หอจดหมายเหตุ มหาวิทยาลัยราชภัฏเชียงใหม่ - Archives CMRU

หอจดหมายเหตุ มหาวิทยาลัยราชภัฏเชียงใหม่ - Archives CMRU

ตำแหน่งใกล้เคียง มหาวิทยาลัย

กยศ. CMRU
กยศ. CMRU
50300
Fashion Design and Textile CMRU
Fashion Design and Textile CMRU
มหาวิทยาลัยราชภัฏเชียงใหม่ เลขที่ 202 ถ. ช้างเผือก ต. ช้างเผือก อ. เมือง จ. เชียงใหม่
มหาวิทยาลัยราชภัฏเชียงใหม่ CMRU
มหาวิทยาลัยราชภัฏเชียงใหม่ CMRU
ถ. ช้างเผือก ต. ช้างเผือก อ. เมือง
ศูนย์ฝึกประสบการณ์วิชาชีพ คณะวิทยาการจัดการ มหาวิทยาลัยราชภัฏเชียงใหม่
ศูนย์ฝึกประสบการณ์วิชาชีพ คณะวิทยาการจัดการ มหาวิทยาลัยราชภัฏเชียงใหม่
Changphuak Road
ฝ่ายพัฒนานักศึกษาcmru
ฝ่ายพัฒนานักศึกษาcmru
Mahidol Road
International Affairs Office, CMRU
International Affairs Office, CMRU
Chang Puek
Environment Club
Environment Club
Ben Arous 2084
GenEd CMRU
GenEd CMRU
ช้างเผือก
สโมสรนักศึกษาคณะวิทยาการจัดการ มหาวิทยาลัยราชภัฏเชียงใหม่
สโมสรนักศึกษาคณะวิทยาการจัดการ มหาวิทยาลัยราชภัฏเชียงใหม่
คณะวิทยาการจัดการ มหาวิทยาลัยราชภัฏเชียงใหม่ 202 ถ. ช้างเผือก ต. ช้างเผือก อ. เมืองChiang Mai, Amphoe Muang Chiang Mai
ภาควิชาวิทยาศาสตร์สิ่งแวดล้อม ม.ราชภัฏเชียงใหม่ Environmental Science CMRU
ภาควิชาวิทยาศาสตร์สิ่งแวดล้อม ม.ราชภัฏเชียงใหม่ Environmental Science CMRU
มหาวิทยาลัยราชภัฏChiang Mai
ศูนย์ศึกษาศาสตร์พระราชาฯ มหาวิทยาลัยราชภัฎเชียงใหม่
ศูนย์ศึกษาศาสตร์พระราชาฯ มหาวิทยาลัยราชภัฎเชียงใหม่
50300
CMRU Digital Training
CMRU Digital Training
ถ. ช้างเผือก ต. ช้างเผือก
Gerald P. Dyck Ethnomusicology Archive of Lanna Music
Gerald P. Dyck Ethnomusicology Archive of Lanna Music
หมู่ 7 ถนนโชตนา ตำบลขี้เหล็ก, Mae Rim
CMRU-Network
CMRU-Network
50000
ศูนย์ภาษาและวัฒนธรรมญี่ปุ่น 日本言語文化センター
ศูนย์ภาษาและวัฒนธรรมญี่ปุ่น 日本言語文化センター
Changpuak Road

มหาวิทยาลัยราชภัฏเชียงใหม่ก่อตั้งเมื่อ 1 พ.ค. 2467

Photos from หอจดหมายเหตุ มหาวิทยาลัยราชภัฏเชียงใหม่ - Archives CMRU's post 27/12/2022

#ภาพเก่าเล่าเรื่อง

ส.ค.ส. 2517 (ค.ศ.1974)
การ์ดส่งความสุขของวิทยาลัยครูเชียงใหม่ (มหาวิทยาลัยราชภัฏเชียงใหม่ในปัจจุบัน) ที่ผ่านมาเกือบ 50 ปี

ขอส่งความรัก ความปรารถนาดีผ่านส.ค.ส.นี้ ขอให้ทุกท่านมีความสุข สุขภาพแข็งแรง สุขกายสบายใจ ตลอดปีใหม่ที่จะมาถึงนี้ค่ะ

สวัสดีปีใหม่ 2566

#100ปีมหาวิทยาลัยราชภัฏเชียงใหม่
#หนึ่งศตวรรษราชภัฏเชียงใหม่
#จากโรงเรียนฝึกหัดครูกสิกรรมประจำมณฑลพายัพสู่มหาวิทยาลัยราชภัฏเชียงใหม่

Photos from หอจดหมายเหตุ มหาวิทยาลัยราชภัฏเชียงใหม่ - Archives CMRU's post 06/12/2022

#ภาพเก่าเล่าเรื่อง
Who is he? คนในภาพคือใคร?

เชิญชวนมาร่วมสนุกกันค่ะ ลองทายดูว่าบุคคลในภาพ 2 ท่านนี้เป็นใคร และเกี่ยวข้องอย่างไรกับมหาวิทยาลัยราชภัฏเชียงใหม่ของเราค่ะ

------------
เฉลย

ภาพที่ 1 - 2 คือ อาจารย์ศิริ ศุขกิจ ท่านเป็นอาจารย์ใหญ่โรงเรียนฝึกหัดครูเชียงใหม่ พ.ศ.2502-2506 และ พ.ศ.2508-2509

ภาพที่ 3-6 คือ อาจารย์ประสิทธิ์ สุนทโรทก ท่านเป็นผู้อำนวยการวิทยาลัยครูเชียงใหม่ พ.ศ.2509-2515

#100ปีมหาวิทยาลัยราชภัฏเชียงใหม่
#หนึ่งศตวรรษราชภัฏเชียงใหม่
#จากโรงเรียนฝึกหัดครูกสิกรรมประจำมณฑลพายัพสู่มหาวิทยาลัยราชภัฏเชียงใหม่

Photos from หอจดหมายเหตุ มหาวิทยาลัยราชภัฏเชียงใหม่ - Archives CMRU's post 29/11/2022

