วัดพระศรีรัตนมหาธาตุ สุพรรณบุรี
ตำแหน่งใกล้เคียง สถานที่สักการะ
ถนนสมภารคง ต. รั้วใหญ่ อ. เมือง
เพจประชาสัมพันธ์วัดพระศรีรัตนมหาธาตุ เผยแพร่ความรู้และกิจกรรมสู่สาธุชน
#โครงการปลูกป่าในพื้นที่มรดกทางวัฒนธรรมเฉลิมพระเกียรติ
วันศุกร์ที่ ๒๘ มิถุนายน ๒๕๖๗
พระครูศรีรัตนวิภูษิต เจ้าอาวาสวัดพระศรีรัตนมหาธาตุ พร้อมด้วย
ร้อยเอก บุญยฤทธิ์ ฉายสุวรรณ ผู้อำนวยการสำนักศิลปากรที่ ๒ สุพรรณบุรี พร้อมด้วยข้าราชการ เจ้าหน้าที่ของสำนักศิลปากรที่ ๒ สุพรรณบุรีและหน่วยงานในสังกัด ร่วมกับเทศบาลตำบลรั้วใหญ่ จัดกิจกรรมปลูกต้นอโศกอินเดีย จำนวน ๑๑๕ ต้น เพื่อเฉลิมพระเกียรติพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว เนื่องในโอกาสพระราชพิธีมหามงคลเฉลิมพระชนมพรรษา ๖ รอบ ๒๘ กรกฎาคม ๒๕๖๗ ณ โบราณสถานวัดพระศรีรัตนมหาธาตุ ตำบลรั้วใหญ่ อำเภอเมืองสุพรรณบุรี จังหวัดสุพรรณบุรี
#ดาวรวงข้าว คติการสร้างโบราณสถาน ภูมิปัญญาขั้นสูงบรรพบุรุษของชาติ #โบราณดาราศาสตร์ ณ วัดพระศรีรัตนมหาธาตุ สุพรรณบุรี
#เรื่องนี้มีตำนาน #ไทยบันเทิง #ศูนย์สื่อศิลปวัฒนธรรม
#โบราณดาราศาสตร์ ภูมิปัญญาโบราณจากการศึกษาวิถีแห่งดวงดาว คติการสร้างโบราณสถานอันสง่างามและศักดิ์สิทธิ กษัตริย์ผู้สร้างราชวงศ์สุพรรณภูมิทรงมีพระปรีชาสามารถยิ่ง
กิจกรรมอบรม “ #ปริศนาดาราศาสตร์และโบราณคดีเมืองสุพรรณ” ณ วัดพระศรีรัตนมหาธาตุ โดยท่าน พระครูศรีรัตนวิภูษิต เจ้าคณะตำบลโคกโคเฒ่า เจ้าอาวาสวัดพระศรีรัตนมหาธาตุ เป็นประธานมอบของที่ระลึกการอบรม
โครงการอบรม #โบราณดาราศาสตร์ " #ปริศนาดาราศาสตร์และโบราณคดีเมืองสุพรรณบุรี"
ขอเชิญชวนผู้สนใจเข้าร่วมกิจกรรมอบรม ณ วัดพระศรีรัตนมหาธาตุ จ.สุพรรณบุรี วันจันทร์ที่ ๒๙ เมษายน พ.ศ.๒๕๖๗
อีกหนึ่งองค์ความรู้ของโบราณดาราศาสตร์ ช่วยไขความลับประวัติศาสตร์และโบราณคดี การกำหนดค่าอายุของโบราณสถานและสอบเทียบวันเดือนปีในจารึกต่าง ๆ
การเตรียมตัวเพิ่มเติมสำหรับผู้สนใจร่วมกิจกรรม
ติดตั้งโปรแกรมในโทรศัพท์มือถือ
- โปรแกรม Lumos (สำหรับมือถือไอโฟน) หรือ Sun Position (สำหรับมือถือแอนดรอยด์) เพื่อเรียนรู้การใช้เครื่องมือวัดจากแอพพลิเคชั่นที่มี เรียนรู้การอ่านค่าทางดาราศาสตร์ ระบุตำแหน่งพิกัด (Latitude, Longitude) และวันดวงอาทิตย์ในวันครีษมายัน วสันตวิษุวัต ศารทวิษุวัต และเหมายัน เทียบวิหารวัด พร้อมระบุวันที่ดวงอาทิตย์ขึ้นตรงหน้าวิหารหรือเจดีย์วัด
- โปรแกรม Compass i8 เพื่อเรียนรู้มุมทิศ (Azimuth) วัดทิศทั้งสี่ของเจดีย์ ด้วยเข็มทิศ หรือ แอพพลิเคชั่นจากมือถือ
พิธีเททองหล่อพระพุทธปฏิมากรสุพรรณภูมิ เป็นสิริมงคลของชาวจังหวัดสุพรรณ
พิธีจุดไฟสุมหุ่นพระพุทธปฏิมากรสุพรรณภูมิ (พระพุทธรูปประจำจังหวัดสุพรรณบุรี)
#สร้างบุญเสริมมงคลคนสุพรรณ
ขอเชิญร่วมกันสร้างบุญ ร่วมหนุนกำลังแรงศรัทธา ร่วมสร้างพระสักการะบูชา สร้างพระพุทธปฏิมากรสุพรรณภูมิ
***สิ่งดีๆของคนสุพรรณ***🙏🙏🙏
ขอเชิญร่วมทำบุญสร้างพระพุทธปฏิมากรสุพรรณภูมิ (ปางห้ามสมุทร)
ทองเหลือง พ่นทอง ฐานกว้าง 13 นิ้ว สูง 165 เซนติเมตร โดยจัดพิธีเททองหล่อพระ วันเสาร์ที่ 24 กุมภาพันธ์ 2567 (วันมาฆบูชา ขึ้น 15 ค่ำ เดือน 3 ปีเถาะ) เวลา 13.09 น. ณ วัดพระศรีรัตนมหาธาตุ ตำบลรั้วใหญ่ อำเภอเมืองสุพรรณบุรี จังหวัดสุพรรณบุรี เพื่อประดิษฐานพระพุทธปฏิมากรสุพรรณภูมิ (ปางห้ามสมุทร) ให้ข้าราชการและประชาชนได้สักการะบูชา
ณ ศาลากลางยังหวัดสุพรรณบุรี ร่วมทำบุญตามกำลังศรัทธา ได้ที่
ธนาคารกรุงไทย สาขาศูนย์ราชการจังหวัดสุพรรณบุรี
เลขบัญชี 359-0-38757-2
ชื่อบัญชี ร่วมทำบุญหล่อพระพุทธปฏิมากรสุพรรณภูมิ
สอบถามรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่
กลุ่มงานอำนวยการ สำนักงานจังหวัดสุพรรณบุรี
โทร 035-535106
ขออวยพร วันปีใหม่ ๒๕๖๗ เป็นพรว่า.....
