Pharmacology CMU

Pharmacology CMU

ตำแหน่งใกล้เคียง โรงเรียน

ภาควิชากายวิภาคศาสตร์ คณะแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่
ภาควิชากายวิภาคศาสตร์ คณะแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่
ภาควิชากายวิภาคศาสตร์ คณะแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ 110 ถ. อินทวโรรส ต. ศรีภูมิ
CERT Center - Official
CERT Center - Official
คณะแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ ๑๑๐ ถ. อินทวโรรส ต. ศรีภูมิ อ. เมือง จ. เชียงใหม่ ๕๐๒๐๐
Faculty of Medicine, Chiang Mai University
Faculty of Medicine, Chiang Mai University
Inthawarorot Street, Muang Chiang Mai
หน่วยทะเบียนและประเมินผลการศึกษา คณะแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่
หน่วยทะเบียนและประเมินผลการศึกษา คณะแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่
คณะแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ 110 ตำบลศรีภูมิ อำเภอเมือง
คณะแพทยศาสตร์  มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ (official)
คณะแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ (official)
อินทวโรรส ต. ศรีภูมิ, chiangmai
แพทยศาสตรศึกษา คณะแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ l MEDED CMU
แพทยศาสตรศึกษา คณะแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ l MEDED CMU
ถนนอินทวโรรส ตำบลศรีภูมิ, chiangmai

จัดการเรียนการสอนด้านเภสัชวิทยา

23/07/2024

สัมมนาเภสัชวิทยา หัวข้อ "Golden berry 4β-hydroxywithanolide E prevents tumor necrosis factor α-induced procoagulant activity with enhanced cytotoxicity against human lung cancer cells" โดย นางสาวณิชกานต์ พิมพ์ทอง [23 กรกฏาคม 2567]
---
มะเร็งปอดชนิด non-small cell lung cancer (NSCLC) เป็นชนิดที่พบได้มากที่สุดในมะเร็งปอดและมีอัตราการเสียชีวิตสูง โดยพบว่าอาการแทรกซ้อนของมะเร็งปอดที่เป็นสาเหตุที่นำไปสู่การเสียชีวิตคือการเกิดการลิ่มเลือดอุดตัน โดยพบว่าในน้ำเยื่อหุ้มปอดของคนไข้มะเร็งปอด NSCLC มีปริมาณ Tumor necrosis factor-α (TNF-α) อยู่มาก และ TNF-α เป็นตัวกระตุ้นการทำงานของ tissue factor (TF) ซึ่งเป็นตัวกระตุ้นการเกิดการแข็งตัวของเลือด ดังนั้นการมี TNF-α สูง จึงเป็นอีกหนึ่งสาเหตุที่ทำให้คนไข้ NSCLC มีอัตราการเกิดลิ่มเลือดอุดตันได้สูง ในการศึกษานี้จึงมุ่งทำการศึกษาสารที่มีฤทธิ์ในการสลายหรือป้องกันการเกิดลิ่มเลือด โดยเลือกสาร 4-hydroxywithanolide E (4HW) ซึ่งเป็นสารที่ได้จากเคพกูสเบอร์รี่ โดยทำการศึกษาดูฤทธิ์ของ 4HW ต่อการแสดงออกของ TF ทั้งระดับยีนส์และโปรตีนรวมถึงการทำงานของ TF โดยพบว่า 4HW สามารถลดระดับ TF ได้ และมีฤทธิ์เสริมกันเมื่อให้ร่วมกันกับ TNF-α นอกจากนี้ยังทำการศึกษาระดับ molecular พบว่า 4HW มีผลยับยั้งการทำงานของ NF-kB ทำให้เกิดการสร้าง TF, anti-apoptotic proteins ลดลง ดังนั้นการใช้ 4HW จึงอาจเป็นประโยชน์ต่อการป้องกันการเกิดลิ่มเลือดในคนไข้มะเร็งปอด NSCLC
---
Source: Hsieh KY, et al. Sci Rep. 2021;11(1):4610.

16/07/2024

สัมมนาเภสัชวิทยา หัวข้อ "Two Blends of Refined Rice Bran, Flaxseed, and Sesame Seed Oils Affect the Blood Lipid Profile of Chinese Adults with Borderline Hypercholesterolemia to a Similar Extent as Refined Olive Oil" โดย นางสาวศิรภัสสร ตันตยาคม [16 กรกฏาคม 2567]
---
งานวิจัยนี้ศึกษาผลของน้ำมันผสมสองสูตร ซึ่งประกอบด้วยน้ำมันรำข้าว น้ำมันเมล็ดแฟลกซ์ และน้ำมันงา ต่อโปรไฟล์ไขมันในเลือดของผู้ใหญ่ชาวจีนที่มีภาวะคอเลสเตอรอลในเลือดสูงเล็กน้อย และเปรียบเทียบกับน้ำมันมะกอกบริสุทธิ์โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาผลของการบริโภคน้ำมันผสมสองสูตร (สูตรที่ 1 และสูตรที่ 2) และน้ำมันมะกอกบริสุทธิ์ต่อโปรไฟล์ไขมันในเลือดของผู้ใหญ่ชาวจีนที่มีภาวะคอเลสเตอรอลในเลือดสูงเล็กน้อย โดยกลุ่มตัวอย่างถูกแบ่งออกเป็นสามกลุ่ม คือ กลุ่มที่บริโภคน้ำมันสูตรที่ 1 กลุ่มที่บริโภคน้ำมันสูตรที่ 2 และกลุ่มที่บริโภคน้ำมันมะกอกบริสุทธิ์ ระยะเวลาการศึกษาเป็นเวลา 8 สัปดาห์ การประเมินโปรไฟล์ไขมันในเลือดได้แก่ คอเลสเตอรอลรวม (TC) คอเลสเตอรอลชนิดความหนาแน่นต่ำ (LDL-C) คอเลสเตอรอลชนิดความหนาแน่นสูง (HDL-C) และไตรกลีเซอไรด์ (TG) ซึ่งผลของการศึกษา โปรไฟล์ไขมันในเลือด ทั้งสามกลุ่มมีการลดลงของ TC, LDL-C และ TG ในระดับที่ใกล้เคียงกัน ในขณะที่ HDL-C มีการเพิ่มขึ้นในทุกกลุ่ม และผลของการบริโภคน้ำมันผสมทั้งสองสูตรนั้นมีประสิทธิภาพใกล้เคียงกับน้ำมันมะกอกบริสุทธิ์ในการปรับปรุงโปรไฟล์ไขมันในเลือด น้ำมันผสมสองสูตรที่ประกอบด้วยน้ำมันรำข้าว น้ำมันเมล็ดแฟลกซ์ และน้ำมันงามีผลในการปรับปรุงโปรไฟล์ไขมันในเลือดของผู้ใหญ่ชาวจีนที่มีภาวะคอเลสเตอรอลในเลือดสูงเล็กน้อยอย่างมีประสิทธิภาพเช่นเดียวกับน้ำมันมะกอกบริสุทธิ์ การบริโภคน้ำมันเหล่านี้อาจเป็นทางเลือกที่ดีสำหรับการควบคุมระดับไขมันในเลือด
---
Source: Haldar S, et al. J Nutr. 2020;150(12):3141-3151.

