ศูนย์วิจัยบูรณาการด้านมรดกโลก เมืองสร้างสรรค์ ภูมิทัศน์เมืองประวัติศาสตร์

ศูนย์วิจัยบูรณาการด้านมรดกโลก เมืองสร้างสรรค์ ภูมิทัศน์เมืองประวัติศาสตร์

ตำแหน่งใกล้เคียง โรงเรียน

Revitalizing Bangkok
Revitalizing Bangkok
Silpakorn University, Bangkok
Landscape Silpakorn
Landscape Silpakorn
Silpakorn University, Bangkok
City Intelligence Lab.silpakorn
City Intelligence Lab.silpakorn
ศูนย์บริการโซนี่ สาขาปิ่นเกล้า, Bangkok
Urban Ally
Urban Ally
Silpakorn University, Bangkok
Architectural Heritage, Creative Industries and Tourism Management
Architectural Heritage, Creative Industries and Tourism Management
มหาวิทยาลัยศิลปากร ถ. หน้าพระลาน พระบรมมหาราชวัง เขตพระนคร กรุงเทพฯ, Bangkok
EngBoran SU
EngBoran SU
Faculty of Archaeology Silpakorn University 31 Naphra Larn Road Phra Nakorn District, Bangkok
หน้าจั่ว: วารสารวิชาการคณะสถาปัตยกรรมศาสตร์ ม.ศิลปากร
หน้าจั่ว: วารสารวิชาการคณะสถาปัตยกรรมศาสตร์ ม.ศิลปากร
คณะโบราณคดี มหาวิทยาลัยศิลปากร 31 ถนนหน้าพระลาน แขวงพระบรมมหาราชวัง เขตพระนคร, Bangkok
Construction Project Management Silpakorn University
Construction Project Management Silpakorn University
ถนนหน้าพระลาน พระบรมมหาราชวัง พระนคร, Bangkok
CAAD Silpakorn
CAAD Silpakorn
Silpakorn University Wang Tha Pra, Bangkok
Checkmate Arch SU Thesis 2023
Checkmate Arch SU Thesis 2023
Silpakorn University Tha Phra Palace, Bangkok
Experience Design for Integrated Media, KMITL
Experience Design for Integrated Media, KMITL
Kmitl, Bangkok
Visual Communication Design Silpakorn
Visual Communication Design Silpakorn
Na Pralarn Road, Bangkok
หอสมุดวังท่าพระ มหาวิทยาลัยศิลปากร
หอสมุดวังท่าพระ มหาวิทยาลัยศิลปากร
หอสมุดวังท่าพระ มหาวิทยาลัยศิลปากร เลขที่ 31 ถนนหน้าพระลาน แขวงพระบรมมหาราชวัง เขตพระนคร, Bangkok
VISCRAFT
VISCRAFT
Ph.D Design Arts, Silpakorn University
Ph.D Design Arts, Silpakorn University
Silpakorn University. Address 31 Nahpralarn Road, Bangkok

คุณอาจจะชอบ

Q-dees KL Traders Square
Q-dees KL Traders Square
Pulchritudinous dvc6
Pulchritudinous dvc6

The Excellence Centre for Integrated Research of World Heritage, Creative City and Historic Urban La

หน่วยวิจัยแบบบูรณาการด้านมรดกโลก เมืองสร้างสรรค์ และภูมิทัศน์เมืองประวัติศาสตร์แห่งเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ | Integrated Research Centre for World Heritage, Creative City, and Historic Urban Landscape in Southeast Asia)

1. เพื่อเพิ่มเครือข่ายการทำงานวิจัยและการพัฒนาองค์ความรู้ในระดับนานาชาติกับสถาบันการศึกษา และหน่วยงานในระดับนานาชาติ เพื่อผลักดันให้ประเทศไทยเป็นศูนย์กลางการศึกษาและการพัฒนาองค์ควา

24/06/2024

Sugar trade in the Persian Gulf?

Catch Dr. Norifumi Daito from the University of Tokyo as he launches his book, 𝐒𝐮𝐠𝐚𝐫 𝐚𝐧𝐝 𝐭𝐡𝐞 𝐈𝐧𝐝𝐢𝐚𝐧 𝐎𝐜𝐞𝐚𝐧 𝐖𝐨𝐫𝐥𝐝: 𝐓𝐫𝐚𝐝𝐞 𝐚𝐧𝐝 𝐂𝐨𝐧𝐬𝐮𝐦𝐩𝐭𝐢𝐨𝐧 𝐢𝐧 𝐭𝐡𝐞 𝐄𝐢𝐠𝐡𝐭𝐞𝐞𝐧𝐭𝐡-𝐂𝐞𝐧𝐭𝐮𝐫𝐲 𝐏𝐞𝐫𝐬𝐢𝐚𝐧 𝐆𝐮𝐥𝐟 on 26 June 2024!

View details, sign up: bit.ly/acsugar

Photos from WiTcast's post 21/06/2024
16/05/2024

🎪 Heritage, Creative Industries and Tourism Lecture Series | 2024 🎪....................
📚 The Contribution of Cultural Heritage to Sustainable Development: The Vigan Experience 📚
📙 Professor Fatima Nicetas Rabang-Alonzo, Ph.D., Dean, College of Architecture, University of Northern Philippines
📅 Date | Time : May 20, 2024, 1.30-3.30 p.m. Bangkok Time
📍 Venue : the Faculty of Architecture, Silpakorn University, Wang Tapra Campus, Bangkok, Thailand
and
🎙Zoom Meeting Platform, Please register in advance : https://zoom.us/j/93107583156?pwd=T1dNRExKbXNQdWd5N2xza0dPOXBwdz09
Meeting ID: 931 0758 3156
Passcode: 1234
🎯 Organized by M.A. and Ph.D. in Architectural heritage, Creative Industries and Tourism Management Program and IWCH, Faculty of Architecture, Silpakorn University.