ขอสรรพมงคล จงดลสุข แด่ทุกๆท่าน
เทพทุกสถาน จงอำนวย ช่วยรักษา
ขออำนาจ พุทธ,ธรรม,สงฆ์ ทรงเดชา
โปรดเมตตา ให้ท่านและครอบครัว
จงมีอายุยืนยาว มีวรรณผุดผ่องใส
มีความสุขกาย,ใจ มีพละ กำลังกายแข็งแรง
ตลอดปี ๒๕๖๗ ทกๆท่าน เทอญ.. ฯ
#พระครูศรีรัตนวิภูษิต
#เจ้าคณะตำบลโคกโคเฒ่า
#เจ้าอาวาสวัดพระศรีรัตนมหาธาตุ
ขอเชิญชวนไหว้พระ ๙ วัด ต้อนรับปีใหม่🎉🎊 เดินทางสะดวกปลอดภัย😄 ชีวิตสดใสเจริญรุ่งเรือง💝🎁🏆 สาธุ...🙏🙏🙏
เส้นทางไหว้พระ 9 วัด เมืองสุพรรณบุรี ต้อนรับปีใหม่ เสริมสิริมงคล เส้นทางเลียบแม่น้ำท่าจีนตัวเมืองสุพรรณบุรี ระยะทางไม่เกิน 10 กิโลเมตร สามารถท่องเที่ยวไหว้พระได้ภายใน 1 วัน 😁🤗🥰
1. วัดพระศรีรัตนมหาธาตุ
2. วัดแค
3. วัดสารภี
4. วัดพระลอย
5. วัดหน่อพุทธางกูร
6. วัดพระนอน
7. วัดพิหารแดง
8. วัดชีสุขเกษม
9. วัดสว่างอารมณ์
นักท่องเที่ยวสามารถดูข้อมูลเพิ่มเติ่ม พิกัด GPS ในรูปแบบ E-Book ได้ที่ลิงค์นี่เลย https://anyflip.com/ujuxs/mkpk/
#ไหว้พระ9วัดสุพรรณบุรี
#สุพรรณบุรี
#ททท.สำนักงานสุพรรณบุรี
#สำนักงานประชาสัมพันธ์จังหวัดสุพรรณบุรี
กิจกรรมบรรยายเชิงวิชาการ "วัดพระศรีรัตนมหาธาตุ มรดกสุพรรณภูมิ"
เรื่อง: แกะรอยมหาธาตุ สุพรรณบุรี และพระธาตุ ศาลาขาว ผ่านมุมมองและสัดส่วนสัมพันธ์
วิทยากร: ผศ.สิริเดช วังกรานต์
ภาควิชาศิลปสถาปัตยกรรม คณะสถาปัตกรรมศาสตร์
มหาวิทยาลัยศิลปากร
ณ วัดพระศรีรัตนมหาธาตุ สุพรรณบุรี วันที่ ๒๐ ธันวาคม พ.ศ.๒๕๖๖
#โฟโตแกรมเมตรี #สถาปัตยกรรม #โบราณสถาน
#วัดพระศรีรัตนมหาธาตุ #สุพรรณบุรี
#สุพรรณภูมิ
กิจกรรมบรรยายเชิงวิชาการ "วัดพระศรีรัตนมหาธาตุ มรดกสุพรรณภูมิ"
เรื่อง: การใช้เทคนิคโฟโตแกรมเมตรีเพื่อการศึกษาสถาปัตยกรรมของวัดพระศรีรัตนมหาธาตุและวัดอื่นๆในเมืองสุพรรณ
วิทยากร: อ.นฤดม แก้วชัย
กลุ่มวิชาอนุรักษ์โบราณสถาน
สำนักสถาปัตยกรรม กรมศิลปากร
ณ วัดพระศรีรัตนมหาธาตุ สุพรรณบุรี วันที่ ๒๐ ธันวาคม พ.ศ.๒๕๖๖
#โฟโตแกรมเมตรี
#วัดพระศรีรัตนมหาธาตุ #สุพรรณบุรี
#สุพรรณภูมิ
กิจกรรมบรรยายเชิงวิชาการ "วัดพระศรีรัตนมหาธาตุ มรดกสุพรรณภูมิ"
เรื่อง: บรมราชา-ศรีนทราธิราช ประวัติศาสตร์ขุนหลวงพ่องั่ว
วิทยากร: ผศ.ธนโชติ เกียรติณภัทร
ภาควิชาภาษาไทยและภาษาตะวันออก
คณะมนุษยศาสตร์ มหาวิทยาลัยรามคำแหง
ณ วัดพระศรีรัตนมหาธาตุ สุพรรณบุรี วันที่ ๒๐ ธันวาคม พ.ศ.๒๕๖๖
#ขุนหลวงพ่องั่ว ีนทราธิราช #ประวัติศาสตร์
#วัดพระศรีรัตนมหาธาตุ #สุพรรณบุรี
#สุพรรณภูมิ
กิจกรรมบรรยายวิชาการ #วัดพระศรีรัตนมหาธาตุ_มรดกสุพรรณภูมิ ได้ผ่านไปแล้ว
ได้สร้างศรัทธาในใจ ให้กับใครหลายๆคน ได้เริ่มต้นจุดประกาย ให้เล็งเห็นถึงคุณค่าเมืองเก่าสุพรรณบุรีแห่งนี้
วัดพระศรีรัตนมหาธาตุ ขอขอบคุณวิทยากรผู้มีความสามารถ ทั้ง ๓ ท่าน
๑. ผศ.ธนโชติ เกียรติณภัทร ภาควิชาภาษาไทยและภาษาตะวันออก คณะมนุษยศาสตร์ มหาวิทยาลัยรามคำแหง
๒. คุณนฤดม แก้วชัย กลุ่มวิชาการอนุรักษ์โบราณสถาน สำนักสถาปัตยกรรม กรมศิลปากร
๓. ผศ.สิริเดช วังกรานต์ ภาควิชาศิลปสถาปัตยกรรม คณะสถาปัตยกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยศิลปากร
และขอบคุณทุกท่าน ผู้ร่วมงานบรรยายทางวิชาการในครั้งนี้
ขออำนาจคุณพระศรีรัตนตรัยและสิ่งศักดิ์สิทธิทั้งหลายที่ปกป้องวัดพระศรีรัตนมหาธาตุแห่งนี้ จงคุ้มครองทุกท่านให้ปลอดภัย สุขสำเร็จสมปรารถนาทุกประการเทอญ...
