สพฐ. SEP for SDGs School

สพฐ. SEP for SDGs School

ตำแหน่งใกล้เคียง โรงเรียน

สำนักทดสอบทางการศึกษา สพฐ.
สำนักทดสอบทางการศึกษา สพฐ.
กระทรวงศึกษาธิการ ถนนราชดำเนินนอก เขตดุสิต กรุงเทพมหานคร, Bangkok
ประชาสัมพันธ์ศูนย์อาชีวศึกษาทวิภาคี
ประชาสัมพันธ์ศูนย์อาชีวศึกษาทวิภาคี
สำนักงานคณะกรรมการการอาชีวศึกษา 319 ถนนราชดำเนินนอก แขวง-เขตดุสิต, Bangkok
1S2Chistory
1S2Chistory
Bangkok 10300
OBEC Library Automation
OBEC Library Automation
Red Cross Youth
Red Cross Youth
Bangkok 10300
กลุ่มพัฒนาระบบการประกันคุณภาพการศึกษาขั้นพื้นฐาน สำนักทดสอบทางการศึกษา สพฐ.
กลุ่มพัฒนาระบบการประกันคุณภาพการศึกษาขั้นพื้นฐาน สำนักทดสอบทางการศึกษา สพฐ.
กระทรวงศึกษาธิการ ถนนราชดำเนินนอก เขตดุสิต กรุงเทพมหานคร, Bangkok
สำนักพัฒนากิจกรรมนักเรียน
สำนักพัฒนากิจกรรมนักเรียน
Bangkok 10300
Obecarya
Obecarya
สำนักพัฒนานวัตกรรมการจัดการศึกษา
สำนักพัฒนานวัตกรรมการจัดการศึกษา
กระทรวงศึกษาธิการ, Bangkok
Ministry of Education Thailand
Ministry of Education Thailand
ถนนราชดำเนินนอก, Bangkok
สำนักบริหารงานการศึกษาพิเศษ
สำนักบริหารงานการศึกษาพิเศษ
วังจันเกษม ถนนราชดำเนินนอก แขวงดุสิต เขตดุสิต, Bangkok

ข้อมูลการติดต่อ, แผนที่และเส้นทาง,แบบฟอร์มการติดต่อ,เวลาเปิดและปิด, การบริการ,การให้คะแนนความพอใจในการบริการ,รูปภาพทั้งหมด,วิดีโอทั้งหมดและข่าวสารจาก สพฐ. SEP for SDGs School, การศึกษา, สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน, Phra Nakhon.

24/11/2023

มาเรียนรู้ลักษณะสิ่งแวดล้อมทางกายภาพที่ส่งผลต่อวิถีการดำเนินชีวิตและปัญหาแต่ละภาคของไทยกันครับ

ภาคเหนือ
https://youtu.be/Ci6K4PdGfck?feature=shared
ภาคกลาง
https://youtu.be/NwwqlTJLI0Q?feature=shared
ภาคตะวันตก
https://youtu.be/NwwqlTJLI0Q?feature=shared
ภาคตะวันออก
https://youtu.be/NwwqlTJLI0Q?feature=shared
ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ
https://youtu.be/NwwqlTJLI0Q?feature=shared
ภาคใต้
https://youtu.be/NwwqlTJLI0Q?feature=shared

วิดีโอนี้ถูกสร้างขึ้นเพื่อใช้เป็นช่องทางการเรียนรู้ของนักเรียนที่อยากทบทวนบทเรียนหลังจากเรียนในคาบ และนักเรียนที่ขาดเรียน ในรายวิชา ส31115 ประเทศไทยและกรุงเทพฯเพื่อการพัฒนา ม.4

01/11/2023

📌

●📌 เผยแพร่แล้ว ! "𝐒𝐃𝐆 𝐇𝐢𝐠𝐡𝐥𝐢𝐠𝐡𝐭𝐬 𝟐𝟎𝟐𝟑: 𝐓𝐡𝐚𝐢𝐥𝐚𝐧𝐝'𝐬 𝐔𝐧𝐬𝐮𝐬𝐭𝐚𝐢𝐧𝐚𝐛𝐥𝐞 𝐃𝐞𝐯𝐞𝐥𝐨𝐩𝐦𝐞𝐧𝐭 𝐑𝐞𝐯𝐢𝐞𝐰" ไฮไลต์สถานการณ์สำคัญของ​ "ความไม่ยั่งยืน" ในประเทศไทย 📌●
ปี พ.ศ. 2566 นับเป็นหมุดหมายสำคัญของวาระการพัฒนาที่ยั่งยืน ด้วยผ่านเวลามาครึ่งทางแล้วในการลงมือทำเพื่อจะบรรลุเป้าหมายการพัฒนาที่ยั่งยืน (SDGs) ให้ทันตามกำหนดภายในปี พ.ศ. 2573 จึงเป็นโอกาสอันดีที่เราจะได้ใช้เวลาชั่วขณะนี้มองย้อนและทบทวนกลับไปยังความพยายามในห้วงเวลาที่ผ่านมา ไม่เพียงแค่ให้เห็นความสำเร็จเท่านั้น แต่ยังรวมไปถึงต้องระบุความท้าทายที่ยังทำให้ "ความไม่ยั่งยืน" คงอยู่ให้ได้
เป็นปีที่สามแล้วที่ ศูนย์วิจัยและสนับสนุนเป้าหมายการพัฒนาที่ยั่งยืน (SDG Move) ร่วมกับสำนักงานพัฒนานโยบายสุขภาพระหว่างประเทศ (IHPP) ทำหน้าที่ติดตามความเคลื่อนไหวและความก้าวหน้าของเป้าหมายการพัฒนาระดับโลกชุดนี้ ทั้งในไทยและนานาชาติ การทำงานของปีนี้จึงเริ่มต้นด้วยการค้นหาความไม่ยั่งยืนของประเทศไทยผ่านผลการศึกษาจากหลากหลายหน่วยงานและการรับฟังความคิดเห็นผู้อ่าน ผ่านธีม "Thailand's Unsustainable Development Review" เพื่อทำความเข้าใจความซับซ้อนของประเด็นปัญหาเหล่านี้และจะเป็นจุดเริ่มต้นให้ทุกภาคส่วนร่วมหาหนทางแก้ไขอย่างมีประสิทธิภาพร่วมกัน
SDG Highlights 2023: Thailand's Unsustainable Development Review ฉบับนี้ รวบรวมบทวิเคราะห์เชิงลึกจากนักวิชาการและผู้เชี่ยวชาญว่าด้วยสถานการณ์ "ความไม่ยั่งยืน" ที่สำคัญของประเทศไทย ทั้งในมิติระบบผลิตอาหาร ทรัพยากรธรรมชาติทางทะเล มลพิษทางอากาศกับสุขภาพ ความปลอดภัยบนท้องถนน ค่าครองชีพและความยากจน การเปลี่ยนผ่านพลังงาน และการทุจริตคอร์รัปชัน พร้อมสรุปบทสนทนาที่ตั้งคำถามต่อรากฐานความไม่ยั่งยืนที่แท้จริงของประเทศไทย
ร่วมกันเปิดพรมและหยิบปัญหาความไม่ยั่งยืนเหล่านี้ออกมาพูดคุยและถกเถียงอย่างตรงไปตรงมา ผ่าน "SDG Highlights 2023: Thailand's Unsustainable Development Review" เพื่อให้ความพยายามบรรลุเป้าหมายการพัฒนาที่ยั่งยืน ใกล้ความเป็นจริงมากขึ้น
*ดาวน์โหลด SDG Highlights 2023: Thailand's Unsustainable Development Review หรืออ่านในรูปแบบ E-book ได้ที่: https://www.sdgmove.com/2023/11/01/sdg-highlights-2023/
======

20/10/2023

✨ วันนี้เรามีหนังสือดี ๆ มาฝากทุกท่านค่ะ ✨

หนังสือชุด 4 เล่ม "คู่มือการวางแปลงตัวอย่าง การศึกษาแหล่งสะสมคาร์บอน และการเก็บข้อมูลภาคสนามในพื้นที่ป่าธรรมชาติ" จากพี่ชิงชัย วิริยะบัญชา นักวิจัยผู้มีประสบการณ์มากกว่า 35 ปี และทีมนักวิจัยของกรมอุทยานแห่งชาติ สัตว์ป่า และพันธุ์พืช ได้กลั่นองค์ความรู้ออกมา เป็นคู่มือทางด้านระบบนิเวศป่าไม้รวมถึงเทคโนโลยีที่เกี่ยวข้องเพื่อช่วยให้ง่ายต่อการนำไปศึกษารวมถึงการทำวิจัยต่อไป

