น ๆ อย่างเมืองอยุธยา ซึ่งพื้นที่เมืองโบราณกับพื้นที่ที่คนปัจจุบันอาศัยอยู่มีความซ้อนทับกัน แต่ไม่ใช่กับเมืองศรีเทพ ที่ชาวบ้านในพื้นที่ไม่ได้รุกล้ำเข้าไปในอาณาเขตของเมืองเลย แต่เว้นระยะห่างไว้อย่างตั้งใจ เพราะมีความเชื่อว่าเมืองแห่งนี้มีสิ่งศักดิ์สิทธิ์สถิตอยู่ การอยู่แยกต่างหากจากผู้คนก็นับเป็นสิ่งหนึ่งที่ทำให้ศรีเทพมีมนต์เสน่ห์แตกต่างไปจากเมืองโบราณแห่งอื่น ๆ
การทำภาพกราฟิกจำลองสถูปเขาคลังนอกของคุณพัชรพงศ์เอง ไม่ใช่เรื่องง่ายการสันนิษฐาน เพราะสถูปเขาคลังนอกในปัจจุบันจริง ๆ เหลือเพียงส่วนฐานสองชั้นเท่านั้น จึงต้องอาศัยการศึกษาอาคารเปรียบเทียบอื่น ๆ ที่เป็นศิลปะแบบทวารวดี เช่น เจดีย์จุลประโทนที่นครปฐม และสันนิษฐานรูปทรงของสถูปจากการเทียบวัดขนาดชิ้นส่วนที่ยังคงหลงเหลืออยู่ในพื้นที่
เมืองศรีเทพเต็มไปด้วยเรื่องราวมากมายที่ยังคงเป็นปริศนา แม้จะได้ขึ้นทะเบียนเป็นมรดกโลกแล้ว แต่การขุดค้นและศึกษาเมืองศรีเทพก็ยังคงดำเนินต่อไป เพื่อให้เข้าใจที่มาที่ไปของเมืองแห่งนี้มากขึ้น รวมถึงเพื่อหาหลักฐานเพิ่มเติมในการพิสูจน์ข้อสันนิษฐานต่าง ๆ ด้วย
#เมืองศรีเทพ #มรดกโลก #สารคดีไทย

ต้องการให้ธุรกิจของคุณ ธุรกิจ ขึ้นเป็นอันดับหนึ่ง บริษัท สื่อ ใน Bangkok?
คลิกที่นี่เพื่อเป็นสมาชิก?

วิดีโอทั้งหมด (แสดงผลทั้งหมด)

ความสุขของแผ่นดิน ตอนที่ 4 ความสุขเริ่มต้นที่ลำพันชาดน้อย จ.อุดรธานี
ความสุขของแผ่นดิน ตอนที่ 3 ปลูกความสุขที่ยั่งยืน ณ ยางหัก จ.ราชบุรี
การประกวดสารคดีภาพถ่าย 10 ภาพเล่าเรื่อง หัวข้อ Follow the River ส่งผลงานได้ถึงวันที่ 15 สิงหาคม 2567
เบื้องหลัง สารคดี “เมืองโบราณศรีเทพ"
ความสุขของแผ่นดิน ตอนที่ 2 ชีวิตน่าอยู่ที่ลำสินธุ์ จ.พัทลุง
เปิดห้องติว “เล่าเรื่องแม่น้ำอย่างไรให้เป็นสารคดีภาพถ่าย”
"ความสุขของแผ่นดิน" ตอนที่ 1  "เมืองงาว…เมืองแห่งความชุ่มชื้น"
การประกวดสารคดีภาพถ่าย 10 ภาพเล่าเรื่อง 2024 หัวข้อ “FOLLOW THE RIVER”
ปั่นได้ฟีล ท่องวิวใหม่ 5 เมืองไต้หวัน - Walk and Bike to Unseen of Taiwan
เสวนา "sacit Craft Power : GURU Panel”
Amazing Community มหัศจรรย์ชุมชน สร้างอาชีพ สร้างคุณค่า พึ่งพาตนเอง ช่วยให้ชุมชนอยู่ได้อย่างยั่งยืน
Live