#วัดพระศรีรัตนมหาธาตุ #มรดกสุพรรณภูมิ
ชื่อ "สุพรรณภูมิ" ในศิลาจารึกหลักที่ ๑ เป็นหลักฐานที่แสดงถึงความเก่าแก่ของเมืองโบราณแห่งนี้เป็นอย่างดี ปัจจุบันเชื่อกันว่าศูนย์กลางเมืองสุพรรณภูมิคือตำแหน่งของวัดพระศรีรัตนมหาธาตุ สุพรรณบุรี โบราณสถานสำคัญที่มีการค้นพบโบราณวัตถุชิ้นสำคัญ ๆ จำนวนมาก อันอาจแสดงถึงความสัมพันธ์อย่างยิ่งระหว่างวัดพระศรีรัตนมหาธาตุกับราชสำนักเมืองสุพรรณภูมิในอดีต อย่างไรก็ตามการศึกษาเกี่ยวกับวัดพระศรีรัตนมหาธาตุ ยังมีอีกหลายแง่มุมที่ยังต้องการหลักฐานชั้นปฐมภูมิ การตีความทางด้านประวัติศาสตร์จากหลักฐานต่างๆ โดยผู้เชี่ยวชาญกันต่อไป วัดพระศรีรัตนมหาธาตุและชุมชน ร่วมกับชมรมนักโบราณคดี(สมัครเล่น)เมืองสุพรรณ ขอเชิญชวนผู้สนใจเข้าร่วมรับฟังการบรรยายทางวิชาการเรื่อง "วัดพระศรีรัตนมหาธาตุ มรดกสุพรรณภูมิ" ในวันพุธที่ ๒๐ ธันวาคม พ.ศ. ๒๕๖๖ เวลา ๑๓.๐๐ ถึง ๑๖.๐๐ น. ณ วัดพระศรีรัตนมหาธาตุ จ.สุพรรณบุรี มา ณ ที่นี้
กำหนดการบรรยาย
13.30-14.20 น. "บรมราชา-ศรีนทราธิราช : ประวัติศาสตร์รัชกาลขุนหลวงพ่องั่ว"
โดย อาจารย์ธนโชติ เกียรติณภัทร ภาควิชาภาษาไทยและภาษาตะวันออก คณะมนุษยศาสตร์ มหาวิทยาลัยรามคำแหง
14.20-15.10 น. "การใช้เทคนิคโฟโตแกรมเมตรีเพื่อการศึกษาสถาปัตยกรรมของวัดมหาธาตุ และวัดอื่นๆ ในเมืองสุพรรณ"
โดย นาย นฤดม แก้วชัย กลุ่มวิชาการอนุรักษ์โบราณสถาน สำนักสถาปัตยกรรม กรมศิลปากร
15.10-16.00 น. "แกะรอยมหาธาตุ สุพรรณบุรี และพระธาตุ ศาลาขาว ผ่านมุมมองรูปทรงและสัดส่วนสัมพันธ์"
โดย ผศ. สิริเดช วังกรานต์ ภาควิชาศิลปสถาปัตยกรรม คณะสถาปัตยกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยศิลปากร
เชิญชมงานหัตถกรรมเครื่องจักสาน โดยชุมชนวัดพระศรีรัตนมหาธาตุ สุพรรณบุรี
การจัดแสดงพระเบญจภาคีแห่งเมืองสุพรรณ “พระผงสุพรรณ”
ผู้สนใจสามารถลงทะเบียนได้ที่
https://docs.google.com/forms/d/e/1FAIpQLSfoOWKMlhtVBynjqsyxaEzR7E8waDe2MOgf0ckKjHxNNcYl-Q/viewform
สอบถามรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่
วัดพระศรีรัตนมหาธาตุ สุพรรณบุรี 095-6498299
ชมรมนักโบราณคดี(สมัครเล่น)เมืองสุพรรณ 081-6147237, 081-8384676
ถ่ายทอดสดผ่าน Facebook Live เพจวัดพระศรีรัตนมหาธาตุ สุพรรณบุรี และ ชมรมนักโบราณคดี(สมัครเล่น)เมืองสุพรรณ
กฐินสามัคคีวัดพระศรีรัตนมหาธาตุ ๒๕๖๖
อิ่มบุญ อิ่มสุข สนุกสนาน ของชาวบ้านวัดพระธาตุ
เลขบุญกุศลแห่งปี ๕๕๙,๕๐๓.๗๕
ขอคุณพระศรีรัตนตรัยจงปกป้องคุ้มภัย
โชคดีมีชัย ร่ำรวยความสุขถ้วนหน้ากัน
ขออนุโมทนาบุญทุกท่าน...สาธุ....
ทำบุญ #ตักบาตรเทโว วันออกพรรษา ๒๕๖๖
ทำบุญ #ตักบาตรเทโว วันออกพรรษา ๒๙ ตุลาคม ๒๕๖๖
กำหนดการทำบุญตักบาตรเทโวของ #วัดพระศรีรัตนมหาธาตุ กำหนดจัดในวันขึ้น ๑๕ ค่ำ เดือน ๑๑ ของทุกปี
ในปีนี้ ตรงกับ วันอาทิตย์ที่ ๒๙ ตุลาคม ๒๕๖๖
ขอเรียนเชิญพุทธศาสนิกชนทุกท่าน ร่วมทำบุญในพิธีตักบาตรเทโวของวัดพระศรีรัตนมหาธาตุ
ช่วงเช้า ๗.๐๐ น. เป็นต้นไป
บทความจาก สยามเทศะ โดยมูลนิธิเล็ก-ประไพ วิริยะพันธุ์
แม้วันเวลาผันเปลี่ยนไป ยังแฝงมนต์ขลังในดินแดนสุพรรณภูมิ
#วัดพระศรีรัตนมหาธาตุ_สุพรรณบุรี
#เมืองเก่าสุพรรณบุรี #มรดกสุพรรณภูมิ 🙏🙏🙏
วัดพระศรีรัตนมหาธาตุ สุพรรณบุรี
หลักฐานการสถาปนาพระบรมธาตุเจดีย์เป็นศูนย์กลางของเมือง นัยยะทางการเมืองสมัยอยุธยาตอนต้น
วัดพระศรีรัตนมหาธาตุ สุพรรณบุรี เป็นวัดสำคัญคู่บ้านคู่เมืองสุพรรณมาแต่อดีต ตั้งอยู่ในบริเวณศูนย์กลางของเมืองโบราณสุพรรณบุรี ในท้องที่ตำบลรั้วใหญ่ อำเภอเมือง จังหวัดสุพรรณบุรี ตั้งอยู่ริมฝั่งแม่น้ำสุพรรณบุรี ด้านทิศตะวันตก บริเวณศูนย์กลางเมืองโบราณสุพรรณบุรี ไม่มีหลักฐานระบุแน่ชัดว่าสร้างขึ้นเมื่อใด
กรมศิลปากร ได้ให้ข้อมูลว่า ภายในวัดประกอบไปด้วยโบราณสถานที่สำคัญ ได้แก่ พระปรางค์ ซึ่งเป็นเจดีย์ประธานของวัดศิลปกรรมสมัยอยุธยาตอนต้น เจดีย์ทรงแปดเหลี่ยม จำนวน ๒ องค์ ตั้งอยู่ด้านทิศตะวันออกของพระปรางค์ อุโบสถ วิหารน้อย และซากเจดีย์รายจำนวน ๒ องค์ บริเวณด้านทิศตะวันตกของพระปรางค์ นอกจากนี้ยังมีพระพุทธรูปหินทรายอีกจำนวนหนึ่งที่อยู่ภายในวิหารด้านหน้าพระปรางค์
ลักษณะทางศิลปกรรมและสถาปัตยกรรมของพระปรางค์ ก่อด้วยอิฐสอดิน ผิวด้านนอกฉาบปูนส่วนฐานทำเป็นชุดฐานบัวลูกฟัก สี่เหลี่ยมย่อมุมซ้อนลดหลั่นกันขึ้นไป ๔ ชั้น รองรับองค์เรือนธาตุ ลักษณะมุมมีมุมประธานซึ่งมีขนาดใหญ่อยู่กลาง มุมย่อยซึ่งมีขนาดใหญ่อยู่กลาง มุมย่อยซึ่งมีขนาดเล็กกว่าขนาบทั้งสองข้าง
