Racket Story

Racket Story

ร้าน tennis pro shop เล็กๆ สไตล์แกลเลอรี บน ถ.สุวินทวงศ์ หนองจอก - ฉะเชิงเทรา
ขึ้นเอ็น+อุปกรณ์เทนนิส

25/09/2024

Yonex House Sukhumvit 26

24/09/2024

เทนนิส คือ “เกมแห่งความผิดพลาด” (3): เมื่อไม่ใช่วันของเรา

ความเดิมตอนที่แล้ว:

เมื่อ “เทนนิสมักจบที่ความผิดพลาด (Error) ของฝ่ายใดฝ่ายหนึ่ง มากกว่าการยิง Winner” แต่แทนที่จะ Play Safe ก็ให้ “โฟกัสที่การทำให้คู่ต่อสู้ตี Error เอง ส่วนฝั่งเรา ก็ซ้อม Best Shot แล้วก็ซ้อมอาวุธอื่นๆไว้ด้วย ให้นิ่ง ให้เสถียร”

แต่บอกตามตรง ผมรู้สึกว่ายังขาดอะไรบางอย่าง นั่นคือ

“ถ้าเราเป็นฝ่ายพลาดง่ายๆเองล่ะ จะทำอย่างไร?”

ผมยังหาบทสรุปของคำถามนี้อย่างที่พอใจไม่ได้ คิดอยู่นาน

เหมือนมีอะไรมาช่วย ผมได้ไปงานเปิดตัวของ YONEX House Sukhumvit 26 ซึ่งทราบล่วงหน้าว่า คุณปิ๊ก ดนัย มาเป็นแขกด้วย ผมเลยตั้งใจว่าจะเตรียมคำถามไป หาโอกาสถาม

— เราจะลดความผิดพลาดได้อย่างไร? —

นี่คือคำถามที่ผมเตรียมไป ซึ่งพอมีโอกาส ผมก็เข้าไปถาม คุณปิ๊กตอบสั้นๆ ชัดเจนตามสไตล์ว่า “สมาธิ”

และยังอธิบายเพิ่มอีกนิดว่า เมื่อมีสมาธิ จังหวะ หรือ contact point ก็ไม่ค่อยพลาด ให้โฟกัสทีละข็อต (เหมือนที่ Federer พูดว่า “It's Only a Point.”)

— เมื่อไม่ใช่วันของเรา —

อ.เบิ้ม ดร.ธนากร ศรีชาพันธุ์ เคยพูดให้ฟังในการอบรมครั้งหนึ่งว่า…

ถ้าวันไหนเป็นวันของเรา ทำอะไรก็ดีไปหมด ตียังไงก็ลง ก็เล่นไปตามสบายเลย

แต่ถ้าวันไหน ตีเสียบ่อย ทุกอย่างดูไม่เข้าที่เข้าทาง วิธีแก้ก็คือ ให้ back to basic กลับมาคิดเหมือนตอนซ้อม ตอนตีวันแรกๆ โฟกัส step การตี

(อธิบายเพิ่ม: การ unit turn, back swing, ย่อตัวโหลดน้ำหนัก, swing, ถ่ายน้ำหนัก, follow through)

ซึ่งผมก็เพิ่งมานึกได้ ว่านี่ก็คือเรื่อง การลด “ความผิดพลาด” ของเราเช่นกัน

— แนว Federer, Djokovic —

นึกขึ้นได้ตามมา มีโพสต์ที่ผมเคยเล่าให้ฟังเกี่ยวกับ 2 คนนี้ ซึ่งก็เกี่ยวข้องกับการโฟกัสที่ปัจจุบัน หากมีข้อผิดพลาด ก็รับรู้ แล้ว move on

จะว่าไป ก็เป็นวิธีการจัดการกับอารมณ์ตัวเอง เพื่อไม่ให้อารมณ์ค้าง กลับมาทำร้ายเราให้เกิดความผิดพลาดเช่นกัน (ลิงค์ทั้งคู่อยู่ใน comment)

บทความทั้ง 3 ตอนนี้ น่าจะทำให้ผมไม่รู้สึกติดค้างว่ายังขาดอะไรไปในเรื่อง “ความผิดพลาด” ส่วนถ้าเพื่อนๆคนไหนมีแนวทางอะไรดีๆก็แบ่งปันกันได้ครับ ขอบคุณครับ

22/09/2024

เทนนิส คือ “เกมแห่งความผิดพลาด” (2): ดู pattern การ error ในเด็กแข่ง 14 ปี

วันนี้มีข้อมูลของเยาวชนชาย-หญิง ในรายการ Junior Orange Bowl แล้วก็น่าสนใจ เพราะทั้งชาย และหญิง มีช่วงเวลาที่เกิด winner, error ไปในทางเดียวกัน

ขอย่อยง่ายๆให้ดูครับ

1. แต้มเกิดจากการทำ Winner เพียง 24% แต่เกิดจาก Error ถึง 76%

2. แต้มเกิดจากการ Rally ช็อตที่ 5 เป็นต้นไป ที่ 56-57% ซึ่งแปลว่า แต้มเกิดจากการโต้เพียง 4 ช็อต ถึง 43% (พูดง่ายๆ ได้โต้ 2-4 ทีก็เกิดแต้ม ซึ่งรวมถึงเสิร์ฟเสีย, return เสียด้วย)

3. Return เสีย > Return แล้ว Winner

4. Double Fault (เสิร์ฟเสีย 2 ลูก) > Ace

ตัวเลขข้างบน สนับสนุนว่า เทนนิสมักจบที่ความผิดพลาดของฝ่ายใดฝ่ายหนึ่ง มากกว่าการยิง Winner

อีกทั้ง ถ้าเสิร์ฟดี ถึงไม่ Ace แต่รับยาก (มีดีด มี slice หรือแรง รับแล้วลูกกลับไปไม่ดี) ก็มีโอกาสที่ฝ่ายเสิร์ฟจะได้แต้มเร็ว

ในทางกลับกัน ถ้าเสิร์ฟอ่อน อาจจะถูกสวนเป็น Return Winner หรือตกเป็นฝ่ายรับ

– แล้วเราควร Play Safe? –

ขอยกคำพูด และสิ่งที่ได้เห็นจากนักเทนนิส และโค้ชระดับโลก มาอ้างอิงดีกว่าครับ

— คุณแทมมี่ —

คุณแทมมี่ เคยเล่าให้ฟังในวงเล็กๆว่า “คำพูดที่เราพูดกับตัวเอง” สำคัญมาก

บ่อยครั้ง ที่นำห่างไปแล้ว แต่ไปพูดกับตัวเองว่า “ฉันจะ play safe” หรือ “ฉันจะชนะแล้ว” สุดท้ายโดนแซง

เพราะพอพูดเช่นนั้น เราจะผ่อนลงไป ทั้งที่นำห่างมาตลอด เพราะเล่นเกมบุก พอผ่อนเกมลงไป คู่แข่งก็ได้ใจ Momentum เปลี่ยน ซึ่งในกีฬาหลายชนิด พอ Momentum เปลี่ยน ถึงจะเป็นฝ่ายตาม ก็มีโอกาสแซงได้

หลายปีมาแล้ว คุณแทมมี่ ได้เคยพูดในรายการเจาะใจ เล่าถึงว่า Serena Williams จะนึกว่าตัวเองเป็นราชสีห์ ลงสนามมา ซึ่งก็เหมือนเป็นการพูดกับตัวเองว่า ฉันจะมาขย้ำเหยื่อ

ซึ่งผมตีความว่า เราต้องเป็นฝ่ายใช้ลูกถนัด (best shot) ในการกดดันให้คู่ต่อสู้ error มากกว่าการลดการ์ดไป play safe

— คุณบอล ภราดร —

มีคลิปการสอนสั้นๆของคุณบอล สอนน้องนักกีฬาคนหนึ่ง ว่าเมื่อโต้ Backhand Cross ไปสักระยะ ให้กล้าๆเปลี่ยนทางเป็นขนานเส้นเลย…“กล้าเปลี่ยนเลย”

ย้อนไปเมื่อสมัยคุณบอลเล่น ATP ก็มีช็อตสวยๆได้แต้มจากการกล้าเปลี่ยนทาง กล้าตีใกล้เส้นของคุณบอลให้เห็นบ่อยๆ

— คุณปิ๊ก ดนัย —

คุณปิ๊ก ดนัย เคยเล่าว่า เคยเอาชนะ Tommy Haas บนคอร์ตดินได้ ด้วยการกล้าเข้าทำเร็วเลย ซึ่งต่างจากที่เคยทำมาแต่ก่อน ที่รอจังหวะ

Tommy Haas ถนัดคอร์ตดินอย่แล้ว การที่นักเทนนิสที่เล่นแต่ฮาร์ดคอร์ตเป็นส่วนใหญ่จะเอาชนะได้ จัดว่ายาก แต่คุณปิ๊กทำในสิ่งที่ตรงกันข้าม

