ARTIST+RUN

ARTIST+RUN GALLERY is a new exhibition space initiated by Angkrit Ajchariyasophon located on Naradhiwat Rajanagarindra Rd. Soi 22 (N22) Bangkok. Soi 22 (N22).

ARTIST+RUN is a new exhibition space initiated by Angkrit Ajchariyasophon located on Naradhiwat Rajanagarindra Rd. ARTIST+RUN is a living room – a room where the artists we admire and respect are invited to present their works. ARTIST+RUN is the branch of Angkrit Gallery Chiangrai, an artist-run space that Angkrit Ajchariyasophon has operated in Chiangrai since 2008 until now. ARTIST+RUN is an art

20/07/2024

ในวาระครบรอบ 1 ปี การจากไปของอาจารย์นิธิ เอียวศรีวงศ์ เพื่อร่วมรำลึกถึงผู้เป็น‘ครู’ทางวิชาการและอุดมการณ์ ทั้งเพื่อคิดต่อจากประเด็นสำคัญทางวิชาการและสังคมการเมืองที่อาจารย์นิธิไม่ทันได้ทำให้แล้วเสร็จ มิตรสหายในแวดวงวิชาการจึงร่วมกันจัดงาน “คิดต่อจากนิธิ” บรรยายสาธารณะ (Public Lecture) ผ่านหัวข้อวิชาการ 7 หัวข้อ โดย 7 นักวิชาการชั้นแนวหน้า

ณ หอประชุมบ้านจิมส์ ทอมป์สัน กรุงเทพฯ วันเสาร์ที่ 17 สิงหาคม ศกนี้

———

1. รื้อสร้าง’ตาข่ายแห่งความทรงจำ’:แนวศึกษาประวัติศาสตร์การเมืองของนิธิ โดย ณัฐพล ใจจริง
2. นิธิ , ZOMIA : และผู้คนก่อนล้านนา โดย นิติ ภวัครพันธุ์
3. สำรวจตัวตนทางวัฒนธรรมและการเมืองของชนชั้นกลาง/กฎุมพีไทยสยาม ’ในและนอก’สายตาอาจารย์นิธิ โดย ยุกติ มุกดาวิจิตร
4. จาก Weber ถึง Arendt : อำนาจและอำนาจนิยมในทัศนะของนิธิ โดย
เกษม เพ็ญภินันท์
5. ทหารมีไว้ทำไม : ปัญหาว่าด้วยชาติและความมั่นคง โดย พวงทอง ภวัครพันธุ์
6. ทุน vs รัฐ : เศรษฐศาสตร์การเมืองจากนิธิ โดย อภิชาติ สถิตนิรามัย
7. Counter พุทโธเลี่ยน : ถือพุทธแบบนิธิ โดย วิจักขณ์ พานิช

———

*ดำเนินรายการโดย : ประจักษ์ ก้องกีรติ

ไลฟ์สดตลอดงาน ผ่านมติชนทีวีและประชาไท

16/07/2024

#เชียงรายเมืองศิลปะ

ประกาศรายชื่อผู้มีสิทธิ์เข้ารับการคัดเลือกเพื่อเข้าร่วมกิจกรรมการฝึกอบรมการบริหารจัดการพื้นที่แสดงงานศิลปวัฒนธรรมร่วมสมัย (SMS : Small & Medium Space) รุ่นที่ 1 (เชียงราย)

ตามที่สำนักงานศิลปวัฒนธรรมร่วมสมัย ได้เปิดรับสมัครผู้เข้าร่วมกิจกรรมการฝึกอบรมการบริหารจัดการพื้นที่แสดงงานศิลปวัฒนธรรมร่วมสมัย (SMS : Small & Medium Space) รุ่นที่ 1 (เชียงราย) เพื่อเป็นการพัฒนาศักยภาพเครือข่ายศิลปวัฒนธรรมร่วมสมัยในจังหวัดเชียงรายในด้านการบริหารจัดการงานศิลปวัฒนธรรมร่วมสมัย นั้น

สำนักงานศิลปวัฒนธรรมร่วมสมัย ได้ร่วมกับคณะสถาปัตยกรรม ศิลปะและการออกแบบ สาขาศิลปะสร้างสรรค์และภัณฑารักษณ์ศึกษา (หลักสูตรนานาชาติ) สถาบันเทคโนโลยีพระจอมเกล้าเจ้าคุณทหารลาดกระบัง ขอประกาศรายชื่อผู้มีสิทธิ์เข้ารับการคัดเลือกเพื่อเข้าร่วมกิจกรรมการฝึกอบรมการบริหารจัดการพื้นที่แสดงงานศิลปวัฒนธรรมร่วมสมัย (SMS : Small & Medium Space) รุ่นที่ 1 (เชียงราย)

ทั้งนี้ภายในวันที่ 17 กรกฎาคม 2567 ผู้เข้าร่วมสมัครทุกท่านจะได้รับการติดต่อเพื่อยืนยันสิทธิ์ในการเข้าร่วมการคัดเลือก และจะมีการประกาศผลการคัดเลือกผู้ที่ได้รับพิจารณา เข้าร่วมกิจกรรมฯ ภายในวันที่ 30 กรกฎาคม 2567 ต่อไป

ติดต่อสอบถามเพิ่มเติมได้ที่เบอร์โทร 0944866465 (สุทธิศักดิ์)

Photos from ARTIST+RUN's post 11/07/2024

พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ อู่ทอง สุพรรณบุรี U Thong National Museum Suphanburi ✨

ชีวิตสุดมันของ สมบัติ วัฒนไทย วัย 72 จากแคชเชียร์ห้างสู่เจ้าของสมบัติเพิ่มพูนแกลเลอรี 26/06/2024

ชีวิตสุดมันของ สมบัติ วัฒนไทย วัย 72 จากแคชเชียร์ห้างสู่เจ้าของสมบัติเพิ่มพูนแกลเลอรี สมบัติ วัฒนไทย จากแคชเชียร์สู่เจ้าของแกลเลอรีพาณิชย์ 6 ชั้นใหญ่สุดในไทย มีรูปขายกว่าหมื่นรูป เริ่มหลักพั.....

ไม่ใช่แค่ความพร้อม แต่ต้องกระจายอำนาจ สำรวจความเห็น ‘เชียงรายเมืองศิลปะ’ หลังจบเบียนนา 18/06/2024

ไม่ใช่แค่ความพร้อม แต่ต้องกระจายอำนาจ สำรวจความเห็น ‘เชียงรายเมืองศิลปะ’ หลังจบเบียนนา เรื่องและภาพ: ปรัชญา ไชยแก้ว “เชียงรายเมืองแห่งศิลปะ” ห

Exploring Thailand's edgy, artistic northern borderland 15/06/2024

https://asia.nikkei.com/Life-Arts/Arts/Exploring-Thailand-s-edgy-artistic-northern-borderland Thai Art by Songdej Thipthong

Exploring Thailand's edgy, artistic northern borderland Art festival draws millions to Chiang Rai, but hidden gems remain to be found

Photos from ARTIST+RUN's post 14/06/2024

เยี่ยมอาจารย์โชคชัย ตักโพธิ์
ที่คอกควาย #อุบลราชธานี 240614

Photos from 1984+1 gallery's post 10/06/2024

( For English please scroll down *)

1984+1 แกลลอรี่ ขอเชิญเป็นเกียรติในพิธีเปิดนิทรรศการ พระ เด็ก ศิลป์ ปราชญ์ มอด นิทรรศการกลุ่มโดยศิลปิน 10 คน และกลุ่มอาจารย์วิทยาลัย
ช่างศิลปสุพรรณบุรี

กฤตพร มหาวีระรัตน์
ขวัญชัย ลิไชยกุล
ชลิต สภาภักดิ์
ตฤณภัทร ชัยสิทธิศักดิ์
ธนวัฒน์ นุ่มเจริญ
ผุสดี ศรีอำพันพฤกษ์
พชร ปิยะทรงสุทธิ์
ศุภฤกษ์ นามมนตรี
อัครวินท์ อรุณเมือง
อังกฤษ อัจฉริยโสภณ

