สำนักงาน คปภ. จังหวัดสุโขทัย
เป็นหน่วยงานของรัฐที่ไม่เป็นส่วนร?
๑๒ สิงหาคม ๒๕๖๗
เนื่องในโอกาส วันเฉลิมพระชนมพรรษา
สมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ พระบรมราชินีนาถ พระบรมราชชนนีพันปีหลวง
ทรงพระเจริญ
ด้วยเกล้าด้วยกระหม่อม ขอเดชะ
ข้าพระพุทธเจ้า คณะกรรมการ ผู้บริหาร และพนักงาน
สำนักงานคณะกรรมการกำกับและส่งเสริมการประกอบธุรกิจประกันภัย (คปภ.)
ขอเชิญชวนผู้สนใจเข้าร่วมรับการคัดเลือกให้ดำรงตำแหน่งผู้ช่วยเลขาธิการ สายเทคโนโลยีสารสนเทศ สำนักงานคณะกรรมการกำกับและส่งเสริมการประกอบธุรกิจประกันภัย
https://www.oic.or.th/th/job-posting
คปภ. Kick off จัดทำแนวปฏิบัติเรื่องประกันภัยต่อทางการเงินและประกันภัยต่อแบบจำกัด
• เพื่อยกระดับบริษัทประกันภัยให้มีการปฏิบัติงานอย่างรอบคอบภายใต้หลักการกำกับดูแลกิจการที่ดีมีการบริหารความเสี่ยงอย่างเหมาะสม
นางสาวอายุศรี คำบรรลือ ผู้ช่วยเลขาธิการ สายพัฒนามาตรฐานการกำกับ สำนักงานคณะกรรมการกำกับและส่งเสริมการประกอบธุรกิจประกันภัย (สำนักงาน คปภ.) เปิดเผยว่า สำนักงาน คปภ. ได้ออกประกาศคณะกรรมการกำกับและส่งเสริมการประกอบธุรกิจประกันภัย เรื่อง หลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไขในการประกันภัยต่อของบริษัทประกันชีวิต/วินาศภัย พ.ศ. 2566 ซึ่งอนุญาตให้บริษัทประกันภัยสามารถทำสัญญาประกันภัยต่อทางการเงินและการประกันภัยต่อแบบจำกัด ภายใต้ข้อกำหนด โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อให้บริษัทสามารถใช้ประโยชน์จากสัญญาประกันภัยดังกล่าวเพื่อเสริมสร้างสภาพคล่อง ซึ่งจะเป็นประโยชน์ต่ออุตสาหกรรมในภาพรวม
อย่างไรก็ตาม สัญญาประกันภัยต่อทางการเงินและการประกันภัยต่อแบบจำกัด ถือเป็นเครื่องมือบริหารความเสี่ยงรูปแบบใหม่สำหรับอุตสาหกรรมประกันภัยไทย และมีความซับซ้อนมากกว่าสัญญาประกันภัยต่อแบบดั้งเดิม (Traditional Reinsurance) บริษัทประกันภัยจึงจำเป็นต้องมีความรู้ ความเข้าใจ ในการจัดทำสัญญาและกฎเกณฑ์ข้อบังคับที่เกี่ยวข้อง สำนักงาน คปภ. จึงได้เตรียมความพร้อมในการศึกษาและจัดทำแนวปฏิบัติ เรื่อง การประกันภัยต่อทางการเงินและการประกันภัยต่อแบบจำกัด โดยได้จัดการประชุมผู้บริหาร เจ้าหน้าที่ สำนักงาน คปภ. และคณะทำงานจากบริษัท อีวาย คอร์ปอเรท เซอร์วิสเซส จำกัด เข้าร่วมรับฟัง ณ ห้องประชุม สำนักงาน คปภ. ถนนรัชดาภิเษก กรุงเทพฯ ผ่านสื่ออิเล็กทรอนิกส์
ทั้งนี้ สำนักงาน คปภ. ได้ตระหนักถึงความสำคัญในการให้บริษัทมีแนวทางในการจัดทำประกันภัยต่อทางการเงินและการประกันภัยต่อแบบจำกัด ตามหลักการของประกาศว่าด้วยการประกันภัยต่อ จึงได้จัดทำ “โครงการศึกษาและจัดทำแนวปฏิบัติ เรื่อง การประกันภัยต่อทางการเงิน และการประกันภัยต่อแบบจำกัด” ร่วมกันระหว่างสำนักงาน คปภ. และบริษัท อีวาย คอร์ปอเรท เซอร์วิสเซส จำกัด โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อให้บริษัทประกันภัยมีการปฏิบัติอย่างรอบคอบภายใต้หลักการกำกับดูแลกิจการที่ดี มีการบริหารความเสี่ยงอย่างเหมาะสม รวมถึงให้คณะกรรมการบริษัท นักคณิตศาสตร์ประกันภัย และผู้สอบบัญชี ตระหนักและเข้าใจถึงบทบาทหน้าที่และความรับผิดชอบที่เกี่ยวข้องกับการประกันภัยต่อทางการเงินและการประกันภัยต่อแบบจำกัด
นอกจากนี้ สำนักงาน คปภ. ร่วมกับบริษัท อีวาย คอร์ปอเรท เซอร์วิสเซส จำกัด เพื่อจัดทำแนวปฏิบัติ เรื่องการประกันภัยต่อทางการเงินและการประกันภัยต่อแบบจำกัด โดยครอบคลุมถึงวิธีการทดสอบการโอนความเสี่ยงด้านการประกันภัยอย่างมีนัยสำคัญ บทบาทหน้าที่ของคณะกรรมการบริษัท นักคณิตศาสตร์ประกันภัย คณะกรรมการบริหารความเสี่ยง และผู้สอบบัญชีที่มีต่อการจัดทำสัญญาประกันภัยต่อทางการเงินและสัญญาประกันภัยต่อแบบจำกัด และแบบรายงานการแสดงความเห็นของนักคณิตศาสตร์ประกันภัย รวมถึงจะมีการจัดประชุมชี้แจงแนวปฏิบัติ ให้กับบริษัทประกันชีวิตและบริษัทประกันวินาศภัย และจัดบรรยายเกี่ยวกับลักษณะเงื่อนไขสัญญาประกันภัยต่อทางการเงินและการประกันภัยต่อแบบจำกัดที่มีอยู่ในธุรกิจประกันภัย และแนวปฏิบัติดังกล่าวให้กับบุคลากรในสำนักงาน คปภ. เนื่องจากสัญญาประกันภัยต่อทางการเงินและการประกันภัยต่อแบบจำกัดมีรายละเอียดและความซับซ้อน การดำเนินการของโครงการจำเป็นจะต้องได้รับความร่วมมือจากภาคธุรกิจในการให้ข้อมูลที่เกี่ยวข้องอย่างครบถ้วน ซึ่งสำนักงาน คปภ. สามารถนำข้อมูลที่ได้รับไปวิเคราะห์และประมวลผล เพื่อจัดทำแนวปฏิบัติสำหรับการประกันภัยต่อทางการเงินและการประกันภัยต่อแบบจำกัดที่เหมาะสมต่อไป
สินมั่นคงปิด ลงทะเบียนระบบคุ้มครองสิทธิ Online ของ กปว. ผ่าน ThaID ในระหว่างรอการเปิดยื่นคำทวงหนี้ในระบบ Online ของ กปว. เจ้าหนี้สามารถลงทะเบียนไว้ก่อนได้ ผ่าน ThaID
รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลังมีคำสั่งให้เพิกถอนใบอนุญาตประกอบธุรกิจประกันวินาศภัย บริษัท สินมั่นคงประกันภัย จำกัด (มหาชน) พร้อมแต่งตั้งกองทุนประกันวินาศภัยเป็นผู้ชำระบัญชี
รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลังได้มีคำสั่งที่ 1364/2567 ลงวันที่ 4 กรกฎาคม 2567 ให้เพิกถอนใบอนุญาตประกอบธุรกิจประกันวินาศภัยของบริษัท สินมั่นคงประกันภัย จำกัด (มหาชน) โดยอาศัยอำนาจตามความในมาตรา 59 (1) (2) (4) และ (5) แห่งพระราชบัญญัติประกันวินาศภัย พ.ศ. 2535 ตั้งแต่วันที่ 4 กรกฎาคม 2567 เป็นต้นไป และคณะกรรมการกำกับและส่งเสริมการประกอบธุรกิจประกันภัย (คณะกรรมการ คปภ.) อาศัยอำนาจตามความในมาตรา 60 แห่งพระราชบัญญัติประกันวินาศภัย พ.ศ. 2535 มีคำสั่งคณะกรรมการกำกับและส่งเสริมการประกอบธุรกิจประกันภัยที่ 19/2567 ลงวันที่ 9 กรกฎาคม 2567 แต่งตั้งกองทุนประกันวินาศภัยเป็นผู้ชำระบัญชี บริษัท สินมั่นคงประกันภัย จำกัด (มหาชน) ทั้งนี้ สำนักงานคณะกรรมการกำกับและส่งเสริมการประกอบธุรกิจประกันภัย (สำนักงาน คปภ.) ขอชี้แจงข้อเท็จจริง ข้อกฎหมาย และความเป็นมาเกี่ยวกับเรื่องนี้ ตลอดจนการเตรียมมาตรการต่าง ๆ เพื่อรองรับไม่ให้ผู้บริโภคได้รับผลกระทบ
เนื่องจากปรากฏหลักฐานต่อนายทะเบียนว่า บริษัท สินมั่นคงประกันภัย จำกัด (มหาชน) มีฐานะและการดำเนินการอยู่ในลักษณะอันอาจเป็นเหตุให้เกิดความเสียหายแก่ผู้เอาประกันภัยหรือประชาชน ดังปรากฏข้อเท็จจริง ตามที่นายทะเบียนได้ออกคำสั่งนายทะเบียนที่ 36/2565 ลงวันที่ 31 ตุลาคม 2565 ให้บริษัท สินมั่นคงประกันภัย จำกัด (มหาชน) “บริษัท” แก้ไขฐานะและการดำเนินการตามมาตรา 52 แห่งพระราชบัญญัติประกันวินาศภัย พ.ศ. 2535 ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชบัญญัติประกันวินาศภัย (ฉบับที่ 2) พ.ศ. 2551 โดยกำหนดให้บริษัทเพิ่มทุนและแก้ไขฐานะการเงินให้เพียงพอต่อภาระผูกพันและให้มีอัตราส่วนของเงินกองทุนเพียงพอตามที่กฎหมายกำหนดภายใน 1 ปี
อย่างไรก็ตาม บริษัทไม่ดำเนินการเพิ่มทุนและแก้ไขฐานะการเงินให้เป็นไปตามคำสั่งนายทะเบียนดังกล่าว แต่กลับอาศัยกระบวนการฟื้นฟูกิจการตามพระราชบัญญัติล้มละลาย พุทธศักราช 2483 ต่อมาเมื่อวันที่ 15 ธันวาคม 2566 ศาลล้มละลายกลาง มีคำสั่งยกเลิกคำสั่งให้ฟื้นฟูกิจการและแจ้งคำสั่งดังกล่าวให้คู่ความทุกฝ่ายทราบผลคำสั่งตามกฎหมายแล้ว อำนาจหน้าที่ในการจัดการกิจการและทรัพย์สิน จึงกลับไปเป็นของผู้บริหารของบริษัท และผู้ถือหุ้นของบริษัท ทำให้บริษัทสามารถเคลื่อนย้ายหรือจำหน่ายทรัพย์สินของบริษัทได้ ประกอบกับบริษัทมีหนี้สินมากกว่าทรัพย์สิน และมีอัตราส่วนความเพียงพอของเงินกองทุนต่ำกว่าเกณฑ์ที่กฎหมายกำหนด บริษัทจึงมีฐานะและการดำเนินการอยู่ในลักษณะอันอาจเป็นเหตุให้เกิดความเสียหายแก่ผู้เอาประกันภัยหรือประชาชน คณะกรรมการ คปภ. จึงเห็นชอบให้นายทะเบียนใช้อำนาจตามมาตรา 52 วรรคหนึ่ง แห่งพระราชบัญญัติประกันวินาศภัย พ.ศ. 2535 ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชบัญญัติประกันวินาศภัย (ฉบับที่ 2) พ.ศ. 2551 สั่งให้บริษัท สินมั่นคงประกันภัย จำกัด (มหาชน) หยุดรับประกันวินาศภัยเป็นการชั่วคราว ตามคำสั่งนายทะเบียนที่ 48/2566 เรื่อง ให้บริษัท สินมั่นคงประกันภัย จำกัด (มหาชน) หยุดรับประกันวินาศภัยเป็นการชั่วคราว ตามมาตรา 52 วรรคหนึ่งแห่งพระราชบัญญัติประกันวินาศภัย พ.ศ. 2535 ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชบัญญัติประกันวินาศภัย (ฉบับที่ 2) พ.ศ. 2551 ลงวันที่ 15 ธันวาคม 2566
นอกจากนี้ ได้ปรากฏข้อเท็จจริงว่าบริษัทมีหนี้สินเกินกว่าทรัพย์สิน จัดสรรเงินสำรองตามมาตรา 23 ไม่ครบถ้วนตามที่กฎหมายกำหนด และจัดสรรสินทรัพย์ไว้สำหรับหนี้สินและภาระผูกพันตามมาตรา 27/4 ไม่เพียงพอตามที่กฎหมายกำหนด มีสินทรัพย์สภาพคล่องไม่เพียงพอสำหรับการเรียกร้องค่าสินไหมทดแทน มีอัตราส่วนความเพียงพอของเงินกองทุนตามมาตรา 27 แห่งพระราชบัญญัติประกันวินาศภัย พ.ศ. 2535 ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชบัญญัติประกันวินาศภัย (ฉบับที่ 2) พ.ศ. 2551 ต่ำกว่าอัตราที่กฎหมายกำหนด แสดงให้เห็นว่า บริษัทมีฐานะการเงินไม่มั่นคงและไม่เพียงพอ
ต่อภาระผูกพัน รวมถึงบริษัทไม่มีแนวทางในการแก้ไขฐานะการเงิน มีประวิงการจ่ายค่าสินไหมทดแทนที่ต้องจ่ายโดยไม่มีเหตุอันสมควรอันทำให้ผู้เอาประกันภัยและประชาชนได้รับความเสียหาย อันเป็นการกระทำที่ฝ่าฝืนบทบัญญัติแห่งกฎหมายหลายประการ บริษัทไม่มีความสามารถและความพร้อมที่จะรับประกันภัยและประกอบธุรกิจประกันวินาศภัยได้ต่อไป
ทั้งนี้ หากให้ประกอบธุรกิจประกันวินาศภัยต่อไป จะทำให้เกิดความเสียหายต่อประชาชนหรือผู้เอาประกันภัย ตลอดจนความน่าเชื่อถือของธุรกิจประกันภัย ดังนั้น รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลัง จึงอาศัยอำนาจตามความในมาตรา 59 (1) (2) (4) และ (5) แห่งพระราชบัญญัติประกันวินาศภัย พ.ศ. 2535 มีคำสั่งให้เพิกถอนใบอนุญาตประกอบธุรกิจประกันวินาศภัยของบริษัท สินมั่นคงประกันภัย จำกัด (มหาชน) ตั้งแต่วันที่ 4 กรกฎาคม 2567 เป็นต้นไป