10/05/2024

"🌟 Join our team in Kyoto! 🌟 We're seeking a Heritage Documentation Manager to lead our passionate team, ensuring top-notch records are delivered on time. Responsibilities include overseeing data review from Field Survey Teams across Indonesia, the Maldives, and Thailand. More details:
https://maritimeasiaheritage.cseas.kyoto-u.ac.jp/opportunities/kyoto-opportunities/

Photos from Re-Use Italy's post 01/03/2024
Photos from Urban Redevelopment Authority's post 06/02/2024
15/01/2024

การบรรยายภาษาไทยในการบรรยายชุด “Perspectives on China’s Cultural Heritage” ที่สยามสมาคมฯ เดือนกุมภาพันธ์นี้
ชาวจีนโพ้นทะเลกับราชอาณาจักรสยาม
บรรยายโดย ปเรตร์ อรรถวิภัชน์
ข้อมูลเพิ่มเติม: https://bit.ly/4aWlcja

📅 วันเสาร์ที่ 3 กุมภาพันธ์ 2567 เวลา 14.00 น. (ไม่มีค่าใช้จ่าย)
ที่ห้องบรรยาย ชั้น 4 สยามสมาคมฯ

👉 สำรองที่นั่ง: คุณพิณทิพย์เบอร์ 02 661 6470-3 ต่อ 203 หรืออีเมล [email protected]

#ชาวจีนโพ้นทะเล #สยาม #บ้านโปษ์กี่ #บ้านโปษยานนท์

Photos from International Council on Monuments and Sites (ICOMOS)'s post 30/11/2023
28/11/2023

รู้ไหมว่าในปัจจุบัน สหพันธรัฐมาเลเซียมีแหล่งมรดกโลกทางวัฒนธรรมกี่แห่ง 🤓❓
เฉลย: ในปัจจุบันนี้ สหพันธรัฐมาเลเซียมีแหล่งมรดกโลกที่ได้รับการพิจารณาให้ยกย่องเป็นแหล่งมรดกโลกทางวัฒนธรรมจำนวน ✨ 2 แหล่ง ✨ ได้แก่
👉🏻 มรดกโลกทางวัฒนธรรมเมืองประวัติศาสตร์แห่งช่องแคบมะละกา: เมืองมะละกาและเมืองจอร์จทาวน์
👉🏻 มรดกโลกแหล่งโบราณคดีหุบเขาเล็งกง
🏡 มรดกโลกเมืองประวัติศาสตร์แห่งช่องแคบมะละกา: เมืองมะละกาและเมืองจอร์จทาวน์ได้รับการยกย่องให้เป็นแหล่งมรดกโลกทางวัฒนธรรมในการประชุมสามัญคณะกรรมการมรดกโลก ครั้งที่ 32 ณ เมืองควิเบก ประเทศแคนาดา เมื่อวันที่ 2-10 กรกฎาคม ค.ศ. 2008 โดยมีคุณค่าโดดเด่นอันเป็นสากลสอดคล้องกับเกณฑ์การพิจารณายกย่องแหล่งมรดกโลกจำนวน 3 ข้อ ดังนี้…
– เป็นตัวอย่างที่แสดงออกถึงการเป็นเมืองท่าการค้าที่ก่อรูปขึ้นภายใต้บริบทพหุวัฒนธรรมในภูมิภาคเอเชียตะวันออกและตะวันออกเฉียงใต้ เติบโตขึ้นจากการเป็นชุมชนการค้า และรุ่งเรืองด้วยการค้าขายในฐานะเมืองท่า และทำให้เกิดการแลกเปลี่ยนทางวัฒนธรรมของชาวมลายู ชาวจีน และชาวอินเดีย รวมถึงอิทธิพลจากการปกครองโดยเจ้าอาณานิคมตะวันตกทั้ง 3 กลุ่มมาเกือบ 500 ปี ปรากฏให้เห็นประจักษ์ผ่านสถาปัตยกรรม การวางผังเมือง เทคโนโลยี และอนุสรณ์สถานศิลป์ ซึ่งเมืองทั้งสองได้แสดงถึงช่วงเวลาแห่งการพัฒนาที่เปลี่ยนแปลงภายใต้การปกครองอันยาวนานของยุคอาณานิคมได้อย่างสมบูรณ์
– เป็นเมืองที่ยังสามารถธำรงรักษามรดกทางวัฒนธรรมที่ก่อรูปขึ้นภายใต้สังคมพหุวัฒนธรรมและขนบธรรมเนียมของเอเชียที่มีพลวัต และสอดประสานเข้ากับอิทธิพลอาณานิคมตะวันตก ทั้งที่เป็นมรดกพหุวัฒนธรรมแบบรูปธรรมและแบบนามธรรมที่แสดงออกผ่านความหลากหลายของศาสนสถานตามความเชื่อ ย่านชุมชนที่ตั้งถิ่นฐานของกลุ่มชาติพันธุ์ต่างๆ การใช้ภาษา พิธีกรรมสักการะ เทศกาลทางศาสนา การละเล่น เครื่องแต่งกาย ศิลปะ ดนตรี อาหาร และวิถีชีวิตประจำวัน
