ภาควิชามานุษยวิทยา คณะโบราณคดี มหาวิทยาลัยศิลปากร

ภาควิชามานุษยวิทยา คณะโบราณคดี มหาวิทยาลัยศิลปากร

ตำแหน่งใกล้เคียง โรงเรียน

VISCRAFT
VISCRAFT
Ph.D Design Arts, Silpakorn University
Ph.D Design Arts, Silpakorn University
Silpakorn University. Address 31 Nahpralarn Road, Bangkok
SUREfurbishment
SUREfurbishment
Bangkok 10200
หอสมุดวังท่าพระ มหาวิทยาลัยศิลปากร
หอสมุดวังท่าพระ มหาวิทยาลัยศิลปากร
หอสมุดวังท่าพระ มหาวิทยาลัยศิลปากร เลขที่ 31 ถนนหน้าพระลาน แขวงพระบรมมหาราชวัง เขตพระนคร, Bangkok
สาขาวิชาประวัติศาสตร์ท้องถิ่น คณะโบราณคดี มหาวิทยาลัยศิลปากร
สาขาวิชาประวัติศาสตร์ท้องถิ่น คณะโบราณคดี มหาวิทยาลัยศิลปากร
คณะโบราณคดี มหาวิทยาลัยศิลปากร, Bangkok
Art History By Sirang LENG
Art History By Sirang LENG
Architectural Heritage, Creative Industries and Tourism Management
Architectural Heritage, Creative Industries and Tourism Management
มหาวิทยาลัยศิลปากร ถ. หน้าพระลาน พระบรมมหาราชวัง เขตพระนคร กรุงเทพฯ, Bangkok
Visual Communication Design Silpakorn
Visual Communication Design Silpakorn
Na Pralarn Road, Bangkok
Revitalizing Bangkok
Revitalizing Bangkok
Silpakorn University, Bangkok
ศูนย์วิจัยบูรณาการด้านมรดกโลก เมืองสร้างสรรค์ ภูมิทัศน์เมืองประวัติศาสตร์
ศูนย์วิจัยบูรณาการด้านมรดกโลก เมืองสร้างสรรค์ ภูมิทัศน์เมืองประวัติศาสตร์
Silpakorn University
Urban Ally
Urban Ally
Silpakorn University, Bangkok
Landscape Silpakorn
Landscape Silpakorn
Silpakorn University, Bangkok
City Intelligence Lab.silpakorn
City Intelligence Lab.silpakorn
ศูนย์บริการโซนี่ สาขาปิ่นเกล้า, Bangkok
EngBoran SU
EngBoran SU
Faculty of Archaeology Silpakorn University 31 Naphra Larn Road Phra Nakorn District, Bangkok
หน้าจั่ว: วารสารวิชาการคณะสถาปัตยกรรมศาสตร์ ม.ศิลปากร
หน้าจั่ว: วารสารวิชาการคณะสถาปัตยกรรมศาสตร์ ม.ศิลปากร
คณะโบราณคดี มหาวิทยาลัยศิลปากร 31 ถนนหน้าพระลาน แขวงพระบรมมหาราชวัง เขตพระนคร, Bangkok

ภาควิชามานุษยวิทยา คณะโบราณคดี
มหาวิทยาลัยศิลปากร

19/08/2024

ประชาสัมพันธ์ ขอเชิญผู้สนใจเข้าร่วม เวทีสัมนา เรื่อง งานวิจัยการดูแลผู้ป่วยระยะยาวและระยะท้าย: จากประสบการณ์ถึงนโยบายสาธารณะ

จัดโดย คณะกรรมาธิการสาธารณสุข สภาผู้แทนราษฎร และภาควิชาสังคมและสุขภาพ คณะสังคมศาสตร์และมนุษยศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล

สนับสนุนโดย คณะกรรมาธิการสาธารณสุข สภาผู้แทนราษฎร

วัน เวลา สถานที่ วันเสาร์ที่ 7 กันยายน 2567 เวลา 9.00 - 16.30 น. ณ ห้อง Connext A ห้าง The Seasons Mall BTS สนามเป้า เข้าร่วมได้ทั้ง online และ onsite

ไม่มีค่าใช้จ่าย

พบกับ

1.การนำเสนอโครงการวิจัยจากนักศึกษา/อาจารย์หลักสูตรสังคมศาสตร์การแพทย์และสาธารณสุข จำนวน 5 เรื่อง ซึ่งเป็นงานภาคสนามที่ว่าด้วยประสบการณ์ชีวิต ผู้สูงอายุดูแลคู่รักป่วยหลอดเลือดสมอง/ ผู้สูงอายุหญิงป่วยเรื้อรังอยู่ลำพัง/ ผู้ป่วยไตวายเรื้อรับกับการล้างไตภาคใต้ /ผู้ปวยระยะท้ายกับการใช้เครื่องพยุงชีพ และการสำรวจข้อมูลระดับประเทศ เรื่องกระบวนการและโครงสร้างการดูแลผู่ป่วยประคับประคองระดับชาติ

2. เสนอ policy brief กับ คณะกรรมาธิการสาธารณสุข สภาผู้แทนราษฎร ในการพัฒนาระบบการดูแลผู้ป่วยระยะยาวและระยะท้าย
ในการนำเสนอครั้งนี้มีศิษย์เก่ามานุษยวิทยาของเรา คือ นางสาวรติมา องอาจอิทธิชัย นักศึกษาปริญาโท ภาควิชาสังคมศาสตร์สุขภาพ นำเสนอด้วยนะครับ

13/08/2024

ขอแสดงความอาลัยแด่ รองศาสตราจารย์สุมิตร ปิติพัฒน์ (2484 -2567) อดีตอาจารย์สาขามานุษยวิทยา คณะสังคมวิทยาและมานุษยวิทยา มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ นักมานุษยวิทยาที่มีบทบาทสำคัญในการศึกษาวิจัยทางสังคมวัฒนธรรม โบราณคดี และกลุ่มชาติพันธุ์ไท
รศ.สุมิตรเคยได้รับเชิญมาบรรยายให้นักศึกศึกษาคณะโบราณคดี และร่วมวิจัยด้านโบราณคดีกับคณาจารย์คณะโบราณคดีอีกด้วย

คณะสังคมวิทยาและมานุษยวิทยา ขอร่วมแสดงความเสียใจและไว้อาลัยต่อการจากไปของรองศาสตราจารย์สุมิตร ปิติพัฒน์ อดีตคณบดีคณะสังคมวิทยาและมานุษยวิทยา มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ (พ.ศ. 2531-2534) และ อดีตผู้อำนวยการ สถาบันไทยคดีศึกษา มธ. (TKRI TU) (พ.ศ. 2536-2542)