— โค้ช Patrick Mouratoglou –

Patrick เคยพูดในคลิปว่า ให้ตีบอลเหนือเน็ตมากหน่อย ใส่สปิน นอกจากจะลด Error จากการติดเน็ตแล้ว ก็จะไปกดดันฝั่งตรงข้ามด้วย เพราะบอลจะตกลึก แล้วดีดสูง (ทั้ง Play Safe และบุกไปในตัว)

เขายังพูดว่า ตอนซ้อมกับ Serena Williams ก็ซ้อมแบบง่ายๆ (และออกน่าเบื่อ) ด้วยการโต้ไปเลย 45 นาที โดยใช้สปีดบอลเหมือนตอนแข่ง (เน้นลด error)

ครูเทนนิสของผมคนหนึ่ง ก็ให้ผมโต้กับแก 200 ลูก (นับฝั่งผมคนเดียว) แล้วค่อยซ้อมช็อตอื่น (บอกตามตรง ตอนนั้นผมก็เบื่อ แต่แกก็บอกว่า เชื่อเถอะ บางคนทำไม่ได้ คุมบอลไม่อยู่)

ซึ่งทั้งหมด ผมตีความว่า ให้โฟกัสที่การทำให้คู่ต่อสู้ตี Error เอง ส่วนฝั่งเรา ก็ซ้อม Best Shot แล้วก็ซ้อมอาวุธอื่นๆไว้ด้วย ให้นิ่ง ให้เสถียร ถึงแม้จะเบื่อก็ตามครับ

Tennis coach by โค้ชเบิ้ม 19/09/2024

[Wisdom] ดีงามจนต้องแชร์ ช่อง Youtube ของ อ.เบิ้ม ดร.ธนากร ศรีชาพันธุ์

ผมเพิ่งเห็นครับ เหมือนจะเปิดตอนต้นเดือน ก.ย. นี้เอง มีคลิปการสอน on court ด้วย คือ..ดีงามจริง ไป Subscribe กันเลยครับ

https://www.youtube.com/

คาดว่าสมาชิกเพจผมส่วนใหญ่ อาจจะไม่ทันตอน อ.เบิ้ม เป็นทีมชาติ (ผมเองก็ได้ยินชื่อตามข่าวบ่อยๆ แต่ไม่ได้ดูการเล่นของ อ. ตอนเป็นทีมชาติ ตอนเป็นมือ 1 ประเทศไทย อย่างใกล้ชิด)

มีแต่ครูเทนนิสของผม (อายุถือเป็นรุ่นพี่ อ.เบิ้ม) เล่าให้ฟังบ้าง ว่าตอน อ. เป็นวัยรุ่น ดูโดดเด่นกว่าคนอื่น โดยเฉพาะลูก Volley หน้าเน็ต ที่เล่นฉลาด ตีลงออกข้างหมด คู่แข่งไม่ต้องรับ

ผมเคยมีโอกาสเข้าอบรมแบบสั้นๆกับ อ.เบิ้ม เมื่อไม่นานมานี้ เคยได้อยู่คนละฝั่งเน็ตกับ อ. (เป็นฝ่ายรับ) อ. Volley มาเหมือนไม่แรง แต่ทำไมรับยากจัง

มีเพื่อนๆหลายคนในวงการ รู้จัก อ. เป็นการส่วนตัว น่าจะได้ความรู้จาก อ. มากกว่าผมเยอะ เลยไม่มีอะไรจะแชร์มากนัก

คิดว่า อ. น่าจะปล่อยของในช่อง Youtube ครับ งั้นไปฟอลกันเลยครับ

Tennis coach by โค้ชเบิ้ม วิธีการฝีกสอนเทนนิส/จิตวิทยาการกีฬา/สาระความรู้ทางการกีฬา โดย ดร.ธนากร ศรีชาพันธุ์

18/09/2024

เทนนิส คือ “เกมแห่งความผิดพลาด” (1): ตีออก vs ติดเน็ต (Out vs Net)

วันก่อน ผมเห็นสถิติการตีออก ตีติดเน็ต ของรายการ US Open 2022 จากประมาณ 32,800 แต้ม ทั้ง ATP และ WTA เลยยกมาเล่าสั้นๆครับ

Error เกิดจากตีออก 60%, ติดเน็ต 40% โดยประมาณ

โดยการตีออก แยกเป็นออกหลัง 38-39% ออกข้างประมาณ 20%

จะตีออก หรือตีติดเน็ต ก็ไม่อยากให้เกิดกับเรา

– แต่ตีออก (Out) เป็นสัญญาณที่ดีกว่า! –

การตีออก ดูดีกว่าติดเน็ต ตรงที่ว่า…

- ถ้าออกหลัง แสดงว่าเราตีแล้วมีความลึก (depth)

- ถ้าออกข้าง แสดงว่าเราตีสร้างทิศทางได้ มี angle รู้จักโยก

พูดง่ายๆว่าเรารู้จักควบคุมบอล

อาจจะไม่ได้ตีหน้าตัว ใส่สปินน้อยไป หรือบางที เผลอตีไม่เต็มวง ก็ปรับจูนเสียใหม่ (ตั้งสติ ตีให้เต็มวง back to basic)

– ตีติดเน็ต เป็นที่ร่างกาย เทคนิค หรือที่ไม้? –

ถ้าไม่นับนักกีฬาระดับแข่งขัน ที่แรงดี เทคนิคถูกต้องอยู่แล้ว บางทีอาจจะพลาดบ้างนานๆที (ต้องให้เครดิตคู่ต่อสู้ด้วยที่ตีให้รับยาก)

กรณีคนทำงาน คนที่ไม่ใช่นักกีฬา การติดเน็ต มีหลายสาเหตุ อาจจะ…

- แรงไม่ถึง

- บอลมาเร็ว ตั้งรับไม่ทัน ลูกไม่โดนกลางไม้

- เทคนิคไม่ดี หน้าไม้ผิด

- ใช้ไม้หน้าแคบ แต่ footwork ไม่ดี ตีไม่แม่น sweetspot

- ไม้หัวหนัก เอ็นถี่ power ไม่ดี (เพราะขึ้นตึงเกิน)

ถ้าแรงไม่ถึง ก็ต้องฟิตร่างกาย ต้องใช้เวลา แต่ในขณะที่อยู่ในเกม หากแรงไม่ถึง ลูกสั้นบ่อยๆ ก็มีโอกาสโดนสวนได้

วันนี้ขอยกมาสั้นๆแค่นี้ครับ ยังมีสถิติอีกหลายตัว แต่จะเล่าให้ฟังยังไงให้ไม่น่าเบื่อ ต้องหาวิธีดูอีกทีครับ

12/09/2024

[Gear Review] เครื่องปล่อยลูกเทนนิส เวิร์กหรือไม่ และความจริงที่ควรรู้

ชื่อที่เขาเรียกในคู่มือ คือ Tennis Soft Tossing Machine ซึ่งผมขอแปลเป็นไทยว่า “เครื่องปล่อยลูกเทนนิส” ครับ

เครื่องนี้ใช้แล้วเป็นยังไง ควรซื้อมั้ย ลองมาดูประสบการณ์จริงที่ผมได้ลองครับ

09/09/2024

เทียบนักเทนนิส ATP ใครเก่งแค่ไหนในยุคของเขา ใครมีโอกาสได้แชมป์ Grand Slam

เคยสงสัยมั้ยว่า?

1. เวลาเทียบ Big 3 เห็นเขาใช้จำนวนแชมป์ Grand Slams, ATP Finals, Masters 1000, Weeks at Number 1, Olympics. แล้วถ้าจะเทียบนักเทนนิสที่ไม่ค่อยได้แชมป์ล่ะ (แต่ก็เข้ารอบลึกๆนะ) จะเทียบยังไงได้บ้าง?

2. Medvedev กับ Zverev ใครเก่งกว่ากัน?

3. ทำไมพระรองมาดนุ่มอย่าง คุณรุจ Casper Ruud ถึงไม่ได้แชมป์ใหญ่กับเขาสักที?