เนื่องจาก การเพิกถอนใบอนุญาตประกอบธุรกิจประกันวินาศภัยของ บริษัท สินมั่นคงประกันภัย จำกัด (มหาชน) เป็นปัญหาฐานะการเงินและการจัดการภายในของบริษัทจึงจะไม่ส่งผลกระทบต่อความมั่นคงทางการเงินหรือสภาพคล่องของบริษัทประกันวินาศภัยอื่น หรือธุรกิจประกันภัยในภาพรวมแต่อย่างใด ทั้งนี้ สำนักงาน คปภ. ได้เตรียมมาตรการต่าง ๆ เพื่อรองรับมิให้ผู้บริโภคได้รับผลกระทบแล้ว
ทั้งนี้ ผู้เป็นเจ้าหนี้ตามสัญญาประกันภัยของบริษัท และเจ้าหนี้อื่นที่ไม่ใช่เจ้าหนี้ตามสัญญาประกันภัยให้ยื่นขอรับชำระหนี้ต่อกองทุนประกันวินาศภัย ในฐานะผู้ชำระบัญชีของบริษัท สินมั่นคงประกันภัย จำกัด (มหาชน) ภายใน 60 วันนับแต่วันที่กองทุนประกันวินาศภัยประกาศกำหนด โดยการยื่นจะดำเนินการผ่านระบบอิเล็กทรอนิกส์เท่านั้น ทั้งนี้ กองทุนประกันวินาศภัยในฐานะผู้ชำระบัญชี จะประกาศแจ้งให้ทราบถึงกำหนดวัน เวลา และวิธีการยื่นคำทวงหนี้อีกครั้ง เพื่อให้บรรดาเจ้าหนี้ของบริษัท สินมั่นคงประกันภัย จำกัด (มหาชน) ยื่นคำทวงหนี้ต่อผู้ชำระบัญชีตามกระบวนการที่กฎหมายกำหนดไว้ในมาตรา 61/3 วรรคหนึ่ง แห่งพระราชบัญญัติประกันวินาศภัย พ.ศ. 2535 และที่แก้ไขเพิ่มเติม ดังนั้น จึงขอให้บรรดาเจ้าหนี้ของบริษัทโปรดติดตามประกาศของกองทุนประกันวินาศภัยอย่างใกล้ชิด ได้ที่เว็บไซต์กองทุนประกันวินาศภัย www.gif.or.th และ Facebook Fanpage “กองทุนประกันวินาศภัย” โดยการจัดตั้งกองทุนประกันวินาศภัยขึ้นมีวัตถุประสงค์เพื่อช่วยเหลือเจ้าหนี้ซึ่งมีสิทธิได้รับชำระหนี้ที่เกิดจากการเอาประกันภัย ในกรณีที่บริษัทถูกเพิกถอนใบอนุญาตประกอบธุรกิจประกันวินาศภัย โดยเจ้าหนี้ฯ มีสิทธิได้รับชำระหนี้ที่เกิดจากสัญญาประกันภัยจากกองทุนประกันวินาศภัย ซึ่งเมื่อรวมกับจำนวนที่ได้รับการเฉลี่ยจากหลักทรัพย์ประกันและเงินสำรองที่วางไว้กับนายทะเบียนแล้ว ไม่เกินรายละ 1 ล้านบาท
สำหรับข้อมูลเพิ่มเติม สามารถติดต่อสอบถามได้ที่กองทุนประกันวินาศภัย หรือสำนักงาน คปภ. www.oic.or.th หรือสายด่วน คปภ. 1186
สำนักงาน คปภ. เปิดตัว “OIC Gateway” บนแอปพลิเคชัน “ทางรัฐ” 📲 สะดวก🔹รวดเร็ว🔹รู้ครบทุกกรมธรรม์ 🔹เพื่อชีวิตที่ง่ายกว่าเดิม
👉 OIC Gateway ทางเลือกใหม่บนแอปพลิเคชัน “ทางรัฐ” ตัวช่วยเรื่องประกันภัย
✅ สะดวก
✅ รวดเร็ว
✅ รู้ครบทุกกรมธรรม์
👉 สามารถศึกษาการใช้งานเพิ่มเติมได้ที่
💻เว็บไซต์สำนักงาน คปภ. (www.oic.or.th)
📲Mobile Application (OIC คนกลาง For Sure)
Line Official () และ สายด่วน คปภ. 1186
#สำนักงานคปภ. #คปภ. #สายด่วนคปภ1186
.oic.or.th
📣 สำนักงานคณะกรรมการกำกับและส่งเสริมการประกอบธุรกิจประกันภัยภาค 1 (เชียงใหม่)
📌 จัดงานเสวนาภายใต้โครงการส่งเสริมผลิตภัณฑ์ประกันภัยเชิงรุกสู่ระดับภูมิภาคอย่างยั่งยืน ประจำปี 2567 ในรูปแบบ hybrid ในหัวข้อ
🔸“เที่ยวไทยอุ่นใจ ประกันภัยคุ้มครอง” 🔸
😮 เพื่อรณรงค์ประชาสัมพันธ์ และเพิ่มความรู้ด้านการประกันภัย ไม่ว่าจะเป็น ประกันภัยเรือ ประกันภัยอุบัติเหตุสำหรับธุรกิจนำเที่ยวและมัคคุเทศก์ และประกันภัยอื่นๆ ที่เกี่ยวข้อง ที่จะสามารถยกระดับการท่องเที่ยวและเพิ่มความมั่นใจให้กับกับผู้ประกอบการท่องเที่ยว ผู้นำเที่ยว มัคคุเทศก์ นักท่องเที่ยว และผู้มีส่วนเกี่ยข้อง ว่าการประกันภัยประเภทต่างๆ จะสามารถบริหารความเสี่ยงและลดความสูญเสียหากเกิดเหตุที่ไม่คาดฝันได้อย่างไร
📅 วันพฤหัสบดีที่ 11 กรกฎาคม พ.ศ. 2567
⏰ เริ่มตั้งแต่เวลา 09.30 น.
📍 ณ ณ ห้องประชุมเกษมจาติกวณิช เขื่อนภูมิผล อำเภอสามเงา จังหวัดตาก
🤝 สามารถลงทะเบียนเพื่อเข้าร่วมงานได้ใน Link ด้านล่างนี้
https://docs.google.com/.../1FAIpQLSePHFPcq5vKVN.../viewform
🎥 หรือสามารถรับชมไลฟ์สดได้ที่
ผ่านช่องทาง Facebook Fanpage สำนักงาน คปภ. ภาค 1 (เชียงใหม่) ตามลิงก์ด้านล่าง (red arrow down)
🟦 https://www.facebook.com/OICRe1Chiangmai?mibextid=LQQJ4d
Add Line 🟩 : คปภ. รอบรู้
https://liff.line.me/1645278921-kWRPP32q/...
#คปภ.
#คุ้มครองผู้ทำประกันภัย
#ประกันภัยคุ้มครองคุณ
#สายด่วนคปภ1186
📣 สำนักงานคณะกรรมการกำกับและส่งเสริมการประกอบธุรกิจประกันภัยภาค 1 (เชียงใหม่)
📌 จัดงานเสวนาภายใต้โครงการส่งเสริมผลิตภัณฑ์ประกันภัยเชิงรุกสู่ระดับภูมิภาคอย่างยั่งยืน ประจำปี 2567 ในรูปแบบ hybrid ในหัวข้อ
🔸“เที่ยวไทยอุ่นใจ ประกันภัยคุ้มครอง” 🔸
😮 เพื่อรณรงค์ประชาสัมพันธ์ และเพิ่มความรู้ด้านการประกันภัย ไม่ว่าจะเป็น ประกันภัยเรือ ประกันภัยอุบัติเหตุสำหรับธุรกิจนำเที่ยวและมัคคุเทศก์ และประกันภัยอื่นๆ ที่เกี่ยวข้อง ที่จะสามารถยกระดับการท่องเที่ยวและเพิ่มความมั่นใจให้กับกับผู้ประกอบการท่องเที่ยว ผู้นำเที่ยว มัคคุเทศก์ นักท่องเที่ยว และผู้มีส่วนเกี่ยข้อง ว่าการประกันภัยประเภทต่างๆ จะสามารถบริหารความเสี่ยงและลดความสูญเสียหากเกิดเหตุที่ไม่คาดฝันได้อย่างไร
📅 วันพฤหัสบดีที่ 11 กรกฎาคม พ.ศ. 2567
⏰ เริ่มตั้งแต่เวลา 09.30 น.
