Kantapa
ตำแหน่งใกล้เคียง โรงเรียน
83210
อิสรภาพ
Level 1 All Star Golf Complex
Samsenwittayalaischool
10270
หมู่บ้านศิริมงคล2 ถนน ศรีมงคล ตำบลหนองครก, Sisakate
สถาบันวิจัยวิทยาศาสตร์การบริหารงานวิทยาศาสตร์ ชีววิทยาและเทคโนโลยี/สววบชท
The Curve
Vista Garden
Sukhumvit Road Soi
Kmutt
ดอนเมืองจาตุรจินดา
ซ. นวมินทร์21 บางกะปิ
ให้ความรู้เกี่ยวกับวิชาสังคม ลิงค์สำหรับความรู้นักเรียน http://www.mediafire.com/?87j53jn08n70y
การเดินทาง ได้ประสบการณ์
ได้เรียนรู้ ทุกภาพจะเป็นความทรงจำที่ดี แม้เวลาจะผ่านไป
ทุกภาพจึงมีความหมาย
สุดยอด
เตย ฉัตราภรณ์ นาคกัน นักเรียนระดับชั้นม.6/9 โรงเรียนสตรีวัดระฆัง ที่ร่วมงานจิตอาสา งานครอบครัวพอเพียงของโรงเรียนและของมูลนิธีครอบครัวพอเพียงมาตลอด วันนี้ความดีนั้นส่งผลให้ได้รับเลือกเข้าเรียนคณะสังคมฯ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ สายตรงอย่างภาคภูมิใจ
Isamare jan61 web นิตยสาร IS AM ARE ครอบครัวพอเพียงฉบับประจำเดือนมกราคม 2561
ศูนย์ครอบครัวพอเพียงโรงเรียนสตรีวัดระฆัง ฝึกการเป็นผู้นำ ค่าย Leader Camp 2017
กิจกรรมค่ายส่งเสริมศักยภาพความเป็นผู้นำ เพื่อเปิดพื้นที่การเรียนรู้ให้กับนักเรียนที่เข้าร่วมโครงการฯ พร้อมทั้งส่งเสริมศักยภาพการเป็นผู้นำและผู้ตามที่ดี ในระหว่างวันที่ ๒ – ๔ ตุลาคม ๒๕๖๐ ณ โรงเรียนบดินทรเดชา (สิงห์ สิงหเสนี) ๒
การปฏิบัติธรรม “ธรรมะสู่ดวงใจ” บวชเนกขัมมะศีลจาริณี สตรีวัดระฆัง
๙ สิงหาคม ๒๕๖๐ เพื่อน้อมถวายเป็นพระราชกุศล เนื่องในวันเฉลิมพระชนมพรรษา
สมเด็จพระนางเจ้าสิริกิตต์ พระบรมราชินีนาถในรัชกาลที่ ๙
ศูนย์ครอบครัวพอเพียงโรงเรียนสตรีวัดระฆังทำบุญ วันเฉลิมพระชนมพรรษา 65 พรรษา
วันพฤหัสบดีที่ 27 กรกฎาคม 2560
เยาวชนครอบครัวพอเพียง โรงเรียนสตรีวัดระฆัง ระดับชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4 รอบเช้าและรอบบ่าย รวม 200 คน ศึกษาดูงานพิพิธภัณฑ์ต้านโกง สำนักงาน ป.ป.ช. ในวันจันทร์ที่ 29 พฤษภาคม 2560
พวกเราสตรีวัดระฆังต่อต้านการโกง และโตไปไม่โกงค่ะ
เยาวชนครอบครัวพอเพียง โรงเรียนสตรีวัดระฆัง ระดับชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4 จำนวน 105 คน ศึกษาดูงานพิพิธภัณฑ์ต้านโกง สำนักงาน ป.ป.ช.ในวันอังคารที่ 30 พฤษภาคม 2560
นำนักเรียนทัศนศึกษาพิพิธภัณฑ์ต้านโกง พวกเขาคือรากแก้วของแผ่น
อยากรู้เขาคือใคร..
Spirit of Asia : อุยกูร์คือใคร (25 ต.ค. 58) บนดินแดนแห่งความวุ่นวาย การข่มเหง ทำร้ายกัน พลเมืองชั้น 1 กลายเป็นพลเมืองชั้น 2 ก่อนจะถูกตราหน้าให้เป็นส่วนเกินของจักรวาลตัวเอง เบื้องหลังความเกรี้ยวกราดและไ...
