ห้องสมุดแมวหางกิ้นส์

ห้องสมุดแมวหางกิ้นส์

ชุมชนเรียนรู้มีหนังสือ

24/09/2024

Send a message to learn more

24/09/2024

ขอความช่วยเหลือเร่งด่วนครับ

✊🔴 ขอความช่วยเหลือเร่งด่วนให้พี่น้อง ชุมชนปกาเกอะญอบ้านห้วยหินลาดใน ต.บ้านโป่ง อ.เวียงป่าเป้า จ.เชียงราย

จากสถานการณ์อุทกภัยในพื้นที่ภาคเหนือในช่วงสัปดาห์ที่ผ่านมา หนึ่งในชุมชนสมาชิกของสหพันธ์เกษตรกรภาคเหนือ (สกน.) ได้แก่ บ้านห้วยหินลาดใน ซึ่งเป็นชุมชนของกลุ่มชาติพันธุ์ปกาเกอะญอ ไก้รับผลกระทบอย่างหนัก พวกเรามูลนิธิพัฒนาภาคเหนือ (มพน.) และ สกน. จึงขอเปิดระดมความช่วยเหลือชุมชนโดยเร่งด่วนตามความต้องการของชุมชน ดังนี้

1. สิ่งของจำเป็นเร่งด่วน ได้แก่ ข้าวสาร อาหารแห้ง เสื้อผ้า,ชุดชั้นในชาย-หญิงผ้าอนามัย, อุปกรณ์การอาบน้ำ, ถังน้ำ, ขันน้ำ, อุปกรณ์ทำความสะอาดทุกชนิด, รองเท้าบูต, มุ้ง, ยากันยุง, เครื่องครัวสามารถจัดส่งได้ที่ มูลนิธิพัฒนาภาคเหนือ 77/1 ม.5 ต.สุเทพ อ.เมือง จ.เชียงใหม่ 50200

2. สนับสนุนความช่วยเหลือเป็นเงินทุน ทางบัญชี
ธนาคารกรุงไทย 7870429139
ชื่อบัญชี: โครงการพัฒนาคุณภาพชีวิตของผู้รายได้น้อยในชนบท สหพันธ์เกษตรกรภาคเหนือ

3. ร่วมเป็นอาสาสมัครทำความสะอาดสถานที่

📌 ติดต่อ: 0616629338 (ช้าง)
0654365800 (หนิง)

#สหพันธ์เกษตรกรภาคเหนือ
#มูลนิธิพัฒนาภาคเหนือ
#น้ำท่วมเชียงราย

20/09/2024

The Kommon แหล่งชุมนุมความคิดเรื่องพื้นที่การเรียนรู้ และห้องสมุดกับการเปลี่ยนแปลงสังคม

18/09/2024

การเรียนรู้แบบยืดหยุ่น (Flexible Learning) คืออะไร มีแนวทางในการจัดการอย่างไร ห้องเรียนข้ามขอบรวบรวมสรุปประเด็นมาให้เข้าใจแบบง่ายๆ

#ห้องเรียนข้ามขอบ

18/09/2024

7 ข้อคิดที่ได้จากหนังสือ
คู่มือทำธุรกิจ สไตล์คนคิดสร้างสรรค์

1. คุณเองก็เป็น "นักสร้างสรรค์" ได้

มนุษย์เป็นสิ่งมีชีวิตที่ชอบสร้างสรรค์ ตั้งแต่อดีตมา คนเรามักจะคิดค้นและหาไอเดียใหม่ ๆ มาทำในสิ่งต่าง ๆ เพื่ออำนวยความสะดวกให้กับตนเองอยู่เสมอ ไม่ว่าจะเป็น คอมพิวเตอร์ โต๊ะ เก้าอี้ โทรทัศน์ เตียงนอน บ้าน รถยนต์ ห้องน้ำ เสื้อผ้า ส้อม แยม น้ำผลไม้ นิตยสาร หรือ เว็๋บไซต์ ฯลฯ สิ่งทั้งหลายเหล่านี้ ล้วนแล้วแต่เกิดขึ้นมาจากไอเดียเล็ก ๆ ของมนุษย์ทั้งนั้น แต่สิ่งที่ทำให้มันเกิดขึ้นได้นั้นก็เพราะพวกเขาได้ทำการ "ลงมือทำทันที" นั้นเอง พวกเขาอาจจะต้องเจอกับอุปสรรคหลายอย่างกว่าที่จะสร้างสรรค์ผลงานออกมาได้ในแต่ละชิ้น ซึ่งจะต้องใช้ความอดทนและพยายามเป็นอย่างมาก แต่พวกเขาก็ทำมันได้ ที่ผ่านมาคุณอาจจะไม่เคยทำอะไรได้สำเร็จเพราะคิดว่าตนเองเป็นคนขี้เกียจและขี้กลัวเกินกว่าที่จะตั้งเป้าทำอะไรได้ แต่ไม่ต้องกังวัลไปครับ เราสามารถทำให้ไอเดียของเราเป็นจริงได้เหมือนกับ "นักสร้างสรรค์" คนอื่น ๆ เพราะสิ่งเหล่านี้เป็นของที่ฝึกกันได้ ที่ต้องทำก็แค่ต้องหาคำตอบว่าคุณต้องการที่จะทำอะไร เมื่อได้คำตอบแล้วก็ให้ "ลงมือทำทันที"

2. สติ และ ความคิด เป็นบ่อเกิดของไอเดีย

คนเรามักจะคิดก่อนทำเสมอ และก่อนที่จะตัดสินใจทำอะไร ความคิดของเราจะอยู่ ณ จุดนั้น เพื่อคอยบอกว่าเราจะต้องทำอะไรต่อไป ถ้าเรารู้จักใช้ความคิดให้เกิดประโยชน์ สิ่งดี ๆ ก็จะเกิดขึ้น ถ้าเราคอยเติมพลังความคิดในทางบวกอยู่เสมอ ก็เปรียบเสมือนเชื้อเพลิงเกรดพรีเมี่ยมที่จะส่งจรวดไอเดียเข้าสู่วงโคจรอวกาศ สติและความคิดเป็นสิ่งสำคัญที่จะก่อให้เกิดไอเดีย สำคัญยิ่งกว่าคอมพิวเตอร์ หรือ ร้านอุปกรณ์ไหน ๆ ถ้าเราคอยเติมความคิดในแง่บวกและสะกดความคิดในแง่ลบ ความคิดที่สร้างสรรค์และสิ่งมหัศจรรย์จะเกิดขึ้น คุณจะเป็นผู้ที่ควบคุมความสำเร็จ ไม่ว่าอะไรก็ตาม ถ้าคุณคิดว่าจะทำได้หรือทำไม่ได้ก็ตาม ผลลัพธ์จะเป็นจริงตามนั้นเสมอ!

3. การค้นหา "ไอเดีย" เป็นสิ่งสำคัญ

ทุกอย่างล้วนเกิดมาจากจุดเล็ก ๆ ทั้งนั้น ไม่ว่าจะเป็นสิ่งที่ยิ่งใหญ่ขนาดไหน ล้วนแล้วแต่เกิดมาจากสิ่งเล็ก ๆ กันแทบทั้งสิ้น ไม่ว่าจะเป็นกาวชนิดพิเศษที่ซ่อมแซมและดัดแปลงสิ่งของได้ทุกชนิดก็เกิดมาจากการนำเอาเศษผงไม้มาผสมเข้ากับกาวเพียงเพื่อจะเอามาเล่นเท่านั้น หรือ เครื่องถ่ายเอกซเรย์เองก็เป็นการค้นพบด้วยความบังเอิญเช่นเดียวกัน การค้นพบไอเดียเป็นสิ่งสำคัญ ในขั้นตอนนี้ คุณยังไม่ต้องมีหน้าร้าน หรือ งบประมาณใด ๆ ขอแค่คุณมีไอเดีย หรือ ค้นพบไอเดียที่น่าสนใจได้ แค่นี้ก็เพียงพอแล้ว นั่นอาจจะเป็นช่วงเวลาที่สำคัญในชีวิตคุณก็เป็นได้ เพราะไอเดียที่คุณเห็นว่าไม่สำคัญอะไรนัก อาจจะสามารถเปลี่ยนทิศทางของโลกให้เป็นไปตามที่คุณต้องการได้ ในหนังสือเล่มนี้จะบอกถึงสิ่งที่คุณต้องทำให้มากขึ้น และ ทำให้น้อยลง เพื่อทำให้ไอเดียเป็นส่วนหนึ่งในชีวิตของคุณ