องค์เรือนธาตุสอบโค้งเข้าหาส่วนบน ย่อมุมรับกับส่วนฐาน มีมุมซุ้มจระนำทั้ง ๔ ด้าน เฉพาะด้านทิศตะวันออกทำเป็นคูหา ประดิษฐานพระปรางค์จำลอง ผนังห้องคูหาทั้ง ๓ ด้านฉาบปูนเรียบ เพดานบุด้วยแผ่นไม้กระดาน และมีบันไดขึ้นสู่คูหาเพียงด้านเดียว หน้าบันเรือนธาตุทำเป็นซุ้มลดซ้อนกัน ๒ ชั้น ประดับลวดลายปูนปั้นเป็นรูปมกรและนาค บริเวณชั้นบัวรัดเกล้าปรากฏรูปเทพพนมระหว่างมกรและนาค บริเวณชั้นบัวรัดเกล้าปรากฏลวดลายปูนปั้นเป็นรูปอุบะและกลีบบัว อันเป็นแบบประเพณีนิยมสมัยอยุธยาตอนต้น สามารถเปรียบเทียบได้กับชั้นบัวรัดเกล้าที่พระปรางค์วัดราชบูรณะ จังหวัดพระนครศรีอยุธยา
เหนือขึ้นไปเป็นชั้นเชิงบาตรครุฑแบก ยักษ์แบก แต่ปัจจุบันปรากฏเพียงปูนปั้นรูปยักษ์บริเวณมุมย่อยเท่านั้น นอกจากนี้บริเวณหน้ากระดานของวิมานชั้นแรกยังปรากฏลวดลายปูนปั้นเป็นรูปหงส์ รูปใบไม้ ในกระจกอีกด้วย
ส่วนยอดพระปรางค์ประกอบด้วยชั้นวิมานจำลองซ้อนลดหลั่นกันขึ้นไป 7 ชั้น สอบโค้งเข้าหาปลาย บริเวณมุมและด้านประดับด้วยกลีบขนุนและซุ้มบันแถลง ยอดพระปรางค์ประดังด้วยนภศูล
เมื่อปี พ.ศ.๒๔๕๖ ในคราวที่ชาวบ้านลักลอบขุดกรุพระปรางค์วัดนี้ ได้พบจารึกลานทองหลายลานด้วยกัน ที่สำคัญคือ จารึกที่กล่าวถึงกษัตริย์สองพระองค์ที่ทรงสร้างและทรงซ่อมพระปรางค์องค์ดังกล่าวไว้ด้วย (จารึกหลักที่ ๔๗) ) ซึ่งอายุของจารึกลานทองแผ่นนี้ นักภาษาโบราณหลายท่าน คือ ก่องแก้ว วีรประจักษ์, เทิม มีเต็ม , อุไรศรี วรศะริน ให้ความเห็นว่า อักษรในจารึกลานทองแผ่นนี้เป็นรูปอักษรในราวพุทธศตวรรษที่ ๒๔ สมัยรัตนโกสินทร์ตอนต้น แต่เมื่อพิจารณาตามข้อความในจารึกและพระนามพระมหากษัตริย์แล้วจะเห็นว่าเป็นพระนามกษัตริย์ในสมัยอยุธยา ขัดกันกับรูปอักษรมาก ในขณะที่พิจารณาทางรูปแบบศิลปกรรมศิลปกรรมขององค์ปรางค์ก็เป็นศิลปกรรมสมัยอยุธยา จึงมีทางเป็นไปได้ว่า จารึกลานทอง หลักที่ ๔๗ วัดพระศรีรัตนมหาธาตุนี้เป็นจารึกที่สร้างขึ้นใหม่ โดยใช้อักษรข้อความลอกเลียนแบบจารึกของเดิมซึ่งชำรุด
ในปี พ.ศ. ๒๕๔๒-๒๕๔๓ ฝ่ายวิชาการ สำนักงานโบราณคดีและพิพิธภัณฑสถานแห่งชาติที่ ๒ สุพรรณบุรี ได้ดำเนินงานขุดค้นบริเวณวัดพระศรีรัตนมหาธาตุ พบว่าบริเวณดังกล่าวนี้ปรากฏร่องรอยกิจกรรมของมนุษย์ในอดีตมาแล้วตั้งแต่พุทธศตวรรษที่ ๑๗.
สำนักศิลปากรที่ ๒ สุพรรณบุรี ได้ให้ข้อมูลถึงวัดพระศรีรัตนมหาธาตุ สุพรรณบุรี ว่า ในสมัยก่อนเป็นศูนย์กลางของเมืองสุพรรณภูมิ เป็นวัดคู่บ้านคู่เมือง สันนิษฐานว่ามีอายุไม่ต่ำกว่า ๖๐๐ ปี ปรางค์องค์ประธาน เป็นที่บรรจุพระบรมสารีริกธาตุไว้
เมื่อปี พ.ศ.๒๔๕๖ ชาวบ้านลักลอบขุดค้นหาทรัพย์สินจนทรุดโทรมไปมาก พระพิมพ์ผงสุพรรณบุรีที่โด่งดังมาก อันเป็นหนึ่งใน ‘เบญจภาคี’ ก็ได้ไปจากกรุในองค์พระปรางค์นี้ และพระเครื่องที่มีชื่อเสียงอื่นๆ ที่นอกเหนือจากพระผงสุพรรณ เช่น พระกำแพงศอก พระมเหศวร พระสุพรรณยอดโถ พระสุพรรณหลังผาน ตลอดจนพระเนื้อชินต่างๆ ซึ่งปัจจุบันหายาก
นักโบราณคดีหลายท่านให้ความเห็นว่า น่าจะเป็นศิลปะการก่อสร้าง ในสมัยอู่ทองสุพรรณภูมิ เพราะหลักฐานการก่อสร้าง เป็นการก่ออิฐไม่ถือปูน ซึ่งเป็นวิธีการเก่าแก่ก่อนสมัยอยุธยา เดิมเป็นวัดสำคัญของเมืองโบราณสุพรรณบุรีมาตั้งแต่สมัยอยุทธยาตอนต้น ก่อนถูกทิ้งร้างไปช่วงระยะเวลาหนึ่ง เมื่อคราวสงครามเสียกรุงศรีอยุธยาตอนต้น ก่อนถูกทิ้งร้างไปช่วงระยะเวลาหนึ่ง เมื่อสงครามเสียกรุงศรีอยุธยาครั้งที่ ๒ เมื่อพุทธศักราช ๒๓๑๐ จากนั้นจึงมีการบูรณปฎิสังขรณ์ใหม่อีกครั้งในสมัยกรุงรัตนโกสินทร์
ประวัติการสร้างวัดพระศรีรัตนมหาธาตุ สุพรรณบุรี ปรากฎในจารึกบนแผ่นลานทองที่พบจากกรุพระปรางค์ และยอดนภศูล เมื่อ พ.ศ.๒๔๕๖ ข้อความในจารึกระบุถึงการสร้างพระสถูป (องค์พระปรางค์) ของพระมหากษัตริย์ และการปฎิสังขรณ์ โดยพระราชโอรสในสมัยต่อมา ซึ่งนักวิชาการมีความเห็นว่า พระมหากษัตริย์ผู้ทรงสร้าง อาจหมายถึงสมเด็จพระนครินทราธิราช หรืออาจหมายถึงสมเด็จพระบรมราชาธิราชที่ ๒ (เจ้าสามพระยา) จึงนำไปสู่ข้อสันนิษฐานว่า วัดพระศรีรัตนมหาธาตุ สุพรรณบุรี สถาปนาขึ้นช่วงต้นกรุงศรีอยุธยา (พุทธศตวรรษที่ ๒๐) ระหว่างรัชกาลใดรัชกาลหนึ่ง
แผนผังสถาปัตยกรรม ประกอบไปด้วย เจดีย์ทรงปรางค์เป็นประธานของวัด ด้านข้างมีปีกปรางค์หรือปรางค์ขนาดเล็กขนาบปรางค์ประธานทั้งสองข้าง ทำระเบียงคตล้อมอยู่โดยรอบ ด้านนอกระเบียงคตมีวิหารหลวงอยู่ด้านหน้าทางทิศตะวันออก และอุโบสถอยู่ด้านหลังทางทิศตะวันตก โดยสร้างอยู่แนวเดียวกับปรางค์ประธาน ตามความนิยมในสมัยกรุงศรีอยธยาตอนต้น นอกระเบียงคตยังมีวิหารราย และเจดีย์รายอีกหลายองค์รายล้อมอยู่โดยรอบ
กรมศิลปากร ประกาศขึ้นทะเบียนวัดพระศรีรัตนมหาธาตุ สุพรรณบุรี เป็นโบราณสถานสำคัญสำหรับชาติ ในราชกิจจานุเบกษา เล่ม ๕๒ หน้า ๓๗๑๐ วันที่ ๘ มีนาคม พ.ศ.๒๔๗๘ หลังจากนั้นได้มีการดำเนินงานขุดศึกษาโบราณคดี และบูรณะโบราณสถานบางส่วนเป็นระยะ และปรับปรุงสภาพภูมิทัศน์จนแล้วเสร็จ เมื่อปี พ.ศ.๒๕๖๒.