4. Murray กับ Wawrinka ที่แย่งแชมป์ Grand Slams มาได้ในยุค Big 3 คนละ 3 ถ้วย ใครเก่งกว่ากัน?

นี่เป็นคำถามจำนวนหนึ่ง ที่ผมเคยพยายามหาคำตอบอยู่ และวันนี้ ผมคิดว่ามีวิธีเทียบได้แล้ว ถึงแม้ไม่ถูกเป๊ะๆ แต่ก็ประมาณว่าถูก (approximately right) มากกว่าผิดแบบหน้ามือเป็นหลังมือ

(โพสต์นี้ เขียนก่อนรายการ US Open 2024 จะจบลง ค่าต่างๆอาจจะเปลี่ยนแปลงบ้างเล็กน้อย)

– นับถ้วยแชมป์ได้มั้ย? –

วิธีนี้น่าจะใช้ไม่ได้ทุกคน เพราะบางคนก็ทำผลงานได้ดี เข้ารอบ QF, SF, Final บ่อย แต่ก็ไม่ถึงแชมป์ หรือได้แชมป์รายการเล็กเสียเป็นส่วนใหญ่ อย่าง Zverev, Ruud ที่ผมเชียร์อยู่

– นับคะแนนเฉลี่ย 3-5 ปีได้มั้ย? –

งั้น Zverev ผมก็เสียเปรียบสิ ตอนที่พักบาดเจ็บข้อเท้า คะแนนก็รูดไปเพราะไม่ได้แข่งเป็นปี เอาจริงๆก็ไม่แฟร์กันนักเทนนิสหลายคนที่บาดเจ็บนะ

– ใช้ Win/Loss Index ได้มั้ย? –

ผมเคยแนะนำ Win/Loss Index ในโพสต์เก่าเมื่อหลายเดือนก่อน ว่าผมชอบดูตัวนี้ เวลาเทียบนักเทนนิส ซึ่งค่าที่ได้ คุณด้วย 100 ก็คือ เปอร์เซ็นต์ชนะที่ทำได้ ในทัวร์ ตลอดอาชีพ

แต่เอาเข้าจริงๆ ผมเจอจุดที่ไม่สมเหตุสมผลข้อหนึ่งคือ ไม่เจอ Pete Sampras ใน Top 7 ทั้งๆที่ Sampras ได้ถึง 14 Grand Slams (เป็นรองแค่ Big 3)

งั้นผมเลยคิดว่า ดูแค่ Win/Loss Index เฉพาะรายการระดับ Grand Slams เสียเลยสิ (ขอเรียกย่อๆว่า GS Win/Loss Index นะครับ) ซึ่งดูได้ในเว็บ ATP (ลิงค์ใน Comment)

– ทำไม GS Win/Loss Index ถึงแม่นกว่า? –

นี่คือเหตุผล 2 ข้อหลักๆ ที่ GS Win/Loss Index แม่นกว่า
1. รายการระดับ Grand Slam รวมคู่แข่ง มือดีๆท็อปๆของจริง
2. คัดผู้ชนะ 3 ใน 5 เซต คัดคนเก่งได้แม่นว่าเอาผู้ชนะ 2 ใน 3 เซต

– พวกอดีตแชมป์ Grand Slam มีค่า GS Win/Loss Index เท่าไร? –

อันนี้คิดมาเฉพาะคนที่ได้ 3 แชมป์ Grand Slam ขึ้นไป ยกมาแค่บางคนครับ ยุคเก่าๆหลายคนได้ไม่ได้รวม

(ตัวเลข ณ วันที่เขียนโพสต์ ในขณะที่ US Open 2024 ยังไม่จบ)

Novak Djokovic: 0.882 (24 titles)
Rafael Nadal: 0.877 (22 titles)
Roger Federer: 0.86 (20 titles)
Pete Sampras: 0.842 (14 titles)
Björn Borg: 0.892 (11 titles)
Jimmy Connors: 0.826 (8 titles)
Ivan Lendl: 0.819 (8 titles)
Andre Agassi: 0.809 (8 titles)
Stefan Edberg: 0.791 (6 titles)
Boris Becker: 0.803 (6 titles)
Jim Courier: 0.756 (4 titles)
Carlos Alcaraz: 0.855 (4 titles, ยังเพิ่งแข่ง 69 แมตซ์)
Gustavo Kuerten: 0.684 (3 titles)
Andy Murray: 0.778 (3 titles)
Stan Wawrinka: 0.699 (3 titles)

แถมนักเทนนิสชื่อดัง ที่ได้ค่า 0.7 - 0.75 บางส่วน

Juan Martin del Potro: 0.729 (1 title)
Jo-Wilfried Tsonga: 0.716
Marat Safin: 0.714 (2 titles)
Milos Raonic: 0.713
Tomas Berdych: 0.705
David Nalbandian: 0.705

– วิเคราะห์โอกาสคว้างแชมป์ จาก GS Win/Loss Index –

จากตัวเลขข้างต้น ผมสรุปคร่าวๆว่า

- ถ้าได้ค่า 0.8 ขึ้นไป มีโอกาสได้แชมป์ Grand Slam สูงมากและอาจจะเป็นตำนาน
- ถ้าได้ค่า 0.75 - 0.79 มีโอกาสได้แชมป์ Grand Slam สูง
- ถ้า 0.7 - 0.74 มีโอกาส 50-50 (อย่างน้อยๆก็น่าจะได้เข้ารอบ SF)
- ถ้า 0.6x ปลายๆ โอกาสน้อย แต่ก็ใช่ว่าจะเป็นไปไม่ได้

โดยที่ GS Win/Loss Index สะท้อนถึงศักยภาพของเขาที่ผ่านมาเทียบกับนักเทนนิสคนอื่นๆในทัวร์ ในยุคของเขา ซึ่งน่าจะนำไปประกอบการคาดเดาอนาคตได้

– ตัวตึงยุคปัจจุบัน พร้อมค่า GS Win/Loss Index –

Carlos Alcaraz: 0.855 (4 titles)
Jannik Sinner: 0.75 (1 title) *หลัง US Open 2024 ได้ 2 titles ค่าขึ้นเป็น 0.772
Daniil Medvedev: 0.75 (1 title)
Alexander Zverev: 0.75
Stefanos Tsitsipas: 0.699
Andrey Rublev: 0.697
Casper Ruud: 0.652

(คนอื่นๆใน ATP Top 10 ณ วันที่เขียนโพสต์ ได้ค่าต่ำกว่านี้)

– ตอบคำถามคาใจ –

Q1: Medvedev กับ Zverev ใครเก่งกว่ากัน?
A1: จากตัวเลข ทั้งคู่อยู่ในระดับเดียวกัน ก็จัดว่าสูสี ถ้าดูจากจำนวน Titles รายการระดับทัวร์ทุกระดับ ก็ยังสูสี (20 vs 22 โดยที่ Zverev มากกว่า) แต่ถ้าดูการเจอกัน Head To Head กลายเป็น Medvedev เหนือกว่า ที่ 12 vs 7

คู่นี้ถ้าดูจากผลงานที่ผ่านมา ผมว่า Medvedev แซงด้วยปลายจมูกครับ ด้วยเหตุผลที่ว่าเขาแข่งรายการ GS น้อยแมตซ์กว่า แต่ได้เข้าชิง 4 รายการ หยิบแชมป์มาได้ 1 รายการ ส่วน Zverev เป็นพระรอง 2 รายการ

(Updated หลัง US Open 2024, Zverev เป็นคนที่เกิดหลังปี 1990 คนแรก ที่ชนะแมตซ์ในรายการ GS เกิน 100 แมตซ)

Q2: ทำไม Casper Ruud ถึงไม่ได้แชมป์ใหญ่กับเขาสักที?
A2: ตอบในเชิงสถิติ ที่ค่า 0.652 จัดว่าต่ำ เคยเข้าชิง 3 GS แต่ก็ไม่ถึงแชมป์ นักเทนนิสระดับนี้ ทางทีมน่าจะกำลังหาวิธี Level Up อยู่ อยู่ที่ว่าจะทำได้หรือไม่ เมื่อไหร่

Q3: Murray กับ Wawrinka ใครเก่งกว่ากัน (3 แชมป์ GS เท่ากัน)
A3: ชัดเจนครับ Murray เหนือกว่า ดูจาก GS Win/Loss Index (0.778 vs 0.699) ซึ่งถ้าไปดูจากจำนวน titles รายการระดับทัวร์ทุกระดับ ยิ่งห่าง (46 vs 16) อีกทั้งยังเคยขึ้นถึงมือ 1 โลก

– GS Win/Loss Index เชื่อได้แค่ไหน? อะไรที่ไม่ตอบโจทย์? –

1. ชุดข้อมูลต้องมากพอ ที่จะบ่งบอกศักยภาพจริงๆของเขาได้แม่น (ผมคิดว่าควรแข่ง GS เกิน 100 แมตซ์) เพราะถ้าจะนำ Alcaraz ไปเทียบกับ Big 3 ก็ต้องระวังว่า Alcaraz ยังไม่ถึงแข่งไม่ถึง 100 แมตซ์ ส่วน Big 3 นั้น ลงแข่งน้อยสุดคือ Nadal ที่ประมาณ 360 แมตซ์ ส่วน Federer 429 แมตซ์

2. ค่านี้ไม่ได้การันตีว่า อนาคตแต่ละคนจะเป็นอย่างไร ต้องดูแนวโน้มประกอบด้วย อดีตเก่ง แต่อาจจะกำลังอยู่อยู่ช่วงขาลง อีกมุมหนึ่ง บางคน อาจจะ Level Up ตัวเองได้

– แล้ว Taylor Fritz ล่ะ?–

สำหรับคู่ชิงกับ Sinner ก่อนรายการ US Open 2024 จบลง ผมคุ้นๆว่าได้ประมาณ 0.59 แต่หลังจบรายการ ได้ 0.616 ซึ่งถ้าดูตาม GS Win/Loss Index ก่อนแข่งแล้ว เขาก็จัดว่าน้อยอยู่

ค่า GS Win/Loss Index เป็นสิ่งที่ผมใช้ส่วนตัวครับ เวลาอยากเทียบนักเทนนิส เท่าที่ผ่านๆตามา จะไม่เห็นสื่อไหนใช้กัน

04/09/2024

บันทึก 16 ข้อ หลังทดสอบ Wilson RF 01 ทั้ง 3 รุ่น

น่าจะเป็นช่วงซื้อ-ขายเบาบางสำหรับไม้รุ่นนี้ เพราะไม้เริ่มขาดตลาด อีกทั้งเริ่มมีคนปล่อยมือ 2 บ้างแล้ว ทั้งไทย และ ตปท.

