ทนายคดีครอบครัว ฟ้องหย่า สามีต่างชาติ มรดก เรียกค่าเลี้ยงดู ภูเก็ต

ทนายคดีครอบครัว ฟ้องหย่า สามีต่างชาติ มรดก เรียกค่าเลี้ยงดู ภูเก็ต

ตำแหน่งใกล้เคียง บริการภาครัฐ

4Khmer KH
4Khmer KH
323I Street, Changwat Phuket
โรงเรียนสตรีภูเก็ต
โรงเรียนสตรีภูเก็ต
Damrong Road

คุณอาจจะชอบ

F I C T I O T - La La Miw
F I C T I O T - La La Miw

ปรึกษาคดีความ ฟ้องหย่า

06/03/2024

👩‍💊💉 #เหตุฟ้องหย่าโรคติดต่ออย่างร้ายแรง 👩‍💊💉
ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา1516(9) สามีหรือภริยาเป็นโรคติดต่ออย่างร้ายแรงอันอาจเป็นภัยแก่อีกฝ่ายหนึ่งและโรคมีลักษณะเรื้อรัง ไม่มีทางที่จะหายได้ อีกฝ่ายหนึ่งนั้นฟ้องหย่าได้

ตามมาตรา1516(9) ต้องมีลักษณะเป็นโรคติดต่ออย่างร้ายแรงอันอาจเป็นภัยแก่อีกฝ่ายหนึ่ง ซึ่งเหตุขัดขวางต่อการกินอยู่ร่วมกันฉันสามีภริยาจนมิอาจดำรงอยู่ร่วมกันเป็นสามีภริยาได้ เช่นสามีหรือภริยาเป็นโรคเอสด์เป็นโรคติดต่ออย่างหนึ่งมีลักษณะ ร้ายแรงและเรื้อรังและไม่มีทางรักษาหายได้ โดยเด็ดขาด คู่สมรสอีกฝ่ายหนึ่งฟ้องหย่าได้
หากคู่สมรสอีกฝ่ายหนึ่งเป็นไข้หวัดที่เป็นโรคติดต่อแต่ไม่มีลักษณะที่ร้ายแรงตามประกาศสาธารณะสุข
อีกฝ่ายหนึ่งก็ฟ้องหย่าไม่ได้.
แม้ว่าจะเป็นโรคร้ายแรงเรื้อรังไม่อาจรักษาให้หายได้และไม่ได้เป็นโรคติดต่อ คู่สมรสอีกฝ่ายไม่สามารถฟ้องหย่าได้ โรคความดันสูง โรคเบาหวาน โรคไขมันอุดตันในเส้นเลือด โรคหืดหอบและภูมิแพ้อากาศฯลฯ

👩‍💊💉 #โรคติดต่อในประเทศไทย

ในปี พ.ศ. 2523 ประเทศไทยได้ประกาศใช้พระราชบัญญัติโรคติดต่อ พ.ศ. 2523
โดยได้มีประกาศรัฐมนตรี เรื่องโรคติดต่ออันตราย โรคติดต่อตามประกาศกระทรวงสาธารณสุข
#โรคติดต่อที่ต้องแจ้งความ ตามราชกิจจานุเบกษาต่อเจ้าพนักงานสาธารณะสุขหรือพนักงานเจ้าหน้าที่ เพื่อดำเนินการออกคำสั่งให้ผู้ป่วยเข้ารับการตรวจ ชันสูตร รักษา หรือคุมไว้สังเกต หากฝ่าฝืนมีโทษปรับไม่เกิน 2,000 บาท ซึ่งจากข้อมูลในปี 2559 ระบุว่า โรคติดต่อ มีดังนี้
1.อหิวาตกโรค 2.กาฬโรค 3.ไข้ทรพิษ 4.ไข้เหลือง 5.ไข้กาฬหลังแอ่น 6.คอตีบ 7.โรคบาดทะยักในทารกแรกเกิด 8.โปลิโอ 9.ไข้หวัดใหญ่ 10.ไข้สมองอักเสบ 11.โรคพิษสุนัขบ้า 12.ไข้รากสาดใหญ่ 13.วัณโรค 14.แอนแทร็กซ์ 15.โรคทริคิโนชิส 16.โรคคุดทะราด เฉพาะในระยะติดต่อ 17.โรคอัมพาตกล้ามเนื้ออ่อนปวกเปียกอย่างเฉียบพลันในเด็ก 18.โรคทางเดินหายใจเฉียบพลันรุนแรง (โรคซาร์ส) 19.ไข้ปวดข้อยุงลาย 20.ไข้เลือดออก 21.โรคติดเชื้อไวรัสอีโบลา 22.โรคทางเดินหายใจตะวันออกกลาง (โรคเมอร์ส) 23.โรคติดเชื้อไวรัสซิกา
วิธีแจ้งความ ให้แจ้งความต่อเจ้าพนักงานสาธารณสุข หรือพนักงานเจ้าหน้าที่
กรณีเกิดโรคติดต่อในบ้าน เจ้าบ้าน หรือผู้ควบคุมดูแลบ้านหรือแพทย์ผู้ทำการรักษาพยาบาลเป็นผู้แจ้ง
กรณีเกิดโรคติดต่อในสถานพยาบาล ผู้รับผิดชอบในสถานพยาบาลนั้นๆเป็นผู้แจ้งความ
กรณีมีการชันสูตรพบโรคติดต่อ ผู้ชันสูตรฯ หรือผู้รับผิดชอบสถานที่นั้นๆเป็นผู้แจ้งความ

👩‍💊💉 #โรคติดต่ออันตราย มีทั้งหมด 12 โรค (ประกาศกระทรวงสาธารณสุขวันที่ 19 พฤษภาคม 2559)

คือ กาฬโรค, ไข้ทรพิษ, ไข้เลือดออกไครเมียนคองโก, ไข้เวสต์ไนล์, ไข้เหลือง, ไข้ลาสซา, โรคติดเชื้อไวรัสนิปาห์, โรคติดเชื้อไวรัสมาร์บวร์ก, โรคติดเชื้อไวรัสอีโบลา, โรคติดเชื้อไวรัสเฮนดรา, โรคทางเดินหายใจเฉียบพลันรุนแรง (ซาร์ส), โรคทางเดินหายใจตะวันออกกลาง (เมอร์ส)……เป็นต้น

4 โรคติดต่ออันตรายที่มากับเพศสัมพันธ์
1.โรคหนองใน เป็นโรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์
2.ซิฟิลิส สามารถติดต่อจากการมีเพศสัมพันธ์ผ่านทางช่องคลอด ทวารหนัก ช่องปาก และจากมารดาสู่ทารก
3.โรคเอดส์ สามารถติดต่อทางมีเพศสัมพันธ์กับผู้ติดเชื้อไม่ป้องกัน,เข็มฉีดยาผู้ติดเชื้อ,เลือดหรือน้ำเหลืองของผู้ติดเชื้อ และรับเชื้อจากมารดาที่ติดเชื้อทั้งขณะตั้งครรภ์
4.โรคไวรัสตับอักเสบบี สามารถติดต่อทางมีเพศสัมพันธ์ และจากมารดาสู่ทารกในครรภ์
ติดต่อสอบถาม #ปรึกษาปัญหากฎหมายฟรี #ปรึกษากฎหมายฟรี #ปรึกษาฟรี #ปรึกษา #ปัญหากฎหมาย #ฟรี โทร 086-947-0356 #ทนาย #ทนายความ #ทนายเสือ 0869470356 0906929049 หรือต้องการ #ปรึกษาปัญหากฎหมาย #กฎหมาย #ตรวจสอบเอกสาร ได้ที่ #สำนักงาน #สำนักงานกฎหมาย #สำนักงานกฎหมายเจ้าฟ้านิติธรรม
นัดหมายเวลาล่วงหน้าก่อนเข้ามาที่สำนักงานได้ ตั้งแต่เวลา 09.30-17.00น. ได้ทุกวันไม่เว้นวันหยุดราชการ.

03/02/2024

ติดต่อสอบถาม #ปรึกษาปัญหากฎหมายฟรี #ปรึกษากฎหมายฟรี #ปรึกษาฟรี #ฟรี #ปรึกษา #ปัญหากฎหมาย #ทนาย #ทนายความ #ทนายให้คำปรึกษา #ทนายเสือ 0869470356 , 0906929049 หรือต้องการ #ปรึกษาปัญหากฎหมาย #กฎหมาย #ตรวจสอบเอกสาร
#ฟ้องหย่า แบ่งสินสมรส
#ฟ้องชู้ ค่าเสียหายจากชู้-และ #ต่อสู้คดีความต่างๆ
#จัดทำเอกสาร ทำสัญญา,บันทึกข้อตกลง
#ฟ้องอำนาจปกครองบุตร, เรียกค่าเลี้ยงดูบุตร ได้ที่ #สำนักงาน #สำนักงานกฎหมาย #สำนักงานกฎหมายเจ้าฟ้านิติธรรม
นัดหมายเวลาล่วงหน้าก่อนเข้ามาที่สำนักงานได้ ตั้งแต่เวลา 09.30-17.00น. ได้ทุกวันไม่เว้นวันหยุดราชการ.