09/07/2024

รายงานความก้าวหน้าวิทยานิพนธ์ (Progress report) ของนักศึกษาบัณฑิต [9 กรกฏาคม 2567]
---
1. นางสาวกมลฉัตร ยงศิริ
---

03/07/2024

สัมมนาเภสัชวิทยา หัวข้อ " Anti-inflammatory signaling by mammary tumor cells mediates prometastatic macrophage polarization in an innovative intraductal mouse model for triple-negative breast cancer" โดย นางสาวธัญญธร ยิ้มสู้ [2 กรกฏาคม 2567]
---
การศึกษานี้เป็นการศึกษาในโรคมะเร็งเต้านม ชนิด triple-negative breast cancer (TNBC) ซึ่งเป็นการศึกษาเพื่อหาสัญญาณการต่อต้านการอักเสบ (Anti-inflammatory signaling) จากการเกิด macrophage polarization (M1 เป็น M2 macrophage) โดยหน้าที่หลักของ M1 จะเป็นการ proinflammatory ที่ช่วยในการกระตุ้นภูมิคุ้มกันของร่างกาย ช่วยต่อต้านมะเร็งและทำให้เกิด apoptosis เกิดขึ้นในเซลล์มะเร็งได้ ในขณะเดียวกัน M2 จะทำหน้าที่ตรงกันข้ามกับ M1 โดยทำให้เกิดการกดภูมิคุ้มกันและส่งผลให้เซลล์มะเร็งเจริญเติบโตอย่างรวดเร็วและเข้าสู่ระยะการแพร่กระจาย (Metastasis) โดยการศึกษานี้ได้จำลองโมเดลในหนูเม้าส์โดยการใช้เซลล์มะเร็งเต้านมชนิด 4T1 ซึ่งเป็นเซลล์มะเร็งชนิด TNBC จากหนูเม้าส์ที่เป็นมะเร็งระยะแพร่กระจาย และกลุ่มที่ให้ 4T1 ร่วมกับ RAW264.7 macrophage โดยทำการเหนี่ยวนำมะเร็งเข้าสู่ท่อน้ำนมของหนูผ่านทางเต้านมโดยตรงเพื่อให้สัตว์เกิดเป็นมะเร็งที่อวัยวะเป้าหมายโดยตรง โดยทำการติดตามการเจริญเติบโตของมะเร็งโดยการถ่ายภาพ Bioluminescence เป็นเวลา 5 สัปดาห์ และทำการเก็บตัวอย่างก้อนมะเร็ง ต่อมน้ำเหลือง ปอด ซึ่งเป็นอวัยวะเป้าหมายของการแพร่กระจาย และ ม้าม เพื่อดูการย้อมสีเนื้อเยื่อและตรวจดูระดับ cytokine และโปรตีนที่มีความเกี่ยวข้องกับ M1 และ M2 macrophage ผลการทดลองพบว่ากลุ่มที่ให้ 4T1 ร่วมกับ RAW264.7 macrophage จะพบการแพร่กระจายของเซลล์มะเร็งไปยังต่อมน้ำเหลืองและปอด ได้รุนแรงกว่ากลุ่มที่ 4T1 โดยพบว่าในระยะเริ่มต้น 3 สัปดาห์กลุ่ม 4T1+ RAW264.7 macrophage ตรวจพบ M1-related cytokine สูง และลดต่ำลงในสัปดาห์ที่ 5 ที่เกิดการแพร่กระจายของเซลล์มะเร็ง (Metastasis) ในขณะที่สัปดาห์ที่ 5 พบ M2-related cytokine สูง และ M1-related cytokine ต่ำ แสดงให้เห็นถึงการเกิด macrophage polarization (M1 เป็น M2 macrophage) ในระยะการแพร่กระจายของเซลล์มะเร็ง ซึ่งเป็นการยืนยันกลไกว่าการได้รับ macrophage ส่งผลให้เกิดเหตการณ์ดังกล่าวขึ้น
ดังนั้นการศึกษาครั้งนี้สามารถยืนยันกลไกการเกิด Metastasis จากการเกิด macrophage polarization และยังเป็นเป้าหมายสำคัญในการพัฒนาการวิธีการรักษาโดย immunotherapy ใน TNBC อาทิเช่น Inhibiting TAMs recruitment, TAMs depletion และ Reversing the polarization of TAMs เป็นต้น
---
Source: Steenbrugge J, et al. J Exp Clin Cancer Res. 2018; 37(1):191.

