Dynamic : Architectural Thesis Exhibition RMUTL
ตำแหน่งใกล้เคียง โรงเรียน
Huay Kaew Road
Huay Kaew Road
ถ. ห้วยแก้ว ตำบลช้างเผือก อำเภอเมืองเชียงใหม่
ถนนห้วยแก้ว ตำบลช้างเผือก อำเภอเมือง
ม. 1 ซ. พระนาง ต. ช้างเผือก อ. เมือง จ. Chiang Mai
มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลลล้านนา
มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลล้านนา 128 ถนน ห้วยแก้ว ต. ช้างเผือก อ.เมือง จ.Chian 50300
ข้อมูลการติดต่อ, แผนที่และเส้นทาง,แบบฟอร์มการติดต่อ,เวลาเปิดและปิด, การบริการ,การให้คะแนนความพอใจในการบริการ,รูปภาพทั้งหมด,วิดีโอทั้งหมดและข่าวสารจาก Dynamic : Architectural Thesis Exhibition RMUTL, การศึกษา, 128. Huay Kaew Road, Muang, Chiang Mai.
โครงการปรับปรุงสถาปัตยกรรมภายในอาคารศูนย์การเรียนรู้ เซนต์หลุยส์ มารีย์ โรงเรียนมงฟอร์ตวิทยาลัย แผนกประถม เชียงใหม่
( INTERIOR ARCHITECTURE RENOVATION DESIGN ST. LOUIS-MARIE LEARNING CENTER BUILDING MONTFORT COLLEGE PRIMARY SECTION CHIANGMAI )
ผู้ทำวิทยานิพนธ์ : นางสาว ธิติมา ศรีวิลา
หลักสูตรปริญญา : สถาปัตยกรรมศาสตรบัณฑิต
อาจารย์ที่ปรึกษาวิทยานิพนธ์ : ผู้ช่วยศาสตราจารย์ สุรกานต์ จันทรวงค์
งานวิจัยชิ้นนี้มีเป้าหมายหลักคือ การปรับปรุงพัฒนาการใช้งานอาคารศูนย์การเรียนรู้เซนต์หลุยส์ มารีย์ โรงเรียนเรียนมงฟอร์ตวิทยาลัย จังหวัดเชียงใหม่ โดยอาคารเซนต์หลุยส์มารีย์เปิดใช้งานมาแล้วกว่า 10 ปี พื้นที่ดังกล่าวเป็นอาคาร 4 ชั้น ภายใน มีห้องสมุด ห้องบรรณารักษ์ ห้องคอมพิวเตอร์ iMac ห้องปฏิบัติการวิทยาศาสตร์ และพื้นที่การเรียนรู้อีกมากมาย อย่างไรก็ตาม แม้ว่าพื้นที่ดังกล่าวจะมีอุปกรณ์การเรียนรู้ที่ทันสมัยและพื้นที่การเรียนรู้ที่มากมาย แต่จากการสำรวจและเก็บข้อมูลภาคสนามพบว่า การใช้งานในส่วนต่าง ๆ ไม่ตอบสนองกับพฤติกรรมการเรียนรู้ของผู้เรียนในปัจจุบัน อีกทั้งเทคโนโลยีที่ส่งเสริมการเรียนรู้มีการพัฒนามากขึ้นกว่าแต่ก่อน จึงทำการปรับปรุงพัฒนาการใช้งานอาคารดังกล่าว ซึ่งประกอบไปด้วย พื้นที่ชั้น 1 ได้แก่ ห้องบรรณารักษ์ ห้องสมุด พื้นที่ชั้นลอย ได้แก่ ห้องคอมพิวเตอร์ iMac ห้องสำรอง ชั้น 2 ห้องเซิฟเวอร์ ห้อง Child Learning and Development Center (CLDC) ห้อง YES GENIUS และพื้นที่ชั้น 3 ตารางห้องปฏิบัติการวิทยาศาสตร์ ห้องคอมพิวเตอร์ 1 ห้องคอมพิวเตอร์ 2 ห้องเรียน iPad และห้องปฏิบัติการหุ่นยนต์ ทั้งนี้ก็เพื่อให้เป็นประโยชน์ในการตอบสนองพฤติกรรมและการส่งเสริมการเรียนรู้ต่อผู้เรียน เพื่อให้เป็นไปตามวัตถุประสงค์และเป้าหมายของโรงเรียนที่ต้องการยกระดับการศึกษาพัฒนาความรู้จากโลกสากล และเพื่อเป็นส่วนหนึ่งในการพยายามทำความเข้าใจและต่อยอดหลักการออกแบบสถาปัตยกรรมภายในของอาคารศูนย์การเรียนรู้ในโรงเรียนระดับชั้นประถมศึกษาต่อไป
โครงการปรับปรุงสถาปัตยกรรมภายในอันไพล์กอล์ฟ รีสอร์ท เชียงใหม่
INTERIOR ARCHITECTURE DESIGN PROJECT OF ALPINE GOLFRESORT CHIANGMAIA
ผู้เขียน : นางสาวโชติกา โสภาแปง
ปริญญา : สถาปัตยกรรมศาสตรบัณฑิต
อาจารย์ที่ปรึกษา วิทยานิพนธ์ : อาจารย์ ธนิตพงศ์ พุทธวงศ์
อันไพน์กอล์ฟรีสอร์ท เชียงใหม่ เป็นโรงแรมกอล์ฟคลับ ที่ตั้งอยู่บนถนนสันกำแพง - บ้านธิ ท่ามกลางหุบเขาและธรรมชาติ มุ่งเน้นการให้บริการสำหรับผู้ที่ชื่นชอบกีฬากอล์ฟ โดยเฉพาะนักธุรกิจกับนักกอล์ฟส่วนใหญ่เป็นกลุ่มวัยทำงาน ภายในโครงการมีพื้นที่ทั้งหมด 450 ไร่ เป็นรีสอร์ทบริการห้องพัก ระดับ 4 ดาว มีพร้อมสิ่งอำนวยความสะดวกต่าง ๆ มากมาย เช่น คลับเฮ้าส์, ห้องล๊อคเกอร์, โปรช๊อป, ร้านจำหน่ายผลิตภัณฑ์สินค้าโอท็อป, ห้องสัมมนา - จัดเลี้ยง, สระว่ายน้ำ, สปา, ฟิตเนส, ซาวน์น่า, อาหารนานาชนิด และยังสามารถมองเห็นวิวทิวทัศน์ของสนามกอล์ฟได้อย่างชัดเจน
ปัจจุบันเริ่มมีการเปลี่ยนแปลงของกลุ่มลูกค้าที่เข้ามาใช้บริการ จากที่เคยเป็นกลุ่มบุคคลในท้องที่หรือพื้นที่ใกล้เคียง กลายเป็นกลุ่มนักท่องเที่ยวต่างจังหวัด และต่างชาติมากขึ้น ด้วยเหตุนี้จึงทำให้การบริการต่างๆในรีสอร์ทจากเดิมที่มีอยู่ไม่ตอบสามมารถสนองต่อกลุ่มนักท่องเที่ยวในปัจจุบันได้เท่าที่ควร
ดังนั้นจึงเห็นว่าควรมีการพิจารณาปรับปรุงโครงการอันไพน์กอล์ฟรีสอร์ท เชียงใหม่ ขนาดพื้นที่ 2,806 ตารางเมตร สำหรับรองรับนักท่องเที่ยวที่ต้องการเข้าใช้บริการ รวมถึงการเพิ่มมาตรฐานให้กับตัวโครงการ ให้มีความหลากหลาย เพื่อสร้างแรงดึงดูดให้น่าสนใจเพิ่มมากขึ้นในปัจจุบัน เพื่อปรับตัวให้สอดคล้องพร้อมรองรับสถานการณ์ที่มีการแข่งขันสูงในกลุ่มธุรกิจโรงแรมและที่พักในจังหวัดเชียงใหม่
โครงการปรับปรุงสถาปัตยกรรมภายในโรงแรมเมธาดี รีสอร์ท แอนด์ วิลล่า ภูเก็ต
