พีรฬ์ยา Peraya Pharmacy - สาย 1
ร้านขายยาใจกลางเมืองหาดใหญ่ ให้บริการโดยเภสัชกรใจดีเป็นกันเอง
วันพฤหัสบดี ที่ 17 ต.ค. ร้านขอเปิดทำการ 14.00 น. ขออภัยในความไม่สะดวกครับ
ร้านเปิดแล้วนะจ้ะ มาใช้บริการกันได้จ้า
แวะมาใช้บริการกันได้นะครับลูกค้า สิทธิบัตรทอง เจ็บป่วยไม่สบายก็มาใช้บริการกันได้จ้า
ลูกค้าท่านใดไม่สบาย มาใช้บริการร้านยาได้นะครับ เภสัชกรเป็นกันเอง
วันนี้วันเภสัขกรโลก ใครมีปัญหาสุขภาพ การใช้ยา แวะมาปรึกษาได้ที่ร้านนะครับ 😊🙂🌹🙏
วันนี้คือวันเภสัชกรโลก
25 กันยายน ของทุกๆปี
คือ วันเภสัชกรโลก( World Pharmacist Day )
ทั่วโลกให้ความสำคัญกับวิชาชีพ “เภสัชกร”
สร้างความตระหนักรู้ข้อมูลด้านยาผ่านบทบาทเภสัชกร
☺️🙏🇹🇭
ธีมวันเภสัชกรโลกประจำปีนี้ คือ
"Pharmacists ; meeting global health needs"
"เภสัชกร"บุคคลากรทางการแพทย์ที่สามารถตอบสนองความต้องการด้านสุขภาพของประชาคมโลก บทบาทของเภสัชกรมีความสำคัญอย่างมากต่อระบบสาธารณสุข เพราะเภสัชกรเป็นผู้รอบรู้เรื่อง "ยา" มากที่สุดในสหวิชาชีพ สามารถดูแลสุขภาพของประชาชนด้วยความรู้ทางยา และช่วยให้ความรู้ในการดูแลรักษาตัวเองเบื้องต้นได้
เชิญชวนเพื่อนสมาชิกเภสัชกรไทยทุกท่าน มีส่วนร่วมกับวันสำคัญวันนี้
สามารถเปลี่ยนรูปโปรไฟล์ เพื่อเป็นการสร้างความตระหนักรู้ และร่วมเฉลิมฉลองในวันสำคัญ วันนี้ร่วมกัน ได้ที่ . . .
https://www.fip.org/wpd2024-supporter
พร้อมทั้งใส่ # ดังกล่าวนี้
#วันเภสัชกรโลก
⛈️ ในช่วงฝนตกแบบนี้ ~
ปัญหาโรคผิวหนังที่มักพบบ่อย คือ โรคน้ำกัดเท้า🦶🏻💧
📍 โรคนี้เกิดจากผิวหนังบริเวณเท้าแช่น้ำสกปรกบ่อย ๆ หรือเป็นระยะเวลานาน ทำให้ผิวหนังติดเชื้อรา ซึ่งเป็นเชื้อราในกลุ่มเดียวกับโรคขี้กลาก (Tinea) เชื้อราชนิดนี้เจริญเติบโตได้ดีในที่อับชื้น เปียกน้ำ เปียกเหงื่อ เช่น บนฝ่าเท้า ง่ามนิ้วเท้า ที่เปียกชื้นจากการลุยน้ำท่วมขัง สวมรองเท้าที่เปียกอับชื้น เชื้อราจึงรุกรานเข้าสู่ผิวหนังและก่อโรคน้ำกัดเท้าได้
สนับสนุนโดย...สมาคมแพทย์ผิวหนังแห่งประเทศไทย
#โรคผิวหนังในฤดูฝน #โรคน้ำกัดเท้า
เจ็บป่วยเล็กน้อย 32 อาการ สิทธิบัตรทอง มาใช้บริการได้นะครับ ไม่เสียค่าใช้จ่าย
ชุดตรวจ ไข้หวัดใหญ่ covid-19 และ RSV (ในเด็ก) ของเข้าแล้วนะครับ ตอนนี้เหลือ 6 กล่อง ติดต่อสอบถามได้ครับ
ใครมีสิทธิบัตรทอง แล้วมีอาการเจ็บป่วยเล็กน้อย มารับยาไม่เสียค่าใช้จ่ายที่ร้านได้นะครับบบ