สตรีวัดระฆัง นำนักเรียนเข้าค่ายปฏิบัติธรรม"ธรรมะสู่ดวงใจ" หลักสูตร "ชีวิตพัฒนาได้ ถ้าใจพร้อม" 13-16 มีนาคม 2560
ซิสเตอร์มาลูคณะธิดาเมตตาธรรมไปสำรวจพื้นที่ พบว่า ที่ต.หูล่อง อำเภอปากพนัง ยังมีความต้องการความช่วยเหลือ เขาลำบากมากๆ อีกประมาณ 7 หมู่บ้าน ประมาณ 1400 ครอบครัว ต้องการข้าวสาร อาหารแห้ง ของใช้ส่วนตัว และยาทาแก้น้ำกัดเท้าค่ะ
โรงเรียนสตรีวัดระฆังได้รับบริจาค จากการตั้งเต็นท์หน้าโรงเรียนได้สิ่งของและเงินเกือบหกหมื่นบาท จึงได้มอบให้ทางโรงเรียนดรุณศึกษาจัดซื้อสิ่งของที่จำเป็น ส่วนสิ่งของได้นำฝากไปกับกองทัพเรือ ขอขอบคุณทุกท่าน
มล.ปนัดดา ดิศกุล รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงศึกษาธิการ ได้ให้เกียรติเดินทางมาเป็นประธานในพิธีเปิดศูนย์ครอบครัวพอเพียงโรงเรียนสตรีวัดระฆังตามโครงการครอบครัวพอเพียงสู่สถานศึกษาและชุมชน ซึ่งได้ขอให้ผู้บริหารโรงเรียนดูแลโรงเรียนให้เป็นโรงเรียนคุณธรรมอย่างแท้จริง ในวันที่ 25 กุมภาพันธ์ 2560
"สตรีวัดระฆัง"ขานรับร.ร.คุณธรรมอย่างแท้จริง "ปนัดดา"ฝากยึดคำสอน"อย่าหลงลืมตัว เป็นวัวลืมต ม.ล.ปนัดดา ดิศกุล รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงศึกษาธิการ ได้เป็นประธานเปิดกิจกรรมของโรงเรียนสตรีวัดระฆัง ตามโครงการ “ครอบครัวพอเพียงสู่สถานศึกษาและชุมชน” เมื่อวันที่ 24 กุมภาพันธ์ ที่ โรงเรียนสตรีวัดระฆัง เขตบางกอกน้อย โดยกล่าวว่า ไปพบปะสนทนากับครูอาจารย์และนักเรียนโรงเรียนสตรีวัดระฆัง ตามโครงการครอบคร...
'ม.ล.ปนัดดา'เป็นปธ.เปิดกิจจกรรม 'ครอบครัวพอเพียง-โรงเรียนคุณธรรม' 24 ก.พ.60 เมื่อเวลา 07.30 น.ที่โรงเรียนสตรีวัดระฆัง เขตบางกอกน้อย ม.ล.ปนัดดา ดิศกุล รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงศึกษาธิการ เป็นประธานเปิดกิจกรรมของโรงเรียนสตรีวัดระฆัง ตามโครงการ "ครอบครัวพอเพียงสู่สถานศึกษาและชุมชน"
วันครูที่สตรีวัดระฆัง
ท่านผอ.ดร.ไพวัลย์ เหล็งสุดใจ จัดกิจกรรมรำลึก
ถึงพระคุณครู พร้อมปลูกต้นไม้ และนำทำความสะอาดโรงเรียน
เรื่องที่ครูอ่านแล้วคิดถึงนักเรียน อยากให้นักเรียนได้อ่านค่ะ....วันนี้ครูได้รับบทความจาก รศ.ดร.อุทัย บุญประเสริฐ ซึ่งเป็นอาจารย์ของครูได้ส่งบทความนี้มาให้ครูอ่านคือ "ทรัพย์สินทางปัญญา กับ Thailand 4.0" ของ ดร.สุวิทย์ เมษินทรีย์ มาฝาก เพื่อให้นักเรียนได้ความรู้ว่าเรากำลังจะพัฒนาไปอย่างไร จึงอยากให้นักเรียนได้อ่านและรู้ค่ะ