รองศาสตราจารย์สุมิตรจบการศึกษาระดับปริญญาโท สาขาสังคมศาสตร์ จาก Michigan State University และสาขามานุษยวิทยา จาก Harvard University สหรัฐอเมริกา เป็นบุคลที่มีบทบาทและคุณูปการอย่างสำคัญต่อคณะฯ นับตั้งแต่การเข้าทำงานเป็นอาจารย์ในแผนกอิสระสังคมวิทยาและมานุษยวิทยา คณะสังคมสงเคราะห์ศาสตร์ จนกระทั่งแผนกฯ ได้รับการสถาปนาขึ้นเป็นคณะสังคมวิทยาและมานุษยวิทยา (พ.ศ.2527) ทั้งยังมีบทบาทสำคัญในการจัดตั้ง พิพิธภัณฑ์ธรรมศาสตร์เฉลิมพระเกียรติ (พ.ศ. 2531) ซึ่งมหาวิทยาลัยได้มอบหมายให้คณะสังคมวิทยาและมานุษยวิทยาเป็นผู้ดำเนินงานดูแล

นับตั้งแต่เริ่มเข้ารับราชการ รองศาสตราจารย์สุมิตรได้ทำการสอนและมีงานสำรวจและงานวิจัยอย่างกว้างขวางในเรื่องเกี่ยวกับสังคมวัฒนธรรมไทย โบราณคดีและกลุ่มชาติพันธุ์ไททั้งในและต่างประเทศ เช่น งานสำรวจและวิจัย เรื่องการเปลี่ยนแปลงทางเศรษฐกิจและสังคมบริเวณเขื่อนอุบลรัตน์ จังหวัดขอนแก่น วิจัยเรื่องเรือนแพ จังหวัดพิษณุโลกและอุทัยธานี (พ.ศ. 2513) สำรวจแหล่งโบราณคดีบ้านอ้อมแก้วและบ้านธาตุ ตำบลบ้านเชียง จังหวัดอุดรธานี (พ.ศ. 2515-2516) ศึกษาแหล่งอารยธรรมโบราณบ้านผือ (พ.ศ. 2517-2519) ศึกษาแหล่งเครื่องถ้วยสังคโลกบริเวณเทือกเขาถนนธงชัย และโครงการโบราณคดีลุ่มแม่น้ำเมย จังหวัดตาก รวมถึง ศึกษาวัฒนธรรมพื้นบ้านของชาติพันธุ์ลาวโซ่ง จังหวัดเพชรบุรี (พ.ศ. 2519-2530) ซึ่งต่อมาได้ขยายความสนใจไปสู่การศึกษาชนชาติไทนอกประเทศไทย ที่กินเวลาติดต่อกันยาวนานอีกเกือบหนึ่งทศวรรษ

ในช่วงปี พ.ศ. 2536-2542 รองศาสตราจารย์สุมิตรได้ร่วมกับกลุ่มคณาจารย์และลูกศิษย์ทำการสำรวจและเก็บข้อมูลภาคสนามอย่างกว้างขวางในประเทศสาธารณรัฐประชาชนจีน ไต้หวัน เวียดนาม ลาว เมียนมาและอินเดีย และตีพิมพ์หนังสือที่เกี่ยวเนื่องกับการศึกษาวิจัยคนไทนอกประเทศไทยอีกเป็นจำนวนมาก โดยบทความ "The Religion and Beliefs of the Black Tai and a note on the study of culture origins" (1980) ถือเป็นบทความบุกเบิกเกี่ยวกับการศึกษากลุ่มชาติพันธุ์ไทดำที่สำคัญที่สุดชิ้นหนึ่ง

รองศาสตราจารย์สุมิตรเป็นอาจารย์ที่มีความสนใจกว้างขวาง ให้การสนับสนุนผู้ร่วมงานและลูกศิษย์ในด้านต่างๆ โดยเฉพาะการศึกษาวิจัย การเดินทางสำรวจภาคสนามนับตั้งแต่ยุคแรก ๆ ของการก่อตั้งคณะสังคมวิทยาและมานุษยวิทยาสืบเนื่องเรื่อยมาจนถึงเวลาของการเกษียณอายุราชการ จึงเป็นผู้ที่มีส่วนสำคัญไม่เพียงแต่เฉพาะพัฒนาการของคณะสังคมวิทยาและมานุษยวิทยา มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์เท่านั้น หากยังมีบทบาทสำคัญในการขยายความรู้เกี่ยวกับสังคมวัฒนธรรมของกลุ่มชาติพันธุ์ไทให้กับสังคมไทยในวงกว้างอีกด้วย

ภาพ: รองศาสตราจารย์สุมิตร ปิติพัฒน์ ระหว่างการสำรวจแหล่งอารยธรรมโบราณบ้านผือ (พ.ศ. 2517-2519)

Photos from ภาควิชามานุษยวิทยา คณะโบราณคดี มหาวิทยาลัยศิลปากร's post 02/08/2024

วันนี้ภาควิชามานุษยวิทยา คณะโบราณคดี มหาวิทยาลัยศิลปากร ได้ต้อนรับและแนะนำหลักสูตรให้กับครูและน้องๆนักเรียนโรงเรียนโพธิสารพิทยากร กรุงเทพฯ อีกทั้งมีของที่ระลึกแจกสำหรับน้องที่ตอบคำถามและร่วมกิจกรรม
โดยมี อ.ศศิธร ศิลป์วุฒยา และ อ.นัฐวุฒิ สิงห์กุล เป็นตัวแทนภาควิชา เน้นสาระนิดนึง แต่บันเทิงมากกว่า หวังว่าจะได้มีโอกาสเจอกันวันสอบสัมภาษณ์ครับ

มานุษยวิทยา วังท่าพระ 01/08/2024

ช่อง Youtube มานุษยวิทยาวังท่าพระ สำหรับเผยแพร่ ข้อมูลกิจกรรม คลิปต่างๆที่เกี่ยวเนื่องกับกิจกรรมและการเรียนการสอนของภาควิชา อย่าลืมกดติดตามด้วยนะครับ

มานุษยวิทยา วังท่าพระ Share your videos with friends, family, and the world

31/07/2024

งานประชุมวิชาการนานาชาติ
International Conference on Anthropological Experiences: Exploring Religion, Ethnicity, S*xuality, and Medical Research 2024 ณ ศูนย์มานุษยวิทยาสิรินธร (องค์การมหาชน) ชมวีดีโอย้อนหลัง
EP.2 Key Note Speaker: Professor Michael Herzfeld
Ernest E. Monrad Professor of the Social Sciences Emeritus, Department of Anthropology, Harvard University.