ยาพาราคุณใช้ ปัจจุบันยังไม่มีกลไกการออกฤทธิ์ยาที่แน่ชัด แต่ก็ยังมีฤทธิ์ลดไข้ แก้ปวดได้ ใครสนใจทฤษฎีกลไกของยาพารา หรือพาราเซตามอล เข้าไปอ่านในเพจอาจารย์ได้เลยค่า
มันมีเรื่องน่าตลกในวงการวิทยาศาตร์สุขภาพมาเล่าให้ฟังค่ะ
คุณรู้มั้ยคะว่า ยาแก้ปวด พาราเซตามอล ที่ใช้กันทั่วบ้านทั่วเมืองมานมนาน ปัจจุบันยังไม่รู้ว่ามันออกฤทธิ์ยังไง
เรื่องจริงค่ะ ฟังไม่ผิด ยาตัวอื่นนี่ค้นพบกลไกละเอียดลออยันโมเลกุล แต่พาราเซตามอลที่อยู่ประจำทุกบ้าน จนแล้วจนรอดก็ยังไม่มีกลไกแน่ชัด มีแต่ทฤษฎีเต็มไปหมดที่มีข้อแย้งหมดทุกทฤษฎี
วันนี้จะมาสรุปให้ฟังคร่าวๆ ค่ะ
__________________
1️⃣ ทฤษฎียับยั้งเอนไซม์ COX ที่เอาไว้สร้างสารก่อความเจ็บชื่อพรอสตาแกลนดิน
▪️หนึ่งในสารก่อความเจ็บและการอักเสบที่สำคัญคือสารกลุ่มพรอสตาแกลนดิน ที่สร้างโดยเอนไซม์ COX
▪️ในช่วง 1970s พบว่ายาพาราฯ สามารถยับยั้งเอนไซม์ COX-2 ได้ น่าจะอธิบายการแก้ปวดได้ เหมือนยาแก้ปวดกลุ่ม NSAIDs (เช่น บูเฟ่น)
❌ ข้อแย้ง: ผลการยับยั้งจริงๆ ที่พบคือต่ำมากๆ จนแทบยับยั้งไม่ได้เลยในตำแหน่งเจ็บปวด แถมยาพาราฯ ก็ไม่เคยแก้อักเสบได้เลย ถ้าเทียบกับพวกบูเฟ่น
_________________
2️⃣ ทฤษฎีกระตุ้นวิถีสารสื่อประสาทซีโรโทนิน
▪️มีการค้นพบมานานแล้วว่า เวลาปวดไปซักพัก จะเริ่มเบาลง เพราะในสมองส่วน midbrain มันมีวิถีระงับการปวด ส่งสัญญาณลงมายับยั้งที่ไขสันหลัง
▪️เส้นทางของระบบนี้ จะต้องผ่านเส้นทางที่ใช้สารสื่อประสาทซีโรโทนิน (ตัวเดียวกับเรื่องซึมเศร้าค่ะ)
▪️ในช่วง 1990s มีการตั้งสมมติฐานว่ายาพาราฯ น่าจะลัดไปกระตุ้นวิถีนี้เลย ทำให้เกิดสัญญาณลงมายับยั้งที่ไขสันหลัง ทำให้แม้จะมีการส่งสัญญาณการเจ็บมาได้ แต่จะไม่ผ่านตรงไขสันหลัง
❌ ข้อแย้ง: จนแล้วจนรอด ก็ยังไม่รู้ว่ามันไปทำอะไรกับวิถีนี้ แถมมีงานวิจัยใส่ยาต้านซีโรโทนินเข้าไป ก็พบว่าอาการแก้ปวดของพาราฯ ยังทำได้อยู่
_________________
3️⃣ ทฤษฎียับยั้งเอนไซม์ COX-3 ที่พบในสมอง
▪️ทฤษฎีเป็นความหวังของวงการเลยค่ะ อยู่หลายตำรา แต่ก็เป็นทฤษฎีที่ดราม่ากันมากที่สุด
▪️ในปี 2002 มีการค้นพบเอนไซม์ COX ชนิดใหม่ (New isozyme) ที่เกิดจากยีนเดียวกับ COX-1 แต่มีการดัดแปลงหลังถอดรหัสต่างกัน จึงตั้งชื่อเอนไซม์ตัวใหม่นี้ว่า COX-3 ซึ่งพบในสมอง (และไขสันหลัง)
▪️และพอมันพบได้แค่ในสมอง ทุกคนก็ยิ้มเลย เพราะมันอธิบายได้ทันทีว่า ทำไมพาราฯ แก้ปวดได้ แต่แก้อักเสบไม่ได้ นั่นก็เพราะมันยับยั้งเฉพาะในสมอง