💌รักแท้แพ้ทะเบียนสมรสยังไง........
ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์บรรพ ๕
มาตรา ๑๔๕๘ บัญญัติว่า “การสมรสจะทำได้ต่อเมื่อชายหญิงยินยอมเป็นสามีภริยากันและต้องแสดงการยินยอมนั้นให้ปรากฏโดยเปิดเผยต่อหน้านายทะเบียนและให้นายทะเบียนบันทึกความยินยอมนั้นไว้ด้วย”
💏รักแท้แพ้ทะเบียนสมรสยังไง........ หากคู่สมรสใดที่ได้จดทะเบียนสมรสถูกต้องตามกฎหมายถือว่าแต่งานตามกฎหมายแล้ว ถึงอย่างไรก็ตามหากชายและหญิงแต่งงานตามประเพณีแต่มิได้จดทะเบียนสมรสตามกฎหมาย ถึงแม้ว่าจะอยู่กินกันเป็นสามีภริยากันนานเท่าใดก็ไม่ถือว่าแต่งงานจดทะเบียนสมรสกันตามกฎหมายได้
# การแต่งงานตามประเพณีมิได้จดทะเบียนสมสร( #แต่งงานตามกฎหมาย หรือ #การสมรสตามกฎหมาย)
ตัวอย่างคำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1336/2518 หญิงสมัครใจแต่งงานอยู่กินกับชายได้ปีเศษ โดยต่างไม่นำพาต่อการจดทะเบียนสมรส ดังนี้ จะอ้างว่าฝ่ายหนึ่งฝ่ายใดผิดสัญญาหมั้นมิได้ หญิงจึงไม่มีสิทธิเรียกร้องค่าทดแทนเพื่อการเสียความบริสุทธิ์ของตนจากชาย

ตัวอย่างคำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1223/2519 จำเลยได้หมั้นโจทก์และกำหนดจะแต่งงานกันหลังจากโจทก์ไว้ทุกข์ให้บิดาโจทก์แล้ว 3 ปี ระหว่างนั้นโจทก์ตั้งครรภ์กับจำเลยจำเลยแนะนำให้ทำแท้งเมื่อโจทก์ทำแท้งแล้วเกิดป่วยหนัก จำเลยกลับหลบหน้าไปแต่งงานกับหญิงอื่น โจทก์ได้รับความเสียหายทางร่างกาย ชื่อเสียง และต้องเจ็บป่วยเสียเงินค่ารักษาโดยจำเลยมิได้สนใจเมื่อหายป่วยแล้ว ผู้ที่ทราบเรื่องไม่มีผู้ใดประสงค์จะแต่งงานกับโจทก์อีกจำเลยจึงต้องใช้ค่าทดแทนความเสียหายดังกล่าวส่วนของหมั้นอันมีราคาเพียงเล็กน้อยนั้นย่อมตกเป็นสิทธิแก่โจทก์ผู้เสียหายอยู่แล้วตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา 1439 วรรคท้ายจำเลยจะอ้างว่าโจทก์ได้ของหมั้นเป็นการเพียงพอแล้วหาได้ไม่

ตัวอย่างคำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1971/2517 การเรียกค่าทดแทนเนื่องจากผิดสัญญาหรือข้อตกลงเกี่ยวกับการสมรสนั้น ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1438 บัญญัติไว้เป็นพิเศษให้เรียกได้เฉพาะกรณีที่มีการหมั้นเท่านั้นการที่โจทก์จำเลยตกลงกันว่าจะสมรสหรือจดทะเบียนสมรสโดยไม่มีการหมั้น เมื่อจำเลยไม่ปฏิบัติตามข้อตกลง โจทก์จะเรียกค่าทดแทนจากจำเลยหาได้ไม่
#โจทก์จำเลยสมรสกันตามประเพณี และตกลงกันว่า หากจำเลยสำเร็จการศึกษาแล้วจำเลยจะไปจดทะเบียนสมรสกับโจทก์ แต่เมื่อจำเลยสำเร็จการศึกษาแล้ว จำเลยไม่ยอมไปจดทะเบียนสมรสกับโจทก์นั้น การที่โจทก์ต้องสูญเสียความเป็นสาวและอยู่กินฉันสามีภริยากับจำเลย โดยไม่จดทะเบียนสมรสกัน เกิดจากความสมัครใจของโจทก์ มิใช่เกิดจากการกระทำละเมิดของจำเลย การที่จำเลยไม่ยอมจดทะเบียนสมรสกับโจทก์ ก็มิใช่เป็นการทำละเมิดต่อโจทก์ หรือเป็นการใช้สิทธิซึ่งมีแต่จะให้เกิดความเสียหายแก่โจทก์ ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 420,421 จำเลยไม่ต้องใช้ค่าสินไหมทดแทนให้โจทก์

ตัวอย่างคำพิพากษาศาลฎีกาที่ 564/2518 โจทก์ได้เสียกับจำเลยโดยถูกจำเลยหลอกลวงว่าจะเลี้ยงดูเป็นภริยาเมื่อโจทก์ตั้งครรภ์จำเลยไม่เลี้ยงดู โจทก์จึงแจ้งความต่อพนักงานสอบสวนพนักงานสอบสวนเรียกจำเลยไปจำเลยรับว่าได้เสียกับโจทก์จริงรับจะเลี้ยงดูโจทก์เป็นภริยาพนักงานสอบสวนจึงแนะนำให้โจทก์จำเลยไปจดทะเบียนสมรสกันให้ถูกต้องตามกฎหมายต่อไปและได้ทำบันทึกให้โจทก์จำเลยลงชื่อไว้ แต่โจทก์ก็ไม่เลี้ยงดูหรือจดทะเบียนสมรสกับจำเลยดังนี้ แม้จำเลยจะหลอกลวงว่าจะเลี้ยงดูโจทก์เป็นภริยาการกระทำของจำเลยก็หาเป็นการละเมิดต่อโจทก์ไม่ โจทก์จึงฟ้องเรียกค่าเสียหายเพราะเหตุดังกล่าวไม่ได้ (นัยคำพิพากษาฎีกาที่ 576/2488) และโจทก์ไม่มีสิทธิเรียกค่าเสียหายโดยอ้างว่าจำเลยผิดสัญญาตามบันทึกของพนักงานสอบสวนเพราะมิได้มีข้อกำหนดว่าจำเลยต้องชดใช้ค่าเสียหายในกรณีที่มีการผิดสัญญาดังกล่าวและมิใช่กรณีผิดสัญญาหมั้นตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1438,1439 ด้วย

ตัวอย่างคำพิพากษาศาลฎีกาที่ 576/2488 การที่หญิงยินยอมร่วมประเวณีกับชายโดยถูกหลอกลวงว่าจะรับเลี้ยงดูและจะจดทะเบียนนั้น ไม่ถือว่าเป็นความผิดฐานละเมิด หญิงไม่มีสิทธิฟ้องเรียกค่าสินไหมทดแทนจากชาย
ติดต่อสอบถาม #ปรึกษาปัญหากฎหมายฟรี #ปรึกษากฎหมายฟรี #ปรึกษาฟรี #ฟรี #ปรึกษา #ปัญหากฎหมาย #ทนาย #ทนายความ #ทนายให้คำปรึกษา #ทนายเสือ 0869470356 , 0906929049 หรือต้องการ #ปรึกษาปัญหากฎหมาย #กฎหมาย #ตรวจสอบเอกสาร ได้ที่ #สำนักงาน #สำนักงานกฎหมาย #สำนักงานกฎหมายเจ้าฟ้านิติธรรม
นัดหมายเวลาล่วงหน้าก่อนเข้ามาที่สำนักงานได้ ตั้งแต่เวลา 09.30-17.00น. ได้ทุกวันไม่เว้นวันหยุดราชการ.

03/02/2024

ติดต่อสอบถาม #ปรึกษาปัญหากฎหมายฟรี #ปรึกษากฎหมายฟรี #ปรึกษาฟรี #ฟรี #ปรึกษา #ปัญหากฎหมาย #ทนาย #ทนายความ #ทนายให้คำปรึกษา #ทนายเสือ 0869470356 , 0906929049 หรือต้องการ #ปรึกษาปัญหากฎหมาย #กฎหมาย #ตรวจสอบเอกสาร
#ฟ้องหย่า แบ่งสินสมรส
#ฟ้องชู้ ค่าเสียหายจากชู้-และ #ต่อสู้คดีความต่างๆ
#จัดทำเอกสาร ทำสัญญา,บันทึกข้อตกลง
#ฟ้องอำนาจปกครองบุตร, เรียกค่าเลี้ยงดูบุตร ได้ที่ #สำนักงาน #สำนักงานกฎหมาย #สำนักงานกฎหมายเจ้าฟ้านิติธรรม
นัดหมายเวลาล่วงหน้าก่อนเข้ามาที่สำนักงานได้ ตั้งแต่เวลา 09.30-17.00น. ได้ทุกวันไม่เว้นวันหยุดราชการ.

ข้อยกเว้นค่าขึ้นศาล,ค่าธรรมเนียมศาล

#คู่ความที่ไม่สามารถเสียค่าขึ้นศาล อาจยื่นคำร้องขอต่อศาลขอให้ยกเว้นค่าธรรมเนียมศาลในการฟ้องหรือต่อสู้คดี

ติดต่อสอบถาม #ปรึกษาปัญหากฎหมายฟรี #ปรึกษากฎหมายฟรี #ปรึกษาฟรี #ฟรี #ปรึกษา #ปัญหากฎหมาย #ทนาย #ทนายความ #ทนายให้คำปรึกษา #ทนายเสือ 0869470356 , 0906929049 หรือต้องการ #ปรึกษาปัญหากฎหมาย #กฎหมาย #ตรวจสอบเอกสาร ได้ที่ #สำนักงาน #สำนักงานกฎหมาย #สำนักงานกฎหมายเจ้าฟ้านิติธรรม
นัดหมายเวลาล่วงหน้าก่อนเข้ามาที่สำนักงานได้ ตั้งแต่เวลา 09.30-17.00น. ได้ทุกวันไม่เว้นวันหยุดราชการ.