พระ เด็ก ศิลป์ ปราชญ์ มอด นิทรรศการศิลปะที่ชวนย้อนกลับมาสำรวจเรื่องเล่าผ่านสุพรรณบุรี ในมิติต่างๆ ณ 1984+1 gallery โรงสีบูรณะกิจ สุพรรณบุรี ที่ชวนค้นหาเรื่องราวที่ปรากฎต่างกรรมต่างวาระ ที่ซ่อนตัวอยู่ในวัฒนธรรม ชุมชน สิ่งแวดล้อม ไปจนถึงโครงสร้างระบบความสัมพันธ์ของมนุษย์

เปิดงานวันเสาร์ที่ 15 มิถุนายน 2567 เวลา 16.00 น.
จัดแสดงตั้งแต่วันที่ 15 มิถุนายน - 1 กันยายน 2567
เปิดวันอังคาร-วันอาทิตย์เวลา 10.00 -17.00 น.
หรือตามนัดหมาย โทร 0871566965
อีเมล [email protected]
facebook : 1984+1 gallery
Instagram : 1984plus1_gallery

---------------------------------------------------------------

1984+1 Gallery cordially invites you to the opening reception of "A Monk, a Child, an Art, a Philosopher, a Weevil" a group exhibition by 10 artists and a group of lecturers from the Suphanburi College of Fine Arts

Krittaporn Mahaweerarat
Kwanchai Lichaikul
Chalit Saphaphak
Trinnapat Chaisitthisak
Thanawat Numcharoen
Putsadee Sriamphunpluk
Pachara Piyasongsoot
Suparerk Nammontree
Akkarawin Arunmuang
Angkrit Ajchariyasophon

"A Monk, a Child, an Art, a Philosopher, a Weevil" – the 1984+1 Gallery at Buranakit Rice Mill in Suphanburi is proud to present an evocative art exhibition that invites you to explore the myriad stories of Suphanburi. This exhibition features narratives interwoven through various dimensions of time and place, subtly embedded within the fabric of culture, community, environment, and human relationships.

Opening celebrations on
Saturday 15 th June 2024 at 4.00 pm.
Art Exhibition is on view between
15 th June - 1 st September 2024.
1984+1 Gallery Suphanburi Thailand
OpenTuesday - Sunday from 10.00 am - 5.00 pm
or by appointment Tel. 0871566965
email : [email protected]
facebook : 1984+1 gallery
Instagram : 1984plus1_gallery

https://maps.app.goo.gl/uUmG2buFZqEZbbVg8

Photos from ARTIST+RUN's post 05/06/2024

Fish & Chips
4 Jun – 28 Jul 2024
Seoul K1, K3

Photos from 1984+1 gallery's post 03/06/2024
Photos from ททท.สำนักงานเชียงราย's post 01/06/2024

#เชียงราย

Photos from ARTIST+RUN's post 29/05/2024

𝙅𝙚𝙤𝙣𝙜𝙨𝙪 𝙒𝙤𝙤: 𝙏𝙝𝙧𝙚𝙚 𝘿𝙚𝙫𝙞𝙡𝙨 𝙗𝙮 𝙩𝙝𝙚 𝘽𝙚𝙙𝙨𝙞𝙙𝙚 at

Photos from ARTIST+RUN's post 29/05/2024

Displayed in Candida Höfer()’s solo exhibition 𝘙𝘌𝘕𝘈𝘚𝘊𝘌𝘕𝘊𝘌 at Kukje Gallery K2 in Seoul, are works focusing on the changes after a renovation in the interior space of the Carnavalet Museum in Paris, France. From 2016 through 2021, the museum underwent a renovation. Upon her site visit in 2020 ahead of its reopening in 2021, Höfer captured through her lens the new serpentine steel-and-wood staircase from various angles. The staircase forms a stark visual contrast with works depicting a dramatic and theatrical mural in the museum space. Originally commissioned in 1925 for the ballroom of the Hôtel de Wendel, the mural decor of the ballroom was reinstalled at the museum in 1989 and restored during the renovation.

RENASCENCE
23 May – 28 Jul 2024
Kukje Gallery Seoul K2

Photos from ARTIST+RUN's post 28/05/2024

Woods of Crafts at 🇰🇷

16/05/2024

คอลัมน์ Art is not Art โดย 'ภาณุ บุญพิพัฒนาพงศ์' ชวนดูเหตุผลที่ปลายทางของงานศิลปะจัดแสดง โดยเฉพาะอย่างยิ่งในมหกรรมศิลปะร่วมสมัยต่างๆ จบลงด้วยการทำลายทิ้ง
“เมื่อไม่นานมานี้ แวดวงศิลปะในบ้านเรา มีวิวาทะร้อนๆ ในประเด็นเกี่ยวกับผลงานศิลปะในมหกรรมศิลปะร่วมสมัยนานาชาติ ครั้งที่ 3 ไทยแลนด์เบียนนาเล่ เชียงราย 2023 ที่ผลงานของ โทเบียส เรห์แบร์เกอร์ (Tobias Rehberger) ศิลปินชาวเยอรมันผู้ได้รับการยกให้เป็นหนึ่งในศิลปินร่วมสมัยผู้ทรงอิทธิพลที่สุดในโลกศิลปะ อย่าง Nai Nam Mee Pla, Nai Na Mee Khao – In the water there is fish, in the field there is rice. (2023) ถูกรื้อถอน”
“เหตุการณ์นี้ส่งผลให้คนในวงการศิลปะร่วมสมัยบ้านเราออกมาวิพากษ์วิจารณ์ถึงกรณีนี้กันในวงกว้าง ทั้งศิลปินในจังหวัดเชียงราย และจังหวัดอื่นๆ รวมถึงผู้ที่เกี่ยวข้องในแวดวงศิลปะอย่าง นักวิจารณ์ศิลปะ ภัณฑารักษ์ และคนทำงานในแวดวงศิลปะร่วมสมัยของไทย ทั้งในแง่ของความเสียดายในผลงานของศิลปินระดับโลกชิ้นนี้ หรือในแง่ของความสิ้นเปลืองทรัพยากรในการสร้าง และงบประมาณที่มาจากภาษีประชาชน”
The MATTER เลยขอชวนดูเหตุผลที่ทำให้ผู้จัด จำต้องรื้อถอนงานศิลปะ หลังจบมหกรรมศิลปะกัน: https://thematter.co/thinkers/why-must-be-destroyed-after-the-event-is-complete/226046