ประเภท

เบอร์โทรศัพท์

เว็บไซต์

ที่อยู่


บมจ. อมรินทร์ พรินติ้งแอนด์พับลิชชิ่ง 378 ถนนชัยพฤกษ์ เขตตลิ่งชัน
Bangkok
10170

เวลาทำการ

จันทร์ 09:00 - 18:00
อังคาร 09:00 - 18:00
พุธ 09:00 - 18:00
พฤหัสบดี 09:00 - 18:00
ศุกร์ 09:00 - 18:00

นิตยสาร อื่นๆใน Bangkok (แสดงผลทั้งหมด)
anywhere magazine anywhere magazine
20 Soi Sukhuvit 42 Sukhumvit Road, Prakanong, Klongtoey
Bangkok, 10110

BE WHAT YOU WANT TO BE www.anywhere-magazine.com www.anywherelux.com www.anywhere-tra-vels.com

METROSOCIETY METROSOCIETY
3421/23 Mooban KlangMung Rama IX/Motorway (Motorway)
Bangkok, 10250

METROSOCIETY Men's Digital Magazine, a piece of advice to help you appear better on the inside and out.

LIPS MAGAZINE LIPS MAGAZINE
8 ซ. บางเชือกหนัง 11 ถ. บางเชือกหนัง ตลิ่งชัน
Bangkok, 10170

อัพเดททุกเทรนด์ล่าสุด ทั้งแฟชั่น ความงาม และไลฟ์สไตล์เก๋ไก๋ พร้อมบทสัมภาษณ์คนดังจากหลากหลายวงการ

MAXIM Thailand MAXIM Thailand
21Fl. , Infinite I Business Complex, 349 Vibhavadi-Rangsit Road, Chompol, Chatuchak
Bangkok, 10900

Maxim Thailand Online version of leading men's lifestyle magazine. Girls, entertainment, sports and

HiSoParty The Magazine HiSoParty The Magazine
6/12 Soi Ngamwongwan 43 (Shinakhet 1/6) Tungsonghong, Laksi
Bangkok, 10210

HISOPARTYOFFICIAL.COM เว็บไซต์และนิตยสารชั้นนำ เสนอเรื่องราวทันสมัยเพื่อตอบสนองไลฟ์สไตล์ของคนยุคใหม่

Weekend Magazine Weekend Magazine
บริษัท แม่บ้าน จำกัด 1651 ซ. ลาดพร้าว 94 (ปัญจมิตร) แขวงพลับพลา เขตวังทองหลาง กทม. 10310
Bangkok, 10110

Weekend นิตยสารท่องเที่ยว Free Copy ที่มียอดแจกสูงสุดในประเทศ

Bangkok Post S Weekly Bangkok Post S Weekly
136 Na Ranong Road
Bangkok, 10110

The official page of Thailand's only all-English education and entertainment magazine for teens.

Livingetc Thailand Livingetc Thailand
Bangkok

พบกับไอเดียและแรงบันดาลใจในการตกแ?

OK! Magazine Thailand OK! Magazine Thailand
75/8 14th Floor Ocean Tower II Sukumvit 19 Klongtoeynue Wattana
Bangkok, 10110

OK! Magazine Thailand - INSIDE THE CELEBRITY WORLD

ANIMATE GROUP ANIMATE GROUP
296 ซ. เทอดไท 33
Bangkok, 10600

คิดถึง Pocketbook คิดถึง Animate Group

อนุสาร อ.ส.ท. อนุสาร อ.ส.ท.
1600 เพชรบุรีตัดใหม่ มักกะสัน ราชเทวี
Bangkok, 10400

แหล่งข้อมูลที่รู้ลึกเชิงสร้างสรรค์ เพื่อชวนคนไทยออกไปทำความรู้จัก “บ้าน” ของเราด้วยกัน

HiFinumber8 HiFinumber8
Bangkok

ฟังเพลง 2 แชนแนล โฮมเธียเตอร์ หูฟัง จอภาพ