4. การสร้างสรรค์ไอเดียจำเป็นต้องมี "พื้นที่เฉพาะ" ของตนเอง

คุณคงจะเคยเห็นเด็กนักเรียนที่บางคนที่ชื่นชอบวิชาเลข หรือ ภาษาฝรั่งเศษ สามารถที่จะสนุกเพลิดเพลินไปกับวิชาเหล่านั้นได้ ซึ่งคนส่วนใหญ่ยอมรับได้ และก็อาจจะมีบางคนที่ชอบหมกมุ่นอยู่กับการเล่นฟุตบอลหรือวาดเขียน ในรูปภูเขา ต้นไม้ มังกรพ่นไฟขนาดใหญ่ เขาสามารถที่จะทำสิ่งนั้นได้โดยที่ไม่สนอะไรรอบข้าง ซึ่งคนที่พบเห็นและไม่ได้ชอบแบบเขาก็มักจะรู้สึกว่าเด็กเหล่านั้นเป็นคนดื้อและสมาธิสั้น ซึ่งไม่ว่าจะแบบไหนก็ตาม สภาวะเหล่านี้ได้รับการเรียกว่า "พื้นที่เฉพาะ" นักจิตวิทยาชื่อดังของโลกอย่าง มีไฮลย์ ชิกเซนมีไฮลย์ ได้เรียกสิ่งนี้ว่า "การเข้าไปอยู่ในกระแส" สิ่งนี้ไม่ใช่พรสวรรค์ แต่เป็นความรู้สึกมีความสุขอย่างท้วมท้นที่ได้ทำในสิ่งที่ชอบ ได้เห็นพัฒนาการที่เกิดขึ้นจากตนเอง จนไม่มีเวลาไปสนใจอย่างอื่น และทำให้เขาเหล่านั้นสามารถทำสิ่งนั้น ๆ ได้ดีและทำได้นานมากเป็นพิเศษ! สิ่งนี้เป็นสิ่งที่สำคัญในการคิดและพัฒนาไอเดียใหม่ ๆ ให้เกิดขึ้นได้ ไม่ว่าคุณจะทำอะไรก็ตาม ถ้าไอเดียนั้นคุณทำด้วยความรู้สึกแบบนี้ ก็มีโอกาสที่ไอเดียนั้นจะเป็นกลายผลงานที่น่าทึ่งขึ้นมาได้เช่นกัน

5. เขียนไอเดียของคุณออกมา

เมื่อคุณได้ไอเดียอะไรใหม่ ๆ ถ้าคุณคิดว่าเป็นสิ่งที่น่าสนใจและมีความเป็นไปได้ ไม่ใช่แค่ความคิดเพียงอย่างเดียว ก็ให้คุณเขียนไอเดียนั้น ๆ ลงไปในกระดาษ และคุณต้องมั่นใจว่านั่นเป็นไอเดียจริง ๆ ซึ่งจะต้องมีวิธีการที่เราจะสามารถทำให้เป็นจริงได้ในทางปฏิบัติด้วย แม้จะยังไม่รู้วิธีการทำได้แบบชัดเจน แต่ขอให้เป็นแนวทางไว้ก็พอ และการเขียนไอเดียลงไปนั้นยังไม่ใช่การผูกพันธด้วย คุณยังสามารถที่จะแก้ไขสิ่งต่าง ๆ เพื่อให้แผนการเป็นรูปเป็นร่างได้ สามารถที่จะใส่ไอเดียต่าง ๆ ลงไปได้มากมาย และยังเป็นการป้องกันการคิดวกไปวนมาอีกด้วย จนกระทั่งส่งผลให้คุณสามารถจับแก่นของไอเดียนั้น ๆ ได้ดีขึ้น

6. จัดการกับความคาดหวังและสู้ไม่ถอย

หลายคนอาจจะรู้สึกว่าการปะสบความสำเร็จนั้นสามารถเกิดขึ้นได้ข้ามคืน มันคงจะดีถ้าเราสามารถไปถึงฝันได้ในชั่วข้ามคืนเหมือนกับถูกล็อตเตอรี่ ยิ่งในยุคปัจจุบันนี้ได้มีอินเตอร์เน็ตเข้ามา ทำให้เราได้เห็นปรากฏการณ์แห่งความสำเร็จต่าง ๆ ที่โด่งดังในเวลาไม่นาน ไม่ว่าจะเป็นเพลงใหม่ คลิปใหม่ หรือ สินค้าใหม่ ล้วนแล้วแต่ดังเป็นพลุแตกในชั่วข้ามคืน สิ่งนั้นเลยทำให้เราคิดไปว่า แค่เรามีไอเดียใหม่ การวางแผนที่ดี แล้วนำไปประกาศลงโซเชียลมีเดีย จากนั้นก็รอให้อินเตอร์เน็ตทำหน้าที่ของมันไป มันก็จะนำพาเอาชื่อเสียงและเงินทองมาให้เราเอง ซึ่งความคิดนี้ก็ไม่ผิด แต่ผมอยากจะให้คุณได้ตระหนักอย่างหนึ่งว่า การที่จะทำให้ไอเดียหนึ่งประสบความสำเร็จขึ้นมาได้นั้นต้องใช้เวลาทั้งสิ้นครับ แต่ละคนก่อนที่จะสำเร็จได้นั้นล้วนแล้วแต่ผ่านการทุ่มเทเวลาและชีวิตลงไปที่ผลงานกันทั้งนั้นจึงจะสำเร็จขึ้นมาได้ แต่เราก็ไม่ได้บอกว่าจะให้คุณถอดใจครับ เพราะในระหว่างที่กำลังผจญภัยในเส้นทางการสร้างสรรค์นั้น เราไม่รู้ว่าจะเกิดอะไรขึ้นบ้าง ดังนั้นสิ่งเดียวที่เราควรยึดมั่นไว้ก็คือ เราต้องก้าวเดินต่อไปอย่างไม่ลดละ

7. เลิกกลัวความล้มเหลว

การที่เราทำสิ่งใหม่ ๆ แล้วต้องการที่จะนำไปเสนอให้ผู้คนได้รับรู้นั้น สิ่งที่เป็นเหมือนกันแทบจะทุกคนเลยก็คือ ส่วนใหญ่แล้วมักจะเกิดความกลัวขึ้นมา กลัวความล้มเหลว กลัวว่าคนอื่นจะไม่ยอมรับในสิ่งที่เรานำเสนอ กลัวว่าตนเองจะไม่ได้รับการยอมรับ ซึ่งสิ่งนี้เป็นสัญชาตญาณการเอาตัวรอดของมนุษย์ที่ฝังแน่นอยู่ในจิตใจมานานตั้งแต่บรรพกาล ถ้าเราไม่อยากจะโดยคนอื่นวิพากษ์วิจารณ์เราก็ต้องไม่ทำอะไรเลย แม้ในยุคนี้ก็ยังเป็นแบบนี้อยู่ แต่ถ้าเรามัวแต่กลัว เราก็จะไม่มีทางสร้างสรรค์สิ่งใหม่ ๆ ให้เกิดขึ้นได้ การวิพากษ์วิจารณ์เป็นเรื่องปกติอยู่แล้วเวลาที่คนเราเจออะไรใหม่ ๆ เพราะแต่ละคนนั้นชอบไม่เหมือนกัน คำถามคือ แล้วเราจะทำยังไง? คำตอบนั้นมีด้วยกันหลายแบบ แต่สิ่งที่หนังสือเล่มนี้จะบอกก็คือ การหา "เผ่าใหม่" หรือก็คือ การเลือกที่จะอยู่ในสังคมของนักคิดและนักสร้างสรรค์ให้มากขึ้น วิธีนี้นอกจากจะช่วยให้การพัฒนาไอเดียของเราสามารถประสบความสำเร็จได้เร็วขึ้นแล้ว ยังสามารถที่จะช่วยให้เราเลิก "กลัวความล้มเหลว" ได้ง่ายขึ้นอีกด้วย

นี่เป็นเพียงส่วนหนึ่งของหนังสือ
หากสนใจสั่งซื้ออ่านได้ที่
Lazada : https://s.lazada.co.th/s.P10wB?cc