สำหรับใครที่ยังไม่มี รอจังหวะสองที่น่าจะเข้าไทยช่วงปลายปี วันนี้ผมขอแบ่งปันสิ่งที่เจอจากการลองไม้ทั้ง 3 รุ่นแบบด่วนๆครับ ซึ่งเป็นมุมมองส่วนตัว รวมถึงสิ่งที่ค้นพบ ปรับแก้วิธีการตี เพื่อให้ใช้งานไม้รุ่นนี้ได้

ทั้งนี้ ผมลองตี ก่อนวัดค่าต่างๆ ซึ่งบางข้อข้างล่างนี้ อธิบายได้ด้วยตัวเลข จึงถึงบางอ้อ ว่าทำไมถึงเป็นแบบนี้ และจะแก้ได้มั้ย ค่อยไปดู

– สิ่งที่อยากบอก ถ้าจะใช้ RF 01 รุ่นใดรุ่นหนึ่ง –

1. ท่องก่อนลงสนามว่า วันนี้จะตีแบบใส่สปิน

2. Forehand ตีแบบใส่สปิน ลูกจะโค้งเหนือเน็ต แล้วเหมือนนัดพบ ไปเจอกันใกล้ๆเส้นหลัง (ถ้าหลุดเส้นหลัง ก็จูนแรงที่ใส่ สักพักครับ)

3. ถ้าตีแป้ก ลองใช้วง swing สั้น (short swing) แบบ Adrian Mannarino (คลิปใน comment) เดี๋ยวอธิบายเพิ่มช่วงท้ายครับ

4. Backhand slice ชัวร์กว่าตีแบบตี Backhand ปกติ (ที่อาจจะแป้ก) เหนื่อยน้อยกว่า วางบอลได้ทั่วสนาม

5. พยายามลืม Pro Staff หรือ RF97 ไปก่อน จะได้ไม่คาดหวัง คิดเสียว่าวันนี้มาลองไม้สปินสักอัน (แล้วไปดูข้อ 1)

6. ถ้าใช้ Wilson SHIFT, Head Extreme อยู่ ไม่น่าปรับตัวยาก แต่ถ้าจะใช้สลับไปมากับไม้ตี flat อื่นๆ อย่าง Pro Staff, Blade, Prestige, Gravity น่าจะต้องปรับตัวสัก 5 นาที (แล้วแต่คน)

– สิ่งที่อยากบอกเพิ่มอีก ถ้าใช้ RF 01 Pro (320 กรัม) –

7. แน่นน้อยว่า RF97 (อ้าว ไหนบอกให้ลืม RF97.. อ่อ ขอโทษครับ)

8. BH Slice ดีงามมาก อาจจะด้วย นน. ไม้มาช่วย

9. โอกาสแป้กน้อยกว่า RF 01 ตัวปกติ (300g)

– สิ่งที่อยากบอกเพิ่มอีก ถ้าใช้ RF 01 รุ่นปกติ (300 กรัม) –

10. ตอนตี ถ้าโถมตัวไปข้างหน้าช่วย จะช่วยให้ส่งบอลได้ดีขึ้น (ไม้เบา)

11. มีโอกาสตีแป้กง่ายกว่าตัว Pro แต่ผมพบว่า ถ้าใช้ short swing แบบ Adrian Mannarino ช่วยได้มาก

12. พอไม้กระทบลูกแล้ว ให้บอลอยู่หน้าไม้นานสักนิด ลากส่งยาวๆ จะช่วยให้บอลตกลึก สม่ำเสมอ และควบคุมทิศทางได้ง่ายกว่ามาก

13. BH Slice ก็ยังคงดี ถึงแม้ไม้จะเบา

14. ไม้เบากว่า ผมรู้สึกว่าโอกาสทำเจ็บแขนมากกว่าตัว Pro เพราะแขนต้องบวกแรงเพิ่ม (ข้อนี้อาจจะปรับได้โดยการถ่วงน้ำหนักด้วย lead tape และขึ้นเอ็นให้หย่อน หรือนุ่มหน่อย ด้วยการ hybrid กับเอ็น multi)

– สิ่งที่อยากบอกเพิ่มอีก ถ้าใช้ RF 01 Future (280 กรัม) –

15. ย้อนไปดูข้อ 10-12

16. ถึงน้ำหนักเบา แต่หัวจะหนักนิดๆ จัดว่าดียากกว่าไม้ 280 กรัมรุ่นอื่น แบรนด์อื่น เพราะ sweet spot เล็ก จึงเหมาะกับผู้หญิง วัยรุ่น หรือคนที่ใช้ไม้ นน.นี้อยู่เดิม ที่มีทักษะระดับกลางขึ้นไป และ commit กับการตีสปิน

– เอ็นที่ใช้ และ swing weight ไม้เดโม่ –

RF 01 Pro (320g):
- เอ็น Solinco Confidential 4.0
- Swing weight = 332sw

RF 01 300g:
- เอ็น Solinco Confidential Pink
- Swing weight = 305sw (ต่ำไป ถึงว่า มวลปะทะน้อย ต้องโถมตัวช่วย อาจจะแก้โดยการติด lead tape ให้ขึ้นมา 310+)

RF 01 Future (280g):
- เอ็น Solinco Confidential Pink (ตั้ง)/ Tour Bite Round (นอน)
- Swing weight = 300sw

ความตึงประมาณ 50 ปอนด์

– ทำไมถึงใช้ Short Swing แบบ Adrian Mannarino? –

เรื่องเกิดตอนผมมาตีรุ่น Future 280g ครับ รู้สึกไม้เบาๆ ไม่ค่อยคุ้น ตีแป้กบ่อย สิ่งที่แวบมาในหัวคือ คำของครูเทนนิสรุ่นอาวุโส (อดีตครูของนักเทนนิสชื่อดัง) ที่แนะนำผมเมื่อสัปดาห์ก่อน

ว่าให้แค่เปิดหน้าไม้ หักข้อมือ ไม่ต้องรำ (ใช้วงยาว) จากนั้นตอนไม้กระทบลูกแค่ ปัดลูกผิวๆแล้วลากยาวๆขึ้นข้างบน ระหว่างซอกคอ-ไหล่

ครูท่านนี้บอกว่าให้ตีง่ายๆ (บางคนบอกว่า เป็นวงนักเทนนิสรุ่นเก่า ซึ่งผมเห็นผู้อาวุโสหลายคนใช้)

ปกติวง forehand ผมจะยาวคล้ายๆ Djokovic แต่พบว่าตัวเองมักเตรียมตัวช้าไปในบางช็อต ซึ่งจะมีปัญหากับไม้ที่ sweetspot เล็ก หรือเบาไป ทำให้ timing ที่ไม้กระทบบอลเคลื่อนไป จนตีแป้ก

สิ่งที่ครูเทนนิสท่านนี้แนะนำ ผมคิดว่า มีความคล้ายวงแบบ short swing ของ Adrian Mannarino

– ส่งท้าย –

คิดว่าไม้ล็อตถัดไป น่าจะเข้าไทยปลายปีครับ เพื่อนที่ยังไม่มีไม้ ก็ลองหาข้อมูลกันดู หวังว่าสิ่งที่แบ่งปันจะช่วยในการตัดสินใจได้บ้างครับ ขอบคุณครับ

ขอบคุณพี่แซม Sachio Tennis Store ร้านเทนนิสออนไลน์ สำหรับไม้เดโม่ครับ

30/08/2024

ดูสถิติ “ลูกเสิร์ฟ” ของนักเทนนิสแต่ละ level (แล้วไปซ้อมกันเถอะ - -")

“ลูกเสิร์ฟ” น่าจะเป็นสิ่งที่มือสมัครเล่น, club players, มองข้ามมากที่สุด (ลองสังเกตก๊วนในสนามของเพื่อนๆกันดูครับ)

ส่วนตัว ผมมองว่า เป็นอีกทักษะ ที่ยากที่สุด ตั้งแต่วันแรกที่เริ่มฝึก

หรือพอโค้ช/ครู สอนให้แล้ว เวลาซ้อมคนเดียว ก็รู้สึกเคว้งคว้าง ว่าทำถูกมั้ย? ทำไมไม่ลง?