บทความ ‘ไหว้พระบรมธาตุศักดิ์สิทธิ์และชมวัดสมัยอโยธยา-สุพรรณภูมิ ที่ จ.สุพรรณบุรี และแพรกศรีราชา จ.ชัยนาท’ โดย มูลนิธิเล็ก-ประไพ วิริยะพันธุ์ จัดทริปพิเศษเพื่อการเรียนรู้เรื่องท้องถิ่น ได้ให้ข้อมูลในหัวข้อ ‘วัดพระศรีรัตนมหาธาตุ-พระบรมธาตุแห่งราชาผู้ทรงบุญบารมี’ ว่า
‘ ...คติการบูชาพระบรมธาตุในบ้านเมืองแถบนี้ เป็นคติความเชื่อที่ได้รับอิทธิพลจากพุทธศาสนานิกายเถรวาทในฐานะสิ่งรำลึกถึงพระพุทธองค์ มีการสร้างพระสถูปหรือพระเจดีย์เพื่อใช้บรรจุหรือที่เรียกว่าพระบรมธาตุเจดีย์ โดยในช่วงก่อนพุทธศตวรรษที่ ๑๖ พระบรมธาตุเจดีย์มีความสำคัญในฐานะของสถานที่จาริกแสวงบุญของนักบวชที่เดินทางเข้าสักการะ
ภายหลังพุทธศตวรรษที่ ๑๖ พระบรมธาตุเจดีย์ได้ถูกเปลี่ยนแปลงความหมายไปเกี่ยวข้องกับการเมืองเพิ่มมากขึ้น ทั้งการสถาปนาพระบรมธาตุเจดีย์ขึ้นเป็นศูนย์กลางของเมือง และรับรองสถานะของผู้ครอบครองว่าเป็นผู้ที่มีบุญบารมีเหนือกว่าคนทั่วไปหรือผู้ปกครองคนอื่นๆ โดยช่วงเวลาดังกล่าวมี วัดมหาธาตุ วัดพระศรีรัตนมหาธาตุ เกิดขึ้นอยู่ตามภูมิภาคต่างๆ ซึ่งมีลักษณะร่วมกันอยู่ดังนี้
๑. เป็นวัดกลางเมืองที่ดูใหญ่โตสำคัญกว่าวัดอื่นๆ มีพระมหาสถูปเจดีย์เป็นประธานอย่างสง่างาม
๒. มีการสืบเนื่องกันนานกว่าวัดอื่นๆ ดังเห็นได้จากพระมหาธาตุเจดีย์เองได้รับการบูรณปฏิสังขรณ์อยู่เรื่อยๆ ในขณะที่ภายในบริเวณพุทธวาสมีการก่อสร้างพระสถูปเจดีย์วิหารหรือโบสถ์เพิ่มเติมเรื่อยมา จนระยะหนึ่งจะเห็นได้ว่าเป็นวัดที่มีพระเจดีย์มากมายหลายรูปแบบอยู่รวมกันอย่างสืบเนื่อง
๓. มักมีการเขียนตำนานหรือสร้างตำนานเกี่ยวกับความเป็นมาของพระบรมธาตุ และประวัติของเมืองของนครควบคู่กันไป จนทำให้รู้สึกว่าพระบรมธาตุหรือวัดมหาธาตุเป็นสิ่งที่แยกไม่ออกจากเมือง เป็นของที่คู่กันถ้ามีเมืองก็ต้องมีวัดมหาธาตุ เหมือนกันกับการมีชุมชนหมู่บ้านที่เรียกว่าบ้านนั้นต้องมีวัดเสมอ และวัดนั้นก็มักใช้ชื่อบ้านเป็นชื่อวัด ในขณะที่วัดมหาธาตุจะถูกเรียกว่า วัดมหาธาตุเมืองนั้นเมืองนี้เช่นกัน
วัดพระศรีรัตนมหาธาตุ สุพรรณบุรี จึงสะท้อนให้เห็นถึงความยิ่งใหญ่และความแข็งแกร่ง (บุญบารมี) ของผู้ปกครองเมืองสุพรรณภูมิในอดีต จากการศึกษาที่ผ่านมายังพบว่าที่ตั้งของวัดพระศรีรัตนมหาธาตุเป็นใจกลางของเมืองสุพรรณภูมิเดิมก่อนที่มีการย้ายเมืองไปอยู่ฝั่งตะวันตกของแม่น้ำท่าจีน
พระปรางค์มีรูปทรงอ้วนเทะอะมากกว่าปรางค์วัดราชบูรณะในสมัยอยุธยา อีกทั้งการก่ออิฐก็ไม่สอปูน ซึ่งบ่งชี้ว่าน่าจะมีอายุสมัยสุพรรณภูมิ แต่มาบูรณะในสมัยอยุธยา และจากการขุดค้นในองค์ปรางค์ยังพบพระพุทธรูปอู่ทองจำนวนมาก… ‘.
