Dr Quyết - Thạc Sĩ Tiểu Đường

Blood D - Điều trị khỏi cho hàng triệu bệnh nhân trên khắp các nước Hoa Kỳ, Úc, Canada
⭐⭐⭐⭐⭐ Hotline: Úc +61485971233
Hoa Kỳ: +1 (916) 890 7740

06/10/2024

Vì sao tiểu đường tuýp 2 không điều trị sẽ nặng?
Người dân truyền tai nhau tiểu đường tuýp 2 là bệnh nặng vì nghĩ phải ăn uống kiêng khem. Việc thay đổi thói quen ăn uống “xả láng” hàng ngày, khiến người bệnh hoang mang, lo lắng. Tuy nhiên, tình trạng bệnh nặng hay nhẹ đều tùy thuộc vào việc tuân thủ chế độ ăn, uống thuốc theo đúng chỉ định của bác sĩ. Nhiều người mắc bệnh tiểu đường 30 năm vẫn sống khỏe nhờ kiểm soát tốt đường huyết. Trong khi đó, nhiều trường hợp mới phát hiện bệnh đã biến chứng nặng do không tuân thủ điều trị.

06/06/2024

Nguyên tắc ăn uống cho người bệnh tiểu đường
Với bệnh nhân được chẩn đoán bị tiểu đường, trong phương pháp điều trị ngoài uống thuốc cần có chế độ dinh dưỡng phù hợp. Có 3 nguyên tắc ăn uống cho người bệnh tiểu đường bao gồm:

Nguyên tắc 1: kiểm soát mức năng lượng đưa vào phụ thuộc cơ địa mỗi cá nhân.
Nguyên tắc 2: ba thành phần sinh năng lượng gồm tinh bột, chất đạm, chất béo cần kiểm soát theo tỷ lệ cân đối và đảm bảo đều đặn hàng ngày. Khi kiểm soát được 3 thành phần trên người bệnh tiểu đường có thể kiểm soát được đường huyết ở mức an toàn. Chất xơ không sinh năng lượng và giúp làm chậm hấp thu đường vào máu.
Nguyên tắc 3: bổ sung vitamin và khoáng chất giúp cơ thể hoạt động khỏe mạnh.
Ngoài ra người bệnh cần ăn đúng giờ, đúng bữa, không nên ăn nhiều bữa nhỏ hay ăn xế. Tránh ăn những món hầm, xay nhuyễn, chiên, nướng. Ăn chậm nhai kỹ với lượng thức ăn vừa đủ nhu cầu cho cơ thể. Tránh ăn khuya vì dễ tăng đường huyết vào buổi sáng. Không ăn thức ăn nhanh, thức ăn chế biến sẵn, đồ đóng gói. Nên ăn món được chế biến bằng phương pháp luộc, hấp.

06/04/2024

Đường huyết tăng cao kéo dài hay tình trạng nồng độ glucose trong máu ở mức cao hơn bình thường trong thời gian dài là yếu tố nguy cơ chính dẫn đến các biến chứng nguy hiểm của bệnh tiểu đường, bao gồm: biến chứng tim mạch, biến chứng thần kinh, biến chứng thận, biến chứng mạch máu ngoại vi...

Vậy, lượng đường trong máu cao gây ra biến chứng bằng cách nào?
Phản ứng đường hoá (Glycation): là một quá trình hóa học tự nhiên xảy ra trong cơ thể không cần enzyme xúc tác. Đây là quá trình glucose dư thừa trong máu phản ứng với protein. lipid ... Sản phẩm cuối cùng của phản ứng hoá học tự nhiên trong cơ thể này được gọi là Advanced Glycation End Products (AGEs). AGEs làm tổn thương các mô và mạch máu, dẫn đến các biến chứng.

Quá trình lão hoá: Glucose dư thừa tạo ra các gốc tự do, gây tổn thương tế bào và DNA, góp phần vào quá trình lão hóa và biến chứng tiểu đường.

Viêm mạn tính: Lượng đường trong máu cao kích hoạt phản ứng viêm trong cơ thể, làm tăng nguy cơ biến chứng tim mạch, thần kinh, thận và mắt ở người tiểu đường.

11/24/2023

ภาวะแทรกซ้อนของโรคเบาหวาน แบ่งเป็น 2 กลุ่ม ได้แก่
ภาวะแทรกซ้อนแบบเฉียบพลัน ได้แก่ ภาวะน้ำตาลในเลือดต่ำ ภาวะน้ำตาลในเลือดสูงรุนแรงหรือเลือดเป็นกรด ซึ่งทั้ง 3 อาการก็สามารถเป็นอันตรายถึงชีวิตได้
ภาวะแทรกซ้อนแบบเรื้อรัง คือเกิดในระยะยาว ส่วนใหญ่เป็นความเสื่อมของเส้นเลือดตามอวัยวะต่างๆในร่างกาย ได้แก่ สมอง หัวใจ ไต ตาและเส้นเลือดที่ขา
ตัวอย่างภาวะแทรกซ้อนแบบเรื้อรัง ได้แก่ เบาหวานขึ้นตา ดวงตาเป็นอวัยวะที่มีเส้นเลือดเล็ก ในกรณีที่ผู้ป่วยมีภาวะน้ำตาลสูงเป็นเวลานาน ทำให้เส้นเลือดทำงานได้ไม่ดี นอกจากนี้ผู้ป่วยเบาหวาน มีความดันโลหิตสูงและไขมันในเลือดสูงร่วมด้วย ทำให้เส้นเลือดตีบง่ายและอาจทำให้สูญเสียการมองเห็นถึงขั้นตาบอดได้
สำหรับเบาหวานลงไต ในช่วงแรกจะไม่มีความผิดปกติปรากฏ นอกจากไตทำงานหนัก อาจจะมีโปรตีนรั่วหรือไข่ขาวรั่วในปัสสาวะ การทำงานของไตลดลง ทำให้มีของเสียคั่ง น้ำคั่ง ทำให้เกิดตัวบวม แขนขาบวม อาจถึงขั้นล้างไตหรือเปลี่ยนไต
ส่วนอวัยวะที่มีเส้นเลือดใหญ่ ได้แก่ สมอง หัวใจและเท้า ผู้ป่วยเบาหวานอาจเกิดภาวะเส้นเลือด สมองตีบ ซึ่งสามารถทำให้เกิดอัมพฤกษ์ อัมพาตหรือ เส้นเลือดหัวใจตีบ กล้ามเนื้อหัวใจขาดเลือด ส่วนที่เท้า ผู้ป่วยเบาหวานจะมีอาการชาปลายมือ ปลายเท้าอยู่แล้วหากเกิดแผล แผลก็จะหายช้า หรืออาจมีภาวะติดเชื้อแทรกซ้อนถ้าไม่ทำการรักษาให้ทันอาจทำให้สูญเสียนิ้วเท้าหรือตัดเท้าได้