29/06/2024

ภาควิชาเภสัชวิทยา คณะแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ เปิดรับสมัคร "แพทย์ใช้ทุน" ปีการฝึกอบรม 2568

นักศึกษาแพทย์ ปี 6 ที่สนใจ ติดต่อสอบถามเพิ่มเติมได้ที่ อีเมล [email protected] (รศ.ดร.นพ.ณัฐ คูณรังษีสมบูรณ์)

ภายในวันที่ 26 กรกฎาคม 2567

25/06/2024

สัมมนาเภสัชวิทยา หัวข้อ "Punicalagin Alleviates Psoriasis by Inhibiting NF-κB-Mediated IL-1β Transcription and Caspase-1-Regulated IL-1β Secretion" โดย นางสาวจตุพร พลหิรัญ [25 มิถุนายน 2567]
---
โรคสะเก็ดเงินเป็นโรคผิวหนังเรื้อรังและอักเสบ โดยมีลักษณะการอักเสบและการเกิดภาวะผิวหนังชั้นนอกหนาเกิน (Epidermal Hyperplasia) Punicalagin (PUN) เป็นส่วนผสมออกฤทธิ์หลักของเปลือกทับทิม (Punica granatum L.) ซึ่งมีฤทธิ์ทางชีวภาพหลายอย่าง เช่น มีฤทธิ์ต้านแบคทีเรีย สารต้านอนุมูลอิสระ และต่อต้านเนื้องอก ในการศึกษานี้ต้องการตรวจสอบผลทางเภสัชวิทยาของ PUN ต่อโรคสะเก็ดเงินโดยใช้แบบจำลองหนูสะเก็ดเงินที่เกิดจาก imiquimod (IMQ) แบ่งหนูเป็น 5 กลุ่ม 1.Control group ทา Vaseline, 2.ทา IMQ cream (5%), 3.ทา Dexamethasone cream, 4.ทา Vehicle gel, 5.ทา Punicalagin gel และนำ tumor necrosis factor a (TNF-α) และ interleukin-17A (IL-17A) กระตุ้นเซลล์ Keratinocyte (HaCaT cells) ในหลอดทดลอง ผลการวิจัยพบว่า PUN สามารถบรรเทาความรุนแรงของอาการคล้ายโรคสะเก็ดเงินได้อย่างมีประสิทธิภาพ ในทางกลไก PUN ยับยั้ง interleukin-1β (IL-1β) ได้อย่างมีประสิทธิภาพและสารอักเสบที่เป็นสื่อกลางของ IL-1βที่ตามมาใน keratinocytes โดยการยับยั้งการกระตุ้นปัจจัย nuclear factor kappa B (NF-κB) และการแสดงออก caspase-1 ที่แยกออก ในหลอดทดลอง และ ในร่างกาย เมื่อนำมารวมกัน การค้นพบของเราระบุว่า PUN สามารถบรรเทาอาการโรคสะเก็ดเงินได้โดยการกดการถอดรหัส IL-1β ที่เป็นสื่อกลางของ NF-κB และการหลั่ง IL-1β ที่ควบคุมด้วย caspase-1 ซึ่งแสดงว่า PUN มีแนวโน้มในการรักษาโรคสะเก็ดเงิน
---
Source: Tang L, et al. Front Pharmacol. 2022;13:817526.

13/05/2024

🔔 นับถอยหลัง 3 วันสุดท้ายก่อนหมดเขตลงทะเบียนในวันที่ 15 พฤษภาคม 2567
📍 สามารถลงทะเบียนหรือดูรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ https://w2.med.cmu.ac.th/cr-fah/ประชาสัมพันธ์

Photos from Clinical Research Center for Food and Herbal Product Trials and Development's post 17/04/2024

ขอเชิญชวนทุกท่านเข้าร่วมอบรมเรื่อง “Clinical Trial Management & Monitoring Master Class 2024” ครั้งที่ 1 ประจำปี 2567 ในวันที่ 23 – 24 พฤษภาคม 2567

01/04/2024

🔔นับถอยหลัง 12 วันสุดท้ายก่อนหมดเขตลงทะเบียนแบบ early bird registration ในวันที่ 12 เมษายน 2567
📍สามารถลงทะเบียนได้ที่ https://w2.med.cmu.ac.th/cr-fah/ประชาสัมพันธ์

16/03/2024

ภาควิชาเภสัชวิทยา คณะแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ เปิดรับสมัคร "อาจารย์"

สนใจติดต่อสอบถามรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ [email protected]

และดูรายละเอียดและสมัครได้ที่ https://mis.med.cmu.ac.th/jobsm.../index.php/jobs/detail/379

ภาควิชาเภสัชวิทยา คณะแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ เปิดรับสมัคร "อาจารย์"

สนใจติดต่อสอบถามรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ [email protected]

และดูรายละเอียดและสมัครได้ที่ https://mis.med.cmu.ac.th/jobsmedcmu/index.php/jobs/detail/379

01/03/2024

ภาควิชาเภสัชวิทยา คณะแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ เปิดรับสมัคร "อาจารย์"

สนใจติดต่อสอบถามรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ [email protected]
และดูรายละเอียดและสมัครได้ที่ https://mis.med.cmu.ac.th/jobsm.../index.php/jobs/detail/379

ภาควิชาเภสัชวิทยา คณะแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ เปิดรับสมัคร "อาจารย์"

สนใจติดต่อสอบถามรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ [email protected]

และดูรายละเอียดและสมัครได้ที่ https://mis.med.cmu.ac.th/jobsmedcmu/index.php/jobs/detail/379

Photos from Pharmacology CMU's post 29/02/2024

กิจกรรม ภาควิชาเภสัชวิทยา
ภาควิชาวิศวกรรมคอมพิวตอร์ คณะวิศวกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ นำนักศึกษาชั้นปีที่ 4 เข้าศึกษาดูงานด้านชีวสารสนเทศและเภสัชวิทยาโมเลกุล ณ หน่วยวิจัยเภสัชวิทยาโมเลกุล ในวันพฤหัสบดีที่ 29 กุมภาพันธ์ 2567 โดยมี รศ.ดร.พญ.ศรัณยภิญ โพธิกานนท์, รศ.ดร.วุฒิไกร นิ่มละมูล, ผศ.ดร.นิตวรา วิกัน ร่วมให้ความรู้และแลกเปลี่ยนประสบการณ์