– เมืองมะละกาและเมืองจอร์จทาวน์มีบริบททางวัฒนธรรมที่แสดงภาพสะท้อนของการผสมผสานอิทธิพลของวัฒนธรรมที่หลากหลาย และก่อรูปขึ้นเป็นเอกลักษณ์ทางสถาปัตยกรรม วัฒนธรรม และเมืองที่ไม่เหมือนกับเมืองอื่นใดในเอเชียตะวันออกและเอเชียใต้ โดยเฉพาะอย่างยิ่งพัฒนาการของอาคารบ้านร้านค้าซึ่งแสดงพลวัตทางวัฒนธรรมผ่านรูปแบบของอาคาร
ติดตามเรื่องราวเกี่ยวกับเมืองจอร์จทาวน์เรื่องอื่นๆ ต่อได้ที่…
“จอร์จทาวน์ เกาะปีนัง: จากเมืองท่าประวัติศาสตร์สู่เมืองมรดกโลก”
📖✨ ทดลองอ่าน: https://bit.ly/3SH2lSp
สำนักพิมพ์มติชนขอเชิญนักอ่านทุกท่านเตรียมตัวออกเดินทางไปยังจอร์จทาวน์ เกาะปีนัง เมืองที่เป็นศูนย์รวมทุกอย่าง เป็นเมืองมรดกโลก และเมืองท่องเที่ยวของประเทศมาเลเซียที่มีประวัติศาสตร์เกี่ยวข้องกับการค้ามาอย่างยาวนาน อีกทั้งยังมีสถาปัตยกรรมอาคารที่น่าสนใจมากมาย
เมืองจอร์จทาวน์ เกาะปีนัง เมืองท่องเที่ยวสำคัญในปัจจุบันของประเทศมาลาเซีย มีประวัติศาสตร์อันยาวนานเกี่ยวข้องเชื่อมโยงกับการค้าในคาบสมุทรมาเลย์และการค้าโลก พัฒนาจากหมู่บ้านเล็กๆ ของชาวประมง กลายเป็นเมืองท่าการค้า สร้างความเจริญทางเศรษฐกิจ นำพาผู้คนจากทั่วทุกมุมโลกมาตั้งถิ่นฐาน โดยเฉพาะชาวตะวันตก ชาวอินเดีย และชาวจีน ผสมผสานหลากชาติพันธุ์ ตกทอดเป็นวิถีชีวิต วัฒนธรรม และสถาปัตยกรรมที่ไม่เหมือนใคร
นอกจากนี้ สิ่งที่โดดเด่นและห้ามพลาดเมื่อได้ไปเยือนจอร์จทาวน์คือ สถาปัตยกรรมอาคารต่างๆ ที่มีรูปแบบวิวัฒนาการสอดคล้องไปกับบริบทที่เปลี่ยนแปลงไปแต่ละช่วงเวลา ทั้งบังกะโลและบ้านร้านค้าต่างก็ปรับรูปแบบการก่อสร้างไปตามความนิยม แนวทางศิลปะ และเทคโนโลยีก่อสร้างเช่นกัน เหล่านี้เอง จึงทำให้เมืองจอร์จทาวน์มีสถาปัตยกรรมหลากหลายรูปแบบและตกทอดเป็นมรดกสินค้าวัฒนธรรมเพื่อการท่องเที่ยวของประเทศมาเลเซีย
ว่ากันว่า หากใครได้มาเยือนเมืองมรดกโลกแห่งนี้ ต้องไม่พลาดที่ถ่ายรูป เช็กอิน สถาปัตยกรรมที่คลาสสิกตลอดกาลที่มีทุกหนทุกแห่งอย่างแน่นอน หนังสือเล่มนี้จะรวมสถาปัตยกรรมที่ทุกคนหลงใหล ประวัติศาสตร์ศิลปะที่เต็มไปด้วยมนต์ขลังในนครแห่งนี้ พร้อมด้วยข้อมูลที่อัดแน่นเสมือนทุกคนไปร่วมเดินทางด้วยตนเอง
✍🏻 “จอร์จทาวน์ เกาะปีนัง: จากเมืองท่าประวัติศาสตร์สู่เมืองมรดกโลก” โดย เกรียงไกร เกิดศิริ, ปัทม์ วงศ์ประดิษฐ์, อิสรชัย บูรณะอรรจน์ และกิตติคุณ จันทร์แย้ม
✨ หนังสือปกอ่อน เนื้อในพิมพ์สี่สีทั้งเล่ม ด้วยกระดาษสวยงามมีคุณภาพ เต็มอิ่มไปกับภาพสถาปัตยกรรมภายในเมืองจำนวน 288 หน้า ในราคาเพียง 315 บาท
✨ สั่งซื้อได้ที่…
👉🏻 Inbox เฟซบุ๊กสำนักพิมพ์มติชน: https://bit.ly/47w1UhX
👉🏻 Website สำนักพิมพ์มติชน: https://bit.ly/3sV7tb9
#จอร์จทาวน์ #จอร์จทาวน์_เกาะปีนัง #สำนักพิมพ์มติชน
_____________________
ติดตามทุกช่องทางของสำนักพิมพ์มติชนที่
☑ Line :
☑ Youtube :
☑ Tiktok :
☑ Twitter :
☑ Instagram : matichonbook