11/24/2023

อาหารผู้ป่วยเบาหวาน ชนิดที่ 1
ผู้ป่วยเบาหวานชนิดที่ 1 ควรได้รับสารอาหารครบถ้วน หลากหลาย ในปริมาณที่เหมาะสม ดังนี้
คาร์โบไฮเดรต
คาร์โบไฮเดรตถือเป็นแหล่งพลังงานหลักสำหรับผู้ป่วยเบาหวานชนิดที่ 1 ผู้ป่วยควรได้รับพลังงานจากคาร์โบไฮเดรตประมาณ 50% ของปริมาณที่แนะนำต่อวัน หรือเท่ากับคาร์โบไฮเดรตประมาณ 200-225 กรัม และควรแบ่งรับประทานคาร์โบไฮเดรตแต่ละมื้อให้เท่า ๆ กัน เพื่อไม่ให้ระดับน้ำตาลในเลือดแปรปรวน เนื่องจากคาร์โบไฮเดรตสามารถเปลี่ยนเป็นน้ำตาลและเข้าสู่กระแสเลือด จึงอาจทำให้ระดับน้ำตาลในเลือดสูง อาหารที่เป็นแหล่งคาร์โบไฮเดรตที่เหมาะสมสำหรับผู้ป่วยเบาหวานชนิดที่ 1 เช่น ผัก ผลไม้ ธัญพืชเต็มเมล็ด พืชตระกูลถั่ว ผลิตภัณฑ์นมไขมันต่ำ
ไฟเบอร์
ไฟเบอร์ หรือใยอาหาร เป็นสารอาหารที่น้ำย่อยในกระเพาะอาหารและลำไส้ไม่สามารถย่อยสลายได้ จึงไม่ถูกดูดซึมไปใช้เป็นพลังงาน และถูกขับออกจากร่างกายพร้อมอุจจาระ ไฟเบอร์มีส่วนช่วยชะลอการย่อยอาหาร ช่วยดักจับไขมันจากอาหาร ช่วยให้ขับถ่ายสะดวกขึ้น และช่วยลดการดูดซึมน้ำตาล จึงถือเป็น อาหารผู้ป่วยเบาหวาน ชนิดที่ 1 ที่ควรรับประทานเป็นประจำ สำหรับเด็กอายุ 2-5 ปี ควรได้รับไฟเบอร์ 15 กรัม/วัน เด็กอายุ 5-11 ปี ควรได้รับไฟเบอร์ 20 กรัม/วัน ผู้ที่อายุ 11-16 ปี ควรได้รับไฟเบอร์ 25 กรัม/วัน และผู้ที่อายุ 16 ปีขึ้นไป ควรได้รับไฟเบอร์ 30 กรัม/วัน อาหารไฟเบอร์สูงที่ควรรับประทาน เช่น ผัก ผลไม้ พืชตระกูลถั่ว ธัญพืชเต็มเมล็ด
โปรตีนและไขมันดี
โปรตีนมีส่วนสำคัญในการซ่อมแซมร่างกาย แต่ไม่แนะนำให้รับประทานเนื้อสัตว์แปรรูปหรือเนื้อสัตว์ที่มีไขมันสูงเพราะอาจอุดมไปด้วยไขมันอิ่มตัวและโซเดียม อาหารที่อุดมไปด้วยโปรตีน เช่น เนื้อไก่ เนื้อแดงไร้ไขมัน ปลาแซลมอน ปลาทูน่า ส่วนไขมันดีและกรดไขมันโอเมก้า 3 มีส่วนสำคัญต่อการทำงานของระบบประสาทและสมอง ทั้งยังช่วยบำรุงสุขภาพหัวใจและหลอดเลือดได้ด้วย โดยอาหารที่อุดมไปด้วยไขมันดีและกรดไขมันโอเมก้า 3 เช่น ปลาทูน่า ปลาแซลมอน อะโวคาโด น้ำมันถั่วเหลือง น้ำมันมะกอก