27/01/2024

🪦หลักผู้ซื้อต้องระวัง📌📌📌......อยากซื้ออยากขาย..!!..ระวังผู้ขายไม่รับผิดชอบน๊า
กรณีผู้ขายไม่ต้องรับผิดในความชำรุดบกพร่องตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์
มาตรา 473 ผู้ขายย่อมไม่ต้องรับผิดในกรณีดังจะกล่าวต่อไปนี้ คือ
(1) ถ้าผู้ซื้อได้รู้อยู่แล้ว แต่ในเวลาซื้อขายว่ามีความชำรุดบกพร่องหรือควรจะได้รู้เช่นนั้นหากได้ใช้ความระมัดระวังอันจะพึงคาดหมายได้แต่วิญญูชน
(2) ถ้าความชำรุดบกพร่องนั้นเป็นอันเห็นประจักษ์แล้วในเวลาส่งมอบ และผู้ซื้อรับเอาทรัพย์สินนั้นไว้โดยมิได้อิดเอื้อน
(3) ถ้าทรัพย์สินนั้นได้ขายทอดตลาด

(1) ถ้าผู้ซื้อได้รู้อยู่แล้ว แต่ในเวลาซื้อขายว่ามีความชำรุดบกพร่องหรือควรจะได้รู้เช่นนั้นหากได้ใช้ความระมัดระวังอันจะพึงคาดหมายได้แต่วิญญูชน

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 8604/2549 โจทก์บรรยายฟ้องโดยแนบสำเนาใบสั่งซื้อและใบส่งของเพื่อประกอบข้ออ้างที่อาศัยเป็นหลักแห่งข้อหา ซึ่งจำเลยก็ให้การยอมรับเพียงแต่ต่อสู้ว่าโจทก์เป็นฝ่ายผิดสัญญาเพราะส่งมอบสินค้าให้แก่จำเลยไม่ถูกต้อง ฉะนั้นแม้โจทก์อ้างในคำฟ้องว่าเป็นเรื่องซื้อขายศาลชั้นต้นเห็นว่าเป็นเรื่องทั้งซื้อขายและจ้างทำของ แต่ศาลอุทธรณ์ภาค 1 เห็นว่าเป็นเรื่องจ้างทำของ เช่นนี้ศาลย่อมมีอำนาจพิจารณาเนื้อหาแห่งคำฟ้องประกอบทางนำสืบของคู่ความแล้วปรับบทกฎหมายเองตามที่ได้ความได้ ไม่จำต้องยึดถือหัวข้อที่โจทก์ระบุในคำฟ้องเป็นสำคัญ จึงมิใช่เป็นเรื่องนอกฟ้องนอกประเด็นอันเป็นการพิพากษาเกินไปกว่าหรือนอกจากที่ปรากฏในคำฟ้องตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 142
สิ่งของบางส่วนในจำนวนทั้งหมดที่โจทก์ส่งมอบให้แก่จำเลยตามสัญญามีความชำรุดบกพร่องและไม่ถูกต้องตามสัญญา แม้จำเลยจะรับมอบสิ่งของจากโจทก์ซึ่งมีจำนวนมากถึง 8,988 ใบแต่ก็เป็นการรับมอบในลักษณะเป็นแผ่นกระดาษซึ่งจำเลยจะต้องนำมาพับเป็นกล่องเอง เมื่อสิ่งของมีจำนวนมากถึง 1 คันรถบรรทุก #ความชำรุดบกพร่องนั้นจึงไม่อาจพึงพบได้ในขณะเมื่อจำเลยรับมอบ #อันจะถือว่าจำเลยยอมรับมอบการที่ทำจากโจทก์แล้วโดยมิได้อิดเอื้อนหาได้ไม่ หากจำเลยนำกล่องกระดาษที่มีคุณลักษณะและสภาพไม่สมบูรณ์เช่นนั้นไปใช้แม้เพียงบางส่วนก็ย่อมส่งผลกระทบต่อความเชื่อถือในสินค้าของจำเลยต่อไปได้ จึงต้องถือว่าโจทก์เป็นฝ่ายปฏิบัติผิดสัญญาที่ได้ตกลงไว้กับจำเลย และจำเลยไม่ต้องรับผิดต่อโจทก์ตามฟ้องทั้งสิ้น โดยมิพักต้องคำนึงถึงว่าจำเลยยังสามารถนำกล่องกระดาษที่สั่งซื้อหรือว่าจ้างให้โจทก์นำไปใช้บรรจุสินค้าของจำเลยได้โดยทำให้มีความแน่นหน้าเพิ่มด้วยการติดเทปกาวอันจะถือได้ว่าสิ่งของหรือการงานบางส่วนตามที่จำเลยว่าจ้างยังคงใช้งานได้เป็นประโยชน์แก่จำเลย กรณีไม่เข้าหลักเกณฑ์ตามบทบัญญัติแห่งประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 606 วรรคสอง

กรณีที่นี้เป็นหน้าที่ผู้ขายต้องรับผิดชอบตามมาตรา 472 ซ่อมแซมในสภาพที่เรียบร้อยในการส่งมอบ ไม่อาจยกมาตรา 473 ผู้ซื้อต้องระวังได้
คำพิพากษาฎีกาที่ 66-67/2547 บ้านที่จำเลยซื้อจากโจทก์ชำรุดบกพร่อง และโจทก์ไม่ได้ซ่อมแซมให้เรียบร้อย เมื่อเกิดความชำรุดบกพร่องในทรัพย์สินที่ซื้อขาย #ผู้ขายต้องรับผิดตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 472 ส่วน #จำเลยผู้ซื้อชอบที่จะยึดหน่วงราคาที่ยังไม่ได้ชำระทั้งหมดหรือบางส่วนตามมาตรา 488

(2) ถ้าความชำรุดบกพร่องนั้นเป็นอันเห็นประจักษ์แล้วในเวลาส่งมอบ และผู้ซื้อรับเอาทรัพย์สินนั้นไว้โดยมิได้อิดเอื้อน
คำพิพากษาฎีกาที่ 5581/2533 โจทก์ซื้อกระป๋องสำหรับบรรจุปลากับน้ำซอสมะเขือเทศจากจำเลย เมื่อกระป๋องดังกล่าวเป็นสนิมและมีความชำรุดบกพร่องอย่างอื่นซึ่งเป็นผลมาจากการผลิตของจำเลยอันเป็นเหตุให้เสื่อมความเหมาะสมแก่ประโยชน์ที่มุ่งหมายโดยสัญญาจำเลยต้องรับผิดชดใช้ค่าเสียหายให้โจทก์ตาม ป.พ.พ.มาตรา 472 แม้โจทก์จะรับของจากจำเลยโดยไม่อิดเอื้อน #แต่ขณะที่มีการส่งมอบของนั้นความชำรุดบกพร่องยังไม่เป็นอันเห็นประจักษ์ จำเลยก็หาพ้นจากความรับผิดตาม ป.พ.พ.มาตรา 473(2) ไม่

กรณีผู้ขายต้องรับผิด #ไม่ใช่กรณีที่ความชำรุดบกพร่องนั้นเป็นอันเห็นประจักษ์แล้วในเวลาส่งมอบ และผู้ซื้อทรัพย์รับเอาบ้านไว้โดยมิได้อิดเอื้อน
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 17002/2555 การผุกร่อนของเหล็กเส้นที่ถูกสนิมกัดกินคานบ้านเป็นความชำรุดบกพร่องที่เป็นเหตุเสื่อมราคาและเสื่อมความเหมาะสมแก่ประโยชน์อันมุ่งจะใช้เป็นปกติ เมื่อโจทก์ซื้อบ้านเพื่อจะใช้อยู่อาศัยและคู่สัญญาซื้อขายไม่ได้ตกลงกันว่าผู้ขายจะไม่ต้องรับผิดเพื่อความชำรุดบกพร่องตาม ป.พ.พ. มาตรา 483 ความชำรุดบกพร่องดังกล่าวจึงเป็นความชำรุดบกพร่องที่จำเลยทั้งสองต้องรับผิดต่อโจทก์ ทั้งที่ผู้ขายรู้อยู่แล้วหรือไม่รู้ว่าความชำรุดบกพร่องมีอยู่ตาม ป.พ.พ. มาตรา 472
แม้ก่อนจะมีการโอนกรรมสิทธิ์และส่งมอบบ้านให้แก่โจทก์นั้น โจทก์ได้เข้าไปตรวจดูบ้านถึง 4 ครั้ง กับใช้กล้องวิดีโอถ่ายสภาพบ้านนำไปให้ญาติของโจทก์ช่วยกันพิจารณาสภาพบ้านด้วยก็ตาม แต่ในส่วนโครงเหล็กของคานชั้น 2 อยู่บริเวณเหนือฝ้า การจะตรวจดูต้องทุบแล้วรื้อฝ้าออกจึงจะพบเห็น #ไม่ใช่กรณีที่ความชำรุดบกพร่องนั้นเป็นอันเห็นประจักษ์แล้วในเวลาส่งมอบ #และโจทก์ผู้ซื้อทรัพย์รับเอาบ้านไว้โดยมิได้อิดเอื้อน ส่วนการที่โจทก์ไม่ได้ขอเปิดฝ้าเพื่อตรวจดูคานนั้น ก็เป็นเรื่องปกติของคนทั่วไปที่ไม่น่าจะคาดคิดว่าคานบ้านชั้น 2 ซึ่งไม่ได้อยู่ใกล้พื้นดินหรือความชื้นจะเกิดสนิมที่เหล็กเส้นจนผุกร่อน จนต้องขอเปิดฝ้าดูเพื่อตรวจสอบ #กรณีนี้จึงไม่อาจถือได้ว่าโจทก์ผู้ซื้อได้รู้อยู่แล้วแต่ในเวลาซื้อขายว่ามีความชำรุดบกพร่อง หรือควรจะได้รู้เช่นนั้นหากได้ใช้ความระมัดระวังอันจะพึงคาดหมายได้แต่วิญญูชน อันจะทำให้จำเลยทั้งสองผู้ขายไม่ต้องรับผิดในความชำรุดบกพร่องในกรณีดังกล่าวตาม ป.พ.พ. มาตรา 473 (1) และ (2)