27/02/2024

สัมมนาเภสัชวิทยา หัวข้อ "Effect of a probiotic formula on gastrointestinal health, immune responses and metabolic health in adults with functional constipation or functional diarrhea" โดย นางสาวกมลฉัตร ยงศิริ [27 กุมภาพันธ์ 2567]
---
ในผู้ที่มีปัญหาในระบบทางเดินอาหารเช่น Functional constipation (FC) และ functional diarrhea (FDr) นั้น มีความสัมพันธ์เกี่ยวข้องกับภาวะ Dysbiosis หรือแบคทีเรียในลำไส้ไม่สมดุล ทำให้มีอาการในระบบทางเดินอาหารและยังส่งผลให้มีภาวะวิตกกังวลหรือเครียดได้ จึงได้มีการศึกษาแบบ Two randomized sub-trials เพื่อดูผลของอาหารเสริมโปรไบโอติกเป็นเวลาสี่สัปดาห์ที่มีต่อสุขภาพทางเดินอาหาร การตอบสนองทางภูมิคุ้มกัน การควบคุมน้ำหนัก และระบบเผาผลาญของร่างกาย ในอาสาสมัครที่ได้รับการวินิจฉัยว่ามีภาวะ FC และ FDr. ผลการศึกษาพบว่าอาหารเสริมโปรไบโอติกลดอาการที่เกี่ยวข้องกับทางเดินอาหารโดยรวมในอาสาสมัคร FC ช่วยปรับภูมิคุ้มกัน ลดสารภูมิคุ้มกันในกระบวนการอักเสบและลดไขมันอย่างคลอเลสเตอรอลและไตรกลีเซอไรด์ ขณะที่อาสาสมัคร FDr การบริโภคโปรไบโอติกลดอาการที่เกี่ยวข้องกับทางเดินอาหารโดยรวม ลดความถี่การถ่าย เพิ่มความเข้มข้นของ IgA, IFN-γ, sIgA และลดระดับ hsCRP และ IL-4 สรุปได้ว่าว่าการเสริมอาหารโปรไบโอติกช่วยปรับปรุงสภาพแวดล้อมชุมชนแบคทีเรียภายในลำไส้ ช่วยบรรเทาอาการที่เกิดจากทางเดินอาหาร ปรับพฤติกรรมการขับถ่ายและสุขภาพจิตให้ดีขึ้น และยังปรับการตอบสนองทางภูมิคุ้มกันอีกด้วย
---
Source: Zheng Y, et al. Front Nutr. 2023;10:1196625.

Photos from Pharmacology CMU's post 20/02/2024

รายงานความก้าวหน้าวิทยานิพนธ์ (Progress report) ของนักศึกษาบัณฑิต [20 กุมภาพันธ์ 2567]
---
1. นางสาวจตุพร พลหิรัญ
2. นางสาวศิรภัสสร ตันตยาคม
---

15/02/2024

สัมมนาเภสัชวิทยา หัวข้อ "In Vivo Investigation of the Effect of Dietary Acrylamide and Evaluation of Its Clinical Relevance in Colon Cancer" โดย นางสาวธัญญธร ยิ้มสู้ [13 กุมภาพันธ์ 2567]
---
การศึกษาผลของสาร Acrylamide ในสัตว์ทดลองต่อการเกิดโรคมะเร็งลำไส้ใหญ่ที่มีความสอดคล้องกับผลทางคลินิกในตัวอย่างเซลล์มะเร็งลำไส้ใหญ่ในมนุษย์ การศึกษาครั้งนี้ต้องการดูผลของสาร Acrylamide ซึ่งเป็นสารที่เกิดจะกระบวนการประกอบอาหารพวกกลุ่มคาร์โบไฮเดรตที่มีความสูงจึงทำให้ได้สารเคมีชนิด Acrylamide โดยสารดังกล่าวสามารถถูกเมตาบอไลซ์โดย เอนไซม์ CYP2E1 ให้เป็นสาร Glycelamide ที่มีผลทำให้ DNA ของสิ่งมีชีวิตแตกหักและก่อให้เกิดมะเร็งได้ จึงมีการศึกษาในสัตว์ทดลองโดยทำการให้สาน AA แก่สัตว์ทดลองที่ขนาด 0.1 mg/kg เป็นเวลา 4 สัปดาห์ และทำการดูการแสดงออกของกลุ่มยีนส์ที่มีความเปลี่ยนแปลงที่เนื้อเยื่อลำไส้ใหญ่ พบว่ามีการเพิ่มขึ้นของระดับโปรตีน โดยเฉพาะในกลุ่มของ Ribosome Protein (RP) ซึ่งเกี่ยวข้องกับกระบวนสังเคราะห์โปรตีนที่เกี่ยวข้อง 3 pathways หลักได้แก่ NMD, L13a และ SRP โดยผลสอดคล้องกับฐานข้อมูลในเซลล์มะเร็งลำไส้ใหญ่ของมนุษย์ที่มีการแสดงออกของยีนส์ โดยเฉพาะ RPS15 RPL11 RPL18 และ RPL36 โดยการแสดงออกของยีนส์กลุ่มดังกล่าวที่มาก ยังเกี่ยวข้องกับระยะเวลาการมีชีวิต (Overall survival time) ที่น้อยลงของผู้ป่วยด้วยเช่นกัน โดยการศึกษาในครั้งนี้ทำให้รู้กลไกการเกิดมะเร็งลำไส้ใหญ่ในระยะเริ่มต้นจากการได้รับ AA และยังสามารถข้อมูลการแสดงออกของยีนส์ไปใช้สำหรับเป็น bio marker ในอนาคตได้ต่อไป
---
Source: Neophytou CM, et al. Toxics. 2023;11(10):856.