#โทเบียสเรห์แบร์เกอร์ #ไทยแลนด์เบียนนาเล่เชียงราย2023 #ไทยแลนด์เบียนนาเล่

16/05/2024

มหกรรมศิลปะร่วมสมัยนานาชาติ Thailand Biennale Chiang Rai 2023 เป็นกิจกรรมเพิ่มพูนความร่วมมือจากเหล่าบรรดาเครือข่ายศิลปินและนักปฏิบัติการด้านศิลปะตั้งแต่ระดับท้องถิ่นเรื่อยไปจนถึงระดับนานาชาติที่มุ่งสร้างการตระหนักรู้ต่อประเด็นศิลปะวัฒนธรรมในสังคมร่วมสมัยที่นำไปสู่การขยายความรับรู้ให้กระจายไปสู่สาธารณชน มหกรรมด้านศิลปะนานาชาติที่ว่านี้จึงได้ทำหน้าที่เสริมสร้างคุณค่าและมูลค่าเพิ่มต่อศิลปะและวัฒนธรรมของจังหวัดเชียงรายอันนับว่าเป็นการประกาศให้สังคมทั้งในระดับประเทศและระดับนานาชาติทราบว่า “เชียงรายเป็นเมืองแห่งศิลปะ” (The City of Arts)
อ่าน ร้อยเรียงเรื่องเชียงแสน: ​ บทสนทนาต่อ “ปฏิบัติการด้านศิลปะ” และ “ประวัติศาสตร์” ยวนย้ายถิ่น ได้ที่ https://www.lannernews.com/16052567-01/
การขับเคลื่อนปฏิบัติการด้านศิลปะของกลุ่ม “บ้านนอก” มีเอกลักษณ์เน้นการการร่วมมือกับชุมชนศิลปินท้องถิ่น เพื่อตีความ สำรวจ และนำประวัติศาสตร์ ชาติพันธ์ุ และการพลัดถิ่นมาเล่าใหม่ในภาษาของศิลปะ ในทัศนะของผู้เขียนจึงเห็นว่าปฏิบัติการของพวกเขาเหล่านี้วางอยู่บนฐานของการสืบค้นเรื่องราวของอดีตเพื่อนำมาเรียงร้อยและบอกเล่าผ่านงานศิลปะ พวกเขาได้พยายามสืบค้นร่องรอยของคน “ไทยวน” ผ่านจินตนาการที่มีต่ออดีตจากความรับรู้ที่ก่อร่างสร้างประสบการณ์ที่รายล้อมรอบตัว จากการได้ยินได้ฟังเรื่องราวของชาวไทยวนจากความทรงจำร่วมทางสังคมที่ “นิพนธ์ประวัติศาสตร์” จากเบื้องล่าง (History From Below) ความรับรู้ที่มีต่ออดีตของชาวไทยวนพลัดถิ่นที่ผู้เขียนก็เคยได้ยินได้ฟังในพื้นที่ทางวัฒนธรรมชาวไทยวนพลัดถิ่นทั้งในอำเภอเสาไห้ จังหวัดสระบุรี และอำเภอคูบัว จังหวัดราชบุรีเองก็ล้วนเป็นเรื่องราวปรากฏในทิศทางซึ่งสอดคล้องกับการสร้างตำแหน่งแห่งที่และอัตลักษณ์ความเป็นคนกลุ่มน้อยของพวกเขาในฐานะคนไทยวนพลัดถิ่น เรื่องเล่าอันหลากหลายของพวกเขายังปรากฏในงานวิชาการหลายชิ้นอย่างเช่น “ยวนสีคิ้ว” ในชุมทางชาติพันธุ์: เรื่องเล่า ความทรงจำและอัตลักษณ์ของกลุ่มชาติพันธุ์ไทยวนในจังหวัดนครราชสีมาผลงานของ สุริยา สมุทคุปติ์และพัฒนากิติอาษา ปี 2544 หรืองานเรื่องชาวเชียงแสนย้ายแผ่นดินผลงานของภูเดช แสนสา ปี 2561 ตลอดจนงานเรื่องประวัติศาสตร์จากเบื้องล่างผ่านเรื่องเล่าของคนยวนพลัดถิ่น ผลงานของของชัยพงษ์ สำเนียง ปี 2566 เป็นต้น งานเหล่านี้ทำหน้าที่ตั้งคำถามต่อเรื่องเล่าและความทรงจำร่วมที่มีต่อความเป็นคนไทยวนพลัดถิ่นโดยชี้ให้เห็นว่าหลาย ๆ เรื่องเล่านั้นมีจะเน้นย้ำอยู่กับการต่อสู้ดิ้นรนของคนไทยวนในฐานะคนกลุ่มน้อยซึ่งอาศัยอยู่ในดินแดนที่ราบลุ่มภาคกลางและบางส่วนของพื้นที่แอ่งโคราชทว่ารูปแบบของเรื่องเล่าและความทรงจำของที่ดำรงอยู่อย่างหลากหลายของลูกหลานชาวไทยวนพลัดถิ่นเหล่านี้ก็มักเป็นความคิดประวัติศาสตร์ที่ทำให้คนสามัญโลดแล่นในในเรื่องราวของพวกเขาได้มากทีเดียว
ถ้าหากจะถาม “คนเชียงแสน ที่แท้จริงคือใคร” ก็อาจเป็นประเด็นที่ยากจะฟันธงคำตอบไม่ได้อย่างตายตัวแน่นอน หรือ “ใครคือผู้คนที่พลัดพรากไปจากเมืองเชียงแสนเมื่อปี 2347” คำถามนี้อาจจะพอกระชับคำตอบมาได้ว่า “ไม่ได้มีแค่คนไทยวน” หากแต่ผู้คนและพลเมืองเชียงแสนในห้วงเวลาที่กล่าวมานั้นได้ถูกสลับสับเปลี่ยนเคลื่อนเข้า ๆ ออก ๆ มาก่อนหน้านั้นแล้ว นี่จึงอาจเป็นความจริงที่ผู้เขียนต้องการยืนยันเพื่อตอบคำถามในใจที่มีต่อเรื่องเล่าบางอย่าง ความทรงจำทางสังคมบางชุด หรืออดีตบางอดีตซึ่งล้วนแล้วมีความจำเป็นอย่างยิ่งยวดที่จะต้องถูกตั้งคำถามเพื่อความงอกงามในข้อถกเถียง แม้ศิลปะที่ตีความอดีตได้อย่างแยบยลและคมคายจะทำหน้าที่เสร็จสิ้นแล้ว แต่ข้อถกเถียงทางประวัติศาสตร์ที่ควรถูกสานต่อยาคงเลือกทำหน้าที่ผ่านบทความนี้
เรื่องเล่าและความทรงจำทางสังคมที่มีสถานะเป็นประวัติศาสตร์สามัญชนว่าด้วยคนพลัดถิ่นอาจมิได้เบ่งบานอย่างงอกงามด้วยแนวทางเดียว บางครั้งประวัติศาสตร์สามัญชน ประวัติศาสตร์ท้องถิ่นหรือประวัตศาสตร์ชายขอบนี่แหละก็สามารถทำหน้าที่ซุกซ่อน “ความเป็นชาติพันธุ์ (ไทยวน) นิยม” ไว้เบื้องลึกเบื้องหลังได้ด้วยเช่นเดียวกัน แม้ผู้เขียนจะตีความต่องานศิลปะของศิลปินชิ้นนี้ว่ามุ่งเรียกร้องให้ผู้เสพงานศิลปะเกิดความเข้าอกเข้าใจและเห็นอกเห็นใจต่อเรื่องราวในประวัติศาสตร์บาดแผลว่าด้วยการพลัดที่นาคาที่อยู่ที่บรรพบุรุษของพวกคุณในอดีตอยู่ในฐานะผู้ถูกกระทำ ทว่าผู้เขียนกลับมองผ่านแง่มุมอีกด้านที่เห็นถึงภาพตัวแทนความเป็นชาติพันธุ์ในชั้นประวัติศาสตร์ของพวกคุณว่าเป็นการมุ่งสร้างและผลิตซ้ำความรับรู้เฉพาะแต่เพียง “ความเป็นไทยวน” เพื่อตอกย้ำความเป็นชาติพันธ์นี้เท่านั้น โดยผู้เขียนเองก็ไม่ได้ปฏิเสธว่า “บรรพบุรุษของท่านไม่ได้ไปจากเชียงแสน” แต่รายละเอียดการไปจากเชียงแสนในปีพุทธศักราช 2347 นั้นไม่ได้มีแค่เพียงพวกท่านเท่านั้น เพราะผู้เขียนยังเชื่อเสมอว่าคนเชียงแสนไม่ได้มีแค่คนไทยวน หากแต่เชียงแสนเป็นเมืองท่าริมแม่น้ำโขงที่อุดมไปด้วยความหลากหลาย ด้วยเหตุนี้ ลมหายใจอันเป็นอุปลักษณ์ที่มีในเจดีย์ลมยางขนาดใหญ่นั้นจึงเป็นลมหายใจแห่งการหลอมรวมผู้คนที่รุ่มรวยไปด้วยความหลากหลายทางชาติพันธ์ที่เดินทางเข้ามาค้าขาย ถูกพบโยกย้ายด้วยมูลเหตุแห่งไฟสงครามก่อนหน้าของการกวาดต้อนครั้งใหญ่ ในปี 2347 นั่นเอง
“เมืองเชียงแสน” จึงมิได้จำกัดอยู่เฉพาะเขตพื้นที่อำเภอเชียงแสนในยุคปัจจุบันเพียงเท่านั้น หากยังมีความหมายรวมไปถึงพื้นที่ใกล้เคียงทั้งในเขตอำเภอแม่จันและอำเภอแม่สายในปัจจุบันอีกด้วย ดังนั้นการไล่เรียงเรื่องราวของชาวเมืองเชียงแสนที่ถูกกวาดต้อนให้พลัดที่นาคาที่อยู่ก็ยังคงมีเรื่องระหว่างบรรทัดให้ผู้ศึกษาเอกสารหรือค้นคว้าหาข้อมูลเฉพาะถิ่นพอที่จะทราบได้ว่า พื้นที่ของเมืองเชียงแสนนั้นครอบคลุมอาณาบริเวณที่มีขนาดใหญ่โตทั้งกองทัพล้านนาและกองทัพสยามจะต้องใช้ปริมาณกองกำลังขนาดเท่าใดกันที่จะ “กวาดต้อนผู้คนให้หมดไปจากเมืองเชียงแสน” อันเป็นพื้นที่กว้างใหญ่ไพศาลขนาดนี้ ซึ่งปรากฏว่ามีเรื่องเล่าของผู้คนในพื้นที่อำเภอแม่จันบางส่วนที่อยู่ตามหมู่บ้านในพื้นที่ห่างไกลตัวเมือง (เวียงเชียงแสน) ได้กล่าวถึงการ “หนีเศิก” (หนีข้าศึก) ขนเอาพระพุทธรูปและของมีค่าไปซ้อนไว้ตามป่าเขาเป็นจำนวนมากซึ่งภายหลักหมดสิ้นกลิ่นไอของสงครามและมีการฟื้นฟูเมืองเชียงแสน (อ.เชียงแสน อ.แม่จัน จ.เชียงราย) อีกครั้งใน พ.ศ.2423 นำโดยมีพระยาราชเดชดำรง (เจ้าน้อยอินทวิไชย ต้นสกุล “เชื้อเจ็ดตน”) ราชบุตรพระเจ้าบุญมาเมือง (เจ้าศรีบุญมา) พระเจ้านครลำพูน องค์ที่ 2 ซึ่งได้เข้ามาเป็นเจ้าเมืองเชียงแสนองค์แรกขึ้นกับเมืองนครเชียงใหม่ซึ่งในการฟื้นฟูบ้านเมืองครั้งดังกล่าวก็ได้มีผู้คนเชื้อสายชาวไทลื้อจากเมืองยอง ชาวไทยวนและไทลื้อเชียงแสนดั้งเดิมบางส่วนที่อยู่ในเมืองนครลำพูน ได้กลับขึ้นไปฟื้นฟูเมืองเชียงแสนอีกครั้ง ตลอดจนพบว่ามีเชื้อสายของเจ้าฟ้าเชียงแสนที่ยังคงเหลือตกค้างได้เสกสมรสกับเจ้านายเชื้อสาย “เชื้อเจ็ดตน” เช่น เจ้าคำตั๋น ซึ่งสืบเชื้อสายเจ้าฟ้าเชียงแสน สมรสกับเจ้าหญิงสุคำ ธิดาพระยา ราชวงศ์ (เจ้าน้อยสุขะ) เมืองเชียงแสน พระนัดดาพระยาราชเดชดำรง (เจ้าน้อยอินทวิไชย ต้นสกุล “เชื้อเจ็ดตน”) ราชปนัดดาพระเจ้าบุญมาเมือง (เจ้าศรีบุญมา) พระเจ้านครลำพูนองค์ที่ 2 เจ้าคำตั๋นกับเจ้าหญิงสุคำ ได้มีบุตรธิดามีสืบมาอยู่เมืองเชียงแสน 4 คน คือ เจ้าดวงดี เจ้าบัวหลวง เจ้าคำจี๋น และเจ้าคำจันทร์ นอกจากนี้ยังมีเจ้านายเชียงแสนที่บ้านปงสนุก เมืองนครลำปางบางส่วนก็กลับคืนขึ้นไปตั้งถิ่นฐานที่เมืองเชียงแสน เช่น เจ้าเขื่อนแก้ว บุตรชายองค์โตของพญาปราบทวีปเยาวธานี (เจ้าปราบทวีป) เชื้อสายเจ้าฟ้าเชียงแสน บ้านปงสนุก ก็ได้กลับคืนไปตั้งถิ่นฐานที่เมืองเชียงแสนอีกครั้ง
เรื่อง: นวลคำ ขะยอมแดง สุภาพชนคนเมือง