เล่ม 1 คู่มือการวางแปลงตัวอย่างถาวรและการเก็บข้อมูลภาคสนาม
เล่ม 2 คู่มือการใช้ Google Earth Pro สำหรับการวางแปลงตัวอย่างถาวร
เล่ม 3 คู่มือการศึกษาแหล่งสะสมคาร์บอนในพื้นที่ป่าธรรมชาติ
เล่ม 4 ข้อมูลภาคสนาม การศึกษาการเปลี่ยนแปลงของระบบนิเวศ และการกักเก็บคาร์บอนในพื้นที่ป่าไม้ของประเทศไทย

สามารถดาวน์โหลดในรูปแบบ PDF โดยสแกน QR CODE ในภาพได้เลย
หรือท่านใดต้องการอ่านเป็น E-BOOK ให้คลิกลิ้งค์ที่แนบมานี้
➡️ https://pubhtml5.com/bookcase/bmwu/

อย่าลืมกดถูกใจ กดติดตาม เพื่อให้ไม่พลาดข่าวสาร บทความวิชาการดี ๆรวมไปถึงเรื่องราวที่น่าสนใจ ที่ทีมงานทุกคนตั้งใจคัดสรรนำเสนอนะคะ

#เรื่องน่ารู้จากนักวิจัย #กลุ่มงานวิจัยระบบนิเวศป่าไม้และสิ่งแวดล้อม #ระบบนิเวศป่าไม้ #สำนักวิจัยการอนุรักษ์ป่าไม้และพันธุ์พืช #กรมอุทยานแห่งชาติสัตว์ป่าและพันธุ์พืช

05/10/2023

ข่าวประชาสัมพันธ์
ชวนอ่านหนังสืออิเลคทรอนิคส์ (E-book) ห้องสมุดออนไลน์ สำนักงานวัฒนธรรมจังหวัดเชียงราย

📙 ”วิถีชุมชน โดยใช้เครื่องมือ 7 ชิ้น”
ชุมชนในพื้นที่องค์การบริหารส่วนตำบลบ้านโป่ง ตำบลบ้านโป่ง อำเภอเวียงป่าเป้า จังหวัดเชียงราย ประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2566
อ่านเลย 👉 https://online.anyflip.com/voqhu/twsf/mobile/index.html
สนับสนุนกระบวนการจัดเก็บข้อมูลโดยใช้เครื่องมือ 7 ชิ้น โดย ศูนย์มานุษยวิทยาสิรินธร (องค์การมหาชน) กระทรวงวัฒนธรรม ดำเนินการโดย สำนักงานวัฒนธรรมจังหวัดเชียงราย องค์การบริหารส่วนตำบลบ้านโป่ง และเครือข่ายทางวัฒนธรรม
----
จัดทำโดย กลุ่มส่งเสริมศาสนา ศิลปะและวัฒนธรรม สำนักงานวัฒนธรรมจังหวัดเชียงราย
#วิถีชุมชน #เครื่องมือเจ็ดชิ้น #จังหวัดเชียงราย #อบตบ้านโป่ง #สำนักงานวัฒนธรรมจังหวัดเชียงราย #ชุมชน #ชาติพันธุ์ #ศมส #ศูนย์มานุษยวิทยาสิรินธร

Photos from สมาคมรักษ์ทะเลไทย's post 02/10/2023

ชวนติดตาม เพจนี้ ข้อมูลดีๆ มีประโยชน์ น่าสนใจค่ะ

#อารยมหาสมุทร
กนกอร หงษ์วิเศษ Phanida Chuchuaysuwan Preecha Laji

Photos from Urban Futures & Policy's post 01/10/2023

🎯

ส.ส้ม กิตยาภรณ์
Obecarya

29/09/2023

“แมลงน้ำ”
ช่วยรักษาสมดุลของระบบนิเวศ
อีกทั้ง ยังเป็นตัวชี้วัดคุณภาพน้ำทางชีวภาพของแหล่งน้ำได้ดีอีกด้วย
้ชีวิตอย่างชาญฉลาดคืนธรรมชาติสู่สมดุล

Photos from นิเวศเกษตร Biodiversity and Agroecology's post 24/09/2023
11/08/2023

ความหลากหลายทางชีวภาพ หรือ biological diversity คือความหลากหลาย (diversity) ของสิ่งมีชีวิตทั้งหมดและระบบนิเวศ

โดยเมื่อกล่าวถึงความหลากหลายทางชีวภาพนั้น จะหมายถึงความหลากหลายใน 3 ระดับคือ

1) ความหลากหลายของระบบนิเวศ (ecosystem diversity) ซึ่งโอบล้อมความหลากหลายของสิ่งมีชีวิตต่างๆ การทำลายความหลากหลายของระบบนิเวศย่อมเป็นการทำลายความหลากหลายของชนิดและสายพันธุ์สิ่งมีชีวิตทั้งหมด ความหลากหลายของระบบนิเวศยังครอบคลุมถึงระบบนิเวศเกษตรต่างๆ ที่ค้ำจุนชนิดและสายพันธุ์พืชปลูกหรือสัตว์เลี้ยงด้วย

2) ความหลากหลายของชนิดสิ่งมีชีวิต (species diversity) ได้แก่ พืช สัตว์ และสิ่งมีชีวิตประเภทอื่นๆ ที่ปรากฎอยู่ในโลก ทั้งที่อยู่ในระบบนิเวศตามธรรมชาติและระบบนิเวศเกษตร ซึ่งในหลายกรณีระบบนิเวศเกษตรยังช่วยสร้างให้เกิดความหลากหลายทางชีวภาพให้มากขึ้นด้วยก็ได้

3) ความหลากหลายของสายพันธุ์ และความหลากหลายทางพันธุกรรม (varieties and genetic diversity) เป็นความหลากหลายภายในชนิดของสิ่งมีชีวิตแต่ละชนิด รวมทั้งความหลากหลายของหน่วยพันธุกรรมที่อยู่ในสายพันธุ์ต่างๆของทั้งพืชและสัตว์ต่างๆ

ความหลากหลายทั้ง 3 ระดับเกี่ยวข้องสัมพันธ์กัน การอนุรักษ์และฟื้นฟูความหลากหลายทางชีวภาพจึงไม่อาจแยกส่วน เช่น การรักษาความหลากหลายของชนิดและสายพันธุ์ของพืชและสัตว์ ไม่อาจเกิดขึ้นจากการอนุรักษ์ชนิดและสายพันธุ์แต่เพียงอย่างเดียว โดยปราศจากการรักษาระบบนิเวศทั้งหมดไปพร้อมกัน

เช่นเดียวกันกับ การฟื้นฟูชนิดหรือสายพันธุ์พืชและสัตว์ในระบบเกษตรกรรมที่เป็นปัญหาใหญ่ของโลกปัจจุบันนั้น จำเป็นต้องสร้างระบบนิเวศเกษตรที่เกื้อกูลให้เกิดความหลายทางพันธุกรรมการเกษตรไปพร้อมกันด้วย

Photos from มูลนิธิปิดทองหลังพระ สืบสานแนวพระราชดำริ's post 17/07/2023
12/07/2023

SDG Move TH เชื่อมไทย เชื่อมโลก เพื่อขับเคลื่อนเป้าหมายการพัฒนาที่ยั่งยืน

10/07/2023

มากกว่า 40 เปอร์เซ็นต์ ของก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ที่มนุษย์ปล่อยสู่ธรรมชาตินั้นถูกดูดซับไว้โดยมหาสมุทร ในแง่หนึ่งอาจเหมือนเป็นเรื่องดีที่มหาสมุทรช่วยลดปริมาณก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ในชั้นบรรยากาศลงได้ แต่สิ่งที่เกิดขึ้นนี้ก็มีผลลัพธ์ด้านลบอยู่ไม่น้อย
เพราะเมื่อก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ละลายลงในน้ำจะก่อให้เกิดกรดคาร์บอนิก ซึ่งจะส่งผลกระทบต่อสิ่งมีชีวิตที่มีธาตุแคลเซียมเป็นองค์ประกอบ เช่น ปะการังและสัตว์ที่มีเปลือกแข็งหุ้ม
ขณะเดียวกัน การเป็นกรดในมหาสมุทรยังกระทบต่อสิ่งมี ชีวิตอื่นๆ ที่ไม่เกี่ยวข้องกับสิ่งมีชีวิตที่มีธาตุแคลเซียมเป็นองค์ประกอบ ตัวอย่างเช่น แพลงก์ตอนพืช ที่ใช้กระบวนการสังเคราะห์แสงในการเปลี่ยนก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ในชั้นบรรยากาศ มาเป็นองค์ประกอบคาร์บอนแก่ตัวเอง
โดยไดอะตอมในตัวของแพลงก์ตอนพืชที่มีส่วนรับผิดชอบ 40 เปอร์เซ็นต์ ของกระบวนการ ไดอะตอมใช้สารละลายซิลิก้า (องค์ประกอบใกล้เคียงกับแก้ว) ในการสร้างผนังเซลล์ เจ้าสิ่งมีชีวิตคล้ายแก้วนี้มีน้ำหนักมากและสามารถจมลงสู่ก้นทะเลได้ไวกว่าแพลงก์ตอนพืชชนิดอื่น
ซึ่งสามารถเพิ่มอัตราการนำก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์จากชั้นบรรยากาศลงสู่ก้นทะเล ที่ที่มันจะถูกเก็บไว้ไปอีกนับพันปี ซึ่งทำให้เจ้าไดอะตอมเป็นผู้เล่นคนสำคัญในวัฏจักรคาร์บอนของโลก
แต่เมื่อมหาสมุทรมีความเป็นกรดเพิ่มขึ้น ขนาดของไดอะตอมที่ว่าก็จะเล็กลง หมายความว่ามันสร้างซิลิก้าได้น้อยลง ทำให้น้ำหนักมันน้อยเกินกว่าจะจมลงสู่ก้นทะเลอย่างรวดเร็ว ผลสุดท้ายจึงทำให้อัตราของปริมาณก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์จากชั้นบรรยากาศจมลงสู่ก้นทะเลน้อยลง
สามารถอ่านเรื่องราวทะเลกรดที่นำไปสู่การสูญพันธุ์ต่อได้ที่ e-book การสูญพันธุ์ ครั้งที่ 6 จัดทำโดยมูลนิธิสืบนาคะเสถียร
สามารถดาวน์โหลดได้ที่ https://citly.me/tvphW (ไม่เสียค่าใช้จ่าย)