Photos from Pharmacology CMU's post 31/01/2024

ผลงานวิชาการของนักศึกษาภาควิชาเภสัชวิทยา

ขอแสดงความยินดีกับนักศึกษา ภาควิชาเภสัชวิทยา ที่ได้รับรางวัลดังนี้

Dr.Bing Tan นักศึกษาปริญญาเอก ได้รับเกียรติบัตรสำเร็จการศึกษาตามระยะเวลาที่ สกอ.กำหนด และได้รับรางวัลตีพิมพ์ผลงานวิชาการในวารสารที่มี ค่า impact factor มากกว่า 2.00 โดยได้ IF 5.449 มี รศ.ดร.ณัฏฐกานติ์ จิรัณธนัฐ เป็นอาจารย์ที่ปรึกษา

โดยรางวัลทั้ง 2 นี้ได้มอบในงานเลี้ยงฉลองให้กับดุษฏีบัณฑิตและมหาบัณฑิต คณะแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ วันที่ 25 มกราคม 2567

24/01/2024

สัมมนาเภสัชวิทยา หัวข้อ "Long-term PM2.5 exposure increases the risk of non-small cell lung cancer (NSCLC) progression by enhancing interleukin-17a (IL-17a)-regulated proliferation and metastasis" โดย นางสาวจตุพร พลหิรัญ [23 มกราคม 2567]
---
มะเร็งปอดเป็นหนึ่งในสาเหตุหลักของการเสียชีวิตจากการเป็นมะเร็งของคนทั่วโลก พบชนิด Non-small lung cancer (NSCLC) มากถึง 80% ของมะเร็งปอด ใน 5 ปีมีอัตราการรอดชีวิตเพียง 15% ซึ่งหนึ่งในสาเหตุเกิดจากมลพิษทาง อากาศ PM2.5 กลุ่มอนุภาคและหยดในอากาศที่มีระดับสูงอย่างต่อเนื่องในปัจจุบัน การศึกษาทางระบาดวิทยาระบุว่า PM2.5 มีความสัมพันธ์อย่างใกล้ชิดกับการเจ็บป่วยและการเสียชีวิตของโรคมะเร็งปอดที่เพิ่มขึ้นในโลก ในการศึกษานี้สำรวจ บทบาทของ PM2.5 ในสาเหตุของ NSCLC พบว่าการสัมผัส PM2.5 ในระยะยาวทำให้เกิดการบาดเจ็บที่ปอดอย่างมาก การ เปลี่ยนแปลงของเยื่อบุผิว-มีเซนไคมัล (EMT) และเซลล์ต้นกำเนิดมะเร็ง (CSC) ได้รับการกระตุ้นอย่างมากจากการสัมผัสกับ PM2.5 EMT ได้รับการพิสูจน์โดยการควบคุมที่สำคัญของ MMP2, MMP9, TGF-β1, α-SMA, Fibronectin และ Vimentin การลุกลามของมะเร็งปอดสัมพันธ์กับการแสดงออกที่เพิ่มขึ้นของ Kras, c-Myc, โปรตีนต้านทานมะเร็งเต้านม BCRP (ABCG2), OCT4, SOX2 และ Aldh1a1 แต่การแสดงออกที่ลดลงของ p53 และ PTEN ที่สำคัญ หนูที่มี IL-17a น็อก เอาต์ (IL-17a) แสดงอาการบาดเจ็บที่ปอดและคุณสมบัติ CSC บรรเทาลงอย่างมีนัยสำคัญหลังจากได้รับ PM2.5 นอกจากนี้ การเจริญเติบโตของเนื้องอกที่ถูกลดทอนของ IL-17a ยังได้รับการกู้คืนในหนูที่ได้รับ PM2.5 ที่ถูกฉีดด้วยเมาส์ชนิดรีคอม บิแนนท์ IL-17a พร้อมด้วยการแพร่กระจายของปอดที่ได้รับการฟื้นฟูอย่างมีนัยสำคัญ เมื่อนำมารวมกัน ข้อมูลเหล่านี้เผยให้เห็นว่า PM2.5 สามารถส่งเสริมการลุกลามของมะเร็งปอดได้โดยการเพิ่มการแพร่กระจายและการแพร่กระจายผ่านการส่ง
สัญญาณ IL-17a
---
Source: Chao X, et al. Aging (Albany NY). 2020;12(12):11579-11602.

Photos from Pharmacology CMU's post 24/01/2024

กิจกรรม ภาควิชาเภสัชวิทยา
กิจกรรม Open House ครั้งที่ 3 กระบวนวิชาบทนำวิจัยวิทยาศาสตร์สุขภาพ (Introductory Biomedical Science Research : BMR) ประจำปีการศึกษา 2566 (เภสัชวิทยา) วันอังคารที่ 23 มกราคม 2567

12/01/2024

รศ.ดร.นพ.ศุภนิมิต ทีฆชุณหเถียร และ รศ.ดร.พญ.ศรัณยภิญ โพธิกานนท์ ภาควิชาเภสัชวิทยา รับมอบของขวัญอวยพรปีใหม่ 2567 จากอาจารย์อมรเลิศ พันธ์วัตร์ พร้อมด้วยคณะ จากคณะพยาบาลศาสตร์ มหาวิทยาลัยแม่โจ้ [12 มกราคม 2567]

04/01/2024

ภาควิชาเภสัชวิทยา คณะแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ เปิดรับสมัคร "อาจารย์"

สนใจติดต่อสอบถามรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ [email protected]

และดูรายละเอียดและสมัครได้ที่ https://mis.med.cmu.ac.th/jobsmedcmu/index.php/jobs/detail/379