Visual Artists x Imagen | Google Lab Sessions 16/05/2024

https://youtu.be/oP1rIPkJte0?si=6rFu1WGBRHOS1UjU

Visual Artists x Imagen | Google Lab Sessions See what happens when artists use AI to endlessly reimagine a timeless classic in their own unique styles.In our latest Google Lab Session, Shawna X, Eric Hu...

“เมื่อข้าวสุกไม่อาจกลับไปเป็นข้าวสารได้อีกต่อไป” บทสรุป ไทยแลนด์ เบียนนาเล่ เชียงราย 2023- 09/05/2024

Thailand Biennale สำนักงานศิลปวัฒนธรรมร่วมสมัย ขัวศิลปะ #ไทยแลนด์เบียนนาเล่เชียงราย2023 #เปิดโลก
Gridthiya Gaweewong
Manuporn Luengaram

“เมื่อข้าวสุกไม่อาจกลับไปเป็นข้าวสารได้อีกต่อไป” บทสรุป ไทยแลนด์ เบียนนาเล่ เชียงราย 2023- Create a Better Tomorrow

ศิลปินไทย พอดแคสต์เล่าชีวิตและงานศิลปินที่ต้องรู้จักใน Thailand Biennale โดยอังกฤษ อัจฉริยโสภณ 09/05/2024

#ไทยแลนด์เบียนนาเล่เชียงราย2023 #เปิดโลก Thailand Biennale

🙏🏻📸 >> ขอขอบคุณภาพถ่ายโดย คุณวันชัย พุทธวารินทร์ Wanchai Phutthawarin

ศิลปินไทย พอดแคสต์เล่าชีวิตและงานศิลปินที่ต้องรู้จักใน Thailand Biennale โดยอังกฤษ อัจฉริยโสภณ อังกฤษ อัจฉริยโสภณ สรุปความพีก Thailand Biennale 2023 และเบื้องหลังพอดแคสต์ศิลปินไทยที่คนรักศิลปะต้องฟัง