พอเริ่มทำได้ ถ้าห่างไปนานๆ ก็หาย

หรือตอนซ้อมสถิติดี พอแข่งจริงๆ อีกเรื่อง

– เปอร์เซ็นต์เสิร์ฟ สัมพันธ์กับ level ของนักเทนนิสหรือไม่? –

ผมซึ่งสงสัยว่า นักเทนนิสที่ level ต่างกัน มีอะไรต่างกันบ้าง (อันนี้ก็พอรู้)

ซึ่งสิ่งที่อยากรู้อีกคือ ทักษะอะไร ที่ฝึกคนเดียวก็ได้ แล้วถ้าทำได้ดีขึ้น จะพาเราอัพเวลขึ้น

หนึ่งในนั้นที่ตั้งสมมติฐานไว้ ก็คือ “ลูกเสิร์ฟ” นั่นเอง

ผมเลยไปค้นสถิติในเว็บ tennis abstract (ลิงค์ใน comment) ว่า สมมติฐานของผมถูกหรือไม่

– เทียบ ATP Top 50 กับอันดับ 51-100 กับระดับ Challengers –

Top 50: เสิร์ฟแรกลง 63.2%, เสิร์ฟเอซ 8.9%, เสิร์ฟแรกลงแล้วได้แต้มด้วย 73.7% (มีการ rally)

51-100: เสิร์ฟแรกลง 62.8%, เสิร์ฟเอซ 6.9%, เสิร์ฟแรกลงแล้วได้แต้มด้วย 70.4%

Challengers: เสิร์ฟแรกลง 61.2%, เสิร์ฟเอซ 5.8%, เสิร์ฟแรกลงแล้วได้แต้มด้วย 69.1%

(ค่าข้างต้น เป็นค่าเฉลี่ยของนักเทนนิสในแต่ละกลุ่ม ในการแข่งขันรอบ main-draw)

จะเห็นชัดเจนว่า ยิ่งระดับสูง การเสิร์ฟมีประสิทธิภาพมากกว่า

– เทียบ WTA Top 50 กับอันดับ 51-100 –

Top 50: เสิร์ฟแรกลง 61.9%, เสิร์ฟเอซ 4.8%, เสิร์ฟแรกลงแล้วได้แต้มด้วย 66.4%

51-100: เสิร์ฟแรกลง 63.6%, เสิร์ฟเอซ 3.1%, เสิร์ฟแรกลงแล้วได้แต้มด้วย 61.8%

กรณีผู้หญิง จะเห็นว่าเสิร์ฟแรกขัดๆชอบกล แต่พอมาดูเรื่องการเสิร์ฟเอซ และ เสิร์ฟแรกลงแล้ว rally จนได้แต้มด้วย ระดับ Top 50 ทำได้ดีกว่า

– เรื่องนี้บอกอะไรกับเรา? –

ส่วนตัว ผมตีความว่า ถ้าเสิร์ฟดี น่าจะเปลี่ยนรูปแบบเกมโดยรวมได้

- ถ้าเสิร์ฟเอซ เราก็ไม่ต้อง rally (ประหยัดแรงไปได้)
- ถ้าวางตำแหน่งดีๆ มีสปิน,สไลซ์ คู่แข่งก็รับยาก หรือต้องวิ่งไปรับ, หลุดตำแหน่ง, คอร์ตเปิด, recover พื้นที่ไม่ทัน
- ถ้า serve ได้หลากหลาย คู่แข่งก็พะวักพะวง

ซึ่งจะสะท้อนไปถึงค่า “%เสิร์ฟแรกลงแล้วได้แต้มด้วย” ไปด้วย

จริงอยู่ ยังมีเรื่องอื่นๆที่เกี่ยวข้องกับ performance โดยรวมของนักเทนนิสด้วย เช่น ความแข็งแรง, จิตใจ, technique, tactics … เยอะไปหมด

ถ้าคิดตามกฎ 80/20 ผมยังมองว่า การซ้อมเสิร์ฟให้มีประสิทธิภาพ เป็นหนึ่งในการทำ 20% ที่ทำให้รูปเกมโดยรวมดีขึ้น 80% ครับ

อยู่คนเดียว ก็ซ้อมได้ ขอให้มีสนาม และฝนไม่ตก (และแดดไม่ร้อนเกินไป)

(ช่วงนี้ไม่ค่อยได้รีวิวไม้ รีวิวเอ็นครับ เพราะกำลังอินกับเรื่อง performance, mental ยิ่งค้น ยิ่งอ่าน ยิ่งดู ยิ่งถลำลึก)

29/08/2024

ยอมรับมา ว่าออกเสียงไม่ถูก: Iga Świątek, Felix Auger-Aliassime, Hubert Hurkacz,

โพสต์นี้ขอชิลล์ๆขำๆครับ

มีนักเทนนิสจำนวนหนึ่ง ที่หลายคนอาจจะไม่รู้จะออกเสียงยังไง

จะคุยกับเพื่อน ก็ไม่รู้จะเข้าใจตรงกันหรือเปล่า หรือกลัวปล่อยไก่

ชื่อของบางคน เราอ่านตรงๆแบบอังกฤษ กลับไม่ตรงกับชื่อของเขาจริงๆ

โชคดีครับ เว็บของ ATP และ WTA เขาอัดเสียงอ่านให้เราเปิดฟัง โดยนักกีฬาคนนั้นๆเลย (แต่โชคไม่ดี ที่ไม่ครบทุกคน)

ใครสงสัยชื่อใคร ก็ไปคลิก (ใน PC) หรือแตะไอคอนรูปลำโพง (ใน smartphone) ฟังได้

ว่าแล้ว ผมขอ Challenge หน่อยว่า โปรเหล่านี้ ออกเสียงว่ายังไง

เตือนไว้ก่อน อย่าประมาทนะ เพราะหลายคนมาจากยุโรป อย่างฝรั่งเศส โปแลนด์ เยอรมัน

Gael Monfils
Iga Świątek
Hubert Hurkacz
Felix Auger-Aliassime
Jan-Lennard Struff
David Goffin

ขิงตัวเอง:
ส่วนตัว ผมชอบรับสื่อทางการอ่าน มากกว่าการฟัง เลยมีโอกาสที่จะออกเสียงนักเทนนิสบางคนผิด เช่น

Monfils ผมมักอ่านว่า “มอง-ฟีล” แต่ฟังๆดู คำหลังออกเสียงคล้ายๆ “ฟีส”

Iga Świątek แรกๆผมอ่านว่า “อิกา สเวียเท็ก” แต่ฟังๆดู คำหลังออกเสียงคล้ายๆ “ซึ-ยอ-เท็ก”

26/08/2024

Novak Djokovic เผยเทคนิคที่ใช้ระหว่างเกม + mental toughness (+ วิเคราะห์แนวพุทธ)

โพสต์ก่อน พูดถึงกิจวัตรของ Roger Federer ที่ทำระหว่างแต้มแล้ว วันนี้ถึงคราวของ Novak Djokovic บ้าง

ในรายการ 60 Minutes เขาได้เปิดเผยเทคนิคที่เขาใช้ระหว่างเกม เลยขอแชร์ Key Takeaways สั้นๆและวิเคราะห์แนวพุทธแทรกบ้างนิดหน่อยครับ (คลิปต้นฉบับอยู่ใน comment)

ลองมาดูซิว่า เหมือนหรือแตกต่างจากของ Federer อย่างไร

– สำรวจสัญญาณทางกายของคู่แข่งอย่างละเอียด –

เขาจะดูหลายๆอย่าง แม้แต่สัญญาณเล็กๆน้อยๆ เช่น แววตา การดื่มน้ำ เหงื่อที่ออก ลักษณะการหายใจ (สั้นหรือยาว) หรือคู่แข่งคุยกับทีมว่าอะไร จากรายละเอียดนั้นๆ เขาก็อาจจะใช้สงครามจิตวิทยาเพื่อสร้างความได้เปรียบ

(คหสต 1. แนวพุทธ คือ สติ โดยการสำรวจสิ่งรอบตัว ในที่นี้คือ คู่แข่ง นอกจากนี้ ผมยังคิดว่าเหมือนหลักในคัมภีร์ห้าห่วงของ "มิยาโมโตะ มูซาชิ" (Miyamoto Musashi) ด้วย