#ข้อยกเว้นไม่ต้องรับผิดหลักผู้ซื้อต้องระวัง ข้อสัญญาที่ไม่เป็นธรรมตาม พ.ร.บ.ว่าด้วยข้อสัญญาที่ไม่เป็นธรรม พ.ศ.2540
คำพิพากษาฎีกาที่ 2767/2560 ข้อตกลงตามสัญญาเช่าซื้อที่ระบุว่าเจ้าของไม่ต้องรับผิดชอบความชำรุดบกพร่องใด ๆ ไม่ว่าตรวจพบขณะส่งมอบหรือไม่นั้น แม้บทบัญญัติเรื่องความรับผิดเรื่องความชำรุดบกพร่องตาม ป.พ.พ.มาตรา 472 และ 473 คู่สัญญาสามารถตกลงกันได้เพราะมิใช่กฎหมายอันเกี่ยวด้วยความสงบเรียบร้อยที่จะตกลงเปลี่ยนแปลงไม่ได้ #แต่ข้อตกลงที่ยกเว้นความชำรุดบกพร่องที่ไม่เห็นประจักษ์ในขณะส่งมอบและเป็นเรื่องที่ควรอยู่ในความรู้เห็นของผู้ประกอบธุรกิจ #ย่อมเป็นที่เห็นได้ว่าข้อตกลงลักษณะดังกล่าว #ก่อให้เกิดความได้เปรียบแก่ผู้เช่าซื้อในฐานะผู้บริโภคเกินสมควร #ย่อมไม่อาจใช้บังคับได้ตาม พ.ร.บ.ว่าด้วยข้อสัญญาที่ไม่เป็นธรรม พ.ศ.2540 มาตรา 4 และ 6 เมื่อสัญญาเช่าซื้อเป็นสัญญาต่างตอบแทน และโจทก์เป็นฝ่ายผิดสัญญา จำเลยที่ 1 ผู้เช่าซื้อมิได้เป็นฝ่ายผิดนัดหรือผิดสัญญาย่อมมีสิทธิที่จะไม่ยอมชำระหนี้จนกว่าโจทก์จะชำระหนี้หรือขอปฏิบัติการชำระหนี้ตาม ป.พ.พ.มาตรา 369 โดยการจัดการแก้ไขรถยนต์ที่เช่าซื้อให้อยู่ในสภาพที่ใช้งานได้ตามประโยชน์ที่มุ่งหมายโดยสัญญา หรือเปลี่ยนรถคันใหม่ให้แก่ผู้เช่าซื้อโจทก์จึงไม่มีสิทธิบอกเลิกสัญญา เมื่อจำเลยที่ 1 นำรถยนต์ที่เช่าซื้อส่งมอบกลับคืนแก่โจทก์ จึงเป็นการบอกเลิกสัญญาตาม ป.พ.พ.มาตรา 573 สัญญาเช่าซื้อเป็นอันเลิกกัน โจทก์จึงไม่มีสิทธิฟ้องให้จำเลยทั้งสองรับผิดตามสัญญาเช่าซื้อและสัญญาค้ำประกันได้

#อายุความฟ้องคดีกรณีชำรุดบกพร่อง มาตรา474 ในข้อรับผิดเพื่อชำรุดบกพร่องนั้น ท่านห้ามมิให้ฟ้องคดีเมื่อพ้นเวลาปีหนึ่งนับแต่เวลาที่ได้พบเห็นความชำรุดบกพร่อง

คำพิพากษาฎีกาที่ 2995/2561 โจทก์ฟ้องว่าเดือนพฤศจิกายน 2555 บริษัท อ. ตัวแทนโจทก์จะนำอะลูมิเนียมฟอยล์ที่จำเลยส่งมอบให้ไปบรรจุยาได้ตรวจพบว่าอะลูมิเนียมฟอยล์ที่จำเลยส่งมอบไม่มีคุณภาพมาตรฐานความปลอดภัยและมีคุณสมบัติไม่ตรงต่อความเหมาะสมอันมุ่งจะใช้ตามปกติ ไม่สามารถนำมาใช้บรรจุยาขายแก่ประชาชนทั่วไปเพื่อบริโภคได้ #ซึ่งการสั่งซื้อนี้จำเลยทราบเป็นอย่างดีว่าโจทก์จะนำไปใช้บรรจุยาแอสไพรินขายแก่ประชาชนและโรงพยาบาล #อะลูมิเนียมฟอยล์ที่จำเลยผลิตขายจึงต้องมีคุณภาพดีสะอาดปราศจากสิ่งปนเปื้อน #จึงเป็นการที่โจทก์ฟ้องให้จำเลยรับผิดในความชำรุดบกพร่องของสินค้าที่ซื้อขายตาม ป.พ.พ.มาตร 472 #ซึ่งโจทก์ต้องฟ้องให้จำเลยรับผิดภายใน1ปีนับแต่เวลาที่ได้พบเห็นความชำรุดบกพร่องตาม ป.พ.พ.มาตรา 474
ติดต่อสอบถาม #ปรึกษาปัญหากฎหมายฟรี #ปรึกษากฎหมายฟรี #ปรึกษาฟรี #ฟรี #ปรึกษา #ปัญหากฎหมาย #ทนาย #ทนายความ #ทนายให้คำปรึกษา #ทนายเสือ 0869470356 , 0906929049 หรือต้องการ #ปรึกษาปัญหากฎหมาย #กฎหมาย #ตรวจสอบเอกสาร ได้ที่ #สำนักงาน #สำนักงานกฎหมาย #สำนักงานกฎหมายเจ้าฟ้านิติธรรม
นัดหมายเวลาล่วงหน้าก่อนเข้ามาที่สำนักงานได้ ตั้งแต่เวลา 09.30-17.00น. ได้ทุกวันไม่เว้นวันหยุดราชการ.

27/11/2023

🤝 #ความหมายของนิติกรรม
ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์
มาตรา 149 นิติกรรม หมายความว่า การใดๆ อันทำลงโดยชอบด้วยกฎหมายและด้วยใจสมัคร มุ่งโดยตรงต่อการผูกนิติสัมพันธ์ขึ้นระหว่างบุคคล เพื่อจะก่อ เปลี่ยนแปลง โอน สงวน หรือระงับซึ่งสิทธิ

“ #นิติกรรม” หมายถึง การกระทำที่เกิดจากกระบวนการในการแสดงเจตนาที่สมบูรณ์ที่ผู้ทำมุ่งจะผูกนิติสัมพันธ์และก่อผลในทางกฎหมาย นิติกรรมแบ่งออกเป็นหลายประเภท ทั้งนิติกรรมฝ่ายเดียว นิติกรรมสองฝ่าย นิติกรรมหลายฝ่ายอ้างอิงจาก อธิบายศัพท์ นิติกรรม-สัญญา; รองศาสตราจารย์ ดร.ศนันท์กรณ์(จำปี) โสตถิพันธุ์