28/06/2023

📣ขอเชิญร่วมรับฟังเสวนา เสี่ยงขั้นสุด สภาพภูมิอากาศแปรปรวนสุดขั้ว “แนวทางบริหารจัดการความเสี่ยงสุดขั้วเพื่อระงับเหตุฉุกเฉินจากความผันผวนขั้นรุนแรงของสภาพอากาศ”

🔸The Active ร่วมกับ ศูนย์วิจัยวิศวกรรมน้ำและโครงสร้างพื้นฐาน มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าพระนครเหนือ ชวนสะท้อนปัญหาโลกร้อนที่เราต้องเร่งแก้ไข เมื่อโลกกำลังแปรปรวน พร้อมหาทางออกร่วมกัน!

บริหารนโยบายสู่ปฏิบัติการขั้นสุดเพื่อการบรรลุเป้าหมาย
✅ทองเปลว กองจันทร์ อดีตปลัดกระทรวงเกษตรและสหกรณ์

บริหารจัดการศูนย์บัญชาการเหตุการณ์ต่อภาวะฉุกเฉินสถานการณ์น้ำ
✅ชยันต์ ศิริมาศ ผู้ว่าราชการจังหวัดนครสวรรค์

คาดการณ์น้ำล่วงหน้าเพื่อการบริหารจัดการภาวะฉุกเฉินสถานการณ์ น้ำ
✅ผศ.ภาณุวัฒน์ ปิ่นทอง ผู้เชี่ยวชาญด้านการบริหารจัดการน้ำ

📍 วันพุธที่ 28 มิถุนายน 2566 เวลา 09.30-12.30 น.

📌 ติดตามชม ผ่านทาง Facebook - YOUTUBE : Thai PBS / The Active

💻https://www.facebook.com/theactive.net/posts/658100859678599

#สภาพอากาศสุดขั้ว

21/03/2023

●Area Need ●
บทสรุปความต้องการของพื้นที่: สิ่งที่ภาคตะวันออกเฉียงเหนือต้องการเพื่อแก้ปัญหาสำคัญ
#ประเด็นการพัฒนา 5 ลำดับแรกที่พื้นที่ภาคตะวันออกเฉียงเหนือให้ความสำคัญในปีที่ 1 และปีที่ 2 นั้นตรงกันทุกประเด็น โดยแบ่งตามมิติต่าง ๆ ดังนี้
🔶มิติเศรษฐกิจ 1 ประเด็น คือ ปัญหาความเหลื่อมล้ำ
🔶มิติสังคม 2 ประเด็น ได้แก่ ปัญหาความยากจน และ ปัญหาการพัฒนาคนของภาคอยู่ในระดับต่ำ
🔶มิติสิ่งแวดล้อม 2 ประเด็น ได้แก่ ภัยแล้งและคุณภาพของน้ำในพื้นที่ และ การจัดการขยะและของเสีย

อย่างไรก็ดีมีความเปลี่ยนแปลงในการลำดับประเด็น เนื่องจากประเด็นที่พื้นที่ให้ความสำคัญมากที่สุดในปีที่ 1 คือปัญหาความยากจน แต่ปีที่ 2 คือ ปัญหาความเหลื่อมล้ำ
#งานวิจัยที่พื้นที่ต้องการเพิ่มเติมเพื่อตอบสนองต่อปัญหาสำคัญ
การประชุมระดมความคิดเห็นกับผู้เชี่ยวชาญของภาคตะวันออกเฉียงเหนือ สรุปได้ว่าพื้นที่ต้องการงานวิจัยเพื่อตอบสนองต่อปัญหาระดับพื้นที่ทั้งสิ้น 7 ประเด็น แบ่งตามมิติดังนี้

🔷มิติเศรษฐกิจ ได้แก่
◼งานวิจัยเพื่อการพัฒนาเกษตรกรรมแนวใหม่ที่เพิ่มมูลค่าให้กับภาคการเกษตรในพื้นที่ โดยเฉพาะการนำเทคโนโลยีสมัยใหม่มาช่วยเพิ่มประสิทธิภาพและประสิทธิผลในการทำเกษตรกรรมให้กับเกษตรกร [SDG2, SDG8]
◼งานวิจัยเพื่อพัฒนาต้นแบบเศรษฐกิจหมุนเวียน เศรษฐกิจชีวภาพ และ เศรษฐกิจสีเขียว (bio circular economy) สำหรับบริบทภาคตะวันออกเฉียงเหนือ [SDG8, SDG12]
◼งานวิจัยด้านเศรษฐกิจฐานรากซึ่งมีชุมชนเป็นตัวหลักในการขับเคลื่อนวงจรของเศรษฐกิจท้องถิ่นเพื่อยกระดับเศรษฐกิจชุมชนให้ดีขึ้น [SDG8]

🔷มิติสังคม ได้แก่
◼งานวิจัยเพื่อการพัฒนาศักยภาพทรัพยากรมนุษย์ทุกช่วงวัยในบริบทของภาคตะวันออกเฉียงเหนือ [SDG4]
◼งานวิจัยเพื่อลดความเหลื่อมล้ำทางการศึกษาของภาคตะวันออกเฉียงเหนือในมิติต่าง ๆ อย่างรอบด้าน [SDG4, SDG10]
◼งานวิจัยเพื่อหาทางออกของปัญหาสังคมที่เกิดจากเงื่อนไขครอบครัว เช่น ปัญหาท้องไม่พร้อม คุณแม่วัยใส [SDG3, SDG5]

🔷มิติสิ่งแวดล้อม ได้แก่
◼งานวิจัยด้านการเปลี่ยนแปลงของสภาพภูมิอากาศ (climate change) ผลกระทบที่เกิดขึ้นกับพื้นที่ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ และการตั้งรับปรับตัวกับสถานการณ์ที่เกิดขึ้นโดยเฉพาะกับภาคเกษตรกรรม [SDG2, SDG13]
#ข้อเสนอแนะสำหรับการทํางานร่วมกันของทุกภาคส่วน
จากกระบวนการประชุมเชิงปฏิบัติการผู้เชี่ยวชาญในพื้นที่ให้ข้อเสนอแนะต่อการทำงานร่วมกันเพื่อขับเคลื่อนกลไก ววน. ระดับพื้นที่ เช่น
◼การแก้ไขปัญหาของพื้นที่ควรให้ชุมชนเป็นตัวแสดงสำคัญที่เข้าไปมีส่วนร่วมในการแสดงความคิดและทางออกในการแก้ไขปัญหา
◼ควรมีระบบพี่เลี้ยงการวิจัย (research mentor) เพื่อให้มีผู้สนับสนุนคำปรึกษาและข้อเสนอแนะในการทำวิจัย
◼กระบวนการขอทุนและรับทุนควรดำเนินการอย่างคงไว้ซึ่งการให้ความเคารพซึ่งกันและกันระหว่างผู้ให้ทุนและผู้รับทุน
◼ควรมีกระบวนการรับฟังความคิดเห็น ความต้องการ และปัญหา จากคนกลุ่มเปราะบางต่าง ๆ ในพื้นที่
◼ควรมีการให้ความรู้และเครื่องมือสำหรับการถ่ายทอดนวัตกรรมสู่ชุมชนแบบครบวงจรที่ชุมชนบริหารจัดการเองได้อย่างยั่งยืน
#คณะนักวิจัย: ดร.อนิรุทธิ์ ผงคลี มหาวิทยาลัยนครพนม, ผศ.ดร.กัญญาณัฐ รัตนประภาธรรม มหาวิทยาลัยมหาสารคาม, อาจารย์ ทม เกตุวงศา มหาวิทยาลัยมหาสารคาม และคณะ
⭕ เข้าถึงชุดเอกสารอินโฟกราฟิกสรุปความต้องการ และข้อเสนอแนะเชิงนโยบายของภาคเหนือแบบกระชับ เข้าใจง่าย ได้ที่ : https://www.sdgmove.com/wp-content/uploads/2023/03/Areaneed2_ภาคอีสาน4-01-1.png
⭕ ทำความรู้จัก Area Need ผ่านชุดเอกสารอินโฟกราฟิกแบบกระชับ เข้าใจง่าย ได้ที่ : https://www.sdgmove.com/2023/03/21/area-need-north-east-thailand-2nd-year/
ซีรีส์ Area Need จะสรุปข้อค้นพบสำคัญของโครงการปีที่ 1 และอัปเดตสิ่งที่เรากำลังทำต่อในปีที่ 2 ตั้งแต่เดือนธันวาคมนี้ ไปจนถึง เมษายน 2566
ติดตามต่อได้ที่: https://www.sdgmove.com/