Photos from Matichon Book - สำนักพิมพ์มติชน's post 20/11/2023
20/11/2023

Crisp autumn days at Hadrian's Wall 🍂

Did you know that this stretch of the wall at Chesters Bridge Abutment was part of a large road bridge built in about AD 160? It was built to carry the Military Way (the road accompanying Hadrian’s Wall) over the river North Tyne 🌉

Photos from World Monuments Fund's post 20/11/2023
Photos from World Heritage Watch's post 20/11/2023
18/11/2023

✨ สำนักพิมพ์มติชนชวนเปิดประตูดูเบื้องหลังของสถาปัตยกรรม “บ้านร้านค้า” ที่มาจากสัมภาระทางวัฒนธรรมของชาวจีน ✨
สถาปัตยกรรมแบบหนึ่งที่พบได้มากในเกาะปีนังคือ สถาปัตยกรรมที่ทำหน้าที่เป็นทั้งบ้านและร้านค้า หรือที่เรียกกันว่า “บ้านร้านค้า” (Shophouse)
ในสารานุกรมสถาปัตยกรรมพื้นถิ่นโลก (Encyclopedia of Vernacular Architecture of the World) คำว่า “บ้านร้านค้า” (Shophouse) ถูกจัดให้อยู่ในหัวข้อ “การใช้สอยและหน้าที่” เนื่องจากตึกแถวเหล่านี้ก่อตัวขึ้นจากความต้องการด้านประโยชน์ใช้สอยเป็นสำคัญ ดังจะเห็นได้ว่าสถาปัตยกรรมบ้านร้านค้ามีหน้าที่รองรับทั้งการพักอาศัยและการพาณิชย์รวมอยู่ในอาคารหลังเดียวกัน โดยเจ้าของบ้านจะทำการค้าหรือธุรกิจในพื้นที่ชั้นล่างของตัวอาคารด้านหน้า ส่วนครอบครัวจะอาศัยอยู่ในตัวอาคารด้านหลังรวมไปถึงบริเวณพื้นที่ชั้นสอง
🏡🌳 เรื่องราวเบื้องลึกเบื้องหลังที่น่าสนใจของบ้านร้านค้ายังมีอีกมากมาย หลากหลายแง่มุม สามารถติดตามอ่านต่อได้ในโพสต์นี้เลย!
✨ ที่มาของคำว่า “บ้านร้านค้า” 🏡
คำว่า “บ้านร้านค้า” (Shophouse) ปรากฏใช้อย่างเป็นทางการครั้งแรกในคริสต์ศตวรรษที่ 19 ในเอกสารเกี่ยวกับกฎการอนุรักษ์เพื่อใช้อธิบายถึงเมืองในเซอลาโงร์ Jon S.H. Lim ได้ทำการศึกษาเกี่ยวกับคำคำนี้และเสนอว่าคำดังกล่าวได้รับการใช้ในบริบทของพื้นที่เอเชียตะวันออกเฉียงใต้โดยเฉพาะในพื้นที่คาบสมุทรมาเลย์ ดังจะเห็นได้ว่าในเอกสารต่างๆ ของบริษัทบริติชอินเดียตะวันออกที่อินเดียในตอนนั้นยังไม่ปรากฏการใช้คำว่าบ้านร้านค้าเลย ส่วนในเกาะสิงคโปร์ แม้ว่าก่อนหน้านี้จะมีการกล่าวถึงอาคารที่มีลักษณะแบบบ้านร้านค้าแล้ว แต่ก็ใช้คำอธิบายขยายความว่าเป็นเรือนแถวที่อยู่อาศัยที่มีส่วนผสมระหว่างความเป็นมาเลย์และจีน ไม่ได้เรียกว่าบ้านร้านค้า
อย่างไรก็ตาม หากย้อนกลับไปในช่วงเวลาก่อนหน้านั้น ในช่วงปลายคริสต์ศตวรรษที่ 18 กัปตันไลท์ก็เคยกล่าวถึงคำว่า “ร้านค้าและบ้าน” (Shop and House) ไว้แล้ว โดยใช้เพื่อสื่อถึงบ้านที่เกาะปีนังของชาวจีนชื่อชีเอียน ซึ่งเป็นบ้านที่ประกอบไปด้วยพื้นที่ 2 ส่วน คือส่วนที่ใช้เป็นที่อยู่อาศัยและส่วนที่ใช้เป็นร้านค้า
✨ เพราะอะไร ทำไมจึงเกิดการก่อรูปเป็น “บ้านร้านค้า” 🏡
การก่อร่างสร้างบ้านร้านค้าซึ่งเป็นอาคารที่ทำหน้าที่เป็นที่อยู่อาศัยและร้านค้าในหลังเดียวกันถือเป็นผลผลิตทางวัฒนธรรมของชาวจีนโพ้นทะเล สถาปัตยกรรมนี้เกิดขึ้นจากความยึดมั่นในแบบแผนการใช้ชีวิตตลอดจนจารีตทางวัฒนธรรมของตน เมื่อชาวจีนโพ้นทะเลไปตั้งถิ่นฐานใหม่ในดินแดนอื่นจึงยังก่อสร้างบ้านเรือนที่แสดงออกถึงสัมภาระทางวัฒนธรรมที่ตนได้ยึดถือติดตัวมาด้วย
ในสารานุกรมสถาปัตยกรรมพื้นถิ่นโลกได้อธิบายไว้ว่าบ้านร้านค้ากำเนิดขึ้นภายใต้อิทธิพลจีนในพื้นที่คาบสมุทรมาเลย์และมีพัฒนาการอย่างต่อเนื่องจนเป็นเอกลักษณ์ โดยเฉพาะในเมืองท่าต่างๆ ที่รุ่งเรืองจากการเป็นสถานีการค้าหรือเป็นแหล่งรวบรวมและแหล่งแลกเปลี่ยนสินค้าทั้งสินค้าอุปโภคและบริโภคที่จำเป็นสำหรับการเดินทาง นอกจากนี้การเข้ามามีอิทธิพลของดัตช์ อังกฤษ และฝรั่งเศสเหนือเมืองในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ที่รุ่งเรืองมากขึ้นก็ส่งอิทธิพลต่อการสร้างสถาปัตยกรรมบ้านร้านค้าเช่นกัน
✨ ก่อร่างเป็น “บ้านร้านค้า” 🏡