Photos from มูลนิธิกระจกเงา's post 18/09/2024
16/09/2024

🔮: นักแปลวรรณกรรม (ในที่นี้หมายถึง Fiction นิยาย เรื่องแต่งในรูปแบบต่างๆ ) พึงมีคุณสมบัติอย่างไรบ้าง

🤖: เนื่องจากการแปลวรรณกรรมไม่ได้แปลแค่คำ แต่ยังต้องถ่ายทอดอารมณ์ ความหมาย และน้ำเสียงของต้นฉบับอย่างซื่อตรงและเป็นธรรมชาติ คุณสมบัติสำคัญที่นักแปลวรรณกรรมพึงมีคือ

1. มีความเข้าใจลึกซึ้งทั้งสองภาษา
• นักแปลวรรณกรรมต้องมีความเชี่ยวชาญในทั้งภาษาต้นฉบับและภาษาปลายทาง เข้าใจโครงสร้างภาษา สำนวน และบริบทวัฒนธรรมในระดับลึก การเข้าใจถึงความละเอียดอ่อนของทั้งสองภาษาช่วยให้การแปลเป็นไปอย่างราบรื่นและแม่นยำ

2. ความสามารถในการรักษาเอกลักษณ์ของผู้เขียน
• นักแปลที่ดีต้องสามารถรักษาสไตล์และเสียงเฉพาะของผู้เขียนต้นฉบับได้ แม้จะต้องปรับคำหรือโครงสร้างประโยคในบางครั้ง การแปลที่ดีทำให้ผู้อ่านในภาษาปลายทางรู้สึกถึงอารมณ์และบรรยากาศเช่นเดียวกับต้นฉบับ

3. เข้าใจลึกซึ้งในวรรณกรรม
• นักแปลต้องเป็นคนที่มีความเข้าใจในวรรณกรรม ไม่ใช่แค่ในแง่ของการอ่าน แต่ยังเข้าใจถึงแนวคิด บทบาทของตัวละคร โครงเรื่อง และโครงสร้างของงานวรรณกรรม เช่น สัญลักษณ์ บทแฝง หรือการเล่นคำในงาน

4. ความคิดสร้างสรรค์
• นักแปลวรรณกรรมที่ดีต้องเป็นคนมีความคิดสร้างสรรค์ เพราะบางครั้งการแปลตรงตัวอาจไม่สามารถถ่ายทอดอารมณ์หรือความหมายได้ ต้องสามารถคิดวิธีใหม่ ๆ ในการสื่อความหมายได้โดยไม่ละทิ้งเจตนาของผู้เขียน

5. ใส่ใจในรายละเอียด
• นักแปลต้องใส่ใจในทุกรายละเอียด ไม่ว่าจะเป็นการใช้คำ การเลือกโครงสร้างประโยค หรือการแปลสำนวนเฉพาะท้องถิ่น ความละเอียดเหล่านี้จะช่วยทำให้ผลงานแปลมีคุณภาพสูง

6. อดทนและมีวินัยในการทำงาน
• การแปลวรรณกรรมใช้เวลาและความพยายามอย่างมาก นักแปลที่ดีต้องมีความอดทนในการค้นคว้าหาข้อมูลและการแก้ไขงานที่ซับซ้อน รวมถึงมีวินัยในการทำงานให้สำเร็จตามเป้าหมาย

7. มีความรู้ทางวัฒนธรรม
• นักแปลต้องมีความเข้าใจทั้งวัฒนธรรมของภาษาต้นฉบับและภาษาปลายทาง เพราะวรรณกรรมมักมีการอ้างอิงถึงวัฒนธรรม สังคม และประวัติศาสตร์ การเข้าใจบริบทเหล่านี้จะช่วยให้การแปลถูกต้องและเหมาะสมกับผู้อ่านในภาษาปลายทาง

8. สามารถตีความลึกซึ้ง
• นักแปลที่ดีต้องสามารถตีความเนื้อหาได้ในระดับที่ลึกกว่าผู้อ่านทั่วไป เพราะการแปลไม่ได้หมายถึงการเปลี่ยนคำแต่เป็นการถ่ายทอดความหมายที่ซ่อนอยู่ ดังนั้นการตีความในมิติที่ลึกซึ้งจะช่วยให้งานแปลสื่อสารความรู้สึกและแนวคิดได้ตรงตามเจตนารมณ์ของผู้เขียน

9. เปิดใจรับฟังคำแนะนำ
• นักแปลวรรณกรรมที่ดีจะเปิดใจรับฟังคำแนะนำและคำวิจารณ์จากบรรณาธิการหรือผู้อ่าน ซึ่งจะช่วยในการปรับปรุงและพัฒนาคุณภาพงานแปลอย่างต่อเนื่อง

10. มีความรักในภาษาและวรรณกรรม
• การเป็นนักแปลวรรณกรรมที่ดีต้องมีความรักในภาษาและงานวรรณกรรมเป็นพื้นฐาน เพราะสิ่งนี้จะเป็นแรงผลักดันให้นักแปลทุ่มเทและใส่ใจในการทำงานทุกขั้นตอน

ด้วยคุณสมบัติเหล่านี้ นักแปลวรรณกรรมจะสามารถถ่ายทอดความงดงามและจิตวิญญาณของต้นฉบับออกมาได้อย่างสมบูรณ์

——

Photos from The Gallery's post 16/09/2024
14/09/2024

7 วันขอระดมแต้ม All Member ทั่วประเทศ
เพื่อช่วยเหลือผู้ประสบภัย จ.เชียงราย!!!
7 วันหลังจากนี้ มูลนิธิกระจกเงา
ชวนส่งต่อความช่วยเหลือ
ด้วยการบริจาคแต้ม All member
ที่เบอร์ 063-931-6340
เพื่อใช้แต้มในภารกิจฟื้นฟูผู้ประสบภัย
ขณะนี้ทีมด่านหน้าอยู่ในภารกิจ
ช่วยชาวบ้าน ออกจากพื้นที่เสี่ยง
และ เมื่อน้ำลด
ชาวบ้านต้องได้กลับสู่ชีวิตปกติอย่างเร็วที่สุด
ทีมอาสาล้างบ้านมูลนิธิกระจกเงา
จึงจะเข้าสู่งานฟื้นฟูทันที!
เราอยากชวนคุณมาอยู่ในภารกิจนี้ด้วยกัน
หากคุณเข้าใช้จ่าย ที่ 7-11
ขอให้บอกเบอร์ All Member
สะสมแต้มให้มูลนิธิกระจกเงา
กับพนักงานที่เคาร์เตอร์
หรือสำหรับผู้มีแต้ม All Member
และต้องการโอนบริจาค
แต่ติดปัญหาระบบแจ้งโควต้าโอนต่อวันเต็ม
กรุณาทักอินบ๊อกซ์มาหาแอดมิน
เพื่อขอเบอร์สำรองได้เลยค่ะ
นอกจากสะสมแต้มที่ 7-11 แล้ว
แต้มจากการใช้จ่ายที่ Family Mart
Top Supermarket, Big C, Lotus,
CJ mall, Makro, Maxvalu,
ห้างในเครือเดอะมอลล์ หรือเซ็นทรัล
รวมทั้งปั้มน้ำมันทุกแห่ง
สามารถบริจาคที่
เบอร์ 063-931-6340 ได้เช่นกันนะคะ
#บริจาคแต้มเพื่อมูลนิธิกระจกเงา
#อาสาล้างบ้าน
#มูลนิธิกระจกเงา #น้ำท่วมเชียงราย

Photos from ลิตเติ้ลวู้ดส์ Little Woods Board Game Ubon's post 14/09/2024
Photos from กสศ. กองทุนเพื่อความเสมอภาคทางการศึกษา's post 12/09/2024
Photos from เรื่องเล่าร้านหนังสือ's post 08/09/2024
Photos from The Kommon's post 07/09/2024
01/09/2024

The Power of Intention ⚡️
พลังแห่งเจตจำนง
: อำนาจภายในที่แปรเปลี่ยนความเป็นไปรอบตัว
(subtle activism)
กับ อันธิฌา แสงชัย

14-15 กันยายน 2567
9.00-17.00 น.
ณ วัชรสิทธา

"ความเป็นจริงทั้งหมดของชีวิตได้เกิดขึ้นสองครั้งเสมอ ครั้งหนึ่งในจิตและอีกครั้งหนึ่งในโลกเชิงประจักษ์"

พลังแห่งเจตจำนง จึงมิได้เป็นเพียงความคิด ไม่ใช่ความอยากหรือความปรารถนา แต่เป็นสิ่งที่ทรงพลังยิ่งกว่า เป็นความจริงอันแรงกล้าที่ปรากฏขึ้นในจิต ซึ่งเชื่อมร้อยอยู่กับสรรพสิ่งที่ดำรงอยู่ในโลกของพลังงาน

ฉันจะค้นพบความต้องการที่แท้จริง ความศักดิ์สิทธิ์ และพันธกิจในชีวิตของฉันได้อย่างไร? ที่สำคัญ ฉันจะวางใจในชีวิตของตนเองได้อย่างไร?