มหาวิทยาลัยราชภัฏเชียงใหม่ พื้นที่แม่ฮ่องสอน

พื้นที่แม่ฮ่องสอน ตำบลปางหมู อำเภอเมือง จังหวัดแม่ฮ่องสอน

กลุ่มมหาวิทยาลัยราชภัฏมีปณิธานในการเป็นสถาบันอุดมศึกษาเพื่อการพัฒนาท้องถิ่น จึงได้แบ่งพื้นที่ความรับผิดชอบในการเป็นสถาบันอุดมศึกษาพัฒนาท้องถิ่น มหาวิทยาลัยราชภัฏเชียงใหม่ได้รับมอบหมายให้ดูแลพื้นที่ของจังหวัดเชียงใหม่และจังหวัดแม่ฮ่องสอน
ผู้บริหารมหาวิทยาลัยก็ได้เห็นความสำคัญในพัฒนาพื้นที่จัดการศึกษาในจังหวัดแม่ฮ่องสอน รองศาสตราจารย์ ดร.วรรณวดี ม้าลำพอง อดีตอธิการบดีได้เล่าถึงการเริ่มต้นจัดการศึกษาในจังหวัดแม่ฮ่องสอนว่า “...ต้องขอบคุณท่านอธิการ รองศาสตราจารย์ ดร.มังกร ทองสุขดี ท่านให้ข้อมูลว่าครูในพื้นที่แม่ฮ่องสอนจังหวัดแม่ฮ่องสอนมีน้อยและแต่ละคนอยู่ห่างไกล บางคนต้องขี่ม้าขี่ช้างมาทำงาน ท่านก็มาปรึกษาว่าเป็นความรับผิดชอบของวิทยาลัยครูไหม ที่ต้องไปดูแลจริง ๆ แล้วเราคิดว่าเราดูแลแล้ว เปิดรับ กศ.บป. (การศึกษาสำหรับบุคลากรประจำการ) ให้มาเรียนที่เรา ต้องเดินทาง ต้องมาค้างเชียงใหม่ ซึ่งคนที่จะมาเรียนได้ต้องมีฐานะพอได้ ด้วยเหตุนี้ท่านอยากให้ไปเปิดสอนที่แม่ฮ่องสอน ซึ่งตอนนั้นเรียนตามตรงว่า คณะครูทั้งหลาย อาจารย์ ผู้บริหาร ไม่เห็นด้วยกับท่าน โดยเฉพาะผู้ที่ดูเรื่องงบประมาณ ท่านคำนวณเรียบร้อย ท่านบอกว่าอยู่ไม่รอดนะครับ ท่านอธิการก็บอกว่า “นี่เป็นหน้าที่ไม่ต้องพูดว่าจะมีรายได้ไหม” แต่เราต้องมาทำงานดูแลครูพวกนั้นที่เขายังไม่มีวุฒิปริญญาตรี ในที่สุดก็ไปเปิดที่แม่ฮ่องสอน แต่ตอนนั้นคุณครูที่มาเรียนมีส่วนรับผิดชอบ เขาจะช่วยค่าใช้จ่ายในการเดินทาง...”
โดยความร่วมมือของทุกฝ่าย ทำให้เกิดการเรียนการสอนขึ้นในพื้นที่แม่ฮ่องสอน โดยเริ่มเปิดหลักสูตร กศ.บป. แม่ฮ่องสอน ผู้เรียนเป็นบุคลากรของสำนักงานการประถมศึกษาจังหวัดแม่ฮ่องสอน และศูนย์การศึกษานอกโรงเรียนจังหวัดแม่ฮ่องสอน โดยเริ่มต้นใช้พื้นที่การศึกษาหลายแห่ง ทั้งโรงเรียนประถมในจังหวัด ศูนย์การเรียนรู้นอกโรงเรียน (กศน.) วิทยาลัยการอาชีพ ก่อนที่จะมีพื้นที่จัดการศึกษาเป็นของตนเอง
ขณะที่การเรียนการสอนดำเนินไป ผู้บริหารในขณะนั้นได้มีแนวคิดที่จะแสวงหาพื้นที่สำหรับจัดการศึกษาให้นักศึกษาที่มาเรียนในพื้นที่จังหวัดแม่ฮ่องสอน และได้พยายามเสาะหาพื้นที่จนกระทั่งได้รับความยินยอมจากชาวบ้านภายในพื้นที่
ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.สายสมร สร้อยอินต๊ะ อดีตอธิการบดี ได้เล่าถึงเหตุการณ์ที่น่าประทับใจว่า “...พื้นที่แม่ฮ่องสอน ได้รับความช่วยเหลือจากอดีต ส.ส.ปัญญา จีนาคำ และบันทึกเป็นประวัติศาสตร์มหาวิทยาลัยว่าชาวบ้านในท้องถิ่นน่ารักมีน้ำใจมาก แม้มีการจับจองที่ดินเป็นที่ทำกินไว้แล้วที่สวยงามมาก ก็บอกว่าไม่เป็นไร ถ้ามหาวิทยาลัยจะมาตั้งที่นี่ เพียงแต่ช่วยบันทึกไว้หน่อยว่าพวกเราที่มีใบจับจองเป็นผู้ยกให้ ซึ่งถ้ามีงานอะไรก็ขอให้ได้ช่วยกัน ซึ่งตอนนี้ก็น่าจะเริ่มบันทึกแล้วเพราะมีชื่อของชุมชนตรงนั้นที่เสียสละให้เรา ชาวบ้านยกที่ดินให้เรา 100 กว่าไร่ ต้องขอบคุณคนที่ให้และให้เขียนไว้เขาจะได้ภูมิใจว่าเขาได้มีส่วนยกที่ดินให้เป็นพื้นที่จัดการศึกษาเป็นวิทยาลัยแม่ฮ่องสอนในวันนี้”
ปัจจุบัน พื้นที่วิทยาลัยแม่ฮ่องสอน ตำบลปางหมู อำเภอเมือง จังหวัดแม่ฮ่องสอน มีพื้นที่ 109 ไร่ 6 ตารางวา เป็นสถาบันเพื่อสร้างโอกาสทางการศึกษาของจังหวัดแม่ฮ่องสอน

อ้างอิง
1. มหาวิทยาลัยราชภัฏเชียงใหม่. (2556). มหาวิทยาลัยราชภัฏเชียงใหม่ 89 ปี. เชียงใหม่ : เชียงใหม่โรงพิมพ์แสงศิลป์
2. มหาวิทยาลัยราชภัฏเชียงใหม่. (2557). อุดมการณ์สานสร้างคนดี 90 ปี แห่งความภาคภูมิใจ 90 ปี มหาวิทยาลัย ราชภัฏเชียงใหม่. เชียงใหม่ : วนิดาการพิมพ์
3. [ภาพถ่ายทางอากาศพื้นที่แม่ฮ่องสอน มหาวิทยาลัยราชภัฏเชียงใหม่ ปี พ.ศ. 2545]. (2545). (วด-04-002-สก-สนอ-กอท-2545-0001). กรมแผนที่ทหาร กองบัญชาการกองทัพไทย. จดหมายเหตุมหาวิทยาลัยราชภัฏเชียงใหม่. เชียงใหม่.
4.[ภาพถ่ายทางอากาศพื้นที่แม่ฮ่องสอน มหาวิทยาลัยราชภัฏเชียงใหม่ ปี พ.ศ. 2555]. (2555). (วด-04-002-สก-สนอ-กอท-2555-0001). กรมแผนที่ทหาร กองบัญชาการกองทัพไทย. จดหมายเหตุมหาวิทยาลัยราชภัฏเชียงใหม่. เชียงใหม่.