Photos from Thailand Biennale's post 08/05/2024

#เปิดโลก #ไทยแลนด์เบียนนาเล่เชียงราย2023

08/05/2024

พลวัตของ “การพลัดถิ่น” กับการออกเดินทางของผู้คน “เข้า-ออก”พื้นที่เวียงเชียงแสน
“คนเชียงแสน คือใคร” หรือ “ใครคือ คนเชียงแสน” (ที่แท้จริง) นี่อาจเป็นการตั้งคำถามที่ยากยิ่งแก่การไขคำตอบหรือข้อสงสัย เอกสารโบราณต่าง ๆ กล่าวถึงเมืองเชียงแสนที่ถูกสถาปนาขึ้นโดยพญาแสนภู (ผู้มีศักดิ์เป็นหลานของพญามังราย) ส่งผลให้มีผู้คนหลากหลายเชื้อสายเข้ามาอยู่อาศัยร่วมกันนับแต่นั้น ประกอบการกับที่เชียงแสนเคยเป็นสมรภูมิสงครามที่สำคัญในหลายๆครั้งของล้านนาสืบมาตั้งครั้งอดีตกาลทั้งกับ “พญาฮ่อลุ่มฟ้า” (ที่ว่ากันว่าคือราชสำนักจีนสมัยราชวงค์หมิง) ถึงสองครั้งสองคราในยุคพญาสามฝั่งแกน หรือศึกพระเจ้าไชยเชษฐาธิราชแห่งล้านช้างที่ยึดเชียงแสนเป็นฐานที่มั่นเพื่อรบกับพระเมกุเรื่องสิทธิธรรมในบัลลังก์ตั่งทองของราชสำนักเชียงใหม่ที่เป็นไปอย่างไม่ชอบธรรม เป็นต้น จนกระทั่ง ในปี พ.ศ.2101 ล้านนาตกอยู่ใต้การปกครองของพม่าและเมืองเชียงแสนถูกเปลี่ยนฐานะให้กลายเป็นฐานที่มั่นสำคัญของพม่าในล้านนาตอนบน ขณะเดียวกันราชสำนักพม่าได้สถาปนาตำแหน่ง “เจ้าฟ้าเชียงแสน” เป็นผู้ปกครองเมืองเชียงแสนสืบเนื่องต่อกันมา โดยเอกสารสำคัญอย่างพื้นเมืองเชียงแสนได้ระบุเชื้อสายเจ้านายเมืองเชียงแสนว่าเป็นสกุลวงศ์เชื้อสายไทลื้อทั้งที่อาศัยอยู่ในเชียงแสนที่ปกครองสืบเนื่องกันมากว่า 10 องค์และเป็นเชื้อสายไทลื้อเมืองพง 2 องค์ซึ่งปกครองเมืองเชียงแสนรวมระยะเวลา 176 ปี (พ.ศ.2171-2347) แม้กระทั่งช่วงสุดท้ายก่อนที่เมืองเชียงแสนแตก เชื้อสายเจ้าฟ้างามยังคงมีบทบาทได้รับตำแหน่งเจ้านายชั้นสูงของเมืองเชียงแสน
แผ่นดินล้านนาเขตที่ราบลุ่มเมืองเชียงแสนและเมืองบริวารในช่วงปลายพุทธศตวรรษที่ 23 นั้นยังคงอยู่ภายใต้อิทธิพลพม่า จนกระทั่งเจ้าฟ้าเมืองแพร่อย่างพญามังไชย ลูกหลานของพญาสุลวะลือไชยสงคราม (เจ้าหนานทิพจักร) แห่งนครลำปางหรือกลุ่มราชวงศ์เจ้าเจ็ดตน (เชียงใหม่ ลำปาง ลำพูน) ตลอดจนเจ้าฟ้าเมืองน่านสวามิภักดิ์ต่อสยามราวปี พ.ศ.2317 ดุลอำนาจที่พลิกขั้วเลือกข้างใหม่ได้ก่อตัวขึ้นในดินแดนล้านนาจนกระทั่งนำมาซึ่งกองกำลังจากสยามที่ร่วมหนุนเสริมให้ผู้นำท้องถิ่นล้านนา ณ ห้วงเวลานั้นได้ร่วมกันขับไล่กองทัพพม่าออกจากเมืองนครเชียงใหม่กับเมืองนครน่านก็ไปรวมตั้งมั่นอยู่ที่เมืองเชียงแสน ซึ่งในปี พ.ศ. 2339 ล้านนายังได้มีการขอกองกำลังจากสยามและหัวเมืองประเทศราชทั้งประเทศราชล้านช้าง (เมืองนครเวียงจันทน์) เพื่อมาร่วมกันขับไล่พม่าออกไปจากล้านนาและไม่ให้เมืองเชียงแสนเป็นฐานที่มั่นแหล่งเสบียงอาหารให้กับพม่าเอง
การยกกองกำลังครั้งใหญ่ไปตีเมืองเชียงแสนเกิดขึ้นภายหลังจากตีพม่าออกจากเมืองเชียงใหม่และเมืองป่าซางซึ่งผู้นำของเมืองนครเชียงใหม่อย่างพญาจ่าบ้าน (บุญมา) ร่วมกับกลุ่มเจ้านายในเชียงใหม่ ลำปาง แพร่และน่าน ยกทัพขึ้นไปตีขับไล่พม่าที่เมืองเชียงแสนเป็นระยะๆ แต่ไม่สำเร็จ ได้เพียงกวาดต้อนชาวเมืองเชียงแสนมาบ้าง เพื่อตัดกำลังซึ่งต่อมาพญากาวิละได้เริ่มเปิดยุทธการโจมตีเมืองฝางอันถือได้ว่าเป็นเมืองบริวารของเชียงแสน ซึ่งมีผลทำให้เจ้าฟ้าเมืองเชียงรายอย่างเจ้าน้อยจิตตะ (ต้นสกุล “ขัติเชียงราย” “รายะนคร” “รายะนาคร”) ได้พาครอบครัวชาวเมืองหนีเข้าไปพึ่งพญากาวิละที่เมืองนครลำปางในปี พ.ศ. 2323 ทว่ายุทธการที่กล่าวนี้ กลับไม่ได้มีผลต่อการสั่นคลอนความมั่นคงของเมืองเชียงแสนได้เลย เมื่อแม่ทัพพม่าสำคัญอย่างโป่พะคานมินคียกทัพตีเมืองนครลำปางลงไปถึงเมืองพิษณุโลกพอกองทัพสยามยกขึ้นมาช่วย กองทัพพม่าก็ได้ถอยร่นกลับไปยังเมืองเชียงแสน ทว่าเส้นทางกลับนั้น กองทัพพม่าก็ได้แวะระหว่างทางเพื่อจับตัวพญามังไชย เจ้าหลวงเมืองแพร่และครอบครัวส่งกลับไปยังเมืองอังวะ พร้อมทั้งให้ทหารพม่ารักษาเมืองเชียงแสนอยู่อย่างหนาแน่น เสถียรภาพของกองทัพพม่าในเมืองเชียงแสนยังมีต่อเนื่องกันมาเป็นเวลากว่า 2 ปีต่อมา ถึงเอกสารอย่างพื้นเมืองเชียงแสนระบุพม่ายังคงสร้างวัดวาศาสนาสถานเป็นปกติขนาดที่ว่ายังมีมีการสมโภชน์เฉลิมฉลองพระวิหารวัดบุญยืน เมืองเชียงแสนด้วยซ้ำไป
ผลกระทบจากสงครามและความผันผวนของเสถียรภาพทางการเมืองในเวียงเชียงแสนซึ่งมีฐานะเป็นสมรภูมิแห่งการชิงไหวชิงพริบระหว่างกองทัพพม่าและกองทัพล้านนาที่ได้รับการหนุนหลังจากพี่ใหญ่อย่างกองทัพสยามจึงเกิดขึ้นอย่างสลับสับเปลี่ยนกันเรื่อยมานับตั้งแต่ปี พ.ศ.2327 พญากาวิละแห่งเมืองนครลำปางและพญาจ่าบ้าน (บุญมา) แห่งเมืองนครเชียงใหม่นำทัพไปกวาดต้อนชาวเมืองเชียงแสนจำนวน 7,167 คนลงมาไว้ในเมืองนครลำปางและเมืองป่าซาง (อ.ป่าซาง จ.ลำพูน) ห้วงเวลาต่อมาพญามังไชย เจ้าหลวงเมืองแพร่และครอบครัวได้ทูลขอกษัตริย์พม่ามาอยู่ที่เมืองเชียงแสนใน พ.