รายงานผลการดำเนินงานทางโบราณคดีกำแพงเมืองโบราณสุพรรณบุรี วัดพระศรีรัตนมหาธาตุ สุพรรณบุรี โดยสำนักงานโบราณคดีและพิพิธภัณฑสถานแห่งชาติที่ ๒ สุพรรณบุรี มีการนำเสนอข้อสันนิษฐานและข้อสรุปที่เกี่ยวข้องอ้างอิงกับพระปรางค์ประะาน วัดพระศรีรัตนมหาธาตุ สุพรรณบุรี ดังนี้
' ...เมื่อหลักฐานหลายอย่างดังที่กล่าวมาทำให้เชื่อได้ว่า วัดพระศรีรัตนมหาธาตุ สุพรรณบุรี สร้างขึ้นในช่วงสมัยอยุธยาตอนต้น ประกอบกับพิจารณาแผนผังการวางตำแหน่งโบราณสถานในแต่ละหลังที่ปรากฏว่า อยู่ในลักษณะสมมาตรกัน คือมีพระปรางค์เป็นประธานของวัด ประกอบด้วยวิหารตั้งอยู่ทางด้านหน้า ด้านข้างของวิหารมีเจดีย์ทรงแปดเหลี่ยมอยู่ข้างละองค์ วิหารน้อยข้างละหลัง มีอุโบสถทางด้านหลัง เป็นต้น
ดังนั้น ซากโบราณสถานที่ปรากฏอยู่ภายในบริเวณวัดจึงไม่น่าจะมีอายุเก่าไปกว่าอายุของพระปรางค์ประธาน
จากหลักฐานทางประวัติศาสตร์พบว่า เมืองโบราณสุพรรณบุรี หรือเรียกอีกชื่อหนึ่งว่า เมืองสุพรรณภูมิ มีบทบาทในประวัติศาสตร์อย่างมาก โดยเฉพาะช่วงก่อนการสถาปนากรุงศรีอยุธยาเป็นราชธานี และช่วงสมัยกรุงศรีอยุธยาตอนต้น พระมหากษัตริย์แห่งกรุงศรีอยุธยาหลายพระองค์เสด็จไปจากสุพรรณบุรี เป็นต้นว่า สมเด็จพระบรมราชาธิราชที่ ๑ (ขุนหลวงพะงั่ว) สมเด็จพระนครินทราชาธิราช ดังนั้น จึงเป็นที่น่าสนใจว่า บริเวณที่เคยเป็นที่ประทับของพระมหากษัตริย์ดังกล่าวซึ่งอาจจะเรียกว่า วัง ซึ่งเป็นที่อยู่อาศัยของชนชั้นปกครองหรือศูนย์กลางการปกครองในช่วงเวลาดังกล่าว ตั้งอยู่บริเวณใดของเมืองโบราณสุพรรณบุรี
จากพระราชนิพนธ์ของพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ ๕ ครั้งเสด็จประพาสสุพรรณบุรี เมื่อพ.ศ.๒๔๕๒ (ร.ศ.๑๒๗) ได้ทรงวินิจฉัยว่า ' ...วังจะอยู่ระหว่างพระมหาธาตุและสาลหลักเมืองตามที่พบโคกเนินดินลึกขึ้นไปกว่าแม่น้ำ... '
จากการขุดค้นทางโบราณคดีไม่พบหลักฐานที่ชัดเจน อันแสดงให้เห็นถึงความเป็นวังหรือที่อยู่อาศัยของชนชั้นปกครอง แม้จากการขุดค้นจะพบร่องรอยของสิ่งก่อสร้างมากมาย แต่ก็ไม่อาจบอกได้ถึงลักษณะและหน้าที่การใช้งานที่ชัดเจนของร่องรอยสิ่งก่อสร้างเหล่านั้น เพียงแต่สันนิษฐานได้จากแนวคิดที่ว่า วังหรือที่อยู่อาศัยของเจ้านาย ตลอดจนชนชั้นปกครองก่อนสมัยกรุงศรีอยุธยาน่าจะก่อสร้างด้วยเครื่องไม้ จึงไม่ปรากฏหลักฐานที่เด่นชัดให้พิสูจน์ได้ในปัจจุบัน โดยความเป็นศูนย์กลางเมืองจะอยู่ที่สิ่งก่อสร้างทางพุทธศาสนา ซึ่งได้แก่ วัด โดยเฉพาะวัดพระศรีรัตนมหาธาตุ ซึ่งมีพระปรางค์เป็นเจดีย์ประธานของวัด และเป็นที่ประดิษฐานพระบรมสารีริกธาตุของสมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้า
วัดพระศีรีรัตนมหาธาตุ สุพรรณบุรี น่าจะมีการใช้ประโยชน์อย่างต่อเนื่องจนเมื่อเสียกรุงศรีอยุธยาครั้งที่ ๒ เมื่อ พ.ศ.๒๓๑๐ วัดจึงถูกทิ้งร้างไปชั่วระยะเวลาหนึ่ง ดังจะเห็นได้จากชั้นดินทางโบราณคดีที่พบว่า มีชั้นพังทลายของสิ่งก่อสร้างต่างๆ อยู่ในทุกหลุมขุดค้น และเริ่มมีการเข้ามาบูรณะใหม่อีกครั้งเมื่อสมัยต้นกรุงรัตนโกสินทร์ตราบจนสมัยปัจจุบัน... '.
ศ. ดร.สันติ เล็กสุขุม (ราชบัณฑิต) สำนักศิลปกรรม ประเภทวิชาสถาปัตยศิลป์ สาขาวิชาประวัติศาสตร์สถาปัตยกรรม ราชบัณฑิต ได้ให้ข้อมูลถึงงานวิเคราะห์วิจัยระดับปริญญาโท สาขาโบราณคดี ซึ่งจัดพิมพ์ในชื่อ ‘วิวัฒนาการของชั้นประดับลวดลายสมัยอยุธยาตอนต้น’ ว่า มีอยู่ตอนหนึ่งของหนังสือ ได้เชื่อมโยงข้อมูลลวดลายปูนปั้นประดับปรางค์วัดพระศรีรัตนมหาธาตุ สุพรรณบุรี ไปที่ข้อมูลของปรางค์วัดพระศรีรัตนมหาธาตุ เชลียง (ศรีสัชนาลัย) และที่ปรางค์วัดพระศรีรัตนมหาธาตุ พิษณุโลก ให้ข้อชี้แจง ข้ออ้างอิง ยาวเกือบ ๒๐ บรรทัด ซึ่งนำมาสรุปสั้นๆ ได้ดังนี้
‘ …ปรางค์ประธานวัดพระศรีรัตนมหาธาตุ สุพรรณบุรี เหลือลวดลายปูนปั้นให้ศึกษาได้ละเอียดเพียงแห่งเดียว รูปแบบของปรางค์คลี่คลายมามากแล้วจากประสาทแบบเขมร สำหรับงานปูนปั้นประดับมีแบบอย่างใกล้ชิดกับรสนิยมจีนมากขึ้น คือประเด็นกำหนดอายุว่า ปั้นคราวบูรณะครั้งรัชกาลสมเด็จพระบรมไตรโลกนาถ… ‘.