03/01/2024

สัมมนาเภสัชวิทยา หัวข้อ "Network Meta-Analysis of Randomized Trials Evaluating the Comparative Efficacy of Lipid-Lowering Therapies Added to Maximally Tolerated Statins for the Reduction of Low-Density Lipoprotein Cholesterol" โดย นางสาวศิรภัสสร ตันตยาคม [2 มกราคม 2567]
---
โรคไขมันในเลือดสูง หรือ Dyslipidemia เป็นสาเหตุสำคัญที่ทำให้เกิดโรคทางหลอดเลือดหัวใจ หรือ atherosclerotic cardiovascular disease การลดระดับ Low-density lipoprotein cholesterol (LDL-C) จะช่วยลดการเกิดโรคหลอดเลือดหัวใจได้ และแนะนำสำหรับผู้ป่วยที่มีความเสี่ยงต่อโรคหลอดเลือดหัวใจสูง อย่างไรก็ตาม การใช้ยากลุ่มStatin ในปริมาณที่เหมาะสมมักไม่เพียงพอที่จะลด LDL-C ตามแนวทางปัจจุบัน จึงเสริมการรักษาด้วยการลดไขมันแบบ Nonstatin ในการศึกษานี้มีการทำ Systematic literature review และ Network Meta-analysis โดยการรวบรวมงานวิจัยที่รักษาด้วยยาลดไขมันแบบ Nonstatin ที่เพิ่มเข้ากับยากลุ่ม statin ที่ทนได้สูงสุด รวมถึงผู้ป่วยที่แพ้ยากลุ่ม statin วัตถุประสงค์หลักคือเพื่อประเมินประสิทธิภาพสัมพัทธ์ของการรักษาด้วยการลดไขมันแบบ nonstatin ในการลดระดับ LDL-C ในสัปดาห์ที่ 12 วัตถุประสงค์รอง ได้แก่ การลดระดับ LDL-C ในสัปดาห์ที่ 24 และการเปลี่ยนแปลงของ Non-high-density lipoprotein cholesterol และ Apolipoprotein B ในสัปดาห์ที่ 12 มีการทดลองแบบสุ่มที่มีกลุ่มควบคุม 48 เรื่องที่รวมอยู่ในการวิเคราะห์ Evolocumab 140 มก. ทุก 2 สัปดาห์ (Q2W)/420 มก. เดือนละครั้ง และ alirocumab 150 มก. Q2W เป็นวิธีการรักษาที่มีประสิทธิภาพมากที่สุด รองลงมาคือ alirocumab 75 มก. Q2W alirocumab 300 มก. เดือนละครั้ง , Inclisiran , Bempedoic acid/ezetimibe fixed-dose combination และBempedoic acid และezetimibe สรุปคือ Evolocumab 140 มก. ทุก 2 สัปดาห์ (Q2W)/420 มก. เดือนละครั้ง และ alirocumab 150 มก. ทุก 2 สัปดาห์ (Q2W) เป็นวิธีการรักษาแบบ nonstatin ที่มีประสิทธิภาพมากที่สุดอย่างต่อเนื่องเมื่อใช้ในคนไข้ statin tolerated เพื่อลด LDL-C, non-high-density lipoprotein cholesterol และ apolipoprotein B
---
Source: Toth PP, et al. J Am Heart Assoc. 2022;11(18):e025551.

19/12/2023

สัมมนาเภสัชวิทยา หัวข้อ "Combination of Kaempferol and Docetaxel Induces Autophagy in Prostate Cancer Cells In Vitro and In Vivo" โดย นางสาวธัญญธร ยิ้มสู้ [19 ธันวาคม 2566]
---
การใช้ Doxetaxel ร่วมกับ Kaempherol เหนี่ยวนำให้เกิดการตายของเซลล์มะเร็งต่อมลูกหมากแบบกระบวนการ autophagy ในหลอดทดลองและสิ่งมีชีวิต มะเร็งต่อมลูกหมากเป็นมะเร็งที่พบมากในผู้ชายเป็นอันดับ 2 และเป็นสาเหตการตายของมะเร็งเป็นอันดับ 5 ของโลก โดยกระบวนการรักษามะเร็งโดยทั่วไปยังคงพบผลข้างเคียงของการรักษาและการดื้อยาอย่างต่อเนื่อง โดยในผู้ที่เป็นมะเร็งต่อมลูกหมากระยะแพร่กระจายมีการใช้ยา Docetaxel เป็นยาแรกในการรักษามะเร็งแต่พบว่ามีการเกิดการดื้อยาและผลข้างเคียงที่ค่อนข้างรุนแรง เช่น เม็ดเลือดขาวถูกทำลาย และภาวะการแพ้ยา ในงานวิจัยนี้จึงพิจารณาการนำสารสกัดจากธรรมชาติ Kaempherol ซึ่งเป็นสารที่กลุ่มฟลาโวนอยด์ที่พบในพืชหลายชนิด เช่น ชาดำ ผักเคล บร็อคเคอรี่ ผักขม เป็นต้น มาใช้ในการศึกษาร่วมกับยา Docetaxel จากผลการทดลองในหลอดทดลอง พบว่าการทดสอบการก่อตัวของโคโลนี (Plate colony formation) ในกลุ่มที่ให้การร่วมกันระหว่าง Doxetaxel และ Kaempherol มีการอยู่รอดของเซลล์น้อยกว่าการให้ docetaxel เพียงตัวเดียวและมีการแสดงออกของโปรตีนที่บ่งชี้ถึงการเกิดกระบวนการ autophagy ได้แก่ L3-II/LC3-I ratio และ p62 เพิ่มสูงขึ้นในกลุ่มที่ใช้ยาร่วมกัน ซึ่งสอดคล้องกับการทดลองในสัตว์ทดลอง ในกลุ่มที่มีการใช้สารร่วมกันสามารถลดขนาดก้อนเนื้องอกได้ และมีโปรตีนที่บ่งชี้ถึงการเกิดกระบวนการ autophagy เพิ่มขึ้น เช่นกัน ได้แก่ LC3, L3-II/LC3-I ratio และ Beclin1 โดยมีการทดสอบ Beta-catenin ที่มีค่าสูงขึ้นซึ่งเป็นการยืนยันว่ากลุ่มที่ใช้ยาร่วมกันไม่ได้กระตุ้นผ่านทาง Apoptosis
จากการศึกษาในครั้งนี้แสดงให้เห็นถึงกลยุทธ์ใหม่ในการเลือกใช้ยา Docetaxel 1 mg/kg ร่วมกับสาร Kaemperol 10 mg/kg เพื่อในใช้การรักษาโรคมะเร็งต่อมลูกหมากได้ทั้งในระดับหลอดทดลองและสัตว์ทดลองต่อไป
---
Source: Zhou Q, et al. Int J Mol Sci. 2023;24(19):14519.