( Interior Architecture Renovation Project Of Metadee Resort & Villas Phuket )
ชื่อนักศึกษา : นางสาวณัฐรินีย์ เขม้นกสิกร
หลักสูตร : สถาปัตยกรรมศาสตรบัณฑิต หลักสูตรสถาปัตยกรรมภายใน
อาจารย์ที่ปรึกษา : อาจารย์ณภดล เจนวินิจฉัย
วิทยานิพนธ์นี้มีวัตถุประสงค์ของการศึกษาเกี่ยวกับการศึกษาเกี่ยวกับการออกแบบปรับปรุง เมธาดี รีสอร์ท แอนด์ วิลล่า ภูเก็ต โดยเป็นรีสอร์ทเพื่อครอบครัวในจังหวัดภูเก็ต มีความโดดเด่นและแตกต่างในด้านโปรแกรมกิจกรรมสำหรับครอบครัว ประกอบด้วย ส่วนต้อนรับ ส่วนเลาจน์ และกิจกรรมกลางแจ้ง รวมถึงมีพื้นที่ภายนอก และกิจกรรมสำหรับครอบครัว มีบรรยากาศอบอุ่น สนุกสนาน เพื่อได้ใช้เวลาในการมาพักกับครอบครัวให้มากที่สุดโดยมีแนวทางการทำวิทยานิพนธ์
โดยการศึกษาวิเคราะห์ข้อมูลต่างๆที่เกี่ยวข้อง ที่ต้องนำสิ่งที่น่าสนใจด้านการท่องเที่ยวในจังหวัดภูเก็ตมาใช้ในการออกแบบปรับปรุงและเพิ่มพื้นที่สำหรับกิจกรรมของครอบครัวให้ได้ใช้เวลาร่วมกันมากขึ้นเมื่อมาพักผ่อน รวมถึงการศึกษาปัญหาภายในโครงการเพื่อหาแนวทางการแก้ไขปัญหาและปรับปรุงให้สอดคล้องกับความต้องการและการใช้งาน
ผลของวิทยานิพนธ์นี้เพื่อความเป็นส่วนตัวของผู้ใช้สะดวกสบาย และตอบโจทย์วิถีชีวิตของคนในยุคปัจจุบัน ปรับเปลี่ยนรูปแบบสถาปัตยกรรมภายในให้มีความเป็นภูเก็ตและกลมกลืนกับบริบทโดยรอบของโครงการจากปัญหาจึงนำไปสู่การค้นหาวิธีและศึกษาแนวทางการแก้ไขที่ว่า จะออกแบบปรับปรุงสถาปัตยกรรมภายในให้ออกมาในรูปแบบที่เป็นชิโนโปรตุกีสรูปแบบสถาปัตยกรรมเปอรานากัน ที่มีกลิ่นอายของความเป็นมลายูและจีน เพื่อสอดคล้องกับรูปแบบครอบครัว ทั้งนี้เพื่อเป็นการสร้างภาพลักษณ์ใหม่ด้านสถาปัตยกรรมภายในให้กับโครงการ เมธาดี รีสอร์ท แอนด์ วิลล่า ภูเก็ต และยกระดับโครงการให้มีมาตรฐานที่สูงขึ้น เพื่อสามารถแข่งขันกับธุรกิจคู่แข่งอื่นได้ และยังสร้างความประทับใจให้แก่ลูกค้าที่มาเยือน
โครงการปรับปรุงสถาปัตยกรรมภายในศูนย์เวชศาสตร์ผู้สูงอายุ เชียงใหม่
( INTERIOR ARCHITECTURE DESIGN PROJECT OF GERIATRIC MEDICAL CENTER CHIANG MAI )
ผู้ทำวิทยานิพนธ์ : นางสาวจินดารัตน์ นันต๊ะภูมิ
หลักสูตรปริญญา : สถาปัตยกรรมศาสตรบัณฑิต
อาจารย์ที่ปรึกษาวิทยานิพนธ์ : ผู้ช่วยศาสตราจารย์ สุรกานต์ จันทรวงค์
วิทยานิพนธ์นี้มีวัตถุประสงค์ของการศึกษาข้อมูลที่สืบเนื่องมาจากอัตราการเพิ่มขึ้นของผู้สูงอายุในปัจจุบัน และมีแนวโน้มเพิ่มสูงขึ้นอย่างต่อเนื่อง ซึ่งอาจจะส่งผลต่อคุณภาพการให้บริการ จึงต้องศึกษาหาแนวทางการปรับปรุงพื้นที่การใช้สอยภายในศูนย์เวชศาสตร์ผู้สูงอายุ เชียงใหม่ ให้สอดคล้องกับการใช้งานในปัจจุบัน
เนื่องจากศูนย์เวชศาสตร์ผู้สูงอายุ เชียงใหม่ เปิดให้บริการมาแล้ว 8 ปี พบว่าผู้ป่วยสูงอายุมีจำนวนมากขึ้นทุกปี และมีแนวโน้มเพิ่มสูงขึ้นอย่างต่อเนื่อง ซึ่งอาจจะส่งผลต่อคุณภาพการให้บริการ จึงต้องศึกษาหาแนวทางการปรับปรุงพื้นที่การใช้สอยภายในศูนย์เวชศาสตร์ผู้สูงอายุเชียงใหม่ ให้สอดคล้องกับการใช้งานในปัจจุบัน และผสมผสานแนวคิดในการดูแลแบบเชิงรุก เพื่อเป็นการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมสุขภาพของผู้สูงอายุ และช่วยลดผลกระทบหรือสามารถป้องกันโรคต่างๆ รวมถึงเพิ่มการให้บริการทางด้านจิตวิทยาเข้าไปในโครงการ เพื่อเป็นแนวทางส่งเสริมภาวะสุขภาพจิต หรือป้องกันและแก้ไขปัญหาที่เกี่ยวข้องกับสุขภาพจิตของผู้สูงอายุได้
ผลของวิทยานิพนธ์นี้ มุ่งหวังที่จะออกแบบปรับปรุงภายในศูนย์เวชศาสตร์ผู้สูงอายุ เชียงใหม่ เพื่อเพิ่มศักยภาพในการให้บริการผู้สูงอายุในอนาคต ให้มีความสอดคล้องและเหมาะสมกับการใช้งานมากยิ่งขึ้น เป็นศูนย์การแพทย์ผู้สูงอายุแบบเบ็ดเสร็จครบวงจร ที่อำนวยความสะดวกสบายแก่ผู้สูงอายุ ให้เข้าถึงการรักษาอย่างมีประสิทธิภาพและทั่วถึง พร้อมทั้งสามารถรักษาเชิงรุกได้ทั้งสุขภาพกายและสุขภาพจิต
โครงการออกแบบสถาปัตยกรรมภายใน เอ็มทู โฮเทล วอร์เตอร์ไซต์ พะเยา
( Interior Architecture Design Project Of M2 Hotel Water Side Phayao )
ผู้ทำวิทยานิพนธ์ : นางสาวณัฐณิชา ฐานาราช
หลักสูตรปริญญา : สถาปัตยกรรมศาสตรบัณฑิต
อาจารย์ที่ปรึกษาวิทยานิพนธ์ : อาจารย์วราชัย ขิงทิง