ศ.2330 ซึ่งเป็นปีเดียวกันที่กองทัพเมืองนครลำปางและเมืองนครเชียงใหม่ที่ขณะนั้นยังตั้งอยู่เมืองป่าซางยกทัพไปตีเมืองเชียงแสนเข้ากับกองทัพล้านนาอีกครั้งด้วยการเป็นไส้ศึกและเป็นผู้เปิดประตูเมืองเชียงแสน (ที่ชื่อว่าประตูท่าม่านหรือประตูทัพม่าน) เพื่อกวาดต้อนชาวเมืองเชียงแสนออกไปให้กองทัพกองทัพเมืองนครลำปางและเมืองนครเชียงใหม่ได้อย่างแสบสัน ขณะที่เหล่าบรรเจ้านายเมืองเชียงแสนที่สืบเชื้อเครือวงค์จากเจ้าฟ้าไทลื้อนั้นแตกกระสานซ่านเซ็นไปหลายทิศทาง บางรายก็ไปอยู่ไกลถึงเมืองนุนและเมืองเฮียมในดินแดนสิบสองพันนา บางส่วนก็หนีลี้ภัยข้ามแม่นํ้าโขงไปอยู่รอจนกระทั่งกองทัพ “อะแซหวุ่นกี้” มาช่วยกลับไปกู้เมืองเชียงแสนใหม่อีกคำรบ ขณะที่กองทัพพม่าก็เปิดยุทธการบุกลงมาทางทิศใต้เช่นเดียวกันโดยยกลงมาตีเมืองป่าซางแต่ไม่สำเร็จจึงถอยทัพกลับคืนไปเมืองเชียงแสนดังเดิม สลับกับกองทัพเชียงใหม่ ลำปาง แพร่ น่าน ยกขึ้นไปตีเมืองเชียงแสนปีครั้งในปี พ.ศ.2334 แต่กลับไม่สำเร็จ
แน่นอนว่าสงครามที่เกิดขึ้นต่อเนื่องหลาย ๆ ครั้งนั้นเป็นเงื่อนไขและปัจจัยที่ก่อให้เกิดพลัดถิ่นฐานของผู้คนให้กระจัดกระจายอาศัยไปสู่พื้นที่ต่าง ๆ และมีผลทำให้เมืองเชียงแสนต้องรกร้างและฟื้นตัวคืนกลับมาใหม่ซ้ำไปซ้ำมาเช่นนี้หลาย ๆ ครั้ง ซึ่งจะว่าไปถึงคำถามก่อนหน้าที่ว่า “คนเชียงแสน คือใคร” หรือ “ใครคือ คนเชียงแสน” (ที่แท้จริง) ก็คงยากที่จะฟันธงคำตอบไม่ได้อย่างตายตัวแน่นอน เพราะ ผู้คนและพลเมืองเชียงแสนในห้วงเวลาที่กล่าวมานั้นได้ถูกสลับสับเปลี่ยนเคลื่อนเข้า ๆ ออก ๆ มาก่อนหน้านั้นแล้ว
การหักหาญเอาชัยที่ไม่สามารถเกิดขึ้นได้อย่างสมบูรณ์ของกองทัพล้านนาที่มีต่อกองทัพพม่าหรือกองทัพพม่าที่มีต่อกองทัพล้านนานั้น ได้ถูกลากยาวเรื่อยมาจนกระทั่งในปี พ.ศ.2347 ได้มีการขอกำลังสนับสนุนจากสยามและล้านช้าง (เมืองนครเวียงจันทน์) ยกขึ้นตีพม่าออกจากเมืองเชียงแสน โดยในเอกสารบันทึกกล่าวถึง 5 กองทัพที่เข้าตีเมืองเชียงแสน และได้แบ่งชาวเชียงแสนไปให้ทั้ง 5 กองทัพ คือ กองทัพเชียงใหม่ กองทัพลำปาง กองทัพน่านกองทัพสยาม และกองทัพเวียงจันทน์และในแต่ละกองทัพใหญ่นั้น ยังมีกองทัพเมืองอื่นๆ เข้าร่วมด้วยโดยเฉพาะหัวเมืองบริวารที่ขึ้นต่อเมืองนครต่างๆส่วนในประเทศราชล้านนาหัวเมืองบริวารของเมืองนครต่าง ๆ ที่ร่วมรบก็ได้ส่วน แบ่งชาวเมืองเชียงแสนมาไว้บ้านเมืองนั้นๆ ด้วย
ความในพระราชพงศาวดารกรุงรัตนโกสินทร์ รัชกาลที่ 1 ของเจ้าพระยาทิพากรวงศ์ (ขำ บุนนาค) ระบุถึงเหตุการณ์ที่กองทัพสยามเข้าตีเมืองเชียงแสนอันนำมาสู่การอพยพโยกย้ายถิ่นฐานของผู้คนกว่า 23,000 คนไปตั้งถิ่นฐานในท้องที่ต่างๆ ว่ารัชกาลที่ 1 ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้สมเด็จพระสัมพันธวงศ์เธอ กรมหลวงเทพหริรักษ์ (ต้นราชสกุล “เทพหัสดิน”) พระยายมราช นายทัพ นายกอง ของทั้งสยามและล้านช้าง (เมืองนครเวียงจันทน์) ยกทัพขึ้นตีเมืองเชียงแสน โดยกองทัพพม่าใช้ยุทธวิธีตั้งมั่นอยู่ในเมือง กองทัพสยามและล้านช้าง (เมืองนครเวียงจันทน์) ล้อมเมืองเชียงแสนอยู่เป็นเวลาเดือนกว่าก็ไม่สามารถที่จะตีหักเอาได้โดยง่าย จึงได้มีการรอจนกระทั่งกองทัพพม่าก็ขัดสนและอดเสบียงอาหารจนได้ฆ่าโค กระบือ ช้าง ม้า กินทำให้ผู้คนในกองทัพเจ็บป่วยเป็นอันมากท้ายที่สุดจึงกองทัพพม่าก็ได้พ่ายแพ้แก่ทัพล้านนาภายใต้การสนับสนุนของกองทัพสยามซึ่งเป็น การขับไล่ทหารพม่าออกจากเชียงแสนได้โดยเบ็ดเสร็จสมบูรณ์เช่นที่ปรากฏอยู่ในวรรณกรรม “คร่าวเชียงแสนแตก[2]” (พ.ศ.2347) กล่าวถึงเหตุการณ์ในช่วงเวลานั้นไว้ว่า เข้าเมืองเชียงแสนได้ที่ประตูดินขอ ทหารที่เข้าเมืองเชียงแสนได้ ก็ไล่ฆ่าทหารพม่า พร้อมทั้งไล่จับเชลยชาวเมืองเชียงแสน รวมทั้ง พระภิกษุสงฆ์ สามเณร ทั้งหมด เมื่อรวบรวมชาวเมืองได้แล้ว ต่อมาจึงยกทัพออกจากเมืองเชียง แสนพร้อมชาวเมืองทั้งหมด เชียงแสนจึงถูกทิ้งร้างจากนั้นมา ดังเอกสารที่ได้บรรยายถึงเหตุการณ์ ณ เวลานั้นว่า
“….ลำเวียงไม้ หอเรือนทั้งหลาย สนามผามเพียง แทกเฝ้าฉางข้าว
ตูบหอผี โรงช้างเตาเหล้า ทั้งม้าหอ เทพา
ทั้งต้อมวิด เล้าเปิดตูบปลา ทั้งผาคา เล้าไก่ครกข้าว เผาจูดเลี้ยงทุกข์เววน
ทั้งหนุ่มทั้งเถ้า ปีดหนึ่งเหลียวหลัง หันพระธาตุเจ้า จอมคีรี
ภิวาทนิ้ว ต่างเหนือศีรษา ขอขราบลา หันพระธาตุเจ้า จอมคีรี… ภิวาทนิ้ว พระธาตุเจ้า………"
”คร่าวเชียงแสนแตก” ต้นฉบับคัมภีร์ใบลานวัดม่วงตื้ด ด. ม่วงตื้ด อ. เมือง จ.น่าน
ขณะเดียวกันรัชกาลที่ 1 ได้มีพระบรมราชโองการให้รื้อกำแพงเมืองและเผาเมืองเชียงแสนเพื่อป้องกันไม่ให้ทหารพม่ากลับมายึดเมืองคืนได้อีกครั้ง พร้อมทั้งได้มีการกวาดต้อนผู้คนและครัวเรือนให้มีการโยกย้ายถิ่นฐานจากแผ่นดินเกิดไปอยู่อาศัยในดินแดนอื่นเป็นจำนวนมาก การได้อพยพชาวเชียงแสนทั้งหมดให้ไปอาศัยอยู่ตามหัวเมืองต่างๆนั้น ได้มีการจัดแบ่งผู้คนออกเป็น 5 ส่วนส่งไปที่เมืองเชียงใหม่ 1 ส่วน เมืองนครลำปาง 1 ส่วน เมืองน่าน 1 ส่วน เมืองเวียงจันทร์ 1 ส่วน และถวายลงไป ณ กรุงเทพอีก 1 ส่วนโปรดให้ตั้งบ้านเรือนอยู่เมืองสระบุรีหรือเมืองราชบุรี