คหสต 2. อันนี้ตรงกับที่คุณปิ๊ก ดนัย เคยเล่าให้ฟังในช่อง Youtube EP.6 ว่า Novak ตอนเป็นวัยรุ่น มีลักษณะเด่น คือสอดส่ายหาโอกาสอยู่ตลอดเวลา ซึ่งตรงกับสิ่งที่ออกจากปาก Novak ใน 20 ปีต่อมา ที่เป็นป๋าของวงการแล้ว)

– Mental Strength สร้างได้ (ไม่ได้มีมาแต่เกิด) --

เขาเน้นในระหว่างสัมภาษณ์ว่า ความแข็งแกร่งของจิตใจ ไม่ใช่พรสวรรค์ แต่เป็น “ทักษะ” ที่สร้างได้ผ่านการฝึกฝน ผ่านการรับรู้ลมหายใจ (หายใจอย่างมีสติ)

(คหสต: ใกล้เคียง สัมมาวายามะ คือ ใช้ความเพียรที่ถูกต้อง ด้วยการฝึกลมหายใจแบบ "สมถภาวนา" โดยเขาบอกว่าสิ่งที่ทำให้เขาเป็นเขา คือ เรื่องจิตใจที่แข็งแกร่งเหนืออีกหลายคน ไม่ใช่ความเร็ว หรือร่ายกายแข็งแกร่งเหนือคนอื่น)

– การต่อสู้ภายในใจ และไม่หลอกตัวเองให้คิดบวก –

เขาบอกว่า ในระหว่างแมตซ์ เขาก็มีความสงสัย ไม่มั่นใจ ความกลัวเช่นกัน แต่เขาก็แสดงมันออกมาตามจริงแล้วคิดว่ามันเป็นธรรมชาติของมนุษย์

(คหสต: จะเห็นได้ว่า เขาก็เคยทุบไม้เทนนิส/racquet abuse หรือโวยวายโค้ช ให้เราเห็น ซึ่งน่าจะเกี่ยวกับประเด็นนี้)

– Good vs Great: นักเทนนิสที่ดี กับนักเทนนิสที่ยิ่งใหญ่ ต่างกันอย่างไร –

เขาบอกว่า ความสามารถในการไม่อยู่กับความฉงนสงสัย อารมณ์ลบๆนานเกินไป ทำให้คน 2 กลุ่มนี้ต่างกัน

เขาจะยอมรับอารมณ์ลบๆที่เกิดขึ้น หาทางระบาย แล้วก็เปลี่ยนสภาวะอารมณ์ หรือ reset อารมณ์ แล้ว move on ต่อไป

(คหสต: เทียบได้กับการมองเห็น “ทุกข์” ที่เกิดขึ้น แล้วพยายามมี สัมมาสังกัปปะ/ความคิดที่ถูกต้อง มองเสียว่ามันผ่านไปแล้ว ไม่พยาบาทคู่แข่ง กรรมการ หรือความผิดพลาดของตัวเรา ไม่เบียดเบียนตัวเองให้เครียด)

จะเห็นได้ว่า มีความคล้ายคลึงกับสิ่งที่ Roger Federer เล่าให้ฟังพอสมควร ยกเว้นเทคนิคการอ่านคู่ต่อสู้ ที่ Federer ไม่ได้พูดถึง

25/08/2024

กิจวัตรที่ Roger Federer ทำเป็นประจำ 15 วินาทีระหว่างแต้ม (และลองเทียบกับหลักพุทธ)

ได้เห็นโพสต์นี้ แล้วรู้สึกว่าน่าสนใจ เลยขอนำมาแบ่งปันครับ (ลิงค์ต้นฉบับใน comment) ความจริงพยายามหาคลิปที่เป็นวีดีโอ แต่หาไม่เจอ

0-5 วินาทีแรก: รับรู้และยอมรับสภาวะอารมณ์ของแต้มก่อนหน้า ไม่ว่าจะเป็นยินดี หรือผิดหวัง

5-10 วินาทีถัดมา: ผ่อนคลายทั้งกาย และใจ (เขาบอกว่านี่คือสิ่งที่สำคัญที่สุด)

10-15 วินาทีสุดท้าย: เตรียมแต้มถัดไป ในมุมมองเชิงแทคติก เช่น จะ serve ลงจุดไหน หรือ พื้นที่ว่างที่จะบุก เป็นต้น

ดูเรียบง่ายจริงๆ

ส่วนตัวแล้ว ผมมีปัญหาช่วงระหว่างแต้มอยู่เหมือนกัน ไม่รู้เพื่อนๆเป็นกันมากแค่ไหน

กรณีเล่นคู่ มักเกิดตอนที่เราเพิ่งทำเสียแต้มง่ายๆไป แล้วเกรงใจ partner

กรณีเล่นเดี่ยว มักเกิดตอนที่คู่ต่อสู้พลาดน้อยมาก ส่วนเราทำอะไรก็พลาดไปหมด

– เทียบกับหลักพุทธ –

0-5 วินาทีแรก: ที่ใกล้สุดน่าจะเป็นเรื่องสติ รับรู้และยอมรับสภาวะอารมณ์ของตัวเองโดยไม่ตัดสิน

5-10 วินาทีถัดมา: ใกล้กับอุเบกขา คือวางเฉย ไม่ยึดติดกับสภาวะอารมณ์นั้น คิดเสียว่าไม่ว่าอารมณ์ หรือความเครียด มันเกิดขึ้น เดี๋ยวมันก็หายไป (เสริมนิดนึงว่าเคยได้ยินโค้ชคนไทยท่านหนึ่ง บอกว่าให้หายใจเข้าลึกๆ ระหว่างแต้ม แต่จำไม่ได้ว่าใคร)

10-15 วินาทีสุดท้าย: น่าจะตรงกับ 2 ข้อในมรรค 8 คือ

- สัมมาสังกัปปะ (ความคิดที่ถูกต้อง) มันผ่านไปแล้ว ไม่พยาบาท (ทั้งตัวเรา คู่แข่ง กรรมการ) และไม่เบียดเบียนตัวเองให้เครียด

- สัมมาวายามะ (ความเพียรที่ถูกต้อง) ไปโฟกัสที่แทคติกของแต้มถัดไปซะ

2 ข้อนี้ พูดแนวพุทธได้ว่า "ละอกุศลที่เกิดขึ้นแล้ว ป้องกันอกุศลที่ยังไม่เกิด"

ความจริงผมไม่ใช่คนแม่นหลักพุทธเท่าไรนักครับ แต่ด้วยความที่ชอบภาพยนตร์เรื่อง Star Wars มาก แล้วในเรื่อง อาจารย์โยดาชอบพูดอะไรๆคล้ายกับหลักพุทธ แล้วก็เคยอ่านบทความแนววิเคราะห์คำสอนของเจไดเทียบกับหลักพุทธ

อีกเรื่องก็คือเรื่อง The Last Samurai (นานแล้ว ทอม ครูซเป็นพระเอก เป็นนายพลอเมริกัน ไปติดอยู่กับหมู่บ้านซามูไร ซึ่งบอกว่า ตอนต่อสู้ ให้ทำจิตว่าง คล้ายๆหลักพุทธ)

ก็หวังว่าเกร็ดเล็กๆนี้จะเป็นประโยชน์ และนำไปใช้ได้ครับ

23/08/2024

อัพเดท กริป Yonex แพค 3 (rare item ช่วงนี้)
แพคละ 160 บาท (ค่าส่ง 30)
** ตอนนี้เหลือสีเหลือง ม่วง บานเย็น(บนสุด) นะครับ **
สนใจทัก chat ได้ครับ

16/08/2024

คู่เทียบของ Yonex VCore แต่ละรุ่น

โพสต์ก่อนหน้า (ความจริงต้องเรียกว่า clip ถึงจะถูก) ผมได้รีวิว Yonex VCore 'Sand Beige' 95, 98, 100 สั้นๆ พอมาวนดูอีกที เห็นว่าหลุดประเด็นเรื่องหนึ่งไป

นั่นคือ “คู่เทียบ” ของ VCore แต่ละน้ำหนัก

ทั้งนี้ เพราะเพื่อนๆอาจจะมาจากไม้ค่ายอื่น หรือเคยลองไม้อื่น จะได้พอเทียบได้ว่า ตัวเองจะ “ตีได้” หรือไม่ โดยผมจะเน้นที่ น้ำหนัก + ขนาดหน้าไม้ มากกว่า “ฟีล”

คู่เทียบที่ผมเลือกมา จะเป็นไม้ที่พอหาได้ในประเทศไทย ผมเคยได้ลอง หรือบางกรณี ผมอาจจะไม่ได้ลองเอง ก็จะค้นคว้าจากนักรีวิวที่เชื่อถือได้ครับ (ผมตามมานาน)

