Watdonmoonbannamlok
บ้านน้ำลอก มีประวัติความเป็นมาจากการเล่าขานว่า ประมาณปี พ.ศ. ๒๓๐๐
ขอเรียนเชิญร่วมเป็นเจ้าภาพทอดกฐินสามัคคี ร่วมกับร้าน พีแอนด์พี อะไหล่ยนต์ (เสี่ยผ่าน+เจ๊ปุ้ย ) ณ วัดดอนมูลน้ำลอก ตำบลบ่อทอง อำเภอทองแสนขัน จังหวัดอุตรดิตถ์ 👏👏👏
📣เชิญร่วมบุญทอดกฐินสามัคคี ณ วัดดอนมูลน้ำลอก ต.บ่อทอง อ.ทองแสนขัน จ.อุตรดิตถ์📣
🙏วันอังคารที่ ๘ พฤศจิกายน พ.ศ.๒๕๖๕ ขึ้น ๑๕ ค่ำ เดือน ๑๒🙏
❌ปีนี้ทางวันไม่มีเจ้าภาพ เรียนเชิญสาธุชนทุกท่าน❌
อนุโมทนาบุญ ทุกท่าน บุญกฐินสามัคคี ณ วัดดอนมูล น้ำลอก
บุญกฐินสามัคคี ณ วัดดอลมูล บ้านน้ำลอก
เพจวัดอันเดิมเข้าไม่ได้
ตั้งขึ้นมาใหม่
ฝากช่วยติดตามเพจหน่อย
📣เชิญร่วมบุญทอดกฐินสามัคคี ณ วัดดอนมูลน้ำลอก ต.บ่อทอง อ.ทองแสนขัน จ.อุตรดิตถ์📣
🙏วันศุกร์ที่ ๑๙ พฤศจิกายน พ.ศ.๒๕๖๔ ขึ้น ๑๕ ค่ำ เดือน ๑๒🙏
บ้านน้ำลอก ตั้งอยู่หมู่ที่ ๔ และหมู่ที่ ๑๓ ตำบลบ่อทอง อำเภอทองแสนขัน จังหวัดอุตรดิตถ์ มีประวัติความเป็นมาจากการเล่าขานว่า ประมาณปี พ.ศ. ๒๓๐๐ ชนกลุ่มหนึ่งที่มีภูมิลำเนาแถบบ้านหนองอ่าง หนองแส เชียงแสน เมืองเชียงราย จำนวน ๑๒ หลังคาเรือนเรือน พากันอพยพหนีภัยสงครามฮ่อลงมาทางใต้ เมื่อมาถึงแถบบ้านหลวงป่ายาง ตำบลน้ำอ่าง อำเภอตรอน จังหวัดอุตรดิตถ์(ปัจจุบัน) พบทำเลมีที่ดินอุดมสมบูรณ์ มีแม่น้ำไหลผ่านและมีกลุ่มต้นยางขนาดใหญ่ต้นสูงขึ้นอย่างหนาแน่น จึงตัดสินใจตั้งรกรากที่นี้ และตั้งชื่อหมู่บ้านใหม่นี้ว่า “บ้านหลวงป่ายาง” ต่อมาจึงชักชวนกันสร้างวัดขึ้นครั้งแรกคือ "วัดหลวงป่ายาง" ชุมชนกลุ่มนี้ยังรักษาจารีต ประเพณี วัฒนธรรมทางเหนืออย่างเหนียวแน่นไม่เสื่อมคลาย แม้ว่าจะย้ายถิ่นฐานมาอยู่ในหลายพื้นที่ก็ตาม รวมทั้งประเพณีการเทศน์มหาชาติ(เดือนยี่)ของกลุ่มหนุ่มสาว พ่อบ้าน แม่บ้าน ด้วย
จนถึง พ.ศ. ๒๔๔๒ ชุมชนขยายตัวมีขนาดใหญ่ขึ้น ประจวบกับสมัยนั้นเกิดโรคระบาดชาวบ้านเรียกกันว่า “โรคห่า” หลวงพ่อสุรินทร์ ฐิตวโร (สกุลเดิม กันภัย) ซึ่งเป็นพระภิกษุอุปสมบทอยู่ที่วัดหลวงป่ายาง ตำบลน้ำอ่าง ได้ชักชวนชาวบ้านจำนวน ๒๔ หลังคาเรือน ย้ายถิ่นฐานเพื่อหนีโรคระบาดและไปสร้างหมู่บ้าน