📍 ณ ณ ห้องประชุมเกษมจาติกวณิช เขื่อนภูมิผล อำเภอสามเงา จังหวัดตาก
🤝 สามารถลงทะเบียนเพื่อเข้าร่วมงานได้ใน Link ด้านล่างนี้
https://docs.google.com/forms/d/e/1FAIpQLSePHFPcq5vKVNeYfD7TVTNmEwa615xbjaP6o6Gjua8yQCnESQ/viewform
🎥 หรือสามารถรับชมไลฟ์สดได้ที่
ผ่านช่องทาง Facebook Fanpage สำนักงาน คปภ. ภาค 1 (เชียงใหม่) ตามลิงก์ด้านล่าง (red arrow down)
🟦 https://www.facebook.com/OICRe1Chiangmai?mibextid=LQQJ4d
Add Line 🟩 : คปภ. รอบรู้
https://liff.line.me/1645278921-kWRPP32q/...
#คปภ.
#คุ้มครองผู้ทำประกันภัย
#ประกันภัยคุ้มครองคุณ
#สายด่วนคปภ1186
เที่ยวไทยอุ่นใจ ประกันภัยคุ้มครอง 🚙
การท่องเที่ยว คือเวลาแห่งความสุข สนุกสนาน เป็นเวลาที่จะได้ใช้กับครอบครัว กับคนรัก กับเพื่อน หรือแม้แต่กับตนเอง แต่การท่องเที่ยวที่ดี จะต้องมีการวางแผนที่ดี เพื่อป้องกันเหตุการณ์ที่ไม่คาดคิดที่อาจเกิดขึ้น ซึ่งเครื่องมือที่จะช่วยในการบริหารความเสี่ยงที่อาจเกิดขึ้นได้ระหว่างการท่องเที่ยว นั่นคือ ' การประกันภัย '
แล้วมีประกันภัยประเภทไหนบ้างที่จะช่วยให้ทุกคนออกเดินทางไปท่องเที่ยวได้อย่างอุ่นใจ? วันนี้ คปภ. จะมาบอกให้ทุกคนได้รู้กันว่าการประกันภัยมีอะไรบ้าง มาดูกันเลย . .
การซื้อประกันภัย พ.ร.บ. จะไม่ใช่เรื่องที่ยุ่งยากอีกต่อ
ประกันภัย พ.ร.บ. นั้น ปัจจุบันสามารถหาซื้อได้ง่ายผ่านช่องทางต่าง ๆ ไม่ว่าจะเป็นการซื้อผ่านตัวแทน/นายหน้าของบริษัทประกันภัยโดยตรง ผ่านทางเว็บไซต์บริษัทประกันภัยหรือผู้แทนจำหน่าย เคาน์เตอร์เซอร์วิส หรือที่ธนาคาร หรือแม้แต่สำนักงานขนส่งทุกจังหวัด เรียกได้ว่ามีช่องทางมากมายที่จะสามารถซื้อประกันภัย พ.ร.บ. ได้อย่างสะดวกและรวดเร็ว สำหรับเจ้าของรถที่ต้องการจะซื้อประกันภัย พ.ร.บ. เพียงเตรียมสำเนาทะเบียนรถและบัตรประจำตัวประชาชนให้พร้อม ก็สามารถติดต่อขอซื้อประกันภัย พ.ร.บ. ได้แล้ว
โดยสามารถซื้อผ่านช่องทางต่างๆ ดังนี้
✅ซื้อผ่านเคาน์เตอร์เซอร์วิส
✅ซื่อผ่านธนาคาร ปัจจุบัน ธนาคาร ธกส. ซื้อได้แล้ว
✅ซื้อผ่านสำนักงานขนส่งทุกแห่ง
✅ผ่านทางเว็บไซต์บริษัทประกันภัยหรือตัวแทนจำหน่าย
✅ซื้อผ่านตัวแทนนายหน้าของบริษัทรับประกันภัยโดยตรง👉สิ่งสำคัญอีกอย่างหนึ่งคือ ควรพกหลักฐานการทำประกันภัย พ.ร.บ. ติดรถไว้เสมอ เพราะหากเกิดอุบัติเหตุหรือเจ้าหน้าที่ตำรวจขอตรวจ จะได้แสดงต่อเจ้าหน้าที่ได้ ไม่เช่นนั้น จะมีโทษปรับไม่เกิน 10,000 บาท🚑❤️ กองทุนทดแทนผู้ประสบภัย คุ้มครอง ห่วงใย ผู้ประสบภัยจากรถ ❤️
youtube ▶️: https://bit.ly/371Fh8t
website🌐 : https://bit.ly/3w34LBK
E-mail 📧: [email protected]
#กองทุนทดแทนผู้ประสบภัย #ประกันภัยพรบ. #โทษของการไม่ทำพรบ. #อุบัติเหตุ #คปภ. #สายด่วน1186 #ค่าเสียหายเบื้องต้น #ความคุ้มครองจากกรมธรรม์ #พรบ
🫶มาเป็นเพื่อนกันเถอะ 🥰
**คปภ. รอบรู้** หรือ เชื่อมโยงข้อมูลประกันภัย สะดวก รวดเร็ว รู้ครบทุกกรมธรรม์ เพื่อชีวิตที่ง่ายขึ้นกว่าเดิม เพื่อใช้เป็นช่องทางด่วนในการตรวจสอบกรมธรรม์ประกันภัยแบบครบวงจร
ผู้ที่สนใจสามารถดูข้อมูลเพิ่มเติมได้ที่
https://cit.oic.or.th/oicconnect
#คปภรอบรู้ #คปภ #สายด่วนคปภ1186
สำนักงาน คปภ. ชนะคดี “สินมั่นคงประกันภัย” ฟ้องเรียกค่าเสียหาย 4 หมื่นล้าน
เมื่อวันที่ 18 มิถุนายน 2567 ศาลปกครองกลาง ได้นัดฟังคำพิพากษาในคดีหมายเลขดำที่ 752/2565 กรณีบริษัท สินมั่นคงประกันภัย จำกัด (มหาชน) ยื่นฟ้อง สำนักงานคณะกรรมการกำกับและส่งเสริมการประกอบธุรกิจประกันภัย (สำนักงาน คปภ.) เพื่อเรียกค่าเสียหาย 4 หมื่นล้านบาท โดยศาลปกครองกลางได้มีคำพิพากษาให้สำนักงาน คปภ. เป็นฝ่ายชนะคดี ซึ่งคำพิพากษาดังกล่าวไม่เกินความคาดหมายของสำนักงาน คปภ. เนื่องจาก สำนักงาน คปภ. ออกคำสั่งนายทะเบียนที่ 38/2564 ห้ามการบอกเลิกกรมธรรม์ประกันภัยสำหรับกรมธรรม์ประกันภัยโควิด เว้นแต่ปรากฏหลักฐานชัดเจนต่อบริษัทว่าผู้เอาประกันภัยได้กระทำการทุจริตหรือฉ้อฉลประกันภัย เพื่อให้ตนเองหรือผู้อื่นได้รับประโยชน์จากการประกันภัย