“นิติกรรม” หมายถึง “นิติ” คือ กฎหมาย และ “กรรม” คือกากระทำ ดังนั้นนิติกรรม หมายถึงการกระทำในทางกฎหมาย หรืการกระทำที่ก่อให้เกิดความเคลื่อนไหวในทางกฎหมายหรือก่อให้เกิดผลในทางกฎหมาย
ด้วยเหตุนี้ กฎหมายจึงกำหนดเพียงหลักเกณฑ์ หรือลักษณะกว้างๆ ของนิติกรรมไว้เท่านั้น โดยเน้นที่หลักอิสระในทางแพ่งหรือหลักเสรี ภาพที่กฎหมายรับรองให้ทำได้
อ้างอิงจาก คำอธิบาย นิติกรรม-สัญญา; รองศาสตราจารย์ ดร.ศนันท์กรณ์(จำปี) โสตถิพันธุ์
องค์ประกอบของนิติกรรมแบ่งได้ 5 ข้อ คือ
1.นิติกรรมนั้นจะต้องเป็นการกระทำของบุคคลโดยการแสดงเจตนา
2.การกระทำนั้นต้องเป็นการกระทำโดยชอบด้วยกฎหมาย ว่าจะต้องเป็นการกระทำโดยชอบด้วยกฎหมายก็คือว่าจะมีกฎหมายบัญญัติต่อไปในมาตรา 150 -153 ว่าการกระทำอะไรเป็นการกะทำไม่ชอบด้วยกฎหมาย
3.การกระทำนั้นต้องเป็นการกระทำโดยมุ่งจะผูกนิติสัมพันธ์ระหว่างบุคคลคือเป็นการกระทำที่กระทำลงไปโดยไม่มีเจตนาซ่อนเร้น ไม่ได้ทำโดยเจตนาลวง หรือเจตนาทำนิติกรรมอำพรางนิติกรรมอีกอันหนึ่ง ตามที่มาตรา 154 และมาตรา 155บัญญัติไว้
4.การกระทำที่ว่านั้นต้องเป็นการกระทำโดยสมัครใจ คือการแสดงเจตนาที่แสดงออกมาเป็นนิติกรรมนั้นจะต้องไม่เกิดจากความสำคัญผิด ไม่เกิดจากการถูกกลฉ้อฉลและไม่ได้เกิดจากถูกข่มขู่ ตามที่มาตรา 156 ถึงมาตรา 167 บัญญัติไว้
5.การกระทำจะต้องมีวัตถุปะสงค์ที่จะก่อ เปลี่ยนแปลง โอน สงวน หรือระงับซึ่งสิทธิ การกระทำที่จะเป็นนิติกรรมจะต้องเป็นการกระทำที่มีจุดหมายที่จะก่อให้เกิดความเคลื่อนไหวในสิทธิปะการใดประการหนึ่งใน 5 ปะการที่กล่าวมา
อ้างอิงจาก คำบรรยายเนติบัณฑิต; วิชานิติกรรม-สัญญา

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 177/2488 โจทก์มีคำขอให้บังคับให้รับไถ่ถอนที่ดินตามสัญญาขายฝากนั้น #เป็นคำขอให้จำเลยแสดงเจตนาทำนิติกรรมตามสัญญา
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 353/2503ถ้ามีการปลอมใบมอบอำนาจให้ทำการขายฝากที่ดินผู้รับซื้อก็ไม่ได้กรรมสิทธิ์ ผู้รับซื้อจะอ้างว่าเป็นผู้รับโอนโดยสุจริตไม่ได้เพราะการโอนย่อมมีไม่ได้ (อ้างฎีกาที่ 1866/2494)
การที่โจทก์ลงลายมือชื่อมอบอำนาจให้เขาเอาที่ดินมีโฉนดของตนไปทำการอย่างหนึ่ง โดยไม่ได้กรอกข้อความในใบมอบอำนาจ เขากลับยักยอกลายมือชื่อนั้นไปทำการขายฝากที่ดินเสียเมื่อผู้ซื้อรับโอนโดยสุจริต โจทก์จะอ้างความประมาทเลินเล่อของตนมาเพิกถอนนิติกรรมนั้น #โดยอ้างว่านิติกรรมเป็นโมฆะหาได้ไม่สุจริตด้วยกันผู้ประมาทเลินเล่อย่อมเป็นผู้เสียเปรียบ (อ้างฎีกาที่ 491/2492)
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1053/2506 1) ข้อต่อสู้ของจำเลยกับสิทธิของจำเลยนั้นเป็นคนละเรื่อง ด้วยเหตุนี้เอง แม้ในคดีเรื่องหนึ่งจำเลยจะได้เคยต่อสู้ คืออ้างว่าหนังสือสัญญาปลอม แต่ต่อมาคดีนั้นถึงที่สุด โดยศาลฟังว่าหนังสือสัญญานั้นไม่ปลอม และหนังสือสัญญาที่ว่านี้ได้ทำให้บุคคลหนึ่งบุคคลใดได้กรรมสิทธิ์ในอสังหาริมทรัพย์เพราะจำเลยได้รับรองกรรมสิทธิ์ในอสังหาริมทรัพย์นั้นไว้ในหนังสือสัญญาดังกล่าวแล้วด้วยเช่นนี้ จำเลยก็ย่อมมีสิทธิตามที่บุคคลนั้นทำให้ไว้แก่จำเลยด้วยเช่นเดียวกัน ฉะนั้น เมื่อจำเลยเสียหายในการที่บุคคลนั้นโอนขายอสังหาริมทรัพย์ที่กล่าวไปโดยสมยอมกับผู้ซื้อ จำเลยก็ย่อมมีสิทธิอ้างความเป็นโมฆะอันเกิดจากการซื้อขายในการสมยอมนั้นขึ้นต่อสู้คดีได้ (2) #การแสดงเจตนาด้วยสมรู้กับคู่กรณีอีกฝ่ายหนึ่งย่อมมีได้ในสัญญาทุกชนิด #อันการทำกรมธรรม์สัญญาด้วยเจตนาลวง แม้จะทำที่อำเภอก็เป็นโมฆะ และไม่จำต้องขอให้เพิกถอน #เพราะไม่เป็นนิติกรรมเสียแล้ว ผลก็เท่ากับไม่ได้ทำอะไรเลย

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 771/2477 เมียไปทำสัญญาโอนทรัพย์ซึ่งเป็นสินบริคณห์ให้แก่ผู้อื่นโดยผัวมิได้รู้เห็นยินยอมด้วยผัวมีอำนาจบอกล้างสัญญานั้นเสียได้ สัญญากู้หนี้ที่เมียทำลงโดยผัวไม่ทราบแลมิได้ยินยอมด้วย สัญญานั้นยอมไม่ผูกพันสินบริคณห์ พฤตติการณ์อย่างไรไม่ฟังว่าเป็นการให้สัตยาบัน การพูดโต้ตอบกันจะเป็นการให้สัตยาบันแก่นิติกรรมที่เป็นโมฆียะหรือไม่นั้น ต้องแล้ว แต่ข้อเท็จจริงแห่งพฤตติการณ์เป็นเรื่อง ๆไป #การใดจะเป็นนิติกรรมต้องมีเจตนาแท้จริงจะผูกนิติสัมพันธ์
ติดต่อสอบถาม #ปรึกษาปัญหากฎหมายฟรี #ปรึกษากฎหมายฟรี #ปรึกษาฟรี #ฟรี #ปรึกษา #ปัญหากฎหมาย #ทนาย #ทนายความ #ทนายให้คำปรึกษา #ทนายเสือ 0869470356 , 0906929049 หรือต้องการ #ปรึกษาปัญหากฎหมาย #กฎหมาย #ตรวจสอบเอกสาร ได้ที่ #สำนักงาน #สำนักงานกฎหมาย #สำนักงานกฎหมายเจ้าฟ้านิติธรรม
นัดหมายเวลาล่วงหน้าก่อนเข้ามาที่สำนักงานได้ ตั้งแต่เวลา 09.30-17.00น. ได้ทุกวันไม่เว้นวันหยุดราชการ.

12/11/2023

👩‍❤️‍👨 #ทรัพย์สินระหว่างสามีภรรยา👩‍❤️‍👨
1.สินส่วนตัวของฝ่ายชายและฝ่ายหญิง
มาตรา 1471 สินส่วนตัวได้แก่ทรัพย์สิน
(1)ฝ่ายใดฝ่ายหนึ่งมีอยู่ก่อนสมรส
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1567/2524 ที่ดินของชายถือกรรมสิทธิ์รวมกับมารดา มาก่อนเป็นสามีภริยากับโจทก์เป็นสินส่วนตัวของชาย ต่อมาชายทำสัญญาประนีประนอมแบ่งกับมารดา เมื่อโจทก์จำเลยจดทะเบียนสมรสกันแล้ว ก็เป็นแต่แบ่งกรรมสิทธิ์รวมระหว่างจำเลยกับมารดา ที่ดินไม่เป็นสินสมรส
ชายหญิงอยู่กินเป็นสามีภริยากันมาก่อน แล้วจดทะเบียนสมรสภายหลัง ทรัพย์ที่ได้มาร่วมกันก่อนจดทะเบียนสมรส เป็นกรรมสิทธิ์รวมแบ่งกันคนละครึ่งเมื่อหย่ากัน