04/03/2023

📌

◼ Editor’s pick 01 ◼
2023 ปีแห่งการทบทวนครึ่งทาง SDGs กับ บริบทเฉพาะของไทยที่อย่างไรก็ต้องกล่าวถึง
#สวัสดีผู้อ่านทุกท่าน

Editor’s pick ฉบับนี้เป็นจดหมายข่าวฉบับแรกของ SDG Move เรามีความตั้งใจที่จะเรียบเรียงประเด็นและข้อสังเกตต่อสถานการณ์การขับเคลื่อน SDGs โดยเฉพาะในบริบทของประเทศไทยส่งต่อถึงผู้สนใจเรื่องความยั่งยืนทุกคน จดหมายข่าวฉบับนี้มีเนื้อหาทั้งหมด 4 ส่วน
◼ Editor’s note: ข้อความจากบรรณาธิการ หยิบยกประเด็นและข้อสังเกตที่น่าสนใจเกี่ยวกับการขับเคลื่อน SDGs
◼ Highlight issues : อัปเดตข่าวสาร ความเคลื่อนไหวสำคัญ แนะนำคอลัมน์คัดสรรที่อยากแนะนำให้ทุกคนอ่าน
◼ Our Activities : แนะนำกิจกรรมสำคัญที่ SDG Move และเครือข่ายได้ดำเนินการในรอบเดือนที่ผ่านมา
◼ Upcoming event : แนะนำกิจกรรมที่กำลังจะเกิดขึ้นและอยากชวนทุกคนติดตาม
อ่านเนื้อหาทั้งหมดได้ที่นี่
https://www.sdgmove.com/2023/03/04/editors-pick-01-2023-mid-term-review-thailand-sittuation

ฉบับนี้ขอชวนผู้อ่านทุกท่านทำความรู้จักกับกรอบแนวคิด sustainability transformation และข้อสังเกตต่อความจำเป็นในการขับเน้นประเด็นที่เป็นบริบทการพัฒนาของประเทศไทย

ปี 2023(2566) เป็นปีที่ 8 ของการดำเนินการตามวาระเป้าหมายการพัฒนาที่ยั่งยืน (Sustainable Development Goals: SDGs) ซึ่งกำหนดระยะเวลาดำเนินการเอาไว้ 15 ปี จึงนับได้ว่าขณะนี้เราก้าวเข้าสู่ครึ่งหลังของการผลักดันให้โลกบรรลุเป้าหมายชุดนี้แล้ว ดังนั้น ในปีนี้เราจะได้เห็นบทสนทนาเกี่ยวกับการทบทวน ประเมินผลความก้าวหน้าของการดำเนินงานตลอด 7 ปีที่ผ่านมาจากภาคส่วนต่าง ๆ ที่มีบทบาทต่อการขับเคลื่อนเป้าหมายการพัฒนาชุดนี้อย่างหลากหลาย
นอกจากเนื้อหาที่จะปรากฏจากการทบทวนแล้ว กรอบของการทบทวนและติดตาม SDGs ก็มีความน่าสนใจไม่แพ้กัน เพราะจะฉายให้เห็นประเด็นที่เป็นจุดเน้น หรือเรื่องที่ผู้กำหนดนโยบายควรให้ความสำคัญต่างกัน โดยกรอบการทบทวนและติดตาม SDGs เริ่มปรับกระบวนทัศน์จากการติดตามรายเป้าหมาย (goals) มาสู่การทบทวนตามธีมเพื่อนำไปสู่การเปลี่ยนแปลงระดับฐานรากที่ยั่งยืน (sustainability transformation)

เนื่องจากมีข้อมูลการคาดการณ์จากทั้ง UN DESA และนักวิชาการด้านการพัฒนาให้ความเห็นในทิศทางเดียวกันว่า หากทุกประเทศยังจัดการกับปัญหาด้วยกระบวนการตามปกติเช่นที่เคยทำมา (business as usual: BAU) โลกจะบรรลุ SDGs #ไม่ทันปี2030 ประกอบกับการมองประเด็นการพัฒนาด้านเศรษฐกิจ สังคม และสิ่งแวดล้อมแยกขาดออกจากกันเป็นไซโล การนำเสนอ SDGs ออกเป็น 17 เป้าหมาย แม้จะมีหลักการไม่แบ่งแยกควบคู่มาด้วยก็ไม่ทำให้หน่วยงานผู้ปฏิบัติโดยเฉพาะภาครัฐ ผู้กำหนดนโยบายปรับเปลี่ยนวิธีคิดแต่อย่างใด เพื่อแก้ไขจุดอ่อนนี้มีนักวิชาการนำเสนอวิธีการมองประเด็นแบบ sustainability transformation จำนวน 2 กรอบแนวคิดที่มักถูกอ้างอิง และอยู่ในการถกเถียงสนทนาในแวดวงการพัฒนา ได้แก่
1. รายงาน Global Sustainable Development Report (GSDR) 2019
2. เอกสารของ Jeffrey Sachs นักเศรษฐศาสตร์ระดับโลก และคณะ “Six Transformations to achieve the Sustainable Development Goals”
ในเชิงประเด็นทั้งสองกรอบแนวคิดต่างสรุปธีมประเด็นที่ต้องเร่งรัดดำเนินการออกเป็น 6 ธีม โดย GSDR 2019 พยายามนำเสนอประเด็นอย่างครอบคลุมเน้นประเด็นเชิงระบบเพื่อการเปลี่ยนแปลง หรือแก้ไขวิกฤตการณ์ระดับโลก ขณะที่ Sachs et at. 2019 มุ่งหมายที่จะเปลี่ยนมุมมองที่มีต่อ SDGs ให้เห็นความเชื่อมโยงที่ชัดเจนขึ้นจึงพยายามเสนอกรอบแนวคิดที่หน่วยงานของรัฐสามารถนำไปใช้ได้ง่ายขึ้น สอดคล้องกับโครงสร้างของกระทรวงและหน่วยงานภาครัฐที่เกี่ยวข้อง อย่างไรก็ดีทั้งสองแนวคิดต่างเน้นย้ำ และสนับสนุนให้ทุกประเทศนำกรอบแนวคิดของตนไปปรับใช้โดยคำนึงถึงบริบท และสถานการณ์ความท้าทาย ศักยภาพทางเศรษฐกิจของตนเป็นสำคัญ