วิทยานิพนธ์ 'วัดพระศรีรัตนมหาธาตุ จังหวัดสุพรรณบุรี วิเคราะห์ศิลปกรรมร่วมกับหลักฐานทางโบราณคดี' โดย ภัทรชนก นิธังกร ซึ่งเป็นส่วนหนึ่งของการศึกษาตามหลักสูตรปริญญาศิลปศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาประวัติศาสตร์ศิลปะ ภาควิชาประวัติศาสตร์ศิลปะ บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยศิลปากร ปีการศึกษา พ.ศ.๒๕๕๙ มีบทสรุปถึงปรางค์ประธาน วัดพระศรีรัตนมหาธาตุสุพรรณบุรี ดังนี้
' ...แผนผังวัดพระศรีรัตนมหาธาตุ สุพรรณบุรี เป็นแผนผังสมัยอยุธยาตอนต้น คือมีปรางค์เป็นประธานขอวัด ล้อมรอบด้วยแนวระเบียงคต มีวิหารตั้งอยู่ทางทิศตะวันออก ท้ายวิหารยื่นล้ำเข้ามาภายในระเบียงคต และมีอุโบสถตั้งอยู่ทางทิศตะวันตก
นอกจากนี้ภายในระเบียงคตยังพบพระพุทธรูปอู่ทองรุ่น ๓ จำนวน ๑ องค์ และจากการขุดแต่งยังพบชิ้นส่วนเศียรพระพุทธรูปอู่ทองรุ่น ๓ เพิ่มเติมอีกจำนวน ๒๕ เศียร สามารถนำมายืนยันร่วมกับพระพุทธรูปอู่ทองรุ่น ๓ ที่พบภายในระเบียงคตว่า น่าจะเคยมีพระพุทธรูปอู่ทองรุ่น ๓ ประดิษฐานอยู่ภายในระเบียงคตอีกหลายองค์ จึงกำหนดอายุแผนผังวัดพระศรีรัตนมหาธาตุ สุพรรณบุรี ว่าควรสร้างขึ้นราวต้นพุทธศตวรรษที่ ๒๐
ส่วนปรางค์ประธาน มีรูปแบบจัดอยู่ในสมัยอยุธยาตอนต้น เช่น ฐานปรางค์ไม่สูงมากนักผนังเรือนธาตุเอนสอบ ไม่มีตรีมุข ยอดปรางค์เป็นพุ่มสูงขนาดใหญ่ ขนาดข้างด้วยปีกปรางค์ (ที่มีร่องรอยการซ่อม) ประดับด้วยลวดลายปูนปั้นแบบเขมรที่น่าจะสร้างขึ้นพร้อมกับปรางค์ประธาน เช่น ลายกลีบบัวลายตุ่มแหลม ส่วนลวดลายปูนปั้นแบบจีนเป็นลวดลายซ่อมในช่วงต้นพุทธศตวรรษที่ ๒๑ ถึงแม้ว่าลวดลายปูนปั้นประดับเป็นงานที่ทำขึ้นสองสมัยแต่รูปแบบปรางค์ประธานสามารถกำหนดอายุร่วมกับแผนผังของวัด ซึ่งเป็นงานที่สร้างขึ้นระยะเดียวกัน
รวมถึงเจดีย์รายระฆังในผังแปดเหลี่ยมที่มีรูปแบบก่อนกลางพุทธศตวรรษที่ ๒๐ จึงกำหนดอายุวัดพระศรีรัตนมหาธาตุ สุพรรณบุรี อยู่ราวต้นพุทธศตวรรษที่ ๒๐ สอดคล้องกับหลักฐานทางโบราณคดีที่พบภายในวัดคือ เศษเครื่องถ้วยเซลาดอนสมัยราชวงศ์หยวน และเศษเครื่องถ้วยเวียดนามสมัยราชวงศ์เตริ่น กำหนดอายุอยู่ในช่วงต้นพุทธศตวรรษที่ ๒๐ และจากการขุดแต่งยังพบเศษเครื่องถ้วยจีนที่มีอายุหลังลงมาราวอยุธยาตอนกลางจนถึงรัตนโกสินทร์ หรือพุทธศตวรรษที่ ๒๑-๒๕ สอดรับกับหลักฐานการซ่อมปีกปรางค์และลวดลายปูนปั้นแบบจีนที่เป็นงานซ่อมขึ้นในภายหลัง
หลักฐานทางศิลปกรรมและหลักฐานโบราณคดีที่กล่าวในข้างต้น สัมพันธ์กับหลักฐานทางประวัติศาสตร์ในช่วงต้นพุทธศตวรรษที่ ๒๐ คือ จากรูปแบบศิลปกรรมที่มีอายุอยู่ในช่วงเดียวกับวัดมหาธาตุอยุธยา สร้างในปี พ.ศ.๑๙๑๗ และก่อนวัดราชบูรณะ อยุธยา ที่สร้างขึ้นในปี พ.ศ.๑๙๖๗ ในสมัยสมเด็จพระบรมราชาธิราชที่ ๒ ช่วงเวลาตั้งแต่ปี พ.ศ.๑๙๑๗-๑๙๖๗ มีระยะห่างกันถึง ๕๐ปี ซึ่งตรงกับช่วงที่สมเด็จพระนครินทราชาได้เสด็จมาครองราชย์ที่เมืองสุพรรณบุรี
หลังจากนั้นสมเด็จพระนครินทราชาได้เสด็จไปขึ้นครองราชย์ที่สุโขทัย กำแพงเพชร และย้ายศูนย์กลางอำนาจไปอยู่ที่อยุธยาจึงไม่มีเหตุผลใดเลยที่สมเด็จพระนครินทราชาจะกลับมาสร้างวัดมหาธาตุประจำเมืองขึ้นในภายหลัง รวมทั้งกษัตริย์ที่ขึ้นครองราชย์อยุธยาต่อจากสมเด็จพระนครินทราชา ไม่ปรากฏว่ามีกษัตริย์พระองค์ใดมาครองที่เมืองสุพรรณบุรี
จากหลักฐานที่กล่าวมาทั้งหมดจึงยืนยันได้ว่า วัดพระศรีรัตนมหาธาตุ สุพรรณบุรี น่าจะสร้างขึ้นในสมัยสมเด็จพระนครินราชาครองราชย์อยู่ที่เมืองสุพรรณบุรีจนถึงปี พ.ศ.๑๙๒๗ ที่พระองค์ต้องเสด็จขึ้นไปครองราชย์ที่หัวเมืองเหนือ
ดังนั้น วัดพระศรีรัตนมหาธาตุสุพรรณบุรี น่าจะสร้างขึ้นราวต้นพุทธศตวรรษที่ ๒๐ คือตั้งแต่ปี พ.ศ.๑๙๑๗-๑๙๒๗ หรือในช่วงระยะเวลา ๑๐ ปี และน่าจะสร้างขึ้นพร้อมกับการสร้างผังเมืองสุพรรณบุรีด้วยเช่นกัน
หลักฐานทั้งหมดนำมาพิจารราร่วมกับจารึกลานทองทั้ง ๓ แผ่นพบว่ามีความใกล้เคียงกับการตีความจารึกลานทอง กล่าวคือวัดพระศรีรัตนมหาธาตุ สุพรรณบุรี น่าจะสร้างขึ้นในสมัยพระนครินทรราชา ส่วนการซ่อมในจารึกลานทองระบุว่า พระโอรสของพระจักรพรรดิที่ตีความกันว่า หมายถึงสมเด็จพระบรมราชาธิราชที่ ๒ (เจ้าสามพระยา) ได้เข้ามาซ่อมสถูปที่พระบิดาได้สร้างไว้
จากการศึกษาในครั้งนี้ยังไม่ปรากฏหลักฐานชัดเจน ทำได้เพียงตั้งข้อสันนิษฐานว่า ร่องรอยการซ่อมปีกปรางค์ประธานอาจทำขึ้นในสมัยพระบรมราชาธิราชที่ ๒ หรือในคราวเดียวกับการซ่อมลวดลายปูนปั้นแบบจีนในช่วงต้นพุทธศตวรรษที่ ๒๑ สมัยสมเด็จพระบรมไตรโลกนาถ... '
.