กลุ่มชาติพันธุ์มานิ : มนุษย์ดั้งเดิมแห่งเทือกเขาบรรทัด 31/07/2024

ผลงานนวัตกรรมการเรียนการสอน ของ อ.ศศิธร ศิลป์วุฒยา อาจารย์ประจำภาควิชามานุษยวิทยา คณะโบราณคดี มหาวิทยาลัยศิลปากร ในโครงการพัฒนานวัตกรรมเพื่อการศึกษา ประจำปีงบประมาณ 2567

กลุ่มชาติพันธุ์มานิ : มนุษย์ดั้งเดิมแห่งเทือกเขาบรรทัด ส่วนหนึ่งของรายวิชา 320 201 มานุษยวิทยากายภาพและวัฒนธรรม (PHYSICAL AND CULTURAL ANTHROPOLOGY) ผลงานนวัตกรรมเพื่อการศึกษา ภาควิชามานุ...

31/07/2024

งานประชุมวิชาการนานาชาติ
International Conference on Anthropological Experiences: Exploring Religion, Ethnicity, S*xuality, and Medical Research 2024 ณ ศูนย์มานุษยวิทยาสิรินธร (องค์การมหาชน) ชมวีดีโอย้อนหลัง Ep.1 ช่วงพิธีเปิดการประชุมนานาชาติ

โยคะกับมะลิ : ฝึกหายใจคลายเครียด EP2 30/07/2024

ข่าวฝากประสัมพันธ์ โยคะกับมะลิ EP2 มาแล้วคร๊าบบบบ

หากคุณเครียด! ลองมาฝึกหายใจคลายเครียดด้วยเทคนิคตามคลิปนี้กัน (Feeling stressful? Then you should try this breathing technique.)

จัดทำโดย โครงการโยคะสร้างสรรค์ โดยศูนย์ภารตะศึกษา สถาบันวิจัยภาษาและวัฒนธรรมเอเชีย

โยคะกับมะลิ : ฝึกหายใจคลายเครียด EP2 หากคุณเครียด! ลองมาฝึกหายใจคลายเครียดด้วยเทคนิคตามคลิปนี้กันค่ะ (Feeling stressful? Then you should try this breathing technique.)จัดทำโดย โครงการ.....

Photos from ภาควิชามานุษยวิทยา คณะโบราณคดี มหาวิทยาลัยศิลปากร's post 29/07/2024

ภาควิชามานุษยวิทยา คณะโบราณคดี มหาวิทยาลัยศิลปากร ขอแสดงความเสียใจต่อการจากไปของท่าน อาจารย์ล้อม เพ็งแก้ว
ศาสตราภิชาน ล้อม เพ็งแก้วเป็นผู้เชี่ยวชาญทางภาษา วรรณคดี ประวัติศาสตร์ และภูมิปัญญาไทยหลายแขนง จนได้รับการขนานนามว่า “ปราชญ์ชาวบ้าน” หรือ “ปราชญ์เมืองเพชร” มีผลงานที่เป็นที่ยอมรับและนับถือมากมาย จากงานเขียนที่สะท้อนความคิดและมุุมมองของอาจารย์ ซึ่งปรากฏตามนิตยสารต่าง ๆ เช่น มติชนสุดสัปดาห์, เมืองโบราณ, สารคดี เป็นต้น และมีผลงานเป็นหนังสือจำนวนมาก รวมถึงทำงานเป็นที่ปรึกษากลุ่มคนรักเมืองเพชร และเป็นนายกสมาคมสื่อมวลชน จังหวัดเพชรบุรี ชีวิตส่วนตัว มีบุตรสาวชื่อ นิพัทธ์พร เพ็งแก้ว เป็นนักเขียนสารคดีดีเด่นแห่งปี พ.ศ. 2551 และนักองค์การพัฒนาเอกชน (NGO)
ท่านอาจารย์ล้อม เพ็งแก้ว เคยได้รับเชิญมาร่วมงานเสวนากับภาควิชามานุษยวิทยาและให้ความรู้แก่นักศึกษาของเรา และในปีพ.ศ. 2549 ท่านอาจารย์ล้อม เพ็งแก้ว ได้รับพระราชทานปริญญาศิลปศาสตร์ดุษฎีบัณฑิตกิตติมศักดิ์ สาขามานุษยวิทยา มหาวิทยาลัยศิลปากร และวันที่26 กรกฎาคม 2550 ได้มีการแสดงปาฐกถาเกียรติยศของท่านอาจารย์ล้อม เพ็งแก้ว ในหัวข้อเรียนรู้อย่างไทย ณ ท้องพระโรง วังท่าพระ (หอศิลป์) มหาวิทยาลัยศิลปากร
ทางภาควิชามานุษยวิทยา ขอแสดงความเสียใจต่อครอบครัวของท่านอาจารย์ และขอให้ดวงวิญญาณของอาจารย์จงเดินทางสู่ดินแดนอันเป็นนิรันดร์

Photos from ภาควิชามานุษยวิทยา คณะโบราณคดี มหาวิทยาลัยศิลปากร's post 27/07/2024

กิจกรรมนักศึกษาของภาควิชามานุษยวิทยาคณะโบราณคดี มหาวิทยาลัยศิลปากร ในโครงการHola Lumines Season 3 ในวันเสาร์ที่ 27 กรกฏาคม 2567
Hola Lumines Hola Lumines เป็นคำที่ย่อมาจาก Luminescence ที่แปลว่า “เรืองแสง” การสร้างพลังงานจาก
ปฏิกิริยาทางเคมีภายในก่อให้เกิดการปลดปล่อยพลังงานออกมาในรูปของ “แสงสว่าง Hola Lumines ที่เป็น
ชื่อของโครงการนี้ จึงเปรียบเสมือนรุ่นน้องหรือนักศึกษาใหม่เป็นผู้ที่มีไฟในตัวเองแล้วส่องแสงออกมาด้วยความ
เป็นตัวเอง
กิจกรรมของนักศึกษาในภาควิชา ที่รับผิดชอบโดยนักศึกษาชั้นปีที่ 2 ที่จัดให้กับน้องๆปี1 เพื่อสร้างความสัมพันธ์ระหว่างรุ่นพี่รุ่นน้อง และพูดคุยกับน้องๆถึงปัญหาและสิ่งที่อยากรู้เกี่ยวกับสาขานี้ โดยมีตัวแทนรุ่นพี่ปี3และปี4 เข้าร่วมด้วย…บรรยากาศอบอุ่นและมีความสนุกสนาน