เรียบเรียงโดย หอจดหมายเหตุ มหาวิทยาลัยราชภัฏเชียงใหม่ (พฤศจิกายน 2565)

#100ปีมหาวิทยาลัยราชภัฏเชียงใหม่
#หนึ่งศตวรรษราชภัฏเชียงใหม่
#จากโรงเรียนฝึกหัดครูกสิกรรมประจำมณฑลพายัพสู่มหาวิทยาลัยราชภัฏเชียงใหม่

Photos from หอจดหมายเหตุ มหาวิทยาลัยราชภัฏเชียงใหม่ - Archives CMRU's post 22/11/2022

มหาวิทยาลัยราชภัฏเชียงใหม่ พื้นที่แม่ริม

พื้นที่แม่ริม ตำบลขี้เหล็ก อำเภอแม่ริม จังหวัดเชียงใหม่

เนื่องจากพื้นที่เวียงบัวซึ่งเป็นพื้นที่หลักที่รองรับภารกิจการเรียนการสอนมาตั้งแต่เริ่มต้น ได้ขยายตัวอย่างต่อเนื่อง มีการก่อสร้างอาคารเรียน ห้องปฏิบัติการ โรงอาหาร ห้องประชุม หอสมุด โรงยิมเนเซียม สนามกีฬากลางแจ้ง ที่พักของอาจารย์และบุคลากร ฯลฯ อย่างเต็มพื้นที่ในรองรับการเพิ่มขึ้นของนักศึกษา (จากสถิติในปีการศึกษา 2541 มีนักศึกษาภาคปกติประมาณ 6,000 คน ภาคพิเศษประมาณ 7,000 คน) ทำให้พื้นที่เวียงบัวค่อนข้างแออัด และอาจสร้างความเดือดร้อนให้ชาวบ้านในพื้นที่
ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.สายสมร สร้อยอินต๊ะ อธิการบดีในขณะนั้น ตระหนักถึงปัญหาที่เกิดขึ้น จึงได้พยายามเสาะแสวงหาพื้นที่สำหรับจัดการศึกษาแห่งใหม่ในหลายพื้นที่ เพื่อรองรับการขยายตัวของมหาวิทยาลัย
ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.สายสมร สร้อยอินต๊ะ อธิบายเพิ่มเติมว่า “...ประเด็นในส่วนงานสำคัญเรื่องพื้นที่จัดการศึกษาเพื่ออนาคตของเรา จากพื้นที่ของเราตรงนี้จำนวน 88 ไร่ เมื่อเรารับนักศึกษามากขึ้นด้วยความคิดที่เราคิดว่าจะต้องรับผิดชอบท้องถิ่น...ประเด็นคือ พอเรารับมากขึ้น ก็มากันเยอะ ทุกคนอยากเรียน เพราะนั่นคือการให้โอกาส พอมาเยอะพื้นที่ก็ไม่มี ที่จอดรถก็ไม่มี อะไรก็ไม่มี เต็มแน่นกัดหมด และที่สำคัญเราก็กลัวสร้างความเดือดร้อนให้ชาวบ้านในละแวกใกล้เคียง ดังนั้นจึงเกิดแนวคิดเรื่องการแสวงหาพื้นที่ จุดเริ่มต้นที่แสวงหาคือพื้นที่ที่ตั้งคณะเกษตรซึ่งมีประมาณ 50 ไร่ที่ตำบลแม่สา มีการแบ่งส่วนงานต่าง ๆ ทั้งฝ่ายย่อย ๆ เพิ่มขึ้น เช่น ฝ่ายเลี้ยงสัตว์ ฝ่ายปลูกพืช เป็นต้น...”
ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.สายสมร สร้อยอินต๊ะ ได้แสวงหาพื้นที่สำหรับจัดการศึกษาแห่งใหม่ทั้งที่บริเวณอำเภอสะเมิง ประมาณ 800 ไร่ และบริเวณอำเภอจอมทอง ประมาณ 3-4 พันไร่ แต่เนื่องจากบริเวณอำเภอสะเมิงอยู่ห่างไกลและเดินทางลำบาก และบริเวณอำเภอจอมทองจอมทองถูกจับจองเป็นที่พักอาศัยของคนในท้องถิ่นแล้ว ไม่อยากให้ส่งผลกระทบต่อคนในท้องถิ่น จึงตัดสินใจหาพื้นที่แห่งใหม่ และได้สำรวจพบพื้นที่บริเวณตำบลสะลวง-ขี้เหล็ก อำเภอแม่ริม ซึ่งเป็นพื้นที่ใกล้เคียงกับที่ตั้งในปัจจุบัน ที่ดินบริเวณนี้ได้รับความช่วยเหลือจากชาวบ้านในพื้นที่ มาประชุมกันและทำสัญญาประชาคมร่วมกัน โดยชาวบ้านได้ร้องขอเงื่อนไข 3 ประการ ดังนี้
ประการแรก ขอไม่ให้มีคำว่า “ห้ามผ่าน” เพื่อห้ามชาวบ้านผ่านเข้า-ออก
ประการที่สอง ต้องให้ชาวบ้านเข้าไปหาของป่า เก็บเห็ด เก็บใบตองตึงในบริเวณนั้นได้
และประการที่สาม หากมีการจ้างงานขอให้พิจารณาดูแลคนในคนท้องถิ่นก่อน
ดังนั้นในปี พ.ศ.2541 มหาวิทยาลัยราชภัฏเชียงใหม่ได้มอบหมายให้คณะเทคโนโลยีการเกษตรย้ายเข้าไปพัฒนาพื้นที่และจัดการศึกษาในพื้นที่แม่ริม หลังจากนั้นเป็นต้นมามหาวิทยาลัยได้พัฒนาพื้นที่แม่ริมอย่างต่อเนื่อง มีการก่อสร้างอาคารเรียน หอพักนักศึกษา หอพักอาจารย์และบุคลากร หอประชุม อาคารสำนักงาน สนามกีฬากลาง ฯลฯ เพื่อรองรับการขยายตัวของมหาวิทยาลัยต่อไปในอนาคต
ปัจจุบัน พื้นที่แม่ริม ตำบลขี้เหล็ก อำเภอแม่ริม จังหวัดเชียงใหม่ มีพื้นที่ 7,188 ไร่ 3 งาน 49 ตารางวา เป็นศูนย์กลางของการบริหารจัดการ การจัดการศึกษา และการบริหารวิชาการของมหาวิทยาลัย ซึ่งคณะเทคโนโลยีการเกษตร คณะครุศาสตร์ และคณะวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีบางสาขาได้ย้ายเข้ามาจัดการศึกษาอย่างเต็มรูปแบบในพื้นที่แม่ริม นอกจากนี้คณะอื่น ๆ ก็กำลังวางแผนย้ายมาจัดการศึกษาในพื้นที่แม่ริมเช่นกัน