(2)ที่เป็นเครื่องใช้สอยส่วนตัว เครื่องแต่งกาย หรือเครื่องประดับกายตามควรแก่ฐานะ หรือเครื่องมือเครื่องใช้ที่จำเป็นในการประกอบอาชีพหรือวิชาชีพของคู่สมรสฝ่ายใดฝ่ายหนึ่ง
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 675/2519 ผัวเมียที่แต่งงานกันก่อนวันใช้ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์บรรพ 5 #ทรัพย์สินซึ่งแม้จะเป็นเครื่องประดับใช้สำหรับแต่งตัวที่ผัวหรือเมียมีอยู่ก่อนแต่งงานที่มีราคา #ย่อมนำไปใช้เป็นทุนสำหรับประกอบการทำมาหาเลี้ยงชีพเกิดผลประโยชน์ได้ #จึงเป็นสินเดิมของฝ่ายนั้น จะนำประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ บรรพ 5 มาใช้บังคับไม่ได้จึงอ้างว่าเป็นของใช้ประจำตัวพอเหมาะสมกับฐานะของผัวหรือเมียผู้มีทรัพย์สินนั้นและถือว่าเป็นสินส่วนตัวตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1464(2) หาได้ไม่ ต้องถือว่ามีสินเดิม
บิดาครอบครองมรดกของมารดาแทนบุตรผู้เยาว์ แล้วบิดาแบ่งขายที่ดินมรดกไปบางส่วน ดังนี้ไม่เป็นพฤติการณ์ที่ถือว่าบิดาได้บอกกล่าวเปลี่ยนเจตนาแห่งการยึดถือทรัพย์ว่าจะไม่ยึดถือทรัพย์แทนบุตรต่อไปอันจะทำให้คดีขาดอายุความตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1754
ทรัพย์มรดกย่อมตกทอดแก่ทายาททันทีเมื่อเจ้ามรดกถึงแก่ความตายจำเลยที่ 1 เอามรดกของ ย. ภริยาเดิมส่วนที่ตกได้แก่บุตรซึ่งเป็นทายาทของ ย. ไปจดทะเบียนยกให้จำเลยที่ 2,3,4 บุตรซึ่งเกิดจากภรรยาคนใหม่โดยไม่มีสิทธิหรืออำนาจที่จะทำได้ตามกฎหมายพนักงานอัยการเพื่อประโยชน์แก่บุตรของ ย. ฟ้องขอให้เพิกถอนการโอนเสียได้ กรณีไม่ใช่เรื่องจดทะเบียนการโอนอสังหาริมทรัพย์เป็นทางเสียเปรียบแก่บุคคลผู้อยู่ในฐานะอันจะจดทะเบียนสิทธิของตนได้อยู่ก่อน
ศาลพิพากษาให้จำเลยที่ 1 แบ่งที่ดินพร้อมด้วยส่วนควบให้ทายาทของ ย. คนละ 1 ใน 30 ส่วน หากแบ่งไม่ได้ให้ประมูลระหว่างกันเองถ้าไม่ตกลงกันให้เอาออกขายทอดตลาดเอาเงินแบ่งกันตามส่วนโดยไม่กำหนดจำนวนเงินขึ้นสูงที่โจทก์ตีราคามาในฟ้อง ดังนี้เป็นการพิพากษาตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1364 ซึ่งการที่ศาลไม่กำหนดจำนวนเงินตามที่ระบุในคำขอท้ายฟ้องก็เพราะราคาที่กล่าวในฟ้องเป็นเพียงการกำหนดราคาเพื่อคิดค่าธรรมเนียมศาล หาใช่ราคาที่ดินที่ขายทอดตลาดได้ไม่จึงไม่เป็นการพิพากษานอกคำขอหรือไม่ชอบ

(3)ที่ฝ่ายใดฝ่ายหนึ่งได้มาระว่างสมรสโดยการรับมรดกหรือโดยการให้โดยเสน่หา
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 842-845/2518 พินัยกรรมหรือหนังสือยกให้ก็ดี น.ส.3 ให้ผู้รับเป็นสินส่วนตัว แม้ไม่จดทะเบียนพินัยกรรมและหนังสือยกให้ ผู้รับก็ได้ที่ดินเป็นสินส่วนตัวเพราะได้มาโดยการส่งมอบก็สมบูรณ์

(4)ที่เป็นของหมั้น

💍💍 #สินสมรส.............
มาตรา 1474 สินสมรสได้แก่ทรัพย์สิน
(1)ที่คู่สมรสได้มาระหว่างสมรส
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 93/2531 จำเลยประสบอุบัติเหตุขณะทำงาน นายจ้างปลดจำเลยออกจากงาน จำเลยได้รับเงินค่าชดเชยและผลประโยชน์ตามสิทธิที่จำเลยพึงได้ตามกฎหมายซึ่งนายจ้างจะต้องจ่ายแก่จำเลยผู้เป็นลูกจ้างโดยเกิดสิทธิขึ้นจากผลของกฎหมายหาใช่เพราะนายจ้างจ่ายให้จำเลยโดยเสน่หาไม่ เมื่อจำเลยซึ่งเป็นคู่สมรสของโจทก์ได้เงินดังกล่าวมาระหว่างสมรส จึงเป็นสินสมรสตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา 1474(1)
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2598/2526 โจทก์บรรยายฟ้องว่า โจทก์เป็นสามีจำเลยโดยชอบด้วยกฎหมายระหว่างอยู่กินด้วยกันเกิดสินสมรสหลายอย่าง โจทก์ขอแบ่งจากจำเลยครึ่งหนึ่ง เท่ากับโจทก์กล่าวอ้างว่าทรัพย์สินที่เรียกว่าสินสมรสนั้นโจทก์เป็นเจ้าของรวมกับจำเลย แม้การสมรสระหว่างโจทก์จำเลยจะเป็นโมฆะ หากข้อเท็จจริงฟังได้ว่าโจทก์จำเลยมีทรัพย์สินเกิดขึ้นจากการทำมาหากินร่วมกันแล้ว โจทก์จำเลยย่อมเป็นเจ้าของรวมโจทก์มีสิทธิฟ้องขอแบ่งจากจำเลยในฐานะที่เป็นเจ้าของรวมได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2529/2538 สิทธิในลิขสิทธิ์ไม่ว่าจะเป็นวรรณกรรม ดนตรีกรรม นาฏกรรม หรือสิทธิบัตร การที่ภริยาคิดและออกแบบเครื่องหมายการค้าแล้วนำไปจดทะเบียนโดยใช้ชื่อสามีจดทะเบียนในระหว่างสมรส เครื่องหมายการค้าเป็นสนสมรส

(2)ที่ฝ่ายใดฝ่ายหนึ่งได้มาระหว่างสมรสโดยพินัยกรรมหรือโดยการให้เป็นหนังสือเมื่อพินัยกรรมหรือหนังสือยกให้ระบุว่าเป็นสินสมรส
#ตามกฎหมายใหม่หนังสือยกให้ พินัยกรรม ต้องระบุว่าให้เป็นสินสมรส
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6575/2537 จำเลยฟ้องแย้งขอให้โจทก์จำเลยหย่าขาดจากกันโดยอ้างเหตุว่าโจทก์จงใจทิ้งร้างจำเลยเกินกว่าหนึ่งปี โจทก์แถลงรับว่าโจทก์มีเจตนาทิ้งร้างจำเลยตามฟ้องแย้งและศาลชั้นต้นได้จดไว้ในรายงานกระบวนพิจารณา ทนายจำเลยลงชื่อโดยไม่โต้แย้งคัดค้าน และต่อมาโจทก์ยื่นคำแถลงรับข้อเท็จจริงนี้อีก แม้จะมิได้ส่งสำเนาให้จำเลยมีโอกาสคัดค้านก็ตาม ข้อเท็จจริงเป็นอันรับฟังได้ตามฟ้องแย้งโดยคู่ความไม่ต้องนำสืบข้อเท็จจริงในประเด็นนี้อีก โจทก์จำเลยอยู่กินเป็นสามีภริยากันมาก่อนใช้ ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ บรรพ 5 เดิม แม้ต่อมาจดทะเบียนสมรสกันเมื่อปี 2512ก็ไม่กระทบกระเทือนถึงการสมรสและความสัมพันธ์ในครอบครัวอันเกิดแต่การสมรสตามกฎหมายเดิม ทั้งนี้ตามพระราชบัญญัติให้ใช้บทบัญญัติบรรพ 5 แห่งประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ ที่ได้ตรวจชำระใหม่พ.ศ. 2519 มาตรา 4 และพระราชบัญญัติ ให้ใช้บทบัญญัติบรรพ 5 แห่งประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ พ.ศ. 2477 มาตรา 4 และมาตรา 5การแบ่งสินสมรสระหว่างโจทก์จำเลยจึงต้องใช้กฎหมายลักษณะผัวเมียบังคับ จำเลยได้ที่ดินมาเมื่อปี 2511 ก่อนโจทก์จำเลยจดทะเบียนสมรสกันและเป็นเวลาที่พระราชบัญญัติให้ใช้บทบัญญัติบรรพ 5 แห่งประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ พ.ศ. 2477 ใช้บังคับ #โดยบุตรสาวจำเลยยกให้โดยเสน่หาแต่มิได้ระบุว่ายกให้เป็นสินส่วนตัวตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา 1464(3) ที่ดินจึงเป็นสินสมรสตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา 1466 ซึ่งใช้บังคับอยู่ในขณะนั้น แม้ต่อมาจะมีพระราชบัญญัติให้ใช้บทบัญญัติบรรพ 5 แห่งประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ ที่ได้ตรวจชำระใหม่ พ.ศ. 2519 ใช้บังคับ ก็จะนำบทบัญญัติตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1471(3) ที่ได้ตรวจชำระใหม่มาใช้บังคับไม่ได้เพราะที่ดินตกเป็นสินสมรสระหว่างโจทก์จำเลยแล้ว

(3)เป็นดอกผลของสินส่วนตัว ดกผลเกิดขึ้นระหว่างสมรส มี2อย่างคือ ดอกผลนิตินัยและดอกผลธรรมดา