____________________
พรเทพ เฮง: เรียบเรียง
#สยามเทศะโดยมูลนิธิเล็กประไพวิริยะพันธุ์
ติดตามบทความ วิดีโอ และรายการต่างๆ เพิ่มเติมได้ที่
Official Web : https://siamdesa.org
https://www.facebook.com/สยามเทศะ-โดยมูลนิธิเล็ก-ประไพ-วิริยะพันธุ์-323215901674254
https://www.youtube.com/user/lekprapai/featured
https://www.instagram.com/siamdesa_lekprapai/?hl=th
https://lek-prapai.org/home
https://lekprapai.wixsite.com/lekprapai
https://www.blockdit.com/pages/60934dc31b39400c4b221773
พิธีบวงสรวงสิ่งศักดิ์สิทธิ์ งานบูรณะหลังคาวิหารหลวง
วันที่ ๒๔ เมษายน พ.ศ.๒๕๖๖ สำนักศิลปากรที่ ๒ สุพรรณบุรี
นำโดยท่าน ร้อยเอกบุญฤทธิ์ ฉายสุวรรณ ผู้อำนวยการสำนักศิลปากรที่ ๒ สุพรรณบุรี ทำพิธีบวงสรวงสิ่งศักดิ์สิทธิ์ก่อนบูรณะซ่อมแซมหลังคาวิหารหลวงวัดพระศรีรัตนมหาธาตุ ต่อไป...
วันอาทิตย์ที่ ๒๗ พฤศจิกายน พ.ศ.๒๕๖๕ ชมรมนักโบราณคดี(สมัครเล่น)เมืองสุพรรณ จัดกิจกรรมทัศนศึกษา " #ตามรอยจารึกลานทองสุพรรณภูมิ" ณ โบราณสถาน วัดพระศรีรัตนมหาธาตุ จังหวัดสุพรรณบุรี ที่มีความเกี่ยวข้องกับจารึกลานทองสุพรรณภูมิ โบราณวัตถุชิ้นสำคัญ หลักฐานลายลักษณ์อักษรที่จะช่วยไขปริศนาทางประวัติศาสตร์อันเกี่ยวข้องกับ สุพรรณภูมิ กรุงศรีอยุธยา
โดยคณะท่านวิทยากรผู้ร่วมบรรยาย ได้แก่
ดร.ฉันทัส เพียรธรรม สาขาวิชาพัฒนาเมือง คณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏพระนคร #เสียงสะท้อนอดีต
คุณเบญจพร สารพรม หัวหน้าพิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ สุพรรณบุรี
คุณปัญชลิต โชติกเสถียร จากชมรมนักโบราณคดี(สมัครเล่น)เมืองสุพรรณ
โดยท่าน พระครูศรีรัตนวิภูษิต ให้การต้อนรับและมอบพระพิมพ์ผงสุพรรณให้ผู้ร่วมทัศนศึกษาทุกท่าน
อิ่มบุญ อิ่มใจ กุศลใหญ่ในรอบปี ทอดกฐินสามัคคี ณ #วัดพระศรีรัตนมหาธาตุ สุพรรณบุรี
ขออนุโมทนาบุญที่ร่วมกันทอดผ้ากฐินสามัคคี ปี พ.ศ.๒๕๖๕ กับปัจจัยศรัทธา ๕๐๙,๓๒๙ นี้ ขอกุศลบุญบารมี อำนวยให้ทุกท่านโชคดีร่ำรวย 🙏🙏🙏
#ทอดผ้ากฐินสามัคคี ประจำปี พ.ศ.๒๕๖๕
เสาร์นี้แล้วหนา...สาธุชนทุกท่าน...แจ้งเตือนบอกกัน...พร้อมเพรียงกันเสาร์นี้ 🙏🙏🙏
#ทอดผ้ากฐินสามัคคี ประจำปี พ.ศ.๒๕๖๕
ขอเชิญพุทธศาสนิกชนร่วมทำบุญเป็นเจ้าภาพทอดผ้ากฐินสามัคคี ประจำปี พ.ศ.๒๕๖๕
ณ วัดพระศรีรัตนมหาธาตุ
ถนนสมภารคง ตำบลรั้วใหญ่ อำเภอเมืองสุพรรณบุรี จังหวัดสุพรรณบุรี
วันเสาร์ที่ ๒๙ ตุลาคม ๒๕๖๕
ประธานฝ่ายสงฆ์ : พระครูศรีรัตนวิภูษิต เจ้าอาวาสวัดพระศรีรัตนมหาธาตุ
ประธานทอดผ้ากฐิน : คุณดาวเรือง หมื่นวณิชกูล
ร่วมด้วยคณะกรรมการชาวบ้านวัดพระศรีรัตนมหาธาตุ, ผู้นำชุมชน และพุทธศาสนิกชนทุกท่านฯ
#ทำบุญผ่านระบบบริจาคอิเล็กทรอนิกส์
พุทธศาสนิกชนสามารถร่วมทำบุญผ่านระบบบริจาคอิเล็กทรอนิกส์ ได้ดังนี้
1. ทำบุญผ่านระบบบริจาค e-Donation ลดหย่อนภาษีได้อย่างถูกต้องและรวดเร็ว ดังนี้
สแกน QR CODE + โอนเงินทำบุญเข้าบัญชีรับบริจาค “วัดพระศรีรัตนมหาธาตุ” + แจ้งความประสงค์ใช้สิทธิ์ลดหย่อนภาษี
2. ทำบุญผ่านระบบบัญชีเงินฝากธนาคาร
ธนาคารกรุงไทย
ชื่อบัญชี: วัดพระศรีรัตนมหาธาตุ
เลขบัญชี: 710-0-25200-8
✅ส่งสลิปหลักฐานการโอนเงินทำบุญ ส่งทางช่องแชท “Messenger” หรือส่งผ่านทาง Line OA “วัดพระศรีรัตนมหาธาตุ” เพื่อแจ้งยอดให้ทางคณะกรรมการรวบรวมยอดเงินทำบุญต่อไป
#ทำบุญเลี้ยงโรงทาน
พุทธศาสนิกชนท่านใดที่ประสงค์ทำบุญเลี้ยงโรงทาน สามารถแจ้งความประสงค์ได้ทางช่องแชท “Messenger” หรือส่งผ่านทาง Line OA “วัดพระศรีรัตนมหาธาตุ” ได้เลย
ขออนุโมทนาบุญกับสาธุชนที่มาร่วมทำบุญทอดผ้ากฐินสามัคคี วัดพระศรีรัตนมหาธาตุ สุพรรณบุรี ประจำปี พ.ศ. ๒๕๖๕
จงอำนวยพรให้ทุกท่านพบกับความสุข สมปรารถนาทุกประการเทอญ 🙏🙏🙏
คลิกที่นี่เพื่อเป็นสมาชิก?
วิดีโอทั้งหมด (แสดงผลทั้งหมด)
ประเภท
เว็บไซต์
ที่อยู่
ถนนสมภารคง ตำบลรั้วใหญ่ อำเภอเมือง
Suphan Buri
72000
เลขที่ 100 บ้านสำนักโก ม. 7 ต. ไร่รถ อ. ดอนเจดีย์
Suphan Buri, 72170
ศูนย์ปฏิบัติธรรม กรรมฐาน เป็นหัวใจ?