อ้างอิง
1. คณะเทคโนโลยีการเกษตร มหาวิทยาลัยราชภัฏเชียงใหม่. (ม.ป.ป.) ประวัติโดยย่อ คณะเทคโนโลยีการเกษตรมหาวิทยาลัยราชภัฏเชียงใหม่. สืบค้น 8 พฤศจิกายน 2565. จาก http://www.facagri.cmru.ac.th/web/?p=page-detail&page_id=41
2. มหาวิทยาลัยราชภัฏเชียงใหม่. (2556). มหาวิทยาลัยราชภัฏเชียงใหม่ 89 ปี. เชียงใหม่ : เชียงใหม่โรงพิมพ์แสงศิลป์
3. มหาวิทยาลัยราชภัฏเชียงใหม่. (ม.ป.ป.). ความเป็นมาของวิทยาเขตสะลวง-ขี้เหล็ก. ม.ป.ท.
4. มหาวิทยาลัยราชภัฏเชียงใหม่. (2557). อุดมการณ์สานสร้างคนดี 90 ปี แห่งความภาคภูมิใจ 90 ปี มหาวิทยาลัยราชภัฏเชียงใหม่. เชียงใหม่ : วนิดาการพิมพ์
5. [ภาพถ่ายทางอากาศพื้นที่แม่ริม มหาวิทยาลัยราชภัฏเชียงใหม่ ปี พ.ศ. 2539]. (2539). (วด-04-002-สก-สนอ-กอท-2539-0001). กรมแผนที่ทหาร กองบัญชาการกองทัพไทย. จดหมายเหตุมหาวิทยาลัยราชภัฏเชียงใหม่. เชียงใหม่.
6. [ภาพถ่ายทางอากาศพื้นที่แม่ริม มหาวิทยาลัยราชภัฏเชียงใหม่ ปี พ.ศ. 2545]. (2545). (วด-04-002-สก-สนอ-กอท-2545-0001). กรมแผนที่ทหาร กองบัญชาการกองทัพไทย. จดหมายเหตุมหาวิทยาลัยราชภัฏเชียงใหม่. เชียงใหม่.
7. [ภาพถ่ายทางอากาศพื้นที่แม่ริม มหาวิทยาลัยราชภัฏเชียงใหม่ ปี พ.ศ. 2555]. (2555). (วด-04-002-สก-สนอ-กอท-2555-0001). กรมแผนที่ทหาร กองบัญชาการกองทัพไทย. จดหมายเหตุมหาวิทยาลัยราชภัฏเชียงใหม่. เชียงใหม่.

เรียบเรียงโดย หอจดหมายเหตุ มหาวิทยาลัยราชภัฏเชียงใหม่ (พฤศจิกายน 2565)

#100ปีมหาวิทยาลัยราชภัฏเชียงใหม่
#หนึ่งศตวรรษราชภัฏเชียงใหม่
#จากโรงเรียนฝึกหัดครูกสิกรรมประจำมณฑลพายัพสู่มหาวิทยาลัยราชภัฏเชียงใหม่

Photos from หอจดหมายเหตุ มหาวิทยาลัยราชภัฏเชียงใหม่ - Archives CMRU's post 15/11/2022

มหาวิทยาลัยราชภัฏเชียงใหม่ พื้นที่แม่สา

พื้นที่แม่สา ตำบลแม่สา อำเภอแม่ริม จังหวัดเชียงใหม่

มหาวิทยาลัยราชภัฏเชียงใหม่ (วิทยาลัยครูเชียงใหม่ในขณะนั้น) ได้มีนโยบายใช้พื้นที่จากราชพัสดุที่ตั้งอยู่ที่บ้านแม่สา ตำบลแม่สา อำเภอแม่ริม จังหวัดเชียงใหม่ เนื่องจากในขณะนั้นนักศึกษาเพิ่มจำนวนขึ้น ดังนั้น ในปี พ.ศ. 2522 จึงมีคำสั่งให้ภาควิชาเกษตรศาสตร์เข้าไปพัฒนาพื้นที่ดังกล่าว ภาควิชาเกษตรศาสตร์จึงได้นำนักศึกษาที่เรียนฝึกประสบการณ์วิชาชีพเข้ามาพัฒนา รวมทั้งนักศึกษาที่เรียนรายวิชาอื่นที่ต้องฝึกภาคปฏิบัติเข้ามาร่วมพัฒนาพื้นที่ ต่อมาในปี พ.ศ. 2524 ได้รับงบประมาณสำหรับสร้างอาคารสำนักงานภาควิชาเกษตรศาสตร์ในพื้นที่แม่สา เมื่ออาคารสร้างเสร็จ ในปีต่อมา พ.ศ. 2525 ภาควิชาเกษตรศาสตร์จึงได้ย้ายเข้าไปจัดการการเรียนการสอนในพื้นที่ศูนย์แม่สาทั้งภาคปกติ และการศึกษาสำหรับบุคลากรประจำการ (กศ.บป.)
เมื่อสถาบันราชภัฏเชียงใหม่ได้รับอนุญาตจากกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ให้ใช้ประโยชน์จากที่ดิน จำนวน 6,000 ไร่ ในเขตตำบลสะลวงและขี้เหล็ก อำเภอแม่ริม จังหวัดเชียงใหม่ ในปี พ.ศ. 2541 สถาบันราชภัฏเชียงใหม่จึงมีนโยบายให้คณะเทคโนโลยีการเกษตร (ชื่อเดิมคือภาควิชาเกษตรศาสตร์) ย้ายออกจากพื้นที่ศูนย์แม่สา และให้เข้าไปพัฒนาพื้นที่และจัดการเรียนการสอนที่ศูนย์แม่ริม ตำบลขี้เหล็ก อำเภอแม่ริม จังหวัดเชียงใหม่
ปัจจุบัน พื้นที่แม่สา ตำบลแม่สา อำเภอแม่ริม จังหวัดเชียงใหม่ มีพื้นที่ 69 ไร่ 1 งาน 69 ตารางวา เป็นที่ตั้งของศูนย์ความเป็นเลิศด้านกัญชาและเกษตรอินทรีย์นานาชาติ มหาวิทยาลัยราชภัฏเชียงใหม่ และบ้านพักอาจารย์และบุคลากร มหาวิทยาลัยราชภัฏเชียงใหม่ (ทั้งนี้พื้นที่ของศูนย์แม่สาเป็นการใช้งานร่วมกันกับสถานพินิจคุ้มครองเด็ก จำนวน 27 ไร่ 19 งาน)