มาตรา 1474 วรรคสอง ถ้ากรณีเป็นที่สงสัยว่าทรัพย์สินอย่างหนึ่งเป็นสินสมรสหรือมิใช่ ให้สันนิษฐานไว้ก่อนว่าเป็นสินสมรส
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3786/2546 ประเด็นในการฟ้องหย่าในคดีก่อนมีสาระเป็นเรื่องของสภาพการอยู่ร่วมกันฉันสามีภริยา แต่เรื่องการขอแบ่งสินสมรสในคดีหลังเป็นการฟ้องเรียกทรัพย์สินโดยมีสาระอยู่ที่ว่าทรัพย์สินนั้นเป็นสินสมรสหรือไม่ จึงเป็นคนละมูลคดีกันแม้จะมีผลมาจากการฟ้องหย่าแต่ก็หาจำต้องขอแบ่งสินสมรสมากับคดีฟ้องหย่าไม่ ทั้งไม่มีบทกฎหมายใดที่บัญญัติว่าจะต้องฟ้องขอแบ่งสินสมรสมาพร้อมกันกับการฟ้องหย่า ฟ้องแย้งของจำเลยที่ขอแบ่งสินสมรสจึงไม่เป็นฟ้องซ้อนตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 173 วรรคสอง (1)
ที่ดินที่จำเลยถือกรรมสิทธิ์รวมกับพี่ชายจำเลย เป็นทรัพย์สินที่มีมาก่อนที่จำเลยจะจดทะเบียนสมรสกับโจทก์ อันถือเป็นสินส่วนตัวของจำเลย และมีการนำไปแลกเปลี่ยนกับที่ดินพิพาท 2 แปลง ทรัพย์สินที่ได้มาใหม่จึงย่อมเป็นสินส่วนตัวของจำเลย เพราะเป็นการได้ที่ดินมาแทนทรัพย์เดิม ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา 1472 วรรคหนึ่ง
โจทก์นำเงินของโจทก์ไปเป็นเงินดาวน์รถยนต์วอลโว่ในระหว่างที่โจทก์จำเลยยังมิได้หย่าขาดจากกัน ประกอบจำเลยยังได้รับประโยชน์จากข้อสันนิษฐานของกฎหมายตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1474 วรรคสองว่า #กรณีเป็นที่สงสัยว่าทรัพย์สินใดเป็นสินสมรสมิใช่ #ให้สันนิษฐานไว้ก่อนว่าเป็นสินสมรสรถยนต์วอลโว่จึงมีสถานะเป็นสินสมรสซึ่งจำเลยต้องได้รับส่วนแบ่งครึ่งหนึ่ง
ตามคำขอท้ายฟ้องแย้งของจำเลย จำเลยขอแบ่งสินสมรสครึ่งหนึ่ง เมื่อรถยนต์วอลโว่เป็นสินสมรสและโจทก์จำเลยหย่ากันแล้วก็ชอบที่จะแบ่งสินสมรสให้โจทก์และจำเลยได้ส่วนเท่ากัน ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1533 ซึ่งถ้าการแบ่งไม่อาจตกลงกันได้ก็ให้นำสินสมรสออกขายทอดตลาดเพื่อนำเงินมาแบ่งกันตามส่วน แต่หากไม่สามารถนำรถยนต์สินสมรสมาแบ่งกันได้ก็ให้โจทก์ใช้คืนมูลค่าค่าเช่าซื้อที่ชำระไปครึ่งหนึ่ง
ติดต่อสอบถาม #ปรึกษาปัญหากฎหมายฟรี #ปรึกษากฎหมายฟรี #ปรึกษาฟรี #ฟรี #ปรึกษา #ปัญหากฎหมาย #ทนาย #ทนายความ #ทนายให้คำปรึกษา #ทนายเสือ 0869470356 , 0906929049 หรือต้องการ #ปรึกษาปัญหากฎหมาย #กฎหมาย #ตรวจสอบเอกสาร ได้ที่ #สำนักงาน #สำนักงานกฎหมาย #สำนักงานกฎหมายเจ้าฟ้านิติธรรม
นัดหมายเวลาล่วงหน้าก่อนเข้ามาที่สำนักงานได้ ตั้งแต่เวลา 09.30-17.00น. ได้ทุกวันไม่เว้นวันหยุดราชการ.

05/11/2023

#ความผิดฐานผู้จัดการมรดกยักยอกทรัพย์มรดก

#กระทำผิดหน้าที่โดยทุจริต
มาตรา ๓๕๓ ผู้ใดได้รับมอบหมายให้จัดการทรัพย์สินของผู้อื่น หรือทรัพย์สินซึ่งผู้อื่นเป็นเจ้าของรวมอยู่ด้วย กระทำผิดหน้าที่ของตนด้วยประการใด ๆ โดยทุจริต จนเป็นเหตุให้เกิดความเสียหายแก่ประโยชน์ในลักษณะที่เป็นทรัพย์สินของผู้นั้น ต้องระวางโทษจำคุกไม่เกินสามปี หรือปรับไม่เกินหกหมื่นบาท หรือทั้งจำทั้งปรับ

ข้อสังเกต
1.คำว่า “ได้รับมอบหมายให้จัดการทรัพย์สินของผู้อื่น หรือ ทรัพย์สินซึ่งผู้อื่นเป็นเจ้าของรวมอยู่ด้วย” หมายถึง ทรัพย์สินที่ต้องจัดการนั้นเป็นของผู้อื่น หรือเป็นทรัพย์สิน ซึ่งผู้อื่นเป็นเจ้าของรวมอยู่ด้วย และผู้อื่นได้มอบหมายให้ผู้กระทำ เป็นผู้จัดการทรัพย์สินนั้นตามข้อตกลงหรือตามสัญญา หรือตามกฎหมาย
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3525/2528 ผู้มอบหมายทรัพย์ให้ผู้ครอบครองอันจะเป็นความผิดตามประมวลกฎหมายอาญามาตรา352นั้นมิได้หมายความเฉพาะแต่เจ้าของทรัพย์ศาลซึ่งมีคำสั่งตั้งผู้จัดการมรดกก็ถือว่าเป็นผู้มอบหมายทรัพย์มรดกให้แก่ผู้จัดการมรดกครอบครองหากผู้จัดการมรดกเบียดบังเอาไปโดยทุจริต อาจมีความผิดตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 352,354 ได้

2.คำว่า “กระทำผิดหน้าที่ของตนด้วยประการใดๆโดยทุจริต” หมายถึง เมื่อผู้ที่ได้รับมอบหมายให้จัดการทรัพย์สินของผู้อื่น หรือจัดการทรัพย์สิน ซึ่งผู้อื่นเป็นเจ้าของรวมอยู่ด้วย ผู้นั้นมีหน้าที่ที่จะต้องจัดการทรัพย์สินนั้นตามข้อตกลง หรือตามสัญญาหรือตามกฎหมาย และต้องกระทำโดยสุจริต ซึ่งผู้นั้นจะกระทำด้วยประการ ใดๆ ซึ่งเป็นการผิดหน้าที่ของตนเพื่อให้ตนเองหรือบุคคลที่สามได้รับประโยชน์ โดยที่ตนเองหรือบุคคลที่สามนั้นไม่มีสิทธิที่จะได้รับประโยชน์นั้นตามสัญญา หรือตามกฎหมายนั้นไม่ได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 196/2511 จำเลยได้รับมอบหมายจากโจทก์ให้คบคุมและครอบครองรถแทร็กเตอร์ของโจทก์ 9 คัน เพื่อนำไปแสดงและไถแข่งขันในงานแสดงานการกสิกรรมและนำไปซ่อมแซม จำเลย #โดยเจตนาทุจริตได้เบียดบังนำรถแทร็กเตอร์ของโจทก์ไปใช้ไถไร่ของจำเลย #เป็นการแสวงหาประโยชน์ที่มิควรได้โดยชอบด้วยกฎหมายผิดตามมาตรา 353

3. คำว่า “จนเป็นเหตุให้เกิดความเสียหายแก่ประโยชน์ในลักษณะที่เป็นทรัพย์สินของผู้นั้น” หมายถึง เมื่อผู้ที่ได้รับมอบหมายให้จัดการทรัพย์สินของผู้อื่น หรือทรัพย์สินซึ่งผู้อื่นเป็นเจ้าของรวมอยู่ด้วย ถ้ากระทำผิดหน้าที่ของตนด้วยประการใดๆ โดยทุจริต ถึงขั้นทำให้เกิดความเสียหายแก่ประโยชน์ในลักษณะทีเป็นทรัพย์สินของผู้ที่ให้จัดการทรัพย์สินนั้น ผู้นั้นมีความผิดมาตรานี้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 113/2535 จำเลย #เป็นผู้จัดการมรดกตามคำสั่งศาล มีหน้าที่จัดการแบ่งปันทรัพย์มรดกให้แก่ทายาทตามสิทธิของแต่ละคน ( #ไม่มีสิทธิจดทะเบียนโอนมรดกที่ดินพิพาทมาเป็นของจำเลยแต่เพียงผู้เดียว การกระทำของจำเลยจึงเป็นกรณีที่จำเลยซึ่งได้รับมอบหมายให้จัดการทรัพย์สินของผู้อื่นตามคำสั่งศาลกระทำหน้าที่ด้วยการจดทะเบียนโอนทรัพย์สินนั้นเป็นของตนจนเป็นเหตุให้เกิดความเสียหายในลักษณะที่เป็นทรัพย์สินของผู้นั้น)ทายาทส่วนใหญ่ไม่รู้มาก่อนว่าจำเลยได้ยื่นคำร้องขอเป็นผู้จัดการมรดกเพราะได้มอบ-หมายให้โจทก์ร่วมเป็นผู้จัดการแบ่งปันทรัพย์มรดก เอกสารหลักฐานทรัพย์มรดกทั้งหมดโจทก์ร่วมเป็นผู้เก็บรักษาไว้ ซึ่งจำเลยก็รู้เห็น แต่จำเลยกลับไปแจ้งความว่าตราจองที่ดินพิพาทสูญหาย ขอให้เจ้าพนักงานที่ดินออกใบแทน แล้วจำเลยได้จดทะเบียนโอนมรดกที่ดินพิพาทเป็นของจำเลยแต่เพียงผู้เดียวโดยอ้างว่าควรจะเป็นของจำเลยจำเลยไม่ยินยอมที่จะให้เอาชื่อทายาทอื่นเป็นผู้รับมรดกร่วมกับจำเลย แสดงให้เห็นว่าจำเลยกระทำผิดหน้าที่ในฐานะเป็นผู้จัดการมรดกด้วยการจดทะเบียนโอนทรัพย์มรดกที่ดินพิพาทเป็นของตน #จึงเป็นการกระทำโดยทุจริต มีความผิดตาม ป.อ. มาตรา 353ประกอบด้วย มาตรา 354