#ความจำเป็นในการใช้กรอบแนวคิดโดยคำนึงถึงความท้าทายที่เป็นบริบทของประเทศไทย
หากพิจารณาสถานการณ์ของประเทศไทยตาม SDGs จากรายงาน Sustainable Development Report 2022 จัดทำโดย SDSN จะพบว่าประเทศไทยยังมีเป้าหมายที่อยู่ในสถานะวิกฤติ (สีแดง) ได้แก่ SDG2 ขจัดความหิวโหย SDG3 การมีสุขภาพและความเป็นอยู่ที่ดี SDG14 ทรัพยากรทางทะเล SDG15 ระบบนิเวศบนบก และ SDG16 สังคมสงบสุข ยุติธรรม และสถาบันที่เข้มแข็ง
ส่วนรายงานความก้าวหน้าเป้าหมายการพัฒนาที่ยั่งยืนของประเทศไทย พ.ศ. 2559-2563จัดทำโดยสำนักงานสภาพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ (สศช.) ระบุว่ามีเป้าหมายที่อยู่ในสถานะวิกฤติ (สีแดง) ได้แก่ SDG2 ขจัดความหิวโหย SDG3 การมีสุขภาพและความเป็นอยู่ที่ดี SDG10 ลดความเหลื่อมล้ำ และ SDG14 ทรัพยากรทางทะเล
จะเห็นได้ว่าไม่ว่าใช้กรอบแนวคิดใดมาเป็นฐานเพื่อสร้างการเปลี่ยนแปลงระดับฐานรากประเด็นเกี่ยวกับ ังคมสงบสุขยุติธรรมและสถาบันที่เข้มแข็ง จะ #ไม่ปรากฏอย่างชัดแจ้งในธีมใดธีมหนึ่ง แต่จะกระจัดกระจายอยู่ในธีมต่าง ๆ ขึ้นอยู่กับข้อเท็จจริงที่ปรากฏ เช่น
การทุจริตในโครงการเกี่ยวกับทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม จัดอยู่ในธีมทรัพยากรร่วมทางสิ่งแวดล้อมระดับโลก (Global Environmental Commons) ในมุมมองของ GSDR 2019 และจัดอยู่ในธีมระบบอาหาร ที่ดิน น้ำ และมหาสมุทรที่ยั่งยืน (Sustainable Food, Land, Water and Oceans) ในมุมมองของ Sachs et at. 2019 ซึ่งต่างจากการจัดกลุ่มแบบ 5Ps ของ SDGs ตามคำแนะนำขององค์การสหประชาชาติที่ประเด็นเกี่ยวกับสังคมสงบสุข ยุติธรรมและการมีสถาบันที่เข้มแข็งจะจัดอยู่ในกลุ่ม Peace แยกต่างหากจากกลุ่มเป้าหมายอื่น ๆ
การศึกษาจากโครงการพื้นที่ทดลอง หาทางออกที่ยั่งยืนแบบบูรณาการข้ามศาสตร์ เพื่อการพลิกโฉม สู่เป้าหมายการพัฒนาที่ยั่งยืน (SDG Sandbox) ให้ข้อสังเกตว่า สาเหตุประการหนึ่งที่ทั้งสองกรอบแนวคิดมิได้กล่าวถึงประเด็นเชิงโครงสร้างและประเด็นที่มีความเป็นการเมืองสูงเอาไว้อย่างชัดเจนนัก เนื่องจากข้อเสนอนี้จัดทำขึ้นเพื่อให้เกิดการทบทวนและปรับปรุงความสัมพันธ์เชิงอำนาจระหว่างภาคส่วนต่าง ๆ ให้เท่าเทียมกันมากขึ้นอย่างละมุนละม่อมจึงจำเป็นต้องมีท่าทีทางการทูตที่เป็นมิตรกับผู้นำประเทศทุกรูปแบบ

ในทางหนึ่งผลลัพธ์ที่ได้จากการมองประเด็นและนำเสนอด้วยกรอบแนวคิดเช่นนี้ช่วยยืนยันว่าการเปลี่ยนแปลงระดับฐานรากนั้นไม่สามารถจัดการกับปัญหาหนึ่งแยกขาดจากอีกประเด็นหนึ่งได้ แต่ปัญหาในสังคมนั้นเชื่อมร้อยกันทั้งในมิติของการเสริมแรงกัน และการแลกเปลี่ยน หรือหักล้าง (trade-off) กัน มุมมองเช่นนี้อาจส่งผลดีต่อการบูรณาการข้ามภาคส่วนดังความตั้งใจของผู้พัฒนากรอบแนวคิดทั้งสอง
ทว่าหากพิจารณาในเชิงของการขับเน้นประเด็นเพื่อการสื่อสาร หรือสร้างแรงผลักดันในสังคมโดยเฉพาะประเด็นที่เกี่ยวเนื่องกับปัญหาเชิงโครงสร้าง ปัญหาที่เกี่ยวด้วยการเมือง กฎหมาย ตลอดจนค่านิยม วัฒนธรรมของสังคมแล้ว การใช้กรอบแนวคิดทั้งสองมาใช้เป็นเลนส์โดยไม่ปรับประยุกต์เพิ่มเติมเลยอาจเป็นข้อจำกัดทำให้การนำเสนอปัญหาเหล่านั้นเลือนลาง และขาดตำแหน่งแห่งที่ที่ชัดเจน จนท้ายที่สุดก็จะถูกลดทอนความสำคัญลงไปเพราะมีประเด็นอื่นที่สำคัญและเกี่ยวเนื่องโดยตรงตามกรอบแนวคิดมากกว่า
สถานการณ์ความท้าทายของประเทศไทยก็มีลักษณะคล้ายคลึงเช่นว่านั้น ข้อมูลจากรายงานและการจัดอันดับขององค์กรระดับนานาชาติเกี่ยวกับความโปร่งใส ธรรมภิบาล ความยุติธรรมจะพบว่าประเทศไทยมีสถานการณ์ที่น่าห่วงกังวล อาทิ ดัชนีหลักนิติธรรม (Rule of law index) ได้คะแนน 0.5 จากคะแนนเต็ม 1 คะแนน รั้งอันดับที่ 80 จาก 140 ประเทศ และยังได้คะแนนรายมิติต่ำกว่าค่าเฉลี่ยโลก 7 จาก 8 ด้าน ในจำนวนนี้มี 2 ด้านที่สอดคล้องกับสถานการณ์ที่ปรากฏตั้งแต่ปลายปี 2565 และยิ่งเด่นชัดขึ้นในรอบ 2 เดือนที่ผ่านมา ได้แก่ คือ ประสิทธิภาพของกระบวนการยุติธรรมอาญา และสิทธิขั้นพื้นฐาน
ส่วนด้านความโปร่งใส ดัชนีการรับรู้การทุจริต (Corruption Perceptions Index: CPI) จัดให้ประเทศไทยอยู่ในอันดับที่ 101 จาก 180 ประเทศ แม้จะมีอันดับและคะแนนที่ดีขึ้น แต่ก็ดีขึ้นเพียง 1 คะแนนเมื่อเทียบกับปีก่อนหน้า สอดคล้องกับสถานะ SDG Index 2022 ที่ปรากฏอยู่ในว่าสถานะของตัวชี้วัดดังกล่าวอยู่ในสถานะวิกฤติ (สีแดง)
สถานการณ์ที่ปรากฏตามหน้าข่าวสาธารณะ จากการติดตามข่าวสารและประเด็นที่เกี่ยวข้องหรือส่งผลกระทบต่อ SDGs ของประเทศไทย ภายใต้โครงการ SDG Watch ในรอบเดือนมกราคม ถึง กุมภาพันธ์ 2566 ยังพบว่า มีประเด็นข่าวสารที่เกี่ยวข้อง หรือส่งผลกระทบต่อ SDG16 มากที่สุดคิดเป็นร้อยละ 28.6 ดังจะกล่าวในส่วนถัดไป ทั้งนี้ ข่าวสารที่ปรากฏก็มิได้มีแต่เพียงประเด็นทางการเมือง การเรียกร้องสิทธิเสรีภาพเท่านั้น แต่ยังครอบคลุมถึงประเด็นการมีส่วนร่วมในการตัดสินใจโครงการ กิจการอื่นใดอันจะกระทบต่อชีวิต ความปลอดภัย ความเป็นอยู่ของประชาชนด้วย
จากรายงานสถานการณ์และข้อเท็จจริงที่ปรากฏเป็นเครื่องยืนยันว่าในการเปลี่ยนแปลงระดับฐานรากที่ยั่งยืนประเทศไทยจำต้องมีกรอบการมองที่สามารถขับเน้นประเด็นเกี่ยวกับ “สันติภาพ ความยุติธรรม และธรรมาภิบาล” ในลักษณะที่ไม่ยิ่งหย่อนไปกว่าประเด็นการพัฒนาอื่น ๆ

Editor's picks จะคัดเลือกเนื้อหาสำคัญมาฝากทุกท่านทุกสัปดาห์สุดท้ายของเดือน และจะเปิดรับสมัครสมาชิกจดหมายข่าวให้ทุกคนได้รับข่าวสารอัปเดตของเราอย่างต่อเนื่องได้ทางอีเมล โดยไม่ต้องกังวลว่าจะพลาดเรื่องสำคัญอีกต่อไป
ติดตามได้เร็ว ๆ นี้