อ้างอิง
1. กองนโยบายและแผน มหาวิทยาลัยราชภัฏเชียงใหม่. (2563). สารสนเทศ 2563 มหาวิทยาลัยราชภัฏเชียงใหม่. สืบค้น 8 พฤศจิกายน 2565. จาก https://online.anyflip.com/opobl/wvgs/mobile/
2. คณะเทคโนโลยีการเกษตร มหาวิทยาลัยราชภัฏเชียงใหม่. (ม.ป.ป.) ประวัติโดยย่อ คณะเทคโนโลยีการเกษตรมหาวิทยาลัยราชภัฏเชียงใหม่. สืบค้น 8 พฤศจิกายน 2565. จาก http://www.facagri.cmru.ac.th/web/?p=page-detail&page_id=41
3. มหาวิทยาลัยราชภัฏเชียงใหม่. (2556). มหาวิทยาลัยราชภัฏเชียงใหม่ 89 ปี. เชียงใหม่ : เชียงใหม่โรงพิมพ์แสงศิลป์.
4. มหาวิทยาลัยราชภัฏเชียงใหม่. (2557). อุดมการณ์สานสร้างคนดี 90 ปี แห่งความภาคภูมิใจ 90 ปี มหาวิทยาลัยราชภัฏเชียงใหม่. เชียงใหม่ : วนิดาการพิมพ์
5. [ภาพถ่ายทางอากาศพื้นที่แม่สา มหาวิทยาลัยราชภัฏเชียงใหม่ ปี พ.ศ. 2519]. (2519). (วด-04-002-สก-สนอ-กอท-2519-0001). กรมแผนที่ทหาร กองบัญชาการกองทัพไทย. จดหมายเหตุมหาวิทยาลัยราชภัฏเชียงใหม่. เชียงใหม่.
6. [ภาพถ่ายทางอากาศพื้นที่แม่สา มหาวิทยาลัยราชภัฏเชียงใหม่ ปี พ.ศ. 2545]. (2545). (วด-04-002-สก-สนอ-กอท-2545-0001). กรมแผนที่ทหาร กองบัญชาการกองทัพไทย. จดหมายเหตุมหาวิทยาลัยราชภัฏเชียงใหม่. เชียงใหม่.
7. [ภาพถ่ายทางอากาศพื้นที่แม่สา มหาวิทยาลัยราชภัฏเชียงใหม่ ปี พ.ศ. 2555]. (2555). (วด-04-002-สก-สนอ-กอท-2555-0001). กรมแผนที่ทหาร กองบัญชาการกองทัพไทย. จดหมายเหตุมหาวิทยาลัยราชภัฏเชียงใหม่. เชียงใหม่.

เรียบเรียงโดย หอจดหมายเหตุ มหาวิทยาลัยราชภัฏเชียงใหม่ (พฤศจิกายน 2565)
#100ปีมหาวิทยาลัยราชภัฏเชียงใหม่
#หนึ่งศตวรรษราชภัฏเชียงใหม่
#จากโรงเรียนฝึกหัดครูกสิกรรมประจำมณฑลพายัพสู่มหาวิทยาลัยราชภัฏเชียงใหม่

Photos from หอจดหมายเหตุ มหาวิทยาลัยราชภัฏเชียงใหม่ - Archives CMRU's post 08/11/2022

มหาวิทยาลัยราชภัฏเชียงใหม่ พื้นที่เวียงบัว (ตอนที่ 2)