เมื่อวันเสาร์ที่ 13 สิงหาคม 2559 ที่ผ่านมานี้ ผมได้มากล่าวปาฐกถาพิเศษในงานมหกรรมทรัพย์สินทางปัญญา หรือ “IP Fair 2016” ในหัวข้อเรื่อง "ทรัพย์สินทางปัญญา กับ Thailand 4.0" ซึ่งเป็นเรื่องที่มีความสำคัญอย่างยิ่งยวดครับ อย่างที่เราทราบกันดีว่า การเปลี่ยนแปลงนั้นเป็นเรื่องปกติ (Change is Constant) ผมจึงอยากแชร์ให้ทราบกันว่า การเปลี่ยนแปลงมีอยู่ 2 แบบ คือ การเปลี่ยนแปลงแบบค่อยเป็นค่อยไป (Incremental Change) และการปรับเปลี่ยนในเชิงโครงสร้าง (Structural Change)
คำว่า "นวัตกรรม" กับ "การเปลี่ยนแปลง" เป็นสิ่งที่แยกจากกันไม่ออก เรากำลังจะเปลี่ยนผ่านจากโลกในศตวรรษที่ 20 สู่โลกศตวรรษที่ 21 เป็นการเปลี่ยนแปลงในเชิงโครงสร้าง หรือที่เรียกว่า Structural Change
- โลกในศตวรรษที่ 21 เป็นอย่างไร?
- ทำไมนวัตกรรมจึงมีความสำคัญ?
- ทำไมทรัพย์สินทางปัญญาจึงมีความสำคัญตามติดกันมา?
สิ่งที่เกิดความเปลี่ยนแปลงในเชิงโครงสร้างของโลกในปัจจุบันมีอยู่ 2 ปัจจัย
1. ปัจจัยของกระแสโลกาภิวัฒน์ ทำให้เกิดการเชื่อมโลกเข้าด้วยกัน (Connected World) การที่โลกนั้นถูกเชื่อมเป็นหนึ่งเดียว
สิ่งที่ตามมาก็คือ ในเรื่องของธุรกิจ เกิดการเปลี่ยนแพลทฟอร์มจาก "One Country, One Market" เป็น "One World, One Market" (โลกเป็นตลาดเดียว) แต่พร้อมๆกันกับการเปลี่ยนไปสู่ One World, One Market นั้น ยังเกิด "One World, One Destiny" กล่าวคือทุกคนเผชิญชะตากรรมร่วมกัน เพราะโลกเชื่อมต่อกัน จากนี้ไป คนในโลกนี้ สุขจะสุขด้วยกัน ทุกข์ก็จะทุกข์ด้วยกัน
2. เรากำลังเปลี่ยนผ่านจากการปฏิวัติอุตสาหกรรม (Industrial Revolution) เป็นการปฏิวัติดิจิตอล (Digital Revolution) เป็นการปฏิวัติในเชิงดิจิตอล ยุคที่ 3 เป็นเรื่องของ Connectivity, Common Creating และ Internet of Things
สิ่งเหล่านี้ ทำให้ปฏิสัมพันธ์ของผู้คนเปลี่ยนแปลงไปจากเดิม ที่เราเรียกันว่าเป็น "Market Place" ที่ติดต่อสื่อสารกันได้กับบางที่ บางคน บางเวลา กลายเป็นเรื่องของ "Market Space" ในลักษณะที่สามารถติดต่อสื่อสารถึงกันได้ทุกที่ ทุกคน ทุกเวลา ทิศทางของการเปลี่ยนแปลงนี้ทำให้เกิดโอกาสชุดใหม่ และพร้อมกันนั้นก็เกิดภัยคุกคามชุดใหม่ในเวลาเดียวกัน
เมื่อโลกเปลี่ยนประเทศไทยต้องปรับ
ประเทศไทยมีอยู่ 3 ทางเลือก คือ 1) ปรับเพื่อล้ำหน้าโลก ตัวอย่างเช่น อเมริกา ยุโรป ญี่ปุ่น ในทศวรรษก่อนๆที่ผ่านมา; 2) ปรับเพื่อเท่าทันโลก และ 3) ปรับแต่ยังไม่สามารถทันโลก
ในปัจจุบันนี้หลายๆประเทศ ไม่ว่าจะเป็นจีน เกาหลีใต้ สิงคโปร์ หรืออินเดีย ที่นอกจากจะปรับตัวเองให้เท่าทันโลกแล้ว ยังมุ่งมั่นปรับตัวเองเพื่อมีบทบาทในการชี้นำโลกในอนาคต คำถาม คือ ประเทศไทยจะอยู่นิ่งอย่างนี้ต่อไปได้หรือ ในขณะที่ประเทศต่าง ๆ กำลังปรับตัวเอง ปรับโครงสร้างทางเศรษฐกิจให้รองรับกับโลกในศตวรรษที่ 21 ยกตัวอย่างเช่น