11/23/2023

เบาหวานสามารถควบคุมได้ง่ายๆ ที่บ้าน
-------------------------------------------------- - ----
🔔มีความรู้เกี่ยวกับโรคเบาหวาน
- แทนที่จะสุ่มสี่สุ่มห้าทำตามคำแนะนำที่ไม่มีมูลจากบุคคลภายนอก "ความรู้" เป็นวิธีที่ดีที่สุดสำหรับคุณในการป้องกันตัวเองและป้องกันความเสี่ยงของภาวะแทรกซ้อนจากโรค
ตรวจสุขภาพ ตรวจวัด และควบคุมระดับน้ำตาลในเลือด ความดันโลหิต คอเลสเตอรอลในเลือดอย่างสม่ำเสมอ
- ไปตรวจสุขภาพตามปกติตามที่แพทย์กำหนดหรืออย่างน้อยปีละ 2 ครั้ง เพื่อตรวจหาและรักษาความผิดปกติตั้งแต่เนิ่นๆ
💁‍♂️สร้างวิถีชีวิตที่มีสุขภาพดีและยึดมั่นในการรักษา รับประทานอาหารที่เหมาะสมและสมดุล
ตั้งเป้าหมายในการออกกำลังกายเกือบทุกวันในสัปดาห์ คุณสามารถเริ่มต้นด้วยการเดินประมาณ 10 นาที 3 ครั้งต่อวัน
⚡️รับรู้สัญญาณผิดปกติและรู้วิธีจัดการกับมัน
-------------------------------------------------- - -----
📞 ทิ้งเบอร์โทรศัพท์เพื่อรับข้อเสนอและคำปรึกษาฟรี!

11/23/2023

ระดับน้ำตาลในเลือดสูงแค่ไหน จึงเป็นผู้ป่วยเบาหวาน?
ผู้ป่วยเบาหวาน คือผู้ที่มีค่าระดับน้ำตาลในเลือดสูงกว่า 126 Mg/dL (มิลลิกรัม/เดซิลิตร) ทั้งนี้ จะต้องให้แพทย์เป็นผู้วินิจฉัยร่วมกับข้อมูลอื่นๆ เช่น ประวัติสุขภาพและอาการที่พบ สำหรับผู้ป่วยที่แพทย์วินิจฉัยแล้วว่าเป็นโรคเบาหวาน ควรควบคุมระดับน้ำตาลให้ได้ดังนี้
ระดับน้ำตาลก่อนรับประทานอาหารแต่ละมื้อ ให้อยู่ระหว่าง 80-130 Mg/dL
ระดับน้ำตาลหลังรับประทานอาหารแล้ว 2 ชั่วโมง ให้น้อยกว่า 180 Mg/dL
การใช้เกณฑ์ตัวเลขดังกล่าวยังต้องพิจารณาให้เหมาะสมกับผู้ป่วยเบาหวานเป็นรายบุคคล โดยคำนึงถึงอายุ ระยะเวลาการเป็นเบาหวาน รวมถึงภาวะแทรกซ้อนและโรคร่วมที่ผู้ป่วยเป็นอยู่ เพื่อการปรับเปลี่ยนอาหาร การออกกำลังกาย และปรับการใช้ยาให้เหมาะสมต่อไป

08/24/2023

บอระเพ็ด เป็นไม้เลื้อยที่พบได้ตามป่าดิบแล้ง จัดเป็นสมุนไพรไทยบ้าน ๆ ที่มีสรรพคุณทางยาสารพัด
โดยส่วนที่นิยมนำมาใช้ทำเป็นยาจะคือส่วนของ "เถาเพสลาก" เพราะมีลักษณะไม่แก่หรืออ่อนเกินไปนัก และมีรสชาติขมจัด แต่ถ้าเป็นเถาแก่จะแตกแห้ง รสเฝื่อน ไม่ขม หรือถ้าอ่อนเกินไปก็จะมีรสไม่ขมมาก
1.สรรพคุณของบอระเพ็ดช่วยรักษาโรคเบาหวาน ควบคุมระดับน้ำตาลในเลือด ด้วยการใช้เถาสดที่โตเต็มที่ตากแห้งแล้วบดเป็นผง นำมาชน้ำร้อนดื่มครั้งละ 1 ช้อน เช้าและเย็น (เถาสด, ทุกส่วน)
2.มีสารลดความดันโลหิต ได้แก่ อะดีโนซีน(adenosine), ซาลโซลีนอล(salsolinol), ไฮเจนนามีน (higenamine) (ต้น)
3.แก้โรคดีซ่าน (ทุกส่วน)
แม้บอระเพ็ดจะมีสรรพคุณในการรักษาโรคและอาการต่าง ๆ มากมาย แต่ก็ยังมีงานศึกษาวิจัยที่สนับสนุนสรรพคุณดังกล่าวอยู่น้อย ซึ่งสรรพคุณทั้งหมดนี้ส่วนใหญ่แล้วจะมาจากบทเรียนที่ใช้ต่อเนื่องกันมาเป็นเวลานาน จึงเกิดเป็นความเชื่อถือและใช้สืบทอดมาจนถึงปัจจุบัน จนองค์การเภสัชกรรมได้ผลิตบอระเพ็ดเม็ดฟู่ออกมาจำหน่ายเพื่อใช้เป็นตัวช่วยผู้เบาหวาน

08/24/2023

เมนูนี้ชื่อ ผักเชียงดาไข่ขยี้ สิ่งที่ต้องเตรียมคือ ไข่ไก่ 1 ฟอง (เท่ากับมีไข่แดงแล้ว 1 ฟอง) เพิ่มโปรตีนด้วยการใช้ ไข่ขาว อีก 4 ฟอง ซื้อไข่ขาวกล่องได้ตามซูเปอร์มาร์เก็ต และ ผักเชียงดา 2 กำ
วิธีทำง่ายมาก เหมือนผัดผักใส่ไข่ ผัดผักเชียงดากับน้ำมันเล็กน้อย ใส่น้ำปลานิดหน่อยเพื่อให้ผักยังคงสีเขียว พอผักเริ่มสลบ ใส่ไข่แดงและไข่ขาวที่เตรียมไว้ลงขยี้กับผักในกระทะ ปรุงรสด้วยซอสปรุงรสและน้ำปลาพอประมาณ