พื้นที่เวียงบัว ตำบลช้างเผือก อำเภอเมือง จังหวัดเชียงใหม่

เริ่มแรกได้มีการซื้อที่ดินแห่งนี้มาด้วยเงินรายได้ของโรงเรียนรัฐบาลประจำมณฑลพายัพ (โรงเรียนยุพราชวิทยาลัยและโรงเรียนวัฒโนทัยพายัพ) จำนวน 15 ไร่ พร้อมด้วยเรือนไม้ 1 หลัง ราคา 318.75 บาท และเจ้าราชภาติกวงษ์ (คำตัน ณ เชียงใหม่) เสนาวังจังหวัดเชียงใหม่ ได้ยกที่ดินซึ่งติดกัน ให้อีกประมาณ 40 ไร่ ในราคา 1,000 บาท รวมเป็น 55 ไร่ ในราคาทั้งหมด 1,318.75 บาท
นายชื่น สิโรรส ได้เล่าเพิ่มเติมสำหรับการเปิดโรงเรียนฝึกหัดครูไว้ว่า “ข้าพเจ้าขอร้องศึกษาธิการจังหวัด ให้เร่งเปิดโรงเรียนฝึกหัดครูให้พวกเราได้ทำงานตามโครงการที่เตรียมไว้ เมื่อได้รับคำตอบว่ายังเตรียมไม่ทัน โดยเฉพาะยังขาดที่ดิน ยังไม่รู้ว่าจะไปเอาที่ดินมาจากไหน สำหรับก่อสร้างโรงเรียนประเภทนี้จึงขอให้รอไปก่อน เมื่อทราบเช่นนี้ข้าพเจ้าจึงเรียนว่า ข้าพเจ้าจะเป็นผู้หาที่ดิน อาจจะมีผู้เต็มใจบริจาคที่ดินก็เป็นได้ หากผู้นั้นมองเห็นประโยชน์ของการศึกษา ที่ดินเวลานั้นราคาไม่แพงนัก ทางศึกษาธิการจังหวัดก็ไม่ขัดข้อง ข้าพเจ้าจึงได้สืบถามคนเฒ่าตนแก่ จึงได้ทราบว่ามีที่ดินอยู่แปลงหนึ่ง (เป็นที่ตั้งวิทยาลัยครูปัจจุบันนี้) เป็นที่ของเจ้าราชภาติกวงษ์ ซึ่งเป็นญาติของภรรยาข้าพเจ้า ข้าพเจ้าได้ปรึกษากับภรรยาว่า จะขอที่ดินแปลงนี้มาทำประโยชน์ แทนที่จะปล่อยทิ้งไว้ให้ชาวบ้านนำวัวควายมาเลี้ยง ภรรยาข้าพเจ้าเห็นด้วยจึงไปติดต่อขอที่ดินดังกล่าว เจ้าราชภาติกวงษ์ก็ยินดียกให้ ทางจังหวัดจึงทำหนังสือขอไปเป็นทางการ เราจึงได้เริ่มงานระหว่างปี พ.ศ. 2466-2467”
หลังจากนั้นโรงเรียนจึงได้เริ่มปลูกสร้างอาคารเรียนและหอนอน เป็นเรือนไม้ไผ่ชั่วคราว พร้อมทั้งโรงอาหารตั้งแต่วันที่ 1 เมษายน 2467 ด้วยเงินที่ยืมมาจากเงินรายได้ของโรงเรียนรัฐบาลในมณฑลพายัพ (การปลูกสร้างแล้วเสร็จในวันที่ 5 มิถุนายน 2467) ได้มีการเปิดรับนักศึกษารุ่นแรกเมื่อวันที่ 1 พฤษภาคม 2467 และเริ่มสอนวันแรกในวันที่ 19 พฤษภาคม 2467 มีนักศึกษารุ่นแรกจำนวน 28 คน ที่ได้คัดเลือกมาเรียนจากจังหวัดเชียงราย 6 คน จังหวัดลำพูน 5 คน จังหวัดแม่ฮ่องสอน 1 คน และจังหวัดเชียงใหม่ 16 คน มีครูทั้งหมด 3 คน ได้แก่ นายชื่น สิโรรส เป็นครูใหญ่ และมีรอง 2 คน คือ นายอุ่นเรือน ฟองศรี และนายสิงห์คำ สุวรรณโสภณ ทุกคนมีวุฒิทางครู
นายชื่น สิโรรส ได้เล่าเพิ่มเติมเกี่ยวกับการปลูกสร้างอาคารเรียนและหอนอนว่า “ข้าพเจ้าสร้างห้องเรียนพร้อมห้องพักในหลังเดียวกันด้วยเงินไม่ถึง 200 บาท อาศัยพื้นดินเป็นพื้นห้องเรียน ปลูกเป็นโรงหลังยาวหัวสุดสองข้างเป็นห้องนอน ตรงกลางเป็นห้องเรียน อาคารหลังนี้สร้างด้วยเสาไม้เต็งรังขนาดเส้นผ่าศูนย์กลาง 6 นิ้ว ยาวประมาณ 8 ศอก เวลานั้นเสา 1 ต้น ราคา 1 รูป หรือ 80 สตางค์ (ศอกละ 10 สตางค์) โต๊ะเรียนทำด้วยไม้ไผ่ ขื่อ แป ทำด้วยไม้ซาง ข้างบนใช้ไม้รวกและไม้บง หลังคามุงด้วยใบตองตึง ตับละ 2-3 สตางค์ (ใบตองพลวง) เราสั่งซื้ออย่างดีที่สุด คือซื้อจากบ้านหนองปลามัน อำเภอแม่ริม ค่าแรงไม่ต้องจ่าย เพราะอาศัยครูและนักเรียนช่วยกันสร้าง”
“ข้าพเจ้ากับเพื่อนครูช่วยกันเขียนแปลนบนพื้นดินเกลี้ยง ห้องพักยาว 2 เมตรครึ่ง กว้าง 3 เมตร มี 2 ห้อง ห้องเรียนกว้าง 3 เมตร ยาว 4 เมตร อาคารหลังนี้ยาวประมาณ 20 เมตร หรือ 10 วา ห้องนอนอยู่ที่หัวท้าย กั้นด้วยใบตองตึงเป็นตับ ๆ กั้นเป็นฝา เจาะเป็นช่องทำหน้าต่าง บานหน้าต่างทำด้วยใบตอง ทำเป็นกรอบผูกด้วยตรอกเปิดยกขึ้นมีไม้ค้ำไว้ เตียงนอนใช้ไม้ไผ่ฝังเป็นเสาเตียง แล้วปูด้วยฟาก เตียงหนึ่งราคาประมาณ 2 บาท ห้องหนึ่งนอนได้ประมาณ 4 คน นอกจากสร้างอาคารนี้แล้ว เรายังสร้างส้วม โรงอาหาร โรงครัว ซึ่งก็ใช้แรงนักเรียนเกือบทั้งหมด นี่เป็นเรื่องราวในช่วงของการเริ่มต้นโรงเรียนฝึกหัดครูขั้นต่ำ หรือวิทยาลัยครูเชียงใหม่ในปัจจุบัน”
ภายหลังได้ซื้อที่ดินเพิ่มอีก 3 แปลง เป็นที่สวนเก่าติดกับเนื้อที่ของโรงเรียนทางด้านตะวันออก มีเนื้อที่ประมาณ 10 ไร่ และเป็นที่นาอีกประมาณ 5 ไร่ ราคารวมค่าธรรมเนียม 370.24 บาท เมื่อวันที่ 4 กุมภาพันธ์ 2468
ปัจจุบัน พื้นที่เวียงบัว ตำบลช้างเผือก อำเภอเมือง จังหวัดเชียงใหม่ มีเนื้อที่ 2 แปลง คือ
- แปลงที่ 1 (เวียงบัว) มีเนื้อที่ 71 ไร่ 1 งาน 66 ตารางวา เป็นพื้นที่จัดการศึกษาหลักของมหาวิทยาลัย
- แปลงที่ 2 (พื้นที่ชายทุ่ง) มีเนื้อที่ 9 ไร่ 2 งาน 81 ตารางวา เป็นพื้นที่จัดสวัสดิการที่พักสำหรับบุคลากรของมหาวิทยาลัย