โดยมูลเหตุสำคัญในการออกคำสั่งดังกล่าวมาจากในช่วงกลางปี 2564 สถานการณ์โควิด 19 ระบาดอย่างหนัก บริษัท สินมั่นคงประกันภัยฯ ซึ่งเป็นบริษัทประกันภัยที่ขายประกันภัยโควิดแบบเจอ-จ่าย-จบ หรือ COVID 2 in 1 นับ 1,000,000 ฉบับ ได้ส่งหนังสือถึงลูกค้าของบริษัทฯ โดยกล่าวอ้างเหตุของการบอกเลิกสัญญาสรุปได้ว่าเป็นผลสืบเนื่องจากการระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (COVID-19) ทำให้ผู้เอาประกันภัยของบริษัทฯ ได้รับความเดือดร้อนเสียหายในช่วงเวลาที่เกิดโรคระบาดอย่างรุนแรง เกิดความตื่นตระหนกแก่ผู้เอาประกันภัยของบริษัทอื่นและกรมธรรม์อื่นว่าจะถูกบอกเลิกกรมธรรม์หรือไม่ และทำให้เกิดกระแสสังคมวิพากษ์วิจารณ์ธุรกิจประกันภัยในแง่ลบ จึงมีความจำเป็นเร่งด่วนเพื่อแก้ไขปัญหาไม่ให้ลุกลาม เพราะถ้าหากบริษัท สินมั่นคงประกันภัยฯ สามารถบอกเลิกกรมธรรม์ประกันภัยโควิดได้เป็นผลสำเร็จ ก็สุ่มเสี่ยงที่จะถูกนำไปเป็นโมเดลให้กับบริษัทประกันภัยรายอื่น ๆ สามารถบอกเลิกกรมธรรม์ในลักษณะเดียวกันนี้ได้เช่นกัน ซึ่งจะส่งผลกระทบเป็นวงกว้างกับประชาชนที่ถือกรมธรรม์ประกันภัยโควิดรายอื่นทั้งหมดด้วย
สำนักงาน คปภ. ในฐานะหน่วยงานกำกับและส่งเสริมการประกอบธุรกิจประกันภัย รวมทั้งมีหน้าที่คุ้มครองสิทธิประโยชน์ด้านประกันภัยให้กับประชาชนผู้เอาประกันภัย จึงได้อาศัยฐานอำนาจที่มีอยู่ออกคำสั่งนายทะเบียนที่ 38/2564 ห้ามการบอกเลิกกรมธรรม์ประกันภัยสำหรับกรมธรรม์ประกันภัยโควิด เพื่อปกป้องผลประโยชน์ของประชาชนที่ถือกรมธรรม์ประกันภัยโควิด 19 ทั้งระบบจำนวน 16 ล้านฉบับ มูลค่าสินไหมทดแทนเกือบ 100,000 ล้านบาท ให้ได้รับความคุ้มครองตามเงื่อนไขกรมธรรม์ประกันภัยต่อไปจนกว่าจะหมดอายุกรมธรรม์
นอกจากนี้ สำนักงาน คปภ. เล็งเห็นว่าหากปล่อยให้มีการบอกเลิกกรมธรรม์ประกันภัยโควิด 19 ในขณะที่สถานการณ์โควิดรุนแรงและประชาชนหาซื้อประกันภัยโควิด 19 ไม่ได้ ก็จะเป็นการปล่อยปละละเลยให้บริษัทผู้รับประกันภัยใช้สิทธิโดยไม่สุจริตและเอาเปรียบประชาชนจนถึงขั้นอาจถูกมองได้ว่าเป็นการลอยแพประชาชนไปตามยถากรรม เนื่องจากหากประชาชนรู้ว่าจะถูกยกเลิกกรมธรรม์เมื่อเกิดภัย ก็คงไม่มีใครซื้อประกันภัยอย่างแน่นอน
ดังนั้น คำพิพากษาในคดีนี้จึงมีความสำคัญอย่างยิ่ง เพราะถ้าหากสำนักงาน คปภ. เป็นฝ่ายแพ้คดี ก็อาจถูกนำไปใช้เป็นบรรทัดฐานใหม่ให้กับบริษัทผู้รับประกันภัยใช้เป็นแนวทางบอกเลิกกรมธรรม์ประกันภัยประเภทอื่น ๆ หากเห็นว่ารับประกันภัยไปแล้ว แต่มีแนวโน้มที่บริษัทผู้รับประกันภัยจะต้องจ่ายค่าสินไหมทดแทนเป็นจำนวนมาก บริษัทผู้รับประกันภัยอาจใช้เป็นเหตุในการบอกเลิกกรมธรรม์ประกันภัยได้แบบเหมาเข่งในทุกกรณี ซึ่งไม่เคยเกิดขึ้นในสารบบของธุรกิจประกันภัยทั่วโลกมาก่อน และอาจส่งผลกระทบต่อความเชื่อมั่นของประชาชนที่มีต่อระบบประกันภัยในภาพรวมทั้งหมด
สำนักงาน คปภ. ขอกราบขอบพระคุณศาลปกครองกลางที่ให้ความเป็นธรรมกับหน่วยงานของรัฐที่ทำหน้าที่กำกับและส่งเสริมการประกอบธุรกิจประกันภัย รวมถึงคุ้มครองสิทธิประโยชน์ของประชาชนด้านการประกันภัย ให้ปฏิบัติตาม กฎ กติกา มีจริยธรรมในการดำเนินธุรกิจ เพื่อปกป้องผลประโยชน์ของประชาชนไม่ให้ถูกเอารัดเอาเปรียบ และพร้อมที่จะดำเนินการตามหน้าที่และอำนาจเพื่อคุ้มครองประโยชน์สาธารณะและรักษาความเชื่อมั่นของระบบประกันภัยไทยไว้อย่างสุดกำลังความสามารถ เพื่อให้ระบบประกันภัยไทยเป็นที่พึ่งของประชาชนอย่างแท้จริง
OIC Gateway เชื่อมโยงข้อมูลประกันภัย เพิ่มบริการ 3 ฟีเจอร์ใหม่ ประชาชน สะดวก รวดเร็ว รู้ครบทุกกรมธรรม์ เพื่อชีวิตที่ง่ายขึ้นกว่าเดิม
สำนักงานคณะกรรมการกำกับและส่งเสริมการประกอบธุรกิจประกันภัย (สำนักงาน คปภ.) โดยศูนย์ส่งเสริมเทคโนโลยีด้านการประกันภัย Center of InsurTech, Thailand (CIT) หรือศูนย์ CIT เดินหน้าพัฒนาโครงการ OIC GATEWAY เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพการให้บริการข้อมูลประกันภัยครบวงจรบนสมาร์ตโฟนที่ครอบคลุมการทำงานแบบมัลติฟังก์ชันด้านประกันภัยที่เข้าถึงง่ายผ่านทางแพลตฟอร์ม LINE Official Account ชื่อ คปภ. รอบรู้ หรือ โดยในระยะแรกได้เปิดให้บริการ กรมธรรม์ของฉัน หรือ MyPolicy ที่ช่วยให้ผู้เอาประกันภัยสามารถตรวจสอบข้อมูลกรมธรรม์ประกันภัยทั้งหมดของตนเองผ่านช่องทางนี้ได้ รวมถึงสามารถตรวจสอบข้อมูลที่ตั้งของสำนักงาน คปภ. และบริษัทประกันภัยทั้งหมดในประเทศไทย อีกทั้งยังสามารถตรวจสอบข้อมูลเกี่ยวกับตัวแทน/นายหน้าประกันภัย เพื่อให้เกิดความมั่นใจก่อนทำประกันภัย หรือหากจะทำเรื่องร้องเรียนผ่านระบบก็สามารถทำได้ง่าย สะดวกครบ จบในที่เดียว