30/11/2023

สัมมนาเภสัชวิทยา หัวข้อ "Regular Consumption of Biovalorized Okara-Containing Biscuit Improves Circulating Short-Chain Fatty Acids and F***l Bile Acids Concentrations by Modulating the Gut Microbiome: A Randomized Controlled Crossover Trial" โดย นางสาวสธนพร แหลมคม [28 พฤศจิกายน 2566]
---
การศึกษาเปรียบเทียบการกินบิสกิสผสม Biovalorized Okara ส่งผลต่อความเข้มข้นของสาร Short-Chain Fatty Acids and F***l Bile Acids โดยการปรับสมดุลแบคทีเรียในทางเดินอาหาร ซึ่งศึกษาในกลุ่มผู้มีอายุ 50-75 ปีทั้งชายและหญิง โดยให้รับประทานบิสกิสที่มีส่วนผสมของ Biovalorized Okara, บิสกิสที่ผสมเฉพาะ Okara และบิสกิสทั่วไป เป็นเวลา 21 วัน พบว่า ค่าของ Short-Chain Fatty Acids เพิ่มขึ้นอย่างมีนัยสำคัญและแบคทีเรียในลำไส้มีการเปลี่ยนแปลงอย่างมีนัยสำคัญ อาการไม่พึ่งประสงค์ที่เกิดจากการกินบิสกิส เช่น อาการมวนท้องและอาการท้องอืดเล็กน้อย
---
Source: Lee DPS. et al. Mol Nutr Food Res. 2023;67(13):e2200756.

06/10/2023

ภาควิชาเภสัชวิทยา คณะแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่

รับสมัครผู้ช่วยวิจัย ป.โท ที่สนใจทำวิจัยทางด้าน Pharmacology, Toxicology, Molecular genetics and genomics รับผิดชอบงานในแลปต่างๆตามที่ระบุไว้ในโปสเตอร์

สามารถส่ง CV หรือสอบถามรายละเอียดได้ในอีเมล์ที่ระบุไว้

ตั้งแต่วันนี้จนถึงวันที่ 20 ตุลาคม 2566

03/10/2023

สัมมนาเภสัชวิทยา หัวข้อ "Association of Early Norepinephrine Administration With 24-Hour Mortality Among Patients With Blunt Trauma and Hemorrhagic Shock" โดย นางสาวจตุพร พลหิรัญ [3 ตุลาคม 2566]
---
Hemorrhagic shock เป็นสาเหตุของการเสียชีวิตหลังได้รับบาดเจ็บที่ป้องกันได้ โดยการให้ยา Norepinephine ตั้งแต่เนินๆ กระตุ้นการหดตัวกล้ามเนื้อหลอดเลือด (Vasopressor) ในกลุ่มผู้ป่วย Blunt trauma and hemorrhagic shock เพื่อประเมินความสัมพันธ์ระหว่างการให้ยาและอัตราการเสียชีวิตทั้งในและนอกโรงพยาบาลใน 24 ชั่วโมง โดยศึกษาข้อมูลเชิงสังเกตการณ์แบบย้อนหลัง (retrospective, multicenter, observational cohort study) จาก 3 สำนักทะเบียนในสหรัฐอเมริกาและฝรั่งเศส; TraumaBase, TRENAU (Trauma System of the Northern French), RACSTC (R Adams Cowley Shock Trauma Center) พบว่าการให้ Norepinephine ตั้งแต่เนินๆ ไม่สัมพันธ์กับอัตราการเสียชีวิตที่เพิ่มขึ้นในผู้ป่วย Blunt trauma and hemorrhagic shock อย่างไรก็ตามด้วยความซับซ้อนทาง pathophysiology of hemorrhage ยังมีความจำเป็นสำหรับศึกษา multicenter studies ที่เกี่ยวข้องกับ clinical ของหารให้ยา กระตุ้นการหดตัวกล้ามเนื้อหลอดเลือด (Vasopressor) ตั้งแต่เนินๆ ในผู้ป่วย trauma and hemorrhagic shock
---
Source: Gauss T, et al. JAMA Netw Open. 2022;5(10):e2234258

27/09/2023

สัมมนาเภสัชวิทยา หัวข้อ "Effects of tranexamic acid on death, disability, vascular occlusive events and other morbidities in patients with acute traumatic brain injury (CRASH-3): a randomised, placebo-controlled trial" โดย นางสาวศิรภัสสร ตันตยาคม [26 กันยายน 2566]
---
Traumatic brain injury เป็นปัญหาสุขภาพขนาดใหญ่ ทุกๆปีจะมีคนไข้เสียชีวิตจากการบาดเจ็บที่สมองมากถึง 50,000 ราย การบาดเจ็บทางสมองเกิดได้จากหลายสาเหตุ เช่น การบาดเจ็บจากอุบัติเหตุทางจักรยานยนต์ ตกจากที่สูง เป็นต้น Tranexamic acid ช่วยลดเลือดออกจากการผ่าตัดและลดอัตราการเสียชีวิตในผู้ป่วยที่มีเลือดออกนอกกะโหลกศีรษะ จึงนำไปสู่การทดลองทางคลินิคแบบสุ่ม (Randomized and double-blind clinical trial) เพื่อทดสอบหาประสิทธิภาพของยา Tranexamic acid ในคนไข้ที่บาดเจ็บทางสมอง เพื่อดูประสิทธิภาพในการลดอัตราการเสียชีวิต วิธีการ การทดลองแบบสุ่มและมีกลุ่มควบคุมด้วยยาหลอกนี้ดำเนินการในโรงพยาบาล 175 แห่งใน 29 ประเทศ ผู้ใหญ่ที่มีอาการ TBI ซึ่งได้รับบาดเจ็บภายใน 3 ชั่วโมง มีคะแนน Glasgow Coma Scale (GCS) 12 หรือต่ำกว่า หรือมีเลือดออกในกะโหลกศีรษะในการสแกน CT scan และไม่มีภาวะเลือดออกนอกกะโหลกศีรษะ ได้มีการสุ่มผู้ป่วย (1:1) ให้ได้รับกรด tranexamic (ขนาดบรรจุ 1 กรัมมากกว่า 10 นาที จากนั้นให้ฉีดเข้าเส้นเลือด 1 กรัม ภายใน 8 ชั่วโมง) หรือยาหลอกคู่กัน การรักษาตั้งแต่เนิ่นๆ มีประสิทธิภาพมากกว่าการรักษาในภายหลังในผู้ป่วยที่มีศีรษะไม่รุนแรงถึงปานกลาง ได้รับบาดเจ็บ (p=0.005) แต่ระยะเวลาในการรักษาไม่มีผลชัดเจนในผู้ป่วยที่มีอาการบาดเจ็บที่ศีรษะรุนแรง (p=0.73) ความเสี่ยงของเหตุการณ์การอุดตันของหลอดเลือดมีความคล้ายคลึงกันในกลุ่มกรด tranexamic และกลุ่มยาหลอก RR 0.98 (0.74-1.28) ผลลัพธ์แสดงให้เห็นว่ากรด tranexamic ปลอดภัยในผู้ป่วยที่เป็นโรค TBI และการรักษาภายใน 3 ชั่วโมงหลังการบาดเจ็บจะช่วยลดการเสียชีวิตจากการบาดเจ็บที่ศีรษะได้ ผู้ป่วยควรได้รับการรักษาโดยเร็วที่สุด หลังได้รับบาดเจ็บ
---
Source: Lancet. 2019;394(10210):1713-1723.