23/07/2024

ผลงานของ อาจารย์ ดร. วัลยา นามธรรม ศิษย์เก่าของภาควิชามานุษยวิทยา คณะโบราณคดี

อะปาตานี : ชาติพันธุ์เร้นลับในอินเดีย
ชวนอ่านผลงานของผู้เข้าร่วมโครงการวรรณกรรมสนาม ปี 2 โครงการที่เปิดโอกาสให้ผู้สนใจได้เข้าร่วมอบรมเชิงปฏิบัติการเมื่อเดือนเมษายนที่ผ่านมา ได้ผลิตงานเขียนเชิงทดลองที่ผสมผสานแนวคิดและวิธีการทางมานุษยวิทยาและกวีนิพนธ์ที่ผ่านการฝึกฝนมุมมองและทักษะด้านการเขียนเชิงมานุษยวิทยา
อะปาตานี : ชาติพันธุ์เร้นลับในอินเดีย บทกวีของอาจารย์ ดร.วัลยา นามธรรม อาจารย์ประจำคณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มรภ.รำไพพรรณี จบปริญญาตรีสาขามานุษยวิทยา คณะโบราณคดี มหาวิทยาลัยศิลปากร มีโอกาสได้ไปเรียนต่อปริญญาโทและเอกที่อินเดีย หลงใหลในการรู้จักชีวิตของผู้คนต่างวัฒนธรรม
บทกวีที่สะท้อนเรื่องราวของกลุ่มชาติพันธุ์อะปาตานีในประเทศอินเดีย เรื่องราวของวิถีชีวิตกลุ่มชาติพันธุ์เร้นลับในประเทศที่มีกลุ่มประชากรขนาดใหญ่ เรื่องราวของการต่อสู้เพื่อตัวตนในพื้นที่เเละสังคมขนาดใหญ่แห่งนี้ เรื่องราวของฉัน คำถามที่ยังคงคาใจ แท้จริงแล้วที่นี่คือบ้านของฉันหรือไม่ ฉันเป็นครอบครัวเดียวกันกับคุณหรือไม่ ฉันไม่อยากแตกต่างไปจากทุกคน ชีวิตที่แตกต่าง เครื่องประดับอันเป็นเอกลักษณ์ ฉันก็อยากเป็นคนชาติเดียวกับคุณ
ติดตามผลงานบทกวี "อะปาตานี : ชาติพันธุ์เร้นลับในอินเดีย" ใน series วรรณกรรมสนาม ได้ที่
👉 https://www.sac.or.th/portal/th/article/detail/637
วัลยา นามธรรม : เขียน
#วรรณกรรมสนาม #ชาติพันธุ์ #อินเดีย #อะปาตานี #พื้นที่ทางสังคม #การต่อรองพื้นที่ #ศมส #ศูนย์มานุษยวิทยาสิรินธร

23/07/2024

โครงการพัฒนาต่อยอดองค์ความรู้ทางมานุษยวิทยาเพื่อสร้างการเรียนรู้สู่สาธารณะ กิจกรรมที่2 การสร้างองค์ความรู้และนวัตกรรมทางสังคมวัฒนธรรม ... โดยเน้นเผยแพร่ความรู้ เกี่ยวกับหัวใจสำคัญของการทำงานทางมานุษยวิทยา การศึกษาภาคสนาม การศึกษาวัฒนธรรม การเข้าไปเป็นคนใน การสัมภาษณ์และการสังเกตการณ์แบบมีส่วนร่วม
EP.2 กลุ่มมันนิ จาไฮ ที่มีการปรับเปลี่ยนวิธีชีวิตในปัจจุบัน ในพื้นที่สามจังหวัดชายแดนภาคใต้
จัดทำโดยภาควิชามานุษยวิทยา คณะโบราณคดี มหาวิทยาลัยศิลปากร

23/07/2024

โครงการพัฒนาต่อยอดองค์ความรู้ทางมานุษยวิทยาเพื่อสร้างการเรียนรู้สู่สาธารณะ กิจกรรมที่2 การสร้างองค์ความรู้และนวัตกรรมทางสังคมวัฒนธรรม ... โดยเน้นเผยแพร่หัวใจสำคัญของการทำงานทางมานุษยวิทยา การศึกษาภาคสนาม การเข้าไปเป็นคนใน การสัมภาษณ์และการสังเกตการณ์แบบมีส่วนร่วม
EP.1 ชุมชนเกาะพยาม จังหวัดระนอง
จัดทำโดยภาควิชามานุษยวิทยา คณะโบราณคดี มหาวิทยาลัยศิลปากร
ช่วยกันแชร์ด้วยนะครับ ขอบคุณครับ

Photos from ภาควิชามานุษยวิทยา คณะโบราณคดี มหาวิทยาลัยศิลปากร's post 17/07/2024

ขอบพระคุณแขกพิเศษสุดๆ อาจารย์อาวุโสของภาควิชามานุษยวิทยาวังท่าพระ ท่าน อ.พุฒ วีระประเสริฐ อาจารย์ประจำภาควิชามานุษยวิทยา อดีตคณบดีคณะโบราณคดี และอธิการบดี มหาวิทยาลัยศิลปากร ความภาคภูมิใจของภาควิชาของเรา ที่ท่านสละเวลามาให้กำลังใจและชื่นชมพวกเรา อาจารย์บอกว่า ”ผมดีใจกับภาควิชา ที่ได้มาเห็นการเติบโตและการพัฒนาของภาควิชา ได้เชิอมโยงกับที่อื่นๆ เชื่อมโยงกับต่างประเทศบ้าง ผมเป็นอาจารย์เป็นรุ่นบุกเบิก เป็นเหมือนผู้ก่อรากที่ยังเหลืออยู่ ต้องมาให้กำลังใจคนรุ่นหลัง ผมอยากมาเห็นว่าภาคพัฒนาไปอย่างไรบ้าง ความคิดทางมานุษยวิทยาหลังๆเป็นอย่างไร ถือว่ามาอัพเดท มาฟังเวทีแบบนีบ้าง หลังจากหายไปนาน“
ขอบพระคุณท่านอาจารย์พุฒเป็นอย่างยิ่ง…กับความรักความเมตตาที่มีให้กับภาควิชาเล็กๆของเรา พวกเรายังระลึกถึงอาจารย์ และอาจารย์ทุกท่านในภาควิชา ที่ก่อร่างสร้างมานุษยวิทยา วังท่าพระมาจนถึง 50 ปี เสมอครับ
เครดิตภาพ ศูนย์มานุษยวิทยาสิรินธร (องค์การมหาขน)