หากคุณเฝ้าใคร่ครวญถึงคำถามเหล่านี้อยู่ทุกเมื่อเชื่อวัน ได้ทดลอง ฝึกฝน เรียนรู้สิ่งต่างๆ มามากมาย ผ่านการทำงานงานหล่อเลี้ยงชีวิตและจิตวิญญาณมาหลากหลายรูปแบบ แต่พบว่าจิ๊กซอว์บางชิ้นของคำตอบเหล่านั้นยังคงหายไป การดำดิ่งเข้าไปสู่แก่นแกนของโลกภายในเพื่อทำงานกับเจตจำนง อาจเป็นประตู-เป็นทางเลือก-เป็นการเดินทางที่น่าสนใจ และเป็นกุญแจให้ค้นพบจิ๊กซอว์ชิ้นนั้นซึ่งเป็นคำตอบเฉพาะตน

คลาส "พลังแห่งเจตจำนง" คือกระบวนการเรียนรู้ที่จะเชื้อเชิญให้ผู้เข้าร่วมเดินทางกลับเข้าไปสู่โลกภายในของตนเองอย่างอ่อนโยน สงบมั่นคง ก่อนที่จะสัมผัสรับรู้ถึงสภาวะที่ไหลเวียนแปรเปลี่ยนตลอดเวลาทั้งภายในและภายนอก เรียนรู้ที่จะทำงานร่วมกับพลังงานเหล่านั้น เพื่อสร้างสรรค์และเต้นรำไปกับการให้กำเนิดความเป็นจริงแห่งโลกเชิงประจักษ์

สิ่งที่จะได้เรียนรู้

• ร่วมเรียนรู้วิธีตั้งคำถามเพื่อสืบค้นหาเจตจำนงที่แท้จริง

• วิธีสร้างความมั่นคงภายใน และสัมผัสรับรู้พลังงานละเอียด

• การสร้างภาพในจิต (นิมิต; visualization) ที่มีประสิทธิภาพ

• การทำงานร่วมกับพันธมิตร สรรพชีวิต สรรพวิญญาณ

• การกลับมาสู่สภาวะสามัญที่ทุกอย่างดำเนินไปตามครรลอง

"ค้นพบและกำหนดเจตจำนงเพื่อลัดเลาะไปตามเส้นทางของชีวิต

หยอกล้อและรื่นรมย์ในสายธารแห่งพลัง

มั่นคง จริงแท้ สว่างเจิดจ้า

ด้วยกัน"

- อันธิฌา แสงชัย -

-----------------------

ลงทะเบียนเรียน 3,850 บาท
สมาชิกกิจกรรมวัชรสิทธา ลด 10% เหลือ 3,465 บาท
สมัครสมาชิกใหม่ 5,500 บาท แล้วรับสิทธิเรียนคอร์สนี้ฟรีทันที

กรุณาโอนค่าสมัครไปยัง
บัญชี ธนาคารกสิกรไทย สาขาบางกระบือ ประเภทออมทรัพย์
ชื่อบัญชี "มูลนิธิวัชรปัญญา" เลขที่ 053-3-67904-8