19/09/2023

รายงานความก้าวหน้าวิทยานิพนธ์ (Progress report) ของนักศึกษาบัณฑิต [19 กันยายน 2566]
---
1. นางสาวณิชกานต์ พิมพ์ทอง
---

Photos from Pharmacology CMU's post 14/09/2023

ภาควิชาเภสัชวิทยา รับการตรวจประเมินคุณภาพองค์กรภายในคณะฯ ประจำปี 2566
โดยได้รับเกียรติจาก ผศ.นพ.สิทธิชา สิริอารีย์, อ.นพ.กสิสิน กลั่นกลิ่น, รศ.พญ.วิมล ศิริมหาราช, รศ.ดร.นพ.บวร วิทยชำนาญกุล และ คุณมะลิวรรณ หินทอง เป็นผู้ตรวจประเมินฯ
[13 กันยายน 2566]

ต้องการให้ธุรกิจของคุณ ธุรกิจ ขึ้นเป็นอันดับหนึ่ง โรงเรียน ใน Chiang Mai?
คลิกที่นี่เพื่อเป็นสมาชิก?

เว็บไซต์

ที่อยู่


ชั้น 3 อาคารบัณฑิตศึกษา คณะแพทยสาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ 110 ถ. อินทวโรรส ต. ศรีภูมิ
Chiang Mai
50200

เวลาทำการ

จันทร์ 08:30 - 16:30
อังคาร 08:30 - 16:30
พุธ 08:30 - 16:30
พฤหัสบดี 08:30 - 16:30
ศุกร์ 08:30 - 16:30

เว็บไซต์เพื่อการศึกษา อื่นๆใน Chiang Mai (แสดงผลทั้งหมด)
SAF16 SAF16
โรงเรียนสันป่าตองวิทยาคา
Chiang Mai

CMEx Lifelong Learning Center CMEx Lifelong Learning Center
110 ถนนอินทวโรรส ตำบนศรีภูมิ อำเภอเมืองเชียงใหม่
Chiang Mai, 50200

ศูนย์การเรียนรู้ตลอดชีวิต (ศูนย์ความเป็นเลิศทางการแพทย์ คณะแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่)

Lan Na Epigraphy ACCL CMU Lan Na Epigraphy ACCL CMU
239 Huay Kaew Road, Suthep, Muang District, Thailand
Chiang Mai, 50200

Archive of Lan Na Inscriptions, Center for the Promotion of Art Culture and Creative Lanna, CMU

Department of Chemistry, Chiang Mai University Department of Chemistry, Chiang Mai University
Department Of Chemistry, Faculty Of Science, 239 Huaykaew Road, Tumbol Suthep, Amphur Muang
Chiang Mai

Official page of the Department of Chemistry at Chiang Mai University.

CMET Chiang Mai English Tutoring CMET Chiang Mai English Tutoring
Chiang Mai

สอนพิเศษ​ภาษาอังกฤษ ทุก​ระดับชั้น

Cmu101 Cmu101
Chiang Mai

ความรู้เริ่มต้นเมื่อเข้ามาใน มช

English for Lawyers by Ajarn Nan English for Lawyers by Ajarn Nan
Chiang Mai

เรียนรู้ภาษาอังกฤษสำหรับนักกฎหมายอย่างเข้าใจ และนำไปใช้ได้จริง

บัณฑิตศึกษา คณะวิศวกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ บัณฑิตศึกษา คณะวิศวกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่
Chiang Mai University 239 Huaykaew Road Suthep Muang
Chiang Mai, 50200

บัณฑิตศึกษา คณะวิศวกรรมศาสตร์ มหาว?

ออกแบบใบงานเด็กง่ายๆขายดี ออกแบบใบงานเด็กง่ายๆขายดี
Chiang Mai

สอนเทคนิคการออกแบบใบงานง่ายๆ ขายเว็บต่างประเทศ

Your English Teacher / ESOL Press - ACTivate Your English Teacher / ESOL Press - ACTivate
Chiang Mai, 50300

Activate your English with ACTivate

Learn Thai with Kru Pathra Learn Thai with Kru Pathra
ถนน เชียงใหม่แลนด์, ช้างคลาน, เชียงใหม่
Chiang Mai, 50100

I’m Pathra, a Native Thai teacher, studied in Australia. Working with many foreign companies, a happy teacher. Focus students to make sure their understanding. Teach Thai for CEOs ...

MPharm Clinical Pharmacy, CMU MPharm Clinical Pharmacy, CMU
Faculty Of Pharmacy, Chiang Mai University
Chiang Mai, 50200

เภสัชศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาเภสัชกรรมคลินิก (Master of Pharmacy Program in Clinical Pharmacy) มหาวิทยาลัยเชียงใหม่