Photos from ภาควิชามานุษยวิทยา คณะโบราณคดี มหาวิทยาลัยศิลปากร's post 17/07/2024

วันที่ 16 กรกฏาคม 2567 การประชุมนานาชาติของภาควิชามานุษยวิทยา ในวาระ70 ปีของคณะโบราณคดี และ 50 ปี ของภาควิชา ร่วมกับศูนย์มานุษยวิทยาสิรินธร ในหัวข้อ
International Conference on Anthropological Experiences: Exploring the Religion, Ethnicity, S*xuality, and Medical Research

Indelible Memory: 20 Years Takbai Exhibition, Docent-guided by Deep South
Museum and Archive Team
Pattaraphon Phoothong,
Walai Buppha & Phrae Sirisakdamkoeng
เครดิตภาพ ศูนย์มานุษยวิทยาสิรินธร (องค์การมหาชน)

Photos from ภาควิชามานุษยวิทยา คณะโบราณคดี มหาวิทยาลัยศิลปากร's post 17/07/2024

วันที่ 16 กรกฏาคม 2567 การประชุมนานาชาติของภาควิชามานุษยวิทยา ในวาระ70 ปีของคณะโบราณคดี และ 50 ปี ของภาควิชา ร่วมกับศูนย์มานุษยวิทยาสิรินธร ในหัวข้อ
International Conference on Anthropological Experiences: Exploring the Religion, Ethnicity, S*xuality, and Medical Research
Session 4
"Soft" VS "Hard" Science? Why social science is important for medical research
เวลา 14.30 p.m.-16.30 p.m.
Panelists :
1. Associate Professor Dr. Luechai Srigernyuang, Director of Contemplative Education Center at Mahidol University,Thailand
2. Dr. Prachatip Kata, Department of Sociology and Anthropology, Kasetsart University,Thailand
3. Assistant Professor Dr. Macro J. Haenssgen, Faculty of Social Science, Chiang mai University,Thailand
Moderator : Nutcha Charoenboon, Population Health Sciences, Bristol Medical School, University of Bristol, UK.
เครดิตภาพ ศูนย์มานุษยวิทยาสิรินธร (องค์การมหาชน)

Photos from ภาควิชามานุษยวิทยา คณะโบราณคดี มหาวิทยาลัยศิลปากร's post 17/07/2024

วันที่ 16 กรกฏาคม 2567 การประชุมนานาชาติของภาควิชามานุษยวิทยา ในวาระ70 ปีของคณะโบราณคดี และ 50 ปี ของภาควิชา ร่วมกับศูนย์มานุษยวิทยาสิรินธร ในหัวข้อ
International Conference on Anthropological Experiences: Exploring the Religion, Ethnicity, S*xuality, and Medical Research
Session 3
Fieldwork Experiences on Ethnicity in Asia
Panelists :
1. Dr. Li Siying, Institute of Ethnic Literature, Chinese Academy of Social Sciences
Topic: A Comparison of Rain Seeking Rites and Myths between the Zhuang Ethnic Group of China and the Northeast of Thailand.
2. Associate Prof. Dr. Jianhua Ayoe Wang, Head, Department of Anthropology, Yunnan Minzu University, Yunnan, P.R. China.
Topic: History, Place and Ethnicity: the Akha as People of Jadae Polity
3. Dr. Yikham Gogoi, Anthropological Survey of India, Andaman and Nicobar
Regional Centre, Port Blair, India.
Topic: Land of Pristine Tribes: An Anthropological Overview of PVTGs of Andaman & Nicobar Archipelagos
Moderator : Associate Professor Dr. Damrongphon Inchan, Department of Anthropology, Faculty of Archaeology, Silpakorn University,Thailand
เครดิตภาพ ศูนย์มานุษยวิทยาสิรินธร (องค์การมหาชน)

Photos from ภาควิชามานุษยวิทยา คณะโบราณคดี มหาวิทยาลัยศิลปากร's post 17/07/2024

วันที่ 16 กรกฏาคม 2567 การประชุมนานาชาติของภาควิชามานุษยวิทยา ในวาระ70 ปีของคณะโบราณคดี และ 50 ปี ของภาควิชา ร่วมกับศูนย์มานุษยวิทยาสิรินธร ในหัวข้อ
International Conference on Anthropological Experiences: Exploring the Religion, Ethnicity, S*xuality, and Medical Research

Session 2
Transforming S*xual Desire in Thai Social Practice.
Panelists :
1. Dr.Narupon Duangwises, Princess Maha Chakri Sirindhorn Anthropology
Centre (Public Organization), Thailand
Topic: “Nut Yim S*x Dating and Categorizing Agency of Thai Gay Men”
2. Dr. Timo Tapani Ojanen. Faculty of Learning Sciences and Education,
Thammasat University, Thailand.
Topic: S*xual/gender identities of Thai youth in the 2020s: Making sense of increasing complexity
3. Assistant . Professor Dr. Purin Naksing, Faculty of Anthropology and Sociology, Kasetsart University, Thailand.
Topic: Change in Male – Male Relations on Boylove Series
4. Associate Professor. Dr. Thomas Guadamuz, Mahidol University,Thailand
Topic: Transforming trans desires: technology, suffering, and sexual pleasures
Moderator : Dr. Nattawut Singkul, Department of Anthropology, Faculty of Archaeology, Silpakorn University, Thailand

เครดิตภาพ ศูนย์มานุษยวิทยาสิรินธร (องค์การมหาชน)