08/18/2023

ร้อน ๆ มันต้องหวาน ๆเย็น ๆ
พอถึงช่วงหน้าร้อน ใคร ๆ ก็ต้องนึกถึงเมนูเครื่องดื่มและขนมหวาน ๆ เย็น ๆ กันทั้งนั้น แถมฤดูนี้ผลไม้ระดับซุปเปอร์สตาร์ก็ออกมายั่วใจกันอีก ทั้งทุเรียน มะม่วง ลำพังคนที่มีสุขภาพดีกินเมนูน้ำตาลสูงพวกนี้ติดต่อกันยังมีผลกับสุขภาพ แล้วคนที่เป็นเบาหวานและโรคหัวใจ หรือมีภาวะแทรกซ้อนจากโรคกลุ่มนี้ยิ่งไปกันใหญ่
“เบาหวานและหัวใจ" ทำไมต้องเลือกกิน
สำหรับคนที่มีระดับน้ำตาลในเลือดสูงกว่าปกติ มีภาวะเสี่ยงของโรคเบาหวาน โรคหัวใจและหลอดเลือด ต้องใส่ใจกับเรื่องโภชนาการ เพราะการดูแลโภชนาการที่ดีจะช่วยลดความเสี่ยงในการเกิดโรค ลดการดำเนินโรค และลดภาวะแทรกซ้อนที่เกิดขึ้นจากโรคได้ ช่วยให้สุขภาพโดยรวมแข็งแรง ช่วยรักษาน้ำหนักตัวให้อยู่ในเกณฑ์ที่เหมาะสม จึงเป็นการช่วยป้องกันการเกิดโรคแทรกซ้อนอื่น ๆ ได้ เพราะสาเหตุการเสียชีวิตสำคัญอันดับ 1 ของผู้ป่วยเบาหวานเกิดจากโรคหัวใจและหลอดเลือด
กินตามสี ช่วยลดโรคได้
โภชนาการของคนเป็นเบาหวาน หรือโรคหัวใจและหลอดเลือด ก็เหมือนคนทั่วไป ควรกินอาหารให้หลากหลายครบ 5 หมู่ ควบคุมปริมาณให้เหมาะสมตามสัดส่วน โดยเฉพาะอาหารในกลุ่มคาร์โบไฮเดรตและไขมัน ซึ่งมีผลต่อระดับน้ำตาลและระดับไขมันในเลือด
จัดอาหารที่ควรกิน และไม่ควรกินได้ด้วยสี ดังนี้
• สีเขียว คือทานได้บ่อย ไม่จำกัดปริมาณ
ผักก้าน ผักใบ ผักใบเขียวทุกชนิด กินอย่างน้อย 4-6 ทัพพี ผักกลุ่มนี้ ไม่มีไขมัน ให้พลังงานต่ำ และมีกากใยสูง ทำให้การดูดซึมน้ำตาลช้าลง ช่วยดูดซับน้ำตาลไม่ให้เข้าสู่กระแสเลือดเร็วเกินไป
• สีส้ม คือ ทานได้ แต่ต้องจำกัดปริมาณ
ข้าว แป้ง เส้นชนิดต่าง ๆ ขนมปัง เผือก และมัน อาหารจำพวกแป้งเหล่านี้จะถูกย่อยและเปลี่ยนให้เป็นน้ำตาล แต่มีสารอาหารอื่น ๆ ที่มีประโยชน์ด้วย จึงไม่ควรงดแต่ควรจำกัดปริมาณการกินให้เหมาะสม เลือกเป็นคาร์โบไฮเดรตเชิงซ้อน อย่างข้าวกล้อง ธัญพืช ขนมปังธัญพืช โดยปริมาณไม่ให้เกินครึ่งหนึ่ง (50%) ของพลังงานที่ร่างกายต้องการ/วัน
• สีแดง คือควรหลีกเลี่ยง หรือไม่ควรกิน
อาหารและเครื่องดื่ม ผลิตภัณฑ์นมปรุงแต่งรส ที่มีส่วนผสมของน้ำตาล ไม่ว่าจะเป็นน้ำตาลอ้อย น้ำตาลปี๊บ น้ำตาลก้อน น้ำผึ้ง รวมถึงผลไม้ตากแห้ง ผลไม้กวน และอาหารแปรรูป เพราะจะทำให้ระดับน้ำตาลในเลือดสูงขึ้นอย่างรวดเร็ว
ร้อนนี้เลือกเมนูหวานอย่างเข้าใจ
“การคุมอาหารไม่ใช่การอดอาหาร” แต่เป็นการกินให้เหมาะสม ทั้งชนิดและปริมาณ ควรควบคุมอาหารประเภทข้าว-แป้ง และนํ้าตาล ควรจัดสัดส่วนอาหารแต่ละมื้อให้เหมาะสม จดบันทึกปริมาณคาร์โบไฮเดรตที่กินในแต่ละวัน หากต้องการกินอาหารที่มีรสหวานหรือขนม จะต้องรู้จักที่จะลดอาหาร หรือแลกเปลี่ยนอาหารในกลุ่มแป้ง และน้ำตาลในวันนั้น ๆ โดยทดแทนตามส่วน เช่น ข้าว 1 ส่วน (1 ทัพพี) นมสดจืด 1 กล่อง/แก้ว (240 มล.) และ ผลไม้ 1 ส่วน (7-8 ชิ้นคำ) ซึ่งปริมาณคาร์โบไฮเดรตเฉลี่ย 15 กรัม ต่อ 1 ส่วน
ตัวอย่างการแลกเปลี่ยนส่วนอาหารกับขนมที่อยากกิน
• เค้กมีหน้า 1 ชิ้น (2×2 นิ้ว) จะเท่ากับ ข้าว 2 ส่วน ไขมัน 1 ส่วน
• โดนัท 1 ชิ้น (45 กรัม) จะเท่ากับ ข้าว 1.5 ส่วน ไขมัน 1 ส่วน
• ครัวซองต์ 1 ชิ้น (30 กรัม) จะเท่ากับ ข้าว 1 ส่วน ไขมัน 1.5 ส่วน
• วุ้นกะทิ 1 ชิ้น (2×2 นิ้ว) จะเท่ากับ ข้าว 1 ส่วน ไขมัน 1.5 ส่วน
• แพนเค้ก 2 แผ่น จะเท่ากับ ข้าว 1 ส่วน ไขมัน 1 ส่วน
“เบาหวานและหัวใจ" ดื่มได้ชื่นใจ น้ำตาลไม่พุ่ง
เครื่องดื่มที่เหมาะสมที่สุด ก็ต้องเป็นเครื่องที่ไม่ผสมน้ำตาล หรือน้ำเปล่า อาจใช้การเพิ่มกลิ่นหอมจากสมุนไพรไทย อย่างตะไคร้ มะตูม ใบเตย ใบสะระแหน่ หรือขิง หากต้องการเพิ่มรสชาติ สามารถเติมน้ำตาลได้เล็กน้อย โดยจำกัดปริมาณน้ำตาลเติมเพิ่มไม่ให้เกิน 3 ช้อนชาต่อวัน หากเป็นนม ให้เลือกเป็นนมจืดชนิดพร่องมันเนย และควรหลีกเลี่ยงนมเปรี้ยวและนมปรุงแต่งรส
ดับร้อน ด้วยผลไม้ผู้อ่อนหวาน
สำหรับคนที่อยากกินผลไม้มาช่วยดับร้อน ผลไม้แต่ละชนิดจะมีปริมาณน้ำตาลแตกต่างกัน บางชนิดมีมาก บางชนิดมีน้อย จึงควรเลือกผลไม้ที่มีปริมาณน้ำตาลค่อนข้างต่ำ อย่างฝรั่ง ชมพู่ ส้ม เบอร์รี่ต่าง ๆ และจำกัดปริมาณให้อยู่ประมาณ 7-8 ชิ้นคํา/มื้อ (2-3 มื้อ) และควรหลีกเลี่ยงผลไม้ที่มีน้ำตาลสูงอย่าง ทุเรียน มะม่วงสุก ลำไย องุ่น และมะขามหวาน เป็นต้น
โรคเบาหวานเป็นแล้วแม้จะรักษาให้หายขาดไม่ได้แต่เราก็อยู่ร่วมกับโรคได้อย่างมีความสุข เบาหวานไม่เบาใจ เลือกทานของที่มีประโยชน์ไว้ สุขภาพดีได้นานแน่นอนคะ For Your Sweetheart
ทุกท่านสามารถกดติดตาม หรือแอดไลน์ของเราได้เลย
และอยากให้ทุกท่านช่วยกันแชร์คลิปนี้ให้กับผู้ที่เป็นเบาหวาน และคนที่คุณรัก
มาร่วมกันสร้างการรับรู้ เพื่อให้ผู้ที่เป็นโรคเบาหวานมีคุณภาพชีวิตที่ดีขึ้น และลดอัตราการเกิดโรคแทรกซ้อนในผู้ป่วยเบาหวานกันนะคะ