การก่อรูปทางสถาปัตยกรรมของบ้านร้านค้าในบริบทเมืองนั้นอยู่ภายใต้ข้อจำกัดด้านพื้นที่ เนื่องจากทำเลที่ดินติดถนนที่มีศักยภาพในการประกอบธุรกิจและการค้าขายมีราคาสูง อีกทั้งในอดีตมีการจัดเก็บภาษีตามหน้ากว้างและจำนวนหน้าต่างด้านหน้าอาคาร เพราะฉะนั้น สถาปัตยกรรมแบบบ้านร้านค้าจึงได้รับการจัดสรรในหลากหลายด้านให้มีความเหมาะสม เช่น จัดให้มีหน้าแคบแต่ยาวลึกลงไป จัดสรรให้มีถนนหลังบ้านเพื่อรองรับการใช้สอยที่เกี่ยวเนื่องกับสาธารณูปการและการสุขาภิบาล นอกจากนี้ในการวางผังยังมีการกำหนดให้มีพื้นที่เปิดโล่งไม่มีหลังคาอยู่ในผังพื้นของอาคารเป็นระยะเพื่อให้สามารถระบายอากาศและความชื้นได้อีกด้วย
การสร้างสรรค์สถาปัตยกรรมอันเป็นเอกลักษณ์เช่นนี้เกิดจากการบูรณาการของภูมิปัญญาและชุดความรู้เกี่ยวกับสิ่งแวดล้อมและสถาปัตยกรรมพื้นถิ่นมลายูที่มีอยู่แต่เดิม และรูปแบบทางสถาปัตยกรรมแบบแองโกลอินเดียนที่นำเข้ามาพร้อมกับความหมายทางสังคมของชนชั้นนำทางเศรษฐกิจหรือผู้ปกครอง
จะเห็นได้ว่าตึกแถวถูกใช้เป็นส่วนหนึ่งของการพัฒนาเมืองสู่ความทันสมัย และเป็นการก่อรูปขึ้นของสถาปัตยกรรมพื้นถิ่นที่น่าสนใจ โดยก้าวข้ามจากหน้าที่ในการอยู่อาศัยเพียงอย่างเดียวเหมือนบ้านเรือนทั่วไปมาสู่หน้าที่การใช้สอยที่หลากหลายมากยิ่งขึ้น นอกจากนี้ บ้านร้านค้ายังเป็นเอกลักษณ์สำคัญที่มีพัฒนาการขึ้นจนมีความชัดเจน และเป็นตัวแทนของสถาปัตยกรรมพื้นถิ่นของคาบสมุทรมาลายูด้วย
____________________________________
💥 หนังสือ “จอร์จทาวน์ เกาะปีนัง: จากเมืองท่าประวัติศาสตร์สู่เมืองมรดกโลก” พร้อมให้นักอ่านทุกท่านพรีออเดอร์แล้วในวันนี้! 💥
ทดลองอ่าน: https://bit.ly/3SH2lSp
สำนักพิมพ์มติชนขอเชิญนักอ่านทุกท่านเตรียมตัวออกเดินทางไปยังจอร์จทาวน์ เกาะปีนัง เมืองที่เป็นศูนย์รวมทุกอย่าง เป็นเมืองมรดกโลก และเมืองท่องเที่ยวของประเทศมาเลเซียที่มีประวัติศาสตร์เกี่ยวข้องกับการค้ามาอย่างยาวนาน อีกทั้งยังมีสถาปัตยกรรมอาคารที่น่าสนใจมากมาย
เมืองจอร์จทาวน์ เกาะปีนัง เมืองท่องเที่ยวสำคัญในปัจจุบันของประเทศมาลาเซีย มีประวัติศาสตร์อันยาวนานเกี่ยวข้องเชื่อมโยงกับการค้าในคาบสมุทรมาเลย์และการค้าโลก พัฒนาจากหมู่บ้านเล็กๆ ของชาวประมง กลายเป็นเมืองท่าการค้า สร้างความเจริญทางเศรษฐกิจ นำพาผู้คนจากทั่วทุกมุมโลกมาตั้งถิ่นฐาน โดยเฉพาะชาวตะวันตก ชาวอินเดีย และชาวจีน ผสมผสานหลากชาติพันธุ์ ตกทอดเป็นวิถีชีวิต วัฒนธรรม และสถาปัตยกรรมที่ไม่เหมือนใคร
นอกจากนี้ สิ่งที่โดดเด่นและห้ามพลาดเมื่อได้ไปเยือนจอร์จทาวน์คือ สถาปัตยกรรมอาคารต่างๆ ที่มีรูปแบบวิวัฒนาการสอดคล้องไปกับบริบทที่เปลี่ยนแปลงไปแต่ละช่วงเวลา ทั้งบังกะโลและบ้านร้านค้าต่างก็ปรับรูปแบบการก่อสร้างไปตามความนิยม แนวทางศิลปะ และเทคโนโลยีก่อสร้างเช่นกัน เหล่านี้เอง จึงทำให้เมืองจอร์จทาวน์มีสถาปัตยกรรมหลากหลายรูปแบบและตกทอดเป็นมรดกสินค้าวัฒนธรรมเพื่อการท่องเที่ยวของประเทศมาเลเซีย
ว่ากันว่า หากใครได้มาเยือนเมืองมรดกโลกแห่งนี้ ต้องไม่พลาดที่ถ่ายรูป เช็กอิน สถาปัตยกรรมที่คลาสสิกตลอดกาลที่มีทุกหนทุกแห่งอย่างแน่นอน หนังสือเล่มนี้จะรวมสถาปัตยกรรมที่ทุกคนหลงใหล ประวัติศาสตร์ศิลปะที่เต็มไปด้วยมนต์ขลังในนครแห่งนี้ พร้อมด้วยข้อมูลที่อัดแน่นเสมือนทุกคนไปร่วมเดินทางด้วยตนเอง
✍🏻 “จอร์จทาวน์ เกาะปีนัง: จากเมืองท่าประวัติศาสตร์สู่เมืองมรดกโลก” โดย เกรียงไกร เกิดศิริ, ปัทม์ วงศ์ประดิษฐ์, อิสรชัย บูรณะอรรจน์ และกิตติคุณ จันทร์แย้ม
✨ หนังสือปกอ่อน เนื้อในพิมพ์สี่สีทั้งเล่ม ด้วยกระดาษสวยงามมีคุณภาพ เต็มอิ่มไปกับภาพสถาปัตยกรรมภายในเมืองจำนวน 288 หน้า
✨ เปิดให้พรีออเดอร์แล้วในวันนี้ ในราคาเพียง 296 บาท (รวมส่ง) เท่านั้น
✨ พิเศษสุดๆ พรีออเดอร์ตอนนี้รับทันทีหนังสือพร้อมลายเซ็นผู้เขียน!
นักอ่านที่สนใจสามารถสั่งซื้อได้ตั้งแต่วันที่ 14 - 20 พ.ย. 2566 นี้ผ่านหลากหลายช่องทาง…
👉🏻 Inbox เฟซบุ๊กสำนักพิมพ์มติชน: https://bit.ly/47w1UhX
👉🏻 Website สำนักพิมพ์มติชน: https://bit.ly/47vJxK5
👉🏻 Line Shop สำนักพิมพ์มติชน: https://bit.ly/3SypiY2
หมายเหตุ: สำนักพิมพ์จะเริ่มจัดส่งหนังสือในวันที่ 24 พ.ย. 2566
#จอร์จทาวน์ #จอร์จทาวน์_เกาะปีนัง #สำนักพิมพ์มติชน
_____________________
ติดตามทุกช่องทางของสำนักพิมพ์มติชนที่
☑ Line :
☑ Youtube :
☑ Tiktok :
☑ Twitter :
☑ Instagram : matichonbook