- "A Nation of Maker" ของสหรัฐอเมริกา โลกในอนาคตต้องเป็นโลกของ Maker นวัตกรรมต่าง ๆ จะเกิดขึ้น จะสร้าง Making Economy ขึ้นมาเสริมหรือทดแทน Manufacturing ในอดีตได้อย่างไร
- "Innovate UK" อังกฤษพยายามจะขับเคลื่อนเศรษฐกิจทุกอย่างด้วยระบบนวัตกรรม ทิศทางในอนาคตจะเป็นการสร้างธุรกิจด้วยนวัตกรรมและทักษะของผู้คน คนที่จะสร้างนวัตกรรมต่าง ๆ ที่เป็น Knowledge Worker ที่เป็น Skill Labour จำเป็นจะต้องอยู่ด้วยกัน เพราะฉะนั้น UK จึงเป็นประเทศเพียงไม่กี่ประเทศในโลก ที่นำหน้าในเรื่องนวัตกรรมทางธุรกิจ และแรงงานมีฝีมือก็มาอยู่ในกระทรวงเดียวกัน ภายใต้ Department of Business Innovation & Skills
- "Creative Economy" ของเกาหลีใต้ ซึ่งหน้าตาของ Creative Economy ในวันนี้แตกต่างจาก Creative Korea เมื่อ 10 ปีที่แล้วอย่างสิ้นเชิง เมื่อ 10 ปีที่แล้ว เกาหลีใต้นำ Content, Creativity และ Culture มาผสมกัน เพื่อสร้างอุตสาหกรรมและธุรกิจใหม่ ๆ แต่วันนี้ Creative Economy ของเกาหลี ขับเคลื่อนผ่าน 3 เสาหลัก คือ วิทยาศาสตร์ เทคโนโลยี และ ICT นำมาสู่อุตสาหกรรมต่าง ๆ มากมาย ไม่ว่าจะเป็น Tech-based, Digital-based, Creative-based และ Cultural-based Businesses/Startups
พลวัตโลกที่เปลี่ยนไป ทำให้เกิดการเปลี่ยนแปลงรูปแบบและพฤติกรรมในการทำธุรกิจ ก่อให้เกิดวัฒนธรรมใหม่ ๆ อันได้แก่ New Culture of Living, New Culture of Learning และ New Culture of Working
เมื่อการเปลี่ยนแปลงเกิดขึ้น เราจำเป็นต้องปรับตัวครับ
1. Open การเปิดใจให้กว้าง การเปิดการเรียนรู้ให้กว้าง
2. Collaborative จะต้องร่วมมือ ร่วมใจกับคนอื่น
3. Sharing จะต้องเกื้อกูลแบ่งปันให้แก่กันและกัน
ดังเช่นแนวคิดใน Silicon Valley ที่เขากล่าวว่า โมเดลของโลกในอนาคต ซึ่งเขาคิดมากันกว่า 30 ปีแล้ว เป็นแนวคิดที่เรียกว่า NEA
1. Nobody owns ไม่มีใครเป็นเจ้าของ
2. Everybody can use it ทุกคนสามารถใช้ได้
3. Anybody can improve it ทุกคนสามารถแก้ไขได้
ทั้ง 3 สิ่งนี้ก่อให้เกิดนวัตกรรมชุดใหม่ที่เรียกว่า “Open Innovation Economy” เกิดสิ่งที่เรียกว่า “Common Creating” เมื่อแนวคิดใหม่ ๆ เกิดขึ้น จะบรรจุไว้เป็นข้อมูลดิจิทัล และการแบ่งปันกันใช้ ก่อให้เกิด “Sharing Society” ตามมา พร้อม ๆ กันนั้น ก่อให้เกิดธุรกิจต่าง ๆ ตามมาอีกมากมาย ภายใต้แนวคิด "Sharing Economy" เช่น Uber Taxi, Airbnb, Co-working space, และ Crowd Company เป็นต้น