สมัครได้ที่นี่ ⬇️
https://forms.gle/Z1yf1dcSNxVrYH92A

31/08/2024

"Empathy" ใจเขาใจเราของการเขียนบทความ (และการสื่อสาร) 💖✍️
ถ้าคุณคิดว่าการเขียนบทความคือการเรียงร้อยคำให้สวยหรู… คุณคิดผิดแล้ว เพราะความสละสลวยของภาษาอย่างเดียวไม่สามารถสื่อสารได้อย่างมีประสิทธิภาพ
แต่ถ้าคุณคิดว่าการเขียนบทความคือการถ่ายทอดข้อมูลให้ครบถ้วน คุณคิดถูกครับ!
แต่ยังมีถูกกว่านั้นคือ!!! การเขียนบทความที่ดีคือการเข้าใจและตอบสนองความต้องการของผู้อ่าน เหมือนกับการปรุงอาหารที่ใส่ใจในรสชาติและคุณค่าทางโภชนาการ - อิ่มท้อง อิ่มสมอง และตรงใจผู้บริโภค 🍽️🧠
แล้วใครจะคิดว่าการเอาใจเขามาใส่ใจเราจะกลายเป็นสูตรลับของนักเขียนระดับเทพได้?
วันนี้เราจะมาไขความลับของ Empathy ในการเขียนบทความ ผ่าน 3 มิติสำคัญที่จะทำให้งานเขียนของคุณไม่ใช่แค่ตัวหนังสือ แต่เป็นสะพานเชื่อมใจระหว่างคนเขียนและคนอ่าน (แต่ถ้าคุณอยากสร้างสะพานจริงๆ แนะนำให้เรียนวิศวกรรมนะครับ)
หมายเหตุ: แม้จะดูเหมือนว่าเราพูดถึงการ "เขียน" แต่จริงๆใจความหลักของเรากำลังพูดถึงการ "สื่อสารแบบมี Empathy" นะ ซึ่งนั่นก็คือ "หัวใจของการสื่อสาร" เลยครับ เพราะโลกนี้วุ่นวายพอแล้ว เราไม่จำเป็นต้องเพิ่มความสับสนด้วยการเขียนแบบไม่แคร์ใคร! 😅
---------------------------
มิติที่ 1: เข้าใจคนอ่าน (Reader Persona) 🧠🔍(ไม่ใช่เหยื่อที่รอให้คุณยัดเยียดข้อมูล)
"การเขียนโดยไม่รู้จักคนอ่าน เหมือนการส่งจดหมายโดยไม่รู้ที่อยู่ผู้รับ"
ถ้าคุณคิดว่าการรู้จักคนอ่านคือแค่การรู้ว่าเขาชอบอะไร คุณคิดผิดแล้ว เพราะจริงๆ แล้ว มันคือการเข้าใจว่า "ทำไม" เขาถึงชอบสิ่งนั้น
แต่ถ้าคุณคิดว่าแค่เข้าใจคนอ่านก็พอแล้ว คุณก็คิดถูก... แต่ยังมีถูกกว่านั้นคือ การเข้าใจคนอ่านแบบลึกซึ้งจนสามารถคาดเดาคำถามในใจเขาได้ก่อนที่เขาจะถาม
ลองคิดแบบนี้: ทุกครั้งที่คุณเขียน คุณไม่ได้กำลังพูดคนเดียว แต่คุณกำลังสนทนากับเพื่อนสนิทที่คุณรู้ใจ
แนวคิดของการเข้าใจคนอ่าน:
1. คนอ่านคือเพื่อนร่วมทาง 🚶‍♂️🚶‍♀️
- ถ้าคุณมองคนอ่านเป็นแค่ตัวเลขยอดวิว คุณกำลังพลาดโอกาสสร้างความสัมพันธ์
- แต่ถ้าคุณมองคนอ่านเป็นเพื่อนร่วมทาง คุณกำลังสร้างประสบการณ์ร่วมกัน
- และถ้าคุณสามารถเขียนเหมือนกำลังคุยกับเพื่อนสนิท คุณกำลังสร้างพลังแห่งมิตรภาพ! (แต่อย่าสนิทจนชวนไปกินเหล้าล่ะ)
2. ความต้องการที่ซ่อนเร้น 🕵️‍♂️
- ถ้าคุณตอบแค่คำถามที่คนอ่านถาม คุณอาจได้แค่คำตอบผิวเผิน
- แต่ถ้าคุณตอบคำถามที่พวกเขาไม่กล้าถาม คุณกำลังสร้างคุณค่าที่แท้จริง
- และถ้าคุณสามารถเข้าใจความต้องการที่แม้แต่คนอ่านเองยังไม่รู้ตัว คุณกำลังเป็นผู้นำทางความคิด หรือนักจิตวิทยาที่ไม่มีใบอนุญาตแล้วแต่จะมอง
3. ภาษาของหัวใจ ❤️🗨️
- ถ้าคุณใช้ภาษาที่สวยหรูแต่เข้าใจยาก คุณอาจกำลังพูดคนเดียว
- แต่ถ้าคุณใช้ภาษาที่คนอ่านใช้ในชีวิตประจำวัน คุณกำลังสร้างความรู้สึกใกล้ชิด
- และถ้าคุณสามารถใช้ภาษาที่สัมผัสอารมณ์และความรู้สึกของคนอ่านได้ คุณคือเครื่องสแกนสมอง!
------------------------
มิติที่ 2: สร้างประสบการณ์ร่วม (Shared Experience) 🌈🤝
"การเขียนที่ดีไม่ได้แค่บอกเล่า แต่พาคนอ่านไปสัมผัสด้วยกัน"
ถ้าคุณคิดว่าการเล่าเรื่องคือการรายงานเหตุการณ์ คุณคิดผิดแล้ว เพราะจริงๆ แล้ว มันคือการสร้างโลกใบใหม่ที่คุณและคนอ่านก้าวเข้าไปด้วยกัน
แต่ถ้าคุณคิดว่าแค่เล่าเรื่องสนุกๆ ก็พอแล้ว คุณก็คิดถูก... แต่ยังมีถูกกว่านั้นคือ การสร้างประสบการณ์ร่วมที่ทำให้คนอ่านรู้สึกว่า "นี่แหละ! ชีวิตฉันเลย"
ลองนึกภาพ: คุณไม่ได้กำลังเขียนบทความ แต่คุณกำลังวาดภาพด้วยคำพูด ให้คนอ่านได้เห็น ได้ยิน ได้กลิ่น และรู้สึกถึงสิ่งที่คุณกำลังเล่า (แต่ถ้าคนอ่านบอกว่าได้กลิ่นเท้าคุณ นั่นแปลว่าคุณต้องไปอาบน้ำแล้วล่ะครับ)
แนวคิดของการสร้างประสบการณ์ร่วม:
1. ภาพในหัว vs. ภาพในใจ 🖼️
- ถ้าคุณแค่บรรยายสิ่งที่เห็น คุณอาจได้แค่ภาพนิ่ง
- แต่ถ้าคุณถ่ายทอดความรู้สึกและอารมณ์ คุณกำลังสร้างภาพเคลื่อนไหวในใจคนอ่าน
- และถ้าคุณสามารถทำให้คนอ่านรู้สึกเหมือนอยู่ในเหตุการณ์นั้นด้วย คุณกำลังสร้างภาพยนตร์ในจินตนาการของพวกเขา
2. เสียงสะท้อนจากชีวิตจริง 🎭
- ถ้าคุณใช้แต่ทฤษฎีและสถิติ คุณอาจได้แค่ข้อมูลแห้งๆ
- แต่ถ้าคุณแทรกเรื่องเล่าจากชีวิตจริง คุณกำลังสร้างความน่าเชื่อถือและความเกี่ยวข้อง
- และถ้าคุณสามารถเชื่อมโยงประสบการณ์ของคุณกับคนอ่านได้ คุณกำลังสร้าง "เพื่อนร่วมชะตากรรม" ในใจพวกเขา
3. (ตัวเลือกเสริม) อารมณ์ขันคือยาชูกำลัง 😂
- ถ้าคุณเขียนแต่เรื่องจริงจัง คุณอาจทำให้คนอ่านเครียดโดยไม่จำเป็น
- แต่ถ้าคุณแทรกมุกตลกเบาๆ คุณกำลังสร้างช่วงเวลาผ่อนคลายให้คนอ่าน
- และถ้าคุณสามารถใช้อารมณ์ขันที่เชื่อมโยงกับเนื้อหาได้ คุณกำลังสร้างความทรงจำที่น่าประทับใจ (แต่ถ้ามุกไม่ตลก อย่าเสียใจไป อย่างน้อยคุณก็ทำให้เขารู้สึกดีที่ตัวเองตลกกว่าคุณ)
----------------------
มิติที่ 3: สร้างคุณค่าที่จับต้องได้ (Tangible Value) 💎🎁
"บทความที่ดีไม่ใช่แค่ให้ความรู้ แต่เปลี่ยนชีวิตคนอ่านให้ดีขึ้น"
ถ้าคุณคิดว่าการให้ข้อมูลคือการสร้างคุณค่า คุณคิดผิดแล้ว เพราะจริงๆ แล้ว มันคือการทำให้ข้อมูลนั้นใช้งานได้จริงในชีวิตประจำวัน
แต่ถ้าคุณคิดว่าแค่ให้วิธีแก้ปัญหาก็พอแล้ว คุณก็คิดถูก... แต่ยังมีถูกกว่านั้นคือ การทำให้คนอ่านรู้สึกว่าพวกเขาได้รับของขวัญล้ำค่าที่เปลี่ยนชีวิตพวกเขาไปตลอดกาล
ลองจินตนาการ: คุณไม่ได้กำลังเขียนบทความ แต่คุณกำลังมอบเครื่องมือวิเศษที่จะช่วยให้คนอ่านเอาชนะอุปสรรคในชีวิตได้
แนวคิดของการสร้างคุณค่าที่จับต้องได้:
1. จาก "รู้" สู่ "ทำได้" 🧠➡️👐
- ถ้าคุณแค่บอกว่า "ควรทำอะไร" คุณอาจสร้างแค่ความรู้สึกผิด
- แต่ถ้าคุณบอกว่า "ทำอย่างไร" พร้อมขั้นตอนที่ชัดเจน คุณกำลังสร้างพลังให้คนอ่าน
- และถ้าคุณสามารถแสดงให้เห็นว่าการลงมือทำนั้นง่ายแค่ไหน คุณกำลังทำลายกำแพงความกลัวในใจพวกเขา
2. เปลี่ยนมุมมอง เปลี่ยนชีวิต 🔄🌟
- ถ้าคุณแค่นำเสนอข้อเท็จจริง คุณอาจได้แค่ผู้อ่านที่รู้มากขึ้น
- แต่ถ้าคุณท้าทายมุมมองเดิมๆ คุณกำลังเปิดโลกใหม่ให้คนอ่าน
- และถ้าคุณสามารถทำให้คนอ่านมองเห็นโอกาสที่ซ่อนอยู่ในปัญหา คุณกำลังมอบพลังในการเปลี่ยนแปลงชีวิตให้พวกเขา
3. ความรู้ที่งอกเงย 🌱📚
- ถ้าคุณให้แค่คำตอบสำเร็จรูป คุณอาจกำลังจำกัดการเติบโตของคนอ่าน
- แต่ถ้าคุณกระตุ้นให้คนอ่านคิดต่อยอด คุณกำลังสร้างนักคิดตัวน้อย
- และถ้าคุณสามารถสร้างแรงบันดาลใจให้คนอ่านแบ่งปันความรู้ต่อ คุณกำลังสร้างวงจรแห่งการเรียนรู้ที่ไม่มีที่สิ้นสุด
----------------------
กฎ 3 ข้อของ Empathy ในการเขียน (ซึ่งเราไปขโมยทฤษฎีฟิสิกส์มา) 🧠✍️🤫
1. กฎแห่งการเชื่อมโยง: ยิ่งเข้าใจคนอ่าน ยิ่งเขียนได้ตรงใจ 🔗💖