Photos from WCS Thailand's post 19/01/2023
11/11/2022

📌

● SDG Podcast ●
รวมพอดแคสต์ 6 EP. "6 เรื่องที่ควรรู้เกี่ยวกับ SDGs"
SDG Move Podcast รายการพอดแคสต์ที่จะพาทุกคนไปทำความรู้จักกับเป้าหมายการพัฒนาที่ยั่งยืน หรือ SDGs ฉบับย่อยง่าย ในรูปเสียงให้ทุกคนฟังสบาย จำนวน 6 ตอน ความยาวรวมประมาณ 1 ชั่วโมง แต่อัดแน่นไปด้วยสาระความรู้แบบจัดเต็ม!
หากคุณเป็นผู้ที่สนใจอยากศึกษาเรียนรู้เกี่ยวกับ SDGs แต่ไม่รู้จะเริ่มจากตรงไหน มาเริ่มกันที่ตรงนี้เลย!
🎧 สามารถรับฟังรายการ Podcast ทั้ง 6 EP. ตามเพลย์ลิสต์ด้านล่าง

⭕️ YouTube: https://youtube.com/playlist?list=PLg39f4D1Bub3qmkdi9pvJWG7n_cXxRKU1

⭕️ Spotify: https://open.spotify.com/playlist/12vGPbb5IovhMZFwKILeQu

⭕️ SoundCloud: https://soundcloud.com/sdgmove-th/sets/sdg-podcast-ep-1-6

07/11/2022

📌

ปฏิทินนิเวศกับความหลากหลายทางชีวภาพและวัฒนธรรม
ปฏิทินวัฏจักรของสิ่งต่าง ๆ ภายในพื้นที่ใดพื้นที่หนึ่ง ที่ชี้นำและอำนวยความสะดวกในการทำกิจกรรมส่วนบุคคลหรือกิจกรรมร่วมในพื้นที่และเวลาต่าง ๆ ที่เกี่ยวข้องกับนิเวศวัฒนธรรม
การทำเกษตรกรรมจำเป็นจะต้องมีองค์ความรู้เกี่ยวกับดิน ลม ปริมาณฝน ภัยแล้ง อุณหภูมิที่เหมาะสมซึ่งรวมไปถึงการคัดเลือกสายพันธุ์ที่มีความเหมาะสมกับองค์ประกอบต่าง ๆ ในแต่ละช่วงเวลาและสถานที่ปลูก ชุมชนเกษตรกรรมหลายแห่งทั่วโลกมีการใช้ปฏิทินนิเวศแบบดั้งเดิม สำหรับใช้กำหนดช่วงเวลาที่เหมาะสมในการทำเกษตรกรรม มีส่วนสำคัญในการช่วยจัดการการใช้ประโยชน์ต้นทุนทางสังคมของชาวบ้านผ่านกิจกรรมชุมชนต่าง ๆ
องค์ความรู้ของชุมชนท้องถิ่น เป็นองค์ประกอบสำคัญของแนวคิดเรื่องความหลากหลายทางชีวภาพและวัฒนธรรม ความรู้ของผู้คนและความรู้ที่สั่งสมมาหลายชั่วอายุคนแล้วได้รับการอธิบายใหม่โดยคนรุ่นถัดไปหรือคนรุ่นใหม่ ชักนำผู้คนในสังคมในการมีปฏิสัมพันธ์กับสิ่งแวดล้อมที่รายล้อมรอบตัวมนุษย์นับไม่ถ้วน แนวคิดความหลากหลายทางชีวภาพและวัฒนธรรมมีส่วนสำคัญในการเชื่อมโยงธรรมชาติและวัฒนธรรมเข้าด้วยกัน แนวคิดนี้นิยมศึกษาภูมิปัญญาท้องถิ่นเนื่องจากองค์ความรู้ดังกล่าวเป็นหลักฐานพลวัตความสัมพันธ์ระหว่างผู้คนกับธรรมชาติ ทรัพยากรชีวภาพเป็นบ่อเกิดของความรู้ท้องถิ่นภูมิปัญญาจึงเป็นความรู้ที่ถูกพัฒนาขึ้นเพื่อใช้ในสถานที่และช่วงเวลาใดเวลาหนึ่ง
ในการอธิบายตัวอย่างปฏิทินนิเวศกับความหลากหลายทางชีวภาพและวัฒนธรรม ผู้เขียนใช้ข้อมูลจากชุมชนพุเม้ยง์ ตำบลทองหลาง อำเภอห้วยคต จังหวัดอุทัยธานี ซึ่งเป็นชุมชนกะเหรี่ยงโปว์ ที่ยังมีวิถีชีวิตแบบพึ่งพาทรัพยากรธรรมชาติและมีวัฒนธรรมการใช้ประโยชน์จากทรัพยากรธรรมชาติในการดำรงชีวิตอยู่มาก
ติดตามได้ในบทความ series มานุษยวิทยาอนาคต "ปฏิทินนิเวศกับความหลากหลายทางชีวภาพและวัฒนธรรม" 👇
https://www.sac.or.th/portal/th/article/detail/390
ธนพล เลิศเกียรติดำรงค์: เขียน
#มานุษยวิทยาอนาคต #การจัดการข้อมูลทางวัฒนธรรม #ปฏิทินนิเวศ #ความหลากหลายทางชีวภาพ #วัฒนธรรม #ศมส #ศูนย์มานุษยวิทยาสิรินธร

Photos from SDG Move TH's post 12/10/2022
22/08/2022

สองเด้ง

จากนี้ไปถึงปลายปี 2565 ไทยเราจะอยู่ใต้อิทธิพลของ La Niña ในวัฏจักร ENSO ของมหาสมุทรแปซิฟิก พร้อมกับภาวะ negative ของวัฏจักร Indian Ocean Dipole (IOD)ในมหาสมุทรอินเดีย

กล่าวคือน้ำอุ่นทั้งสองมหาสมุทรจะมากองรวมกันในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ ก่อให้เกิดฝนตกหนาแน่นในภูมิภาคเกินกว่าค่าเฉลี่ย เด้งเดียวก็ฝนเยอะแล้ว แต่นี่คือสองเด้งจากสองมหาสมุทรทำให้เกิดปัจจัยเสี่ยงต่อน้ำท่วมมากขึ้นอีก

ปีนี้ฝนจะตกเยอะมากไปถึงปลายปี เราต้องเตรียมตัวอยู่กับน้ำให้เป็นและปรับตัว

มองไปปีหน้า โมเดลพยากรณ์ 4 ใน 7 ตัวบอกว่าเราจะกลับมาฝนชุกอีก ที่เหลืออีก 3 ว่าไปตรงข้ามคือแล้งขึ้น ไว้ใกล้ๆท้ายปีคงถึงจะแม่นขึ้นเรื่อยๆ

17/07/2022

The as told by emojis on !

1🚫Poverty
20️⃣Hunger
3 🧘🏾 🏥
4📚🎒
5👧🏾 = 👦🏾
6💧🚰🚽
7💡⚡️
8 👩‍🏫👨‍⚕️👩‍⚖️
9 🏭 🚀 🚉
10⬇️Inequalities
11🏡 🌆
12♻️ 🚮
13🌎
14🐟 🦐 🌊
15🦚 🐞
16🕊️ ☮️
17🤝

14/07/2022

#น้ำท่วม I #แผนที่น้ำท่วมซ้ำซาก #ประเทศไทย
วิเคราะห์จากข้อมูลน้ำท่วมย้อนหลัง 15 ปี จากแหล่งข้อมูล เผื่อเป็นประโยชน์กับการจัดการน้ำท่วม ในช่วงฤดูมรสมุม และพายุที่กำลังเข้ามาในช่วงนี้ครับ
โหลด_PDF
https://drive.google.com/file/d/1M383rS9EHlUsVCDovpK8JyJ2b1dv6jTA/view?usp=drivesdk