Photos from ภาควิชามานุษยวิทยา คณะโบราณคดี มหาวิทยาลัยศิลปากร's post 17/07/2024

วันที่ 16 กรกฏาคม 2567 การประชุมนานาชาติของภาควิชามานุษยวิทยา ในวาระ70 ปีของคณะโบราณคดี และ 50 ปี ของภาควิชา ร่วมกับศูนย์มานุษยวิทยาสิรินธร ในหัวข้อ
International Conference on Anthropological Experiences: Exploring the Religion, Ethnicity, S*xuality, and Medical Research
Conference panel
Session 1
Religion at The Interstices: Resistance, Transgression, and Negotiation
Panelists :
1. Professor Katherine A. Bowie, Department of Anthropology, University of Wisconsin Madison, USA.
Topic: Erasure: The Largest Forcible Mass Disrobings of Monks in Modern Thai History.
2. Professor James L. Taylor, Anthropology and Development Studies, University of
Adelaide, Australia
Topic: Buddhism, an itinerant theology, nomad science and the state
3. Dr. Amnuaypond Kidpromma, Department of Philosophy, Chiang Mai
University, Thailand
Topic: Transgressing Boundaries: Motherhood and Transgendered Buddhist Nuns in Northern Thailand.
Moderator : Dr.Neeranooch Malangpoo, Department of Anthropology, Silpakorn
University, Thailand.
เครดิตภาพ จากศูนย์มานุษยวิทยาสิรินธร (องค์การมหาชน)

Photos from ภาควิชามานุษยวิทยา คณะโบราณคดี มหาวิทยาลัยศิลปากร's post 17/07/2024

วันที่ 16 กรกฏาคม 2567 การประชุมนานาชาติของภาควิชามานุษยวิทยา ในวาระ70 ปีของคณะโบราณคดี และ 50 ปี ของภาควิชา ร่วมกับศูนย์มานุษยวิทยาสิรินธร ในหัวข้อ
International Conference on Anthropological Experiences: Exploring the Religion, Ethnicity, S*xuality, and Medical Research
Keynote Lecture:
Associate Professor Jane M. Ferguson
School of Culture, History & Language,
Australian National University
Lecture title: “The Burmese Way to Socialist Realism: Anthropologizing Burmese Re-makes of Hollywood Movies from the Parliamentary Democracy and Socialist Periods.”

เครดิตภาพ ศูนย์มานุษยวิทยาสิรินธร (องค์การมหาชน)

Photos from ภาควิชามานุษยวิทยา คณะโบราณคดี มหาวิทยาลัยศิลปากร's post 17/07/2024

วันที่ 16 กรกฏาคม 2567 การประชุมนานาชาติของภาควิชามานุษยวิทยา ในวาระ70 ปีของคณะโบราณคดี และ 50 ปี ของภาควิชา ร่วมกับศูนย์มานุษยวิทยาสิรินธร ในหัวข้อ
International Conference on Anthropological Experiences: Exploring the Religion, Ethnicity, S*xuality, and Medical Research

Keynote Lecture:
Professor Michael Herzfeld
Ernest E. Monrad Professor of the Social Sciences Emeritus,
Department of Anthropology, Harvard University.
Lecture title: “Experience and Objectivism: The Battle for the Soul of Ethnography.”

เครดิตภาพ ศูนย์มานุษยวิทยาสิรินธร (องค์การมหาชน)

Photos from ภาควิชามานุษยวิทยา คณะโบราณคดี มหาวิทยาลัยศิลปากร's post 17/07/2024

วันที่ 16 กรกฏาคม 2567 การประชุมนานาชาติของภาควิชามานุษยวิทยา ในวาระ70 ปีของคณะโบราณคดี และ 50 ปี ของภาควิชา ร่วมกับศูนย์มานุษยวิทยาสิรินธร ในหัวข้อ
International Conference on Anthropological Experiences: Exploring the Religion, Ethnicity, S*xuality, and Medical Research
ก่อนเริ่มงาน พิธีเปิดตอนเช้า พิธิปิด.....
เครดิตภาพ จากศูนย์มานุษยวิทยาสิรินธร (องค์การมหาชน)

Photos from ภาควิชามานุษยวิทยา คณะโบราณคดี มหาวิทยาลัยศิลปากร's post 17/07/2024

กิจกรรม One Day Trip วันที่17 กรกฏาคม 2567 ที่จังหวัดราชบุรี สำหรับวิทยากร…ส่วนหนึ่งในการประชุมนานาชาติ International Conference on Anthropological Experiences: Exploring the Religion, Ethnicity, S*xuality, and Medical Research ของภาควิชามานุษยวิทยา ในวาระ70 ปีของคณะโบราณคดี และ 50 ปี ของภาควิชามานุษยวิทยา คณะโบราณคดี มหาวิทยาลัยศิลปากร

Photos from ศูนย์มานุษยวิทยาสิรินธร - SAC's post 17/07/2024

“International Conference on Anthropological Experiences: Exporing the Religion, Ethnicity, S*xuality and Medical Research” organized by Department of of Anthropology, Faculty of Archaeology, Silpakorn University and Princess Maha Chakri Sirinthorn Anthropology Centre on July 16, 2024

16/07/2024

นักศึกษาที่สนใจ เป็น ผู้ช่วยนำชม พื้นที่การเรียนรู้ทางวัฒนธรรม
กรอกใบสมัครได้ที่ google form: https://forms.gle/seRtoMiEfcdmkrJt7
คุณสมบัติและเงื่อนไขสำหรับผู้เข้าร่วมอบรม
1. ไม่จำกัดเพศ
2. อายุไม่ต่ำกว่า 18 ปี
3. เป็นนักศึกษาที่กำลังศึกษาในระดับปริญญาตรี และ/หรือปริญญาโท ทางด้านประวัติศาสตร์ โบราณคดี พิพิธภัณฑ์ศึกษา มานุษยวิทยา สังคมวิทยา วัฒนธรรมศึกษา การจัดการทางวัฒนธรรม หรือสาขาที่เกี่ยวข้อง
4. เป็นสมาชิกเครือข่ายการท่องเที่ยวภาคประชาสังคมในพื้นที่กรุงเทพฯ และปริมณฑล
5. สามารถเข้าร่วมการอบรมตลอดหลักสูตร
6. ผู้เข้าร่วมอบรมสามารถมาเป็นผู้ช่วยนำชมพื้นที่เรียนรู้ทางวัฒนธรรมของศูนย์มานุษยวิทยาสิรินธรได้ เมื่อผ่านการอบรม