จังหวัด “พะเยา” มีภูมิประเทศเป็นเทือกเขาส่วนใหญ่ จึงทำให้มีสถานที่ท่องเที่ยวทางธรรมชาติมากมายที่มีความสงบให้ความรู้สึกถึงการพักผ่อนอย่างแท้จริง รวมถึงวิถีชีวิตของผู้คนที่อาศัยอยู่มีความหลากหลายทางชาติพันธุ์ ประเพณีที่เป็นเอกลักษณ์ และวัฒนธรรมที่น่าสนใจ โดยตัวเมืองพะเยาในปัจจุบันอยู่ติดกับ “กว๊านพะเยา”เป็นทะเลสาบน้ำจืดขนาดใหญ่เป็นอันดับหนึ่งในภาคเหนือ และยังเป็นแหล่งน้ำที่หล่อเลี้ยงชีวิตชาวพะเยา เนื่องจากถูกโอบล้อมด้วยภูเขาที่สลับซับซ้อน จึงมีทัศนียภาพที่สวยงาม และทำให้มีผู้คนจากทั้งในจังหวัดและต่างจังหวัดพากันมาพักผ่อนหย่อนใจ ชมวิวพระอาทิตย์ตกยามเย็นริมกว๊าน ปัจจุบันอำเภอเมืองพะเยามีศูนย์การค้า ร้านอาหาร หน่วยงานราชการ สถานศึกษาต่างๆ ซึ่งในอนาคตมีแผนที่จะสร้างทางรถไฟทางคู่ เด่นชัย-เชียงราย-เชียงของ ตามแผนจะเปิดให้เดินรถในปี พ.ศ.2568 และสนามบินจังหวัดพะเยา ที่สามารถเข้าถึงระบบขนส่งที่มีความสะดวกสบาย ทันสมัย ซึ่งการท่องเที่ยวและทำงานไปพร้อมกันจึงสามารถตอบสนองพฤติกรรมของกลุ่มเป้าหมายในยุคปัจจุบันได้เป็นอย่างดี
โครงการ เอ็มทูโฮเทล วอเตอร์ไซด์ พะเยา เป็นอาคารขนาด7ชั้น มีพื้นที่ทั้งหมดประมาณ 4,485.70ตารางเมตร ตั้งอยู่ติดกับริมกว๊านพะเยา ที่ให้บริการด้านที่พักและอำนวยความสะดวกด้านร้านอาหาร,Co-working ,Café ,ห้องสัมนา และพื้นที่สำหรับกลุ่มผู้ชื่นชอบกิจกรรมทางน้ำอย่าง พายเรือคายัค และStan Up Paddle Board : SUB เพื่อให้สามารถตอบสนองกลุ่มลูกค้าเป้าหมายส่วนใหญ่ที่เป็นนักท่องเที่ยว(New Generation) เชิงธรรมชาติและวัฒนธรรม นักธุรกิจ นักศึกษา และผู้คนในพื้นที่ จึงอยากนำเสนอเอกลักษณ์ด้านวีถีชีวิต วัฒนธรรม และประเพณีริมกว๊านพะเยา ในบรรยากาศที่มีความทันสมัยและเรียบง่าย(Simply is the best)
จากการศึกษาข้อมูลเบื้องต้นของโครงการ เอ็มทูโฮเทล วอเตอร์ไซด์ พะเยา จึงเกิดเป็นแนวความคิดที่จะออกแบบภายในโรงแรมเพื่อนำเสนอเอกลักษณ์ของชาวพะเยาที่มีวิถีชิวิต ภายใต้บรรยากาศ และกลิ่นอายของสถานที่ท่องเที่ยวทางธรรมชาติ และวัฒนธรรมท้องถิ่นริมกว๊านพะเยา ผสมผสานเทคโนโลยีสมัยใหม่ เพื่อให้เป็นจุดดึงดูดกลุ่มลูกค้าเป้าหมาย โดยมีการจัดสรรค์พื้นที่แบ่งออกเป็น 3 ส่วนหลักคือ พื้นที่ให้บริการ, พื้นที่ให้บริการกิจกรรมต่างๆ และส่วนพื้นที่ให้บริการพักผ่อนที่มีความเป็นส่วนตัว และอำนวยความสะดวกสบาย ความปลอดภัยให้กับโครงการออกแบบภายในโรงแรม โดยออกแบบให้มีความเป็น Modern Style ผสมผสานแนวความคิดท้องถิ่นที่เหมาะกับ ที่ตั้งของโครงการ สถานการณ์ปัจจุบันและกิจกรรมที่เปลี่ยนไปตามยุคสมัย
โครงการเสนอแนะออกแบบสถาปัตยกรรมภายในพื้นที่การเรียนรู้และ สร้างสรรค์สำหรับนักเขียนรุ่นใหม่ เชียงใหม่
( Interior Architecture Proposal Design Project Of Learning and Creative Space for The New Generation Writers Chiangmai )
ผู้ทำวิทยานิพนธ์ : นางสาวสรวงสุดา เชียงป้อง
หลักสูตรปริญญา : สถาปัตยกรรมศาสตรบัณฑิต
อาจารย์ที่ปรึกษาวิทยานิพนธ์ : อาจารย์ สุทธปรีชา จริยงามวงศ์
วิทยานิพนธ์นี้มีวัตถุประสงค์ของการศึกษาเกี่ยวกับการออกแบบสถาปัตยกรรมภายในโครงการพื้นที่การเรียนรู้และสร้างสรรค์สำหรับนักเขียนรุ่นใหม่ เชียงใหม่ อาชีพนักเขียนนั้นเป็นอาชีพอิสระ ที่ใครหลายๆ คนเริ่มให้ความสนใจ เพราะว่าอาชีพนี้เป็นอาชีพที่เปิดโอกาสให้คุณได้ถ่ายทอดเรื่องราวหรือมุมมองเกี่ยวกับสิ่งต่างๆ ผ่านตัวหนังสือ แล้วเผยแพร่ผลงานเขียนนั้นๆ ออกสู่สายตาคนอ่าน ในปัจจุบันด้วยเทคโนโลยีที่ก้าวหน้าอยู่ตลอดเวลา อาชีพนักเขียนจึงมีการเปลี่ยนแปลงตามไปด้วย จากเมื่อก่อนที่ต้องเขียนงานลงหนังสือ นิตยสารต่างๆ กลายมาเป็นอาชีพนักเขียนบนโลกออนไลน์ ที่ทำให้สามารถสร้างสรรค์และเผยแพร่ผลงานกันได้ง่ายและสะดวกมากขึ้น
โดยมีแนวทางการทำวิทยานิพนธ์ ด้านการเรียนรู้และเพิ่มทักษะในการเขียนเรื่องราวต่างๆ การส่งเสริมนักเขียนให้มีความก้าวหน้าในอาชีพ ด้านการพัฒนาศักยภาพของนักเขียน เช่น บรรณาธิการ นักเขียนมืออาชีพ ผู้เรียนด้านอักษรศาสตร์ ตอบโจทย์ด้านพื้นที่สร้างสรรค์ของเหล่านักเขียนแบบครบวงจร
โครงการเสนอแนะออกแบบสถาปัตยกรรมภายในโครงการคอมมูนิตี้เพื่อ คนรักแมว กรุงเทพมหานคร
( INTERIOR ARCHITECTURRE OF COMMUNITY AND CAT HOTEL BANGKOK )
ผู้ทำวิทยานิพนธ์ : นางสาวศุภิสรา โล่พานิช
หลักสูตรปริญญา : สถาปัตยกรรมศาตรบัณฑิต
อาจารย์ที่ปรึกษา : อาจารย์กิตติกุล ศิริเมืองมูล
กระแสเกี่ยวกับพฤติกรรมความเป็น Pet Parents เป็น การดูแลเอาใจใส่สัตว์เลี้ยงอย่างดีเสมือนเป็นสมาชิกในครอบครัว สัตว์เลี้ยงถูกกำหนดบทบาทให้เป็นสมาชิกของครอบครัวที่ใกล้ชิดเจ้าของมากที่สุด และมีสัตว์เป็นส่วนหนึ่งในชีวิต เป็นการสะท้อนถึงความสำคัญต่อสัตว์เลี้ยงที่มากขึ้น ด้วยวิถีชีวิตความเป็นอยู่ของคนยุคนี้ที่เป็นสังคมเมืองมากขึ้นในลักษณะครอบครัวเดี่ยว ทำให้มีพื้นใช้สอยน้อยลงและมีความนิยมพักอาศัยในรูปแบบของคอนโดมากขึ้น นั่นทำให้มีข้อจำกัดมากขึ้นเรื่อย ๆ “แมว” กลายเป็นสัตว์เลี้ยงทางเลือกหนึ่งที่เข้ามาตอบโจทย์คนยุคนี้ได้ดีกว่า ทำให้ในช่วงไม่กี่ปีที่ผ่านมาตัวเลขยอดการเลี้ยงแมวเพิ่มขึ้นทุกปีจนกลายเป็นตลาดสัตว์เลี้ยง ที่น่าสนใจ ส่งผลถึงโอกาสธุรกิจทั้งกลุ่มสินค้าและบริการใหม่ๆ ที่ออกมาตอบโจทย์อย่างต่อเนื่องและเพื่อรองรับตลาดเกี่ยวกับสัตว์เลี้ยงที่มีการเติบโตมากขึ้น โดยเฉพาะแมว วิทยานิพนธ์นี้มีวัตถุประสงค์ของการศึกษาเกี่ยวกับการออกแบบคอมมูนิตี้เพื่อแมวซึ่งตั้งอยู่ในเขตพื้นที่จังหวัดกรุงเทพมหานคร เป็นพื้นที่สำหรับผู้ที่สนใจในแมว สร้างขึ้นเพื่อเป็นแหล่งรวมสำหรับคนที่สนใจในแมว การให้คำแนะนำต่างๆเกี่ยวกับแมวรวมไปถึงการรับฝากดูแลแมว โดยรวมพื้นที่ออกแบบทั้งหมด 1,492.69 ตารางเมตร