ผลจากการล่มสลายของเมืองเชียงแสนได้เป็นปัจจัยสำคัญในการช่วยเติมเต็มประชากรให้กับหัวเมืองอื่นๆ ในภาคเหนือของไทยที่กำลังขาดสมดุลเชิงประชากรและแรงงานประชากรให้แก่เมืองนครเชียงใหม่ เมืองนครลำปางและเมืองนครน่าน ขณะที่ประชากรอีกส่วนหนึ่งซึ่งถูกส่งลงไปยังกรุงเทพฯนั้น ได้ไปตั้งถิ่นฐานในเมืองสระบุรีและเมืองราชบุรีอันเป็นหัวเมืองชั้นในของราชธานีกรุงรัตนโกสินทร์ด้วยเหตุผลที่ว่าเมืองเหล่านี้อยู่ไกลจากแหล่งที่อยู่อาศัยดั้งเดิมจึงเป็นการป้องกันการหลบหนีและเป็นกำลังให้กับเมืองชั้นในในการป้องกันราชธานียามศึกสงคราม รวมถึงเป็นแรงงานในภาคเกษตรกรรม เป็นกำลังคนในการฟื้นฟูบ้านเมืองและการเก็บเกี่ยวผลประโยชน์เข้าแผ่นดิน
ขณะที่เชลยชาวเชียงแสนกลุ่มที่ถูกส่งไปเมืองเวียงจันทน์ถูกกวาดต้อนโดยกองทัพของเจ้าอนุวงศ์ราชอนุชาของเจ้าอินทวงศ์ กษัตริย์เมืองนครเวียงจันทน์นั้นส่วนหนึ่งเจ้าอนุวงศ์ให้ชาวเชียงแสนไปอยู่ร่วมกับชาวเมืองเชียงใหม่ที่อยู่แต่เดิมในเมืองศรีเชียงใหม่ (เดิมเมืองศรีเชียงใหม่ขึ้นเมืองนครเวียงจันทน์ ปัจจุบันคือ อ.ศรีเชียงใหม่ จ.หนองคาย) ต่อมาคราศึกเจ้าอนุวงศ์ในปี พ.ศ.2370 กองทัพสยามตีกวาดต้อนชาวเมืองนครเวียงจันทร์และไพร่ชาวเชียงแสนที่เคยถูกกวาดต้นลงมาก่อนหน้าเดินทางลงไปยังกรุงเทพเมื่อเดินทางผ่านเมืองนครจันทึก (อ.สีคิ้ว จ.นครราชสีมา) พบว่ามีกลุ่มชาวเชียงแสนด้วยกันตั้งถิ่นฐานอยู่ จึงขออนุญาตตั้งถิ่นฐานอยู่ร่วมกับชาวไทยวนเชียงแสนที่สีคิ้วแต่สันนิษฐานว่ายังคงเหลือชาวไทยวนไทลื้อเมืองเชียงแสนบางส่วนตกค้างอยู่เมืองนครเวียงจันทน์ ที่สามารถหลบหนีการกวาดต้อนครั้งนี้ แต่ยังไม่มีหลักฐาน
นอกจากนี้ ยังมีชาวไทยวน ชาวไทลื้อ และชาวอื่นๆ จากเมืองเชียงแสนที่ถูกกวาดต้อนมาสู่พื้นที่ของเมืองสระบุรีโดยได้ตั้งถิ่นฐานกระจายอยู่ในหลายอำเภอและมีการตั้งถิ่นฐานหนาแน่นในอำเภอเมืองและอำเภอเสาไห้ ซึ่งชาวเชียงแสนที่มาตั้งหมู่บ้านต่างๆ ก็จะมีผู้นำพามาตั้งและดูแล เช่น ปู่เจ้าฟ้า นำมาตั้งหมู่บ้านเจ้าฟ้า เมื่อสิ้นชีวิตชาวบ้านได้นับถือปู่เจ้าฟ้าเหล่านี้ในฐานะผีบรรพชนซึ่งมักจะมีการประทับทรงเจ้าปู่ในช่วงปีใหม่สงกรานต์อีกด้วยเช่นเดียวกันกับช่วงภายหลังศึกเจ้าอนุวงศ์ที่ได้มีการกวาดต้อนชาวลาวเวียงจันทน์เข้ามาสู่เขตแดนสยามก็อาจสันนิษฐานได้ด้วยการขอลงหลักปักฐานของเชลยอพยพที่เมืองสระบุรีในปี พ.ศ.2370 นี้ คงไม่ได้เพียงชาวเชียงแสนที่ขอตั้งถิ่นฐานอยู่ร่วมกับชาวเชียงแสนด้วยกันเพียงเท่านั้น หากยังอาจจะมีชาวลาวเวียงจันทน์ในครั้งนี้ก็ตั้งถิ่นฐานในเมืองสระบุรีด้วยเช่นกัน
อย่างไรก็ตาม ประเด็นที่ชาวเชียงแสนที่เมืองสระบุรีที่เรียกตนเองติดปากว่า “คนยวน” หรือ “ชาวยวน” คำนี้สันนิษฐานว่าไม่ได้บ่งบอกถึงชาติพันธุ์ว่าเป็น “ไทยวน”เพียงอย่างเดียว แต่มีนัยยะบ่งบอกว่ามาจากเมืองยวน โดยที่มีชาติพันธุ์อื่น ๆ เข้ามาอยู่ร่วมกันหลากหลายกลุ่มทั้งไทยวน ไทลื้อ และกลุ่มชาติพันธุ์อื่นๆ ในเมืองเชียงแสนหรือเมืองยวน เมื่อมาอยู่เสาไห้ เมืองสระบุรี จึงบ่งบอกว่าเป็น “คนเชียงแสน” “ชาวเชียงแสน” หรือ “คนยวน” “ชาวยวน” ตามที่รับรู้มาจากบรรพบุรุษ เพราะในตำนานพื้นเมืองเชียงแสนก็ปรากฏเรียกเมืองเชียงแสนว่าเป็น “เมืองยวน” หรือ “เมืองไทยวน” กรณีนี้ก็เหมือนกับชาติพันธุ์อื่น ๆ ที่โยกย้ายถิ่นฐาน เช่น ไทลื้อเมืองยอง (ปัจจุบันเมืองยองมีสถานะเป็นอำเภอหนึ่งของจังหวัดเชียงตุง ประเทศเมียนมา) กองทัพจากล้านนาไปตีกวาดต้อนมาปีเดียวกันกับตีเมืองเชียงแสนใน พ.ศ.2347 เมื่อถูกนำมาอยู่เมืองนครลำพูน ก็เรียกตนเองว่าเป็น “คนยอง” หรือ “ชาวยอง” ตามชื่อเมืองที่จากมา ส่วนทางด้านชาติพันธุ์กลุ่มหลักในเมืองยองนั้นเป็นคนไทลื้อ
นอกจากนี้ ยังพบว่ามีกลุ่มชาวเชียงแสนที่เคลื่อนย้ายเข้าสู่เมืองราชบุรีซึ่งแรกเริ่มเดิมทีนั้นได้มีการตั้งถิ่นฐานบริเวณบ้านไร่ (ต.บ้านไร่อ.เมือง จ.ราชบุรี) ริมฝั่งขวาของแม่นํ้าแม่กลอง เมืองราชบุรี แล้วจึงขยายออกไปที่ตำบลดอนตะโก ตำบลคูบัว ตำบลห้วยไผ่ ตำบลดอนแร่ ตำบลหินกอง (อ.เมือง จ.ราชบุรี) ตำบลหนองโพ ตำบลบ้านสิงห์ (อ.โพธาราม จ.ราชบุรี) ตำบลหนองปลาหมอ (อ.บ้านโป่ง จ.ราชบุรี) ตำบลรางบัว (อ.จอมบึง จ.ราชบุรี) ตำบลสวนผึ้ง (อ.สวนผึ้ง จ.ราชบุรี) และตำบลทุ่งหลวง (อ.ปากท่อ จ.ราชบุรี) เป็นต้น ปัจจุบันเชื้อสายชาวเชียงแสนในจังหวัดสระบุรีมีประมาณ 80,000 กว่าคน ชาวเชียงแสนเมืองราชบุรียังคงมีการสืบทอดผ้าทอตีนจก หัวหน้าชุมชนชาวเชียงแสนในเมืองราชบุรีที่ปรากฏ เช่น พระณรงค์ภักดี เป็นต้น ตลอดจนได้มีการขยายชุมชนออกไปตั้งบ้านเรือนหาแหล่งทำกินอีกหลายพื้นที่ในบริเวณลุ่มน้าแม่กลองในเขตจังหวัดราชบุรีต่อเนื่องไปจนถึงจังหวัดกาญจนบุรีและนครปฐม
อ่านร้อยเรียงเรื่องเชียงแสน พลวัตการพลัดถิ่นฐานของผู้คนบนสายธารประวัติศาสตร์ สงครามและสนามรบ ที่ https://www.lannernews.com/07052567-02/
เรื่อง: นวลคำ ขะยอมแดง สุภาพชนคนเมือง