18/11/2023

✨✨✨กิจกรรมประจำสัปดาห์✨✨✨
"ราตรีนี้...ที่วัดไชยฯ Ayutthaya Sundown 2023"
วันที่ 17-21 พฤศจิกายน 2566
เวลา 18.00 น. เป็นต้นไป..
แล้วพบกันที่วัดไชยวัฒนาราม😆😆😆..
#ราตรีนี้ที่วัดไชยฯ

#แต่งไทยชมวัดไชยฯยามราตรี
#ราตรีนี้ที่วัดไชยฯPODCAST
#อุทยานประวัติศาสตร์พระนครศรีอยุธยา
#อยุธยา
#เที่ยวอยุธยา

#วัดไชยวัฒนาราม

Photos from Matichon Book - สำนักพิมพ์มติชน's post 18/11/2023

5 เรื่องราวที่ทำให้สำนักพิมพ์มติชนอยากชวนคุณมาอ่าน “จอร์จทาวน์ เกาะปีนัง: จากเมืองท่าประวัติศาสตร์สู่เมืองมรดกโลก”
1.ตื่นตาตื่นใจไปกับหลากแง่มุมของเมืองจอร์จทาวน์ เกาะปีนัง ทั้งเรื่องประวัติศาสตร์ ชาติพันธุ์ สถาปัตยกรรมอันโดดเด่นระดับโลก
เมืองจอร์จทาวน์ตั้งอยู่ที่บริเวณปลายแหลมด้านตะวันออกเฉียงเหนือของเกาะปีนัง ถือเป็นเมืองท่าที่สำคัญอีกแห่งหนึ่งบนเส้นทางการค้าผ่านช่องแคบมะละกา อีกทั้งยังเป็นเมืองมรดกโลกทางวัฒนธรรมและเมืองสำคัญในหน้าประวัติศาสตร์เอเชียตะวันออกเฉียงใต้ที่มีพัฒนาการอย่างสำคัญในช่วงเวลาของการเข้าสู่ความสมัยใหม่และในบริบทของอาณานิคม
ภายในหนังสือ “จอร์จทาวน์ เกาะปีนัง: จากเมืองท่าประวัติศาสตร์สู่เมืองมรดกโลก” ผู้อ่านจะได้ท่องไปในหลากหลายเรื่องราวของจอร์จทาวน์ ได้แก่…
✨ ภูมิประวัติศาสตร์และประวัติศาสตร์เมืองจอร์จทาวน์ เกาะปีนัง
✨ ผู้คนที่หลากหลายของปีนัง
✨ ก่อร่างสร้างเมืองจอร์จทาวน์
✨ จากสถาปัตยกรรมพื้นถิ่นสู่สถาปัตยกรรมแองโกลอินเดียนในเมืองจอร์จทาวน์ เกาะปีนัง
✨ สถาปัตยกรรมคฤหาสน์-บังกะโลในเมืองจอร์จทาวน์ เกาะปีนัง
✨ สถาปัตยกรรมบ้านร้านค้าในเมืองจอร์จทาวน์ เกาะปีนัง
✨ สังเคราะห์แบบแผนและพัฒนาการสถาปัตยกรรมที่อยู่อาศัยในเมืองจอร์จทาวน์ เกาะปีนัง
✨ เมืองจอร์จทาวน์ เกาะปีนัง กับการเป็นมรดกโลกทางวัฒนธรรม
ด้วยเหตุนี้ ไม่ว่าผู้อ่านจะเคยรู้จัก หรือไม่เคยรู้จักเมืองจอร์จทาวน์มาก่อน ก็สามารถติดตามเรื่องราวภายในเล่มได้อย่างเพลิดเพลินแน่นอน
2.ส่องเมืองจอร์จทาวน์-สะท้อนถึงตัวตนของเมืองเก่าและเมืองท่าต่างๆ ของประเทศไทย
ในภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ มีแหล่งมรดกโลกสำคัญที่มีบริบทแวดล้อมคล้ายคลึงและแสดงออกถึงความเกี่ยวเนื่องสัมพันธ์กับเมืองท่าในไทยอย่างแนบแน่น ได้แก่ เมืองมะละกา และเมืองจอร์จทาวน์ ซึ่งทั้งสองเมืองนี้ได้รับยกย่องให้เป็นมรดกโลกเนื่องจากมีภูมิสถาปัตยกรรมและวัฒนธรรมที่แตกต่างไม่ซ้ำใคร
ดังนั้น หลังจากที่อ่าน “จอร์จทาวน์ เกาะปีนัง: จากเมืองท่าประวัติศาสตร์สู่เมืองมรดกโลก” จบ นอกจากผู้อ่านจะได้เข้าใจเมืองจอร์จทาวน์มากยิ่งขึ้นแล้ว ยังจะสามารถพินิจพิเคราะห์ตัวตนของเมืองเก่าและเมืองท่าต่างๆ ของประเทศไทยต่อไป
3.กรณีศึกษา "แหล่งมรดกโลกทางวัฒนธรรม" ที่มีการอนุรักษ์และพัฒนาอย่างยั่งยืน
ทำไมจอร์จทาวน์จึงได้รับยกย่องให้เป็น "แหล่งมรดกโลกทางวัฒนธรรม" ? ติดตามอ่านเรื่องราวคุณค่าโดดเด่นอันเป็นสากลของเมืองจอร์จทาวน์หลากหลายด้าน เช่น การเป็นตัวอย่างที่แสดงออกถึงการเป็นเมืองท่าการค้าที่ก่อร่างขึ้นภายใต้บริบทพหุวัฒนธรรม ความสามารถในการธำรงรักษามรดกทางวัฒนธรรมทั้งแบบรูปธรรมและนามธรรม และการมีบริบททางวัฒนธรรมที่แสดงภาพสะท้อนของการผสมผสานอิทธิพลของวัฒนธรรมที่หลากหลาย แตกต่างจากเมืองอื่นๆ ในภูมิภาคเอเชียตะวันออกและเอเชียใต้ได้ตลอด 288 หน้านี้เลย!
4.อัดแน่นองค์ความรู้จากนักวิชาการคับคั่ง ผลงานจากผู้เชี่ยวชาญ 4 ท่าน ได้แก่ …
– รองศาสตราจารย์ ดร. เกรียงไกร เกิดศิริ คณะสถาปัตยกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยศิลปากร
– อาจารย์ ดร. ปัทม์ วงค์ประดิษฐ์ คณะสถาปัตยกรรมศาสตร์ ศิลปะ และการออกแบบ มหาวิทยาลัยนเรศวร
– อาจารย์ ดร. อิสรชัย บูรณะอรรจน์ คณะมัณฑนศิลป์ มหาวิทยาลัยศิลปากร
– กิตติคุณ จันทร์แย้ม นักวิจัยด้านโบราณคดี และประวัติศาสตร์ศิลปะ
5. อ่านสนุกเหมือนได้ไปท่องเที่ยวเมืองจอร์จทาวน์ด้วยตัวเอง
ภายในเล่มนี้ ผู้อ่านจะได้รับทราบทั้งเรื่องราวทางประวัติศาสตร์ของเมืองจอร์จทาวน์ เรื่องราวของผู้คนที่แตกต่างหลากหลายแต่ผสมกลมกลืนอาศัยอยู่ร่วมกันในเมืองจอร์จทาวน์ และเรื่องราวของสถาปัตยกรรมหลากหลายรูปแบบที่ปรากฏในเมืองแห่งนี้ ด้วยเหตุนี้ นักอ่านทุกท่านจึงไม่ควรพลาดด้วยเหตุผลทุกประการ!
____________________________________
💥 หนังสือ “จอร์จทาวน์ เกาะปีนัง: จากเมืองท่าประวัติศาสตร์สู่เมืองมรดกโลก” พร้อมให้นักอ่านทุกท่านพรีออเดอร์แล้วในวันนี้! 💥
ทดลองอ่าน: https://bit.ly/3SH2lSp
✨ หนังสือปกอ่อน เนื้อในพิมพ์สี่สีทั้งเล่ม ด้วยกระดาษสวยงามมีคุณภาพ เต็มอิ่มไปกับภาพสถาปัตยกรรมภายในเมืองจำนวน 288 หน้า
✨ เปิดให้พรีออเดอร์แล้วในวันนี้ ในราคาเพียง 296 บาท (รวมส่ง) เท่านั้น
✨ พิเศษสุดๆ พรีออเดอร์ตอนนี้รับทันทีหนังสือพร้อมลายเซ็นผู้เขียน!
นักอ่านที่สนใจสามารถสั่งซื้อได้ตั้งแต่วันที่ 14 - 20 พ.ย. 2566 นี้ผ่านหลากหลายช่องทาง…
👉🏻 Inbox เฟซบุ๊กสำนักพิมพ์มติชน: https://bit.ly/47w1UhX
👉🏻 Website สำนักพิมพ์มติชน: https://bit.ly/47vJxK5
👉🏻 Line Shop สำนักพิมพ์มติชน: https://bit.ly/3SypiY2
หมายเหตุ: สำนักพิมพ์จะเริ่มจัดส่งหนังสือในวันที่ 24 พ.ย. 2566
#จอร์จทาวน์ #จอร์จทาวน์_เกาะปีนัง #สำนักพิมพ์มติชน
_____________________
ติดตามทุกช่องทางของสำนักพิมพ์มติชนที่
☑ Line :
☑ Youtube :
☑ Tiktok :
☑ Twitter :
☑ Instagram : matichonbook