แนวความคิดในการออกแบบ Take the train find a cat (นั่งรถไฟไปตามหาแมว )
การออกแบบสถาปัตยกรรมภายในเน้นการนำเสนอเรื่องราวของโครงการผ่านรูปแบบสถานที่ต่างๆในญี่ปุ่นที่มีแมวเป็นสำคัญ นำมาใช้เป็น Theme การออกแบบ ชั้นที่1. KISHI STATION สถานีรถไฟคิชิ ชั้นที่2. ยานากะ โตเกียว YANAKA GINZA ชั้นที่ 3 เกาะมุซูคิจิมะ MUZUKIJIMA ISLAND ชั้นที่ 4 เกาะทาชิโรจิม่า TASHIROJIMA ISLAND โดยออกแบบร่วมกับสไตล์ญี่ปุ่น
โครงการเสนอแนะออกแบบสถาปัตยกรรมภายใน เชียงใหม่ พื้นที่สร้างสรรค์เพื่องานออกแบบและงานฝีมือ
(INTERIOR ARCHITECTUREPROPOSAL DESIGN PROJECT OF CHIANGMAI CRATIVE SPACE FOR DESIGN AND CRAFTS)
ชื่อนักศึกษา : นางสาวธัญญา คำเหล็ก
หลักสูตรปริญญา : สถาปัตยกรรมศาสตรบัณฑิต สาขาวิชาสถาปัตยกรรมภายใน
การปฏิวัติอุตสาหกรรม ส่งผลให้พฤติกรรมของผู้บริโภคเริ่มเปลี่ยนแปลงเนื่องจากการผลิตที่มีจำนวนมากจนล้นตลาดและเกิดเป็นขยะ ซึ่งส่งผลให้เกิดผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อม ทำให้ผู้บริโภคเริ่มมองเห็นปัญหาและเริ่มให้ความสนใจประเด็นด้านความยั่งยืนมากยิ่งขึ้น กระแส Green Product ส่งผลให้ผู้บริโภคเกิดความสนใจในงานฝีมือ และมีผู้ประกอบการรายย่อยด้านงานฝีมือเพิ่มขึ้น เนื่องจากงานฝีมือเป็นชิ้นงานที่มีคุณค่าทางจิตใจ และงานฝีมือโดยส่วนใหญ่ผลิตจากวัตถุดิบที่หาได้ในธรรมชาติ ในขณะเดียวกันจึงควรมีพื้นที่เพื่อจะช่วยเหลือกลุ่มคนที่สนใจงานฝีมือ และผู้ประกอบการงานฝีมือรายย่อยต่าง ๆ ให้ได้มีพื้นที่พบปะ แลกเปลี่ยนความรู้ ประสบการณ์ด้านงานฝีมือ ซึ่งเชียงใหม่เป็นที่รู้จักในฐานะเมืองที่รุ่มรวยด้วยศิลปวัฒนธรรมอันกลมกลืนระหว่างความเก่าและใหม่ ส่งผลให้บรรยากาศของศิลปะดั้งเดิมและร่วมสมัยได้หล่อหลอมให้ผู้คนภายในเมืองชื่นชอบในศาสตร์ของงานฝีมือ โครงการเสนอแนะออกแบบสถาปัตยกรรมภายในพื้นที่เชียงใหม่พื้นที่สร้างสรรค์เพื่อการออกแบบ และงานคราฟท์ (Chiangmai creative space for design and crafts) จึงเสนอแนะให้มีพื้นที่เพื่อตอบสนองความต้องการของกลุ่มคนที่สนใจในด้านงานออกแบบและฝีมือ โดยเป็นพื้นที่รูปแบบใหม่ที่ตอบสนองต่อการทำกิจกรรมที่ถูกปรับเปลี่ยนไปตามยุคสมัย
แนวความคิด
คำว่า “วิถีคนคราฟท์” นำต้นแบบมาจากคำว่า “วิถีคนเมือง” คือการกล่าวถึงบริบทวิถีชีวิตของกลุ่มคน ซึ่งในที่นี้หมายถึงกลุ่มคนสร้างสรรค์งานคราฟท์ โดยเล่าเรื่องผ่านบริบทของการ “Learn-เดิน-จิม(ชิม)-Join” การถ่ายทอดแนวความคิดในการออกแบบ โดยมีแรงบันดาลใจมาจากวิถีชีวิตของกลุ่มคนทำงานหัตถกรรมท้องถิ่นในอดีตที่ผลิตงานหัตถกรรม โดยมีศูนย์กลางการแลกเปลี่ยนคือพื้นที่ “ข่วง”ซึ่งเป็นพื้นที่สาธารณะที่เชื่อมโยงวิถีชีวิตของผู้คนใน จึงสื่อออกมาเป็นภาพแนวความคิดผ่านองค์ประกอบต่าง ๆ ที่อยู่ในวิถีชีวิตของคนสร้างสรรค์งานคราฟท์ ผ่านพื้นที่ “ข่วงคราฟท์ เชียงใหม่”
โครงการเสนอแนะออกแบบสถาปัตยกรรมภายในสถาบันสอนทำอาหารวีแกน เชียงใหม่
( Interior Architecture Project of Vegan Culinary Institute Chiang Mai Province )
ผู้ทำวิทยานิพนธ์ : นางสาวกมนณัชภัทร์ อะติถะ
หลักสูตรปริญญา : สถาปัตยกรรมศาสตรบัณฑิต
อาจารย์ที่ปรึกษาวิทยานิพนธ์ : อาจารย์กิตติกุล ศิริเมืองมูล
เนื่องจากปัจจุบันทุกคนต่างดำเนินชีวิตในสังคมยุคใหม่อย่างไม่หยุดนิ่ง ส่งผลให้พฤติกรรมการเลือกรับประทานอาหารของคนในสังคมเปลี่ยนแปลงไปจากเดิมใช้ชีวิตอย่างเร่งรีบยิ่งขึ้นทำให้เกิดการหลงลืมความใส่ใจในการเลือกทานอาหารที่ดีต่อร่างกายของตัวเอง ร่างกายได้รับความรู้สึกเหนื่อยล้าจากการใช้ชีวิตที่ไม่หยุดนิ่งอย่างหนักหน่วง ซึ่งทั้งหมดนี้อาจส่งผลกระทบต่อสุขภาพและเป็นจุดเริ่มต้นของความเสี่ยงที่จะเกิดโรคต่างๆ ตามมาได้มากมาย จากผลสถิติของคนไทยเป็นโรคไม่ติดต่อเรื้อรัง ซึ่งเป็นผลมาจาก “ พฤติกรรมกิน” การใช้ชีวิต สภาวะความเครียด และปัญหาสุขภาพที่วัยทำงานต้องเผชิญ ปัจจัยเหล่านี้ล้วนเป็นสาเหตุของโรคติดต่อไม่เรื้อรังทั้งสิ้น ดังนั้นการเปลี่ยนแปลงพฤติกรรมการบริโภคเพื่อสุขภาพดีอย่างยั่งยืน จึงนับเป็นจุดเริ่มต้นที่ดีสำหรับการปรับพฤติกรรมการบริโภคและส่งเสริมการเข้าถึงอาหารสุขภาพได้มากขึ้น