แนวคิด Sharing Economy จะเกิดขึ้นได้ ต้องอาศัยการเปิดใจให้กว้าง และการร่วมมือร่วมใจกับคนอื่น ซึ่งดูเหมือนจะอยู่คนละขั้ว แต่จริง ๆ แล้ว เราต้องอยู่ทั้ง 2 ขั้ว คือ ขั้วทรัพย์สินทางปัญญา (Intellectual Property) และ ขั้วภูมิปัญญามหาชน (Wisdom of the Crowd) ทั้งสองขั้วนี้ต้องสมดุลกัน ซึ่งตรงกับที่ Professor C.K. Prahalad ท่านได้เคยพูดไว้ว่า “The Future of Competition is Collaboration” ถ้าคุณคิดที่จะแข่งกับใคร คุณต้องหาแนวร่วมของคุณ
จากหนังสือ "The Fourth industrial Revolution" ของ Professor Klaus Schwab, Chairman ของ WEF (World Economic Forum) ท่านบอกว่า เทคโนโลยีไม่ได้เป็นสิ่งใหม่ แต่สิ่งที่จะเป็นตัวทำให้เกิดการเปลี่ยนแปลงครั้งใหญ่ มาจาก Convergence ของเทคโนโลยี ใน 3 Domains สำคัญ คือ
1. Bio-domain
2. Physical-domain
3. Digital-domain
โลกในศตวรรษที่ 21 จึงเป็นโลกของนวัตกรรม ที่ผสมผสานกันของเทคโนโลยีต่าง ๆ มากมาย ก่อให้เกิดโมเดลทางธุรกิจใหม่ ๆ พูดอีกนัยนึ่งคือ Disruptive Technology จะนำไปสู่ที่เรียกว่า Disruptive Innovation และกลายเป็น Disruptive Business ในที่สุด
เมื่อโลกเปลี่ยน ประเทศไทยไม่สามารถอยู่นิ่งเฉยได้อีกต่อไป จึงเป็นที่มาของ "Thailand 4.0" นำไปสู่การปฏิรูปครั้งสำคัญ ซึ่งมีหลายเรื่องที่ต้องปรับ แต่ด้วยระยะเวลาที่เหลืออยู่อีกไม่นานของรัฐบาลชุดนี้ จึงต้องเลือกทำในเรื่องที่สำคัญ แล้วจะถักทอให้เป็นเรื่องเดียวกัน
Thailand 4.0 จึงเป็นการปฏิรูปโครงสร้างทางเศรษฐกิจ ซึ่งเป็นข้อต่อแรกที่ต้องปรับเปลี่ยน จากเศรษฐกิจที่ขับเคลื่อนด้วยประสิทธิภาพ เป็นเศรษฐกิจที่ขับเคลื่อนด้วยนวัตกรรม และจำเป็นจะต้องรื้อข้อต่อที่สองว่าด้วย "การปฏิรูประบบการวิจัยพัฒนา" ที่เน้นวิทยาศาสตร์เทคโนโลยี ความคิดสร้างสรรค์เป็นสำคัญ และข้อต่อที่สาม ซึ่งเป็นเรื่องที่ใหญ่ที่สุดนั้นก็คือ การปฏิรูปคนและการปฏิรูปการศึกษา
Thailand 4.0 จึงเป็นการปฏิรูปโครงสร้างเศรษฐกิจที่โยงเข้ามาสู่การปรับเปลี่ยนระบบการวิจัยพัฒนา และโยงมาสู่ในเรื่องการยกระดับคุณภาพของคน พูดง่าย ๆ เหมือนที่ท่านนายกรัฐมนตรี (พลเอกประยุทธ์ จันทร์โอชา) กล่าวว่า "Thailand 4.0" จะเป็นไปไม่ได้ ถ้าเราไม่สามารถสร้าง "คนไทย 4.0"
Thailand 4.0 ต้องการหลุดพ้นจากกับดักรายได้ปานกลางไปสู่ประเทศที่มีรายได้สูง จะต้องเป็นประเทศที่รวยด้วยปัญญา โดยอาศัย Innovation-Driven Entrepreneurs ขับเคลื่อน Innovation-Driven Enterprises ที่จะนำไปสู่ Innovation-Driven Economy ในที่สุด
สาระสำคัญของ Thailand 4.0 คือ ทำอย่างไรที่จะเปลี่ยนจากการ Work Hard แต่ไม่ Smart มาเป็น Work Hard และ Smart เปลี่ยนจาก "การทำมากแต่ได้น้อย" เป็น "ทำน้อยแต่ได้มาก"