08/18/2023

“เบาหวาน” เป็นภาวะที่ร่างกายมีน้ำตาลในเลือดสูงกว่าปกติ เนื่องจากการขาดฮอร์โมนอินซูลิน ส่งผลให้กระบวนการดูดซึมน้ำตาลในเลือดให้เป็นพลังงานของเซลล์ในร่างกายมีความผิดปกติหรือทำงานได้ไม่เต็มประสิทธิภาพ จนเกิดน้ำตาลสะสมในเลือดปริมาณมาก หากปล่อยให้ร่างกายอยู่ในสภาวะนี้เป็นเวลานานจะทำให้อวัยวะต่าง ๆ เสื่อม เกิดโรคและอาการแทรกซ้อนขึ้น หากมีอาการเหล่านี้ ควรได้รับการตรวจน้ำตาลในเลือด
โรคเบาหวาน นั้นบางทีเกิดขึ้นโดยไม่มีอาการอะไรบ่งบอก ค่อยๆ ก่อตัวขึ้นอย่างเงียบๆ หากไม่ได้รับการตรวจระดับน้ำตาลในเลือด ก็จะไม่ทราบว่าเป็นเบาหวาน จนกระทั่งโรคดำเนินไปมากแล้วจึงจะรู้ตัว
บางครั้งผู้ป่วยมาพบแพทย์ เนื่องจากมีโรคแทรกซ้อนเกิดขึ้นโดยที่ตนเองไม่รู้ตัวมาก่อนเลยว่าเป็นเบาหวาน ซึ่งหากปล่อยไว้ในบางราย อาจสายเกินกว่าที่จะเรียกสุขภาพที่ดีกลับคืนมาได้ ดังนั้น เราควรตั้งข้อสังเกตเกี่ยวกับการเปลี่ยนแปลงที่เกิดขึ้นกับตนเองด้วยว่าอาการต่างๆ ที่เกิดขึ้นนี้เกี่ยวกับโรคเบาหวานหรือไม่
ปัสสาวะบ่อย ถึงบ่อยมาก เนื่องจากกระบวนการกรองน้ำตาลในเลือดที่สูงมากออกมากทางปัสสาวะ ไตจำเป็นต้องดึงน้ำออกมาด้วย ดังนั้น ผู้ป่วยยิ่งมีระดับน้ำตาลสูงมากเท่าใดก็ยิ่งปัสสาวะบ่อยและมากขึ้นเท่านั้น ทำให้ต้องตื่นมาเข้าห้องน้ำตอนกลางคืนหลายครั้ง
คอแห้ง กระหายน้ำ เป็นผลมาจากการที่ร่างกายเสียน้ำไปจากการปัสสาวะบ่อยและมาก ทำให้เกิดภาวะขาดน้ำจึงต้องชดเชยด้วยการดื่มน้ำบ่อยๆ
หิวบ่อย กินจุ เนื่องจากร่างกายขาดพลังงาน จึงทำให้รู้สึกหิวบ่อย และรับประทานจุ
น้ำหนักลด เนื่องจากในภาวะที่ขาดอินซูลิน ร่างกายไม่สามารถนำน้ำตาลในเลือดไปใช้เป็นพลังงานได้ ร่วมกับการขาดน้ำจากการปัสสาวะบ่อย ร่างกายจึงจำเป็นต้องนำเอาโปรตีนและไขมันที่เก็บสะสมไว้ในเนื้อเยื่อมาใช้แทน จึงทำให้ร่างกายรู้สึกอ่อนเพลีย และน้ำหนักตัวลดลงโดยไม่ทราบสาเหตุ
คันตามผิวหนัง
ตามัว ชาปลายมือ ปลายเท้า
เป็นแผลง่าย หายยาก