โดยมีแนวทางการทำวิทยานิพนธ์ โครงการเสนอแนะออกแบบสถาปัตยกรรมภายในสถาบันสอนทำอาหารวีแกน จังหวัดเชียงใหม่ มีวัตถุประสงค์เพื่อออกแบบสถาปัตยกรรมภายในโครงการประเภทศูนย์ส่งเสริมการดูแลสุขภาพด้านอาหาร ช่วยให้ชาววีแกนและผู้ที่สนใจได้รับการดูแลการเลือกรับประทานอาหารอย่างถูกต้อง และมีสถานที่ให้ได้ทำกิจกรรมต่าง ๆ ร่วมกันและเป็นทางเลือกใหม่ของคนรักสุขภาพ อีกทั้งยังให้ประโยชน์กับร่างกายและสิ่งแวดล้อมไปพร้อมๆกัน รวมพื้นที่ออกแบบภายในที่จะศึกษาโครงการประมาณ 1,164.10 ตารางเมตร
แนวคิดในการออกแบบ Vegan Herb Garden (สวนมังสวิรัติ) ธรรมชาติที่บริสุทธิ์
การออกแบบสถาปัตยกรรมภายในเน้นพื้นที่ในการสัมผัสกับธรรมชาติ การนำเสนอเรื่องราวของโครงการในรูปแบบพืชผักสวนครัว ที่ถ่ายทอดผ่านจุดเริ่มต้นองค์ประกอบปัจจัยสำคัญของการทำสวน นำมาทำเป็น THEMEออกแบบคือ 1.ดิน 2.น้ำ 3.หิน 4.พืชและต้นไม้ มาสื่อความหมายในแต่ละส่วนของโครงการและนำมาออกแบบให้มีความสมบูรณ์แบบมากขึ้นตอบสนองความเป็นธรรมชาติและการมีสุขภาพที่ดีต่อผู้ใช้บริการของโครงการ
โครงการเสนอแนะออกแบบสถาปัตยกรรมภายในศูนย์เวชศาสตร์ฟื้นฟูผู้สูงอายุ ขอนแก่น
ชื่อนักศึกษา : นางสาวญาณิศา เหมือนสุทธวงศ์
หลักสูตรปริญญา : สถาปัตยกรรมศาสตรบัณฑิต สาขาวิชาสถาปัตยกรรมภายใน
จากอัตราการเกิดของประชากรทั่วโลกที่มีแนวโน้มลดลง บวกกับการที่ประชากรมีอายุยืนยาวขึ้นเนื่องจากการรักษาพยาบาลมีประสิทธิภาพมากขึ้น โดยทวีปเอเชียจะมีประชากรสูงวัยมากที่สุดในโลกเป็น 53% จากผู้สูงอายุทั่วโลก สำหรับประเทศไทยนั้นจำนวนผู้สูงอายุมีอัตราการเติบโตเป็นอันดับ 3 ในทวีปเอเชีย ซึ่งขอนแก่นเป็นจังหวัดมีผู้สูงอายุเป็นอันดับ 4 ของประเทศไทยนั้นยังไม่มีศูนย์เวชศาสตร์ฟื้นฟูผู้สูงอายุ
โครงการเสนอแนะสถาปัตยกรรมภายในศูนย์เวชศาสตร์ผู้สูงอายุ ขอนแก่น มีพื้นที่ภายในทั้งหมด 11,093 ตรม. ประกอบด้วย 1.อาคารผู้ป่วยนอกและอำนวยการเป็นอาคาร 4 ชั้น 2.อาคารเวชศาสตร์ฟื้นฟูเป็นอาคาร 2 ชั้น มีพื้นที่สร้างบรรยากาศการพักผ่อนให้กับผู้ใช้บริการโดนเน้นปรับตกแต่งจัดภูมิทัศน์บรรยากาศและวัสดุของอาคารให้เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อมป้องกันการติดเชื้อทางอากาศ การคำนึงถึงทิศทางของแสงธรรมชาติและการไหลของลมเป็นหลัก
จากที่กล่าวมาข้างต้นจึงเกิดโครงการเสนอแนะสถาปัตยกรรมภายในศูนย์เวชศาสตร์ฟื้นฟูผู้สูงอายุ ขอนแก่น ซึ่งจัดทำเป็นหน่วยงานเดียวกันกับโรงพยาบาลราชพฤกษ์พฤกษ์ที่เป็นโรงพยาบาลเอกชนอันมีประวัติผูกพันธ์กับชาวขอนแก่นมายาวนานกว่า 30 ปีและโดดเด่นเรื่องการรักษาผู้สูงอายุอยู่แล้ว
CC : โครงการอาคารหอพักต้นแบบอัจฉริยะสำหรับนักศึกษามหาวิทยาลัยเชียงใหม่
( SMART DORMITORY FOR STUDENT CHAINGMAI UNIVERSITY )
ผู้ทำวิทยานิพนธ์ : นายปริญญา วงศ์ทองเหลือ
หลักสูตรปริญญา : สถาปัตยกรรมศาสตรบัณฑิต
อาจารย์ที่ปรึกษา : อาจารย์จุไรพร ตุมพสุรรณ
โครงการหอพักต้นแบบอัจฉริยะสำหรับนักศึกษามหาวิทยาลัยเชียงใหม่เป็นโครงการที่มีลักษณะการอยู่อาศัยร่วมกันระหว่างนักศึกษาในแต่ละระดับชั้นปี โดยมีการตั้งจุดประสงค์และแนวทางในการออกแบบเพื่อแก้ไขปัญหาการอยู่อาศัยหอพักในปัจจุบันทั้งในเรื่องของสภาพแวดล้อมภายในที่มีการใช้ชีวิตประจำของนักศึกษา การทำพื้นที่ในอาคารเพื่อให้เกิดความยั่งยืนและรองรับการหมุนเวียนการใช้งานของนักศึกษา และเนื่องจากทางมหาวิทยาลัยเชียงใหม่มีนโยบายการจัดตั้งหอพักในรูปแบบศูนย์อาศัยศึกษา หรือ Living Learning and Caring Center ซึ่งเป็นทั้งที่พักอาศัยเป็นสถานที่ศึกษาและเป็นสถานที่พัฒนานักศึกษา โดยมีการจัดกิจกรรมต่างๆ เสริมให้แก่นักศึกษาทั้งด้านวิชาการและวิชาชีวิต เช่น การติวทางวิชาการ การสอนภาษาต่างประเทศ การฝึกอบรมบุคลิกภาพ การฝึกอบรมให้ความรู้ด้านอาชีพอิสระ มีการจัดสถานที่เพื่อส่งเสริมและสนับสนุนกิจกรรม โดยจัดให้มีห้องอ่านหนังสือ ห้องคอมพิวเตอร์ ห้องสมุด ห้องจัดกิจกรรม เพื่อเปิดโอกาสให้นักศึกษาได้ทำกิจกรรมร่วมกัน โดยคำนึงถึงการเลือกใช้เทคโนโลยีอัจฉริยะในรูปแบบของ smart เพื่อให้สอดคล้องกับการใช้เทคโนโลยีในปัจจุบันและเพื่อให้เป็นไปตามนโยบายของมหาวิทยาลัยซึ่งมีแนวคิดในเรื่องของนวัตกรรมสิ่งแวดล้อมและพลังงาน (CMU Smart City-Clean Energy) ซึ่งเป็นโครงการเพื่อพัฒนามหาวิทยาลัยสู่เมืองต้นแบบอัจฉริยะพลังงานสะอาด
ผลของวิทยานิพนธ์นี้มุ่งหวังที่จะออกแบบหอพักต้นแบบอัจฉริยะสำหรับนักศึกษามหาวิทยาลัยเชียงใหม่ที่สามารถรองรับการใช้งานที่หลากหลายของนักศึกษาในเชิงพื้นที่และปฏิสัมพันธ์รหว่างกลุ่มคน โดยมีการออกแบบอาคารที่พึ่งพาพลังงานจากเทคโนโลยีเพื่อให้เกิดการหมุนเวียนในด้านของการนำกลับมาใช้ใหม่เพื่อตอบสนองการใช้งานของนักศึกษาที่มีหมุนเวียนการใช้งานในกิจกรรมต่างๆนอกเหนือจากการพักอาศัย