07/11/2023

Keynote Speaker

"Vernacular Environment in Southeast Asia and Beyond: Towards Sustainable Future"

By Professor Dr. Rawiwan Oranratmanee |
Dean of Faculty of Architecture, Chiang Mai University, Thailand.
This is a part of the International Seminar on Vernacular Settlement - ISVS 12, hosted by the faculty of Architecture at Silpakorn University in Bangkok, Thailand.
November 9-12, 2023
The Faculty of Architecture at Silpakorn University is warmly extending an invitation to students and those with a keen interest in attending a distinguished lecture at The International Seminar on Vernacular Settlement - ISVS # 12 and the commemoration of the 7 decades of the establishment of the Faculty of Architecture and 8 Decades of Silpakorn University.
Supported by Ministry of Higher Education, Science, Research and Innovation of Thailand, and Silpakorn University.....................................
Keynote Speaker's biography

Vernacular research approach and field studies in Southeast Asia, India and China through 20-year experience and ways forward.
Her published works included:
Two award winning books about
- Houses of Ethnic Groups in Southeast Asia
- Houses and Identity of the Tai in India
Her journal publications included some of these:
- Street as public space for Journal of Urban Design
- Vernacular houses of the Shan in Shan State Myanmar for Vernacular Architecture Journal
- Cultural geography of the Dai in sociopolitical context of China
- Earthen-wooden houses of the Dai in China in Built Heritage Journal
Her ongoing research is exploring the cultural landscape of rice-cum-fish culture of the Naga people in Nagaland India
Recently, she has expanded her research interests, including in fields relating to:

- Vernacular bio-materials using mycelium technology (published in Journal of Fungi)
- Heritage BIM and knowledge management of Javanese traditional houses (PhD thesis)
- Immersive technology for enhancing learning experience of heritage architecture and monuments (PhD thesis)
Generative AI for anticipating model of Dai Lue house transformation (PhD. thesis)

04/11/2023

Distinguished Lecture
"Wooden Architecture of Kerala"
By Professor Miki Desai
This distinguished lecture is a part of the International Seminar on Vernacular Settlement - ISVS 12, hosted by the faculty of Architecture at Silpakorn University in Bangkok, Thailand.
November 12, 2023 | 10.30-12.00 a.m.
The Faculty of Architecture at Silpakorn University is warmly extending an invitation to students and those with a keen interest in attending a distinguished lecture at The International Seminar on Vernacular Settlement - ISVS # 12 and the commemoration of the 7 decades of the establishment of the Faculty of Architecture and 8 Decades of Silpakorn University.
Supported by Ministry of Higher Education, Science, Research and Innovation of Thailand, and Silpakorn University
Please register in advance.
https://forms.gle/f82fLp6kxNSstbz28.....................................
Guest lecturer's biography

Professor Miki Desai taught architecture at India's CEPT University. After teaching at the Faculty of Architecture since 1981, Professor Miki Desai departed in 2014 as director of the Masters Programme in Sustainable Architecture. He has instructed Design Studios, Fundamental Design, the History of Architecture, and Urban Conservation. He is the author of Architektur in Gujarat, Indien: Bauernhof, Stadthaus, Palast (in German), Ausstellungskatalog, The Rietberg Museum, Zürich: 1990. He is also the co-author of Architecture and Independence: The Search for Identity, India 1880 to 1980 Oxford University Press, New Delhi, 1997; The Bungalow in Twentieth Century India, Ashgate, UK, 2012; Architectural Heritage of Gujarat: Interpretation, Appreciation, Values, The Government of Gujarat, Gandhinagar, India, 2012.

Prof. Miki Desai was a visiting studio critic at ETH, Zurich, MIT and University of California Berkeley, USA in 1988. He taught brief seminars at the Goa College of Architecture from 1998 to 2000 and at the National Institute of Design in Ahmedabad in 2013. He has had an ICSSR Fellowship, the EARTHWATCH grant, a Fulbright Fellowship, the Graham Grant and the Getty Collaborative Grant. In 2014, he was a visiting scholar at the College of Environmental Design, University of California, Berkeley. He has exhibited the Vernacular of India at the Rietberge Museum in Zurich in 1990 and at the Sanskar Kendra in Ahmedabad in 2012, and contributed a chapter and a wooden model to an exhibition that travelled to six German-speaking countries.

04/11/2023

Special Lecture
"Publishing in Academic Journal"
By Dr. Aaron Tham, SFHEA
Subject Component Lead in Tourism, Leisure and Events, Capability Development Track Lead, Indigenous and Transcultural Research Centre, School of Business and Creative Industries, University of the Sunshine Coast, Australia
This special lecture is a part of the International Seminar on Vernacular Settlement, ISVS 12, hosted by the faculty of Architecture at Silpakorn University in Bangkok, Thailand.
November 12, 2023 | 15.00-15.45 a.m.
The Faculty of Architecture at Silpakorn University is warmly extending an invitation to students and those with a keen interest in attending a distinguished lecture at The International Seminar on Vernacular Settlement - ISVS # 12 and the commemoration of the 7 decades of the establishment of the Faculty of Architecture and 8 Decades of Silpakorn University.
Supported by Ministry of Higher Education, Science, Research and Innovation of Thailand, and Silpakorn University
Please register in advance.
https://forms.gle/nJHRACEYR9w1oGYr5.....................................
Guest lecturer's biography

Dr. Aaron Tham is the Subject Component Lead in Tourism, Leisure, and Events Management within the School of Business and Creative Industries, University of the Sunshine Coast, Australia.

Under his leadership, the university is ranked among the top 150 hospitality and tourism institutions according to the 2023 Shanghai University subject rankings. He is also an active researcher with more than 40 publications in the last three years, with primary interests in the area of emerging technologies and event legacies.

Aaron is a Senior Fellow of the Higher Education Academy and is the Immediate Past Vice President and Conference Chair of the Travel and Tourism Research Association Asia Pacific Chapter. Aaron also currently sits on the Committee for Brisbane Taskforce for the 2032 Brisbane Olympics Legacies and also serves as the Managing Editor for the International Journal of Hospitality and Tourism Administration.