พร้อมกับจับจองที่ดินทำกินแห่งใหม่ และเรียกหมู่บ้านแห่งใหม่นี้ว่า “บ้านไร่นอก” หรือ “บ้านป่านอก” กาลต่อมา เนื่องจากที่พักและที่ทำกินอยู่ใกล้กับคลองน้ำลอก จึงเพี้ยนเสียงเรียกขานกันใหม่เป็น “บ้านน้ำลอก” และมีการปลูกไม้ผล ไม้ยืนต้น มีการกั้นฝายหลวง(ร่วมกับบ้านแพะ) กั้นคลองน้ำลอกและทำคลองน้ำสายเล็กๆ ไปสู่พื้นที่ทำนาหรือเพื่อใช้ในการเกษตร
เมื่อหมู่บ้านน้ำลอกขยายใหญ่มากขึ้น จึงได้มีการแยกหมู่บ้านจากเดิม หมู่ ๔ แยกเป็นหมู่ที่ ๑๓ อีกหนึ่งหมู่บ้าน ผู้ใหญ่บ้านคนปัจจุบันของหมู่ ๔ คือ นายยอด จันทร์หอม ส่วนผู้ใหญ่บ้านหมู่ ๑๓ คือ นายปรีชา วงศ์คำเจริญ ทั้งสองหมู่บ้านก็ยังคงร่วมมือร่วมใจกันพัฒนาหมู่บ้านให้เกิดความเจริญ รวมทั้งยังช่วยกันอนุรักษ์ศิลปวัฒนธรรมของหมู่บ้านเอาไว้เป็นอย่างดี ดูภาพตัวอย่างดังต่อไปนี้ (ข้อมูลจากปี่หนาน)
บ้านน้ำลอกเป็นตัวอย่างของหมู่บ้านที่ประสบความสำเร็จในหลายๆ ด้านตามที่ผมได้สัมผัสมา ไม่ได้เข้าข้างว่าเป็นหมู่บ้านของภรรยา แต่เป็นหมู่บ้านที่ผู้คนมีความรัก ความสามัคคี เป็นน้ำหนึ่งใจเดียวกัน สังเกตจากการทำงาน การพัฒนา การก่อสร้าง การจัดงาน และการรักษาขนบธรรมเนียมประเพณี ยังคงมีความงดงาม โดยการนำของท่านพระครูนิวิฐธรรมวิมล เจ้าคณะตำบลบ่อทอง เจ้าอาวาสวัดดอนมูล(น้ำลอก) มาจนถึงปัจจุบัน
หากท่านใดสงสัยหรืออยากมาเที่ยวก็ขอเชิญมาสัมผัสกับเสน่ห์แห่งวัฒนธรรมคนเมืองเหนือ(ตอนล่าง)ได้ด้วยตนเองช่วงที่มีงานเทศกาลหรืองานบุญต่าง ๆ ตามที่อยู่เบื้องต้นตามความสะดวกครับ (อยู่ห่างจากบ้านแพะประมาณ ๑ กิโลเมตร)
คลิกที่นี่เพื่อเป็นสมาชิก?
ประเภท
เบอร์โทรศัพท์
เว็บไซต์
ที่อยู่
Uttaradit
53230
433 ถนน สำราญรื่น ต. ท่าอิฐ อ. เมือง จ. อุตรดิตถ์
Uttaradit, 53000
วัดใหญ่ท่าเสา Wat Yai Tha Sao.
วัดคลองโพธิ์ พระอารามหลวง
Uttaradit, 53000
วัดคลองโพธิ์ พระอารามหลวง เป็นวัดพระอารามหลวงแห่งแรกของจังหวัดอุตรดิตถ์
218 หมู่ 5 บ้านชายเขา ตำบลน้ำริด อำเภอเมือง
Uttaradit
วิหารเจ้าแม่กวนอิม บ้านชายเขา ตำบลน้ำริด จังหวัดอุตรดิตถ์ Guan Yin Temple of Baan Chai Khao - Namrit