ทั้งนี้ เพื่อยกระดับการให้บริการประชาชนให้ครอบคลุมมากขึ้น โครงการ OIC Gateway จึงได้พัฒนาในระยะที่สอง โดยเพิ่มฟีเจอร์ ที่อำนวยความสะดวกให้แก่ประชาชนอีก 3 บริการ คือ 1. บริการสรุปความคุ้มครองประกันภัย เพื่อให้ผู้เอาประกันภัยทราบสิทธิประโยชน์ความคุ้มครองได้ทันทีด้วยการสรุปความคุ้มครองจากการทำประกันภัยทั้งหมดไว้ด้วยกัน และอยู่ในรูปแบบที่เข้าใจได้ง่าย 2. บริการตรวจสอบสิทธิประโยชน์ทางภาษีจากการทำประกันภัย โดยจะมีการแสดงข้อมูลการลดหย่อนภาษีจากประกันภัยที่ทำไว้ในปัจจุบัน พร้อมบริการแนะนำผลิตภัณฑ์ประกันภัยที่สามารถซื้อเพิ่มเพื่อให้การวางแผนและบริหารการเงินเป็นไปอย่างมีประสิทธิภาพ และสามารถใช้สิทธิประโยชน์ทางภาษีได้อย่างคุ้มค่า และ 3. บริการตรวจสอบประวัติการเรียกร้องค่าสินไหมทดแทนของประกันภัยรถยนต์ภาคสมัครใจ โดยผู้เอาประกันภัยสามารถตรวจสอบประวัติการเรียกร้องค่าสินไหมย้อนหลังได้ถึง 2 ปี อีกทั้งสามารถตรวจสอบในเชิงรายละเอียดได้ลึกลงไปถึงรถยนต์แต่ละคันที่ผู้เอาประกันภัยทำประกันภัยไว้ พร้อมทั้งแสดงยอดค่าสินไหมทดแทนเพื่อจูงใจให้ผู้ทำประกันภัยขับขี่ดีขึ้น นอกจากการให้บริการดังกล่าวแล้ว ยังได้พัฒนาระบบให้เชื่อมโยงการให้บริการอื่นของ OIC Gateway กับหน่วยงานภาครัฐต่าง ๆ อีกด้วย
โครงการ OIC Gateway เป็นการพัฒนาแพลตฟอร์มกลาง หรือตัวกลาง โดยบูรณาการความร่วมมือกับภาคธุรกิจประกันภัยในการออกแบบและพัฒนาระบบ เพื่อให้ทำหน้าที่เสมือนทางด่วนเชื่อมโยงข้อมูลระหว่างสำนักงาน คปภ. และบริษัทประกันภัย รวมถึงหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง ผ่านศูนย์ข้อมูลของสำนักงาน คปภ. ที่มีมาตรฐานความมั่นคงปลอดภัยสารสนเทศในระดับสูง โดยได้ออกแบบและดำเนินการให้สอดคล้องกับข้อกฎหมายต่าง ๆ เช่น พระราชบัญญัติคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล พ.ศ. 2562 ซึ่งเป็นประโยชน์ในหลายด้านทั้งต่อประชาชนและบริษัทประกันภัย เพื่อให้สามารถใช้ประโยชน์จากข้อมูลแหล่งต่าง ๆ ในมิติที่หลากหลายมากขึ้น
OIC Gateway แพลตฟอร์มเชื่อมโยงข้อมูลประกันภัยแบบ Real Time ที่ช่วยให้เข้าถึงข้อมูลประกันภัยได้ตลอด 24 ชั่วโมง ครบจบในที่เดียว เปิดให้บริการแล้ว ทางแพลตฟอร์ม LINE Official Account ชื่อ “คปภ. รอบรู้” หรือ ค้นหาด้วย ID LINE ในชื่อ หลังจากเพิ่ม“คปภ. รอบรู้”เป็นเพื่อนแล้วก็สามารถลงทะเบียนเพื่อตรวจสอบข้อมูลของตนเองได้ง่าย ๆ ใน 4 ขั้นตอน 1. เลือกเมนู “ลงทะเบียน” 2. ถ่ายรูปบัตรประชาชนทั้งสองด้าน และเซลฟี่หน้าตนเองตรวจสอบรายละเอียด 3. อ่านข้อตกลง กดปุ่มยืนยันกรอกเบอร์โทรศัพท์ รับรหัส OTP และกรอกรหัส เพื่อยืนยัน 4. รออนุมัติและเริ่มใช้งานได้เลย ผู้ที่สนใจสามารถดูข้อมูลเพิ่มเติมได้ที่ https://cit.oic.or.th/oicconnect
คปภ. ห่วงใยประชาชน-เกษตรกร แนะใช้ระบบประกันภัยบริหารความเสี่ยงจากภัยธรรมชาติ
จากกรณีที่ประเทศไทยตอนบนได้เกิดพายุฤดูร้อน เนื่องจากมีแนวพัดสอบของลมตะวันออกเฉียงใต้และลมใต้พัดปกคลุมบริเวณภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ภาคตะวันออก ภาคกลาง และภาคเหนือตอนล่าง ในขณะที่ประเทศไทยตอนบนมีอากาศร้อนถึงร้อนจัด ทำให้บริเวณดังกล่าวมีพายุฤดูร้อนเกิดขึ้นหลายพื้นที่ โดยมีลักษณะของพายุฝนฟ้าคะนอง ลมกระโชกแรง และลูกเห็บตกบางแห่ง โดยสร้างความเสียหายให้กับอาคาร บ้านเรือน ที่อยู่อาศัย ตลอดจนผลผลิตทางการเกษตรได้รับความเสียหายในหลายพื้นที่นั้น
สำนักงานคณะกรรมการกำกับและส่งเสริมการประกอบธุรกิจประกันภัย (สำนักงาน คปภ.) ได้ติดตามสถานการณ์ดังกล่าวอย่างใกล้ชิด และมีความห่วงใยต่อความปลอดภัยในชีวิตและทรัพย์สินของพี่น้องประชาชน รวมถึงเกษตรกรที่ปลูกพืชผลทางการเกษตร จึงขอให้ประชาชนและเกษตรกรให้ความสำคัญในการทำประกันภัยเพื่อใช้เป็นเครื่องมือในการคุ้มครองความเสียหายที่จะเกิดขึ้นจากภัยธรรมชาติ
ทั้งนี้ การทำประกันภัยที่เกี่ยวข้องกับอาคารนั้นมีทั้งภาคสมัครใจและภาคบังคับตามกฎหมาย โดยในส่วนของอาคารอยู่ภายใต้กฎหมายควบคุมอาคาร ซึ่งบังคับให้เจ้าของอาคาร ผู้ครอบครองอาคาร หรือผู้ดำเนินการ สำหรับอาคารชนิดหรือประเภทตามที่กำหนดในกฎกระทรวงฯ ต้องจัดให้มีการประกันภัยความรับผิดตามกฎหมายต่อชีวิต ร่างกาย และทรัพย์สินของบุคคลภายนอกตามหลักเกณฑ์ วิธีการ เงื่อนไขและจำนวนเงินเอาประกันที่รัฐมนตรีว่าการกระทรวงมหาดไทยกำหนดในกฎกระทรวงโดยคำแนะนำของคณะกรรมการควบคุมอาคาร
สำหรับอาคารของเอกชนที่จะต้องปฏิบัติตามกฎกระทรวงดังกล่าว ประกอบไปด้วย อาคารสูง อาคารขนาดใหญ่ อาคารขนาดใหญ่พิเศษ อาคารชุมนุมคน โรงแรมตามกฎหมายว่าด้วยโรงแรม สถานบริการตามกฎหมายว่าด้วยสถานบริการ รวมถึงป้ายหรือสิ่งที่สร้างขึ้นสำหรับติดหรือตั้งป้ายที่สูงจากพื้นดินตั้งแต่ 15 เมตรขึ้นไป หรือมีพื้นที่ตั้งแต่ 50 ตารางเมตรขึ้นไป หรือป้ายที่ติดหรือตั้งบนหลังคาหรือดาดฟ้าของอาคารหรือส่วนหนึ่งส่วนใดของอาคารที่มีพื้นที่ตั้งแต่ 25 ตารางเมตรขึ้นไป จะต้องจัดให้มีการประกันภัยความรับผิดตามกฎหมายต่อชีวิต ร่างกาย และทรัพย์สินของบุคคลภายนอก ซึ่งหากไม่ปฏิบัติตามจะมีบทลงโทษจำคุกไม่เกิน 3 เดือน หรือปรับไม่เกิน 60,000 บาท หรือทั้งจำทั้งปรับ