08/12/2023

โรคเบาหวานมี 2 ชนิดคือ
โรคเบาหวานชนิดที่ 1 เบาหวานชนิดที่พึ่งพาอินซูลินส่วนมากเกิดในเด็ก
โรคเบาหวานชนิดที่ 2 ไม่ต้องพึ่งพาอินซูลิน เกิดจากกรรมพันธุ์ ความอ้วน โดยเฉพาะอ้วนลงพุงจากพฤติกรรมการกิน และสาเหตุอื่นๆ
รู้ได้อย่างไรว่าเป็นโรคเบาหวาน
มีอาการกินจุ หิวน้ำบ่อย ปัสสาวะบ่อย โดยเฉพาะเวลากลางคืน อ่อนเพลีย เหนื่อยง่าย ผู้หญิงมักมีอาการคันบริเวณช่องคลอดหรือขาหนีบ
โดยการตรวจเลือด (หลังอดอาหารอย่างน้อย 8 ชั่วโมง) สูงเกิน 126 มิลลิกรัม/เดซิลิตร
กินอย่างไร ห่างไกลโรคเบาหวาน
กินอาหารให้ครบ 5 หมู่และหลากหลาย ตามโภชนาการ
ปฏิบัติตามโภชนบัญญัติ 9 ประการ
หลีกเลี่ยงอาหาร ที่มีรสเค็ม
หลีกเลี่ยงอาหารมันๆ หวานๆ
ออกกำลังกายสัปดาห์ละ 3 ครั้งๆ ละ 30 นาที

08/12/2023

🔥🔥🔥โรคเบาหวานเป็นโรคที่พบได้ในคนทุกเพศ ทุกวัย และเป็นโรคที่พบบ่อยขึ้นในผู้สูงอายุ โดยพบว่าอุบัติการณ์การเกิดโรคเบาหวานในผู้สูงอายุที่มีอายุตั้งแต่ 60 ปีขึ้นไปเพิ่มสูงขึ้นเป็นร้อยละ 10.5-19.2 โดยพบมากกลุ่มผู้ที่มีอายุ 60-69 ปี และพบในผู้สูงอายุที่เป็นเพศหญิงมากกว่าเพศชาย
1.โรคเบาหวานเกิดจากอะไร?
โรคเบาหวานเกิดจากความผิดปกติของตับอ่อนที่ไม่สามารถสร้างฮอร์โมนอินซูลินได้เพียงพอ จึงทำให้ร่างกายไม่สามารถนำน้ำตาลไปใช้ได้อย่างมีประสิทธิภาพเท่าที่ควร ส่งผลให้ระดับน้ำตาลในเลือดผิดปกติ ซึ่งสาเหตุของการเกิดโรคอาจเกิดได้จากกรรมพันธุ์ ความอ้วน การตั้งครรภ์ อายุที่มากขึ้น การรับประทานยาบางชนิด เบาหวานถือเป็นโรคเรื้อรังที่เมื่อเป็นแล้วจำเป็นต้องได้รับการดูแลและรักษาอย่างต่อเนื่องตลอดชีวิต อีกทั้งยังทำให้เกิดโรคแทรกซ้อนต่าง ๆ ซึ่งมีผลร้ายแรงถึงชีวิตได้อีกด้วย
2. ภาวะแทรกซ้อนของโรคเบาหวานมีอะไรบ้าง?
โรคเบาหวานทำให้เกิดโรคแทรกซ้อนมากมาย โดยความรุนแรงของโรคแทรกซ้อนจะแตกต่างกันไปในผู้ป่วยแต่ละราย ขึ้นอยู่กับระยะเวลาที่เป็นเบาหวาน และระดับน้ำตาลในเลือด ยิ่งควบคุมระดับน้ำตาลในเลือดให้คงที่ใกล้เคียงระดับปกติได้มาก ก็จะช่วยชะลอและลดความรุนแรงของโรคแทรกซ้อนได้มากขึ้น โรคแทรกซ้อนที่พบบ่อย ได้แก่
-ภาวะแทรกซ้อนทางตา จอประสาทตาเสื่อม และต้อกระจก
-โรคไตเสื่อม ไตวาย
-โรคความดันโลหิตสูง
-โรคผิวหนัง
-โรคหลอดเลือดหัวใจ
-โรคหลอดเลือดสมองตีบตัน
-ปลายประสาทเสื่อม
-โรคในช่องปาก
3.การดูแลผู้สูงอายุที่เป็นเบาหวาน
วัยสูงอายุเป็นวัยที่ไม่สามารถดูแลตนเองได้อย่างเต็มที่ สมาชิกในครอบครัวหรือผู้ดูแลจึงมีบทบาทสำคัญในการดูแลผู้สูงอายุทั้งในเรื่องอาหาร การออกกำลังกาย การรับประทานยา ควบคู่ไปกับการตรวจระดับน้ำตาลอย่างสม่ำเสมอเพื่อให้พวกท่านมีคุณภาพชีวิตที่ดี ลดความรุนแรงของโรคและความเสี่ยงในการเกิดภาวะแทรกซ้อน