ศมส. เปิดรับสมัครผู้เข้าร่วม “อบรมผู้ช่วยนำชมพื้นที่การเรียนรู้ทางวัฒนธรรม”
เปิดรับสมัคร วันนี้-21 กรกฎาคม 2567
รับจำนวน 30 คน
วิทยากร
- รศ.ดร.ธนิก เลิศชาญฤทธ์
ภาควิชาโบราณคดี คณะโบราณคดี มหาวิทยาลัยศิลปากร
- ผศ.ดร.ดำรงพล อินทร์จันทร์
คณบดี คณะโบราณคดี มหาวิทยาลัยศิลปากร
- คุณระพีพัฒน์ เกษโกศล
เลขานุการเครือข่ายการท่องเที่ยวภาคประชาสังคม
- คุณอภินันท์ ธรรมเสนา
ผู้จัดการฝ่ายสื่อสารสังคมและขับเคลื่อนนโยบายสาธารณะ ศมส.
ประกาศรายชื่อผู้ผ่านการคัดเลือก วันที่ 23 กรกฎาคม 2567 ทางเว็บไซต์ www.sac.or.th
อบรมเชิงปฏิบัติการ
- วันเสาร์ที่ 27 กรกฎาคม 2567
- วันศุกร์ที่ 2 สิงหาคม 2567
- วันศุกร์ที่ 9 สิงหาคม 2567
ณ ศูนย์มานุษวิทยาสิรินธร (องค์การมหาชน) ตลิ่งชัน กรุงเทพฯ
กรอกใบสมัครได้ที่ google form: https://forms.gle/seRtoMiEfcdmkrJt7
คุณสมบัติและเงื่อนไขสำหรับผู้เข้าร่วมอบรม
1. ไม่จำกัดเพศ
2. อายุไม่ต่ำกว่า 18 ปี
3. เป็นนักศึกษาที่กำลังศึกษาในระดับปริญญาตรี และ/หรือปริญญาโท ทางด้านประวัติศาสตร์ โบราณคดี พิพิธภัณฑ์ศึกษา มานุษยวิทยา สังคมวิทยา วัฒนธรรมศึกษา การจัดการทางวัฒนธรรม หรือสาขาที่เกี่ยวข้อง
4. เป็นสมาชิกเครือข่ายการท่องเที่ยวภาคประชาสังคมในพื้นที่กรุงเทพฯ และปริมณฑล
5. สามารถเข้าร่วมการอบรมตลอดหลักสูตร
6. ผู้เข้าร่วมอบรมสามารถมาเป็นผู้ช่วยนำชมพื้นที่เรียนรู้ทางวัฒนธรรมของศูนย์มานุษยวิทยาสิรินธรได้ เมื่อผ่านการอบรม
สอบถามรายละเอียดเพิ่มเติมที่
ปริยฉัตร เวทยนุกูล E-mail: [email protected]
วรินกานต์ ศรีชมภู E-mail: [email protected]
#อบรมเชิงปฏิบัติการ
#ผู้ช่วยผู้นำชม
#พื้นที่เรียนรู้
#วัฒนธรรม
#ศมส

#ศูนย์มานุษยวิทยาสิรินธร

14/07/2024

ศิษย์เก่าของเรา พิมพ์ชนก จอมมงคล …Anthropology and Education ….

"อยากให้ไม่มีแล้ว คำว่า 'เด็กนอกระบบ' ไม่มีแล้ว ปัญหาความเหลื่อมล้ำ
แต่ว่าทุกคนเป็นผู้เรียนรู้ในรูปแบบการศึกษาที่มันแตกต่างกัน ให้เด็กสามารถเลือกการเรียนรู้ตามความสนใจได้" ⭐️
— ครูตูน พิมพ์ชนก จอมมงคล —
ครูจากศูนย์การเรียน CYF เสนอมุมมองการพาเด็กกลับมาเรียนในงานเปิดตัวโครงการ ‘Mobile School เข้าเรียนไม่ได้ ให้โรงเรียนไปหา การศึกษายืดหยุ่น ตอบโจทย์ชีวิต’ เมื่อวันเสาร์ที่ 6 กรกฎาคม 2567
✏️อ่านสกู๊ปฉบับเต็มได้ที่ : https://www.eef.or.th/article-110724/
#กองทุนเพื่อความเสมอภาคทางการศึกษา #กสศ
#เด็กทุกคนต้องได้เรียน #การศึกษายืดหยุ่น ้าเรียนไม่ได้ให้โรงเรียนไปหา #การศึกษายืดหยุ่นตอบโจทย์ชีวิต

โบราณไม่โบราณ Podcast Ep.1 “มานุษย์ฟุตบอล” คุณวิศรุต สินพงศพร (พี่วิศ) 13/07/2024

ศิษย์เก่าภาควิชามานุษยวิทยา …Anthropology and Sport

โบราณไม่โบราณ Podcast Ep.1 “มานุษย์ฟุตบอล” คุณวิศรุต สินพงศพร (พี่วิศ)

12/07/2024

📣ประชาสัมพันธ์ กิจกรรมที่น่าสนใจในการประชุมวิชาการนานาชาติในหัวข้อ International Conference on Anthropological Experiences:Exploring the Religion, Ethnicity, S*xuality, and Medical Research เนื่องในโอกาสครบรอบ 70 ปีของคณะโบราณคดี และ 50 ปี ของภาควิชามานุษยวิทยาวังท่าพระ คณะโบราณคดี มหาวิทยาลัยศิลปากร ร่วมกับศูนย์มานุษยวิทยาสิรินธร (องค์การมหาชน) ในวันที่ 16 กรกฏาคม 2567 นอกจากการเสวนาทางวิขาการ ยังมีกิจกรรมที่น่าสนใจช่วงท้าย คือ การนำชมนิทรรศการ
Indelible Memory: 20 Years Takbai Exhibition, Docent-guided by Deep South
Museum and Archive Team
Pattaraphon Phoothong,
Walai Buppha & Phrae Sirisakdamkoeng
ในเวลา 16.30 p.m - 17.00 p.m. ณ ศูนย์มานุษยวิทยาสิรินธร ( องค์การมหาชน)
แล้วมาพบกันนะครับ….