หลักการ: ความเข้าใจ = ความใกล้ชิดทางใจ × ความลึกซึ้งของเนื้อหา - จำนวนครั้งที่คุณสะกดผิดแล้วโทษว่าเป็น Auto-correct
การประยุกต์ใช้:
- ยิ่งรู้จักคนอ่าน ยิ่งเขียนได้ตรงจุด 🍽️👥
- เคล็ดลับ: ลองสมมติว่าคุณกำลังเขียนถึงตัวเองในอีก 5 ปีข้างหน้า คุณอยากบอกอะไรกับตัวเอง? 🔮✉️
--------------------
2. กฎแห่งการถ่ายทอด: ยิ่งเล่าเรื่องได้มีชีวิตชีวา ยิ่งสร้างผลกระทบ 📚✨
หลักการ: ผลกระทบ = ความสมจริงของเรื่องเล่า × ความเกี่ยวข้องกับชีวิตคนอ่าน + จำนวนคนที่แอบอ้างว่าเรื่องนี้เกิดกับตัวเอง
การประยุกต์ใช้:
- สร้างภาพในหัวคนอ่านด้วยรายละเอียดที่มีชีวิต (เหมือนการวาดภาพด้วยคำพูด) 🎨🗨️
- ใช้ประสาทสัมผัสทั้ง 5 ในการเล่าเรื่อง (สิ่งที่เห็น ได้ยิน ได้กลิ่น รู้สึก และรสชาติ) 👁️👂
Pro ทิป: ถ้าเรื่องที่คุณเล่าไม่ทำให้คุณรู้สึกอะไรเลย มันก็คงไม่ทำให้คนอ่านรู้สึกอะไรเช่นกัน 🎭🌟 ยกเว้นความรู้สึกอยากปาโทรศัพท์ทิ้ง
-----------------------
3. กฎแห่งการเปลี่ยนแปลง: ยิ่งให้คุณค่า ยิ่งสร้างการเปลี่ยนแปลง 🦋🌈
หลักการ: การเปลี่ยนแปลง = คุณค่าที่ให้ × การนำไปใช้ - จำนวนครั้งที่คนอ่านบอกว่า "เดี๋ยวค่อยอ่าน"
การประยุกต์ใช้:
- ทุกย่อหน้าควรมีประโยชน์ที่นำไปใช้ได้จริง (เหมือนการให้เครื่องมือที่ใช้งานได้ทันที แต่ถ้าเครื่องมือนั้นคือ "วิธีการนอนให้หลับเร็วขึ้น" แล้วคนอ่านอ่านตอนตี 3 ก็... ช่างมันเถอะ) 🛠️💡
- ทำให้การลงมือทำดูง่ายและน่าสนุก (เหมือนการเล่นเกมที่ท้าทายแต่ไม่ยากเกินไป) 🎮🏆
Pro ทิป: ถ้าบทความของคุณไม่ได้เปลี่ยนชีวิตใคร อย่างน้อยก็พยายามให้มันเปลี่ยนอารมณ์พวกเขา จากเบื่อเป็นขำ หรือจากง่วงเป็นตาสว่าง แต่ถ้าเปลี่ยนจากอารมณ์ดีเป็นหงุดหงิด นั่นก็นับว่าประสบความสำเร็จในการสร้างผลกระทบเหมือนกันครับ

---------------------------
เอาล่ะครับ ถึงเวลาที่แอดต้องจบบทความแล้ว แต่ก่อนที่คุณจะปิดหน้าจอแล้วกลับไปใช้ชีวิตตามปกติ หรือไปกดเลื่อน TikTok ต่อ อยากให้คุณลองนึกภาพตามสักครู่...
🏔️ จินตนาการว่าคุณกำลังยืนอยู่บนหน้าผาสูง มองลงไปเห็นทะเลหมอกสีขาวโพลน (ถ้าเห็นเป็นสีเทาๆ นั่นไม่ใช่หมอกนะ แต่เป็นควันจากเตาปิ้งย่างของวัยรุ่นข้างล่าง) ✍️ ในมือของคุณมีปากกาด้ามเล็กๆ ที่ดูธรรมดาสามัญ (ยกเว้นคุณจะเขียนด้วยปากกา Montblanc)
🌁 แต่เมื่อคุณเริ่มเขียน... เส้นหมึกที่ไหลออกมากลับกลายเป็นสะพานทอดยาวข้ามผืนหมอก เชื่อมต่อคุณกับผู้คนนับล้านที่อยู่อีกฟากฝั่ง (ถ้าเกิดวาดผิดไปเชื่อมกับดาวอังคาร ก็... สวัสดีเอเลี่ยนครับ)
นั่นแหละครับคือพลังของการเขียนด้วย Empathy
🌉 คุณไม่ได้แค่เขียน แต่คุณกำลังสร้างสะพานเชื่อมระหว่างโลกของคุณกับโลกของผู้อ่าน
🤗 คุณไม่ได้แค่สื่อสาร แต่คุณกำลังส่งต่อความเข้าใจและการเยียวยา
🔥 คุณไม่ได้แค่ให้ข้อมูล แต่คุณกำลังจุดประกายการเปลี่ยนแปลงในชีวิตใครบางคน (แต่ถ้าการเปลี่ยนแปลงนั้นคือการที่เขาเลิกอ่านงานคุณตลอดกาล นั่นก็นับว่าเป็นการเปลี่ยนแปลงเหมือนกันนะ)

Photos from ศูนย์มานุษยวิทยาสิรินธร - SAC's post 23/08/2024

น่าหามาอ่าน

Photos from Japan 大好きだ's post 23/08/2024
23/08/2024

🌳สำหรับคนที่รักต้นไม้ ทุกครั้งที่เห็นใบไม้เหลือง ใบไม้ร่วง รอยแผลบนใบไม้ หรือลำต้น ใครหลายคนอาจจะรู้สึกใจแป้ว แต่ความจริงแล้ว นั่นคือเสน่ห์ของธรรมชาติ และเป็นส่วนหนึ่งของปรัชญา วาบิซาบิ 侘寂(Wabi-Sabi) ของคนญี่ปุ่น ที่สอนให้เราเห็นความงามในความไม่สมบูรณ์แบบ ความเปลี่ยนแปลง และความเรียบง่าย

"วาบิ" หมายถึงความเรียบง่าย ความสงบ และความพอเพียง ในขณะที่ "ซาบิ" หมายถึงความเก่าแก่ ความสึกหรอ และความเปลี่ยนแปลงตามกาลเวลา
ถ้าเรานำหลัก “วาบิซาบิ” มาใช้ในการปลูกต้นไม้ เราก็จะเห็นว่า ต้นไม้แต่ละต้นมีเรื่องราว มีเอกลักษณ์เฉพาะตัว บางต้นอาจจะโตช้า บางต้นอาจจะลำต้นไม่ตรง กิ่งไม่สวยงาม แต่ความไม่สมบูรณ์แบบเหล่านี้เอง ที่ทำให้ต้นไม้แต่ละต้นมีค่าและน่ารักในแบบของตัวเอง

สำหรับมือใหม่หัดปลูกต้นไม้ หลายคนท้อแท้ และหมดความเชื่อมั่น เพียงแค่เห็นว่าต้นไม้ของเราไม่สวยเหมือนของคนอื่น ใบเล็ก ไม่ออกดอก หรือโตไม่เร็วอย่างที่คิด โดยลืมไปว่าการเติบโตของต้นไม้ก็เหมือนกับชีวิตของเรา มีทั้งช่วงเวลาที่สวยงามและช่วงเวลาที่ยากลำบาก แต่ทุกช่วงเวลาก็ล้วนมีความหมาย เราก็แค่ดูแลเค้าให้ดีที่สุดตามเหตุปัจจัย เช่น น้ำปุ๋ยเพียงพอ แสงแดดถึง คอยตัดแต่ง ถ้าเค้ายังไม่โตเหมือนชาวบ้าน ก็ไม่ควรทุกข์ร้อน รีบถอนหรือทำลายเค้าเสีย ลองยอมรับอย่างเต็มหัวใจในความไม่สมบูรณ์แบบของเค้า ไม่คาดหวัง รักเค้าแบบที่เค้าเป็น แล้วรอยยิ้มจะผุดขึ้นมาทุกครั้งที่คุณมองเค้า

มาปลูกต้นไม้แบบวาบิซาบิ กันเถอะ 🌳🥰

#วาบิซาบิ #รมณีย์ที่เรา #ปลูกต้นไม้ #ปลูกต้นไม้ปลูกธรรมะ

Brief - ถอดบทเรียน “พาศิลปะด้านใน เข้าสู่ห้องเรียน” 23/08/2024

Brief - ถอดบทเรียน “พาศิลปะด้านใน เข้าสู่ห้องเรียน” วันเสาร์ที่ 27 กรกฎาคม 2567 Hook Learning ร่วมกับ Child Impact จัดกิจกรรม ครั้งที่ 18 “พาศิลปะด้านใน เข้าสู่ห้องเรียน” ร่วมพูด...