ย้อนกลับไปในอดีต Thailand 3.0 มีแนวคิดที่ค่อนข้างมักง่าย อยากได้อะไรก็ไปให้ BOI ดึงดูดเอามา โดยที่ไม่มีการถ่ายทอดเทคโนโลยี ไม่มีการสร้างคนของเราขึ้นมารองรับการเรียนรู้และพัฒนาเทคโนโลยี เพื่อให้ประเทศไทยและคนไทยสามารถยืนอยู่บนขาของตัวเองในที่สุด นี่คือบทเรียนราคาแพงที่ผมเรียกว่า การพัฒนาแบบ“ปักชำ”
Thailand 3.0 เป็นการพัฒนาแบบปักชำ ที่แตกออกมาเป็นรากแขนง ซึ่งมีความอ่อนแอเหลือเกิน
Thailand 4.0 ต้องการเปลี่ยนจาก "รากแขนง" ให้เป็น "รากแก้ว" จะต้องยืนอยู่บนขาของตัวเอง บนขาของปัญญา บนขาของเทคโนโลยี และความคิดสร้างสรรค์ นี่คือ หัวใจสำคัญของการเปลี่ยนแปลงครั้งใหญ่ คำถามต่อมาคือ แล้วเราจะทำอย่างไร ในเมื่อทิศทางของประเทศไปทางนี้
สิ่งสำคัญคือ การสร้าง "Power to Innovate" การสร้างพลังในการขับเคลื่อนให้เกิดนวัตกรรม ถ้าไม่มี Power to Innovate ก็จะไม่มี "Power to Compete" คือ ไม่สามารถแข่งกับใครบนโลกนี้ได้ และจะไม่มี "Power to Cooperate" คือ ไม่สามารถจับมือร่วมกับคนอื่นได้ ไม่มีใครอยากร่วมด้วย หากเราไม่มีขีดความสามารถด้านนวัตกรรม
Power to Innovate จึงเป็นเรื่องที่สำคัญ ที่จะต้องมีการลงทุนในทรัพยากรมนุษย์ ต้องสร้างสังคมแห่งโอกาส และสังคมแห่งความสามารถ ซึ่งกระทรวงพาณิชย์โดยกรมทรัพย์สินทางปัญญา จะมีส่วนสำคัญในการสร้างสังคมแห่งโอกาส หรือถ้าขาดความสามารถ ก็ต้องยกระดับความสามารถ เมื่อเราสามารถสร้างสังคมแห่งโอกาส พร้อม ๆ กับสังคมที่มีความสามารถได้ นี่แหล่ะเราถึงจะสามารถสร้าง Innovation-Driven Entrepreneurs ที่นำไปสู่ Innovation-Driven Enterprises แล้วเปลี่ยนผ่านไปสู่ Innovation-Driven Economy ได้ในที่สุด
ดังนั้น จึงเป็นหน้าที่ของภาครัฐกับเอกชน คือ ทุกคนต้องมีหน้าที่ อย่าไปฝากไว้ว่านี่เป็นหน้าที่ของภาครัฐ อย่ารอเพียงว่ารัฐจะให้อะไรเรา ซึ่งรัฐไม่มีแนวคิดแบบประชานิยมแบบนั้นอีกต่อไป โดยเฉพาะอย่างยิ่ง ประชานิยมใช้ไม่ได้กับเรื่องของนวัตกรรม นวัตกรรม คือ สิ่งที่ท่านทั้งหลายต้องสร้างขึ้นมาด้วยการยืนอยู่บนขาของตัวเองอย่างแข็งแรงที่เพียงพอ และร่วมมือกับคนอื่น ผ่านแนวคิด Open, Collaborative และ Sharing เพื่อสร้าง Ecosystem ใหม่ๆ ผ่าน 3 วัฒนธรรม ได้แก่
1. Culture of Innovation ต้องให้เกิดแนวคิดที่ว่า เราไม่มี Innovation ไม่ได้ ต้องคิดแบบคนเกาหลี ที่เชื่อว่า R&D จะทำให้เกิด Innovation มากขึ้น ทำให้คุณภาพชีวิต ความเป็นอยู่ดีขึ้น
2. Culture of Collaboration สร้างวัฒนธรรมแห่งการร่วมมือร่วมใจ
3. Culture of Originality ต้องปลูกฝังความเป็นเอกลักษณ์และอัตลักษณ์ตั้งแต่เด็ก ๆ สร้างค่านิยมการไม่ลอกเลียนแบบใคร