อ้างอิง (ตอนที่ 2)
1. กองนโยบายและแผน มหาวิทยาลัยราชภัฏเชียงใหม่. (2563). สารสนเทศ 2563 มหาวิทยาลัยราชภัฏเชียงใหม่. ม.ป.พ.
2. ชื่น สิโรรส. (2529). ชีวประวัตินายชื่น สิโรรส ที่เจ้าของเขียนไว้เล่าเอง. เชียงใหม่ : กลางเวียงการพิมพ์.
3. พินิต นรากร. (2496). ประวัติวิทยาลัยครูเชียงใหม่. ใน แถลงการณ์ฝึกหัดครูเชียงใหม่ ปีการศึกษา 2496 ฉบับ ปฐมฤกษ์. ม.ป.ท. ม.ป.พ.
4. วิทยาลัยครูเชียงใหม่. (2532). บัณฑิตานุสรณ์ รุ่นที่ 14 สหวิทยาลัยล้านนา วิทยาลัยครูเชียงใหม่. ม.ป.ท. ม.ป.พ.
5. อรุณ บุญสวัสดิ์. (2506). ประวัติวิทยาลัยครูเชียงใหม่. ใน อนุสรณ์ 2506 วิทยาลัยครูเชียงใหม่. ม.ป.ท. ม.ป.พ.
6. [อาคารเรียนหลังแรก มีลักษณะเป็นเรือนไม้ไผ่ สร้างปี พ.ศ. 2467]. (ม.ป.ป.). จดหมายเหตุมหาวิทยาลัยราชภัฏเชียงใหม่. เชียงใหม่.
7. [ภาพถ่ายทางอากาศพื้นที่เวียงบัว มหาวิทยาลัยราชภัฏเชียงใหม่ ปี พ.ศ. 2497]. (2497). (วด-04-002-สก-สนอ-กอท-2497-0001). กรมแผนที่ทหาร กองบัญชาการกองทัพไทย. จดหมายเหตุมหาวิทยาลัยราชภัฏเชียงใหม่. เชียงใหม่.

เรียบเรียงโดย หอจดหมายเหตุ มหาวิทยาลัยราชภัฏเชียงใหม่ (พฤศจิกายน 2565)
#100ปีมหาวิทยาลัยราชภัฏเชียงใหม่
#หนึ่งศตวรรษราชภัฏเชียงใหม่
#จากโรงเรียนฝึกหัดครูกสิกรรมประจำมณฑลพายัพสู่มหาวิทยาลัยราชภัฏเชียงใหม่

Photos from หอจดหมายเหตุ มหาวิทยาลัยราชภัฏเชียงใหม่ - Archives CMRU's post 04/11/2022

มหาวิทยาลัยราชภัฏเชียงใหม่ พื้นที่เวียงบัว (ตอนที่ 1)

มหาวิทยาลัยราชภัฏเชียงใหม่ หรือโรงเรียนฝึกหัดครูกสิกรรมประจำมณฑลพายัพ (ชื่อเรียกในขณะนั้น) เริ่มเปิดรับนักศึกษาเมื่อวันที่ 1 พฤษภาคม 2467 และเริ่มสอนวันแรกในวันที่ 19 พฤษภาคม 2467 โดยมีนายชื่น สิโรรส รักษาการในตำแหน่งครูใหญ่ มีนักศึกษารุ่นแรกจำนวน 28 คน การเรียนการสอนเน้นไปในด้านกสิกรรม เกษตรกรรม และมีการเรียนการสอนวิชาสามัญเทียบเท่าชั้นมัธยมปีที่ 2 และเพิ่มวิชาครูขึ้นมา นอกจากวิชาเรียนเหล่านี้ในห้องเรียนแล้ว ยังต้องมีการฝึกหัดทำงานกลางแจ้ง คือ การทำสวน การจดบันทึกรายวันประจำตัว สำหรับการงานที่ได้กระทำอีกด้วย นับว่าเป็นการศึกษาภาคปฏิบัติที่กระทำกันโดยปฏิบัติอย่างจริงจัง ซึ่งเป็นผลดีต่อนักศึกษาที่สำเร็จการศึกษาจากโรงเรียนนี้ในโอกาสที่ได้ประกอบอาชีพทางด้านการกสิกรรม และเกษตรกรรมในเวลาต่อมา
จากจุดเริ่มต้นนั้นจนถึงปัจจุบันเป็นเวลาเกือบ 100 ปี มหาวิทยาลัยราชภัฏเชียงใหม่ยังคงมุ่งมั่นในการเปิดรับนักศึกษาเพื่อผลิตบัณฑิตสู่สังคมและท้องถิ่นเรื่อยมา และได้เจริญเติบโตขึ้นเป็นลำดับทั้งในเชิงปริมาณและคุณภาพ

อ้างอิง (ตอนที่ 1)
1. ชื่น สิโรรส. (2529). ชีวประวัตินายชื่น สิโรรส ที่เจ้าของเขียนไว้เล่าเอง. เชียงใหม่ : กลางเวียงการพิมพ์.
2. พินิต นรากร. (2496). ประวัติวิทยาลัยครูเชียงใหม่. ใน แถลงการณ์ฝึกหัดครูเชียงใหม่ ปีการศึกษา 2496 ฉบับ ปฐมฤกษ์. ม.ป.ท. ม.ป.พ.
3. วิทยาลัยครูเชียงใหม่. (2532). บัณฑิตานุสรณ์ รุ่นที่ 14 สหวิทยาลัยล้านนา วิทยาลัยครูเชียงใหม่. ม.ป.ท. ม.ป.พ.
4. อรุณ บุญสวัสดิ์. (2506). ประวัติวิทยาลัยครูเชียงใหม่. ใน อนุสรณ์ 2506 วิทยาลัยครูเชียงใหม่. ม.ป.ท. ม.ป.พ.
5. [ภาพถ่ายทางอากาศพื้นที่เวียงบัว มหาวิทยาลัยราชภัฏเชียงใหม่ ปี พ.ศ. 2497]. (2497). (วด-04-002-สก-สนอ-กอท-2497-0001). กรมแผนที่ทหาร กองบัญชาการกองทัพไทย. จดหมายเหตุมหาวิทยาลัยราชภัฏเชียงใหม่. เชียงใหม่.
6. [ภาพถ่ายทางอากาศพื้นที่เวียงบัว มหาวิทยาลัยราชภัฏเชียงใหม่ ปี พ.ศ. 2519]. (2519). (วด-04-002-สก-สนอ-กอท-2519-0001). กรมแผนที่ทหาร กองบัญชาการกองทัพไทย. จดหมายเหตุมหาวิทยาลัยราชภัฏเชียงใหม่. เชียงใหม่.
7. [ภาพถ่ายทางอากาศพื้นที่เวียงบัว มหาวิทยาลัยราชภัฏเชียงใหม่ ปี พ.ศ. 2545]. (2545). (วด-04-002-สก-สนอ-กอท-2545-0001). กรมแผนที่ทหาร กองบัญชาการกองทัพไทย. จดหมายเหตุมหาวิทยาลัยราชภัฏเชียงใหม่. เชียงใหม่.
8. [ภาพถ่ายทางอากาศพื้นที่เวียงบัว มหาวิทยาลัยราชภัฏเชียงใหม่ ปี พ.ศ. 2558]. (2558). (วด-04-002-สก-สนอ-กอท-2558-0001). กรมแผนที่ทหาร กองบัญชาการกองทัพไทย. จดหมายเหตุมหาวิทยาลัยราชภัฏเชียงใหม่. เชียงใหม่.