BS : ศูนย์คอสเพลย์เชียงใหม่
( Cosplay Community Center Chiang Mai )
ผู้ทำวิทยานิพนธ์ : นางสาว วรัญญา โตตามเกียรติ
หลักสูตรปริญญา : สถาปัตยกรรมศาสตรบัณฑิต
อาจารย์ที่ปรึกษาวิทยานิพนธ์ : อาจารย์ ชญาดา วานิชพงศ์
คอสเพลย์ (Cosplay) เป็นการผสมคำภาษาอังกฤษระหว่างคำว่า “Costume” ซึ่งแปลว่า “เสื้อผ้าและเครื่องแต่งกาย” ส่วน “Play” ที่แปลว่า “การละเล่น” ดังนั้น Costume + Play จึงนำมารวมกันได้ความว่า “การละเล่นกับเสื้อผ้า” กิจกรรมการ Cosplay ได้รับความนิยมในประเทศไทยมามากกว่า 20 ปีแล้วทั่วประเทศ จนในปัจจุบันมีการจัดตั้งสมาคมอุตสาหกรรมคอสเพลย์ (TCIA) จากทางภาครัฐเพื่อสนับสนุนคอสเพลย์ไทยให้พัฒนาขึ้นทั้งด้านอุตสาหกรรม สังคม และช่องทางธุรกิจของคนรุ่นใหม่ในวงการ แต่คอสเพลย์ในประเทศไทยยังคงไม่ชัดเจนเนื่องจากไม่มีพื้นที่ที่เหล่าคอสเพลย์เยอร์สามารถรวมตัวกันอย่างจริงจัง ไม่ว่าจะเป็นการทำกิจกรรมร่วมกัน สร้างสรรค์ผลงาน หรือการพบปะพูดคุยวางแผนการงาน ซึ่งกลุ่มเป้าหมายหลักคือ คอสเพลย์เยอร์ บุคคลที่เกี่ยวข้องในสายงานคอสเพลย์ และผู้ที่สนใจภายในจังหวัดเชียงใหม่
รูปแบบของโครงการจะเป็นการผนวกกิจกรรมคอสเพลย์ให้เข้ากับอาคารสถาปัตยกรรมญี่ปุ่นยุคใหม่ภายใต้แนวความคิด Japanese Modern เพื่อให้ผู้เข้าใช้งานสัมผัสบรรยากาศญี่ปุ่นอันเป็นต้นกำเนิดของการคอสเพลย์ โดยจัดวางพื้นที่ใช้สอยในส่วนต่าง ๆ ให้เหมาะสมกับกิจกรรมและขั้นตอนการทำงานของการคอสเพลย์เพื่ออำนวยความสะดวกให้กับผู้เข้าใช้งาน นอกจากนี้ยังเป็นการเปิดโอกาสให้ผู้ที่สนใจได้เข้าชมผลงาน เรียนรู้ และทำความเข้าใจได้อีกด้วย
BS : โครงการออกแบบพื้นที่การเรียนรู้และสนามแข่งขันอีสปอร์ต
( Ampverse E-Sport Studio & Stadium )
ผู้ทำวิทยานิพนธ์ : นายอดิศร ยอดสุด
หลักสูตรปริญญา : สถาปัตยกรรมศาสตรบัณฑิต
อาจารย์ที่ปรึกษา : อาจารย์ชญาดา วาณิชพงษ์
การเติบโตขึ้นของวงการอีสปอร์ตมีแนวโน้มเติบโตขึ้นอย่างต่อเนื่อง รวมถึงจำนวนผู้รับชมอีสปอร์ตทั่วโลกที่เพิ่มสูงขึ้น เป็นสิ่งใหม่ของวงการกีฬา ซึ่งแตกต่างจากกีฬาอาชีพที่มีอยู่ทั่วไป ปัจจุบันวงการ E-Sport ทั่วโลกมีการแข่งขันในระดับนานาชาติ กลายเป็น ธุรกิจที่สร้างเม็ดเงินมหาศาล และสร้างอาชีพที่เกี่ยวข้องมากมาย อยู่ในความสนใจของเด็ก และคนรุ่นใหม่ อาชีพนักกีฬา E-Sports และอาชีพอื่น ๆ ที่เกี่ยวข้องกับ E-Sports กลายเป็นอาชีพที่ไดรบความสนใจ จากเดกไทยมากขน จากผลสำรวจอาชพในฝนของเด็กไทย
เนื่องจากเป็นสิ่งที่ใหม่จึงทำให้บุคคลทั่วไปที่สนใจนั้นเข้าถึงข้อมูลความรู้โดยตรงได้ยาก โครงการเกี่ยวกับเกม หรือ E-SPORTS คือเกมที่เพิ่งได้รับการยอมรับให้เป็นกีฬา เพราะฉะนั้นการหากรณีศึกษาจึงเป็นไปได้น้อยมากสำหรับโครงการใหม่ โดยโครงการจะเน้นไปที่สิ่งอำนวยความสะดวกเกมมิ่งและอีสปอร์ตที่ครบวงจร เพื่อให้เข้าถึงระบบของวงการเกมได้ง่าย สามารถเลือกได้ว่าจะไปเส้นทางไหนไม่ว่าจะเป็นในส่วนของนักกีฬา หรือผู้จัดการแข่ง
THAI : ศูนย์อนุรักษ์และพัฒนาพันธุ์ปลากัด
( Betta Species Research and Development Center )
ผู้ทำวิทยานิพนธ์ : นางสาวอัชฌา เก่งการทำ
หลักสูตรปริญญา : สถาปัตยกรรมศาสตรบัณฑิต
อาจารย์ที่ปรึกษาวิทยานิพนธ์ : อาจารย์ชัยปฐมพร ธนพัฒน์ปวงวัน
โครงการศูนย์อนุรักษ์และพัฒนาพันธุ์ปลากัดเป็นโครงการที่เน้นเรื่องการอนุรักษ์และพัฒนาพันธุ์ปลากัดไม่ว่าจะเป็นการสนับสนุนเรื่องการเพราะเลี้ยงที่มีการเอาความรู้ด้านวิชาการเข้ามาช่วยเพื่อให้เกิดผลผลิตที่แน่นอน ควบคุมคุณภาพได้ดีกว่าเดิม การสร้างสีปลากัดให้เกิดความหลากหลายมากขึ้น เพื่อให้เกิดการส่งออกที่ดีและมีคุณภาพกว่าเดิม
แนวคิดในการออกแบบโครงการ คือ หวอดปลากัด กับ ความเป็นไทย หวอดปลากัดเป็นการตีความหมายของลักษณะฟอร์มธรรมชาติของปลากัดตั้งแต่เกิดจนถึงโตเต็มวัย แล้วภายนอกอาคารจะตีความเป็นลักษณะของความเป็นไทยมีการดึงเอกลักษณ์ความเป็นไทยออกมาเพื่อให้ได้รับรู้ว่าปลากัดไทยอยู่คู่บ้านคู่เรือนกันมานานมีประวัติความเป็นมาว่าเป็นปลาของไทย
THAI : โครงการออกแบบสถาปัตยกรรมสถานบันเทิงรูปแบบใหม่ จังหวัดเชียงใหม่
( Entertainment new normal complex )
ผู้ทำวิทยานิพนธ์ : นางสาววริศรา เรียนละหงษ์
หลักสูตรปริญญา : สถาปัตยกรรมศาสตรบัณฑิต
ห้องสมุดสาธารณะเพื่อสร้างแรงบันดาลใจและสร้างรายได้ให้กับนักเขียน เป็นการรวบรวมข้อมูลเพื่อให้นักเขียนนำมาต่อยอด สนับสนุนการหารายได้จากผลงานของตัวเอง การออกแบบในพื้นที่มีเพื่ออำนวยความสะดวกต่อการหาแรงบันดาลใจใหม่ๆ ให้กับผู้เข้ามาใช้บริการ สร้างพื้นที่ส่วนตัวในพื้นที่สาธารณะในการทำงานและพื้นที่จัดกิจกรรมสนับสนุนงานเขียนต่างๆ และเพื่อสร้างกิจกรรมใหม่ๆ ที่สามารถนำมาพัฒนาห้องสมุดในอนาคต