สิ่งสุดท้ายที่ผมจะขอกล่าวทิ้งท้าย คือ การปรับเปลี่ยน Mindset ของพวกเรา เพื่อเปลี่ยนผ่านไปสู่การเป็น Innovation-Driven Entrepreneurs เพื่อขับเคลื่อน Innovation-Driven Enterprises ไปสู่การเป็น Innovation-Driven Economy ในที่สุด
1. เลิกได้แล้ว ที่จะซื้อเครื่องจักรแล้วมาผลิต แล้วก็ไปแข่งขันทางราคา โดยหวังว่า จะมีต้นทุนที่ต่ำกว่าเขา (ภายใต้แนวคิด Efficiency-Driven Enterprises) ณ วันนี้ ไอเดียและความคิดสร้างสรรค์เป็นเรื่องสำคัญ เทคโนโลยีเป็นเรื่องใกล้ตัว จะต้องเปลี่ยนไปสู่ Innovation-Driven Enterprises
2. ณ วันนี้ เราเปลี่ยน Market Place เป็น Market Space ดังนั้น เราไม่ได้ทำงานบน Physical Platform อีกต่อไป พวกเราจะต้องทำงานทั้ง Physical Platform และ Digital Platform ในเวลาเดียวกัน เพราะหลายสิ่งหลายอย่างนั้นทำให้เราสามารถทำงานได้เร็วขึ้น ในต้นทุนที่ถูกลง ด้วยกระบวนการทำงานที่ง่ายขึ้น และได้ผลตอบรับที่มากขึ้น
3. สิ่งที่จะทำ เราจะต้องสามารถตอบโจทย์ในระดับโลกได้ (Global Landscape) ทำแล้วโลกจะต้องต้องการ ไม่ใช่ความต้องการภายในประเทศ (Local Landscape) เท่านั้น
4. ต้องเปลี่ยนความคิดที่จะแข่งขันกับคนอื่นอย่างเดียว คิดที่จะเอาเปรียบคนอื่นอย่างเดียว มาเป็นทำงานร่วมกับคนอื่น ผ่านหลัก 3 ประการ คือ Open, Collaborative และ Sharing
5. เลิกลอกเลียนแบบ (Propensity to Imitate) แต่ต้องกล้าคิดในสิ่งที่ไม่เคยเกิดขึ้นมาก่อน (Propensity to Innovate)
6. การเปลี่ยนจาก "Me" เป็น "We" เราต้องทำงานโดยร่วมกับคนอื่น โดยเปลี่ยนความคิดว่าใครมีองค์ความรู้ คนนั้นเป็นผู้มีอำนาจ หรือ "Power of Knowledge" เปลี่ยนเป็น "Power of Shared Knowledge" ใครยิ่งแชร์ความรู้ให้คนอื่นมากเท่าไหร่ ยิ่งมีอำนาจมากเท่านั้น
กรมทรัพย์สินทางปัญญาในวันนี้ ถือเป็น First-Mover ที่มุ่งมั่นขับเคลื่อนประเทศไปสู่ระบบเศรษฐกิจ ที่ขับเคลื่อนด้วยนวัตกรรม และกำลังปรับเปลี่ยนบทบาทจากการปกป้องคุ้มครองทรัพย์สินทางปัญญา เป็นการสร้างบรรยากาศให้เอื้อต่อการคิดค้น นำเสนอแนวคิดดี ๆ และพัฒนาต่อยอดจนกลายเป็นนวัตกรรมเชิงพาณิชย์ อย่างเช่น ในประเทศเกาหลี ที่มี 3 ขั้นตอน ได้แก่
1. การสร้างพื้นที่สำหรับการรวบรวมไอเดีย (Collecting) ผ่านทางเว็บไซต์ที่เรียกว่า Creative Economy Town
2. การนำไอเดียดี ๆ มาบ่มเพาะ ต่อยอด ให้ตกผลึกมากขึ้น (Mentoring)
3. การนำไอเดียที่ตกผลึก มาปั้นให้เป็นธุรกิจที่มีมูลค่าสูง (Connecting)
ในอนาคต จะต้องมีการต่อเชื่อม Research Policy, Innovation Policy และ Trade Policy เข้าด้วยกัน ซึ่งจะเป็นห่วงโช่สำคัญเชิงนโยบาย ในการขับเคลื่อนเศรษฐกิจด้วยนวัตกรรม ตั้งแต่ต้นน้ำ กลางน้ำ และปลายน้ำ