เรียบเรียงโดย หอจดหมายเหตุ มหาวิทยาลัยราชภัฏเชียงใหม่ (พฤศจิกายน 2565)

#100ปีมหาวิทยาลัยราชภัฏเชียงใหม่
#หนึ่งศตวรรษราชภัฏเชียงใหม่
#จากโรงเรียนฝึกหัดครูกสิกรรมประจำมณฑลพายัพสู่มหาวิทยาลัยราชภัฏเชียงใหม่

ต้องการให้ธุรกิจของคุณ ธุรกิจ ขึ้นเป็นอันดับหนึ่ง มหาวิทยาลัย ใน Chiang Mai?
คลิกที่นี่เพื่อเป็นสมาชิก?

เว็บไซต์

ที่อยู่


มหาวิทยาลัยราชภัฏเชียงใหม่ 202 ถ. ช้างเผือก ต. ช้างเผือก อ. เมือง จ. เชียงใหม่ รหัสไปรษณีย์
Chiang Mai
50300

วิทยาลัยและมหาวิทยาลัย อื่นๆใน Chiang Mai (แสดงผลทั้งหมด)
Political Science, CMU Political Science, CMU
239 ถ. ห้วยแก้ว ต. สุเทพ อ. เมือง จ. Chiang Mai
Chiang Mai, 50200

⭐ คณะรัฐศาสตร์และรัฐประศาสนศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ ⭐

สำนักศิลปะและวัฒนธรรม มหาวิทยาลัยราชภัฏเชียงใหม่ สำนักศิลปะและวัฒนธรรม มหาวิทยาลัยราชภัฏเชียงใหม่
มหาวิทยาลัยราชภัฏเชียงใหม่ 202 ถ. โชตนา ต. ช้างเผือก อ. เมือง
Chiang Mai, 50300

“องค์กรแห่งการส่งเสริมการสร้างคุณค่าและมูลค่าศิลปวัฒนธรรมล้านนา”

บัณฑิตศึกษา คณะวิศวกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ บัณฑิตศึกษา คณะวิศวกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่
Chiang Mai University 239 Huaykaew Road Suthep Muang
Chiang Mai, 50200

บัณฑิตศึกษา คณะวิศวกรรมศาสตร์ มหาว?

สอนพิเศษ ฟิสิกส์ by P’TopTap สอนพิเศษ ฟิสิกส์ by P’TopTap
Chiang Mai, 50200

รับสอนพิเศษ วิชาฟิสิกส์ ทั้ง ม.ต้น ม.ปลาย และ มหาวิทลัย สนใจสามารถสอบถามได้ครับ

Web Technology CMRU Web Technology CMRU
เลขที่180 ม. 7 ถ. โชตนา ตำบล ขี้เหล็ก อำเภอแม่ริม
Chiang Mai, 50180

หลักสูตรวิทยาศาสตรบัณฑิต สาขาเทคโนโลยีเว็บ มหาวิทยาลัยราชภัฏเชียงใหม่ (ศูนย์แม่ริม)

ศูนย์พัฒนาความเป็นเลิศทางวิชาชีพและเทคโนโลยี คณะวิศวกรรมศาสตร์ มทร.ล้านนา ศูนย์พัฒนาความเป็นเลิศทางวิชาชีพและเทคโนโลยี คณะวิศวกรรมศาสตร์ มทร.ล้านนา
คณะวิศวกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลล้านนา
Chiang Mai, 50300

Center of Excellent , Faculty of Engineering , Rajamangala University of Technology Lanna

Cultural Studies CMRU Cultural Studies CMRU
เลขที่ 202 ถนนช้างเผือก ตำบลช้างเผือก
Chiang Mai, 50300

หลักสูตรศิลปศาสตรบัณฑิต สาขาวิชาวัฒนธรรมศึกษา คณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏเชียงใหม่

We Are Geography CMU We Are Geography CMU
239 ถ. ห้วยแก้ว ต. สุเทพ อ. เมือง จ. Chiang Mai
Chiang Mai, 50200

𝐖𝐞 𝐀𝐫𝐞 𝐆𝐞𝐨𝐠𝐫𝐚𝐩𝐡𝐲 @ 𝐂𝐡𝐢𝐚𝐧𝐠𝐦𝐚𝐢 𝐔𝐧𝐢𝐯𝐞𝐫𝐬𝐢𝐭𝐲 🌏

Public Administration cmru64 Public Administration cmru64
Chiang Mai, 50300

ICAMS - ศูนย์นวัตกรรมการจัดการธุรกิจการเกษตรเพื่อความยั่งยืน MAEJO ICAMS - ศูนย์นวัตกรรมการจัดการธุรกิจการเกษตรเพื่อความยั่งยืน MAEJO
คณะบริหารธุรกิจ มหาวิทยาลัยแม่โจ้ 63 หมู่ 4 ตำบลหนองหาร อำเภอสันทราย จังหวัดChiang Mai
Chiang Mai, 50290

เป็นศูนย์กลางในการประชาสัมพันธ์และจัดจำหน่ายผลิตภัณฑ์ นวัตกรรม เพื่อสร้างมูลค่าในเชิงพาณิชย์ของแม่โจ้

วารสารบัณฑิตพิจารณ์ด้านรัฐศาสตร์และรัฐประศาสนศาสตร์ มช. วารสารบัณฑิตพิจารณ์ด้านรัฐศาสตร์และรัฐประศาสนศาสตร์ มช.
คณะรัฐศาสตร์และรัฐประศาสนศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ 239 ถ. ห้วยแก้ว ต. สุเทพ อ. เมือง
Chiang Mai, 50200

วารสารบัณฑิตพิจารณ์ด้านรัฐศาสตร์แ?

Nathi Academy Nathi Academy
12/66 ม. 10
Chiang Mai, 50200