23/08/2024

สถานการณ์น้ำท่วมในจังหวัดเชียงรายกำลังอยู่ในขั้นวิกฤต โดยเฉพาะในอำเภอเทิงซึ่งได้รับผลกระทบอย่างหนักจากน้ำป่าไหลหลากและฝนตกหนักต่อเนื่อง ทำให้ระดับน้ำสูงเกือบมิดหลังคาบ้านในบางพื้นที่ นับเป็นน้ำท่วมครั้งใหญ่ที่สุดในรอบ 30 ปี

ในอำเภอเทิง มีการรายงานว่าระดับน้ำท่วมสูงจนเกือบมิดหลังคาบ้านชั้นเดียว และมีการตัดไฟฟ้าเพื่อความปลอดภัย
น้ำท่วมครั้งนี้ส่งผลกระทบต่อประชาชนกว่า 7,500 คน และพื้นที่การเกษตรเสียหายกว่า 12,000 ไร่

นอกจากนี้ ยังมีการรายงานว่าน้ำป่าได้ซัดคอสะพานขาดในหลายจุด ทำให้การสัญจรลำบาก และมีนักเรียนกว่า 60 คนที่ต้องพักค้างคืนในโรงเรียนเนื่องจากไม่สามารถกลับบ้านได้

สถานการณ์ยังคงน่าเป็นห่วงเนื่องจากยังมีฝนตกอย่างต่อเนื่อง และมีการเตือนภัยน้ำท่วมฉับพลันและน้ำป่าไหลหลากในหลายพื้นที่ของจังหวัดเชียงราย

มูลนิธิกระจกเงา
โทร. 06-1909-1840, 06-3931-6340

ที่ว่าการ อ.เทิง
053-795502

ลงทะเบียนเข้าร่วมกิจกรรมรับฟังความคิดเห็นเด็กและเยาวชนในประเด็นการศึกษา (New Gen Club) 30/08/2022

ลงทะเบียนเข้าร่วมกิจกรรมรับฟังความคิดเห็นเด็กและเยาวชนในประเด็นการศึกษา (New Gen Club) ถึงเวลามาส่งเสียงถึงผู้ใหญ่ในกระทรวงเพื่อเปลี่ยนแปลงการศึกษา!! New Gen Club เปิดวงรับฟังความคิดเห็นและข้อเสนอเ.....

Photos from OKMD's post 28/08/2022
27/08/2022

หลายคนอาจไม่กล้าคุยเรื่อง 'ความตาย' กับคนในครอบครัว เพราะมองว่าเป็นเรื่องอัปมงคล ยกขึ้นมาพูดอาจเท่ากับแช่ง ทั้งที่หัวข้อนี้เกี่ยวพันกับเรื่องราวต่างๆ ในชีวิตของเรามากกว่าที่คิด นอกเหนือจากการจากลา
The MATTER เคยไปสนทนากับ อ.ภาวิกา ศรีรัตนบัลล์ ผู้สอนวิชาสังคมวิทยาความตายที่คณะรัฐศาสตร์ จุฬาฯ ว่าการพูดคุยเรื่องความตาย สำคัญอย่างไรกับชีวิตของเรา และถ้าจะชวนคนใกล้ตัวคุย จะเริ่มต้นอย่างไรดี: https://thematter.co/social/talk-about-death-with-talk-with-pavika-sriratanaban-about-death/181611

***คอนเทนต์นี้เป็นส่วนหนึ่งของซีรีส์ 'Death Management คุยเรื่องความตาย ไม่ต้องรอจนถึงวาระท้าย' ที่ The MATTER นำเสนอตลอดทั้งสัปดาห์นี้