BT : โครงการอาคารพักคอยผู้โดยสารสนามบินนานาชาตินครปฐม
ผู้ทำวิทยานิพนธ์ : นายณัฐวิทย์ ปาลีกุย
หลักสูตรปริญญา : สถาปัตยกรรมศาสตรบัณฑิต
โครงการอาคารพักคอยผู้โดยสารสนามบินนานาชาตินครปฐม เป็นโครงการที่มีความต้องการทางด้านการขนส่งระหว่างประเทศหรือพื้นที่มีระยะทางที่ไกล ซึ่งเป็นโอกาสการแสวงหากำไรในอนาคต โดยโครงการนี้มีจุดประสงค์หลักเพื่อเป็นสถานที่การขนส่ง และบริการอื่นๆประกอบ การบริหารจะเป็นของภาครัฐและเอกชน โดยอยู่ภายใต้การบริหารงานของหน่วยงานกรมเจ้าท่า เป็นฝ่ายที่ร่วมโครงการและให้การสนับสนุน
เป็นพื้นที่ส่วนกลางคัดกรองผู้คนที่ดินทางเข้าภายในประเทศหรือพื้นที่อย่างถูกต้อง โดยมีจุดพักคอยอาคารผู้โดยสารจะอยู่เป็นจำนวนมาก โดยมีพื้นที่สำหรับการรองรับสิ่งอำนวยความสะดวก
CC : โครงการออกแบบสถาปัตยกรรมสถานบันเทิงรูปแบบใหม่ จังหวัดเชียงใหม่
( Entertainment new normal complex )
ผู้ทำวิทยานิพนธ์ : นางสาวปิยวรรณ สุวรรณคาม
หลักสูตรปริญญา : สถาปัตยกรรมศาสตรบัณฑิต
จากการปิดกิจการของสถานบันเทิงพื้นที่สังคมเพื่อผ่อนคลายของกลุ่มผู้บริโภคนักศึกษา วัยทำงาน นักท่องเที่ยวทั้งในและนอกประเทศ ทำให้เห็นควรจัดตั้งโครงการการออกแบบพื้นที่สถานบันเทิงNew normal ที่สอดคล้องกับสถานการณ์ปัจจุบัน การออกแบบสถานบันเทิงที่ผู้ใช้งานมีSocial distancing โดยโครงการจะออกแบบพื้นที่ให้มีการแก้ปัญหาการระบาดมีระยะห่างในกิจกรรม โครงการจะประกอบไปด้วย บาร์ ภายนอกและภายในอาคารเพื่อเป็นการแบ่งกลุ่มลูกค้าให้กระจายกันใช้งานพื้นที่ไม่เกิดการรรวมตัว บริเวณนั่งชิวฟังดนตรีสด เป็นส่วนภายนอกอาคารที่มีหลายโซนตามแนวการฟังดนตรีตามความชอบของลูกค้า โดยจะมีอาหารบริการจากส่วนของ ร้านอาหารศูนย์กลาง ซึ่งแต่ละพื้นที่กิจกรรมจะมีการออกแบบการใช้งานเว้นระยะห่างตามมาตราการเพื่อความปลอดภัยของลูกค้า อีกทั้งยังมีการนำเทคโนโลยีระบบฆ่าเชื้อโรคนวัตกรรมใหม่ๆที่พัฒนามารับมือกับโรคระบาดนี้ ทั้งระบบการระบายอากาศ ระบบกรองฝุ่นPM2.5 นวัตกรรมทำความสะอาดของวัสดุ เทคโนโลยีหลอดยูวีฆ่าเชื้อ – UV Germicidal Lamp จากการแก้ปัญหาเรื่องออกแบบการใช้พื้นที่ทำกิจกรรมจนถึงระบบสุขอนามัย แต่โครงการจะยังคงมีความผ่อนคลาย สังสรรค์ สนุกสนาน ที่เป็นเสน่ห์ของการเที่ยวกลางคืนอยู่เพื่อหวังให้โครงการสถานบันเทิงนี้เปิดบริการได้แม้มีวิกฤติโรคระบาด
CED : โรงเรียนวัดแบบชีวิตวิถีใหม่ Covid-19
( School New normal Covid-19 )
ผู้ทำวิทยานิพนธ์ : นางสาวจามจุรี กำแพงทิพย์
หลักสูตรปริญญา : สถาปัตยกรรมศาสตร์บัณฑิต (สถาปัตยกรรม)
อาจารย์ที่ปรึกษาวิทยานิพนธ์ : อาจารย์มานิตา ชีวเกรียงไกร
จากสถานกาณ์โควิด-19 ในปัจจุบันทั่วโลกและประเทศไทยได้เผชิญกับปัญหาและวิกฤตต่างๆที่เกิดขึ้นจากสถานการณ์โควิด ทั้งปัญหาเรื่องเศรษฐกิจ การว่างงาน การแพทย์และสาธารณสุข กิจกรรมบางอย่างที่ก่อให้เกิดการรวมตัวก็ไม่สามารถเกิดขึ้นได้ กิจการต่างๆได้พากันปิดตัวลง และรวมถึงระบบการศึกษาของประเทศไทยด้วย ระบบการศึกษาของประเทศไทยที่เผชิญอยู่ตอนนี้ คือทุกโรงเรียนในประเทศไทยต้องเรียนกันแบบออนไลน์ ซึ่งการเรียนออนไลน์นั้นเป็นการลดการติดเชื้อหรือแพร่เชื้อที่จะได้รับจากโรงเรียนได้ การเรียนออนไลน์นั้นนักเรียน คุณครู และผู้ปกครอง จะต้องพร้อมในการเรียน การเรียนออนไลน์ส่งผลทำให้เด็ก คุณครู และผู้ปกครองได้รับผลกระทบต่างๆจากการเรียนออนไลน์ โดยเฉพาะกับเด็กที่เรียนอยู่ในโรงเรียนวัดปัญหาของเด็กโรงเรียนวัดที่ต้องเรียนออนไลน์คือ อุปกรณ์ไม่พร้อมเนื่องจากการเรียนออนไลน์จะต้องมีอุปกรณ์ในการเรียน คุณครูไม่สามารถวัดผลความเข้าใจของเด็กได้ ส่วนตัวผู้ปกครองก็ต้องเสียค่าใช้จ่ายมากขึ้น เช่น ค่าน้ำ,ค่าไฟ,ค่าอินเทอร์เน็ต ผู้ปกครองมีเวลาในการเฝ้าดูบุตรหลานในเวลาเรียน รวมถึงผู้ปกครองบางคนก็ไม่มีความรู้ในการสอนการบ้านบุตรหลานของตนได้
วิทยานิพนธ์ฉบับนี้เป็นการศึกษาค้นคว้า และการเสนอแนวทางในการเรียนของเด็กนักเรียนโรงเรียนวัด ในช่วงของการแพร่ระบาดเชื้อไวรัสโคโรน่า หรือ Covid-19 โดยได้เริ่มจากการวิเคราะห์ปัญหา แล้วจึงนำไปสู่แนวทางการแก้ปัญหา โดยออกมาเป็นในรูปแบบของแบบแผนโครงการ แล้วจึงทำการออกแบบตามแผนหรือแนวทางการแก้ปัญหาที่ได้วางไว้ และเป็นการออกแบบเพื่อให้เด็กนักเรียนโรงเรียนวัดได้มีการเรียนการสอนในช่วงสถาณการณ์ Covid-19 อย่างมีประสิทธิภาพ
CED : สถานพินิจและคุ้มครองเด็กและเยาวชนจังหวัดเชียงใหม่
( Juvenile Observation and Protection Center, Chiang Mai Province )
ผู้ทำวิทยานิพนธ์ : นายพสิษฐ์ ณ เชียงใหม่