❌ ข้อแย้ง: COX-3 ที่พบนั้น บทบาทในการสร้างพรอสตาแกลนดินในมนุษย์นั้นน้อยมาก และที่หนักไปกว่านั้นคือ พอหลายงานวิจัยพบว่าพาราฯ เองก็ยับยั้ง COX-3 ได้เบามาก
_________________
4️⃣ ทฤษฎีกระตุ้นตัวรับสารกลุ่มกัญชา (Cannabinoid receptor - CB1)
▪️หลายจุดในสมอง มีตัวรับที่ให้สารกลุ่มกัญชามากระตุ้น ในวิถีความเจ็บก็เช่นกัน สมองเรามีสารคล้ายกัญชาคอยมากระตุ้นลดการเจ็บอยู่แล้ว
▪️ในช่วง 2000s ขณะที่ทุกคนกำลังฮือฮากับ COX-3 ก็มีการพบว่ายาพาราฯ เมื่อผ่านตับแล้ว จะเปลี่ยนเป็นสารหลายชนิด หนึ่งในนั้นคือ AM404
▪️แล้วสาร AM404 นี่แหละ สามารถกระตุ้นตัวรับกัญชา แล้วยับยั้งวิถีการเจ็บได้
❌ ข้อแย้ง: งานวิจัยหลายฉบับ มาทำซ้ำแล้ว ก็ไม่ได้ผลว่าสาร AM404 นี้กระตุ้นตัวรับกัญชาได้ แถมปริมาณสารนี้ที่วัดได้ก็น้อยเหลือเกิน
_________________
5️⃣ ทฤษฎียับยั้งตัวรับแคปไซซินจากพริก (TRPV1)
▪️เรารู้กันดีอยู่แล้วว่ากินพริกแล้วเผ็ด เพราะพริกมีสารชื่อแคปไซซินที่กระตุ้นตัวรับชื่อ TRPV1 ที่เซลล์ประสาทรับความเจ็บ ทำให้รู้สึกเจ็บช่องปาก
▪️ช่วงปี 2010s มีการตั้งสมมติฐานว่า ยาพาราฯ น่าจะมีการยับยั้งตัวรับนี้ หรือไม่ก็ลดสัญญาณจากตัวรับนี้ (Desensitized) อาจจะโดยตรง หรือไม่ก็ผ่าน AM404 โดยตำแหน่งที่ยับยั้งอาจจะเป็น TRPV1 ที่นอกสมองหรือในสมองก็ได้
❌ ข้อแย้ง: ข้อมูลน้อย พอมาทดลองดูผลการยับยั้งจริงๆ ก็พบว่าผลเบา บางงานก็ยับยั้งไม่ได้
*ส่วนตัวชอบกินเผ็ด ตอนพาราฯ ออกฤทธิ์ ก็ไม่เห็นเบาลง \(*T▽T*)/
_________________
ทฤษฎีอื่นๆ
▪️ต้านอนุมูลอิสระ (Antioxidant effect)
▪️ยับยั้งการอักเสบเชิงประสาท (Neuroinflammation modulatoon)
▪️ไอเดียคือในระหว่างที่มีเนื้อเยื่อบาดเจ็บ จะมีการอักเสบ และเม็ดเลือดขาวก็จะสร้างสารอนุมูลอิสระออกมา ซึ่งจะยิ่งทำลายเนื้อเยื่อและกระตุ้นการเจ็บ
▪️ มีหลายโรค โดยเฉพาะกลุ่มอาการเจ็บ ที่มีการกระตุ้นเม็ดเลือดขาวในสมองชื่อว่าไมโครเกลีย (Microglia) ทำให้ปล่อยสารกลุ่ม cytokine ซึ่งทำให้วิถีการเจ็บในสมองถูกกระตุ้น
▪️มีบางงานวิจัยพบว่าพาราฯ อาจมีฤทธิ์ต้านอนุมูลอิสระ และยับยั้งการทำงานของไมโครเกลียได้
❌ ตัวงานวิจัยยังน้อยมาก ส่วนกรณี acetaminophen กับ neuroinflammation จะเป็นทิศทางใหม่ของการศึกษายาพาราฯ กับผลโรคทางจิตเวชมากกว่า