ซึ่งอาจจะไม่ครบทุกรุ่นในตลาดครับ

VCore 95: Head Prestige Tour (หนักกว่า), Dunlop CX 200 Tour

VCore 98: Yonex EZone 98 (หัวเบากว่า กลวงกว่านิดๆ), Head Extreme Pro 2024 /หรือรุ่นเก่าเรียก Extreme Tour (launch angle ต่ำกว่า บอลออก flat กว่า นุ่มพอกัน), Babolat Pure Aero 98 (แข็งกว่า หัวหนักกว่า), Tecnifibre T-Fight 305 (หัวหนักกว่า นุ่มพอกัน)

VCore 98L: Yonex Ezone 98L, Tecnifibre Tempo 298 Iga (แข็งกว่า หัวหนักกว่า)

VCore 100: Babolat Pure Aero (แข็งกว่า), Head Extreme MP, Yonex EZone 100 (ตี flat), Wilson Ultra 100, Dunlop SX 300, Wilson SHIFT 99

VCore 100L: Babolat Pure Aero Team, Head Extreme MP L, Wilson Ultra 100L, Tecnifibre T-Fight 280, Wilson SHIFT 99L

จะเห็นว่า ไม้บางรุ่นข้างต้น ไม่ใช่สายสปิน แต่ผมเอามาเทียบด้วย ทั้งนี้เพราะผมมองว่า VCore ไม่ได้สปินจ๋าแบบ Head Extreme MP หรือ Wilson SHIFT ครับ แต่รู้สึกว่า VCore ตีกึ่ง flat กึ่งสปินก็ได้

ถ้าเพื่อนคนไหนมีอะไรแนะนำ หรือผมตกหล่นตรงไหน เชิญได้เลยครับ

Photos from Racket Story's post 14/08/2024

โพสต์เก่าเมื่อปีที่แล้ว พิสูจน์ว่า ผมเดาอะไรไม่ค่อยถูก 555

กลายเป็นป๋า Dimitrov ที่มากอบกู้ One-handed Backhand
ส่วน Musetti ที่เชียร์ อันดับก็ทรงๆ
Tsitsipas ก็หลุด Top 10
ส่วน Shapo หลุด Top 100

เอ..แต่ก็เดาถูกอยู่บ้าง ที่ว่า 2 คนหลังขึ้นยาก
อีกอย่าง ต้องลองดูยาวๆอีก 5 ปีขึ้นไป (ช่วยพี่หน่อยนะ น้อง Musetti)

13/08/2024

[Quick & Honest Reviews] ลอง Yonex VCore 'Sand Beige' 95,98,100

ขอใช้รูปแบบคลิปแทนนะครับ เพราะถ้าเป็นตัวหนังสืออาจจะยาวพอสมควร

ขอขอบคุณ YONEX Thailand ด้วยครับ

10/08/2024

ตอนนี้หมดแล้วครับ พบกันประมาณเดือน 11 ครับ

08/08/2024

Swing Vision EP.5 ลองกับ Lobster Ball Machine ค้นหาตัวตน ว่าเหมาะกับ Wilson RF 01 น้ำหนักไหน?

วันนี้ผมลองใช้ Ball Machine ครั้งแรก แถมเป็น Lobster ตัวท็อปเสียด้วย ดีใจจริงๆครับ วัตถุประสงค์คือ อยากดู performance ตัวเอง ว่าถ้าต้องถือไม้หนักๆอย่าง 320 กรัม (รวมเอ็น+กริป ก็ 340+ กรัม) จะออกมาเป็นอย่างไร

จริงๆ คืออยากหาตัวเองครับ ว่าควรเลือก Wilson RF 01 น้ำหนักไหนดี 320 หรือ 300 กรัม

*ลิงค์ของพี่ที่ให้บริการเครื่องยิงลูกเทนนิส Lobster อยู่ใน comment ครับ

Photos from Racket Story's post 03/08/2024

อัพเดทกันสะเทือน (Dampener)
1. Babolat Aero Damp แพคละ 290 บาท (มี 2 ชิ้น)
2. Head Pro Damp แพคละ 290 บาท (มี 2 ชิ้น)
3. Yonex AC165 แพคละ 240 บาท (มี 2 ชิ้น)
4. Tourna ODamp แพคละ 240 บาท (มี 2 ชิ้น)
5. Solinco Hyper-Sorb แพคละ 220 บาท (มี 2 ชิ้น)

ค่าส่ง 50 บาท สนใจทัก inbox ได้ครับ

03/08/2024

เอ็นเทนนิส Yonex Poly Tour Rev เข้ามาเติมสต็อกครับ
มีสีมินต์ สีม่วง และสีแสด แพคละ 550 บาท

Yonex Poly Tour Pro สีดำ น้ำเงิน เหลือง แพคละ 490 บาท

ค่าส่ง 50 บาท สนใจทักแชตได้ครับ

22/07/2024

รู้หรือไม่ 12 ประเทศ ผลิต Top 200 ATP/WTA ถึงกว่า 60%

สัปดาห์ก่อนที่ Carlos Alcaraz คว้าแชมป์ Wimbledon ไป ทำให้สื่อตีข่าวความเหมือนกัน ระหว่างปี 2024 กับปี 2008 ที่ Rafael Nadal คว้าแชมป์ Wimbledon พร้อมกับที่ฟุตบอลทีมชาติสเปนคว้าแชมป์ยูโรด้วย
(ปีนี้ สเปนก็คว้าแชมป์ยูโร หลัง Alcaraz ไม่กี่ชั่วโมง)

ดูแค่นี้ เหมือนกับว่านักเทนนิสเก่งๆมักจะมาจากสเปน

ฝั่งอิตาลี ก็ฮือฮาที่..

- Jannik Sinner ขึ้นเป็นมือ 1 โลก (คนแรกของอิตาลี)

- Jasmine Paolini เป็นหญิงอิตาลีคนแรก ที่เข้าชิง Grand Slam 2 รายการที่ต่างกัน (มิหนำซ้ำยังเป็นปีเดียวกันด้วย)

พอมีคำว่า "คนแรก" อาจจะทำให้เราตีความว่า อิตาลียังตามหลังสเปน ในแง่การผลิตนักเทนนิสที่เก่งๆ

แล้วความจริง เป็นอย่างนั้นจริงหรือไม่?

– ดูจากอันดับ Davis Cup และ Billie Jean King Cup –

ถ้าดูจากอันดับ Davis Cup (เทนนิสประเภททีมชาย) ณ วันที่เขียนโพสต์

1. Italy
2. Australia
3. Canada
*17. Spain

อันดับ Billie Jean King Cup (เทนนิสประเภททีมหญิง) ณ วันที่เขียนโพสต์

1. Canada
2. Czechia (Czech Republic)
3. Italy
*6. Spain

ถ้าดูแบบนี้ Italy ดูเหนือกว่า Spain ชัดเจน แต่จะใช้การจัดอันดับแบบนี้ได้หรือไม่?

ส่วนตัวแล้ว ผมคิดว่าถ้าจะดูว่าประเทศไหนผลิตนักเทนนิสเก่งๆมากกว่า ผมเลือกวิธีการนับจำนวนนักเทนนิสในระดับ ATP/WTA เลย

– Top 1,000 ของ ATP/WTA มาจากประเทศไหนเยอะสุด? –

ผมนำข้อมูล ณ วันที่ 12 กรกฎาคม 2024 โดยคัด Top 1,000 แรกจากทั้ง ATP และ WTA (รวม 2,000 คน)

พบว่า 12 ประเทศแรก ที่มีนักเทนนิสติด Top 1,000 คือ…

1. USA - 204 คน
2. France - 139 คน
3. Italy - 135 คน
4. Russia - 110 คน
5. Japan - 99 คน
6. Germany - 94 คน
7. Spain - 81 คน
8. Argentina - 77 คน
9. Australia - 72 คน
10. UK - 66 คน
11. China - 63 คน
12. Czech Republic - 57 คน
*34 Thailand - 14 คน

จะเห็นว่า ถ้าใช้วิธีนี้ ผู้ชนะตัวจริงคือ USA

ส่วน Italy ก็ยังมีนักเทนนิสระดับ Top 1,000 มากกว่า Spain อยู่ดี

และ 12 ประเทศนี้ ผลิตนักเทนนิส Top 1,000 ในทั้ง 2 Tours ถึง 60%

– Top 200 ของ ATP/WTA มาจากประเทศไหนเยอะสุด? –

คราวนี้เจาะแคบลงมา ที่ Top 200 ของทั้ง ATP/WTA (รวม 400 คน)

1. USA - 45 คน
2. France - 38 คน
3. Russia - 27 คน
4. Australia - 22 คน
5. Italy - 21 คน
6. Argentina - 20 คน
7. Spain - 19 คน
8. Czech Republic - 16 คน
9. Germany - 15 คน
10. UK - 13 คน
11. China - 12 คน
12. Japan - 9 คน
*37. Thailand - 1 คน (Lanlana Tararudee หรือน้องรวงข้าว)