#บทสนทนา #วิชาสังคมวิทยาความตาย

27/08/2022

เน้นซื้อไม่เน้นอ่าน เมื่อ “กองดอง” ไม่ใช่ความสูญเปล่า แต่คือความรู้ที่เราฝากไว้ในอนาคต
ซื้อหนังสือมาสะสมไว้แต่ไม่ยอมอ่าน หรือที่มีศัพท์แสลงเรียกกันว่า “กองดอง” ไพเราะหน่อยก็เรียกว่า “กองรออ่าน” ได้กลายเป็นพฤติกรรมระดับนานาชาติ ที่มีมายาวนานจนถึงกับมีศัพท์บัญญัติไว้ตั้งแต่สมัยโบราณ แต่อย่าเพิ่งรู้สึกผิด หรือกระทั่งออกความเห็นว่าพฤติกรรมเช่นนี้เป็นความสูญเปล่า เพราะมีเหตุผลทางจิตวิทยาที่รองรับว่าการเป็นเจ้าของ “กองดอง” ไม่ส่งผลเสียอะไร ทั้งยังดีต่อสุขภาพใจเสียด้วยซ้ำ
ไม่ใช่เรื่องแปลกหากใครจะชอบซื้อหนังสือมาสะสมไว้แต่ไม่ยอมอ่าน แบบที่เทศกาลหนังสือมาถึงทีไรก็ไปขนกลับมา ”ดอง” รวมไว้กับเล่มเมื่อคราวก่อน โดยพฤติกรรมนี้เป็นที่แพร่หลายทั่วไปในหมู่นักอ่านทั่วโลก ยกตัวอย่างก็เช่น อุมแบร์โต เอโค (Umberto Eco) นักเขียนชาวอิตาเลียนผู้เลื่องชื่อ เจ้าของผลงานสุดคลาสสิกอย่าง The Name of the Rose ที่เคยเปิดเผยว่า เขาเป็นนักสะสมหนังสือตัวยง โดยมีในครอบครองมากถึง 30,000 เล่ม และแน่นอนว่าเขาอ่านมันไม่ครบทุกเล่มหรอก!
เป็นเรื่องน่ายินดีที่พฤติกรรมนี้ไม่ใช่เรื่องใหม่ ทั้งมีมายาวนานจนชาวญี่ปุ่นถึงกับบัญญัติคำศัพท์ไว้ตั้งแต่สมัยเมจิ โดยปรากฏคำว่า “ซุนโดคุ” (Tsundoku) ที่ใช้อธิบายถึงผู้ที่เป็นเจ้าของหนังสือที่ยังไม่ได้อ่านจำนวนมาก โดยเกิดจากการรวมกันของสองคำคือ โดคุ (doku) ที่ใช้เป็นคำกริยาแปลว่า อ่าน และ ซุน (tsun) ที่มาจากคำว่า tsumu มีความหมายว่า กองพะเนิน
นอกจากคำว่าซุนโดคุแล้ว ยังมีอีกคำศัพท์คือ “บิบลิโอมาเนีย” (bibliomania) ซึ่งเป็นชื่อของนวนิยายในศตวรรษที่ 19 ของ โธมัส ฟร็อกนัลล์ ดิบดิน (Thomas Frognall Dibdin) ที่พาไปสำรวจความหมกมุ่นบ้าคลั่งของนักสะสมหนังสือ เช่น นักสะสมหนังสือฉบับตีพิมพ์ครั้งแรก นักสะสมหนังสือฉบับที่มีภาพประกอบ อย่างไรก็ดี อีก 200 ปีต่อมา คำว่า บิบลิโอมาเนีย ก็ไม่ถูกตีความว่าเป็นพฤติกรรมบ้าคลั่งอีกต่อไป แต่ถูกเปลี่ยนไปโดยสำนักพิมพ์มหาวิทยาลัยอ๊อกฟอร์ด (Oxford University Press) ที่ให้หมายถึงไว้ว่าเป็นความหลงใหลในการสะสมหนังสือแทน
แม้จะมีความคล้ายคลึง แต่ “ซุนโดคุ” และ “บิบลิโอมาเนีย” ก็ไม่เหมือนกันซะทีเดียว เพราะ บิบลิโอมาเนีย สื่อถึงความตั้งใจในการสะสมหนังสือมาแต่เริ่มแรก ในขณะที่ ซุนโดคุ คือพฤติกรรมที่อยากได้หนังสือเล่มโน้นเล่มนี้มาอ่าน จนกลายเป็นการสะสมโดยไม่ตั้งใจ
#การอ่านหนังสือช่วยพัฒนาตัวตน
ทราบกันดีว่า ผู้นำระดับโลกหลายคนต่างก็เป็นนักอ่าน มีบทสัมภาษณ์ที่ระบุว่า บิล เกตส์ (Bill Gates) อ่านหนังสือเฉลี่ย 50 เล่มต่อปี วินสตัน เชอร์ชิลล์ (Winston Churchill) อ่านหนังสือมาทั้งชีวิต โดยเป็นแฟนทั้งนิยายวิทยาศาสตร์ วรรณกรรมคลาสสิก รวมถึงหนังสือประวัติศาสตร์ อีลอน มัสก์ (Elon Musk) ในวัยเด็กอ่านนิยายวิทยาศาสตร์มากกว่า 10 ชั่วโมงต่อวัน ส่วนวอร์เรน บัฟเฟตต์ (Warren Buffett) ก็ใช้เวลาไปกับการอ่านหนังสือเฉลี่ยวันละ 5-6 ชั่วโมง
แน่นอนว่าคนดังเหล่านี้อ่านหนังสือเยอะ แต่สิ่งที่ยังไม่มีใครเคยบอก คือพวกเขาก็อาจเป็นหนึ่งในสมาชิก “ซุนโดคุ” เช่นเดียวกับพวกเราก็ได้
การอ่านเต็มไปด้วยข้อดี มีงานวิจัยที่ระบุว่าการอ่าน “วรรณกรรม” ช่วยเพิ่มความเห็นอกเห็นใจผู้อื่นแบบที่อริสโตเติลเคยกล่าวว่า เมื่อเราชมโศกนาฏกรรม เราจะถูกครอบงำด้วยสองอารมณ์คือ ความสงสาร (ตัวละคร) และความกลัว (สำหรับตัวเราเอง) เราจะจินตนาการว่าตัวละครรู้สึกเช่นไร และเปรียบเทียบปฏิกิริยาของตัวละครกับวิธีที่เราเคยรับมือกับสถานการณ์ในอดีต หรือจินตนาการว่าสิ่งนั้นอาจจะเกิดขึ้นกับเราในอนาคต
นอกจากนี้ยังมีผลการศึกษาที่แสดงให้เห็นว่า เด็กที่เติบโตขึ้นในบ้านที่มีหนังสือระหว่าง 80 ถึง 350 เล่ม จะมีทักษะด้านการอ่านออกเขียนได้ การคิดเลข และการใช้เทคโนโลยีเพื่อการสื่อสารเช่นเดียวกับผู้ใหญ่ นักวิจัยยังแนะนำว่า เราสามารถเพิ่มขีดความสามารถทางสติปัญญาเหล่านี้ได้ ด้วยการส่งเสริมให้การอ่านเป็นส่วนหนึ่งในกิจวัตรประจำวัน
#อะไรที่ขัดขวางความสามารถในการอ่านเมื่อเราเติบโตขึ้น
ภารกิจของการเป็นผู้ใหญ่อาจไม่อนุญาตให้เรามีเวลาอ่านหนังสือมากนัก วิถีชีวิตอันวุ่นวายช่วงชิงเวลาของเราเพื่อมอบให้กับสิ่งอื่น ทว่าเมื่อความหลงใหลในการอ่านหนังสือยังคงมีอยู่ จึงอาจปรากฏในรูปแบบของการซื้อหนังสือมาสะสม แม้ไม่รู้ว่าจะมีเวลาอ่านหรือไม่ก็ตาม
นาซิม นิโคลัส ทาเลบ (Nassim Nicholas Taleb) นักสถิติและนักเขียนเจ้าของทฤษฎีหงส์ดำ (Black Swan) เชื่อว่าการถูกแวดล้อมด้วยหนังสือที่ยังไม่ถูกอ่านช่วยเพิ่มคุณค่าให้กับชีวิตเรา เพราะมันย้ำเตือนถึงสิ่งที่เรายังไม่รู้
มาเรีย โปโปวา (Maria Popova) นักเขียนชาวบัลแกเรีย แสดงความเห็นว่า มนุษย์มักประเมินค่าสิ่งที่เรารู้สูงเกินไป และประเมินค่าสิ่งที่เราไม่รู้ต่ำเกินไป การสะสมหนังสือที่ไม่ได้อ่านจึงเป็นการบอกว่าเรายังรู้ไม่มากพอ และเป็นแรงผลักดันให้เราอยากที่จะเรียนรู้ต่อไป
คาเรน แอนน์ โฮป แอนดรูว์ส (Karen Anne Hope Andrews) นักจิตวิทยาในดูไบกล่าวว่า หนังสือที่ยังไม่ได้อ่านมักจะน่าตื่นเต้นกว่าหนังสือที่อ่านแล้ว เพราะหนังสือที่ยังไม่ได้อ่านคือโลกที่รอการสำรวจ และการได้ซื้อหนังสือก็สร้างความพึงพอใจให้กับเราไม่ต่างจากการซื้อสิ่งของที่อยากได้อื่น ๆ
ขณะเดียวกัน ประเภทและจำนวนของหนังสือยังสัมพันธ์กับตัวตนในด้านลึกของเรา ทั้งระดับสติปัญญา ความใฝ่ฝัน การควบคุมตนเอง การบริหารเวลา และมุมมองที่เรามีต่อชีวิต ดังนั้นจึงไม่แปลกที่เราจะมีหนังสือที่ยังไม่ได้อ่านเป็นจำนวนมาก เพราะเมื่อเรามองดูกองหนังสือเหล่านั้น เราย่อมเห็นโอกาสและผลประโยชน์ในอนาคตที่เราจะได้รับ
ในอีกแง่หนึ่ง หนังสือถูกนับให้เป็น “ประสบการณ์” มากกว่า “สิ่งของ” เราจึงไม่รู้สึกผิดที่จะเพิ่มจำนวนประสบการณ์ เพราะประสบการณ์เชื่อมโยงกับตัวตน และการซื้อประสบการณ์มาครอบครอง ก็ให้ทำความสุขของเราเสร็จสมบูรณ์นับตั้งแต่ได้จ่ายเงินแล้ว
#จะลดปริมาณกองดองได้อย่างไร
อันที่จริงการสะสมหนังสือไว้แต่ไม่อ่าน ไม่ใช่ความผิดหรือเป็นเรื่องน่าละอายแต่อย่างใด อย่างที่สมาคมจิตแพทย์อเมริกันระบุว่า พฤติกรรมที่ว่านี้ไม่ใช่ความผิดปกติ ตราบใดที่การสะสมหนังสือนั้นไม่ได้ทำร้ายสุขภาพหรือความสัมพันธ์ทางสังคม แต่หากใครอยากทลายกองดองจริง ๆ ไม่ว่าจะด้วยเหตุผลอะไร อาจเริ่มจากการจัดลำดับความสำคัญของหนังสือที่อยากอ่าน จากนั้นกำหนดเวลาขั้นต่ำสำหรับการอ่านในแต่ละวัน และพยายามชะลอการซื้อหนังสือเล่มใหม่ ๆ หรือหากอยากปลดปล่อยตัวเองจากการเป็นซุนโดคุแบบหักดิบ ก็แค่ส่งต่อ “กองดอง” เหล่านั้นให้กับผู้อื่นที่ต้องการต่อไป
อ่านบทความฉบับเต็มได้ที่ https://bit.ly/3Tcf2Tb
เรื่อง : ธัญลักษณ์ ย.
อ่านบทความในมุมมองต่าง ๆ ได้ที่ www.creativethailand.org

Videos (show all)

อีกนิดนะ......ขอบใจเด้อหล่า ที่เคียงข้างมา อดไว้ซะก่อนเก็บเอาไว้ก่อน คำว่าลาก่อน อย่าเว้าออกมาบ่อโดนปานได๋ อีกแค่อึดใจ ส...
วันนี้หนูจะกินอะไรนะพี่แอม วินตี  เขียนเรื่องพี่จุฑามาศ   เขียนภาพเด็กชาย ออย อ่าน
ฟ้ามืดแล้ว เราต้องรีบกลับบ้านแล้วล่ะฟ้ามืดดีนะถ้าฝนไม่ตกไม่แดดเลย มันดีตรงนี้เอง  แสดงว่าอยากเล่นต่อ...ความคิด  ของน้องก...

Website

Address


Rajshahi Division