การสร้างคนให้กล้าคิด มีไอเดียที่แปลกใหม่พร้อมหาช่องทางการตลาด จะเป็นบทบาทภารกิจใหม่ของกรมทรัพย์สินทางปัญญา ต้องเพิ่มเรื่อง Idea Creation พร้อม ๆ กับ Commercialization of Innovation ให้มากขึ้น บทบาทภารกิจของกรมทรัพย์สินทางปัญญาจะโดดเด่นและชัดเจนมากกว่านี้หากได้มีการทำงานร่วมกับภาครัฐ เอกชน และประชาสังคมต่าง ๆ ผ่านกระบวนการประชารัฐ และภายใต้พลวัตที่เปลี่ยนแปลงไปของโลก
คำสุดท้ายที่อยากฝากไว้กับพวกเรา คือ
“Innovate or Die!" … คุณไม่คิดค้นสิ่งใหม่ๆ คุณตายแน่
กิจกรรมของครอบครัวพอเพียง
โรงเรียนสตรีวัดระฆัง จันทร์ 21สิงหา 59
เดินเทิดพระเกียรติสมเด็จพระนางเจ้าฯ กองทัพเรือ-สตรีวัดระฆัง
วันนี้แห่เทียนเข้าพรรษา
เป็นประเพณีของสตรีวัดระฆังและถวายเทียนที่วัดระฆังโฆษิตารามวรมหาวิหาร
คลิกที่นี่เพื่อเป็นสมาชิก?
ประเภท
ที่อยู่
ปิ่นเกล้า
Bangkok
10700
1020 Sukhumvit Road Prakhanong Klongtoey
Bangkok, 10110
ใกล้สถานีรถไฟฟ้า BTS เอกมัย/พระโขนง Tel.02-7121001-4 www.srivikorn.ac.th
23/1 Soi Piboonwattana 6, Rama 6 Road , Phaya Thai
Bangkok, 10400
Educational Consultation & Planning, Study Abroad, Improve English Skills, Study Skills, Improve G
Web Courses Bangkok, 1028/5 Pongamorn Building, Rama 4, Thung Maha Mek, Sathorn กรุงเทพมหานคร
Bangkok, 10120
The challenge of starting a new digital career can be daunting. WCB delivers current, relevant and professional courses led by industry experts and entrepreneurs. Enquire today, a...
ถนน รัชดาภิเษก
Bangkok, 10900
สวัสดีครับทุกท่านที่มาเยือนหน้า Facebook ของชาวจันทรเกษม ทุกท่าน ส่งข่าวสารถึงกันและกัน
Rama 4 Road, Klong-Toey
Bangkok, 10120
Calendar Hotmail: http://bit.ly/aakLMN
C. P. Tower 3 Building B
Bangkok, 10400
Siamtutor the expertise in Math & Science www.siamtutor.com https://instagram.com/siamtutor/
518/22 Soi Sahakarnpramoon, Prachautid Road
Bangkok, 10310
www.nadaroon.ac.th เรียนคิด สนุกค้น หาตัวตน สู่โลกกว้าง เป็นคนดี มีความเป็นไทย An innovative Thai school :twitter @NaDaroon
1112 ซ. วัดไผ่ เงิน ถ. จันทร์ เขตบางคอแหลม
Bangkok, 10120
Welcome to PRD Premrudeesuksa School Alumni
พัฒนาการ
Bangkok, 10250
ติดต่องานแสดง (+66) 985236598 อีเมล [email protected] www.wizardmagicaltheatre.com
Bangkok, 10400
PICMU is the Program in Inorganic Chemistry @ Mahidol University in which the program has been appro