ดังนั้น สำนักงาน คปภ. จึงขอฝากให้เจ้าของอาคารหรือผู้ประกอบการตระหนักถึงความสำคัญของการทำประกันภัยในทรัพย์สินดังกล่าวด้วย เพราะหากไม่ทำประกันภัยภาคบังคับ นอกจากจะได้รับความเสียหายเมื่อเกิดอัคคีภัยแล้ว ยังอาจได้รับโทษถึงจำคุกและปรับในส่วนของกรมธรรม์ประกันภัยที่ให้ความคุ้มครองหรือความเกี่ยวเนื่องกับไฟไหม้ เช่น ประกันอัคคีภัย จะให้ความคุ้มครองตัวอาคาร เฟอร์นิเจอร์ เครื่องใช้สำนักงาน สต๊อกสินค้า เครื่องจักร และเครื่องตกแต่งที่ติดตั้งไว้กับตัวอาคาร โดยให้ความคุ้มครองไฟไหม้ ฟ้าผ่า และการระเบิดของแก๊สที่ใช้ทำแสงสว่างหรือประโยชน์เพื่อการอยู่อาศัย ส่วนการประกันอัคคีภัยสำหรับที่อยู่อาศัย จะให้ความคุ้มครอง สิ่งปลูกสร้างหรือตัวอาคารใช้เป็นที่อยู่อาศัย (ไม่รวมฐานราก) ทรัพย์สินภายในบ้าน สิ่งที่ติดกับตัวอาคาร หรือเครื่องมือเครื่องใช้ภายในบ้าน โดยให้ความคุ้มครอง ไฟไหม้ฟ้าผ่า ระเบิด ภัยจากยวดยานพาหนะ ภัยจากอากาศยาน ภัยจากน้ำที่เกิดจากการรั่วซึมภายในอาคาร (ไม่รวมน้ำท่วม) รวมถึงภัยธรรมชาติ 4 ภัย ได้แก่ ภัยน้ำท่วม ภัยลมพายุ ภัยลูกเห็บ และภัยแผ่นดินไหว ในขณะที่ประกันภัยความเสี่ยงภัยทรัพย์สิน (IAR) จะให้ความคุ้มครองกว้างกว่าอัคคีภัย เช่น ไฟไหม้ ฟ้าผ่า ระเบิด ภัยจากยวดยานพาหนะ ภัยน้ำท่วม ภัยแผ่นดินไหว ภัยลมพายุ ภัยลูกเห็บ การโจรกรรมและอุบัติเหตุจากสาเหตุที่ไม่ได้ระบุไว้ในข้อยกเว้น เป็นต้น
สำหรับเกษตรกรที่ปลูกพืชผลทางการเกษตร สามารถจัดทำประกันภัย ข้าวนาปี ข้าวโพดเลี้ยงสัตว์ ทุเรียน ลำไย เป็นต้น เพื่อนำระบบประกันภัยเข้ามาบริหารความเสี่ยงภัยที่เกิดจากภัยธรรมชาติได้อีกด้วยทั้งนี้หากมีข้อสงสัยเรื่องประกันภัยสามารถสอบถามข้อมูลเพิ่มเติมได้ที่สายด่วน คปภ. 1186 หรือเว็บไซต์ www.oic.or.th
สำนักงาน คปภ. เดินเครื่องทดสอบระบบรายงานทางการเงินในรูปแบบคู่ขนาน ตามกรอบ TFRS 17 • ออกคำสั่งนายทะเบียนให้บริษัทประกันวินาศภัย/บริษัทประกันชีวิต ส่งงบการเงินคู่ขนานและรายงานเกี่ยวกับฐานะการเงินและกิจการคู่ขนาน (Parallel Run) สำหรับข้อมูลประจำไตรมาส 1/2567 ภายในเดือนสิงหาคม 2567
สำนักงานคณะกรรมการกำกับและส่งเสริมการประกอบธุรกิจประกันภัย (สำนักงาน คปภ.) โดยคณะกรรมการกำหนดนโยบายมาตรฐานการรายงานทางการเงินที่เกี่ยวข้องกับธุรกิจประกันภัย (คณะกรรมการฯ) ซึ่งมีอำนาจหน้าที่ พิจารณากำหนดทิศทางและนโยบายสำหรับการรองรับมาตรฐานการรายงานทางการเงินที่เกี่ยวข้องกับธุรกิจประกันภัย ให้เป็นไปตามวัตถุประสงค์และพิจารณาประเด็นปัญหาในทางปฏิบัติที่เกิดจากมาตรฐานการรายงานทางการเงินที่เกี่ยวข้องกับธุรกิจประกันภัย และกำหนดแนวทางการแก้ไขปัญหาร่วมกัน ให้สอดคล้องกับมาตรฐานการรายงานทางการเงินที่เกี่ยวข้องกับธุรกิจประกันภัย รวมทั้งพิจารณาแนวทางการเตรียมความพร้อมให้แก่ภาคธุรกิจและหน่วยงานที่เกี่ยวข้องในการใช้มาตรฐานการรายงานทางการเงินที่เกี่ยวข้องกับธุรกิจประกันภัยโดยคณะกรรมการฯ ได้มีมติเห็นชอบแผนการรองรับการปฏิบัติตามมาตรฐานการรายงานทางการเงิน ฉบับที่ 17 เรื่อง สัญญาประกันภัย (TFRS 17) กำหนดให้บริษัทประกันภัยนำส่งงบการเงินคู่ขนาน และรายงานเกี่ยวกับฐานะการเงินและกิจการคู่ขนาน (Parallel Run) สำหรับข้อมูลประจำไตรมาส 1/2567 ภายในเดือนสิงหาคม 2567 รวมถึงกำหนดให้บริษัทดำเนินกระบวนการตรวจข้อมูลดังกล่าวภายในเดือนพฤศจิกายน 2567 ดังนั้น เมื่อวันที่ 10 พฤษภาคม 2567 เลขาธิการคณะกรรมการกำกับและส่งเสริมการประกอบธุรกิจประกันภัย (เลขาธิการ คปภ.) ในฐานะนายทะเบียน จึงได้ออกคำสั่งนายทะเบียนที่ 9/2567 และ 10/2567 เรื่อง ให้บริษัทประกันวินาศภัย/บริษัทประกันชีวิต ส่งงบการเงินคู่ขนาน และรายงานเกี่ยวกับฐานะการเงินและกิจการคู่ขนาน ที่จัดทำตามมาตรฐานการรายงานทางการเงิน ฉบับที่ 17 เรื่องสัญญาประกันภัย โดยงบการเงินคู่ขนาน และรายงานเกี่ยวกับฐานะการเงินและกิจการคู่ขนาน ที่ต้องรายงานตามคำสั่งฯ นี้เป็น ข้อมูลทางการเงินที่บริษัททดลองจัดทำขึ้นในรูปแบบตามที่กำหนดไว้ในประกาศคณะกรรมการกำกับและส่งเสริมการประกอบธุรกิจประกันภัย เรื่อง หลักเกณฑ์ วิธีการ เงื่อนไข และระยะเวลา ในการจัดทำและยื่นงบการเงินของบริษัทประกันวินาศภัย/บริษัทประกันชีวิต พ.