04/11/2023

Special Lecture
"What to do and what not to do in writing research papers for journal publications"

By Dr. Ranjith Dayaratrne
Editor of ISVS E-Journal
This special lecture is a part of the International Seminar on Vernacular Settlement, ISVS 12, hosted by the faculty of Architecture at Silpakorn University in Bangkok, Thailand.
November 12, 2023 | 13.45-14.45 AM. - BKK Time
The Faculty of Architecture at Silpakorn University is warmly extending an invitation to students and those with a keen interest in attending a distinguished lecture at The International Seminar on Vernacular Settlement - ISVS # 12 and the commemoration of the 7 decades of the establishment of the Faculty of Architecture and 8 Decades of Silpakorn University.
Supported by Ministry of Higher Education, Science, Research and Innovation of Thailand, and Silpakorn University
Please register in advance.
https://forms.gle/q2rWQbyzYEqgHQQw9.....................................
Guest lecturer's biography
Dr. Ranjith Dayaratrne is the Head of the School of Architecture at the Asian School in Melbourne, Australia. Professor, associate professor, and assistant professor from 2000 to 2022 in the Department of Architecture and Interior Design at the University of Bahrain. He served as a Visiting Research Scholar at the University of Melbourne, Australia, from 2004 to 2006, and as a Senior Lecturer at the University of Moratuwa in Sri Lanka from 1992 to 2000. A Commonwealth Scholar from 1988 to 1992 and a Fellow of Commonwealth Understanding since 1995, respectively. During the period from 1995 to 2000, he edited the 'Sri Lanka architect Journal,' 'Built-environment-Sri Lanka,' and 'Vastu' journals and served as Secretary and Chairman of the Board of Architectural Publications of the Sri Lanka Institute of Architects (SLIA). Among other topics, he has authored publications on the architectural identity of Bahrain, vernacular Sri Lankan settlements, the Sri Lankan diaspora in Melbourne, and environmental sustainability. Three of his articles appeared in the 1997 Cambridge University Press edition of The Encyclopaedia of Vernacular Architecture of the World, edited by Oliver P.

He established the "Cities People Places" International Conference on Urban Environments, which is hosted annually by the University of Moratuwa, Sri Lanka, in 2015. Presently serving as the editor of the ISVS e-journal, he oversees the organization's operations on behalf of the International Society for the Study of Vernacular Settlements. He is also the editor-in-chief of the scholarly journals 'Cities people & Places' and 'Built-environment Sri Lanka,' both of which are published by the University of Moratuwa, Sri Lanka.

Photos from ICCROM - conserving culture, promoting diversity's post 04/11/2023
04/11/2023

Keynote Speaker
"Culture, Climate & Common Sense"
By Professor Johannes Widodo
Director of the Graduate Programs in Architectural Conservation
Department of Architecture, College of Design and Engineering,
The National University of Singapore
This is a part of the International Seminar on Vernacular Settlement - ISVS 12, hosted by the faculty of Architecture at Silpakorn University in Bangkok, Thailand.
November 9-12, 2023
The Faculty of Architecture at Silpakorn University is warmly extending an invitation to students and those with a keen interest in attending a distinguished lecture at The International Seminar on Vernacular Settlement - ISVS # 12 and the commemoration of the 7 decades of the establishment of the Faculty of Architecture and 8 Decades of Silpakorn University.
Supported by Ministry of Higher Education, Science, Research and Innovation of Thailand, and Silpakorn University .....................................
Keynote Speaker's biography

Dr. Johannes WIDODO is the director of the Graduate Programs in Architectural Conservation at the National University of Singapore. He is a founder of mAAN (modern Asian Architecture Network), an executive committee member of AAHM (Asian Academy for Heritage Management), a jury member for the UNESCO Asia Pacific Awards for Cultural Heritage Conservation, a member of the ICOMOS International Scientific Committee and Docomomo International, a founder and executive director of iNTA (International Network of Tropical Architecture), an advisory board member of SEACHA (South-East Asian Cultural Heritage Alliance), and a member of TCHS (The Circle of Human Sustainability (Singapore)).

19/09/2023
26/07/2023
02/07/2023

Proudly announcing that George Town Heritage Celebrations returns this year from 7 to 9 July! 😘

Seize this opportunity to embrace George Town's unique cultural heritage with an open mind, and let the charm of this living heritage city captivate your hearts 🫶🏻

We look forward to curating an immersive cultural experience for all our festival-goers, so stay tuned for more details!

Follow us on Facebook and Instagram () for more announcements.

For more information, please visit https://gtwhi.com.my/gthc2023/

Hey, mark your calendars okay! 📆

ต้องการให้ธุรกิจของคุณ ธุรกิจ ขึ้นเป็นอันดับหนึ่ง โรงเรียน ใน Bangkok Noi?
คลิกที่นี่เพื่อเป็นสมาชิก?

วิดีโอทั้งหมด (แสดงผลทั้งหมด)

IWCH_Maha-Thien-Daw-Gyi  part2

เว็บไซต์

ที่อยู่


Faculty Of Architecture, Silpakorn University
Bangkok Noi
10200

เว็บไซต์เพื่อการศึกษา อื่นๆใน Bangkok Noi (แสดงผลทั้งหมด)
Learn Thai Like a Champ Learn Thai Like a Champ
Bangkok Noi

Learn Thai Like a Champ is making Thai language courses and other cultural videos for you guys to learn more about all the interesting stuffs about Thai language and Thailand.

JC Graduate School Thammasat JC Graduate School Thammasat
2 Phra Chan Alley, Khwaeng Phra Borom Maha Ratchawang, Khet Phra Nakhon
Bangkok Noi, 10200

The Graduate School, Journalism and Mass Communication Faculty, Thammasat University, Thailand

PGVIS PGVIS
Bangkok Noi

ภาควิชามานุษยวิทยา คณะโบราณคดี มหาวิทยาลัยศิลปากร ภาควิชามานุษยวิทยา คณะโบราณคดี มหาวิทยาลัยศิลปากร
31 ถนนหน้าพระลาน แขวงพระบรมมหาราชวัง เขตพระนคร
Bangkok Noi, 10200

ภาควิชามานุษยวิทยา คณะโบราณคดี มหาวิทยาลัยศิลปากร

Learning by doing : Architecture design & Miniature More Learning by doing : Architecture design & Miniature More
511/515-16 Charansanitwong 37, Bangkhunsri
Bangkok Noi, 10700

KM on architectural studio design, and misc design projects.