20/03/2020

I Green

Helen Regan โปรดิวเซอร์ฝ่ายดิจิทัลของ CNN เขียนบทความ ระบุว่า การระบาดของไวรัสโคโรนาและการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศเป็นปัญหาที่แตกต่างกัน แต่ทั้งสองมี 2 ลักษณะที่เหมือนกัน นั่นคือเป็นวิกฤตการณ์ระดับโลกที่คุกคามชีวิตของผู้คนนับล้าน แต่ไวรัสโควิด-19 เป็นภัยคุกคามเฉพาะหน้าที่กระทบในทันที และอาจตายได้ในเวลาไม่นาน
แตกต่างจากปัญหาโลกร้อนที่ยังพอมีเวลาแก้ไขก่อนที่จะถึงจุด tipping points หมายถึงวิกฤตที่เลวร้ายจนไม่สามารถแก้ไขกลับมาให้คืนดีได้อีก เช่น เมื่อเลยจุด tipping points ไปแล้วโลกของเราจะร้อนขึ้นจนน้ำแข็งจำนวนมหาศาลละลายไม่หยุด จนน้ำท่วมเมืองใหญ่ริมทะเลจนหมด
กว่าจะถึง tipping points ใช้เวลาอีกระยะหนึ่ง และเมื่อแก้ไขอะไรไม่ได้แล้วยังต้องรออีกหลายสิบปีกว่าที่โลกจะเผชิญกับวิกฤตที่กระทบต่อชีวิตผู้คนนับล้านอย่างที่บอก
แม้ว่าโลกร้อนจะไม่ทำให้เราตายในทันที แต่มันทำให้ชีวิตของพวกเราลำบากขึ้นแล้ว เช่น อากาศที่ร้อนจัดขึ้นทุกที ฟ้าฝนที่แปรปรวน สภาพอากาศที่คาดเดาไม่ได้ สิ่งเหล่านี้กระทบเราโดยตรงและยังมีผลทางอ้อม เช่น ภัยพิบัติที่ถี่ขึ้นจนกระทบเศรษฐกิจ
โลกร้อนยังทำให้ permafrost หรือดินที่แช่แข็งมานานหลายหมื่นปีของพื้นที่หนาวจัดละลายอย่างรวดเร็ว ปลดปล่อยแบคทีเรียและไวรัสที่ถูกขังไว้เมื่อหลายหมื่นปีมาแล้วออกมา เรื่องนี้ได้เกิดขึ้นแล้วที่ไซบีเรียเมื่อหลายปีก่อนซึ่งเชื้อแอนแทร็กซ์จากหลายหมื่นปีก่อนโผล่ออกมาอีกครั้งเมื่อน้ำแข็งละละลาย
ดังนั้น โลกร้อนกับไวรัสจึงเป็นภัยคุกคามที่น่ากลัวพอๆ กัน เมื่อคิดดูดีๆ โรคระบาดในระยะหลังเกิดจากการทำลายระบบนิเวศโดยตรง เช่น การรุกพื้นที่ป่าจนทำให้ค้างคาวต้องออกมาเกลือกกลั้วกับแหล่งที่อยู่อาศัย หรือคนไปหาสัตว์ป่าแปลกๆ มากินกันมากขึ้น
ปัญหาใหญ่ทั้ง 2 ปัญหาของโลกจึงเกี่ยวข้องกัน แม้ว่าตอนนี้เราจะต้องทุ่มเทเพื่อสู้กับไวรัสก่อน เพราะอันตรายมากกว่า แต่เราจะต้องไม่ลืมว่ายังมีภัยคุกคามที่ร้ายพอๆ กันรอตะครุบเราอยู่

อ่านคอลัมน์ Opinion ฉบับเต็มได้ที่: http://www.igreenstory.co/tipping-points/

17/03/2020

📣เพราะเราต่างก็ถนัดกันคนละรูปแบบ การร่วมแรงร่วมใจ #ในแบบที่ตนเองถนัด #ในแบบฉบับของตนเอง จึงสำคัญและงดงาม🥰 ชอบไอเดียและวิธีการของ #ขายหัวเราะ จังเลยค่ะ🤩😃😍
🎯 🎯 #พันธมิตรเพื่อการพัฒนาที่ยั่งยืน

ช่วยชาติในแบบที่ถนัดกันเถอะ
ประกาศจาก “ขายหัวเราะ”
Vaccine ขายหัวเราะ อาสาช่วยฝ่าวิกฤตโควิด ด้วยการ์ตูน หน่วยงานใดต้องการเผยแพร่ข้อมูลต่างให้สื่อสารง่ายๆติดต่อไปที่ เพจขายหัวเราะ ได้เลยโดยไม่มีค่าใช้จ่ายและช่วยเผยแพร่ให้ด้วย
ต้องขอชื่นชมในน้ำใจของ”ขายหัว”หนังสือการ์ตูนที่อยู่คู่คนไทยในทุกสถานการณ์
น่ารักจังค่ะ บก.วิติ๊ดดดด ขอบคุณค่ะ
เราทุกคนก็ช่วยได้ในแบบที่เราถนัด แล้วเราจะผ่านเรื่องนี้ไปด้วยกัน
///
ประกาศจาก #ขายหัวเราะ ถึงหน่วยงานด้านสาธารณสุขทุกหน่วย
‘ขายหัวเราะกรุ๊ป' และพันธมิตรในสังกัด มีความตั้งใจที่จะช่วยเหลือทุกหน่วยงาน ที่ต้องการเผยแพร่ประชาสัมพันธ์ข้อมูล วิธีปฏิบัติต่างๆ ในรูปแบบการ์ตูน หรือรูปแบบอื่นใดก็ตาม เพื่อให้ข้อมูลเหล่านั้นเข้าถึงผู้คนได้ง่ายขึ้นในช่องทางที่มากขึ้น
ท่านสามารถติดต่อเพื่อส่งข้อมูลหรือเนื้อหาเหล่านั้นมาได้ที่ทาง inbox ของเพจขายหัวเราะ ทางเราจะดำเนินการผลิตข้อมูลเหล่านั้นให้เป็นรูปแบบใหม่ที่สื่อสารได้ง่ายขึ้น และจะช่วยประชาสัมพันธ์ให้ในทุกช่องทาง โดยไม่คิดค่าใช้จ่ายใดๆ
เราจะร่วมมือฝ่าวิกฤตครั้งนี้ไปด้วยกัน 🙂

#ขอบคุณขายหัวเราะ

12/03/2020

🤓เพราะงานการศึกษา ไม่ใช่เรื่องของใครคนใดคนหนึ่ง
👨‍🏫👩‍🏫เพื่อให้เกิด #การศึกษาที่มีคุณภาพอย่างเท่าเทียม (SDGs ) 💗 #การร่วมมือเพื่อการพัฒนาที่ยั่งยืน (SDGs ) จึงสำคัญ
👩‍🏫📚👩‍🎓📖👨‍🎓ครูผู้สอน ผู้บริหารโรงเรียน ศึกษานิเทศก์ นักวิชาการของเขตพื้นที่และ สพฐ. ผู้เชี่ยวชาญต่างๆ จึงมาร่วมรวมพลังวางแนวทางการดำเนินงานร่วมกัน #งานนี้ไม่มีเสียงใครดังกว่าใคร (SDGs )
🎯การพัฒนาแนวทางการบริหารสถานศึกษา
ตามหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงสู่เป้าหมายการพัฒนา
ที่ยั่งยืน (SEP for SDGs)
ระหว่างวันที่ 9 – 13 มีนาคม 2563
ณ โรงแรมบียอนด์ สวีท กรุงเทพมหานคร
🎯สพฐ. Envi SEP for SDGs X สพฐ. พอเพียง X สพฐ สังคมศึกษา🎯

12/03/2020

🤓เพราะงานการศึกษา ไม่ใช่เรื่องของใครคนใดคนหนึ่ง
👨‍🏫👩‍🏫เพื่อให้เกิด #การศึกษาที่มีคุณภาพอย่างเท่าเทียม (SDGs ) 📣📣 #การร่วมมือเพื่อการพัฒนาที่ยั่งยืน (SDGs ) 💞 จึงสำคัญ
👩‍🏫📚👩‍🎓📖👨‍🎓ครูผู้สอน ผู้บริหารโรงเรียน ศึกษานิเทศก์ นักวิชาการของเขตพื้นที่และ สพฐ. ผู้เชี่ยวชาญต่างๆ จึงมาร่วมรวมพลังวางแนวทางการดำเนินงานร่วมกัน #งานนี้ไม่มีเสียงใครดังกว่าใคร (SDGs )
🎯การพัฒนาแนวทางการบริหารสถานศึกษา
ตามหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงสู่เป้าหมายการพัฒนาที่ยั่งยืน (SEP for SDGs)
9 – 13 มีนาคม 2563
ณ โรงแรมบียอนด์ สวีท กรุงเทพมหานคร
สพฐ. Envi SEP for SDGs X สพฐ. พอเพียง X สพฐ สังคมศึกษา

10/03/2020

สพฐ. พอเพียง

เมื่อ #คนพอเพียงยั่งยืน ต้องมาร่วมประชุม 😎งานก็ต้องไปข้างหน้า...บอกเลยว่าพร้อม!!!
🍀 #ความรู้🍀
🔎ศึกษาวิธีการดูแลตัวเอง
💥การแพร่กระจายของเชื้อโรค
🍀 #คุณธรรม 🍀
🏠ทีมงานที่อยู่พื้นที่เสี่ยง #รับผิดชอบต่อสังคม ไม่มาร่วมประชุม แต่commentงานทางออนไลน์
😷เตรียมหน้ากากอนามัย+เจลล้างมือให้พร้อม เพื่อคนเอง และ เผื่อผู้อื่น
🧐ตรวจวัดไข้กันทุกวัน วันละหลายรอบ ไม่มีเกี่ยงงอน
#มางานพี่แถมฟรีเจลล้างมือ #หน้ากากอนามัย 😁