หลักสูตรปริญญา : สถาปัตยกรรมศาสตรบัณฑิต
โครงการสถานพินิจและคุ้มครองเด็กและเยาวชนจังหวัดเชียงใหม่เป็นโครงการที่เกิดขึ้นเพื่อพัฒนาพื้นที่ของสถานพินิจและคุ้มครองเด็กและเยาวชนจังหวัดเชียงใหม่เดิม ให้กับเยาวชนผู้กระทำผิด เพื่อเป็นไปตามวัตถุประสงค์โครงการที่จะพัฒนาพื้นที่ให้เป็นไปในรูปแบบของเรือนจำระบบเปิด ดังนั้น โครงการ สถานพินิจและคุ้มครองเด็กและเยาวชนจังหวัดเชียงใหม่ ต้องการจะนำพื้นที่สีเขียว เข้าไปเชื่อมต่อกับ พื้นที่ภายในของโครงการ เพื่อเปลี่ยนภาพลักษณ์และบรรยากาศของคำว่าเรือนจำและสถานพินิจ รวมไปถึงเชื่อมต่อกับชุมชนโดยรอบได้ง่าย และเป็นที่เข้าใจตรงกันว่าเรือนจำรูปแบบเปิดสามารถช่วยแก้ไขบำบัด ฟื้นฟู ผู้กระทำความผิดได้ดีกว่า ซึ่งโครงการนี้ยังเป็นพื้นที่สนับสนุนในเรื่องสิทธิความเป็นมนุษย์ สภาวะปกติ รวมไปถึงการเป็นพื้นที่แก้ไขบำบัด ฟื้นฟู
โดยเริ่มต้นจากการวิเคราะห์พื้นที่ บริบทเดิมของโครงการว่าเป็นอย่างไร และมีข้อเสียที่ต้องได้รับการปรับเปลี่ยน หรือเปลี่ยนแปลงในส่วนไหน เพื่อให้ตรงกับวัตถุประสงค์ที่จะได้รับของโครงการและจากการวิเคราะห์พื้นที่ บริบทโดยรอบ ทำให้ทราบว่าสถานพินิจและคุ้มครองเด็กและเยาวชนจังหวัดเชียงใหม่ มีรูปแบบที่ไม่ได้ต่างจากรูปแบบของเรือนจำทั่วไป โดยการจะปรับเปลี่ยนให้เป็นเรือนจำรูปแบบเปิดนั้นจะต้องปรับเปลี่ยนพื้นที่ บริบทของโครงการใหม่ทั้งหมด เพื่อให้เป็นแนวทางของการออกแบบเรือนจำรูปแบบเปิดในอนาคต
CED : โรงเรียนทางเลือกแนวคิด SISU
( SISU SCHOOL OF PHILOSOPHY )
ผู้ทำวิทยานิพนธ์ : นางสาวพิมพ์รภัทร์ ทนันไชย
หลักสูตรปริญญา : สถาปัตยกรรมศาสตรบัณฑิต
อาจารย์ที่ปรึกษาวิทยานิพนธ์ : อาจารย์มานิตา ชีวเกรียงไกร
จากปัญหาด้านการศึกษาของเด็กนักเรียนในปัจจุบัน ที่ไม่ได้รับการเคารพการตัดสินใจ ถูกกดดันและตัดสินจากค่านิยมของสังคม และการมีพื้นที่ สภาพแวดล้อมภายในโรงเรียนที่ไม่เอื้อต่อการพัฒนาการของเด็ก จึงไม่สามารถดึงศักยภาพที่แท้จริงของเด็กออกมาได้ ผู้ศึกษาจึงได้จัดทำวิทยานิพนธ์ฉบับนี้มาโดยมีวัตถุประสงค์เพื่อจัดสภาพแวดล้อมและส่งเสริมการเรียนรู้ให้แก่เด็ก ให้เด็กเรียนรู้ ชื่นชมในความเท่าเทียมของมนุษย์และความเป็นเอกลักษณ์ในตัวเอง รวมไปถึงการให้ผู้ปกครองมีส่วนร่วมในการเรียนรู้ของเด็กมากขึ้นผ่านโครงการโรงเรียนทางเลือกแนวคิด SISU โดยการศึกษาสภาพแวดล้อมภายในโรงเรียนและหลักสูตรการเรียนการสอนของฟินแลนด์ ซึ่งประเทศที่ถูกจัดอันดับการศึกษาให้เป็นอันดับ 1 และศึกษาโรงเรียนทางเลือกของประเทศอื่นๆ รวมถึงประเทศไทย ว่ามีการจัดสภาพแวดล้อมภายในโรงเรียนอย่างไร มีปัจจัยอะไรบ้างที่ส่งเสริมให้เด็กมีพัฒนาการที่ดี องค์ประกอบใดที่ควรมีหรือไม่ควรมีภายในโรงเรียน ศึกษาความต้องการของเด็กให้การใช้พื้นที่ต่างๆ เพื่อทำการออกแบบอาคารเรียนและอาคารประกอบ รวมถึงพื้นที่ในการทำกิจกรรมต่างๆภายในโรงเรียน
โรงเรียนทางเลือกแนวคิด SISU เป็นพื้นที่การเรียนรู้ที่สามารถดึงศักยภาพของเด็กออกมาได้อย่างเต็มที่ สามารถตอบสนองความต้องการของกลุ่มเป้าหมาย เป็นโรงเรียนทางเลือกใหม่และพัฒนาการศึกษาของประเทศไทยให้ก้าวข้ามผ่านขีดจำกัดเดิมไปได้
คลิกที่นี่เพื่อเป็นสมาชิก?
วิดีโอทั้งหมด (แสดงผลทั้งหมด)
ประเภท
เว็บไซต์
ที่อยู่
128. Huay Kaew Road, Muang
Chiang Mai
50300
Chiang Mai, 50300
Basic concepts in forecasting methods, simple forecasting methods, forecasting using regression, fore
Chiang Mai
We believe that everyone can be a champion, and passionate baristas deserve quality educations.
98 12 Photharam Road, Tambon Chang Phueak
Chiang Mai, 50300
สาขาการโรงแรม วิทยาลัยเทคโนโลยีพาณิชยการลานนา (Lcc)
Chiang Mai
เพจแบ่งปันความรู้ภาษาฝรั่งเศส สอนพิเศษฝรั่งเศส DELF A1-B1 DELF B2 Examinateur-correcteur DELF A1-A2
Chiang Mai, 50000
วิเคราะห์หุ้นจริงจังด้วยเทคนิค Volume An
64 Moo 12 Soppoeng
Chiang Mai, 50330
The foundation was established since 1980 to help the needy and helpless children to be educated.
Gakken Classroom ศูนย์ แอดเคิร์ฟ, โรงแรมดวงตะวัน เชียงใหม่, ชั้น G, ห้อง G4, ถ. ลอยเคราะห์ ต. ช้างคลาน อ. เมือง
Chiang Mai, 50100
วิทยาลัยเทคโนโลยีโปลิเทคนิคลานนา เชียงใหม่ เลขที่ 2 ถ. สุขเกษม ต. ป่าตัน
Chiang Mai, 50300
หมวดวิชาภาษาอังกฤษ วิทยาลัยเทคโนโลยีโปลิเทคนิคลานนา เชียงใหม่
128 ถนน ห้วยแก้ว ตำบลช้างเผือก
Chiang Mai, 50300
มุ่งมั่นพัฒนาวิชาการควบคู่กับคุณธรรมและจริยธรรม เพื่อผลิตวิศวกรนักปฏิบัติการที่มีความรู้ความสามารถ มีความเชี่ยวชาญและก้าวทันเทคโนโลยี มีสมรรถนะเป็นที่ต้องการของตลาดแรงงานทั้งในและต...