ศ. 2566 และประกาศคณะกรรมการกำกับและส่งเสริมการประกอบธุรกิจประกันภัย เรื่อง หลักเกณฑ์ วิธีการ เงื่อนไข และระยะเวลาในการจัดทำและยื่นรายงานเกี่ยวกับฐานะการเงินและกิจการของบริษัทประกันวินาศภัย/บริษัทประกันชีวิต พ.ศ. 2566 โดยมีเป้าประสงค์เพื่อส่งเสริมให้บริษัทประกันภัยเตรียมความพร้อมรองรับการบังคับใช้ TFRS 17 รวมถึงเพื่อเป็นการทดสอบระบบการนำส่งรายงานทางอิเล็กทรอนิกส์ ซึ่งเป็นระบบใหม่ที่สำนักงาน คปภ. พัฒนาขึ้น และเพื่อให้บริษัทประกันภัยได้ทดลองจัดทำงบการเงินและรายงานเกี่ยวกับฐานะการเงินและกิจการตาม TFRS 17 ก่อนที่มาตรฐานจะมีผลใช้บังคับในปี 2568 ทั้งนี้ ข้อมูลทางการเงินที่บริษัทประกันภัยนำส่งในกิจกรรมนี้ อาจมีการปรับปรุงหรือเปลี่ยนแปลงให้สมบูรณ์อีกครั้งหนึ่งในการออกรายงานทางการเงินในปี 2568
นอกจากนี้ เพื่อเป็นจุดเริ่มต้นในการติดตามและควบคุมคุณภาพของกระบวนการจัดทำงบการเงินของบริษัทประกันภัย ในคำสั่งนายทะเบียนดังกล่าวจึงได้มีข้อกำหนดให้บริษัทดำเนินการตรวจกระบวนการจัดทำงบการเงินคู่ขนาน เพื่อให้หน่วยงานตรวจสอบภายในของบริษัทเริ่มมีการเตรียมความพร้อมสำหรับการตรวจสอบงบการเงินใหม่ และเพื่อให้ผู้บริหารระดับสูงของบริษัทรับทราบความพร้อมของกระบวนการจัดทำงบการเงินของบริษัท ซึ่งรายการขอบเขตการตรวจที่กำหนดแนบท้ายคำสั่งนายทะเบียน ได้ผ่านการพิจารณาจากคณะทำงานสนับสนุนกระบวนการจัดทำงบการเงินตามมาตรฐานการรายงานทางการเงิน ฉบับที่ 17 ในช่วงปฏิบัติคู่ขนาน (Parallel run) เป็นที่เรียบร้อยแล้ว
คปภ. เปิดรับฟังความคิดเห็น ร่างหลักเกณฑ์การผ่อนผันให้มีบุคคลผู้ไม่มีสัญชาติไทยถือหุ้นบริษัทประกันชีวิตได้เกินกว่า 49%
สำนักงานคณะกรรมการกำกับและส่งเสริมการประกอบธุรกิจประกันภัย (สำนักงาน คปภ.) ได้จัดทำร่างประกาศกระทรวงการคลัง เรื่อง หลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไขหรือเงื่อนเวลาการขอผ่อนผันและการผ่อนผันให้มีบุคคลผู้ไม่มีสัญชาติไทยถือหุ้นได้เกินกว่าร้อยละสี่สิบเก้าของจำนวนหุ้นที่มีสิทธิออกเสียงและจําหน่ายได้แล้วทั้งหมด หรือมีกรรมการเป็นบุคคลซึ่งไม่มีสัญชาติไทยได้เกินกว่ากึ่งหนึ่งของจำนวนกรรมการทั้งหมด ในกรณีที่บริษัทประกันชีวิตมีฐานะหรือการดำเนินการอยู่ในลักษณะอันอาจเป็นเหตุให้เกิดความเสียหายแก่ผู้เอาประกันภัยหรือประชาชน พ.ศ. .... ซึ่งการดำเนินการดังกล่าว เป็นไปเพื่อให้เกิดความครบถ้วนของการออกกฎหมายลำดับรองตามพระราชบัญญัติประกันชีวิต พ.ศ. 2535 และที่แก้ไขเพิ่มเติม และเป็นไปตามมาตรา 22 วรรคสอง แห่งพระราชบัญญัติหลักเกณฑ์การจัดทำร่างกฎหมายและการประเมิน ผลสัมฤทธิ์ของกฎหมาย พ.ศ. 2562
การจัดทำร่างประกาศกระทรวงการคลังฯ ในครั้งนี้ มีจุดประสงค์เพื่อเป็นการเตรียมความพร้อมล่วงหน้ารองรับเหตุการณ์ที่ไม่คาดคิด ซึ่งอาจจะเกิดขึ้นในอนาคตและอาจจะส่งผลต่อฐานะการเงินของบริษัทประกันชีวิตได้ โดยประกาศฉบับนี้จะทำให้บริษัทรวมถึงสำนักงาน คปภ. มีเครื่องมือในการแก้ไขปัญหาให้ผ่านลุล่วงไปได้ โดยขณะนี้ สำนักงาน คปภ. อยู่ระหว่างการเปิดรับฟังความคิดเห็นต่อร่างประกาศกระทรวงการคลังฉบับดังกล่าว เพื่อนำความคิดเห็นและข้อเสนอแนะมาปรับปรุงร่างประกาศต่อไป โดยสามารถดาวน์โหลดร่างประกาศทั้งฉบับได้ที่ https://www.oic.or.th/th/public-hearing/
คลิกที่นี่เพื่อเป็นสมาชิก?
วิดีโอทั้งหมด (แสดงผลทั้งหมด)
ประเภท
ติดต่อ ธุรกิจของเรา
เว็บไซต์
ที่อยู่
อาคารพาณิชย์ เลขที่ 18/5 หมู่ที่ 4 ตำบลบ้านหลุม อำเภอเมือง จังหวัดสุโขทัย
Sukhothai Thani
64000
เวลาทำการ
จันทร์ | 08:00 - 17:00 |
อังคาร | 08:00 - 17:00 |
พุธ | 08:00 - 17:00 |
พฤหัสบดี | 08:00 - 17:00 |
ศุกร์ | 08:00 - 17:00 |
ตำบล ธานี อำเภอเมืองสุโขทัย สุโขทัย
Sukhothai Thani, 64000
ดำเนินการประสานงานเกี่ยวกับการพัฒนาชุมชนในจังหวัด
2/4 หมู่ 5
Sukhothai Thani, 64000
V-COP-ศูนย์เครือข่ายกำลังคนอาชีวศึกษา-
Sukhothai Thani, 64000
สำนักงานคณะกรรมการการเลือกตั้งประจำจังหวัดสุโขทัย
องค์การบริหารส่วนตำบลบ้านสวน หมู่ที่ ๙
Sukhothai Thani, ๖๔๒๒๐
เชิญกด Like ของ องค์การบริหารส่วนตำบลบ้านสวน
สำนักงานโยธาธิการและผังเมืองจังหวัดสุโขทัย 308 หมู่ที่ 7 ตำบลบ้านกล้วย อำเภอเมืองสุโขทัย
Sukhothai Thani, 64000
9 ถนนศรีอินทราทิตย์ ตำบลธานี
Sukhothai Thani, 64000
สามารถติดตามความเคลื่อนไหว ข่าวสารได้ที่ ... https://sukhothai.moc.go.th/pv?64
21/4 หมู่ 14 ถ. จรดวิถีถ่อง ต. บ้านกล้วย อ. เมือง จ. สุโขทัย
Sukhothai Thani, 64000
สำนักงานสวัสดิการและคุ้มครองแรงงาน