SDGs #เป้าหมายการพัฒนาที่ยั่งยืน
เป้าหมายที่ 3: การมีสุขภาพและความเป็นอยู่ที่ดี
เป้าหมายที่ 16: สังคมสงบสุข ยุติธรรม ไม่แบ่งแยก
🎯การพัฒนาแนวทางการบริหารสถานศึกษา
ตามหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงสู่เป้าหมายการพัฒนา
ที่ยั่งยืน (SEP for SDGs)
ระหว่างวันที่ 9 – 13 มีนาคม 2563
ณ โรงแรมบียอนด์ สวีท กรุงเทพมหานคร
สพฐ. Envi SEP for SDGs X สพฐ. พอเพียง X สพฐ สังคมศึกษา

10/03/2020

เมื่อ #คนพอเพียงยั่งยืน ต้องมาร่วมประชุม 😎บอกเลยว่าพร้อม
🍀 #ความรู้🍀
🔎ศึกษาวิธีการดูแลตัวเอง
💥การแพร่กระจายของเชื้อโรค
🍀 #คุณธรรม 🍀
🏠ทีมงานที่อยู่พื้นที่เสี่ยง #รับผิดชอบต่อสังคม ไม่มาร่วมประชุม แต่commentงานทางออนไลน์
😷เตรียมหน้ากากอนามัย+เจลล้างมือให้พร้อม เพื่อคนเอง และ เผื่อผู้อื่น
🧐ตรวจวัดไข้กันทุกวัน วันละหลายรอบ ไม่มีเกี่ยงงอน
#มางานพี่แถมฟรีเจลล้างมือ #หน้ากากอนามัย😁

SDGs #เป้าหมายการพัฒนาที่ยั่งยืน
เป้าหมายที่ 3: การมีสุขภาพและความเป็นอยู่ที่ดี
เป้าหมายที่ 16: สังคมสงบสุข ยุติธรรม ไม่แบ่งแยก
🎯การพัฒนาแนวทางการบริหารสถานศึกษา
ตามหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงสู่เป้าหมายการพัฒนา
ที่ยั่งยืน (SEP for SDGs)
ระหว่างวันที่ 9 – 13 มีนาคม 2563
ณ โรงแรมบียอนด์ สวีท กรุงเทพมหานคร
สพฐ. Envi SEP for SDGs X สพฐ. พอเพียง X สพฐ สังคมศึกษา

08/03/2020

Thai PBS

ไม่สามารถทำอะไรพวกเขาได้!!!
เหตุผลก็เพราะว่า...(ชมคลิปนี้มีคำตอบ)
ใช้ชีวิตอย่างคนมีคุณธรรมกำกับความรู้
ทำทุกสิ่งอย่าง พอประมาณ มีเหตุผล มีภูมิคุ้มกัน
เพื่อการพัฒนาที่ยั่งยืนในมิติเศรษฐกิจ สังคม วัฒนธรรมและสิ่งแวดล้อม

🍀สพฐ. พอเพียง สู่ความยั่งยืน🍀
🍀OBEC SEP for SDGs🍀
🎯
สพฐ. ส่งเสริมและพัฒนาให้สถานศึกษา น้อมนำ
#หลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง (Sufficiency Economy Philosophy - SEP)
เป็นปรัชญานำทาง 🚀 (Guiding Philosophy) 🚀
ในการจัดกิจกรรมการเรียนรู้และบริหารสถานศึกษา
😁เพื่อให้ผู้เรียน😁 มี #อุปนิสัยอยู่อย่างพอเพียง
สู่ #เป้าหมายการพัฒนาที่ยั่งยืนแห่งสหประชาชาติ
สพฐ. พอเพียง x สพฐ. Envi SEP for SDGs x eesdobec.com
🙏ขอบคุณคลิปดีๆสุดว้าว จาก ค่ะ🙏

ไม่สามารถทำอะไรพวกเขาได้

เหตุผลก็เพราะว่า...(ชมคลิปนี้มีคำตอบ)
........................................................................

ร่วมเป็นส่วนหนึ่งของเกษตรพอเพียงไปกับเรา

ในวันอาทิตย์ที่ 8 มี.ค.นี้ ตั้งแต่เวลา 14.05-16.00 น.

ในรายการ #ศึกควายเหล็ก Battle ทาง

ต้องการให้ธุรกิจของคุณ ธุรกิจ ขึ้นเป็นอันดับหนึ่ง โรงเรียน ใน Phra Nakhon?
คลิกที่นี่เพื่อเป็นสมาชิก?

~

😎การรวมพลังของ 2 กลุ่มงาน สพฐ.😎 #ศูนย์ขับเคลื่อนการพัฒนาตามหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงด้านการศึกษา สำนักวิชาการและมาตรฐานการศึกษา สพฐ. 💗 #โครงการสิ่งแวดล้อมศึกษา_โครงการพิเศษ สำนักพัฒนานวัตกรรมการจัดการศึกษา สพฐ.😎
👉👉เพื่อส่งเสริมและพัฒนาให้สถานศึกษา👉👉น้อมนำ🎯หลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง (Sufficiency Economy Philosophy - SEP)🎯เป็นปรัชญานำทาง 🚀 (Guiding Philosophy) 🚀ในการจัดกิจกรรมการเรียนรู้และบริหารสถานศึกษาเพื่อให้ผู้เรียนตระหนักและแสดงพฤติกรรมเพื่อการบรรลุเป้าหมายการพัฒนาที่ยั่งยืนแห่งสหประชาชาติ🌳 (Sustainable Development Goals – SDGs)🌳

วิดีโอทั้งหมด (แสดงผลทั้งหมด)

คลิป2_สิ่งที่ทำอยู่เป็น "สิ่งแวดล้อมศึกษา" แล้วหรือยัง ?

ประเภท

เว็บไซต์

ที่อยู่


สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน
Phra Nakhon

การศึกษา อื่นๆใน Phra Nakhon (แสดงผลทั้งหมด)
Studyebooks.com Studyebooks.com
Phra Nakhon

Studyebooks.com is free blog to download educational books for free and without subscription. direct

Jip House Craft & Tutor School Jip House Craft & Tutor School
157 ถนนนครสวรรค์
Phra Nakhon, 10100

สอนงาน Craft และสอนหนังสือ ทั้งแบบเดี่?

FunEd FunEd
Bangkok
Phra Nakhon

FunEd aims to provide a FUN and PRACTICAL LIFE Education.

โรงเรียนบ้านเม่นใหญ่ โรงเรียนบ้านเม่นใหญ่
92 หมู่ที่ 14 ตำบลแก่งเลิงจาน อำเภอเมือง จังหวัดมหาสารคาม
Phra Nakhon, 44000

Cryptofy. Cryptofy.
Phra Nakhon

สาระความรู้ที่เกี่ยวกับสินทรัพย์ดิจิทัล และเทคโนโลยีบล็อกเชน

Tutor กลุ่มเล็ก CU TEP, TU GET, TOEIC, มัธยม ย่านนางเลิ้ง Tutor กลุ่มเล็ก CU TEP, TU GET, TOEIC, มัธยม ย่านนางเลิ้ง
นครสวรรค์
Phra Nakhon

Tutor กลุ่มเล็ก CU TEP, TU GET, TOEIC, มัธยม

Namtarn online expert - สอนสร้างธุรกิจออนไลน์ Namtarn online expert - สอนสร้างธุรกิจออนไลน์
Phra Nakhon

Never give up on a dream just because of the time it will take to accomplish it, time will pass anyway.

Iron Mindsets Iron Mindsets
Phra Nakhon

Iron Mindsets is your choice for total immersion training, practical hands on development, and Business Development Consulting. Specialists in Human Growth & Insight Sales Managem...

OBEC Library Automation OBEC Library Automation
Phra Nakhon

สำนักวิชาการและมาตรฐานการศึกษา สพฐ.

UpanyaGroup UpanyaGroup
ซ. ด่านสำโรง11 ถ. ศรีนครินทร์ ต. สำโรงเหนือ อ. เมือง
Phra Nakhon, 10270

ไม่ใช่แค่เรียนรู้ แต่เราอยากให้คุณเรียนอย่างเข้าใจ

Foodfranchiseinstitute - FFI Foodfranchiseinstitute - FFI
60/1 ลาดพร้าว 94 พลับพลา
Phra Nakhon, กรุงเทพมหานคร

FFI สถาบันเรามุ่งหวังให้ทุกคน "สามารถปลดล็อกศักยภาพ" และสร้างธุรกิจอาหารและแฟรนไชส์ที่ประสบความสำเร็จ พร้อมเสิร์ฟความรู้เพื่อผลักดันอุตสาหกรรมธุรกิจอาหารและแฟรนไชส์ของประเทศไทยท...

RMUTP KM RMUTP KM
Phra Nakhon, 10300

RMUTP KM สังกัด งานประกันคุณภาพและการจัดการความรู้ สำนักส่งเสริมวิชาการและงานทะเบียน มทร.พระนคร