08/12/2023

🚑สารอาหารสำคัญที่จำเป็นสำหรับคนเป็นโรคเบาหวาน 🚑
นอกจากหลักในการปฏิบัติตัว เช่น การเข้มงวดในการรับประทานอาหาร การพักผ่อนอย่างเพียงพอ และการออกกำลังกายอย่างสม่ำเสมอที่ต้องทำอย่างเคร่งครัดแล้ว ผู้เชี่ยวชาญยังแนะนำให้ผู้ที่เป็นโรคเบาหวานเสริม
1. แอลฟ่า ไลโปอิก แอซิด (Alpha Lipoic Acid)
กรดอัลฟ่า ไลโปอิด แอซิด (Alpha Lipoic Acid) ถือเป็นสารต้านอนุมูลอิสระครอบจักรวาลที่ออกฤทธิ์ได้ทั่วร่างกาย (Universal antioxidant) สามารถละลายได้ทั้งไขมันและน้ำ มีผลวิจัยจากการศึกษาในต่างประเทศพบว่า กรดแอลฟ่า ไลโปอิก แอซิด (Alpha Lipoic Acid) มีประโยชน์สามารถที่จะป้องกันโรคแทรกซ้อนจากการเป็นโรคเบาหวานได้ เช่น อาการชาตามปลายมือปลายเท้า ในอาหารธรรมชาติสามารถพบกรดชนิดนี้ได้ใน บล๊อกโคลี่ ผักป๋วยเล้ง มันฝรั่ง มะเขือเทศ เนื้อสัตว์ไม่ติดมัน และน้ำมันรำข้าว เป็นต้น เนื่องจากเป็นสารต้านอนุมูลอิสระที่ดีจึงมีสรรพคุณในการควบคุมระดับน้ำตาลในเลือด โดยจะไปเพิ่มความไวของอินซูลิน และลดอนุมูลอิสระ ช่วยป้องกันอาการแทรกซ้อนในผู้ป่วยโรคเบาหวานได้โดยตรง นอกจากนี้ยังมีการศึกษาวิจัยว่ามีส่วนช่วยลดอาการปลายประสาทอักเสบในผู้ป่วยเบาหวานได้อีกด้วย
2. วิตามินบี 1-6-12
อาการชาบริเวณปลายมือปลายเท้าจากปลายประสาทอักเสบ ถือเป็นโรคแทรกซ้อนที่พบได้บ่อยมากในคนที่เป็นเบาหวาน ซึ่งอาการดังกล่าวเกิดจากร่างกายมีอนุมูลอิสระมากเกินไป ทำให้เยื้อหุ้มประสาทถูกทำลาย และร่างกายขาดวิตามินบี 1-6-12 ที่เป็นสารตั้งต้นในการสร้างสัญญาณสื่อประสาท
ดังนั้นวิตามินบี 1-6-12 จึงเป็นวิตามินที่สามารถรักษาอาการชาดังกล่าวได้อย่างมีประสิทธิภาพ และเพื่อให้สามารถรักษาอาการชาจากปลายประสาทอักเสบได้อย่างมีประสิทธิภาพ ควรเลือกวิตามินบี 12 ที่เป็นรูปแบบเมทิลโคบาลามินปริมาณสูง (500 ไมโครกรัม) ควบคู่กับการรักษาอาการชาที่ต้นเหตุด้วยการรับสารต้านอนุมูลอิสระปริมาณสูง
3. สมุนไพรขมิ้นชัน
'ขมิ้นชัน' สมุนไพรมากประโยชน์ ที่คนไทยรู้จักกันเป็นอย่างดี มีสารสำคัญคือเคอร์คูมินอยด์ (Curcuminoid) ซึ่งมีประโยชน์ต่อร่างกายมากมาย เช่น ช่วยรักษาแผลในระบบทางเดินอาหาร ช่วยลดการอักเสบตามข้อ และป้องกันการเกิดโรคแทรกซ้อนในผู้ป่วยโรคเบาหวานได้
โดยมีผลการวิจัยว่าสารสกัดจากขมิ้นชันมีส่วนช่วยชะลอความเสื่อมของเซลล์ในตับอ่อนที่ทำหน้าที่ผลิตอินซูลิน ทำให้ระบบการทำงานของอินซูลินในร่างกายดีขึ้น สามารถควบคุมระดับน้ำตาลในเลือดได้ดีขึ้น และทำให้ระดับน้ำตาลสะสมของผู้ที่เป็นเบาหวานลดลง ด้วยความก้าวหน้าทางการแพทย์ในปัจจุบันได้มีนวัตกรรมในการผลิตสารเคอร์คูมินอยด์ในรูปแบบของไฟโตโซมที่ช่วยให้การละลายและการดูดซึมสารเคอร์คูมินอยด์ดีมากขึ้น โดยทำในรูปแบบไฟโตโซมซึ่งทำให้สารเคอร์คูมินอยด์ออกฤทธิ์ได้ดีกว่าสารสกัดแบบธรรมดาทำให้ได้ประสิทธิภาพของเคอร์คูมินอยด์ได้อย่างเต็มที่
4. เวย์โปรตีนสำหรับคนเป็นเบาหวาน
การควบคุมอาหาร และการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมการรับประทานคือ สิ่งสำคัญอันดับต้นๆ ของคนที่เป็นโรคเบาหวานผู้เชี่ยวชาญจึงแนะนำให้คนที่เป็นโรคนี้รู้จักกับอาหารสูตรทดแทนที่เลือกใช้เวย์โปรตีนเป็นส่วนประกอบหลักโดยเวย์โปรตีนที่ดีสำหรับคนที่เป็นโรคเบาหวานจะต้องมีลักษณะดังต่อไปนี้คือเป็นโปรตีนคุณภาพดี สามารถดูดซึมเข้าสู่ร่างกายได้เร็ว ย่อยง่าย และไม่ทำให้ท้องอืด นอกจากนี้ยังไปช่วยส่งเสริมการหลั่งอินซูลินซึ่งมีส่วนในการช่วยควบคุมน้ำตาลในเลือด
นอกจากนี้ การเลือกเวย์โปรตีนที่ผลิตขึ้นมาเป็นอาหารสูตรครบถ้วน ที่มีการเพิ่มโปรไบโอติกและพรีไบโอติกส์เข้าไปในสูตร จะสามารถช่วยกระตุ้นระบบการขับถ่ายให้สมดุลและเป็นการเพิ่มจำนวนจุลินทรีย์ที่ดีในลำไส้ได้ตามธรรมชาติอีกด้วย ซึ่งการเพิ่มกากใยอาหารหรือพรีไบโอติกส์ในอาหารที่ใช้ทดแทนมื้ออาหารถือว่าเป็นการดูแลลำไส้ใหญ่ได้ดีเช่นเดียวกับการมีโปรไบโอติกส์ในปริมาณสูง เพราะจุลินทรีย์ที่ดีเหล่านี้จะช่วยป้องกันการติดเชื้อได้ง่ายของผู้ป่วยโรคเบาหวานและสำหรับทุกคน เสริมภูมิต้านทานและให้ประโยชน์ในการปรับสมดุลทางเดินอาหารให้ดีกว่าการไม่กินโปรไบโอติกส์
จะเห็นได้ว่าผู้ป่วยเบาหวาน เรื่องโภชนาการมีความสำคัญเป็นอย่างมาก อาจจะต้องเลือกรับประทานอาหารอย่างพิถีพิถัน โดยเฉพาะอาหารสำหรับผู้ป่วยเบาหวานที่ต้องดีต่อสุขภาพ และสามารถควบคุมระดับน้ำตาลในเลือดได้ หากดูแลเรื่องอาหารเป็นอย่างดีแล้ว การปฏิบัติตัวและดูแลร่างกายตัวเองอย่างเคร่งครัดเพียงแค่นี้คุณก็จะมีคุณภาพชีวิตที่ดีด้วยความห่วงใยจาก_MEGA We care