และ 12 ประเทศนี้ ผลิตนักเทนนิส Top 200 ในทั้ง 2 Tours ถึง 64%

ถ้าดูดีๆ จะเห็นได้ว่า ทั้ง 2 scale ประเทศ 12 อันดับแรกก็เหมือนเดิม โดยที่เบอร์ 1 และ 2 ยังคงเป็น USA และ France (ส่วน Italy ยังนำ Spain แต่ไม่ห่างมาก)

(ให้เครดิตนิดว่า ประเทศที่มี 9 คนที่ติด Top 200 นอกจาก Japan แล้ว ยังมี Croatia, Canada, Ukraine แต่ผมตัดมาแค่ Japan เพื่อให้เห็นความเหมือนกัน)

USA นำโด่ง โดดเด่นกว่าประเทศอื่น ซึ่งเราก็คงไม่น่าแปลกใจ ส่วนในเอเชียเรา ก็ตามคาด ทั้งจีน และญี่ปุ่น แต่ผมเดาๆว่าอีกไม่นาน จีนจะทิ้งห่างญี่ปุ่นและขึ้นติดอันดับ Top 10 ของโลก

– Playbook สู่การ Turn Pro ของนักกีฬาจากประเทศเล็ก? –

อันนี้แค่ตั้งคำถามครับ แต่ไม่มีคำตอบ ฮา…

ส่วนตัวแล้ว คิดว่า ถ้าอยู่ในประเทศ 12 ประเทศข้างต้น น่าจะมีแต้มต่อเยอะมาก ไม่ว่าจะเป็น infrastructure ที่ส่งเสริมเทนนิส หรือ idol ที่เคยสำเร็จจริงๆ

แต่ถ้าไม่ได้อยู่ประเทศเหล่านั้นล่ะ?

ถึงไม่มีคำตอบ แต่ผมมีข้อสังเกตครับ

ความจริงมีตัวอย่างให้เห็นอยู่เรื่อยๆ ถ้ายุคนี้ ขอยกตัวอย่าง Ons Jabeur จากประเทศเล็กๆอย่างตูนีเซียที่เคยขึ้นถึงอันดับ 2 WTA Tour

และเธอให้เครดิตคุณแม่ของเธอที่ยอมเสียสละอย่างมากให้กับกิจกรรมด้านเทนนิสของ Ons ไม่ว่าจะเป็นขับรถพาไปซ้อม ย้ายเมือง เพื่อโอกาสการซ้อมที่ดีกว่า

มีคนเคยกล่าวว่า นักกีฬา, ผู้ปกครอง, และโค้ช เป็น 3 องค์ประกอบที่ต้องทำงานร่วมกัน ในขณะที่ เงินทุน ก็สำคัญในการสร้างนักกีฬาระดับท็อปสักคน

อย่างไรก็ดี เรามักเห็นว่า นักกีฬาที่ก้าวมาสู่ระดับท็อปจากประเทศเล็กๆ มักจะเริ่มจากพ่อ-แม่ นักฝันที่มีความเชื่ออย่างแรงกล้า เป็นทั้ง dreamer และ believer ทำในสิ่งที่คนอื่นอาจจะมองว่าบ้า ทั้งๆที่ยังไม่รู้ว่าเงินทุน สายป่านจะยาวแค่ไหน

ใครอยากดูน้องรวงข้าวดวลกับมือท็อป WTA อย่าง Paula Badosa ดูในลิงค์ใน comment เลยครับ สโตรกหนักทั้งคู่จริงๆ

ต้องการให้ธุรกิจของคุณ ธุรกิจ ขึ้นเป็นอันดับหนึ่ง ห้องออกกำลังกายและกีฬา ใน Chachoengsao?
คลิกที่นี่เพื่อเป็นสมาชิก?

วิดีโอทั้งหมด (แสดงผลทั้งหมด)

Yonex House Sukhumvit 26
Tennis Soft Tossing Machine
ยอมรับมา ว่าออกเสียงไม่ถูก: Iga Świątek, Felix Auger-Aliassime, Hubert Hurkacz,โพสต์นี้ขอชิลล์ๆขำๆครับมีนักเทนนิสจำนวนหน...
Yonex VCore Sand Beige Reviews
Swing Vision EP.5 ลองกับ Lobster Ball Machine ค้นหาตัวตน ว่าเหมาะกับ Wilson RF 01 น้ำหนักไหน?วันนี้ผมลองใช้ Ball Machine...
Feel the history.
แก้วเก็บความเย็น Racket Story…Elevate your game, write your own Racket Story. 🎉👏🍾👍มี 3 สี ราคา 265 บาท รวมส่งครับ มีจำนว...
Serve Practice with SwingVision …#swingvision
SwingVision EP.4: ดูสถิติการ Serve และ 3 ปัญหาการใช้งานทั่วไป ลองมาได้ 4-5 ครั้งแล้วครับ ล่าสุดไปลองใช้ซ้อม serve กลางแด...
SwingVision EP.3: เมื่อ AI ช่วยให้ตาสว่าง หลังจากตีเทียบ PERCEPT 100 กับ 100D หลายเดือนที่ผ่านมา PERCEPT 100D เป็น 1 ใน ...
SwingVision EP.2: ลอง Rally ครั้งแรกขอใช้รูปแบบ clip สั้นๆแทนนะครับ เพราะถ้าเป็น text คงจะยาวมากครับ #swingvision #tenni...
Next Experiment: Toroline Wasabi/ Wasabi X

ประเภท

เบอร์โทรศัพท์

เว็บไซต์

ที่อยู่


56 Moo 14, Saladaeng, Bang Nam Priao
Chachoengsao
24000

เวลาทำการ

จันทร์ 10:00 - 05:30
อังคาร 10:00 - 17:30
พุธ 10:00 - 17:30
พฤหัสบดี 10:00 - 17:30
ศุกร์ 10:00 - 17:30
เสาร์ 10:00 - 17:30
อาทิตย์ 10:00 - 15:00

กีฬา อื่นๆใน Chachoengsao (แสดงผลทั้งหมด)
The Horseman- ตลาดคาวบอย The Horseman- ตลาดคาวบอย
59/5 ม. 8 ถ. เลียบคลองพระองค์เจ้าไชยานุชิต ต. คลองหลวงแพ่ง อ. เมืองฉะเชิงเทรา จ. ฉะเชิงเทรา
Chachoengsao, 24000

บรรยากาศร่มรื่น ใกล้ชิดธรรมชาติ

สนามกีฬายิงปืนเมืองแปดริ้ว สนามกีฬายิงปืนเมืองแปดริ้ว
สนามกีฬายิงปืนเมืองแปดริ้ว, 081 589 2555, Https://maps. App. Goo. Gl/pURWzSrnyPLd3WDd 7
Chachoengsao, 24000

สนามกีฬายิงปืนเมืองแปดริ้ว จ.ฉะเชิงเทรา

I like smoking I like smoking
Chachoengsao, 24000

พอตใช้เเล้วทิ้ง 🚬💨 นัดรับ เเปดริ้ว คลองสวน - ลาดกระบัง บางพลี ต่างจังหวัดจัดส่งได้ 📦 สอบถามกันก่อนได้ครับ 🤖

Football route by Kanapot Football route by Kanapot
Chachoengsao

การฝึกซ้อม&การเล่นฟุตบอล

น้าชาย รอกตกไฟฟ้ามือ 2 นำเข้าจากญี่ปุ่น น้าชาย รอกตกไฟฟ้ามือ 2 นำเข้าจากญี่ปุ่น
Chachoengsao, 24130

รอกตกปลามือสองจากญี่ปุ่นBy Chay

TA-Ron fishing thailand TA-Ron fishing thailand
62
Chachoengsao, 24120

ช่องเกี่ยวกับการตกปลา ตกตามหมายธรรมชาติ ส่วนใหญ่

แปดริ้ว Online Camping by Fennec Fox Outdoor แปดริ้ว Online Camping by Fennec Fox Outdoor
Chachoengsao, 24000

อุปกรณ์แคมป์ปิ้ง เดินป่า คุณภาพ ราค?

WarnWarn Homeschool WarnWarn Homeschool
เทพคุณากร
Chachoengsao, 24000

วางระบบการศึกษาเรียนเอง เลือกเอง

YENZE YENZE
Chachoengsao, 24180

Pachira Shop Pachira Shop
15/127/128
Chachoengsao, 24000

อุปกรณ์กีฬา ชุดกีฬา เสื้อผ้า

รายการจัดบอล สนาม อิชิสปอร์ตคลับ รายการจัดบอล สนาม อิชิสปอร์ตคลับ
123 หมู่ที่ 12 ตำบลบางวัว อำเภอบางปะกง
Chachoengsao, 24180

Ichi-in soccer