4.การที่จะเป็นความผิดมาตรานี้ ผู้กระทำความผิดไม่จำเป็นต้องครอบครองทรัพย์สิน เป็นแต่เพียงมีอำนาจหน้าที่จัดการทรัพย์สินนั้น ก็เข้าองค์ประกอบที่จะเป็นความผิดมาตรานี้แล้ว

5.วัตถุประสงค์ในการกระทำความผิดตามมาตรานี้ มุ่งถึงประโยชน์ในลักษณะที่เป็นทรัพย์สินของผู้อื่น หรือทรัพย์สินซึ่งผู้อื่นเป็นเจ้าของรวมอยู่ด้วย ซึ่งแตกต่างกับความผิดฐานยักยอกทั่วไปตามมาตรา352 ที่มุ่งถึงประโยชน์ เฉพาะทรัพย์ โดยการเบียดบังเอาทรัพย์นั้นเป็นของตนเอง หรือผู้อื่นโดยทุจริต

6.การกระทำความผิดมาตรานี้ ไม่จำเป็นต้องถึงกับเบียดบังทรัพย์สินเหมือนความผิดฐานยักยอกตามมาตรา 352 ในเมื่อตนมีหน้าที่จัดการทรัพย์สินเหมือนความผิดฐานยักยอกตามมาตรา 352 ในเมื่อตนมีหน้าที่จัดการทรัพย์สินอย่างใดอย่างหนึ่งให้เขาได้รับความเสียหายก็เข้าลักษณะที่จะเป็นความผิดตามมาตรา 353 นี้ได้ในเมื่อได้กระทำผิดหน้าที่และกระทำโดยมีเจตนาพิเศษคือมูลเหตุชักจูงใจโดยทุจริตดังกล่าว

#เหตุรับโทษหนักขึ้น
มาตรา ๓๕๔ ถ้าการกระทำความผิดตามมาตรา ๓๕๒ หรือมาตรา ๓๕๓ ได้กระทำในฐานที่ผู้กระทำความผิดเป็นผู้จัดการทรัพย์สินของผู้อื่นตามคำสั่งของศาล หรือตามพินัยกรรม หรือในฐานเป็นผู้มีอาชีพหรือธุรกิจ อันย่อมเป็นที่ไว้วางใจของประชาชน ผู้กระทำต้องระวางโทษจำคุกไม่เกินห้าปี หรือปรับไม่เกินหนึ่งแสนบาท หรือทั้งจำทั้งปรับ
[อัตราโทษ แก้ไขเพิ่มเติมโดยมาตรา ๔ แห่งพระราชบัญญัติแก้ไขเพิ่มเติมประมวลกฎหมายอาญา (ฉบับที่ ๒๖) พ.ศ. ๒๕๖๐]

ข้อสังเกต
1.คำว่า “ผู้กระทำความผิดเป็นผู้จัดการทรัพย์สินของผู้อื่นตามคำสั่งของศาล หรือตามพินัยกรรม” หมายถึง ศาลมีคำสั่งตั้งให้ผู้ใดเป็นผู้จัดการมรดกเพื่อประโยชน์แก่กองมรดกตามพฤติการณ์และโดยคำนึงถึงเจตนาของเจ้ามรดกผู้จัดการมรดกที่ศาลมีคำสั่งตั้งนั้นอยู่ในฐานเป็นผู้จัดการทรัพย์สินของผู้อื่นตามคำสั่งศาล หรือในกรณีอื่น

2.คำว่า “ผู้กระทำความผิดเป็นผู้จัดการทรัพย์สินของผู้อื่นตามพินัยกรรม” หมายถึง ผู้ทำพินัยกรรมจะตั้งบุคคลเดียวหรือหลายคนให้เป็นผู้จัดการมรดก ผู้ทำพินัยกรรมจะตั้งบุคคลคนเดียวหรือหลายคนให้เป็นผู้จัดการมรดก ผู้จัดการมรดกตามพินัยกรรมมีสิทธิและหน้าที่ที่จะทำการอันจำเป็นเพื่อให้การเป็นไปตามคำสั่งโดยพินัยกรรม ผู้จัดการมรดกตามพินัยกรรม อยู่ในฐานเป็นผู้จัดการทรัพย์สินของผู้อื่นตามพินัยกรรม

3.คำว่า “เป็นผู้มีอาชีพ หรือธุรกิจ อันย่อมเป็นที่ไว้วางใจของปะชาชน” หมายถึง ผู้มีอาชีพ ผู้ที่ทำงานเพื่อเลี้ยงชีพ ผู้มีธุรกิจทำกิจการค้าขาย หรือกิจการอยางอื่นที่มิใช่ราชการ ผู้มีอาชีพหรือมีธุรกิจ อันเป็นอาชีพหรือธุรกิจอันย่อมเป็นที่ไว้วางใจของประชาชน

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 128/2537 จำเลย #เป็นผู้จัดการมรดกตามคำสั่งของศาลและรู้ว่าทรัพย์มรดกจะต้องแบ่งให้แก่ทายาทโดยธรรมทุกคนเท่า ๆ กัน แต่จำเลยไม่ยอมแบ่งที่ดินมรดกให้โจทก์ซึ่งเป็นทายาทโดยธรรมคนหนึ่ง กลับโอนที่ดินดังกล่าวให้ตนเองและโอนต่อให้ ส. เช่นนี้ จึงเป็นกรณีที่จำเลย #ได้รับมอบหมายให้จัดการทรัพย์สินของผู้อื่นตามคำสั่งศาล #กระทำผิดหน้าที่ด้วยการโอนทรัพย์สินนั้นเป็นของตนเองและโอนต่อให้ผู้อื่นโดยทุจริต จนเป็นเหตุให้เกิดความเสียหายในลักษณะที่เป็นทรัพย์สินแก่โจทก์ จำเลยมีความผิดฐานยักยอกตามประมวลกฎหมายอาญามาตรา 352 วรรคแรก,354
อ้างอิงจาก ประมวลกฎหมายอาญา เล่มที่6 ; ศาสตราจารย์ ประภาศน์ อวยชัย.
ติดต่อสอบถาม #ปรึกษาปัญหากฎหมายฟรี #ปรึกษากฎหมายฟรี #ปรึกษาฟรี #ฟรี #ปรึกษา #ปัญหากฎหมาย #ทนาย #ทนายความ #ทนายให้คำปรึกษา #ทนายเสือ 0869470356 , 0906929049 หรือต้องการ #ปรึกษาปัญหากฎหมาย #กฎหมาย #ตรวจสอบเอกสาร ได้ที่ #สำนักงาน #สำนักงานกฎหมาย #สำนักงานกฎหมายเจ้าฟ้านิติธรรม
นัดหมายเวลาล่วงหน้าก่อนเข้ามาที่สำนักงานได้ ตั้งแต่เวลา 09.30-17.00น. ได้ทุกวันไม่เว้นวันหยุดราชการ.

ต้องการให้ธุรกิจของคุณ ธุรกิจ ขึ้นเป็นอันดับหนึ่ง บริการภาครัฐ ใน Phuket?
คลิกที่นี่เพื่อเป็นสมาชิก?

คดีครอบครัว ภูเก็ต

ปรึกษากฎหมาย คดีครอบครัว มรดก ฟ้องหย่า รับรองบุตร เรียกค่าเลี้ยงดู

ประเภท

เบอร์โทรศัพท์

เว็บไซต์

ที่อยู่


Phuket
83000

Law Enforcement อื่นๆใน Phuket (แสดงผลทั้งหมด)
กองกำกับการสืบสวนตำรวจภูธรจังหวัดภูเก็ต - Investigation Sub-Division Phuket กองกำกับการสืบสวนตำรวจภูธรจังหวัดภูเก็ต - Investigation Sub-Division Phuket
1 กก. สส. ภ. จว. ภูเก็ต ถ. ชุมพร ต. ตลาดใหญ่
Phuket, 83000

ต้องมีคุณธรรม ต้องทำงานด้วยองค์ความรู้ ต้องเป็นผู้ไม่ประมาท

Phuket Tourist Police ตำรวจท่องเที่ยวภูเก็ต Phuket Tourist Police ตำรวจท่องเที่ยวภูเก็ต
327 ถนนเยาวราช ตำบลตลาดใหญ่ อำเภอเมือง
Phuket, 83000

Phuket Tourist Police We Serve. You're safe. Smart Smile Serve Safe Secure �1155 Your First Friend

ทนายภูเก็ต0828807743 ทนายภูเก็ต0828807743
27/55 ถนนเจ้าฟ้าตะวันออก หมู่ 8 ตำบลฉลอง อำเภอเมือง
Phuket, 83130

ปรึกษากฎกหมาย คดีความ แก่ประชาชนทั?