08/05/2024

#ศิลปินศิลปาธร

‘Thailand Biennale, Chiang Rai 2023’ เรียนรู้ เข้าใจ และตั้งคำถาม รวมความรู้สึกหลังชมงานศิลปะที่เชียงราย 07/05/2024

#ไทยแลนด์เบียนนาเล่เชียงราย2023

‘Thailand Biennale, Chiang Rai 2023’ เรียนรู้ เข้าใจ และตั้งคำถาม รวมความรู้สึกหลังชมงานศิลปะที่เชียงราย Urban Creature ได้มีโอกาสไปชมบางส่วนใน ‘Thailand Biennale, Chiang Rai 2023’ จึงอยากพาไปย้อนชมผลงานเหล่านั้น เพื่อซึมซับความงดงามและตีค.....

06/05/2024

Hmong textile artist Tcheu Siong's spiritual journey through cloth captivates audiences at the German Embassy, showcasing her unique creations inspired by dreams and spirits.

⬇⬇Read more below:

ต้องการให้ธุรกิจของคุณ ธุรกิจ ขึ้นเป็นอันดับหนึ่ง พิพิธภัณฑ์ ใน Chiang Rai?
คลิกที่นี่เพื่อเป็นสมาชิก?

วิดีโอทั้งหมด (แสดงผลทั้งหมด)

(ตอนที่ 2)>>2X FWD >> ดร.กฤติยา กาวีวงศ์ ผู้อำนวยการฝ่ายศิลป์ Jim Thompson Art Centre แลกเปลี่ยนเกี่ยวกับการพัฒนาศิลปะขอ...
(ตอนที่ 1)>>2X FWD >> ดร.กฤติยา กาวีวงศ์ ผู้อำนวยการฝ่ายศิลป์ Jim Thompson Art Centre แลกเปลี่ยนเกี่ยวกับการพัฒนาศิลปะขอ...
#ผ้าป้าติ๋ว #ผ้าฝ้ายย้อมคราม #เขมราฐ #อุบลราชธานี
#ครามเป็นยา #คราม #ผ้าป้าติ๋ว #ผ้าฝ้ายย้อมคราม #เขมราฐ #อุบลราชธานี #ปลูกคราม #เมล็ดคราม
#Cheongju #jincheon #artvillage #sitevisit #ccb2025 🇰🇷✨@cheongju_craftbiennale @eine_haus @jeab_project304
#PhilippeParreno at Leeum Museum of Art
5 มกราคม 2567 #สัมภาษณ์ อาจารย์ #ศรีวรรณเจนหัตถการกิจ ที่ ศรีดอนมูล อาร์ต สเปซ #เชียงแสน #ไทยแลนด์เบียนนาเล่เชียงราย2023...
#ควายดินดากอาร์ทเฮ้าส์ @khwaidindaakarthouse @jeab_project304 @airmanuair @songdej5 @doydindang1 #ไทยแลนด์เบียนนาเล่เชีย...
#โครงการ #ปาเจียงแสนปิ๊กบ้าน #พิพิธภัณฑ์บ้านฝิ่น #เชียงแสน @houseofopium_museum @jeab_project304 @airmanuair @songdej5 @...
ตามรอย #วัดป่าแดง #วัดหลวงเรือดอน #เชียงแสน #thailandbiennalechiangrai2023 #ไทยแลนด์เบียนนาเล่เชียงราย2023 #พุทธศิลปกรรม...
คุณชวภณ ข้าวสามรวง เจ้าหน้าที่จากสำนักงานศิลปวัฒนธรรมร่วมสมัย กระทรวงวัฒนธรรม #ไทยแลนด์เบียนนาเล่เชียงราย2023 #thailandb...
คุณชวภณ ข้าวสามรวง เจ้าหน้าที่จากสำนักงานศิลปวัฒนธรรมร่วมสมัย กระทรวงวัฒนธรรม #ไทยแลนด์เบียนนาเล่เชียงราย2023 #thailandb...

ประเภท

เบอร์โทรศัพท์

เว็บไซต์

ที่อยู่


99 M2 Phahonyothin Road, Nang Lae, Mueang Chiang Rai District
Chiang Rai
57100

เวลาทำการ

อังคาร 13:00 - 18:00
พุธ 13:00 - 18:00
พฤหัสบดี 13:00 - 18:00
ศุกร์ 13:00 - 18:00
เสาร์ 13:00 - 18:00
อาทิตย์ 13:00 - 18:00

หอศิลป์ อื่นๆใน Chiang Rai (แสดงผลทั้งหมด)
Singha Klai's Gallery Shop Singha Klai's Gallery Shop
628 Singhakhai Road, Amphoe
Chiang Rai, 57000

พื้นที่แสดงผลงานและจำหน่ายผลงานศิลปะ ในคลังสะสมของบ้านสิงหไคล

Craftsman Cafe & Spaces Craftsman Cafe & Spaces
Chiang Rai, 57000

Cafe of Craftsman family in Chiang Rai,Thailand

9 Art Gallery / Architect Studio 9 Art Gallery / Architect Studio
786/11 Moo 3
Chiang Rai, 57000

สำนักงานสถาปนิก และนิทรรศการแสดงภาพศิลปะ เชียงราย

Ryokan Art Center Ryokan Art Center
ถนน ศรีทรายมูล
Chiang Rai, 57000

Ryokan Art Center is a small art gallery with various of art activities. We’re located in Hachimo

Hangpui Art Space Hangpui Art Space
323/16 Moo 5 Rim Kok, Mueang
Chiang Rai, 57100

Located on the outskirts of Chiang Rai city. Providing exhibitions to extend the possibility of living contemporarily and conversations to develop art projects. Visit by appointme...

ขัวศิลปะ ขัวศิลปะ
บ้านขัวแคร่
Chiang Rai, 57100

ข้อมูลเพิ่มเติม โทร 08-8418-5431 e-mail: [email protected]

Angkrit Gallery Angkrit Gallery
99 หมู่ 2 ถนนพหลโยธิน ต. นางแล อ. เมือง จ. เชียงราย
Chiang Rai, 57100

Angkrit Ajchariyasophon was born on 1976 in Chiang Rai. Graduated from Chiang Mai university Master Degree in Media Arts and Design. Angkrit is the founder of Angkrit Gallery (2008...

จนาศิลป์อาร์ตแกลลอรี จนาศิลป์อาร์ตแกลลอรี
276 หมู่1 ต. ดอยลาน
Chiang Rai, 57000

ซื้อขายประมูลภาพวาดสวยๆ หลากสไตล์ สนใจ โทร 081-015-2696 Line 0810152696 ครับ

Project S O D A Project S O D A
Chiang Rai, 57000

วาดจินตนาการ วาดจินตนาการ
948/3ถนนร่วมจิตต์ถวาย
Chiang Rai, 57000

การเดินทางบนเส้นทางแห่งการเรียนรู?

หอศิลป์ฮอมแฮงฮัก หอศิลป์ฮอมแฮงฮัก
ถนน พหลโยธิน
Chiang Rai, 57100

เป็นที่แสดงผลงานศิลปะสองแบบสองสไต?

Grivinsó Grivinsó
Chiang Rai, 57000

Mystery Art and Magic Art Handwork Product of Thailand งานประดิษฐ์แปลกๆ ลึกลับ เร้นลับ เวทมนต์ งานฝีมือ ผลิตภันฑ์ทำมือ