______________
🔮 ปัจจุบัน - ทฤษฎีที่ยังคงมีการกล่าวถึงมาที่สุด ก็คือการยับยั้งเอนไซม์ COX ซึ่งต้องตามหากันต่อไปว่า COX แบบไหน ใช่ COX-3 หรือไม่
และยังพ่วงมาด้วยทฤษฎีที่ยุ่งกับสารอื่นๆ เช่น ซีโรโทนิน, ตัวรับกัญชา และตัวรับพริก ล้วนศึกษามากขึ้นเรื่อยๆ จากสาร AM404 ที่เปลี่ยนมาจากพาราฯ
แม้ปัจจุบันก็ยังไม่ทราบอยู่ดีว่า ทฤษฎีไหนเข้าวิน แต่อย่างน้อย การศึกษาเชิงเภสัชพันธุศาสตร์ก้าวหน้าไปมาก มีการค้นพบว่า มีการผันแปรผันเชิงพันธุกรรมที่ทำให้บางคนเซนส์กับบางกลไกในทฤษฎีข้างบน ก็อาจจะเป็นตัวช่วยในอนาคตว่า ทฤษฎีข้างบนอาจจะพอใช้ได้บ้าง และในแต่ละคนไม่เหมือนกัน หรือไม่ก็หลายกลไกเกิดรวมๆ กัน
“ใช้ๆ ไปก่อนเหอะ”
คำกล่าวของอาจารย์ท่านหนึ่ง555
ถ้าเลือกปรึกษายา เลือกพีรฬ์ยา เลยครับ มีทางเดียว ไม่ two way
เมื่อมีคนบอกว่าชีวิตมีทางเลือกเสมอ
ทางเลือกของผม😂
สวมหน้ากากกันนะครับ ร้านเรามีหน้ากากกัน PM 2.5 ขายนะครับ 😁😁
#หาดใหญ่ #ฝุ่นควัน เตือนประชาชนเฝ้าระวังฝุ่น PM 2.5 ในพื้นที่หาดใหญ่ สภาพอากาศวันนี้มีฝุ่นในระดับปานกลาง แนะสวมหน้ากากอนามัย.
อ่านต่อในคอมเม้นต์
คลิกที่นี่เพื่อเป็นสมาชิก?
วิดีโอทั้งหมด (แสดงผลทั้งหมด)
ประเภท
เว็บไซต์
ที่อยู่
97 ถ. นิพัทธ์อุทิศ 1 ต. หาดใหญ่ อ. หาดใหญ่
Songkhla
90110
เวลาทำการ
จันทร์ | 07:00 - 22:00 |
อังคาร | 07:00 - 22:00 |
พุธ | 07:00 - 22:00 |
พฤหัสบดี | 07:00 - 22:00 |
ศุกร์ | 07:00 - 22:00 |
เสาร์ | 07:00 - 22:00 |
อาทิตย์ | 07:00 - 22:00 |
651/8 ถนนกาญจนวนิช ม. 2 ต. พะวง อ. เมืองสงขลา
Songkhla, 90100
เวลาเปิดทำการ วันจันทร์ อังคาร พุธ พฤหัส 17.00-19.00 วันเสาร์ 9.00-11.30 หยุดทุกวันศุกร์และอาทิตย์
Songkhla, 90250
Our company HiCARETHAI provides High quality cheap price powder free disposable nitrile gloves. Feat
164 ถนนรัตนอุทิศ ซอย 21
Songkhla, 90110
คลินิกกายภาพบำบัด หาดใหญ่
Songkhla
We sell anabolic steroids to affordable prices! เราขายสเตียรอยด์ในราคาย่อมเยา!
Songkhla, 90000
Massage site service stanby 24 hour/Songkhla thailand
326/16 CHAROEN NAKHORNROAD BUK KHALO KHET THON
Songkhla, 90001
Hello, we are Thailand gloves manufacturers. Welcome foreign customers to visit our factory. We produce three kinds of gloves: PVC gloves, vinyl/nitrile mixed gloves, nitrile glove...