Want your practice to be the top-listed Clinic in Sacramento?
Click here to claim your Sponsored Listing.

Category

Telephone

Website

Address

Clairemont Mesa Boulevard, San Diego, CA, United States, San Diego, CA, United States
Sacramento, CA
94203

Other Medical & Health in Sacramento (show all)
California Society of Pathologists California Society of Pathologists
1 Capitol Mall, Ste 800
Sacramento, 95814

CSP is the premier state organization of pathologists for pathologists.

Western Health Advantage Western Health Advantage
2349 Gateway Oaks Drive, Suite 100
Sacramento, 95833

We are all about helping people obtain quality health care. We offer affordable coverage to employer groups, individuals and families, for every stage of life. We are here to help ...

California Society of Anesthesiologists California Society of Anesthesiologists
1 Capitol Mall, Ste 800
Sacramento, 95814

Welcome to the California Society of Anesthesiologists (CSA)

Central Valley Health Network Central Valley Health Network
500 Capitol Mall, Suite 2350
Sacramento, 95814

Central Valley Health Network is comprised of 16 Community Health Center corporations recognized as FQHCs. It advocates at national, state, and local levels, representing its FQHC ...

Keri's Traveling Massage Keri's Traveling Massage
Sacramento, 95864

Certified Massage Therapist with Table and Chair come's to you.

Latinx.care Latinx.care
Sacramento

Another division of the work done at Sierra Blue Agency. Latinx.care was inspired by the telemedicine movement and will help by sharing current news and information about this move...

Health and Wellness Clinic Supply Health and Wellness Clinic Supply
631 Cummins Way Suite 8
Sacramento

We provide wellness items and medical equipment and supplies for a healthy lifestyle.

Synchronicity Health Synchronicity Health
2730 Gateway Oaks Drive Ste 215
Sacramento, 95833

FNP providing medical weight loss services, BHRT, Nutrient deficiencies, Diabetes and chronic care.

Discrete Weight Loss Discrete Weight Loss
2907 35th Street
Sacramento, 95817

It's not about your weight — it's about your health.

Nourishing Justly Nourishing Justly
Sacramento

Nourishing support to help families reach their lactation goals. In-home/virtual help from an IBCLC

Amputee Guys Amputee Guys
1828 Tribute Road Suite G
Sacramento, 95815

We are Tic and Tac the Bologna Brothers We provide you: Prosthetic Peer Support Prosthetic Expertise