10/07/2024

อ.ดร.ณีรนุช แมลงภู่ อาจารย์ประจำภาควิชามานุษยวิทยา คณะโบราณคดี มหาวิทยาลัยศิลปากร กับงานวิจัยในประเด็นทางศาสนาและความเชื่อในสังคมไทย

ปรากฏการณ์ ‘สายมู’ เป็นประเด็นที่ถูกถกเถียงในสังคมไทยตลอดมาบนคู่ตรงข้ามระหว่างศรัทธากับความงมงาย หรือระหว่างพุทธแท้กับพุทธพาณิชย์ ในปัจจุบันที่สังคมเสรีนิยมใหม่ได้สร้างทั้งความหวัง ความเสี่ยง และความเป็นไปได้ ความไม่แน่นอนได้กลายเป็นความปกติในชีวิตประจำวันของผู้คน ขณะที่กระแสการบูชาสิ่งศักดิ์สิทธิ์นั้นนอกจากจะไม่มีเสื่อมลงแล้ว ปรากฏการณ์ทางความเชื่อก็ยังคงเกิดขึ้นใหม่อยู่เรื่อยๆ
คำอธิบายอย่างง่ายๆ ว่า ‘งมงาย’ นั้นไม่เพียงพอที่จะทำความเข้าใจ ‘เสรีนิยมใหม่แบบพุทธๆ ไทยๆ’ อันซับซ้อนและหลากหลาย สำหรับผู้คนที่โลกของพวกเขาไม่ได้มีแค่มนุษย์ และ ‘ความเป็นไปได้’ นั้นไม่ได้ถูกจำกัดอยู่ด้วยกรอบเหตุผลแบบวิทยาศาสตร์ สิ่งศักดิ์สิทธิ์ได้เป็นส่วนหนึ่งของการจัดการอนาคต และอยู่ร่วมกับพวกเขาในโลกที่ความผันผวนและโอกาสเป็นสิ่งขับเคลื่อนทุนนิยมและกำกับชีวิตของผู้คน
“ศาสนาด่วน : สิ่งศักดิ์สิทธิ์กับชีวิตบนกระแสความไม่แน่นอน” อาจารย์ ดร.ณีรนุช แมลงภู่ ภาควิชามานุษยวิทยา คณะโบราณคดี มหาวิทยาลัยศิลปากร
คลิปวิดีโอนี้จัดทำโดย โครงการวิจัย“ทุนส่งเสริมกลุ่มวิจัย (เมธีวิจัยอาวุโส)” ศาสตราจารย์ ดร.ปิ่นแก้ว เหลืองอร่ามศรี เรื่อง ฝ่าภาวะความไม่แน่นอน: การดำรงอยู่ในห้วงเปลี่ยนผ่านของสังคมไทย สนับสนุนโดยสำนักงานการวิจัยแห่งชาติ (วช.) .
(ความเห็นในคลิปวิดีโอนี้เป็นความเห็นของผู้วิจัย สำนักงานการวิจัยแห่งชาติ (วช.) ไม่จำเป็นต้องเห็นด้วยเสมอไป)

ต้องการให้ธุรกิจของคุณ ธุรกิจ ขึ้นเป็นอันดับหนึ่ง โรงเรียน ใน Bangkok Noi?
คลิกที่นี่เพื่อเป็นสมาชิก?

วิดีโอทั้งหมด (แสดงผลทั้งหมด)

งานประชุมวิชาการนานาชาติInternational Conference on Anthropological Experiences: Exploring Religion, Ethnicity, Sexualit...
งานประชุมวิชาการนานาชาติInternational Conference on Anthropological Experiences: Exploring Religion, Ethnicity, Sexualit...
โครงการพัฒนาต่อยอดองค์ความรู้ทางมานุษยวิทยาเพื่อสร้างการเรียนรู้สู่สาธารณะ กิจกรรมที่2 การสร้างองค์ความรู้และนวัตกรรมทาง...
โครงการพัฒนาต่อยอดองค์ความรู้ทางมานุษยวิทยาเพื่อสร้างการเรียนรู้สู่สาธารณะ กิจกรรมที่2 การสร้างองค์ความรู้และนวัตกรรมทาง...
เสวนา ความหลากหลาย
Boran Showcase วันที่12 พฤษภาคม 2566นักศึกษาชั้นปีที่4 เอกมานุษยวิทยานำเสนอผลงานสารนิพนธ์ระดับปริญญาตรี ประกอบด้วย 1.นาง...
งานนำเสนอในรายวิชามานุษยวิทยาว่าด้วยร่างกาย (Anthropology of Body) ให้นักศึกษาทำรายงานในรูปแบบที่ไม่ใช้การเขียนบทความ แต...
งานนำเสนอในรายวิชามานุษยวิทยาว่าด้วยร่างกาย (Anthropology of Body) ให้นักศึกษาทำรายงานในรูปแบบที่ไม่ใช้การเขียนบทความ แต...
งานของนักศึกษามานุษยวิทยาว่าด้วยร่างกาย (Anthropology of Body) ภาคเรียนที่2 ปีการศึกษา2565 นำเสนอเรื่อง Women's Skinscar...
งานเริ่มแล้ว ที่ห้อง 101 คณะโบราณคดี มหาวิทยาลัยศิลปากร ในงาน Boran Showcase 2023 อาจารย์และนักศึกษาเอกมานุษยวิทยาชั้นปี...
ภาคสนามวิขาระเบียบวิธีวิจัยทางมานุษยวิทยา ของผศ.ดร.แพร ศิริศักดิดำเกิง และโครงการเพิ่มพูนทักษะภาคสนามทางมานุษยวิทยา ของภ...
80 ปี มหาวิทยาลัยศิลปากร

เว็บไซต์

ที่อยู่


31 ถนนหน้าพระลาน แขวงพระบรมมหาราชวัง เขตพระนคร
Bangkok Noi
10200

เว็บไซต์เพื่อการศึกษา อื่นๆใน Bangkok Noi (แสดงผลทั้งหมด)
Learn Thai Like a Champ Learn Thai Like a Champ
Bangkok Noi

Learn Thai Like a Champ is making Thai language courses and other cultural videos for you guys to learn more about all the interesting stuffs about Thai language and Thailand.

JC Graduate School Thammasat JC Graduate School Thammasat
2 Phra Chan Alley, Khwaeng Phra Borom Maha Ratchawang, Khet Phra Nakhon
Bangkok Noi, 10200

The Graduate School, Journalism and Mass Communication Faculty, Thammasat University, Thailand

PGVIS PGVIS
Bangkok Noi

Learning by doing : Architecture design & Miniature More Learning by doing : Architecture design & Miniature More
511/515-16 Charansanitwong 37, Bangkhunsri
Bangkok Noi, 10700

KM on architectural studio design, and misc design projects.

ศูนย์วิจัยบูรณาการด้านมรดกโลก เมืองสร้างสรรค์ ภูมิทัศน์เมืองประวัติศาสตร์ ศูนย์วิจัยบูรณาการด้านมรดกโลก เมืองสร้างสรรค์ ภูมิทัศน์เมืองประวัติศาสตร์
Faculty Of Architecture, Silpakorn University
Bangkok Noi, 10200

The Excellence Centre for Integrated Research of World Heritage, Creative City and Historic Urban La